เข้าสู่ระบบ

แสดงเวอร์ชันเต็ม : จิตศูนย์กลาง พระโพธิธรรมมาจารย์



*8q*
01-05-2009, 08:50 PM
หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ
วัดป่าเขาน้อยจ.บุรีรัมย์

จิต เป็นศูนย์กลางทั้งโลกทั้งแผ่นดินทั้งหมด ศูนย์กลางของโลกอยู่ที่จิต รวมอยู่ที่จิต เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าสอนให้อบรมจิตนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ถ้าผู้ใดเห็นจิต เห็นอารมณ์ที่เกิดดับของจิต ผู้นั้นจะหมดปัญหาทางจิตใจ เพราะฉะนั้น การปฏิบัติก็คือต้องการเห็นจิต รู้จิตของเรา อารมณ์ที่เกิดดับอยู่ตลอดเวลา

มัน มาจากไหนไหน มันอยู่อย่างไร และก็มันดับไปยังไง เวลามันเกิด เกิดได้อย่างไร อันนี้น่าสนใจ น่าสอดส่อง น่าเพ่งพินิจ จับจิตนี้ให้ได้ ความเคลื่อนไหวของจิตนี้ให้ได้ โดยมากความรู้ของเรามักจะไม่ทันจิต เพราะจิตถูกอันสิ่งที่คล่องแคล่วชำนาญที่เรียกว่า “กิเลส” มัน พาไปให้เรารู้เท่าไม่ทันของมันนะ เพราะจิตกับกิเลสนี้มันอยู่ด้วยกันมายาวนานแล้ว แต่เราก็ยังไม่รู้ว่ากิเลสหน้าตาลักษณะเป็นอย่างไร ได้ยินแต่ชื่อก็มี เพราะเราจับจิตไม่ได้ แต่เมื่อเรารู้ ที่ว่าเรารู้รู้นี่ไม่ใช่รู้จิต มันรู้กรรมที่กระทำแล้ว ที่มันเคลื่อนแล้ว ที่มันมีผลสุขทุกข์แล้ว เวลาปกติเรามักจะไม่ค่อยเห็นไม่ค่อยรู้ เพราะเป็นสิ่งที่ละเอียดมาก

พระ พุทธเจ้า พระองค์ได้รวบรวมโลกทั้งหมดมาอยู่ที่จิต พระองค์ได้พ้นจากโลกก็เพราะจิตดวงนี้แหละ จะกว้างขวางใหญ่ขนาดไหนพระองค์ก็พ้นได้ เพราะจิตนี้เป็นปรมาณูที่มีพลังมากที่ละเอียดที่สุด อันที่หยาบๆ เหมือนก้อนหินที่โตๆ อยู่ทุกแผ่นดินอันนี้ มันไม่มีพลังเท่าไหร่ เมื่อแยกสสารเนี่ยจนมันละเอียดที่สุด นั่นแหละพลังของเขาของมัน เราสามารถที่จะระลึกรู้อันสิ่งที่ละเอียดที่สุด จะได้พลังสิ่งที่สำคัญมากทีเดียว จะได้เห็นอำนาจ เห็นอานุภาพของจิต

เพราะ ฉะนั้น ที่จะเข้าถึงได้นั้นเหมาะสมสถานที่ เหมาะสมสติ ปัญญา ศรัทธา ที่เป็นกำลังในงานที่จะเกื้อให้ได้บรรลุ พระพุทธเจ้าวางหนทางวางกำลัง วางอะไร อาหาร วางทุกอย่างให้แล้ว กำลังที่ได้เราเดินทางก็คือศรัทธา เป็นกำลังสำคัญ ความเพียร ฟังแต่เชื่อความเพียรศรัทธา เหมือนกับหมอผู้ฉลาด นายเภสัชต่างๆ ก็ออกชื่อว่าสัดส่วนผสมอะไรบ้าง เค้ารู้ว่าดีจริงๆ ยาขนานนั้น มีประสิทธิภาพให้ผลในทางนั้นๆ ฉันใด พอได้ยินแต่ชื่อว่าธรรมะ ว่าศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา อันหนึ่ง ธาตุอันนี้เป็นธาตุที่สำคัญมาก ธาตุวิริยะ ธาตุธรรม เรียกว่าธรรมธาตุ สติก็เป็นธรรมธาตุ วิริยะก็เป็นธรรมธาตุ สมาธิก็เป็นธรรมธาตุ แต่อาศัยจิตแล้วมีปฏิกิริยาขึ้นมา

เหมือน กับธาตุไฟ ถ้าโดยธาตุแล้ว ธาตุไฟไม่ค่อยปรากฏ แต่เมื่อกระทบขึ้นมามีเชื้อขึ้นมา จึงจะปรากฏ ธาตุไฟนี้ละเอียดมาก ธรรมธาตุนี้ก็เหมือนกัน แต่ละอย่างที่ทีอยู่ เพราะฉะนั้นให้รู้ถึงธาตุ ธรรมธาตุอันนี้มีธรรมธาตุให้เย็นก็ดี ธรรมธาตุให้ร้อนก็มี ธรรมธาตุให้ผ่องใสก็มี ถ้าเราสังเกตดูในจิตแล้ว บางอย่างพอกระทบขึ้นมา ทำให้ร้อนขึ้นมา นี่นักสังเกต บางอย่างกระทบขึ้นมา ทำให้เย็นสบายผ่องใสเบิกบาน ธรรมธาตุอย่างนี้มันมี ไม่ใช่ใครแต่ง มันเกิดขึ้นในจิตที่สัมผัสในจิตนั่นเอง ธรรมธาตุบางอย่างก็กระทบขึ้นมา ทำให้สงบให้เย็นให้สบาย ปัญหาต่างๆ หมดไป ให้สังเกตดู มันมีอยู่ตรงในจิตนั่นแหละ

ที นี้เราสังเกตจากอันนี้ได้แล้ว เราก็จะได้มองเห็น อันไหนควรมี อันไหนควรหมดให้สิ้นไป เราก็เลือกได้ ปฏิบัติได้ เมื่อเราเลือกได้ สิ่งที่พระพุทธเจ้าวางหลักแนะนำพอเป็นแนวทาง แล้วยึดหลักอันนั้น แล้วเราก็เลือกดูตามแล้ว ได้เป็นกำลังของจิตอย่างยิ่ง จิตจะได้สลัดออกสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ที่เคยนำทุกข์นำโทษมาแต่อดีตยาวนานเท่าไร มาชำระออกให้หมดสิ้นไป ด้วยพลังแห่งความรู้ความเห็นที่ชอบที่ถูกต้องนี้เอง

แต่ ก่อนความรู้ความเห็นประเภทนี้ ยังไม่เกิดขึ้นในจิตใจของเรา และไม่เกิดขึ้นด้วย เพราะเรายังไม่ได้ประกอบ เรายังไม่ได้ปฏิบัติ เพราะเกิดขึ้นเฉพาะปฏิบัติเท่านั้น ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตรง และปฏิบัติถูกต้องด้วย เพราะฉะนั้นอริยะสงฆ์สาวก พระองค์ทรงรับเราว่า สุปฏิปันโน อุชุปฏิปันโน ญายะปฏิปันโน สามีจิตปฏิปันโน นี่ปฏิบัติให้สมบูรณ์บริบูรณ์ ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติตรง ปฏิบัติถึงธรรมปฏิบัติชอบ สมบูรณ์ในธรรมอันนั้น เอสะ ภควโตนี่ เป็นสาวกของเรา เพราะฉะนั้นเราถ้าสมบูรณ์ ถ้าได้คุณสมบัติเหล่านี้ปรากฏชัดในจิตใจแล้ว เราก็คนหนึ่งเอสะ ภควโต สาวก สังโฆ ไม่ได้เลือกเพศ เลือกภูมิ เลือกวัย ไม่ว่านุ่งเหลือง ไม่ว่านุ่งดำนุ่งขาว ขอให้คุณสมบัติอันนี้เกิดขึ้นในจิตจะต้องสลัดสิ่งที่มัวหมองออกแน่นอน อยู่ไม่ได้

เพราะ ฉะนั้นให้เราทั้งหลายเข้าใจ พยายามทำ เราก็มีส่วนที่จะพ้นทุกข์ได้ ไม่ต้องติดหลงไหล เข้าใจแบบทั่วๆ ไป เชื่อคำสอนพระพุทธเจ้า ยึดคำสอนพระพุทธเจ้า เชื่อตัวเอง ธาตุอันนี้ทำได้ รู้ได้ สามารถทำได้ แต่ต้องมีความเชื่อในตัวเราเองด้วย ไม่ใช่เชื่อแต่อย่างอื่น ไม่ใช่หวังพึ่งแต่อย่างอื่น ต้องหวังพึ่งความรู้ความเห็นของเรา เมื่อฉลาดแล้ว เราก็เห็นได้เมื่อมีกำลังพอ เพราะฉะนั้นให้เราทั้งหลายพยายาม การทำดีนี้เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ทั้งเราด้วย ทั้งช่วยโลกด้วย

ความ ดีนี่ เราไม่ต้องกลัวอดกลัวจนกลัวลำบาก ความดีนี้มีคุณค่าอันสูงมาก เพราะฉะนั้นเราทั้งหลายพยายามเข้าใจความดีที่เราทำให้ถูกต้อง เกิดความพอใจ เกิดความเลื่อมใสในความดีที่เราทำมาแล้ว และกำลังทำอยู่ และจะทำต่อไป ให้เห็นมาตลอด และก็รู้ดีรู้ชอบ ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ จะได้ถึงจุดหมายปลายทาง

หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ
วัดป่าเขาน้อย อ. เมือง จ. บุรีรัมย์
คัดลอกจากหนังสือ “สร้างความรู้เพื่อบำบัดทุกข์”
ที่ระลึกในงานทอดกฐิน ณ. วัดป่าเขาน้อย
วันที่ 29 ตุลาคม 2548
http://board.agalico.com/showthread.php?t=25867