เข้าสู่ระบบ

แสดงเวอร์ชันเต็ม : รัตนวลีคาถาที่ ๑-๓๘ แปล



*8q*
01-16-2009, 07:53 PM
นโม รตฺนตฺรยายฯ

สรฺวโทษวินิรฺมุกฺตํ
คุไณะ สรฺไวรลํกฤมฺ ฯ
ปฺรณมฺย สรฺวชฺญมหํ
สรฺวสตฺตฺไวกพานฺธวฺม ฯ๑ฯ

สพฺพโทสวินิมุตฺตํ
คุเณหิ สพฺเพหิ อลํกตํ
นตฺวาน สพฺพญฺญุมหํ
สพฺพสตฺเตกพนฺธวํ ฯ

ขอน้อมพระรัตนตรัย

(๑) ข้าพระเจ้าประณมพระสรรเพชญ์เจ้า พระองค์เดียวเท่านั้นที่เป็นพวกพ้องสรรพสัตว์ ผู้พ้นจากโทษทั้งสิ้น แต่ประดับด้วยคุณทั้งปวง ฯ

ธรฺมเมกานฺตกลฺยาณํ
ราชนฺ ธรฺโมทยาย เต ฯ
วกฺษฺยามิ ธรฺมะ สิทฺธึ หิ
ยาติ สทฺธรฺมภาชเนฯ๒ฯ

ธมฺมํ เอกนฺตกลฺยาณํ
ราช ธนฺโมทยาย เต
วกฺขามิ ธมฺโม สิทฺธํ หิ
ยาติ สทฺธมฺมภาชเนฯ

(๒) ดูก่อนพระราชา,แล้ว,อาตมาจักกล่าวธรรมมีแต่คุณงามส่วนเดียว เพื่อความเจริญใจแด่พระองค์ท่านฯ ก็ธรรมย่อมถึงความสำเร็จเป็นผล ในชนผู้สมที่จะเป็นภาชนะรองรับสัทธรรม ฯ (ดูบท ๖)

บันทึก : เอกานฺตกลฺยาณมฺ อรรถกถาแก้ว่า อาทิมธฺยานฺตกลฺยาณมฺ งามแต่ต้นถึงกลางจนที่สุด.

ปฺราคฺ ธรฺมาภฺยุทโย ยตฺร
ปศฺจานฺ ไนะเศฺรยโสทยะฯ
สมฺปราปฺยาภฺยุทยํ ยสฺมา-
เทติ ไนะเศฺรยสํ กฺรมาตฺฯ๓ฯ

ปเค ธมฺมพฺภุทโย ยตฺร
ปจฺฉา เนสฺเสยฺยสูทโย
สมฺปตฺวา อพฺภุทยํ ยสฺมา
เอติ เนสฺเสยฺยสํ กมาฯ

(๓) มีอัภยุทัยแห่งธรรมก่อน ภายหลังมีการเกิดขึ้นแห่งเนสไสยสธรรม ฯ เพราะบุคคลบรรลุอัภยุทัยธรรมแล้ว จึงถึงเนสไสยสธรรมโดยลำดับ ฯ

บันทึก : ปฺราคฺ เคยเห็นใช้ในบาลีว่า ปเคว ถ้าจะใช้ในที่นี้บ้าง ก็จะเกินกำหนดปัฐยาวัตต์ซึ่งยังไม่จำเป็น จึงใช้แค่ปเค โดยโถดมาจาก อติปฺปเค เช่นใช้ในชาดกเล่ม ๓ หน้า ๔๘ฯ อัภยุทัย ความเจริญเต็มที่หมายถึงความเจริญทางโลก ทั้งโลกนี้และโลกหน้า (อิหปรเลากิโลนฺนติ) ฯ เนสไสยส (นิ+เสยฺยโส) ภาวะไม่มีอะไรดีกว่า,คล้ายๆ กับ อนุตฺตโร,หมายเอาโมกษะ,ฉะนั้น น่าจะเทียบได้กับนิรพาณฯ แต่โมกษะทางมหายาน ตามที่ปรากฏในคัมภีร์ของพระนาคารชุนเป็นเพียงชั้นที่ ๒ แห่งญาณสมภารฯ เนสไสยส ต่ำกว่าโมกษะ,กับยังมีปรัชญาและศูนยตา เหนือโมกษะไปอีก ๒ ชั้นฯ อนึ่งทางถึงนิรพาณ คือปรัชญา;แต่ยังไม่ควรสอนเรื่องปรัชญาแก่คนที่ยังไม่สุก (ดูบท ๗๔)ฯ และเมื่อพิจารณาถึงศูนยตา จะต้องผ่านบุณยสมภารก่อนฯ ศูนยตาคือขั้นสุดท้ายแห่งปรัชญามรรคฯ ถึงนิกายสมัยหลังๆ ฝ่ายมหายานก็ว่าทางนิรพาณเป็น ๒ อย่างคือ อุปายะและปรัชญาฯ อุปายะนี้พระนาคารชุนหมายเอาศรัทธา,แต่ผู้อื่นๆ หมายเอากรุณา ฯ ทางนิรพาณมีเป็น ๒ นั้นดังนี้
๑. บุณยสมภาร
- อัภยุทัยธรรม
- สุข
- ศรัทธา
- อุปายะ
- กรุณา

๒. ญาณสมภาร
- เนสไสยสธรรม
- โมกษะ
- ปรัชญา
- ศูนยตา

สุขมภฺยุทยสฺ ตตฺร
โมกฺโษ ไนะเศฺรยโส มตะฯ
อสฺย สาธนสํกฺษปะ
ศฺรทฺธาปฺรชฺเญ สมาสตะฯ๔ฯ

สุขํ อพฺภุทโย ตตฺร
โมกฺโข เนสฺเสยฺยโส มโต
อสฺส สาธนสํเขโป
สทฺธาปญฺเญ สมาสโตฯ

(๔) บรรดาธรรมนั้น ท่านกำหนดอัภยุทัยธรรม ว่านำความสุขมาและเนสไสยสธรรมว่านำโมกษะมาฯ ความย่อย่นธรรมอันนี้ก็สำเร็จโดยรวมเข้าในศรัทธาและปรัชญา ฯ

บันทึก : ตามที่อรรถกถาแก้ไว้ ความหมายที่แท้คือว่า อัภยุทัยธรรมมิใช่ความสุข และเนสไสยสธรรมมิใช่ตัวโมกษะ ฯ แต่ความสุขและโมกษะ ค่อนข้างเข้าใจกันว่าเป็นผลแห่งอัภยุทัยธรรมและเนสไสยสธรรมนั้น ฯ

ศฺราทฺธตฺวาทฺ ภชเต ธรมํ
ปฺราชฺญตฺวาทฺ เวตฺติตตฺตวตะฯ
ปฺรชฺญา ปรธานํ ตฺวนโยะ
ศฺรทฺธา ปูรฺวงฺคมาสฺย ตุฯ๕ฯ

สทฺธตฺตา ภชเต ธมฺมํ
ปญฺญตฺตา เวตฺติ ตตฺตโต
ปญฺญา ปธานํ เตฺวตาสํ
สทฺธา ปุพฺพงฺคมาสฺส ตุฯ

(๕) เพราะความที่มีศรัทธา จึงดำเนินสู่ธรรม,เพราะความที่มีปรัชญา จึงทราบตามความจริง ฯ ก็บรรดาคุณชาติทั้งสองนั้นปรัชญาเป็นประธาน ฯ ส่วนศรัทธา นำหน้าประธานคือปรัชญานั้นฯ

บันทึก : ในสํสกฤต มี ศฺราทฺโธ ปฺราชฺโญ, บาลีมีแต่สทฺโธ เป็นพื้น ,ปญฺโญ (ตัทธิต) มีที่ใช้น้อยเต็มที พบครั้งหนึ่งในคาถามหาสุตตโสมชาดก อสีตินิบาตว่า น เตน เมตฺตึ ชิรเยถ ปญฺโญ ฉะนั้นจึงทำศัพท์เป็นปญฺญตฺตา (เพราะความเป็นผู้มีปัญญา) ฯ เวตฺติ คือ วิทฺในความรู้ ความประสพ. วัตตมานา เอกปฐม ในสํ. เป็นเวตฺติ, เคยพบในบาลีเป็น วินฺทติ. แต่ Rhys Davids (Pali English Dictionary by T.W. Rhys Davids & William Stede) ว่ามีครั้งหนึ่งในเถรคาถาบท ๔๙๗ เป็น เวตฺติ (แต่ทำรูปเป็นเวติ) ฯ

ฉนฺทาทฺ เทฺวษาทฺ ภยานฺ โมหาทฺ
โย ธรฺมํ นาติวรฺตเต ฯ
ส ศฺราทฺธ อิติ วิชฺเญยะ
เศฺรยโส ภาชนํ ปรมฺฯ๖ฯ

ฉนฺทา โทสา ภยาโมหา
โย ธมฺมํ นาติวตฺตติ
ส สทฺโธ อิติ วิญฺเญยฺโย
เสยฺยโส ภาชนํ ปรํฯ

(๖) ผู้ใด ไม่ประพฤติล่วงธรรม เพราะฉันทะ โทสะ ภยะและโมหะ , พึงทราบผู้นั้นว่าคือคนมีศรัทธา เป็นภาชนะอันดีแก่งสิริยิ่ง (คือไม่มีใครๆ จะเป็นที่รองรับโมกษธรรมเหมาะไปกว่าเขา) ฯ

บันทึก : จากบทนี้จนถึงบท ๒๔ ศรัทธามีผลให้ปฏิบัติธรรมที่แสดงไว้แล้ว ให้สมกับอัภยุทัยฯ ฉันทะ โทสะ ภยะ โมหะเป็นอาการสำแดงแห่งมารทั้งสิ่ผู้บันดาลให้บุคคลเชือนไปจากการบำเพ็ญกุศลธรรมฯ เศฺรยโส ศัพท์เดิม ศรี,อียสฺปัจจัย ในเสฏฐตัทติตเป็นศฺรยสฺ ฯ ปฐมาเอกวจนะเป็นศฺรยะ ได้ในความว่าวรฺธนาทฺ รกฺษณํ เศฺรยะ รักษาเป็นสิริยิ่งกว่าบำรุง ฯ ฉัฏฐีเอกวจนะเป็นเศฺรยโส แปลความว่า แห่งสิริยิ่ง ที่บาลีนำมาใช้เป็นเสยฺยโส คือคงรูปฉัฏฐีวิภัตติตามสํสกฤต แต่ทว่าใช้ในฐานเป็นอัพยยศัพท์ฯ

กายวางฺมานสํ กรฺม
สรฺวํ สมฺยกฺปรีกฺษฺย ยะฯ
ปราตฺมหิตมาชฺญาย
สทา กุรฺยาตฺ ส ปณฺฑิตะฯ๗ฯ

กายวจีมโนกมฺมํ
สพฺพํ โย สมฺมเปกฺขิย
ปรตฺตหิตมญฺญาย
สทา กยิรา ส ปณฺฑิโตฯ

(๗) ผู้ใดพิจารณาโดยระมัดระวังซึ่งกรรมทั้งสิ้น อันทำด้วยกายหรือวาจาใจ รู้ทั่วถึงกรรมที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นและแก่ตนตนเองแล้ว ก็พึงทำกรรมนั้นเสมอ,ผู้นั้นเป็นบัณฑิต ฯ

บันทึก : บัณฑิตในที่นี้คือ ผู้มีปรัชญาในบทที่ ๔-๕ เมื่อในบทที่ ๖ แยกพูดเฉพาะผู้มีศรัทธาแล้ว ในบทนี้จึงแสดงลักษณะ ผู้มีปรัชญา ฯ ปรีกษา (อ่านว่า ปะรีกษา) การดูโดยรอบคอบคือพิจารณา ประกอบในการพินิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นกุศลอกุศลหรืออัพยากฤต ฯ เขาก็อยู่ในภาวะแห่งความรู้สึกผิดชอบบริบูรณ์และในความรู้ตัวซึ่งเรียกว่าสัมประชันยะ หรืออะประมาท ฯ ปรีกษา นี้มีความแจ่มแจ้งในบทต่อไป (ในบาลีใช้ว่า ปริกฺขา เช่น อตฺถปริกฺขา สทฺธมฺโมปายน หน้า ๕๓๒ ) ฯ

อหึสา เจารฺยวิรติะ
ปรทารวิวรฺชนมฺ ฯ
มิถฺยาไปศุนฺยปารุษฺยา-
พนฺธวาเทษุ สํยมะ ฯ๘ฯ

อหึสา เถยฺยวิรติ
ปรทารวิวชฺชนํ
มิจฺฉาเปสุญฺญผารุสฺสา-
พนฺธวาเทสุ สญฺญโม ฯ

(๘) ความไม่ผลาญชีพ, ละเว้นการเป็นขโมย, เว้นขาดภริยาผู้อื่น; สำรวม (คือบังคับคำของตนเองมิให้เหไป) ในมิจฉาวาท (มุสาวาท) ปิสุณาวาจ ผรุสวาจ และอพัทธวาท(สัมผัปปลาป) ฯ (มีต่อในบทที่ ๙ )

บันทึก : อหึสา กับบทที่ ๑๐ อวิหึสา มีความหมายต่างกัน และจะเห็นได้ชัดในบทที่ ๑๔ ฯ

โลภวฺยาปาทนาสฺติกฺย-
ทฤษฏีนา ปริวรฺชนมฺ ฯ
เอเต กรฺมปถา ศุกฺลา
ทศ กฤษฺณา วิปรฺยยาตฺ ฯ๙ฯ

โลภพฺยาปาทนตฺถิกฺก-
ทิฏฺฐีนํ ปริวชฺชนํ
เอเต กมฺมปถา สุกฺกา
ทส กณฺหา วิปรียยา ฯ

(๙) เว้นสิ้นความโลภ ความพยาบาท และนัตถิกฺกทิฏฐิฯ เหล่านี้ เป็นกรรมบถฝ่ายขาวสิบประการ ที่เป็นฝ่ายดำก็โดยผิดจากนี้ ฯ

บันทึก : วิปรฺยยาตฺ ปัญจมี เอกวจนะ แห่งศัพท์วิปรฺยย ฯ บาลีใช้เป็น วิปริยย เช่นในอัฐกถาสุตตนิบาตหน้า ๔๙๙ ฯ

อมทยปานํ สฺวาชีโว
,วิหึสา ทานมาทราตฺ ฯ
ปุชฺยปูชา จ ไมตฺรี จ
ธรฺมศฺ ไจษ สมาสตะ ฯ๑๐ฯ

อมชฺชปานํ สุชีโว
อวิหึสา ทานมาทรา
ปุชฺชปูชา จ เมตฺตี จ
ธมฺโม เจส สมาสโต ฯ

(๑๐) การไม่ดื่มน้ำเมา อาชีพอันชอบ ไม่เบียดเบียนผู้อื่นเอื้อเฟื้อแบ่งปัน บูชาที่ควรบูชาและไมตรี นี้เป็นธรรมโดยสังเขป ฯ

ศรีรตาปนาทฺ ธรมะ
เกวลานฺ นาสฺติ เตน หิ
น ปรโทฺรหวิรติรฺ
น ปเรษามนุคฺรหะ ฯ๑๑ฯ

สรีรตาปนา ธมฺโม
เกวลํ นตฺถิ เตน หิ
น ปรทฺโทหวิรติ
น ปเรสํ อนุคฺคโหฯ

(๑๑) เพียงเหตุทรมาณตัว ธรรมยังไม่มี(แก่เขา)ฯ เพราะมิใช่ว่าจะเว้นประทุษต่อผู้อื่น มิใช่ว่าจะอนุเคราะห์ผู้อื่น ด้วยวิธีนั้น ฯ

บันทึก : บทนี้แย้งวิธีโยคปฏิบัติแห่งนิกายอื่นซึ่งเห็นว่าธรรม ต้องมาอยู่ในการปฏิบัติทรมาณตัวตึงเครียด คือพวกอาชีวกและนิครนถ์ ฯ โทฺรห บาลีเป็น โทห เช่นในอัฐกถาทีฆนิกายเล่ม ๑ หน้า ๒๙๖ ฯ

ทานศีลกฺษมาสฺปษฺฏํ
ยะ สทฺธรฺมมหาปถมฺ ฯ
อนาทฤตฺย วฺรเชตฺ กาย-
เกฺลศโค ทณฺฑโกตฺปไถะ ฯ๑๒ฯ

ทานสีลขมาทิฏฐํ
โย สทฺธมฺมมหาปถํ
อนาริย วเช กาย-
กิเลสโค ทณฺฑกุปฺปเถหิฯ

(๑๒) ผู้ใด ไม่เอื้อเฟื้อทางใหญ่แห่งสัทธรรม อันเห็นได้ชัดด้วยทานศีลและขันตี เป็นผู้ลุแก่กายกิเลส จะต้องเที่ยวฝ่าทางผิดเป็นพงชัฏ ฯ (ความไปต่อที่บท ๑๓)

บันทึก : สฺปษฺฏมฺ จาก สฺปศฺ(หมวดภู) ในความดูหรือความเห็น กับ ต ปัจจัย ไม่ทราบว่าคำในบาลีใช้อย่างไร จึงขอยืมทิฏฐิมาใช้แทน ฯ บาลีมี ปสฺ (เห็น) สํ. ก็มี ปศฺ หมวดทิวฺอย่างเดียวกัน ฯ วฺรเชตฺ สัตตมีเอกวจนะประถมบุรุษแห่ง วฺรชฺ (ในความเว้น) บาลีเป็นวชติ ซึ่งในจุลนิเทส(หน้า ๔๒๓) แก้ว่า คจฺฉติ กมติ ได้ในความว่า น เว กทริยา เทวโลกํ วชนฺติ (ธมฺมปท โลกวคฺค) ฯ บางทีเพี้ยนเป็นภชฺ ดังมีมาแล้วในบทที่ ๕ แต่ในรูปมาพ้องกับ ภชฺ (คบ) เลยแปลว่าคบไปด้วย เช่นในความว่า ภเชถ นกฺขตฺตปถํว จินฺทิมา(ธมฺมปท สุขวคฺค) ซึ่งอันที่จริง ถ้าแปลว่า “พึงไปหา.....เหมือนดวงจันทร์โคจร(ไปหา)คลองนักษัตร” ก็จะได้ความหมายอย่างตรงไปตรงมา ดีกว่าที่จะแปลอ้อมค้อมว่า “คบคลองนักษัตร” และจะต้องตีความอีกที่หนึ่งว่า “โคจรไปหา” ฯ อุตฺปไถะ ตติยาวิภัติพหูพจน์ บาลีต้องเป็น อุปฺปเถหิ เลยไม่ถูกคณะฉันท์ เป็นตัวอย่างอันหนึ่งว่าสํสกฤตจะแปลงเป็นบาลีให้ลงกันทุกส่วนไม่ได้เลย ฯ

ส สํสาราฎวึ โฆรา-
มนนฺตชนปาทปามฺ ฯ
เกฺลศวฺยาลาวลีฒางฺคะ
สุทีรฺฆํ ปฺรติปทฺยเต ฯ๑๓ฯ

โส สํสาราฏวึ โฆรํ
อนนฺตชนปาทปํ
กิเลสพาฬาวลิฬฺหงฺโค
สุทีฆํ ปฏิปชฺชติ ฯ

(๑๓) ผู้นั้นก็เข้าดงอันน่ากลัวคือสังสารวัฏ มีต้นไม้คือประชาชาติอเนกอนันต์ ตลอดกาลนานแสนนาน มีสัตว์ร้ายคือกิเลสตามเลียตนไป ฯ (บทต่อๆไปนี้ แสดงผลแห่งความเป็นผู้ลุกายกิเลส)

บัณทึก : อวลีฆ อว-ลิหฺ(ในความเลีย) ต ปัจจัย ในบาลีไม่ทราบว่าสำเร็จรูปเป็นอย่างไร แต่เมื่อเทียบกับรุหฺ-รุฬฺห มุหฺ-มุฬฺห วุหฺ-วุฬฺห แล้ว ในที่นี้จึงเป็น ลิฬฺห บ้างฯ Rhys Davids ว่า ลีฬฺหา มาจาก ลิหฺ ธาตุ (ขัด,ถู) เป็นนาม ยกตัวอย่างว่า พุทฺธลีฬฺหาย ธมฺมํ เทเสติฯ

หึสยา ชายเต ,ลปายุะ
พหฺวาพาโธ วิหึสยา ฯ
เจารฺเยณ โภควฺยสนี
สศตฺรุะ ปรทาริกะ ฯ๑๔ฯ

หึสาย ชายเตปฺปายุ
พหฺวาพาโธ วิหึสาย
เถยฺเยน โภคพฺยสนี
สสตฺตุ ปรทาริโก ฯ

(๑๔) เกิดเป็นผู้มีอายุสั้น เพราะผลาญชีพเขา เป็นผู้มีโรคมาก เพราะเบียดเบียนเขา เป็นผู้มีความติดใจในโภค เพราะขโมยเขา เป็นผู้มีศัตรู เพราะประพฤติผิดเมียเขา ฯ

บันทึก : มนูธรรมศาสตร์ อัธยาย ๗ โศลก ๔๕ เป็นต้นไป กล่าวถึง วยสนะ ความติดใจ ๑๐ อย่าง เกิดแต่กามและอีก ๗ อย่างแต่โกรธ คือ

ทศ กามสมุตฺถานิ ตถาษฺเฏา โกฺรธชานิ จ
วฺยสนานิ ทุรนฺตานิ ปฺรยตฺเนน วิวรฺชเยตฺ ฯ ๔๕
กามเชษุ ปฺรสกฺโต หิ วฺยสเนษุ มหึปติะ
วิยุชฺยเต ,รฺถธรฺมาภฺยํา โกฺรธเชษฺวาตฺมไนว ตุ ฯ ๔๖
มฤคยากฺษา ทิวาสฺวปฺนะ ปริวาทะ สตฺริโย มทะ
เตารฺยตฺริกํ วฤถาฐฺยา จ กามโช ทศโก คณะ ฯ ๔๗
ไปศุนฺยํ สาหสํ โทฺรห อีรฺษฺยาสูยารฺถทูษณามฺ
วาคฺทณฺฑชํ จ ปารุษฺยํ โกฺรธโช ปิ คโณ ,ษฺฏกะ ฯ ๔๘

ล่าสัตว์ พะนันสกา นอนกลางวัน นินทาเขา ติดหญิง น้ำเมา เต้นรำ ขับร้อง สังคีต เดินเตร็ดเตร่ ๑๐ อย่างเกิดแต่กาม ฯ ปิศุนาวาจ มุทะลุ ทรยศ ริษยา อิจฉา ชิงประโยชน์ ด่าทอ ผรุสวาจ ๗ อย่างเกิดแต่โกรธ ฯ

ปฺรตยาขฺยานํ มฤษาวาทาตฺ
ไปศุนยานฺ มิตฺรเภทนมฺ ฯ
อปฺริยศฺรวณํ เรากฺษฺยา-
ทพทฺธาทฺ ทุรภคํ วจะ ฯ๑๕ฯ

ปจฺจกฺขานํ มุสาวาทา
เปสุญฺญา มิตฺตเภทนํ
อปฺปิยสฺสวนํ โรสา
อพทฺธา ทุพฺภคํ วโจ ฯ

(๑๕) ถูกกล่าวตู่ เพราะมุสาวาท แตกเพื่อน เพราะปิสุณาวาจ ได้ยินแต่คำไม่ถูกหู เพราะผรุสวาท ได้ยินแต่เสียงอัปมงคล เพราะอพัทธวาท ฯ

บันทึก : ปฺรตฺยาขฺยานํ กล่าวตู่ ฯ ศัพท์บาลีที่ว่า ปจฺจกฺขานํ เป็นสักแต่แปลงให้ตรงกันตัวต่อตัวเท่านั้น ส่วนความที่ใช้หาตรงกันไม่ ในอภิธานปฺปทีปิกา บท ๗๗๕ แปลว่า “ความกล่าวคืน ความไม่รับ ความไม่ยอม” พบที่ใช้ในมโหสธชาดก มหานิบาตว่า “ปจฺจกฺขานุปทํ เหตํ” อรรถกถาแก้ว่า “ปจฺจกฺขานสฺส อนุปทํ, ปจฺจกฺขานการณํ ปจฺจกฺขานโกฏฺฐาโส” แต่ท่านแปลในชาดกนั้นว่า “เพราะถ้อยคำแห่งเจ้านั้นเป็นเหตุให้รู้ประจักษ์แล้ว ฯ สำหรับ “กล่าวตู่” บาลีใช้คำว่า อพฺภกฺขานํ (อภิธานปฺปทีปิกา บท ๑๑๖) เช่น “อพฺภกฺขานํ ว ทารุณํ” (ธมฺมปท ทณฺฑวคฺค) ฯ

มโนนรถานฺ หนฺตฺยภิธฺยา
วฺยาปาโท ภยทะ สฺมฤตะ ฯ
มิถฺยาทฤษฺฏิะ กุทฤษฺฏิตฺวํ
มทฺยปานํ มติภฺรมะ ฯ๑๖ฯ

มโนรถํ หนฺตฺยาภิชญา
พฺยาปาโท ภย มโต
มิจฺฉาทิฎฺฐิ กุทิฏฺฐิตฺตํ
มชฺชปานํ มติพฺภโม ฯ

(๑๖) อภิชญา เป็นเหตุฆ่ามโนรถ พยาบาท ว่าให้ผลเป็นภัย มิจฉทิฐิ(ความเห็นผิด)ให้กุทิฐิ(ความเห็นที่ไม่ดี) การดื่มน้ำเมา ส่งให้ความคิดป่วน ฯ

อปฺรทาเนน ทาริทรฺยํ
มิถฺยาชีเวน วญฺจนา ฯ
สฺตมฺเภน ทุะกุลีนตฺว-
มลฺเปาชสฺกตฺวมีรฺษยา ฯ๑๗ฯ

ทาฬิทฺทิยํ อปฺปทาเนน
มิจฺฉาชีเวน วญฺจนา
ถมฺเภน ทุกฺกุลีนตฺตํ
อิสฺสายปฺโปชกตฺตนํ ฯ

(๑๗) เพราะให้ทานอย่างเสียไม่ได้ จึงยากจน เพราะมิจฉาชีพ จึงถูกลวง เพราะดื้อดัน จิงเกิดในตระกูลเลว เพราะริษยา จึงไม่กำลังน้อย ฯ

บันทึก : อลฺเปาชสฺกตฺวมฺ แยกออกเป็น อลฺป (อปฺป) โอชสฺ (โอชา กำลัง) ก ตฺวมฺ (ตฺต ภาวตัทธิต) ฯ

โกฺรธาทฺ ทุรฺวรฺณตา เมารฺขย-
อปฺรศฺเนน วิปศฺจิตามฺ ฯ
ผลเมตนฺ มนุษฺยตฺเว
สรฺเวภฺยะ ปฺรากฺ จ ทุรฺคติะ ฯ๑๘ฯ

โกธา ทุพฺพณฺณตา มุกฺขํ
อปฺปญฺเหน วิปสฺสินํ
ผลํ เอตํ มนุสฺสตฺเต
สพฺเพหิ ปเค จ ทุคฺคติ ฯ

(๑๘) เพราะโกรธ จึงมีผิวพรรณน่าเกลียด เพราะไม่ไต่ถามนักปราชญ์ จึงโง่เง่า ฯ นี้เป็นผลในอัตภาพมนุษย์ ฯ แต่ทุคคติ (ต้องประสพ) ก่อนอื่นทั้งปวง ฯ

บันทึก : เมารฺขยมฺ จากศัพท์เดิมว่ามูรฺข (โง่บ้า) กับ ณฺย ปัจจัยภาวะตัทธิต,ทำศัพท์บาลีเอาเองเป็นมุกฺข ฯ

เอษามกุศลาขฺยานำ
วิปาโก ยะ ปฺรกีรฺติตะ ฯ
กุศลานำ จ สรฺเวษำ
วิปรีตะ ผโลทยะ ฯ๑๙ฯ

อิเมสากุสลาขฺยานํ
วิปาโก โย ปกิตฺติโต
กุสลานํ จ สพฺเพสํ
วิปรีโต ผลูทโย ฯ

(๑๙) กรรมเหล่านี้ ให้ผลตามที่กล่าวมาแล้ว เรียกว่าอกุศลกรรม ฯ ส่วนกุศลกรรมทั้งปวง บังเกิดผลผิด (ตรงกันข้าม) ฯ

http://board.agalico.com/showthread.php?t=26157

*8q*
01-16-2009, 07:56 PM
(๑๙) กรรมเหล่านี้ ให้ผลตามที่กล่าวมาแล้ว เรียกว่าอกุศลกรรม ฯ ส่วนกุศลกรรมทั้งปวง บังเกิดผลผิด (ตรงกันข้าม) ฯ

บันทึก : ในพากย์บาลี ใช้ อาขฺยา ตามอภิธานปฺปทีปิกา บท ๑๑๙ ฯ

โลโภ เทฺวษศฺ จ โมหศฺ จ
ตชฺชํ กรฺเมติ จาศุภมฺ ฯ
อโลภา โมหาเทฺวษาศฺ จ
ตชฺชํ กรฺเมตรจฺฉุภมฺ ฯ๒๐ฯ

โลโภ โทโส จ โมโห จ
ตชฺชํ กมฺมนฺติ จาสุภํ
อโลภา โทสา โมหา จ
ตชฺชํ กมฺมีตรํ สุภํ ฯ

(๒๐) โลภะ โทสะ และ โมหะ และกรรมที่เกิดจากอกุศลมูลทั้งสามนั้น เรียกว่าอศุภกรรม ฯ ส่วนอโลภะ อโทสะ อโมหะ และกรรมที่เกิดจากกุศลมูลทั้งสามอย่างหนึ่งนั้น เรียกว่าศุภกรรม ฯ

อศุภาตฺ สรฺวทุะขานิ
สรฺวทุรฺคตยสฺ ตถา ฯ
ศุภาตฺ สุคตยะ สรฺวาะ
สรฺวชนฺมสุขานิ จ ฯ๒๑ฯ

อสุภา สพฺพทุกฺขานิ
สพฺพทุคฺคติโย ตถา
สุภา สุคติโย สพฺพา
สพฺพชาติสุขานิ จ ฯ

(๒๑) เพราะอศุภกรรม จึงมีทุกข์ทั้งปวง และทุคคติทุกชาติ ฯ เพราะศุภกรรม จึงมีสุคติทั้งปวง และความสุขทุกชาติ ฯ

นิวฤตฺติรศุภาตฺ กฤษฺณาตฺ
ปฺรวฤตฺติสฺ ตุ ศุเถ สทา ฯ
มนสา กรฺมณา วาจา
ธรฺโม ,ยํ ทฺวิวิธะ สฺมฤตะ ฯ๒๒ฯ

นิวตฺติ อสุภา กณฺหา
ปวตฺติ ตุ สุเภ สทา
กาเยน วาจามนสา
ธมฺโมยํ ทุพฺพิโธ มโต ฯ

(๒๒) กลับจากฝ่ายดำ คืออศุภกรรม แต่ประพฤติในศุภกรรมอยู่เสมอ ด้วยกาย วาจา ใจ ฯ นี้ที่บัณฑิตกำหนดไว้ว่าเป็นธรรมสองประการ ฯ (ต่อในบท ๒๓)

นรกเปฺรตติรฺยคฺโภฺย
ธรฺมาทสฺมาทฺ วิมุจฺยเต ฯ
นฤษุ เทเวษุ จาปฺโนติ
สุขศฺรีราชฺยวิสฺตรานฺ ฯ๑๓ฯ

นรกปฺเปตติรจฺฉาเนหิ
อสฺมา ธมฺมา วิมุจฺจติ
นเรสุ เทเวสุ จ ปปฺโปติ
สุขสิริรชฺชวิตฺถรํ ฯ

(๒๓) เพราะธรรม (สองประการ)นี้ บุคคลย่อมพ้นจากกำเนิดนรกเปรตและดิรัจฉาน และย่อมถึงความไพศาลแห่งสุขสิริรและอานุภาพปานพระราชา ในหมู่หมุษย์และเทวนิกาย ฯ

ธฺยานาปฺรมาณารูปฺไยสฺ ตุ
พฺรหฺมาทฺยสุขมศฺนุเต ฯ
อิตฺยภฺยุทยธรฺโม ยํ
ผลํ จาสฺย สมาสตะ ฯ๒๔ฯ

ฌานปฺปมญิญารูเปหิ
พฺรหฺมาทิสุขํ อสติ
อิจฺจพฺภุทยธมฺโมยํ
ผลํ จสฺส สมาสโต ฯ

(๒๔) ก็บุคคลย่อมเสวยสุขแห่งพรหมเป็นเบื้องหน้า เพราะรูปฌาน อัปปมัญญาภาวนา และอรูปฌาน ฯ นี้คือ อัภยุทัยธรรมและผลแห่งธรรมนั้น โดยสังเขปฉะนี้ ฯ

ไนะเศฺรยสะ ปุนรฺ ธรฺมะ
สูกฺษฺโม คมฺภีรทรฺศนะ ฯ
พาลานามโศฺรตฺรวตา-
มุกฺตสฺ ตฺราสกโร ชิไนะ ฯ๒๕ฯ

เนสฺเสยฺยโส ปุน ธมฺโม
สุขุโม คมภีรทสฺสโน
พาลานํ อสฺสุตวตํ
ชิเนหิ ตาสกโร วุตฺโตฯ

(๒๕) อีกประการหนึ่ง เนสไสยสธรรม เป็นธรรมสุขุมปรากฏลึกซึ้ง พระชินะทั้งหลายว่าเป็นสภาพทำความหวาดหวั่นแก่พวกเขลาที่ขาดการสดับ ฯ

บันทึก : พระนาคารชุนชี้ให้เห็นว่า อะไรเป็นความหลุดพ้นและทางซึ่งนำไปสู่ความหลุดพ้นนั้นคือปรัชญา ฯ ความหลุดพ้นนั้นเป็นความที่ว่างเปล่าจากทุกสิ่งทุกอย่าง ทั้งลึกโล่งโว่งลงไปคล้ายกับเป็นเหวลึกโว่งว่างจนแลไม่เห็นกัน น่าหวาดเสียวแก่ผู้ที่ยังไม่เคยได้ยินได้ฟังเป็นพื้นไว้เลย ฯ เพราะฉะนั้น คำสอนของพระพุทธเจ้าจึงมักเขยิบความรู้ที่ละขั้นๆ เป็นพื้นฐานแก่ผู้ฟังเพื่อฝึกความรู้สึกให้หยั่งลงไปทีละน้อย ไม่วูบวาบที่เดียว วิธีนี้เรียกว่า อุปายเกาศลย์ ฯ-นัย ตุจจิ

นาสฺมฺยหํ น ภวิษฺยามิ
น เม ,สฺติ น ภวิษฺยติ ฯ
อิติ พาลสฺย สนฺตฺราสะ
ปณฺฑิตสฺย ภยกฺษยะ ฯ๒๖ฯ

นาหมสฺมิ น ภวิสฺสสามิ
น มตฺถิ น ภวิสฺสติ
อิติ พาลสฺส สนฺตาโส
ปณฺฑิตสฺส ภยกฺขโย ฯ

(๒๖) คนเขลาย่อมเกิดหวั่นหวาดใจว่า “อันว่าเราไม่มีอยู่ อันว่าเราจักไม่มีเลย สำหรับไม่มีปัจจุบัน ไม่มีอนาคต” ฯ ส่วนบัณฑิต สิ้นความนึกกลัว ฯ

อหํการปฺรตูเตยํ
มมกาโรปสํหิตา ฯ
ปฺรชา ปฺรชาหิไตกานฺต-
วาทินา ,ภิหิตา ขิล ฯ๒๗ฯ

อหํการปฺปสุตายํ
มมํการูปสญฺหิตา
ปชา ปชาหิเตกนฺต-
วาทินา อภิหิตา กิร ฯ

(๒๗) ท่านว่า พระพุทธเจ้าผู้ตรัสแต่ประโยชน์เกื้อกูลโดยส่วนเดียวแก่ประชากร ก็ได้ตรัสไว้แล้วว่า ประชากรนี้เกิดมาจากอหังการ (ความสำคัญว่าตัวเรา) ประด้วยมมังการ (ความสำคัญว่าเป็นของเรา) ฯ

อสฺตฺยหํ มม จาสฺตีติ
มิถฺไยตตฺ ปรมารฺถตะ ฯ
ยถาภูตปริชฺญานานฺ
น ภวตฺยุภยํ ยตะ ฯ๒๘ฯ

อตฺถิ มม จตฺถีติ
มิจฺเฉตํ ปรมตถฺโต
ยถาภูตปริญฺญาณา
น โหติ อุภยํ ยโต ฯ

(๒๘) ข้อว่า “มีตัวเราและเป็นของเรา” นี้ เป็นความสำคัญผิดโดยปรมัตถ์ ฯ เพราะว่าประชุมทั้งสองนี้ย่อมมีไม่ได้ หากรู้รอบคอบตามที่ปรากฏ ฯ

บันทึก : “หากรู้รอบคอบตามที่ปรากฏ” ความหมายถึงอีกทางหนึ่งว่า เรื่องตัวตนที่จะกล่าวว่ามีได้ ก็เพียงเพราะเห็นสัจจะตามที่โลกหมายเอาเอง คือสํวฤติสัตย โลกสัตย พยวหารสัตย ฯ –ตุจจิ. สํวฤติสัตย ใช้ตรงกับบาลีว่า สมมุติสัจจะ ฯ สํวฤติ คือ สํ-วฤ (ในความปิด,กั้น,ที่ลง อ ปัจจัยเป็นสํวร) กับติ ปัจจัย ฯ สํวฤติสัตย ว่าสัจจะโดยกำหนดเอา โลกสัตย ว่าสัจจะตามคดีโลก พยวหารสัตย ว่าสัจจะโดยที่ชินกัน ฯ

อหํกาโรทฺภวาะ สฺกนฺธาะ
โส ,หํกาโร ,นฤโต ,รฺถตะ ฯ
พีชํ ยสฺนานฤตํ ตสฺย
ปฺรโรหะ สตฺยตะ กุตะ ฯ๒๙ฯ

อหํการุพภวา ขนฺธา
โสหํกาโร (อนฤโต) อตฺถโต
พีชํ ยสฺส (อนฤตํ) ตสฺส
ปโรโห สจฺจโต กุโต ฯ

(๒๙) ขันธ์ (ทั้งห้ามีอหังการเป็นแดนเกิดขึ้น ฯ ก็อหังการ (ความสำคัญว่าตัวเรา) นั้น ไม่จริงเลยโดยปรมัตถ์ ฯ อันว่าพืชแห่งสิ่งใดไม่แท้แล้ว จะหาหน่อแห่งสิ่งนั้นให้จริงมาแต่ไหน ฯ

บันทึก : อนฤต : น,ฤ(ธาตุ), ต ปัจจัย ฯ ฤ ในความไป เคลื่อนไป แผ่ไป ที่ในบาลีใช้ว่าทุกฺขํ อติจฺจ อิริยติ อิริยาปถ ฯ อนฤต เป็นไปไม่ได้ คือไม่จริง ฯ

สฺกนฺธานสตฺยานฺ ทฤษฺไฏวว-
มหํการะ ปฺรหียเต ฯ
อหํการปฺรหาณาจฺ จ
น ปุนะ สฺกนฺธสมฺภวะ ฯ๓๐ฯ

ขนฺเธ อสจฺเจ ทิเสฺววํ
อหํกาโร ปหิยฺยติ
อหํการปฺปหานา จ
น ปุน ขนฺธสมฺภโว ฯ

(๓๐) เมื่อเห็นขันธ์ (ทั้งห้า) ว่าไม่จริงฉะนี้แล้วก็ย่อมละอหังการเสียได้ ฯ และเพราะประหาณอหังการนั้น ขันธสมภพหาปรากฏอีกไม่เลย ฯ

ยถาทรฺศมุปาทาย
สฺวมุขปฺรติพิมฺพกํ ฯ
ทฤศฺยเต นาม ตจฺไจวํ
น กิญฺจิทปิ ตตฺตฺวตะ ฯ๓๑ฯ

ยถาทาสมุปาทาย
สมุขปฏิพิมฺพกํ
ทิสฺสติ นาม ตญฺเจวํ
น กิญฺปิ อปิ ตตฺตโต ฯ

(๓๑) เหตุยกแว่นส่องดู เงาหน้าของตนจึงนับว่าปรากฏ ฯ แต่ตัวเงาไม่มีจริงเช่นนั้นแม้น้อยหนึ่ง ฉันใต ฯ

อหํการสฺ ตถา สฺกนฺธา-
นุปาทาโยปลภฺยเต ฯ
น จ กศฺจิตฺ ส ตตฺเตฺวน
สฺวมุขปฺรติพิมฺพวตฺ ฯ๓๒ฯ

อหํกาโร ตถา ขนฺเธ
อุปาทายูปลพฺภติ
น จ ตตฺเตน โส โกจิ
สมุขปฏิพิมฺพิว ฯ

(๓๒) อหังการก็ฉันนั้น อาศัยขันธ์จึงปรากฏ ฯ แต่ตัวอหังการไม่มีจริงสักน้อยเลย เสมือนกับเงาหน้าของตน ฯ

ยถาทรฺศมนาทาย
สฺวมุขปฺรติพิมฺพกมฺ ฯ
น ทฤศฺยเต ตถา สฺกนฺธา-
นนาทายาหมิตฺยปิ ฯ๓๓ฯ

ยถาทาสมนาทาย
สมุขปฏิพิมฺพกํ
น ทิสฺสติ ตถา ขนฺเธ
อนาทายาหมิจฺจปิ ฯ

(๓๓) เหตุไม่ถือแว่นส่องดู ย่อมไม่ปรากฏเงาหน้าของตน ฉันใด ฯ เมื่อไม่ยึดถือขันธ์ ความสำคัญว่าตัวเราก็ไม่ปรากฏ ฉันนั้น ฯ

เอวํวิธารฺถศฺรวณาทฺ
ธรฺมจกฺษุรวาปฺตวานฺ ฯ
อารฺยานนฺทะ สฺวยํ ไจว
ภิกฺษุโภฺย ,ภีกฺษฺณมุกฺตวานฺ ฯ๓๔ฯ

เอวํวิธตฺถสฺสวนา
ธมฺมจกฺขุ۫ (อวาปฺตวาน)
อริยานนฺโท สยญฺเจว
ภิกฺขูนํ อภิณฺหํ วุตฺตวา ฯ

(๓๔) เพราะสดับเนื้อความมีประการดังนี้ พระอริยเจ้าอานนท์จึงบรรลุธัมมจักขุ และตัวท่านเองก็ได้แสดงแล้วเนืองๆ แก่ภิกษุทั้งหลาย ฯ

บันทึก : อวาปฺตสานฺ อว,อาปฺ(ธาตุ) ตวนฺตุปัจจัย ปฐมาเอกวจนะ ฯ อาปฺ(ในความถึง) ที่ในบาลีใช้ ป เป็นบทหน้าเช่น ปาปุณาติ ปปฺโปติ, สํ. ปฺราปฺโณติ ฯ อุกฺตวานฺ วุจฺ(ในความกล่าว) ตวนฺตุปัจจัย ปฐมาเอกวจนะ ฯ

สฺกนฺธคฺราโห ยาวทสฺติ
ตาวเทวาหมิตฺยปิ ฯ
อหํกาเร สติ ปุนะ
กรฺม ชนฺม ตตะ ปุนะ ฯ๓๕ฯ

ขนฺธคฺคาโห ยาว อตฺถิ
ตาวเทวาหมิจฺจปิ
อหํกาเร สติ ปุน
กมฺมํ ชาติ ตโต ปุน ฯ

(๓๕) มีการยึดขันธ์อยู่ตราบใด ความสำคัญว่าตัวเราก็มีถึงตราบนั้นทีเดียว ฯ เมื่อมีอหังการอยู่อีก กรรมและชาติก็ออกจากนั้นไปใหม่ ฯ

ตฺริวรฺไมตทนาทฺยนฺต-
มธฺยํ สํสารมณฺฑลมฺ ฯ
อลาตมณฺฑลปฺรขฺยํ
ภฺรมตฺยนฺโยนฺยเหตุกมฺ ฯ๓๖ฯ

ติวฏมํ เอตํ อนาทิอนฺต-
มชฺฌํ สํสารมณฺฑลํ
อลาตมณฺฑลปกฺขํ
ภมติ อญโญญฺญเหตุกํ ฯ

(๓๖) วงกลมแห่งสังสารนี้ ไม่มีเบื้องต้นที่สุดและท่ามกลางย่อมหมุน เหมือนไฟปลายฟืนที่หมุนติ้ว มีทางสามสายเป็นเหตุแก่กันและกัน ฯ

บันทึก : ทางสามสายคืออหังการ กรรม ชาติ พอจะตรงกับไตรวัฏ คือกิเลส กรรม วิบาก ฯ วฏุมํ อภิธานนฺปทีปิกา บท ๑๙๐ ว่าทาง ทางสามสายนี้ รูปร่างจะต้องต่อถึงกันเป็นวงกลม เป็นอย่างกงเวียนซึ่งใช้ฝักมะขามเพียงสามชิ้น จึงส่งเหตุผลสืบต่อกันและกันได้ ฯ ปฺรขฺยํ ปฺร ขฺยา(ในความเห็น) ที่ในบาลีใช้ว่า ปกฺขาติ ในทีฆนิกายเล่ม ๒ หน้า ๙๙ ฯ ในมิลิทปัญหามีว่า มาตุปกฺขํ เหมือนมารดา ฯ เมื่อจับฟืนที่มีไฟติดอยู่ข้างหนึ่ง หมุนให้บรรจบรอบโดยเร็ว แม้ไฟติดอยู่ปลายฟืนเพียงนิดเดียว ก็เห็นเป็นวงไฟ อันไม่มีต้นกลางและปลาย ฉันใด สังสารวัฏก็เช่นเดียวกัน ฯ

สฺวปโรภยตสฺ ตสฺย
ไตฺรกาลฺยโต ,ปฺยปฺราปฺติตะ ฯ
อหํการะ กฺษยํ ยาติ
ตตะ กรฺม จ ชนฺม จ ฯ๓๗ฯ

สปรูภยโต ตสฺส
เตกาลิกโตปิ อปตฺติโต
อหํกาโร ขยํ ยาติ
ตโต กมฺมํ จ ชาติ จ ฯ

(๓๗) เพราะความที่อหังการนั้น ใครๆไม่อาจแสดงให้เห็นได้ว่ามีขึ้นโดยตัวเอง หรือโดยผู้อื่น หรือโดยทั้งตัวเองและผู้อื่นร่วมกันทั้งสอง หรือว่ามีขึ้นในสามกาล อหังการจึงถึงความสิ้นไปได้ แต่นั้น ก็กรรมและชาติ ฯ

เอวํ เหตุผโลตฺปาทํ
ปศฺยํสฺ ตตฺกฺษยเมว จ ฯ
นาสฺติตามสฺติตำ ไจว
ไนติ โลกสฺย ตตฺตฺวตะ ฯ๓๘ฯ

เอวํ เหตุผลุปฺปาทํ
ปสฺสํ ตกฺขยเมว จ
นตฺถิตํ อตฺถิตํ เจว
เนติ โลกสฺส ตตฺตโต ฯ

(๓๘) บัณฑิต เห็นความเกิดแห่งเหตุและผล และความสิ้นไปแห่งมันนั้นเอง ด้วยประการฉะนี้อยู่ ย่อมไม่ถึงซึ่งความเห็นว่าโลกไม่มีหรือมี ได้ตามที่เป็นจริง ฯ

http://board.agalico.com/showthread.php?t=26157