PDA

แสดงเวอร์ชันเต็ม : สมองกับจิต !!!!!



Butsaya
06-28-2010, 07:53 PM
http://img198.imageshack.us/img198/3215/40924661.gifขอสอบถามหน่อยนะคะ คือว่าสงสัยอีกแล้วอะค่ะ
คือคนที่สมองเสื่อมหรือว่า มีความจำสั้นอะค่ะ เวลาที่ทำอะไรไปแล้วลืม
เวลาที่ทำอะไรแล้วจำไม่ได้ นอนฝันตื่นขึ้นมาก็จำไม่ได้ ลืมไปแล้ว หรือบางทีก็จำได้บ้างไม่ได้บ้าง
แล้วแบบนี้จิตมันจะจำได้หรือเปล่าค่ะ หรือว่าเราลืม จิตก็ลืมเช่นกันอะค่ะ

D E V
06-28-2010, 07:59 PM
http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/science04/03/2/body/03son/images/05.jpg


ในทางวิทยาศาสตร์ อาจกล่าวว่าสมองคือส่วนที่สั่งงาน
ควบคุมการทำงานของร่างกาย ความคิด

แต่พุทธศาสนาได้จำแนกไว้อย่างละเอียดลึกซึ้งถึงส่วนต่างๆ ที่ประชุมรวมกัน
ว่าประกอบด้วย รูปธาตุชนิดต่างๆ และ นามธาตุชนิดต่างๆ
ซึ่งรูปธาตุและนามธาตุทั้งหลายย่อมอิงอาศัยกัน
อุปถัมภ์เป็นเหตุปัจจัยแก่กัน (ตามแต่ชนิดของรูปธาตุและนามธาตุนั้นๆ)

สมองก็เป็นส่วนหนึ่งของรูปธาตุที่ประชุมรวมกัน
อันประกอบด้วยมหาภูตรูปและอุปาทายรูป (ตามควรแก่รูปกลาปนั้นๆ)
โดยที่รูปธาตุทั้งหลายนั้นเป็นเพียงรูปที่เกิดขึ้นและดับไป
ไม่มีสภาพรู้ รับรู้อารมณ์ นึกคิด เหมือนอย่างนามธาตุคือจิตและเจตสิก

สภาพที่จำได้หมายรู้ไม่ใช่สมอง
แต่คือสภาพของนามธาตุชนิดนึงที่ชื่อว่า สัญญาเจตสิก
และสภาพที่ตรึกนึกก็ไม่ใช่สมอง
แต่เป็นสภาพนามธาตุชนิดนึงที่ชื่อว่า วิตกเจตสิก
(ปกติจะมีวิจารเจตสิกเกิดร่วมคู่กันไปด้วยเสมอ แต่เว้นไว้ไม่ขอกล่าวตอนนี้)

ทั้งสัญญาเจตสิกและวิตกเจตสิกนี้เกิดร่วมประกอบกับจิต
โดยที่สัญญาทำหน้าที่จำอารมณ์ จำทุกสิ่งที่ปรากฏให้จิตรู้
และวิตกเจตสิกทำหน้าที่ตรึกนึกคิดไปในเรื่องราวต่างๆ

การที่เราคิดถึงสิ่งที่ผ่านมาแล้วได้
ก็คือมีวิตกเจตสิกที่นึกคิดไปในเรื่องราวนั้น
และที่นึกออก นึกได้ หรือเห็นอีกได้ยินอีกก็จำได้
ก็เพราะมีสัญญาเจตสิกจดจำอารมณ์นั้นไว้

อารมณ์ใดที่ปรากฏชัด
สัญญาก็จดจำได้ดีกว่าอารมณ์ที่ปรากฏไม่ชัด
อารมณ์ใดที่จูงใจ เป็นที่สนใจมาก
สัญญาก็จดจำได้ดีกว่าอารมณ์เผินๆ ธรรมดา
หรืออารมณ์ใดที่ปรากฏบ่อยๆ
สัญญาก็จดจำได้ดีกว่าอารมณ์ที่นานๆ ปรากฏ
ฯลฯ เป็นต้น

อีกทั้งยังมีสภาพนามธรรมอีกหลายอย่าง อาทิเช่น
เอกัคคตาเจตสิก คือสภาพที่ตั้งมั่นในสิ่งนั้นด้วยดี (สมาธิ)
มนสิการเจตสิก คือสภาพที่ใส่ใจ น้อมไปในอารมณ์นั้นด้วยดี
เจตนาเจตสิก คือสภาพที่จงใจ ตั้งใจ ในการกระทำสิ่งนั้นๆ
ฯลฯ ต่างๆ เหล่านี้เป็นต้น
สภาพธรรมทั้งหลายเหล่านี้ก็ประกอบร่วมกัน
ให้มีการตั้งมั่น ใส่ใจในอารมณ์ ตั้งใจกระทำ ให้เป็นไปด้วยดี
อันเกื้อกูลแก่สัญญาเจตสิกจดจำในอารมณ์นั้นได้ดี

หากเหตุปัจจัยต่างๆ ที่เกื้อกูลให้เป็นไปด้วยดีนั้นบกพร่องไป
สัญญาก็อาจจดจำไม่มั่นคง
หรือที่เรามักเรียกว่า จำไม่ได้ ความจำสั้น ลืมง่าย นึกเท่าไหร่ก็นึกไม่ออก

สำหรับความเสื่อมโทรมชรา ความพิการ ความไม่สมบูรณ์พร้อมของรูปธาตุต่างๆ
ซึ่งรูปบางชนิดอันเป็นที่อาศัยเกิดของจิตหากบกพร่องไป
ก็เป็นเหตุให้จิตและเจตสิกที่อาศัยรูปนั้นเกิด...บกพร่องไม่สมบูรณ์น่ะคับ

ส่วนการฝันนั้น อารมณ์ที่ปรากฏในฝันก็มีทั้งที่ปรากฏชัดมาก ชัดน้อย
ไปจนถึงไม่ชัดหรือเป็นโมฆะวาระ
เราจึงจำได้บ้าง ไม่ได้บ้าง แล้วแต่ความชัดของอารมณ์ที่ปรากฏอ่ะคับ

เกี่ยวกับความฝันดูเพิ่มเติมในกระทู้ตามลิงค์ที่ให้นะคับ
http://www.watkoh.com/kratoo/forum_posts.asp?TID=529&PN=1





8) เดฟ

Butsaya
06-28-2010, 08:00 PM
สมองก็เป็นส่วนหนึ่งของรูปธาตุที่ประชุมรวมกัน http://img198.imageshack.us/img198/3215/40924661.gif
อันประกอบด้วยมหาภูตรูปและอุปาทายรูป (ตามควรแก่รูปกลาปนั้นๆ)
โดยที่รูปธาตุทั้งหลายนั้นเป็นเพียงรูปที่เกิดขึ้นและดับไป
ไม่มีสภาพรู้ รับรู้อารมณ์ นึกคิด เหมือนอย่างนามธาตุคือจิตและเจตสิก

พี่เดฟค่ะ ช่วยขยายความท่อนนี้สักหน่อยนะคะ http://img198.imageshack.us/img198/3215/40924661.gif
อ่านแล้วไม่สามารถทำความเข้าใจได้อะค่ะ ไม่รู้ว่าจะตีความออกแนวไหนได้อะค่ะ
อิอิ... ขอความช่วยเหลือจากพี่อธิบายให้หน่อยอะค่ะ

D E V
06-28-2010, 08:01 PM
อ่ะคับ การจะเข้าใจเรื่องธาตุต่างๆ ที่ประชุมกันเป็นร่างกายนี้
เป็นเรื่องค่อนข้างละเอียด ขอเพิ่มเติมอย่างคร่าวๆ ละกันนะคับ

ในร่างกายของคนเรานี้
จะประกอบไปด้วยรูปธาตุต่างๆ มากมายหลายชนิด
ซึ่งรูปธาตุมีทั้งหมด 28 ชนิด (แต่ที่ประชุมรวมกันเป็นร่างกายมี 27)

ในรูป 28 ชนิดนี้ จะมีรูปที่เป็นใหญ่ เป็นหลัก
ที่เรียกว่ามหาภูตรูป อยู่ 4 รูป ได้แก่ ดิน น้ำ ไฟ ลม
ส่วนอีก 24 รูปที่เหลือ เป็นรูปที่ต้องอิงอาศัยมหาภูตรูป
คือถ้าไม่มีธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม ประชุมกันเป็นพื้น เป็นหลัก...รูปอื่นๆ ก็เกิดไม่ได้
รูปที่อิงอาศัยมหาภูตรูปนี้เรียกว่า อุปาทายรูป


*********************************************

รูปธาตุทั้งหมดนี้
เป็นเพียงธาตุที่มีเหตุปัจจัยให้เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป
ตัวของรูปธาตุเองไม่สามารถจะรับรู้อะไรได้เลย
เช่น ธาตุดิน มีเพียงลักษณะแข็ง (ถ้าแข็งน้อยก็คืออ่อนนั่นเอง)
ธาตุไฟ มีเพียงลักษณะร้อน (ถ้าร้อนน้อยก็คือเย็นนั่นเอง)

ธาตุดิน ธาตุไฟ เป็นเพียงธาตุที่มีลักษณะอ่อนแข็ง เย็นร้อน
แต่การที่เรารู้สึกได้ถึงความอ่อนแข็ง รู้สึกได้ถึงความเย็นร้อน
นั่นเพราะมีนามธาตุคือจิตและเจตสิกที่รับรู้ความรู้สึกนั้นอ่ะคับ

ดังนั้น ร่างกายคนเราไม่ว่าจะเป็น แขน ขา ลำตัว มือ เท้า ฯลฯ
หรือแม้แต่อวัยวะภายใน เช่น สมอง ตับ ม้าม ลำไส้ ฯลฯ
รวมความว่าทุกส่วนของร่างกาย
ก็ย่อมประกอบด้วยรูปธาตุต่างๆ ที่ประชุมรวมกัน
แต่ว่าถ้ามีเพียงรูปธาตุเท่านั้น
ก็จะไม่ต่างอะไรเลยกับศพคนที่ตายแล้ว

ศพคนที่ตายได้ไม่นาน
ก็ยังมีร่างกายและอวัยวะทุกๆ ส่วนครบถ้วนเหมือนคนเป็น
แต่ศพไม่สามารถจะรับรู้ นึกคิด จดจำ อะไรได้เลยใช่มั้ยคับ
ทั้งที่ศพก็ยังมีสมอง ลำไส้ แขน ขา มือ เท้า ฯลฯ
ทั้งนี้ ก็เพราะศพมีแต่รูปธาตุที่ประชุมรวมกัน
แต่ไม่มีนามธาตุอันได้แก่จิตและเจตสิก
ซึงเป็นสภาพที่รับรู้ นึกคิด นั่นเองอ่ะคับ

คนเป็นจึงต่างจากศพคนตาย
คนเป็นมีรูปร่างกายและอวัยวะภายนอกภายใน
อันได้แก่รูปธาตุต่างๆ ที่ประชุมรวมกัน
และยังมีนามธาตุซึ่งเป็นสภาพที่รับรู้ นึกคิด
เข้าร่วมประชุมในรูปร่างกายนั้นด้วย
จึงทำให้มีการรับรู้สิ่งต่างๆ ที่ปรากฏได้
มีความรู้สึกนึกคิด สามารถเคลื่อนไหวได้
พูดได้ กระทำสิ่งต่างๆ ได้ จดจำได้

แต่ศพคนตายมีแต่เพียงรูปธาตุ
จึงไม่สามารถที่จะรับรู้ นึกคิด จดจำ เคลื่อนไหว หรือกระทำสิ่งต่างๆ
เพราะไม่มีนามธาตุเข้าประชุมด้วยเลยน่ะคับ

อ่ะคับ ไม่ทราบว่าคร่าวๆ แค่นี้พอจะดีขึ้นมั้ยคับ
เพราะถ้าละเอียดกว่านี้ เกรงว่าจะยิ่ง งง หนักเข้าไปอีกอ่ะคับ อิอิ




8) เดฟ

Butsaya
06-28-2010, 08:03 PM
ขอบคุณค่ะ พี่เดฟ ค่อยยังดีขึ้นหน่อยอะค่ะ เข้าใจล่ะค่ะ
เปรียบเทียบแบบนี้ทำให้ตีความชัดเจนขึ้น ว่ารูปธาตุหลักคือ 4 อย่าง
ดินน้ำลมไฟ แต่อีก 24 ที่อิงกันกับรูปธาตุหลัก พอพี่เทียบกับคนตายใหม่ เลยเข้าใจเลยว่า
คนที่ตายนั้นจะไม่มี นามธาตุ ที่ทำให้มีการรับรู้ซึ่งตรงนี้ต่างกับคนเป็นใช่มัยค่ะ
บุษสรุปตามความเข้าใจจากการที่อ่านของพี่แบบนี้ถูกปะค่ะ
ถ้าบุษเข้าใจถูกตามนี้ แสดงว่า โอเคล่ะค่ะ เข้าใจและตีความถูกแย้วด้วย
อิอิๆๆๆๆ เริ่มจะอัจฉริยะบ้างแย้ว 555555 แจ่มค่ะพี่ http://img198.imageshack.us/img198/3215/40924661.gif

D E V
06-28-2010, 08:06 PM
;) ถูกแล้วคับ...อัจฉริยะจริงๆ เล้ย ! ! !


ในส่วนของรูปธาตุ
รูปธาตุหลักๆ มี 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ
ที่เหลืออีก 24 เป็นรูปธาตุที่อิงอาศัยกับธาตุหลัก

ในส่วนของนามธาตุ ซึ่งเป็นสภาพรู้
ทำให้สามารถรับรู้สิ่งต่างๆ ที่ปรากฏ
ทำให้เรามีการเห็น มีการได้ยิน มีการได้กลิ่น มีการลิ้มรส
มีการรับรู้สิ่งที่กระทบสัมผัสได้ มีการนึกคิด จดจำ
มีความรู้สึกดีใจ เสียใจ รัก ชอบ เกลียด โกรธ ฯลฯ
และกระทำสิ่งต่างๆ ได้

คนเป็น มีทั้งรูปธาตุและนามธาตุประชุมรวมกัน
จึงเป็นรูปร่างกายที่มีความรู้สึกนึกคิด...มีชีวิต

ส่วนคนตาย มีแต่รูปธาตุ ไม่มีนามธาตุ
จึงมีแต่รูปร่างกายแต่ไม่มีความรู้สึกนึกคิด...ไม่มีชีวิต

และรูปธาตุที่คนตายมีเหลืออยู่นั้น...ก็มีไม่ครบเท่าคนเป็น
เนื่องจากตายแล้ว จึงไม่มีรูปธาตุบางรูปเหมือนคนเป็น
(รายละเอียดตรงนี้เว้นไว้ก่อนก็ได้คับ จะได้ไม่งงเพิ่ม อิอิ)




8) เดฟ

Butsaya
06-28-2010, 08:14 PM
อืมม... วันนี้มีพี่คนหนึ่งหาบทความมาเสริมให้อ่านเพิ่มเติมเกี่ยว สมองไม่ใช่จิต ว่าจิง ๆ แล้วเป็นอย่างไร
ก่อนหน้านี้พี่เดฟก็ได้กรุณาสรุปไว้ให้อ่านและทำความเข้าใจกันแบบง่าย ๆ
แต่ตอนนี้ เห็นว่า ลิงค์นี้น่าสนใจ เลยเอามาเพิ่มเติมฝากไว้ตรงนี้แล้วกันนะค่ะ
เผื่อว่าเพื่อน ๆ คนไหนที่สงสัย ข้องใจก็จะได้อ่านแบบละเอียดได้นะค่ะ

http://www.abhidhamonline.org/palungjit.files/palungjit.htm