PDA

แสดงเวอร์ชันเต็ม : อกุศลกรรมไม่ครบองค์



chocobo
10-25-2009, 09:15 PM
กราบนมัสการพระคุณเจ้า สวัสดีมิตรธรรมทุกท่าน

คือผมมีปัญหาดังนี้ครับ

คือมีแมลงเข้ามาในห้องน้ำ(อีกแล้ว) คราวนี้ไม่ใช่มด(มดก็มีบ้าง แต่ไม่เยอะ) เป็นแมลงตัวเล้กๆ มันไปเดินเกาะขอบโซนที่อาบน้ำอยู่ ตอนแรกเห็นแค่ตัวเดียว นึกว่ามันหลงเข้ามา เลยไม่ได้สนใจ แต่พอกลับมาอาบตอนเย็น เห็นเต็มเลย แสดงว่ามันต้องอยู่ในห้องน้ำ ออกลูกออกหลานไว้นานแล้ว(ไม่ก็เดินตามท่อระบายน้ำขึ้นมานานแล้ว) ทำให้คิดว่า งั้นเราอาบน้ำอยู่ทุกวัน คงจะพรากชีวิตมันไปก็นับไม่ถ้วน แล้วก็กำลังอาบน้ำอยู่ จะขึ้นจากน้ำมาจับออกไปทีละตัวคงไม่ได้ แล้วก็คงต้องอาบน้ำโดยมีมันเดินเล่นอยู่ต่อไป อย่างนี้ถือว่าบาปหรือเปล่าครับ เพราะเราไม่ได้มีเจตนาฆ่า แต่เราก็ต้องอาบน้ำ จะช่วยเอาพวกมันออกไปให้หมด ก็ลำบาก เดี๋ยวก็ต้องกลับมาอีกแน่ ก็เลยคิดว่า เรามีเจตนาอาบน้ำ มิได้มีเจตนาฆ่า คิดอยู่อย่างนี้ จะบาปไหมครับ เพราะรู้ว่าอาบไปมันก็ต้องมีตัวใดตัวนึงตายแน่ แต่เราก็ต้องอาบ

พูดถึงเรื่องนี้ ผมยังมีข้อกังขาเกี่ยวกับเรื่องบาปไม่บาปอยู่พอสมควร เกี่ยวกับเรื่องอกุศลกรรมไม่ครบองค์ เช่น ปาณาติบาต มีองค์อยู่ 5 (ใช่เปล่า ? ) คือ

1. สัตว์นั้นมีชีวิต
2. รู้ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต
3. มีเจตนาจะฆ่า
4. พยายามฆ่า
5. สัตว์นั้นตายเพราะเราฆ่า

แต่ถ้าเราขาดองค์ที่ 2 3 4 แต่สุดท้ายแล้วดันลุล่วงองค์ 5 (สัตว์นั้นตาย) แม้สัตว์นั้นจะตาย แต่ก็เท่ากับว่าอกุศลกรรมไม่ครบองค์(โดยส่วนมากคงจะไม่ล่วงข้อ 2 3 4 เช่น เดินเหยีบมดโดยไม่เหน ก็ไม่มีทั้งข้อ 2 3 4 แต่ของผมด้านบน ผมรู้ว่ามันมีชีวิต เพราะอย่างนั้นก็ไม่ล่วง 3 กับ 4) อย่างนี้ถือว่าบาปปรกติ บาปน้อย ไม่บาปเลย หรืออย่างไรครับ เพราะได้ยินมาเยอะเหลือเกิน แต่ก่อนเชื่อว่าไม่บาปเลย แต่ตอนนี้เริ่มไม่แน่ใจ เพราะมันก็มีวิบากของกรรมที่ไม่ได้เจตนาอยู่ด้วยใช่ไหมครับ เช่น เดินเหยียบมดโดยไม่เจตนา ก็เป็นบาป(ใช่เปล่าครับ ? ) แล้วอย่างนี้ มันยังไงกันแน่อ่าครับ อยากจะขอมิตรธรรมช่วยอธิบายโดยแยบคายหน่อยครับผม

สาธุกับคำตอบทุกท่านครับ

ขอทุกท่านจงเร่งความเพียรเพื่อบรรลุนิพพานโดยเร็ว เทอญ

D E V
10-26-2009, 03:15 PM
ในองค์ของอกุศลกรรมบถ (ปานาติบาต) นั้น
ที่เป็นใหญ่ เป็นประธาน คือ เจตนาที่ตั้งขึ้นในการฆ่า
เมื่อมีเจตนาตั้งขึ้นแล้ว ก็มีองค์อื่นๆ เข้าประกอบ
เมื่อครบองค์ทั้ง 5 ก็ถือว่าเป็นอกุศลกรรมที่สำเร็จครบองค์
ย่อมมีกำลังให้ผลนำเกิด (ปฏิสนธิกาล)
หรือขณะดำรงชีวิต (ปวัตติกาล)

แต่ถ้าไม่ครบองค์
อย่างเช่น มีเจตนาตั้งขึ้นในการฆ่า
มีการลงมือหรือพยายามฆ่า...แต่ฆ่าไม่สำเร็จ ฯลฯ เป็นต้น
ก็เป็นอกุศลกรรมที่กระทำแต่ไม่ครบองค์
ยังไม่มีกำลังให้ผลนำเกิด (ปฏิสนธิกาล)
แต่ให้ผลได้หลังเกิดคือขณะดำรงชีวิต (ปวัตติกาล)

แต่หากปราศจากเจตนาโดยสิ้นเชิง
อันตั้งขึ้นในการฆ่าหรือเบียดเบียน ก็ไม่เข้าในอกุศลกรรมบถ
เพราะปราศจากซึ่งเจตนาอันเป็นใหญ่ เป็นประธานไปเสียแล้วน่ะคับ

อย่างเช่น...คุณโจ๋คงเคยได้ยินเรื่องพระจักขุปาลเถระ
ที่ท่านเดินจงกรมแล้วเหยียบแมลงเม่าที่อยู่ตามพื้นตายใช่มั้ยคับ
เพราะท่านตาบอด จึงมองไม่เห็น ไม่รู้ว่ามีแมลงเม่าอยู่
ก็ไม่เป็นการล่วงอกุศลกรรมบถแต่อย่างใด

ดังนั้น อย่าเอาไปสับสนกับความหมายของ กตัตตากรรม อ่ะนะคับ
เพราะกตัตตากรรม คือกรรมสักว่าทำ
หมายถึงเจตนาอ่อน หรือ ไม่ชัดเจน ไม่แน่ชัด ไม่ได้หวังผลเช่นนั้นจริงจัง
หรือ เจตนาจะกระทำเพียงแค่นี้ แต่ผลที่เกิดเกินเลยออกไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
อย่างเช่นการกระทำด้วยความประมาทเลินเล่อ คะนอง
ทั้งที่รู้อยู่แก่ใจว่าอาจจะเกิดอันตรายได้แต่ก็ยังทำ
ทำๆ ส่งเดชไปด้วยความมักง่าย ขาดความใส่ใจระมัดระวัง

ในกรณีของคุณโจ๋
หากไม่รู้เลยว่ามีแมลงเกาะอยู่ในที่อาบน้ำ
แล้วอาบไป...ทำให้แมลงตาย
ก็ไม่ล่วงอกุศลกรรมบถ ไม่เป็นอกุศลกรรมแต่อย่างใด
เพราะขาดซึ่งเจตนาอันเป็นใหญ่ เป็นประธาน

แต่ถ้าเห็นอยู่ว่ามีแมลง
และรู้ว่าการอาบน้ำนั้นต้องทำให้แมลงตายแน่ๆ
คือไม่ได้มีเจตนาจะฆ่าเค้าโดยตรง
แต่ก็รู้อยู่แก่ใจตนเองว่าการอาบน้ำทำให้เค้าต้องตาย (แต่ก็จำเป็นต้องอาบ)
อย่างนี้ก็เป็นกตัตตากรรม เป็นอกุศลกรรมอย่างอ่อนอ่ะคับ

ส่วนที่สงสัยว่า
หากไม่มีเจตนาในการกระทำอย่างนั้นๆ แล้วจะให้ผลเป็นวิบากมั้ย
ก็ต้องทราบน่ะคับว่าการที่วิบากจะเกิดขึ้นได้นั้น
ก็เพราะมีเจตนาเจตสิกในการกระทำนั้นๆ นั่นเอง
ซึ่งเป็น นานักขณิกกัมมปัจจัย ให้วิบากเกิดในกาลต่อไป
เมื่อปราศจากซึ่งเจตนาในการนั้นโดยสิ้นเชิงเสียแล้ว
ก็ย่อมไม่มีอะไรที่จะเป็นปัจจัยให้วิบากเกิดขึ้นน่ะคับ




8) เดฟ

chocobo
10-26-2009, 06:52 PM
ส๊า ธุ ครับท่านเดฟ

กระจ่างแล้วครับผม ;D

suwit02
11-30-2009, 12:12 PM
สาธุ

ขอเรียนถามว่า คำที่ว่า
อกุศลกรรมที่กระทำแต่ไม่ครบองค์ ยังไม่มีกำลังให้ผลนำเกิด (ปฏิสนธิกาล)
นั้น ผมได้ยินจากท่านที่เคารพหลายท่าน แต่ผมไม่ทราบอาคตสถาน
โปรดบอกผมด้วย ขอบพระคุณคับ

D E V
11-30-2009, 04:59 PM
อ่ะคับ ที่คุณ suwit02 ได้ยินมานั้น
ท่านไม่ได้ยกเมฆขึ้นมาเองหรอกคับ
แต่มีประมวลไว้ใน คู่มืออภิธัมมัตถสังคหะ วิถีมุตตสังคหวิภาค ซึ่งได้รวบรวมไว้
ลองดูจากลิงค์ที่เคยให้คุณ suwit02 ไว้แล้วนะคับ

สำหรับการสืบค้นอาคตสถานในหลักฐานชั้นต้นขึ้นไปกว่านั้น
เดฟยังไม่อาจสืบค้นให้ได้ เพราะเดฟเองก็ต้องทำงานน่ะคับ
(ที่ตอบกระทู้ต่างๆ นี้ก็แบ่งเวลางานมาตอบอ่ะคับ)

ยังไงแนะนำให้คุณ suwit02 ลองติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการรวบรวมข้อมูล
เช่น สถาบันต่างๆ หรือ มูลนิธิต่างๆ
น่าจะได้อาคตสถานรวดเร็วกว่าเดฟอ่ะคับ

อนุโมทนาด้วยนะคับ




8) เดฟ

suwit02
12-03-2009, 10:53 AM
ผมดู อภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉท 5 วิถีมุตตสังคหวิภาค ตามที่คุณเดฟบอกแล้ว
ยังไม่เจอถ้อยคำตรงๆ เจอแต่ที่เฉียดไปหน่อย เป็นต้นว่า
อกุศลกรรมบถ โทษอย่างหนัก ทำให้เกิดในอบาย
โทษอย่างเบา เช่น ปาณาติบาต ทำให้อายุสั้น

คงจะไม่ใช่การคิดต่อไป ว่า
อกุศลกรรม ที่ยังไม่เป็นกรรมบถ มีโทษเบากว่า อกุศลกรรมบถ
เลยไม่นำไปอบาย

ถ้าคุณเดฟ พบว่าที่ไหนพูดไว้ชัดกว่านี้ โปรดบอกผมด้วย

ขอบพระคุณคับ

DEKWAT
12-03-2009, 02:45 PM
ข้อความของคุณ D E V



อ่ะคับ ตามลิงค์ที่ได้ให้คุณ suwit02 ไว้
เท่าที่พบข้อความปรากฏในคู่มือ พระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ 5 วิถีมุตตสังคหวิภาค


ชนกกรรม เป็นกรรมที่มีหน้าที่ทำให้เกิดซึ่งวิบากจิต และกัมมชรูป ทั้งใน ปฏิสนธิกาล และปวัตติกาล

ก. ทำให้วิบากเกิด และกัมมชรูปเกิดในปฏิสนธิกาล ก็ได้แก่ ทำให้เกิดเป็น สัตว์ดิรัจฉาน เป็นมนุษย์ เป็นเทวดา เป็นต้น ชนกกรรมที่นำปฏิสนธินี้ ส่วนมาก ต้องเป็นกรรมที่ครบองค์ กล่าวคือ ถ้าเป็นอกุสลกรรมก็ต้องครบองค์แห่งกัมมบถ ถ้าเป็นกุสลกรรมก็ต้องครบองค์ของเจตนา

ข. ทำให้วิบากจิต และกัมมชรูปเกิดในปวัตติกาล ก็ได้แก่ ทำให้เกิดตา หู จมูก และอวัยวะน้อยใหญ่ ตลอดจนการให้เห็น การได้ยิน เป็นต้น กรรมที่นำให้ เกิดในปวัตติกาลนี้ จะเป็นกรรมที่ครบองค์แห่งกัมมบถหรือไม่ก็ตาม ย่อมให้ผลได้ ทั้งนั้น


หน้า 47
http://www.watnai.org/live/index.php?option=com_content&view=article&id=176:--5---41-50-&catid=41:-1-&Itemid=71

ชนกกรรม
http://www.abhidhamonline.org/aphi/p5/043.htm

***********************************************************************

กรรมใดที่ถึงกับล่วงกรรมบถ กรรมนั้นสามารถส่งผลให้เป็นปฏิสนธิได้ แต่ว่า ถ้าไม่ถึงกับล่วงกรรมบถ ก็เพียงแต่ให้ผลในปวัตติกาลเท่านั้น กระทำอย่างไรจึงจะ นับว่าล่วงกรรมบถนั้น ต้องพิจารณาว่าการกระทำนั้นครบองค์แห่งกรรมบถหรือไม่ องค์และปโยคของอกุสลกรรมบถ ๑๐ นั้น ดังนี้


หน้า 57
http://www.watnai.org/live/index.php?option=com_content&view=article&id=175:--5---51-60&catid=41:-1-&Itemid=71

สองบรรทัดสุดท้าย
http://www.abhidhamonline.org/aphi/p5/058.htm




8) เดฟ


เนื่องจากการลบข้อความผิดพลาด
ทำให้ข้อความของผู้ถาม และผู้ตอบสลับกัน
จึงจัดเรียงใหม่ให้ถูกต้องตามลำดับ

DEKWAT
12-03-2009, 02:51 PM
ข้อความของคุณ suwit02



โอ้โฮ คุณเดฟตอบมารวดเร็ว แม่นยำ
ขอบพระคุณอย่างยิ่ง

ขอเรียนว่า ผมเพิ่งมานึกสงสัย ถ้อยคำที่ว่า
กรรมใดที่ถึงกับล่วงกรรมบถ กรรมนั้นสามารถส่งผลให้เป็นปฏิสนธิได้
แต่ว่า ถ้าไม่ถึงกับล่วงกรรมบถ ก็เพียงแต่ให้ผลในปวัตติกาลเท่านั้น
เมื่อเร็วๆนี้เอง เลยอยากจะหาที่มา

ตอนที่ผมค้นไป ค้นมา ใน
อภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉท 5 วิถีมุตตสังคหวิภาค และฎีกา
ก็นึกไปถึง การที่ท่านพระเทวทัต พยายามปลงพระชนม์พระศาสดา
แต่ไม่สำเร็จ ได้ผลเพียงโลหิตุปปาท ถึงกระนั้นก็สำเร็จเป็นอนันตริยกรรม
ถ้าท่านไม่ขวนขวายทำอนันตริยกรรมอื่นๆเพิ่มอีก ก็พูดได้เลย ว่า
เจตนาฆ่า ซึ่งเป็นอกุศลอนันตริยกรรมนี้ ถึงจะยังไม่ล่วงกรรมบถ
ก็ย่อมนำไปเกิดในนรกได้ ( อย่างแรงซะด้วย )

นับว่า เป็นกรณีตัวอย่างที่ ค้านกับคำกล่าวข้างต้น
แต่ว่า คำกล่าวที่ว่า
ชนกกรรมที่นำปฏิสนธินี้ ส่วนมาก ต้องเป็นกรรมที่ ครบองค์
นี้ เข้าทีนะคับ

ขอทราบความเห็นของคุณเดฟในกรณีนี้ด้วย จ้า


อนึ่ง ผมคิดว่า ได้ตรวจในอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉท 5 วิถีมุตตสังคหวิภาค และฎีกา
ละเอียดพอควรนะคับ อยากจะยืนยัน ( นิดๆ ) ว่า ถ้อยคำที่กล่าวไว้ตายตัว นั้น
ไม่มีในต้นฉบับทั้งสอง เข้าใจว่า เป็นอัตตโนมัติ ของเกจิอาจารย์ มังคับ
เท่าที่ผมเห็นว่า เฉียดที่สุด ก็ประมาณ ที่ยกมาใน ความเห็น 5 คับ

ประทับใจในความรวดเร็ว และการระบุลิงค์ที่แม่นยำ

ขอบพระคุณมหาศาล




เนื่องจากการลบข้อความผิดพลาด
ทำให้ข้อความของผู้ถาม และผู้ตอบสลับกัน
จึงจัดเรียงใหม่ให้ถูกต้องตามลำดับ

D E V
12-03-2009, 04:13 PM
อ่ะคับ บางครั้งอาจดูเหมือนว่า
แค่พระโลหิตห้อพระบาท ไม่น่าจะรุนแรงอะไรนัก
ลองดู...วินิจฉัยอนันตริยกรรม ๕
ที่ปรากฏใน อรรถกถา มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ อนุปทวรรค
พหุธาตุกสูตร
(ไม่ทราบว่าเคยผ่านตามาแล้วหรือไม่อ่ะนะคับ ลองพิจารณาประกอบกัน...ละกันนะคับ)

มีข้อความแสดงให้เห็นถึงความรุนแรงของ โลหิตุปปาทกรรม
ที่กระทำแก่มหาบุรุษผู้เลิศ ผู้ซึ่งตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า


พึงทราบวินิจฉัยในโลหิตุปปาทกรรม (กรรมคือการทำพระโลหิตให้ห้อ) ต่อไป
ชื่อว่าการทำให้หนังขาดด้วยความพยายามของคนอื่น แล้วทำให้เลือดออก ไม่มีแก่พระตถาคต เพราะพระองค์มีพระวรกายไม่แตก แต่พระโลหิตคั่งอยู่ในที่เดียวกันในภายในพระสรีระ. แม้สะเก็ดหินที่แตกกระเด็นไปจากศิลาที่พระเทวทัตกลิ้งลงไป กระทบปลายพระบาทของพระตถาคต พระบาทได้มีพระโลหิตห้ออยู่ข้างในทีเดียว ประหนึ่งถูกขวานทุบ. เมื่อพระเทวทัตทำเช่นนั้น จึงจัดเป็นอนันตริยกรรม.
ส่วนหมอชีวกเอามีดตัดหนังพระบาทตามที่พระตถาคตทรงเห็นชอบ นำเลือดเสียออกจากที่นั้น ทำให้ทรงพระสำราญ เมื่อทำอย่างนั้น เป็นการกระทำที่เป็นบุญทีเดียว.



เนื้อความเต็ม
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=234

ในเนื้อความเต็มนั้น
ยังมีแสดงให้เห็นถึงกรรมหนักต่างๆ (ไม่ใช่อนันตริยกรรมโดยตรง)
แต่ใกล้ชิดกับอนันตริยกรรม หรือ เช่นกันกับอนันตริยกรรม หรือ เสมอด้วยอนันตริยกรรม


อนุโมทนากับคุณ suwit02 นะคับ




8) เดฟ

suwit02
12-03-2009, 06:38 PM
สาธุ