PDA

แสดงเวอร์ชันเต็ม : สามเณรประมัย กาฬเนตร



ทั่นยาย
03-30-2009, 12:40 PM
ประวัติโดยสังเขปของสามเณรประมัย กาฬเนตร


ในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2475 ได้เที่ยวจาริกไปเพื่อบำเพ็ญสมณะธรรม
ที่ถ้ำแฝด อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี แล้วกลับมาจำพรรษาที่วัดปทุมวนาราม
ในปี พ.ศ.2476 ได้ศึกษาพระปริยัติธรรม จนสอบไล่ได้นักธรรมโท และบาลีประโยค 3
ในปี พ.ศ.2476 นั้น สามเณรประมัยเป็นผู้มีนิสัยใคร่ในการปฏิบัติธรรม ได้เคยศึกษา
สมถะกัมมัฏฐาน และวิปัสสนากัมมัฏฐาน กับท่านเจ้าคุณผู้เป็นอุปัชฌาย์
จนมีความรู้และเลื่อมใสในการปฏิบัติธรรมเป็นอย่างยิ่ง จึงได้ตัดสินใจอย่างเด็ดขาด
ว่าจะไม่สอบพระปริยัติธรรมอีก ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จะมุ่งหน้าต่อการปฏิบัติธรรมอย่างเดียว
จึงเรียนความเห็นนั้น แด่ท่านเจ้าคุณอุปัชฌาย์ ท่านก็อนุโมทนาด้วย เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว
ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2476 จึงได้เที่ยวจาริกไปทางใต้ ผ่านจังหวัดนครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี
แล้วพักจำพรรษาที่วัดร้าง ตำบลหนองคาง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ใน พ.ศ. 2476
ระหว่างที่พักจำพรรษา ก็ตั้งหน้าปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดแข็งแรง ถึงกับตั้งสัตยาธิษฐานว่า
จะไม่เอนหลังนอนเลย และได้สมาทานเนสัชชิกธุดงค์อย่างอุกฤษฎ์ เพื่อปฏิบัติธรรม
ให้เต็มกำลังสามารถสมความตั้งใจจนตลอดพรรษาและต่อมา นอกจากนั้นยังได้ช่วย
แนะนำสั่งสอนชาวบ้าน ให้มีความรู้ในธรรมปฏิบัติตามควร ได้ช่วยกันปฏิสังขรณ์วัด
ร้างนั้นให้เป็นสำนักสงฆ์ขึ้น และได้จัดตั้งโรงเรียนประชาบาลประจำตำบลหนองคางจนสำเร็จ
ออกพรรษาแล้วได้จาริกไปสวนโมกขพลาราม ไชยา เพื่อดูกิจการเกี่ยวด้วยการปฏิบัติธรรม
กลับจากนั้นแล้ว เลยจาริกไปทางเหนือจนถึงเชียงใหม่
ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2478 กลับจากเชียงใหม่ จำพรรษาที่วัดพระแท่นศิลาอาสน์
จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้ช่วยสมภารวัดพระแท่นฯ จัดการปฏิสังขรณ์เสนาสนะ
และเรียบเรียงหนังสือ "ธัมมานุวัตต์" เกี่ยวกับการปฏิบัติธรรม ต่อมาได้เรียบเรียง
หนังสือ "ศาสนวิถี" อีก (ระหว่างอาพาธลงแล้ว)

ในระหว่างที่อยู่ช่วยเหลือกิจการที่วัดพระแท่นฯ นั้น โรคเดิมซึ่งเคยเป็นมาแต่อายุ 10-16 ปี
ได้กำเริบขึ้น เนื่องด้วยตรากตรำงานมากเกินไป เริ่มอาพาธกระเสาะกระแสะมา
แต่เดือนธันวาคม แต่ก็จำต้องช่วยเหลืองานเทศกาลกลางเดือน 3 ปีนั้นจนเสร็จ
และรักษาตัวเรื่อยมา จนวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2479 ไปรักษาตัวที่เชียงใหม่
อาการของโรคก็ไม่ทุเลาลง ต้องกลับมารักษาตัวที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน
และจำพรรษาที่วัดปทุมวนาราม แพทย์ลงความเห็นว่าเป็นวัณโรค ถึงกระนั้นก็ดี
ก็ยังพยายามปฏิบัติธรรมอยู่มิได้ท้อถอย

เมื่ออาการของโรคค่อยทุเลาขึ้นและออกพรรษาแล้ว วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ.2479
ไปทางจังหวัดชลบุรี พักที่วัดร้าง ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา มีผู้เลื่อมใส
จนบัดนี้ ได้จัดตั้งเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมขึ้น
วันที่ 18 ธันวาคม กลับไปพักอยู่ที่เขาถ้ำ ตำบลห้วยไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี
อาการของโรคมักเป็นไข้เสมอ มิใคร่ปกติได้ แม้เช่นนั้นก็ไม่หวาดหวั่นเกรงกลัวต่อพยาธิเลย
อุตส่าห์รีบเร่งบำเพ็ญสมณธรรมจนเต็มความสามารถ เพื่อหวังความพ้นทุกข์อย่างแท้จริง
และพยายามรักษาพยาบาลเต็มกำลัง อาการคงทรงอยู่อย่างนั้น บางครั้งก็หนักลง
จนถึงวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2480 ได้ย้ายจากเขาถ้ำไปรักษาตัวทางเขาช้าง อำเภอปากท่อ
เมื่อเห็นอาการไม่ทุเลาขึ้น จึงกลับมารักษาตัวที่วัดปทุมวนารามเมื่อต้นเดือนมิถุนายน
และเลยจำพรรษาที่วัดนั้น ในการรักษาตัวครั้งนี้ ได้รับอุปการะคุณจากท่านเจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถร
และเจ้าจอมมารดาทับทิมเป็นอย่างดี ตลอดจนพระภิกษุสามเณรและทายกทายิกา
ที่คุ้นเคย ก็ได้พร้อมใจกันช่วยเหลือตามกำลังความสามารถ แต่อาการของโรคมี
แต่ทรงกับทรุดเรื่อยมา หมดความสามารถของแพทย์ที่จะเยียวยาได้ ได้ถึงแก่มรณภาพ
เมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2480 เวลา 1 นาฬิกา 40 นาที คำนวณอายุได้ 22 ปี กับ 6 เดือน
การที่สามเณรประมัยได้ด่วนมรณะไปเสียในปฐมวัยเช่นนี้ ย่อมเป็นเหตุนำมา
ซึ่งความเศร้าสลดแก่บรรดาญาติมิตรสหายเป็นอย่างยิ่ง แต่ก็เป็นธรรมดาของสังขารอย่างนั้นเอง
สุดวิสัยที่ผู้ใดจะฝืนให้เป็นไปได้ตามประสงค์ หากแต่ว่า ถ้าผู้มรณะนี้ยังมีชีวิตอยู่
ก็คงจะสามารถทำประโยชน์ให้แก่พระพุทธศาสนาได้เป็นอย่างมาก

ทั่นยาย
03-31-2009, 02:48 PM
บทความพิเศษที่เกี่ยวกับสามเณรประมัยฯ

คัดจากหนังสือ " ทางสู่สันติ" พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานศพพระครูอุดมธรรมคุณ (ทองสุก สุจิตโต)
ณ เมรุวัดสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509
พ.ศ. 2476......
ดังนั้นปีนี้ มหาทองสุก (ยังไม่ได้สมณศักดิ์) จึงเดินทาง (ธุดงค์) ร่วมกับ
พระราชมุนี (มหาโฮม โสภโณ โพธิศรีทอง ป.ธ. 6 ยังไม่ได้สมณศักดิ์)
และสามเณรประมัยฯ นี้ แตกฉานในทางปฏิบัติมาก สามเณรจะเป็นผู้คอยแนะนำทางจิตอยู่เสมอ
และพวกเราก็เชื่อถือสามเณรมาก ได้พักจำพรรษาที่บ้านหนองคาง จ.ประจวบคีรีขันธ์
มหาทองสุกได้ปรารภความเพียรเริ่มกัมมัฏฐานอย่างจริงจัง เมื่อสงสัยอะไรก็ได้ สามเณรประมัยฯ เป็นที่ปรึกษา......
จบข้อความส่วนประวัติของท่านสามเณรประมัยฯ จากหนังสือของ อ.วิวัฒน์ แต่เพียงนี้ ครับ
ที่มา : คุณ กนก สมาชิกลานธรรมค่ะ [ ตอบ: (http://larndham.net/index.php?showtopic=16351&st=10#) 09 ก.ย. 48

หนังสือ "ทางสู่สันติ" อันเป็นหนังสือที่ระลึกงานพระราชทานพระเพลิงศพ
พระครูอุดมธรรมคุณ (มหาทองสุก สุจิตโต)
ในส่วนประวัติพระอาจารย์มหาทองสุกนั้น หลวงปู่วิริยังค์ สิรินธโร เป็นผู้เขียน จำได้ว่า
ตอนหนึ่งของประวัติกล่าวถึงการธุดงค์ร่วมกันกับสามเณรประมัย รายละเอียดเป็นอย่างที่
คุณกนกคัดมานั้นถูกต้องแล้ว แต่ดูเหมือนจะขาดไปนิดหนึ่ง เข้าใจว่าอาจเป็นเพราะเกรง
จะกระทบกระเทือนกับบางคนจึงตัดออก ส่วนที่หายไปนั้นได้กล่าวถึงความมั่นใจของ
พระอาจารย์มหาทองสุกที่มีต่อสามเณรประมัยว่า...(เป็นพระอริยบุคคลระดับ...)
ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้นจริง แม้ท่านจะมรณภาพแต่อายุยังน้อยก็ไม่ถือว่าขาดทุน
เพราะก็จะไม่ได้กลับมาเกิดในสามภพนี้อีกต่อไปแล้ว หนังสือ"ธัมมานุวัตต์"นี้ดีจริงๆครับ
ขอแนะนำให้หามาอ่าน(แต่อาจจะหายากสักหน่อย)
ที่มา คุณ ภิเนษกรมณ์ สมาชิกลานธรรมค่ะ [ ตอบ: 10 ก.ย. 48 15:20 ]

ข้อมูลเพิ่มเติมบางส่วนเกี่ยวกับสามเณรประมัย จากหนังสือ “ ทางสู่สันติ “
พ.ศ. ๒๔๗๖
ดังนั้น ปีนี้ท่านจึงได้เดินทางร่วมกับพระภาษมุณี (โฮม) และสามเณรประมัย
สามเณรประมัยนี้แตกฉานในการปฏิบัติมาก สามเณรจะคอยเป็นผู้แนะนำทางจิตอยู่เสมอ
และพวกเราก็เชื่อถือสามเณรมาก ได้พักจำพรรษาที่บ้านหนองคาง ประจวบคีรีขันธ์
ท่านได้ปรารภความเพียร เริ่มบำเพ็ญกัมมัฏฐานอย่างจริงจัง เมื่อสงสัยอะไรก็ได้สามเณรประมัยเป็นที่ปรึกษา
ณ ปีนี้เอง สามเณรประมัยปรารถนาความเพียรอย่างยิ่งใหญ่ ไม่นอนตลอดพรรษา
จนเชื่อมั่นตนเองว่าได้สำเร็จพระอนาคามี ท่านเล่าว่า วันหนึ่งท่านกับสามเณรประมัยกำลัง
นั่งสนทนาธรรมกันอยู่ ก็ได้มีงูจงอางขนาดใหญ่ประมาณเท่าต้นหมาก วิ่งพุ่งปราดเข้ามา
ตรงพวกเราทั้งสอง ไม่ทราบว่าจะหนีมันไปอย่างไร จึงหยุดพูดแล้วเจริญเมตตาฌาน
ทำจิตให้สงบ ขณะที่งูตัวนั้นมันกำลังจะเข้ามาถึงพวกเรา อีกประมาณวาเศษๆ ก็ได้มีสุนัข ๕ ตัว
กระโดดเข้ามาขวางทางงู ได้เกิดการต่อสู้กันระหว่างสุนัข ๕ งู ๑ งูสู้ไม่ไหวเลยหนีไป
แต่ในวัดที่แท้จริงไม่มีสุนัขสักตัวเดียว หลังจากที่จำพรรษาที่บ้านคางแล้ว ท่านเดินธุดงค์
จากนั้นเพื่อติดตามท่านพระอาจารย์ "มั่น ภูริทตฺตเถระ" เรื่อยไป จากประจวบคีรีขันธ์ลงมา
เขาเต่า ไปทางจังหวัดสุพรรณบุรี เดินผ่านดงไปจะไปอุตรดิตถ์ ไม่เคยเดินทางลัด
ไปหลงอยู่ในดง ๓ วัน ไม่มีบ้านคนเลย นอนอยู่ในป่าใหญ่ มีแต่เสียงช้างเสียงเสือ
เป็นที่น่าสะพรึงกลัวเป็นอย่างยิ่ง ทำให้ท่านไม่ต้องหลับนอน พักทำสมาธิอย่างถวายชีวิต
ใน ๓ วันไม่ได้ฉันอาหารเลย มีแต่ฉันน้ำ เพราะไม่มีบ้านคน ท่านว่า...
“ แหม...เราตอนนี้นึกว่าตายแน่ๆ จึงทำให้เกิดสมาธิอย่างดี นับเป็นประวัติการณ์สำคัญทีเดียว
ท่านพระอาจารย์มั่นท่านสอนไว้เมื่ออยู่วัดเจดีย์หลวง นำมาใช้เมื่อคราวสำคัญในคราวนี้
จนทะลุดงใหญ่ออกมาได้ กินเวลา ๓ วัน ๓ คืน โล่งใจไป ”
จากนั้นก็มาถึงจังหวัดอุตรดิตถ์ วกกลับมาปากน้ำโพ ไปถึงแพร่ วกกลับมาพิจิตร ไปพิษณุโลก
กลับมาอุตรดิตถ์อีก ทั้งนี้เดินเท้าทั้งนั้น และก็พักอยู่ตามป่า พักอยู่อุตรดิตถ์ บนภูเขา
เป็นวัดเก่า สืบถามได้ความว่าซื่อ วัดสันทพงษ์ ท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)
เป็นผู้มาก่อสร้างวัดนี้ ญาติโยมทั้งหลายก็พากันมานิมนต์จะให้อยู่สถาปนาวัดนี้ ท่านบอกว่าจะไปหาท่านพระอาจารย์มั่น
ท่านจึงเดินทางต่อไป ออกจากวัดนี้ ท่านก็เดินข้ามภูเขาแสนที่จะเหน็ดเหนื่อย ข้ามไม่รู้จักพ้นภูเขาเลย
แต่เพราะความศรัทธาในท่านพระอาจารย์"มั่น ภูริทตฺตเถระ" ทำให้ความเหน็ดเหนื่อยหายไปหมด
โดยความพยายามท่านสามารถข้ามภูเขาไปถึงจังหวัดลำปางได้สำเร็จ ท่านบอกว่าครั้งนั้นก็เป็นครั้งหนึ่ง
แห่งความพยายามที่ลำบากยิ่ง แต่สำเร็จโดยอาศัยบารมีของท่านพระอาจารย์มั่น
ทำให้เกิดกำลังใจขึ้นแก่ท่านอย่างอัศจรรย์ทีเดียว

ที่มา : www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=10593 (http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=10593)
ข้อมูลที่ยืนยันว่าสามเณรประมัย กาฬเนตรเคยพักอยู่ที่ วัดวิเวกการามค่ะ
8. เลยวัดเขาฉลากมาหน่อย ก็เป็นวัดวิเวการาม อยู่ฝั่งขวามือ อยู่ติดริมทะเลบางพระ วัดวิเวกการามนี้ครูบาอาจารย์สายกรรมฐานเคยมาอยู่หลายท่าน ยุคแรกๆก็มีหลวงปู่แว่น ธนปาโล วัดถ้ำพระสบาย สามเณรประมัย กาฬเนตรที่เขียนหนังสือสอนวิปัสสนาที่โด่งดัง หลวงปู่เกิ่ง อธิมุตโต ที่ภายหลังท่านได้ไปเสียที่ทางภาคอีสาณ ปัจจุบัน เจ้าอาวาสคือหลวงปู่บัวพันธ์
http://larntum.in.th/cgi-bin/kratoo.pl/005750.htm (http://larntum.in.th/cgi-bin/kratoo.pl/005750.htm)
กระทู้สถานที่ฝึกปฏิบัติ แถวๆ ชลบุรี ระยอง มีที่ไหนบ้าง
ความคิดเห็นที่ 15 : (ตรีภพ) [ 14 ก.ค. 2545 / 22:56:52 น. ]

[FONT=Arial Black] ข้อมูลเพิ่มเติมสามเณรประมัยเคยไปอยู่ที่สวนโมกข์พลาราม จากหนังสือ เล่าไว้เมื่อวัยสนธยา ค่ะ
ส่วนความสัมพันธ์กับชาวบ้าน ผมไม่ได้วางอะไร การจะยกระดับอะไรยิ่งไม่ได้คิด
เพราะลำพังวัตถุประสงค์ ๓ ข้อ การเผยแผ่ความรู้ธรรมะชั้นลึก การค้นคว้าพระไตรปิฎก
[SIZE=4]การตามรอยพระอรหันต์ ๓ แขนงนี้มันก็เหลือกำลังอยู่แล้ว ธรรมเนียมเก่า ๆ ที่สมภาร
ต้องไปเยี่ยมตามบ้านที่คุ้นเคยกันผมก็ไม่ได้ทำ วันพระก็ไม่ได้มีกิจกรรมทำบุญอะไรกันที่วัด
เพราะไปจัดที่บ้านโยมซึ่งเปิดเป็นห้องธรรมทานอยู่แล้ว มีเทศน์กันทุกวันพระตอน ๑ ทุ่มก็มี
มาฟังราว ๒๐-๓๐ คนเท่านั้น ที่มันจุได้ไม่มากกว่านั้นเท่าไร มันก็ไม่ได้ผลอะไร
เพราะคนพุมเรียงจะมีสักกี่คนที่เป็นนักศึกษาธรรมะจริงจัง ก็คงเพียงได้ยินอะไรที่แปลกบ้างเท่านั้น
งานที่ได้ผลบ้าง มันออกไปในทางหนังสือพิมพ์ ออกไปถึงคนในต่างจังหวัด
คนที่ศึกษาธรรมแท้ ๆ สมัยนั้นนับว่าน้อยมาก ประชาชนในท้องถิ่นอยู่ในฐานะที่รับไม่ได้
ยิ่งพวกข้าราชการ ไม่มีเลย ไม่มีหวัง ไม่อาจจะฟัง ฟังไม่ไหว เป็นของที่ไม่เคยมี
เคยมีแต่ ที่วัดแบบโบราณ มาทำที่บ้านยิ่งแปลกกันไป เคยมีพระอื่นมาเทศน์บ้างสักครั้ง ๒ ครั้ง
พระสมุห์แช่มดูเหมือนจะเคยสักที อีกคนที่ชาวบ้านชอบคือสามเณรประมัยเทศน์หลายหน
ชาวบ้านชอบมากกว่าผมอีก เขาพูดจาโผงผางดี ชัดเจนดี เรื่อง ๆ เดียวกันแต่เขาพูดน่าฟังกว่า เป็นเณรโตอายุมากแล้ว เขาธุดงค์มากับมหาโฮม รู้เรื่องสวนโมกข์จากหนังสือพิมพ์พุทธศาสนา
เขาธุดงค์กันมา ตอนแรกคิดจะสร้างวัดป่าแบบป่าช้าที่ประจวบฯ แต่ไม่สำเร็จ จึงเลยมาที่นี่
มหาโฮมอยู่ราว ๒ เดือนก็กลับ เณรประมัยเขายังไม่ยอมกลับเขาชอบ เขาขออยู่ต่อเขาพัก
กันอยู่ที่กุฏิทำแบบประทุนเรือ ทำด้วยไม้ไผ่ เขาไอเป็นเลือดออกมาทั้ง ๒ คน
แล้วเขาก็คิดว่าผมนี่แหละใช้วิชาอาคม จะทำให้เขาตาย เขาคิดกันถึงขนาดนั้น (หัวเราะ)
ต่อมาเขารู้ว่าเพราะโดนละอองขี้มอดไม้ไผ่ เขาก็มาขอโทษ ผมไม่รู้เรื่อง เขามาบอกว่า
เขาเคยคิดรุนแรงอย่างนั้น ว่าผมเล่นวิชาคาถาอาคมทำให้เขาต้องเลือดออก
มหาโฮมเขาทำสมาธิ สนใจเรื่องผี คุยกันว่าที่บ้านแกเต็มไปด้วยผี ประชาชนนับถือผีไม่รู้กี่ชนิดต่อกี่ชนิด
ยุ่งยากไปหมดเกี่ยวกับเรื่องผี มาชวนผมไปปราบผี ต่อมากลับไปอยู่วัดสระปทุม ได้เป็นเจ้าคุณอะไร
ส่วนเณรประมัยเคยแต่งหนังสือเรื่องพุทธานุวัตร ตอนหลังกลับไปเป็น วัณโรคหรืออะไรตายเสีย “

ที่มา : อัตชีวประวัติของท่านพุทธทาส "เล่าไว้เมื่อวัยสนธยา" [FONT=Arial Black][COLOR=#548dd4][SIZE=4][COLOR=#e36c09]พระประชา ปสนฺนธมฺโม สัมภาษณ์


[FONT=Arial Black]
สำหรับหนังสือ "ธัมมานุวัตต์ "
เรียบเรียงโดย สามเณร ประมัย กาฬเนตร ป.
ทั่นยายยังหาข้อมูลไม่ได้ค่ะ กะว่าว่างๆจะย่องไปค้นหาที่หอสมุดแห่งชาติสักหน่อยค่ะ
/ ทั่นยาย 23/01/2551

ทั่นยาย
04-01-2009, 07:41 AM
หากญาติธรรมท่านใดทราบแหล่งซื้อหา หนังสือ "ธัมมานุวัตต์ "
เรียบเรียงโดย สามเณร ประมัย กาฬเนตร ป.
ช่วยกรุณาแจ้งให้ทั่นยายทราบด้วยนะคะ
เพราะหนังสือเล่มนี้อาจจะยังประโยชน์ให้พุทธศาสนิกชนได้บ้างค่ะ
ขอขอบคุณ ล่วงหน้ามา ณ โอกาสนี้ ด้วยค่ะ