เข้าสู่ระบบ

แสดงเวอร์ชันเต็ม : อัสมิมานะ



LOTUS
03-16-2009, 08:24 PM
ขอความกระจ่างสำหรับคำนี้
นับถือทุกท่าน

arkom
03-16-2009, 09:04 PM
เข้ามารออาจารย์ครับ อิอิ

D E V
03-16-2009, 10:35 PM
อัสมิมานะ หมายถึง ความถือตัวถือตน ถือตนว่าเป็นเรา
ถือเอาขันธ์ 5 ว่าเป็นตัวเราตัวฉัน ถือในตัวตนเป็นอัตตา


อัสมิมานะ เป็นประเภทหนึ่งในมานะ 7 ได้แก่

มานะ (895)
อติมานะ (896)
มานาติมานะ (897)
โอมานะ (898)
อธิมานะ (899)
อัสมิมานะ (900)
มิจฉามานะ (901)

(ดูรายละเอียดแต่ละอย่างตามเลขที่กำกับนะคับ)


******************************************

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕
พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒
วิภังคปกรณ์


[๘๙๕] ความถือตัว เป็นไฉน
ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว สภาพที่ถือตัว การยกตน การเทอดตน
ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง การเชิดชูตนดุจธง การยกตนขึ้น
ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง อันใด นี้เรียกว่า ความถือตัว

[๘๙๖] ความดูหมิ่นผู้อื่น เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ ดูหมิ่นคนอื่นๆ โดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง
คือโดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นลูกผู้มีสกุล ฯลฯ
ความถือตัว กิริยาที่ถือตัวสภาพที่ถือตัว การยกตน การเทิดตน การเชิดชูตนดุจธง ความยกตนขึ้น
ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ความดูหมิ่นผู้อื่น

[๘๙๗] ความเย่อหยิ่ง เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เบื้องต้นถือตนว่าเสมอกับคนอื่นๆ
ต่อมาภายหลังถือตนว่าเลิศกว่าคนอื่นๆ ไม่ลดตนให้ต่ำกว่าคนอื่นๆ โดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง
คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นลูกผู้มีสกุล ฯลฯ
ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว สภาพที่ถือตัว การยกตน การเทิดตน การเชิดชูตนดุจธง ความยกตนขึ้น
ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ความเย่อหยิ่ง

[๘๙๘] ความดูหมิ่นตนเอง เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ ดูหมิ่นตนเอง โดยเหตุอย่างหนึ่ง
คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นลูกผู้มีสกุล โดยความเป็นผู้มีรูปงาม โดยทรัพย์
โดยความเป็นใหญ่ โดยหน้าที่การงาน โดยศิลปะ โดยวิทยฐานะ โดยการศึกษา หรือโดยปฏิภาณ
ความดูหมิ่นตน กิริยาที่ดูหมิ่นตน สภาพที่ดูหมิ่นตน ความเกลียดตน ความดูถูกตน
ความดูถูกตนว่าต่ำช้า ความดูแคลนตน อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ความดูหมิ่นตนเอง

[๘๙๙] ความสำคัญว่าได้บรรลุธรรมวิเศษ เป็นไฉน
ความสำคัญว่าถึงแล้วในธรรมที่ตนยังไม่ถึง
ความสำคัญว่าทำแล้วในกิจที่ตนยังไม่ได้ทำ
ความสำคัญว่าบรรลุแล้วในธรรมที่ตนยังไม่บรรลุ
ความสำคัญว่าได้ทำให้แจ้งแล้ว ในธรรมที่ตนยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว สภาพที่ถือตัว การยกตน การเทิดตน การเชิดชูตนดุจธง ความยกตนขึ้น
ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง อันใดมีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ความสำคัญว่าได้บรรลุธรรมวิเศษ

[๙๐๐] ความสำคัญว่ามีอัตตาตัวตน เป็นไฉน
ความสำคัญในรูป ว่าเป็นตัวเรา ความพอใจในรูปว่าเป็นตัวเรา ความเข้าใจในรูปว่าเป็นตัวเรา
ความสำคัญในเวทนาว่าตัวเรา ฯลฯ
ความสำคัญในสัญญาว่าเป็นตัวเรา ฯลฯ
ความสำคัญในสังขารว่าเป็นตัวเรา ฯลฯ
ความสำคัญในวิญญาณว่าเป็นตัวเรา ความพอใจในวิญญาณว่าเป็นตัวเรา ความเข้าใจในวิญญาณว่าเป็นตัวเรา
ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว สภาพที่ถือตัว การยกตน การเทิดตน การเชิดชูตนดุจธง ความยกตนขึ้น
ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ความสำคัญว่า มีอัตตา ตัวตน

[๙๐๑] ความถือตัวผิด เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ ถือตนโดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง
คือโดยหน้าที่การงานอันลามก โดยศิลปะอันลามก โดยวิทยฐานะอันลามก
โดยการศึกษาอันลามก โดยปฏิภาณอันลามก โดยศีลอันลามก โดยวัตรอันลามก
โดยศีลและวัตรอันลามก หรือโดยทิฏฐิอันลามก
ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว สภาพที่ถือตัว การยกตน การเทิดตน การเชิดชูตนดุจธง การยกตนขึ้น
ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ความถือตัวผิด



http://www.watkoh.com/board/Smileys/default/cool.gif เดฟ

LOTUS
03-17-2009, 09:07 AM
ขอท่านข่วยอธิบายเป็นเชิงเปรียบเทียบที่เข้าใจง่าย
ขึ้น นะเจ้าค่ะ ยกตัวอย่าง เป็นคนในโลกปัจจุบันนะคะ
อนุโมทนา สาธุ สาธุ

D E V
03-17-2009, 10:33 AM
ข้อความจากพระไตรปิฎก
ซึ่งเป็นบันทึกพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า
เป็นถ้อยคำสำนวนที่ใช้กันในครั้งก่อน
พอเรามาอ่านก็อาจจะรู้สึกว่าเข้าใจยาก
เพราะความไม่คุ้นเคยกับถ้อยคำสำนวนนั้น...ใช่มั้ยคับ

แต่จากข้อความที่มีแสดงไว้ในส่วนนี้
ถ้อยคำสำนวนที่ใช้ค่อนข้างเรียบง่าย...ไม่ยากเกินไป...พอจะอ่านได้ง่าย
ก็เลยคัดมาให้ดู เพื่อให้เห็นถึงพระธรรมคำสอนแท้ๆ ของพระพุทธเจ้า
ให้เห็นว่าไม่ใช่คนโน้นคนนี้กล่าวอ้างขึ้นมาเอง
แต่เป็นไปตามที่พระพุทธเจ้าทรงกล่าว...เสมือนได้ฟังธรรมจากพระโอษฐ์

อ่ะคับ ไม่ทราบว่า...อ่านแล้วงง หรือไม่เข้าใจตรงไหนคับ
จะได้อธิบายชี้เฉพาะไปในจุดนั้น
หรือว่า...ไม่เข้าใจทั้งหมดเลย...ยังงั้นหรือเปล่าคับ ?

หรือไม่งั้น...คุณ LOTUS ลองอธิบายตามความเข้าใจของคุณ LOTUS มาดีมั้ยคับ
จะได้เป็นการพิจารณาให้เกิดความเข้าใจได้ด้วยตนเองในเบื้องต้น
แล้วถ้าตรงไหนที่คลาดเคลื่อนไป...จึงค่อยปรับแก้ให้ในส่วนนั้น
จะได้เป็นการแลกเปลี่ยนความเข้าใจกันน่ะคับ

อนุโมทนาคับ



http://www.watkoh.com/board/Smileys/default/cool.gif เดฟ

LOTUS
03-17-2009, 04:23 PM
สิ่งซึ่งเป็นมูลแห่งการกระทำทุกๆ สิ่งที่กล่าวนี้ก็คือ ความรู้สึกที่เป็นสัญชาตญาณชั้นต้นตอ๑ (http://www.buddhadasa.org/html/word/articles/ego01.html#n1) ที่เป็นความยึดถือว่า "ฉันเป็นฉัน" อันประจำอยู่ในสันดานสัตว์ทั้งหลายนั่นเอง ความรู้สึกยึดถือว่า "ฉันเป็นฉัน" อันประจำอยู่ในส่วนลึกของสันดานสัตว์ทั่วไปนี้ ถ้าเรียกอย่างบาลี ก็เรียกว่า อัสมิมานะ เป็นความยึดถือว่า ตัวมี ตัวเป็นอยู่กะเขาด้วยคนหนึ่ง และตัวมีความเด่นเป็นของตัว หรือต้องมีความเด่นเป็นของตัวอยู่กะเขาด้วยเหมือนกันอย่างเด็ดขาด
สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจต่อไปในข้อนี้ก็คือว่า ความยึดถือว่า "ฉันเป็นฉัน" นี้ จะต้องควบคุมกันอยู่ หรือเลยไปถึงความยึดถือที่ว่าตัวมีความเด่นอย่างมนุษย์คนหนึ่งหรือสัตว์ตัวหนึ่งเสมอไป อย่างที่จะแยกกันไม่ได้ ทำนองเดียวกับการเผาไหม้กับความร้อน เป็นสิ่งแยกจากกันไม่ได้ฉันใดก็ฉันนั้น แต่ว่าสัตว์นั้นไม่จำเป็นต้องมีความรู้ว่าความเด่นที่ถูกต้องนั้นคืออะไร ย่อมจะถือเอาความมีตัวของเขาเอง ตามความหมายหรือตามความรู้สึกของเขาเองว่า นั่นแหละคือความเด่นแห่งตัวเขา ที่เขาจะต้องมีอัสมิมานะ

LOTUS
03-17-2009, 04:46 PM
พระองค์ได้ตรัสไว้ว่า อสฺมิมานสฺส วินโย เอตํ เว ปรมํ สุขํ ซึ่งแปลว่า "การนำออกเสียได้ซึ่งอัสมิมานะนั่นเป็นความสุขอย่างยิ่ง"


จาก จิตวิเคราะห์แบบพุทธ
ความเรียงรุ่นเก่าที่หาอ่านได้ยากของท่านพุทธทาสภิกขุ บางส่วนที่
ได้ตัดตอนมา มีความคิดเห็นว่าเป็นประโยชน์ เจ้าค่ะ




http://www.buddhadasa.org/images/line_red.gif

D E V
03-17-2009, 04:49 PM
อ่ะคับ ที่คุณ LOTUS ยกมา
เป็นข้อความความบางตอนจาก "ปมเขื่อง" โดยท่านพุทธทาสภิกขุ
ซึ่งเนื้อเรื่องเต็มๆ มีมากกว่านี้...ใช่มั้ยคับ

แล้ว....................? ? ?
ยังไงนะคับ

คือจากที่ถามคุณ LOTUS ไว้ในความเห็นก่อนว่า
หรือไม่งั้น...คุณ LOTUS ลองอธิบายตามความเข้าใจของคุณ LOTUS มาดีมั้ยคับ

แล้วคุณ LOTUS ได้ตัดตอนบางส่วนของข้อความนี้มา
หมายถึงคุณ LOTUS เข้าใจแล้วตามข้อความที่ยกมา...ยังงี้ใช่มั้ยคับ

ก็แสดงว่าไม่ได้ติดขัดสงสัยอะไร ใช่มั้ยคับ?


เนื้อเรื่องเต็ม...ปมเขื่อง
http://www.buddhadasa.org/html/word/articles/ego01.html



http://www.watkoh.com/board/Smileys/default/cool.gif เดฟ

LOTUS
03-17-2009, 05:15 PM
แท้จริง แล้ว เหมือนเข้าใจแต่ไม่เข้าใจ ต้องการความคิดเห็นที่หลากหลาย เผื่อจะทำให้กระจ่างชัดยิ่งขึ้น
อนุโมทนา

*8q*
03-17-2009, 05:54 PM
สาธุครับโลตัสมีทุกสิ่งให้เลือกสันhttp://www.watkoh.com/board/Smileys/default/grin.gif

D E V
03-17-2009, 06:49 PM
อ่ะคับ
แท้จริงแล้วเหมือนเข้าใจ...แต่ไม่เข้าใจ

ที่ว่าเหมือนเข้าใจ
พอจะเล่าให้เพื่อนๆ ฟังได้มั้ยคับ ว่าคิดเห็นอย่างไรกับ อัสมิมานะ ?

ลองค่อยๆ เรียบเรียงความคิดและพิจารณาไปก็ได้คับ
ไม่ต้องวันนี้พรุ่งนี้ก็ได้...ไว้วันที่สรุปได้ ค่อยมาเล่าเพิ่มเติมให้เพื่อนๆ ฟังต่อก็ได้อ่ะคับ
เพื่อจะได้โฟกัสประเด็นได้ให้แคบเข้า
ตรงประเด็นที่ไม่เข้าใจมากที่สุด...ว่าไม่เข้าใจอย่างไร ตรงไหน จุดไหน ประเด็นไหน
เพราะมิเช่นนั้น...ไม่เข้าใจ...โดยไม่ระบุข้อติดขัดสงสัยในส่วนไหนมาเลย
นี่กว้างมากเลยอ่ะคับ...อาจจะต้องว่ากันไปกว้างมากๆ แบบน้ำท่วมทุ่งเลยน่ะคับ

หรือถ้าตั้งต้นไม่ถูก ลองย้อนกลับไปที่...
อัสมิมานะ หมายถึง ความถือตัวถือตน ถือตนว่าเป็นเรา
ถือเอาขันธ์ 5 ว่าเป็นตัวเราตัวฉัน ถือในตัวตนเป็นอัตตา
เอาเพียงบทสรุปสั้นๆ เพียงแค่นี้น่ะคับ...ไม่ทราบว่าเข้าใจหรือสงสัยยังไงบ้างคับ

(จริงๆ แล้วในข้อความที่ 900)
(ที่อธิบายเกี่ยวกับอัสมิมานะ...ก็มีกล่าวไว้ตรงตัวชัดเจนได้ใจความ)
(แม้จะเป็นข้อความที่กล่าวไว้นาน แต่พระธรรมนั้นก็ไม่ตกโลกยุคปัจจุบัน)

ไม่ทราบว่า....
ไม่เข้าใจความถือตัว ถือตน ไม่เข้าใจความยึดมั่นในตน ไม่เข้าใจขันธ์ 5 ไม่เข้าใจอัตตา
หรือไม่เข้าใจตรงจุดไหนคับ...พอจะระบุสิ่งที่สงสัยได้มั้ยคับ?

ยังไงก็ขอเชิญเพื่อนๆ ร่วมให้ความเห็นที่หลากหลายเกี่ยวกับ อัสมิมานะ ด้วยกันนะคับ
และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าความเห็นที่หลากหลายนี้จะช่วยให้เข้าใจยิ่งๆ ขึ้นคับ
อนุโมทนาคับ



http://www.watkoh.com/board/Smileys/default/cool.gif เดฟ

LOTUS
03-17-2009, 07:44 PM
ขออนุญาตถาม แทนที่ตอบอย่างที่ท่านเดฟ ต้องการทราบ

จิตของท่านในขณะที่โพสต์ถามเป็นเช่นไร

D E V
03-17-2009, 07:52 PM
ในขณะที่โพสท์ถาม
มีความห่วงใย และใคร่ให้ความกระจ่างในสิ่งที่คุณ LOTUS สงสัย
เพราะข้อความที่ยกมาให้ดูนั้น ค่อนข้างชัดเจนแล้ว
แต่คุณ LOTUS กล่าวว่า...ยังไม่เข้าใจ
จึงพยายามถามในสิ่งที่คุณ LOTUS กำลังสงสัยให้แน่ชัด
ไม่กำกวม หรือมีเพียงแค่คำว่า ... ไม่เข้าใจ
โดยไม่มีรายละเอียดอะไรเลยอ่ะคับ




http://www.watkoh.com/board/Smileys/default/cool.gif เดฟ

*8q*
03-17-2009, 07:59 PM
อ่านแล้วอ่านอีกครับhttp://www.watkoh.com/board/Smileys/default/huh.gif

LOTUS
03-18-2009, 08:39 AM
ขอบคุณ ท่าน q8 สั้น ๆ นะ
อนุโมทนา

Rakdeawjaideaw
03-19-2009, 01:02 PM
ขอท่านข่วยอธิบายเป็นเชิงเปรียบเทียบที่เข้าใจง่าย
ขึ้น นะเจ้าค่ะ ยกตัวอย่าง เป็นคนในโลกปัจจุบันนะคะ
อนุโมทนา สาธุ สาธุ


...http://www.watkoh.com/board/Smileys/default/smiley.gif




พระองค์ได้ตรัสไว้ว่า อสฺมิมานสฺส วินโย เอตํ เว ปรมํ สุขํ ซึ่งแปลว่า "การนำออกเสียได้ซึ่งอัสมิมานะนั่นเป็นความสุขอย่างยิ่ง"


จาก จิตวิเคราะห์แบบพุทธ
ความเรียงรุ่นเก่าที่หาอ่านได้ยากของท่านพุทธทาสภิกขุ บางส่วนที่
ได้ตัดตอนมา มีความคิดเห็นว่าเป็นประโยชน์ เจ้าค่ะ


อสฺมิมานสฺส วินโย เอตํ เว ปรมํ สุขํ
"การนำออกเสียได้ซึ่งอัสมิมานะนั่นเป็นความสุขอย่างยิ่ง"

อัสมิมานะ = ภาษาไทย ถือตัว,มีมานะ(ทิฏฐิเกี่ยวกับตัวตนว่าเที่ยงแท้ เป็นฉันเป็นของ ๆ ฉัน)

อสฺมิ = มี,เป็น มาน = บูชา,ความถือตัว,มานะ มน = ใจ

อสฺมิ เป็นคำกิริยา ประกอบด้วย (ธาตุ ปัจจัย วิภัตติอาขยาต)

รากศัพท์มาจาก อส ธาตุ อรรถว่า อส ภุวิ แปลว่าในความมีความเป็น + ลง อ ปัจจัย ในอรรถกัตตุวาจก คือกิริยาศัพท์ที่กล่าวถึงผู้ทำ + ลง มิ วัตตมนาวิภัติ ในความหมายว่า อยู่,ย่อม,จะ

(อสฺ+อ+มิ) สำเร็จรูปเป็น อสฺมิ แปลว่า ย่อมมี ย่อมเป็น

มาน เป็นคำคุณนาม ประกอบด้วย (ธาตุ ปัจจัย วิภัตตินาม)

รากศัพท์มาจาก มาน ธาตุ อรรรถว่า มาน ปูชายํ แปลว่า บูชา,ความถือตัว,สำคัญตัว + ลง อ ปัจจัย ในอรรถกัตตุวาจก คือกิริยาศัพท์ที่กล่าวถึงผู้ทำ + ลง ส ฉัฏฐีวิภัตติ ในความหมายว่า แห่ง,ของ,เมื่อ,บรรดา

(มาน+อ+ส) ลบ อ ปัจจัย แล้วลง สฺ อาคม เพราะ ส ฉัฏฐีวิภัตติ สำเร็จรูปเป็น มานสฺส แปลว่า สำคัญว่าของตัว สำคัญว่าของตน

บาฬี อสฺมิมานสฺส = ความบูชาสำคัญว่าตัวว่าตนมีอยู่ ย่อมเป็นอยู่,ย่อมมีอยู่ แห่งความมีความเป็นตัวตน

ไทย อัสมิมานะ = ความสำคัญตัวสำคัญตน ถือตัว


อสฺมิมานสฺส วินโย เอตํ เว ปรมํ สุขํ
"การนำออกเสียได้ซึ่งอัสมิมานะนั่นเป็นความสุขอย่างยิ่ง"



มานะ ความถือตัว, ความสำคัญตัว ว่าเป็นนั่นเป็นนี่
(ข้อ ๘ ในสังโยชน์ ๑๐ (http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สังโยชน์_๑๐), ข้อ ๓ ในสังโยชน์ ๑๐ ตามนัยพระอภิธรรม (http://84000.org/tipitaka/read/?35/1029), ข้อ ๕ ในอนุสัย ๗ (http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อนุสัย_๗), ข้อ ๑๓ ในอุปกิเลส ๑๖ (http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อุปกิเลส_๑๖))

link ---> http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=มาน



บทว่า อสฺมิ ได้แก่ การถือว่าเรามีอยู่ (อัสมิมานะ).
บทว่า อสฺมิ ความว่า พระอรหัตตมรรค ชื่อว่าถอนมานะเสียได้
อรรถกถา ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค สังคีติสูตร

link ---> http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=11&i=221&p=7



หากจะเปรียบเทียบให้ชัดเจนที่สุดก็ ให้สังเกตุว่า คนเรานั้นรักสุขเกลียดทุกข์กันทุกคน หากได้ยินได้ฟังคำใดที่เป็นคำที่น่ายินดีน่าพอใจ ก็พอใจหลงตัวเองชมชอบในตนเองบูชายึดถือในความดีความเด่นของตน หากได้ยินได้ฟังคำใดที่ไม่เป็นคำที่น่ายินดีน่าพอใจ ก็เกิดความรู้สึกไม่ชอบใจไม่พอใจ มีใครมาว่าเราก็เกิดทุกข์ เกิดความ หวงตัวกลัวเสียหน้ารักตัวเอง พวกพ้องของตัวเอง อัสมิมานะ จึงคือความเห็นแก่ตัว โดยหยาบ ๆ และละเอียด ยิ่ง ๆขึ้นไปในหนทางการประพฤติปฏิบัติธรรมhttp://www.watkoh.com/board/Smileys/default/smiley.gif


"การนำออกเสียได้ซึ่งอัสมิมานะนั่นเป็นความสุขอย่างยิ่ง"


ทำไมการเอา อัสมิมานะ หรือความสำคัญตัว ความยึดมั่นถือมั่น ความเห็นแก่ตัว ออกจึงเป็นความสุข แสดงว่าพระองค์ทรงรุ้เห็นความทุกข์อันมีขึ้นด้วยประการทั้งปวงเนื่องจาก ความไม่รุ้ของเรา ที่ยึดถือว่า ร่างกายยาววาหนาคืบ ที่ประกอบด้วยสัญญา และใจนี้ เป็นตัวเป็นตนของเรา นี่เองเพราะองค์จึงเปล่งพระอุทานในสมัยเมื่อพระองค์ได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณใหม่ๆ ว่า...

"สุโข วิเวโก ตุฏฺฐสฺส สุตฺธมฺมสฺส ปสฺสโต อพฺยาปชฺฌํ สุขํ โลเก ปาณภูเตสุ สญฺญโม สุขา วิราคตา โลเก กามานํ สมติกฺกโม อสฺมิมานสฺส วินโย เอตํเว ปรมํ สุขํ "

สุโข วิเวโก ตุฏฺฐสฺส สุตฺธมฺมสฺส ปสฺสโต วิเวก

คือที่อยู่อันสงัดเป็นสุข คือเป็นเหตุนำมาซึ่งความสุขแก่ผู้ยินดีแล้ว คือว่าผู้เห็นธรรมอันตนได้สดับมาแล้วแจ้งประจักษ์ชัด

อพฺยาปชฺฌํ สุขํ โลเก ปาณภูเตสุ สญฺญโม

ความไม่มีพยาบาทปองร้าย คือว่ามีความสำรวมไม่เบียดเบียนในหมู่สัตว์ ซึ่งมีชีวิตทั้งหลายเป็นสุขในโลก

สุขา วิราคตา โลเก กามานํ สมติกฺกโม

ความที่ปราศจากราคะ ความกำหนัด คือว่าเป็นผู้ก้าวล่วงเสียได้ซึ่งกามทั้งหลาย เป็นสุขในโลก

อสฺมิมานสฺส วินโย เอตํเว ปรมํ สุขํ

ความที่นำอัสมิมานะ คือความถือว่าเราเป็นเรามี ออกเสียให้พินาศได้ ข้อนี้เว้นเป็นสุขอย่างยิ่ง
หรือ "การนำออกเสียได้ซึ่งอัสมิมานะนั่นเป็นความสุขอย่างยิ่ง"


ดังนั้นเหตุแห่งทุกข์ เกิดได้เพราะได้อาศัยอวิชชา ความไม่รู้ ตามความเป็นจริงในสิ่งที่พระองค์ทรงสั่งสอน ว่ารูป ไม่เที่ยง เวทนาไม่เทียง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง เป็นทุกข์เป็นอนัตตา ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ตัวตน บุคคลเราเขา สัตว์เหล่าใด ยึดเอาแล้วมีอุปทานใน ขันธ์ ๕แล้ว ย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์

สิ่งที่พระองค์ทรงสอนสั่งให้กำหนดรู้ นั่นคือทุกข์ อะไรคือทุกข์ ก็คือขันธ์ ๕ คือรูปนาม กายใจนี้เองเมื่อรวมลงแล้ว อัสมิมานะ ความเห็นแก่ตัว ตัวกูของกูเกิดที่ไหน ถ้าไม่ใช่ที่ใจ แต่ด้วยความเป็นอนัตตา มันก็ไม่ได้ทำงาน ๒๔ ชั่วโมง แต่ความไม่รู้ความยึดมั่นถือมั่น ความขาดสติหลงไม่รู้เท่าทัน ตามรูปนาม ตามความเป็นจริง

ก็จะสลับหลงยึดถือเกิดดับ ๆ สืบต่อไปจนกว่าจะได้เจริญอริยมรรค ตัดสังโยชน์ ๓ เบื้องต้น ตามที่ link ไว้ด้านบนไม่ไปสู่อบายอีก ตกสู่กระแสพระนิพพาน ตามแต่การสะสมบุญกุศลที่ได้เจริญสติภาวนามา โลภมีไหม โกรธมีไหม หลงมีไหม เป็นปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ รู้ได้ด้วยตนเองhttp://www.watkoh.com/board/Smileys/default/smiley.gif

ทำไมถึงเป็นสุขอย่างยิ่ง ก็ถอนแล้วเห็นแล้วว่าไม่ใช้สัตว์ตัวตนบุคคลจริง ๆ สักแต่ จิต เจตสิก รูป บัญญติสมมติเท่านั้น พระองค์จึงตรัสว่า ปรมํ ยิ่งใหญ่ ประเสริฐสุด ภาษาเรา ๆ ก็ โคตรสุด ๆ สุขํ ก็สงบและสันติ เหมือนวางของหนักแบกของหนักลงได้ ยึดถือยึ่ดมั่นหวงแหนมา หลายอสงไขแสนๆ กัปป์ ในวัฏฏสงสาร เอาลงได้เป็นอิสระ มีความสุข ตามแต่เหตุปัจจัย ยังครองเรือนก็มีสุขพบความสุขได้ วางได้เย็นได้ตามแบบผู้ครองเรื่อน ถ้ามีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา

ในอริยมรรค ทั้งมวลรวมลงที่ ศีล สมาธิ ปัญญา เจริญสติ(ปัฏฐาน)๔ ก็เป็นเส้นทางไปสู่อริยผลไม่เจริยอริยมรรคผลก็คงเกิดไม่ได้ หวานพืชอย่างใดย่อมได้ผลฉันนั้น

เอวํ แห่ง อสฺมิมานสฺส ทั้งอรรถ และธรรม และนิรุตติ ได้แสดงแล้วเท่าที่ปัญญาน้อย ๆ พึงมี หากสำเร็จประโยชน์บ้างแก่ผู้ใด ขอสักการะถวายแด่ พุทธบิดาและพระธรรมและสาวกอรหันต์ทั้งหลาย เทอญhttp://www.watkoh.com/board/Smileys/default/smiley.gif

LOTUS
03-19-2009, 01:12 PM
เยี่ยมยอด อนุโมทนา สาธุ
http://www.watkoh.com/board/richedit/cliparts/Cartoon/1.gif
สุขภาพแข็งแรง นะเจ้าคะ

*8q*
03-19-2009, 05:22 PM
พระองค์ได้ตรัสไว้ว่า อสฺมิมานสฺส วินโย เอตํ เว ปรมํ สุขํ ซึ่งแปลว่า "การนำออกเสียได้ซึ่งอัสมิมานะนั่นเป็นความสุขอย่างยิ่ง"


จาก จิตวิเคราะห์แบบพุทธ
ความเรียงรุ่นเก่าที่หาอ่านได้ยากของท่านพุทธทาสภิกขุ บางส่วนที่
ได้ตัดตอนมา มีความคิดเห็นว่าเป็นประโยชน์ เจ้าค่ะ




http://www.buddhadasa.org/images/line_red.gif

ผมมองเห็นไปว่าคำแปลตกไปตัวหนึ่งหรือเป่าครับ

พอท่านRakdeawjaideawเอามาเติมเลยกระจ่างขึ้นขอบคุนครับ

แต่ชื่อยาวไปนิดจะให้เรียกสั้นๆว่าไงดีครับท่าน

LOTUS
03-19-2009, 08:23 PM
ขออนุโมทนา คุณ รักเดียว คุณเดฟ คุณ 8q คุณ arkom

สาธุเจ้าคะ

noppakorn
03-22-2009, 07:10 PM
สาธุๆๆ กับคำตอบ-คำถามของทุกท่านครับ

เมื่อไหร่คนจะเอากรอบออกจากตัว จากใจได้หมดเน้อ
"หลุดกรอบ ย่อมพบสุข ใจผ่องผุด พิสุทธิ์ศรี
ขันธ์5 รูปบารมี เอาออกทีที่อัตตา"

piangfan
03-22-2009, 08:29 PM
สวัสดีค่ะ อาจารย์เดฟ พี่นพ พี่แปดคิว
และทุกท่านค่ะ

อนุโมทนา สาธุ ค่ะ http://www.watkoh.com/board/richedit/smileys/YahooIM/77.gif

ทั่นยาย
03-25-2009, 03:56 PM
ขออนุญาติสงสัยนิดนะคะ คืออ่านไปงงไปเพราะไม่ค่อยคุ้นกับภาษาทางธรรมค่ะ
"อัสมิมานะ" เพิ่งเคยได้ยินค่ะ อ่านคำแปลและความหมายแล้ว พอสรุปใจความได้ว่า
หมายถึง "ตัวกูของกู "ประมาณนั้นหรือเปล่าคะ ขอท่านผู้รู้ช่วยชี้แน่ะด้วยนะคะ สาธุ

D E V
03-25-2009, 06:13 PM
อ่ะคับ ท่านยาย
กล่าวอย่างง่ายๆ โดยความหมายเช่นนั้นก็ได้คับ
คือมีความยกตนขึ้นโดยถือขันธ์ 5 ว่าเป็นตัวกูของกู...นี่ตัวตนของกู




http://www.watkoh.com/board/Smileys/default/cool.gif เดฟ

*8q*
03-25-2009, 07:59 PM
อัสมิมานะ หรืออัตตา คือตัวกูนั่นเอง สิ่งที่เรียกว่าอัตตานี้เป็นแกนกลางของกิเลส ของความเห็นแก่ตัว หรือของความรู้สึกที่ผิดๆ ทั้งหลาย ถ้าสามารถละอัตตา หรือตัวกูเสียได้ มันก็เป็นนิพพาน เพราะนิพพานคือความว่างจากตัวกู ว่างจากกิเลส ว่างจากทุกข์ ว่างจากความว่ายเวียน ว่างจากตัณหาอุปทาทาน มันจึงเป็นความสงบสุขที่เยือกเย็น เวลาที่ใจของเราสงบ เพราะไม่ถูกปรุงแต่งด้วยอารมณ์เลยนั่นแหละ เป็นตัวอย่างของนิพพานอย่างนี้เรียกว่าสุญญตาทาน










ลองอ่านนี้ครับท่านยาย






http://www.watkoh.com/board/index.php?topic=1834.msg6042#msg6042

ทั่นยาย
03-26-2009, 11:39 AM
ขอบคุณทั่นเดฟและทั่นแปดคิวมากๆค่ะที่ได้กรุณาชี้แนะให้ความกระจ่างเพิ่มเติมค่ะ
โดยเฉพาะคำว่า " ที่เรียกว่าอัตตานี้เป็นแกนกลางของกิเลส ของความเห็นแก่ตัว "
ทำให้ทั่นยายเข้าใจในเรื่องของอัตตาได้มากยิ่งขึ้นค่ะ จึงนำมาพิจารณาให้ง่ายต่อการเข้าใจดังนี้ค่ะ
อัตตาคือความยึดถือว่า หนึ่งหัว หนึ่งตัว สองแขน สองขา อ้าปากงับๆนี่ เป็นตัวตนของเราหรือเรียกว่า "ตัวกู" นั่นเอง
สำหรับสมบัตินานาประการที่สรรหามาครอบครองด้วยความ "อยาก" ของกิเลสบงการนั้น ก็คือ..."ของกู" นั่เอง
ทั่นยายจึงพิจารณาตรงจุดนี้ได้ความว่า เมื่อมี"ตัวกู"ก็จะมีการเห็นแก่ตัวเกิดขึ้น เพราะ
"ตัวกู"อยากได้นั่นอยากได้นี่ ไม่อยากเสียนั่นไม่อยากเสียนี่ไป ยกตัวอย่างค่ะ ยืนกันอยู่สองคน
คนหนึ่งโดนแย่งกระเป๋าเงินไป "ตัวกู" ดีใจที่"ตัวกู"รอดไม่เสียทรัพย์ของ"ตัวกู" ไป
แต่หากพอ "ตัวกู"โดนมั่งล่ะ ก็จะเสียใจมากมาย คิคไปต่างๆนานาว่าทำไมต้องเป็น "ตัวกู"ด้วยล่ะ
เมื่อมี"ตัวกู" ก็ทำให้อยากมีนั่นได้นี่ เช่น อยากมีบ้าน อยากมีรถ อยากมีเงินมีทอง
พอมีแล้วแทนที่จะเป็นสุขไหง"ตัวกู"กลับเป็นทุกข์ซะงั้นล่ะ ทำไมจึงเป็นเช่นนั้นหนอ ก็ลองมาพิจารณาดูกันนะคะ
มีบ้านสวยงามหรูหราเวลา"ตัวกู"จะไปไหนมาไหนก็ห่วงบ้านกลัวโขมยมางัดบ้าน
มีเงินมีทองเก็บไว้ "ตัวกู" ก็กังวลอยู่นั้นแล้วกลัวเงินทองจะหาย มีรถคันสวยจอดไว้ "ตัวกู"
ก็นอนไม่ค่อยหลับกลัวรถจะหาย นี่คือทุกข์จาก "ตัวกูของกู" ไม่อยากให้มันไปเป็นของคนอื่น
นอกจาก.."ของกู" พอมีมากก็ห่วงมากก็ทุกข์มากฉะนี้แล
หากไม่มี "ตัวกู" ก็ไม่จำเป็นต้องหาอะไรมาเป็น"ของกู" ไม่มีการเห็นแก่ตัว ไม่มีการแก่งแย่ง
ไม่ยึดติดในสมบัติใดๆทั้งสิ้น เพราะทุกอย่างไม่ใช่ "ของกู" จริงมั้ยคะ

ที่สำคัญ"ตัวกู"อยากมีแฟน พอมีแฟนยิ่งทุกข์หนักเพราะกลัวแฟนจะหาย กลัวว่าแฟนของกู...แต่ไหงไปอยู่กับคนอื่น อิ อิ

*** ขออภัยที่ใช้คำที่ไม่สุภาพค่ะ แต่เพื่อขยายความว่า "ตัวกูของกู" เลยหลีกเลี่ยงไม่ได้ค่ะ จึงขออภัยมา ณ ที่นี่ด้วยค่ะ ***

LOTUS
03-26-2009, 06:20 PM
ท่านพุทธทาส ใช้คำเดียวกับทั่นยายนะคะ สาธุ ๆ ๆ
ที่รวมสนทนาธรรม ชัดเจนดีคะ

ทั่นยาย
03-26-2009, 08:06 PM
อนุโมทนาค่ะ คุณ Lotus แต่ที่จริงแล้วทั่นยายเป็นผู้ขออนุญาตินำคำของท่านพุทธทาสมาใช้ค่ะ
เพราะเป็นคำกล่าวที่ทำให้เข้าใจถึงความหมายของ "อัสมิมานะ "หรือการเป็น"อัตตา"
ในตัวตนเราได้ชัดเจนที่สุดค่ะ สาธุค่ะ

LOTUS
04-03-2009, 07:24 PM
ขอชวนให้ร่วมฟัง เหตุที่ได้ยินคำอัสมิมานะ ครั้งแรก http://www.jozho.net/index.php?mo=3&art=231032 อนุโมทนา