PDA

แสดงเวอร์ชันเต็ม : วิสาขบุรณมีบูชา=การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ



noppakorn
04-30-2009, 11:52 PM
วิสาขบุรณมีบูชา

สิบห้าค่ำเดือนหกศกมาส
พุทธศาสน์เจิดจำรัสพิพัฒน์ผล
วันสำคัญพุทธศาสนาจรดล
มิ่งมงคลชาวพุทธพิสุทธิ์ใจ
วันประสูติพระศาสดามหาฤกษ์
เทพก้องเกริกสาธุการศันส์พิสัย
ทรงก้าวย่างสัตตบาทประกาศไกร
"เราจะไม่เวียนวัฏฏะถึงพระนิพพาน"
ครั้นล่วงลุมาสามสิบห้าพรรษาชนมายุ
ทรงล่วงลุตรัสรู้ลู่สุขศานต์
ทรงแจ้งในอริยสัจ สี่ ชีวีวาร
ดำเนินการดำรงชีวิตจิตปถุชน
คือเรื่องทุกข์เจ็บตายเสียดายโศก
อีกวิโยคพลัดพรากจากแห่งหน
ด้วยยึดติดในขันธ์ห้าพาทุกข์ทน
ล้วนบันดลให้เกิดทุกข์ไม่สุขใจ
สมุทัย คือเหตุแห่งแสดงเหตุ
ให้จิตเจตน์เศร้าโกรธไม่สดใส
เพราะอวิชาพาให้ไม่เห็นสิ่งใด
พาจิตใจให้เกิดเพลิงเหลิงโลกีย์
นิโรธ คือดับทุกข์สุขสงบ
ด้วยค้นพบความจริงสิ่งสุขศรี
สามารถดับความเศร้าโศกโลกโรคี
พาจิตมีความสงบพบเบิกบาน
หนสุดท้ายคือ มรรคา พาไปสู่
หนทางรู้ความดับทุกข์พบสุขศานต์
คือ มรรค 8 สร้างสติ สมาธิ ปราณ
รู้กลการดำรงชีวิตด้วยจิตปัญญา
ทั้งสี่ประการที่พระองค์ทรงตรัสรู้
ทรงนำสู่พวกเราพ้นเขลาบ้า
เพราะพุทธองค์ท่านทรงพระเมตตา
นำทางพาสู่หนทางกระจ่างจริง
เมื่อล่วงมา80 พรรษาพระชนมายุ
พระองค์อยู่โปรดเวไนยให้ทุกสิ่ง
ทั้งผู้คนเทพเทวามาพึ่งพิง
เห็นแจ้งจริงในพระธรรมเลิศล้ำพรรณนา
ต่อ 15 ค่ำ เดือน 6 ตกปีมะเส็ง
หลังทรงเปล่งประกาศพระศาสนา
พระพุทธองค์ก็ทรงละสังขารา
เสด็จดับขันธ์พระปรินิพพาน
นับเป็นเรื่องอัศจรรย์อันน่าทึ่ง
สามครั้งซึ่งพระพุทธองค์ทรงปฏิหาริย์
ทรงประสูติ ทรงตรัสรู้ สู่ปริพนิพพาน
เป็นเหตุการณ์วันเดียวกันโลกบันลือ.........

piangfan
05-01-2009, 12:27 PM
สาธุเจ้าค่ะ พี่นพ

พญามาร
05-01-2009, 12:31 PM
ตามมา สาธุ ด้วยคนครับ พี่นพ

noppakorn
05-07-2009, 10:53 PM
วันวิสาขบูชา
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี



วิสาขบูชา หรือ วิศาขบูชา (บาลี (http://72.14.235.132/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B5): วิสาขปูชา ; อังกฤษ (http://72.14.235.132/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A4%E0%B8%A9): Vesak ) เป็น "สำคัญทางพุทธศาสนา (http://72.14.235.132/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B2)สากล" ของชาวพุทธทุกนิกาย (http://72.14.235.132/wiki/%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2)ทั่วโลก (http://72.14.235.132/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81), "หยุดราชการ" ในหลายประเทศ (http://72.14.235.132/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8) และ "สำคัญของโลก" ตามมติเอกฉันท์ของที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ (http://72.14.235.132/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%AB%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4)[1] (http://72.14.235.132/search?q=cache:b2-cKGs07vMJ:th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B8%8A%E0%B8%B2+%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A3%E#cite_note-UN_fifty-fourth-0) เพราะเป็นคล้ายที่เกิดเหตุการณ์สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา (http://72.14.235.132/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B2) 3 เหตุการณ์ด้วยกัน คือ เป็นคล้ายประสูติ, ตรัสรู้ (http://72.14.235.132/wiki/%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89) และปรินิพพาน (http://72.14.235.132/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%99) แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (http://72.14.235.132/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2) โดยทั้งสามเหตุการณ์นั้นได้เกิดตรงกับขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือในวันเพ็ญ (http://72.14.235.132/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B9%87%E0%B8%8D)แห่งเดือนวิสาขมาส (ต่างปีกัน) ชาวพุทธจึงถือว่าเป็นที่รวมเกิดเหตุการณ์อัศจรรย์ยิ่ง จึงเรียกการในนี้ว่า "วิสาขบูชา" ย่อมาจาก "วิสาขปูรณมี" แปลว่า "การในวันเพ็ญเดือน" อันเป็นเดือนที่สองตามปฏิทิน (http://72.14.235.132/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%99)ของอินเดีย ซึ่งตรงกับวันเพ็ญ (http://72.14.235.132/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B9%87%E0%B8%8D)เดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย (http://72.14.235.132/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2) (ซึ่งมักจะตรงกับเดือนพฤษภาคม (http://72.14.235.132/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A4%E0%B8%A9%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A1) หรือมิถุนายน (http://72.14.235.132/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%96%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%99)) โดยในประเทศไทย (http://72.14.235.132/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2) ถ้าในปีใดมีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 7 หลัง ตามปฏิทินจันทรคติ (http://72.14.235.132/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%95%E0%B8%B4)ของไทย ซึ่งประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทอื่นที่ไม่ได้ถือคติตามปฏิทินจันทรคติของไทย จะจัดพิธีวิสาขบูชาในวันเพ็ญเดือน 6 แม้ในปีนั้นจะมีเดือน 8 สองหน (ตามปฏิทินจันทรคติไทย) ก็ตาม[2] (http://72.14.235.132/search?q=cache:b2-cKGs07vMJ:th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B8%8A%E0%B8%B2+%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A3%E#cite_note-1) และในกลุ่มชาวพุทธมหายาน (http://72.14.235.132/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%99)บางนิกาย ที่นับถือว่าเหตุการณ์ทั้ง 3 นั้น เกิดในต่างกันไป จะมีการจัดพิธีวิสาขบูชาต่างกันตามความเชื่อในนิกายของตน ๆ (ซึ่งจะไม่ตรงกับวิสาขบูชาตามปฏิทินของชาวพุทธเถรวาท) [3] (http://72.14.235.132/search?q=cache:b2-cKGs07vMJ:th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B8%8A%E0%B8%B2+%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A3%E#cite_note-2)
วิสาขบูชา นั้น ได้รับการยกย่องจากพุทธศาสนิกชนทั่วโลกให้เป็นสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล (http://72.14.235.132/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B2) เนื่องจากเป็นที่บังเกิดเหตุการณ์สำคัญ 3 เหตุการณ์ ที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้าและจุดเริ่มต้นของศาสนาพุทธ ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมดได้เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน ณ ดินแดนที่เรียกว่าชมพูทวีป (http://72.14.235.132/wiki/%E0%B8%8A%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B9%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%9B)ในสมัยพุทธกาล (http://72.14.235.132/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5) โดยเหตุการณ์แรก เมื่อ 80 ปี ก่อนพุทธศักราช (http://72.14.235.132/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A) เป็น "ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ" ณ ใต้ร่มสาละพฤกษ์ ในพระราชอุทยานลุมพินี (http://72.14.235.132/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99) (อยู่ในเขตประเทศเนปาล (http://72.14.235.132/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%A5)ในปัจจุบัน) และเหตุการณ์ต่อมา เมื่อ 45 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "ที่เจ้าชายสิทธัตถะได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (http://72.14.235.132/wiki/%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89)" ณ ใต้ร่มโพธิ์พฤกษ์ ริ่มฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม (http://72.14.235.132/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%84%E0%B8%A2%E0%B8%B2) (อยู่ในเขตประเทศอินเดีย (http://72.14.235.132/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2)ในปัจจุบัน) และเหตุการณ์สุดท้าย เมื่อ 1 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "เสด็จดับขันธปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ณ ใต้ร่มสาละพฤกษ์ ในสาลวโนทยาน พระราชอุทยานของเจ้ามัลละ เมืองกุสินารา (http://72.14.235.132/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2) (อยู่ในเขตประเทศอินเดีย (http://72.14.235.132/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2)ในปัจจุบัน) โดยเหตุการณ์ทั้งหมดล้วนเกิดตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 (หรือเดือน) ทั้งสิ้น ชาวพุทธจึงนับถือว่าวันเพ็ญเดือน 6 นี้ เป็นที่รวมคล้ายเกิดเหตุการณ์สำคัญ ๆ ของพระพุทธเจ้าไว้มากที่สุด และได้นิยมประกอบพิธีบำเพ็ญบุญกุศลและประกอบพิธีพุทธต่าง ๆ เพื่อเป็นการถวายสักการะรำลึกถึงแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสืบมาจนปัจจุบัน
วิสาขบูชา มีการนับถือปฏิบัติกันในหลายประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาทั้งมหายาน (http://72.14.235.132/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%99)และเถรวาท (http://72.14.235.132/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%96%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%97)ทุกนิกาย (http://72.14.235.132/wiki/%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2)มาช้านานแล้ว โดยบางประเทศจะเรียกพิธีนี้ว่า พุทธชยันตี (Buddha Jayanti) เช่นใน อินเดีย (http://72.14.235.132/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2) และศรีลังกา (http://72.14.235.132/wiki/%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2) ในปัจจุบันมีหลายประเทศที่ยกย่องให้วิสาขบูชาเป็นหยุดราชการ เช่น ประเทศอินเดีย (http://72.14.235.132/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2), ประเทศไทย (http://72.14.235.132/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2), ประเทศพม่า (http://72.14.235.132/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%B2), ประเทศศรีลังกา (http://72.14.235.132/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2), ประเทศลาว (http://72.14.235.132/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A7) และประเทศกัมพูชา (http://72.14.235.132/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B9%E0%B8%8A%E0%B8%B2) เป็นต้น (ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นประเทศที่มีสัดส่วนประชากรที่นับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทมากที่สุด) ในฝ่ายของประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ได้รับคติการปฏิบัติในวิสาขบูชามาจากลังกา (ประเทศศรีลังกา) โดยในประเทศไทยปรากฏหลักฐานว่ามีการจัดพิธีวิสาขบูชามาตั้งแต่สมัยสุโขทัย (http://72.14.235.132/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B9%82%E0%B8%82%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A2)
ปัจจุบันวิสาขบูชา ถือได้ว่า เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล เพราะชาวพุทธทุกนิกายจะพร้อมใจกันจัดพิธีพุทธบูชาในวันนี้พร้อมกันทั่วทั้งโลก[4] (http://72.14.235.132/search?q=cache:b2-cKGs07vMJ:th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B8%8A%E0%B8%B2+%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A3%E#cite_note-BBC_Buddhism_Schools-3) (ซึ่งไม่เหมือนมาฆบูชา (http://72.14.235.132/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%86%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B8%8A%E0%B8%B2) และอาสาฬหบูชา (http://72.14.235.132/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%AC%E0%B8%AB%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B8%8A%E0%B8%B2) ที่เป็นสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่นิยมนับถือกันเฉพาะในประเทศไทย, ลาว, และกัมพูชา) และด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ที่ประชุมใหญ่สมัชชาสหประชาชาติยกย่องให้วิสาขบูชาเป็น "สำคัญสากลนานาชาติ (International Day)" หรือ "สำคัญของโลก" (ตามคำประกาศของที่ประชุมใหญ่สมัชชาสหประชาชาติ (http://72.14.235.132/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%AB%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4) ครั้งที่ 54 ลงที่ 13 ธันวาคม (http://72.14.235.132/wiki/13_%E0%B8%98%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A1)พ.ศ. 2542 (http://72.14.235.132/wiki/%E0%B8%9E.%E0%B8%A8._2542))
ปัจจุบัน ประเทศไทยได้ประกาศให้วิสาขบูชาเป็นหยุดราชการ โดยพุทธศาสนิกชนทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ พระสงฆ์ และประชาชน จะมีการประกอบพิธีต่าง ๆ เช่น การตักบาตร (http://72.14.235.132/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3) การฟังพระธรรมเทศนา การเวียนเทียน (http://72.14.235.132/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99) เป็นต้น เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระรัตนตรัย (http://72.14.235.132/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%A2)และเหตุการณ์สำคัญ ๓ เหตุการณ์ดังกล่าว ที่ถือได้ว่าเป็นคล้ายที่ "ประสูติ" ของเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้ซึ่งต่อมาได้ "ตรัสรู้" เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงกอรปไปด้วย "พระบริสุทธิคุณ", "พระปัญญาคุณ" ผู้ซึ่งได้ทรงสั่งสอนประกาศพระสัจธรรม คือความจริงของโลกแก่พหูชนทั้งปวงโดย "พระมหากรุณาธิคุณ" จวบจนทรง "เสด็จดับขันธปรินิพพาน" ในวาระสุดท้าย ซึ่งทั้งสามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสืบเนื่องในวันเพ็ญเดือน 6 ทั้งสิ้นนี้ ทำให้พระพุทธศาสนาได้บังเกิดและสืบต่อมาอย่างมั่นคงจนถึงปัจจุบัน
สำหรับในปี พ.ศ. 2552 (http://72.14.235.132/wiki/%E0%B8%9E.%E0%B8%A8._2552) นี้ วิสาขบูชา หรือขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 (ตามปฏิทินจันทรคติ (http://72.14.235.132/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%95%E0%B8%B4)ไทย) จะตรงกับ ศุกร์ (http://72.14.235.132/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A8%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B9%8C)ที่ 8 พฤษภาคม (http://72.14.235.132/wiki/8_%E0%B8%9E%E0%B8%A4%E0%B8%A9%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A1) (ตามปฏิทินสุริยคติ (http://72.14.235.132/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%95%E0%B8%B4))

paobunjin
05-07-2009, 11:28 PM
ทั่นนพกรณ์เอ๋ย...
ผู้เฒ่าตาลายแล้ว แก้ไขหน่อยน๊า....

สาธุวันพรุ่งนี้วันวิสาขะบูชา วันพระใหญ่
เมืองไทยชาวพุทธไปเวียนเทียนกัน
อยู่ที่โน่น ก็ได้แต่มองพระจันทร์คืนเพ็ญ
ก่อนนอนก็ไหว้พระสวดมนต์
ขอให้ทุกท่านโชคดี ได้ทำบุญกุศลโดยทั่วกันเทอญฯ

เกิดแก่
05-08-2009, 10:14 AM
สาธุค่ะพี่ชายนพกรณ์
ผู้เฒ่าตาลายแล้ว แก้ไขหน่อยน๊า....(ลุงเป)
กว่าจะอ่านจบก็เล่นเอามีอาการเหมือนลุงเปาเลยค่ะพี่ชาย อิอิ

noppakorn
04-29-2010, 04:28 PM
28 พ.ค 2553 เป็นวันวิสาขะบูชา พอดีผมไปต่างประเทศเลยขอเอากลอนเก่าแต่มาเกลาใหม่ มาลงไว้ล่วงหน้าน่ะครับ

วิสาขะบูชาปุณณมีดิถีเลิศ
วันประเสริฐอันสำคัญวันศาสนา
มีนิมิตเกิดเหตุการณ์พระศาสดา
มีเหตุมา3 ประการอันจำเริญ
ปีจอกลางเดือน 6 วันเพ็ญเห็นประจักษ์
ถิ่นพำนักลุมพินีวันอันสรรเสริญ
สิริมหามายาครบทศมาสครรภ์เจริญ
ทรงดำเนินประสูติโอรสทศพล
ใต้ต้นรังมีอัศจรรย์พลันปรากฏ
พระโอรสทรงดำเนินเสด็จ 7 ก้าวหน
เปล่งวาจาจากพระโอษฐ์พระทศพล
ได้ยินยลเป็นอัศจรรย์ในวันเพ็ญ
"เราเป็นผู้เจริญจริงยิ่งในโลก
เราเลิศโลกประเสริฐสุดประสูติเห็น
อันชาตินี้เป็นที่สุดหยุดเกิดเป็น
จะไม่เห็นบังเกิดอีกหลีกเวียนวน"
ล่วงลุกาลนานหลายปีในปีวอก
นับแต่ออกผนวชบวชหาหน
พระศาสดาทรงศึกษาหาด้วยตน
หวังหลุดพ้นในวัฏฏะอนิจจา
ครั้นเดือน 6 วันเพ็ญทรงเห็นรู้
พระสัพพัญญูทรงตรัสรู้ลู่เหตุหา
หลังบำเพ็ญละสุขทรงทุกข์กิริยา
ทรงหันมาใช้สติคิดพิจารณ์
ทรงสมาธิจนผลิอภิญญา
ด้วยปัญญาจนแจ้งจิตคิดแตกฉาน
บรรลุธรรมซึ่งพระสัมมาสัมโพธิญาน
ณ วันอังคารคืนเพ็ญเป็นต้นมา
หลังประกาศเผยแพร่แก่เวไนยชน
สั่งสอนคนจนรู้แจ้งเหตุแห่งศาสนา
นับแต่ได้ทรงโปรดแสดงปฐมเทศนา
แก่เทวามนุษย์พรหมยมอบายฯ
ทรงประกาศพรหมจรรย์อันสมบูรณ์
จนเพิ่มพูนปัญญาคนชนทั้งหลาย
ลุล่วงมาสี่สิบห้าพรรษามรณากราย
อรหันต์องค์สุดท้ายปฏิบัติตามทางมัชฌิมาฯ
ทรงได้ปัจฌิมโอวาทประสาทประสิทธิ์
ให้พินิจสังขารอันเสื่อมสา
ไม่คงทนย่อมเสื่อมได้ตามธรรมดา
ควรมุ่งหน้าอย่าประมาทประสาทพร
พระพุทธองค์ทรงฌานหลังตรัสสอน
ทรงฌานจรจตุตถฌานประสานสรณ์
หลังจากนั้นทรงดับขันธ์นิรันดร
เวลาตอนปัจฌิมยามตามเวลา
เมื่อปีมะเส็งวันอังคารกาลเดือน6
อุปถัมภกศาสดาพระศาสนา
ทรงปรินิพพานตามกาลนานสืบมา
วิสาขะปุณณมีที่มหัศจรรย์.....

noppakorn
05-28-2010, 09:44 AM
สวัสดีครับทั่นยาย ลุงเปา น้องเกิดแก่ น้องเพียงฝัน น้องปลายฟ้า และญาติธรรมทุกๆท่าน

วันวิสาขะบูชา ใครไปทำบุญที่ไหน มาเล่ากันฟังบ้างน่ะครับ ผมอยู่เมกา ไม่มีโอกาสทำบุญเลย
ใครทำที่ไหน ขอร่วมโมทนาสาธุด้วยน่ะครับ

paobunjin
05-28-2010, 03:07 PM
คุณนพกรณ์ครับ เหมือนกันกับผมเด๊ะเลย

ก็อาศัยอนุโมทนาบุญกับญาติสนิทมิตรสหายที่เอาบุญมาฝากกัน อ่ะนะ

แสงจันทร์วันเพ็ญสวยงามมากๆ อยากมองให้เป็นบุญ แต่กลับไปเห็นหน้าใครๆหลายๆคนที่เมืองไทย ฮา ฮา

ลุงเปา ครับ

piangfan
05-28-2010, 06:40 PM
http://p.mthai.com/picpost/2009-09-30/412580_0.jpg

ยืมมาจากอาจารย์ดาวค่ะ ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ ลุงเปา พี่นพ ทั่นยาย พี่เกิดแก่ และญาติธรรมทุกท่านค่ะ

วันวิสาเพียงฝันไม่ได้ไปไหนค่ะ
ได้แต่ใส่บาตรตอนเช้าค่ะ
อนุโมทนาสาธุกับทุกๆท่านค่ะ
ขอบคุณค่ะ