PDA

แสดงเวอร์ชันเต็ม : การทำใจให้ไม่โกรธ,เกลียด



pach
12-01-2008, 07:14 PM
ขอความกรุณารบกวนท่านผู้รู้แจ้งในธรรมะ ช่วยชี้แนะและให้ทานธรรมด้วยค่ะ
เนื่องจากในตอนนี้ ทำใจให้ปล่อยวาง ความโกรธ เกลียด ออกไปจากตัวไม่ได้ ทำให้เกิดทุกข์ในในมากเลย
เมื่อได้ยินคนหนึ่งพูดให้ร้ายถึงเราอยู่บ่อยครั้ง ไม่ว่ากับเราหรือคนอื่นที่เป็นลูกน้องในสังกัด เขาจะพูดด่าว่า ด้วยคำหยาบคายสุดๆถ้าหากใครทำอะไรไม่ได้ดั่งใจ ไม่ถามถึงเหตุผลว่าผิดหรือถูก ฟังมาแล้วก็ด่าไป คิดว่าสิ่งที่ตัวเองรู้และคิด หรือทำ เป็นสิ่งที่ถูกต้องเสมอ ไม่เคยสนใจฟังใครทั้งสิ้น ซึ่งบางครั้งเราโดน ก็ทำใจได้ อโหสิกรรมให้เขา แผ่เมตตาให้เขาบ้าง เพราะรู้ตัวเองดีว่าไม่ได้กระทำในสิ่งที่เขากล่าวหา พยายามทำใจให้สงบ แต่พอเจอบ่อยครั้งเขา เริ่มทำใจไม่ได้ ปล่อยวางไม่ได้ มันมากเกินไป ทำให้เคลียดมาก รู้สึกโกรธขึ้นมากขึ้น และรู้สึกจะเริ่มเกลียดเขาแล้ว ไม่อยากเป็นคนที่ตกอยู่ใต้อำนาจแห่งความชั่วร้ายที่เขาสร้างขึ้น พยายามจะให้หลุดพ้นจากกิเลศตรงนี้ที่เกิดขึ้นในใจเรา มันบังคับไม่ได้แล้ว ช่วยชี้แนะหน่อยค่ะว่ามีวิธีใดบ้างที่จะทำให้เราปล่อยวางได้
ขอบคุณค่ะ

D E V
12-02-2008, 08:38 AM
ลองดูตามลิงค์ที่ให้นี้นะคับ
เผื่อจะได้ข้อคิดอันเป็นประโยชน์
เพื่อนำไปปฏิบัติได้บ้างไม่มากก็น้อยคับ


ถ้ามีคนมายั่วให้โกรธทำยังไงดี
http://www.watkoh.com/kratoo/forum_posts.asp?TID=3896&KW=%E2%A1%C3%B8

ระลึกได้และรู้ตัวอยู่ตลอด
http://www.watkoh.com/kratoo/forum_posts.asp?TID=3685&KW=%E2%A1%C3%B8

ขอแสดงความคิดเห็นค่ะ
http://www.watkoh.com/kratoo/forum_posts.asp?TID=3590&KW=%E2%A1%C3%B8

ขอความคิดเห็นค่ะ
http://www.watkoh.com/kratoo/forum_posts.asp?TID=2435&KW=%E2%A1%C3%B8

ตัดสินใจถูกแล้วใช่ไหม
http://www.watkoh.com/kratoo/forum_posts.asp?TID=2219

เหตุของการโกรธ
http://www.watkoh.com/kratoo/forum_posts.asp?TID=1781&KW=%E2%A1%C3%B8

ทำอย่างไรถึงจะฝึกใจไม่ให้ไหลไปตามคำพูดหยาบคายของคน
http://www.watkoh.com/kratoo/forum_posts.asp?TID=1162&KW=%E2%A1%C3%B8



8) เดฟ

DAO
12-02-2008, 10:22 AM
http://i140.photobucket.com/albums/r14/bigyui/untitled1.jpg



http://i140.photobucket.com/albums/r14/bigyui/untitled2.jpg



http://i140.photobucket.com/albums/r14/bigyui/untitled3.jpg

DAO
12-02-2008, 01:17 PM
มาดูผลร้ายที่เกิดขึ้นกับสุขภาพร่างกายของเราที่มาจากความโกรธ



คัดมาจากคำเทศนาของท่านภิกขุ ปัญญาวัฒน์

ความโกรธที่เกิดขึ้นแก่เรานั้น ตามปกติย่อมมาจากการกระทำของบุคคลอื่น คือ เนื่องจากบุคคลอื่นทำความไม่พอใจให้แก่เรา ทำให้เราโกรธ

แต่การกระทำของคนอื่นที่เป็นเหตุให้เราโกรธนั้น แยกลักษณะออกได้เป็นสองประการ คือ การกระทำโดยเจตนาอย่างหนึ่ง และกระทำโดยมิได้เจตนาอย่างหนึ่ง

ความโกรธนั้นมีผลร้ายต่อสุขภาพร่างกายหลายประการ

๑.ขณะที่รับประทานอาหาร เมื่อตนเองหรือคนอื่นที่ร่วมวงรับประทานอาหารอยู่ มีคนใดคนหนึ่งแสดงความไม่พอใจหรือความโกรธเกิดขึ้น จะทำให้หมดความอยากรับประทานอาหารขึ้นทันทีทันใด เรียกว่ารับประทานอาหารไม่ลง เพราะความโกรธนั้น

๒. เมื่อความโกรธเกิดขึ้น จะเป็นต้นเหตุทำให้เครื่องย่อยอาหาร เช่น กระเพาะ น้ำย่อย และกระบวนการเครื่องย่อยอาหารทำงานไม่ปกติ ทำให้ปวดท้อง ท้องอืด ท้องผูก ลมดัน กระเพาะมีกรด และเป็นแผลในกระเพาะอาหารในที่สุด

๓. ทำให้ประสาทเสีย เส้นประสาทเกิดพิการ และเกิดความตึงเครียด เส้นประสาททำงานหนักเกินปกติ อาจทำให้เป็นอัมพาตได้

๔. ทำให้จิตใจกระสับกระส่าย กระวนกระวาย และเจ็บปวดร่างกาย และจิตใจที่มีความโกรธ ทำให้อวัยวะทุกส่วนของร่างกายทำงานผิดปกติ เกิดอาการเกร็งตามเนื้อหนัง เกิดอาการไม่สบายได้

๕. ทำให้เกิดพิษในตัวเหมือนพิษงู และพิษอันนี้จะก่อให้เกิดเป็นพิษร้ายแก่ตัวเอง

๖. เด็กที่ถูกแกล้งหรือทำให้โกรธอยู่เสมอ จะทำให้การเจริญเติบโตช้า เช่น เด็กถูกเพื่อนหยอกล้อ ถูกชกตี หรือถูกพ่อแม่ตีโดยไม่มีเหตุผล เฆี่ยนตีสนองอารมณ์ตนเอง จะกลายเป็นเด็กปัญญาอ่อนและเป็นอันตรายแก่ชีวิตของเด็กตลอดไป

รวมความว่าความโกรธเป็นผลร้ายแก่ตนเอง และเป็นการทำลายสุขภาพ ทำลายจิตใจ บั่นทอนความคิดอ่าน เป็นศัตรูอันแรกของมนุษย์ยิ่งกว่าโรคร้ายใดๆ การประทุษร้ายด้วยวิธีทำความโกรธเป็นการประทุษร้ายที่ได้ผลแน่นอน

เพราะทำร้ายได้ไม่เฉพาะแต่ร่างกาย ยังทำร้ายไปได้ถึงความคิดสติปัญญา และจิตใจ ซึ่งเป็นการทำร้ายที่ไม่ผิดกฎหมาย มนุษย์ต้องป้องกันตนเองสำหรับการทำร้ายชนิดนี้ ทางออกที่ดีที่สุด คือ ฝึกหัดระงับจิตใจ ไม่ให้เป็นคนโกรธง่าย

พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งความเมตตาการุณย์ พระพุทธจ้ามีพระคุณข้อใหญ่ประการหนึ่ง คือ พระมหากรุณา ชาวพุทธได้รับการสั่งสอนให้มีเมตตากรุณา ให้ช่วยเหลือผู้อื่นด้วยกาย วาจา ใจและมีน้ำใจปารถนาดี แม้แต่เมื่อไม่ได้ทำอะไรอื่น ก็ให้แผ่เมตตาแก่เพื่อนมนุษย์ตลอดจนสัตว์
ทั้งปวง ขอให้อยู่เป็นสุขปราศจากเวรภัยกันโดยทั่วหน้า

อย่างไรก็ตามเมตตามีคู่ปรับอย่างหนึ่งคือความโกรธ เป็นศัตรูที่คอยขัดขวางไม่ให้เมตตาเกิดขึ้นคนบางคนเป็นผู้มักโกรธ พอโกรธขึ้นมาแล้วต้องทำอะไรรุนแรงออกไป

หงุดหงิดงุ่นง่านทรมานใจในเวลานั้นเมตตาหลบหายไม่รู้ว่าไปซ่อนตัวอยู่ที่ไหน ส่วนความโกรธทั้งที่ไม่ต้องการแต่ไม่ยอมหนีจากไป บางทีจนปัญญาไม่รู้จะขับไล่หรือกำจัดให้หมดไปได้อย่างไร

แล้วทีนี้จะทำอย่างไรให้หายโกรธ

ขั้นที่๑ นึกถึงผลเสียของความเป็นคนมักโกรธ

ขั้นที่๒ พิจารณาโทษของความโกรธ

ขั้นที่๓ นึกถึงความดีของคนที่เราโกรธ

ขั้นที่๔ พิจารณาว่าความโกรธคือการสร้างทุกข์ให้กับตัวเอง

ขั้นที่๕ พิจารณาว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตน คือ เราโกรธแล้วไม่ว่าจะทำอะไร การกระทำของเรา นั้นเกิดจากโทสะ ซึ่งเป็นอกุศลมูล กรรมของเราย่อมเป็นกรรมชั่วและเราจะต้องรับผล ของกรรมนั้นต่อไป

ขั้นที๖ พิจารณาความเกี่ยวข้องกันในสังสารวัฏ หากมีเหตุโกรธเคืองจากใคร พึงพิจารณาว่าท่าน ผู้นี้อาจเคยเป็นบิดา มารดา ฯลฯ ที่ดีมีบุญคุณกับเรามาก่อนก็ได้

ขั้นที่๗ พิจารณาอานิสงส์ของเมตตา พระพุทธเจ้าตรัสแสดงอานิสงส์ของเมตตาไว้ ๑๑ ประการคือ หลับเป็นสุข ตื่นเป็นสุขไม่ฝันร้าย เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย เป็นที่รักของอมนุษย์ ทั้งหลาย เทวดารักษา ไฟ พิษ และศัสตราไม่กล้ำกราย จิตใจตั้งมั่นเป็นสมาธิได้เร็ว สีหน้าผ่องใส ตายก็มีสติไม่หลงฟั่นเฟือน เมื่อยังไม่บรรลุคุณธรรมที่สูงกว่าย่อมเข้าถึง พรหมโลก

ขั้นที่๘ พิจารณาโดยวิธีแยกธาตุ เป็นการปฏิบัติแนววิปัสสนา เช่น แยกผู้ที่เราโกรธว่าตัวเขาเป็น เพียงแค่ธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาขันธ์ เป็นต้น แล้วจะโกรธดิน น้ำ ลม ไฟ ขน ผม หนัง เล็บ กระดูก ทำไม?

ขั้นที่๙ ปฏิบัติทาน คือการให้ หรือแบ่งปันสิ่งของแก่ผู้ที่เราโกรธ

ขั้นที่๑๐ ฝึกสติให้รู้ว่ากำลังโกรธ โกรธหนอ....โกรธหนอ.....โกรธหนอ.....

แนวทางเหล่านี้เป็นแนวทางที่จะช่วยให้คลายหายโกรธ ได้ทางหนึ่งๆ ซึ่งแต่ละคนก็คงจะมีวิธีและหนทางให้หายจากความโกรธที่ไม่เหมือนกัน

ส่วนความพยาบาทนั้น มีมูลเหตุมาจากเรื่องที่ทำให้โกรธ แต่ไม่จำเป็นต้องโกรธเสมอไป ความพยาบาทอาฆาตเป็นขั้นรุนแรงเหนือกว่าความโกรธ

ความโกรธมีความแตกต่างจากความพยาบาทดังนี้

๑.ความโกรธเป็นความอ่อนแอ ส่วนความพยาบาทเป็นความเข้มแข็ง

๒.ความโกรธเป็นความเลือดร้อน เอะอะตึงตัง ความพยาบาทเป็นความเลือดเย็น เงียบเชียบ สุขุม

๓.ความโกรธเป็นความขุ่นหมอง และข่มขื่นในใจ ส่วนความพยาบาทเป็นความแจ่มใส และชุ่มชื่นได้

๔.ความโกรธทำให้หน้าเราบูดบึ้ง แต่ความพยาบาท สามารถทำให้หน้าเรายิ้มแย้มแจ่มใสได้

๕.ความโกรธทำให้เราเสียมารยาท แต่ความพยาบาทสามารถให้รักษามารยาทได้ดี



ขอขอบคุณที่มาคะ http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=poivang&month=07-2007&date=27&group=7&gblog=1