เข้าสู่ระบบ

แสดงเวอร์ชันเต็ม : กิจของจิตและวิถีจิต



DAO
09-14-2010, 07:57 AM
กิจของจิตและวิถีจิตเค้าสัมพันธ์กันยังไงบ้างคะ ขอยกแผนผังของสองเรื่องมาก่อนนะคะ



กิจของจิต ๑๔ กิจ

กิจที่ ๑ คือ ปฏิสนธิกิจ

กิจที่ ๒ คือ ภวังคกิจ


กิจที่ ๓ คือ อาวัชชนกิจ


กิจที่ ๔ คือ ทัศนกิจ


กิจที่ ๕ คือ สวนกิจ


กิจที่ ๖ คือ คายนกิจ


กิจที่ ๗ คือ สายนกิจ


กิจที่ ๘ คือ ผุสสนกิจ


กิจที่ ๙ คือ สัมปติฉันนกิจ


กิจที่ ๑๐ คือ สันตีรณกิจ


กิจที่ ๑๑ คือ โวฏฑัพพนกิจ


กิจที่ ๑๒ คือ ชวนกิจ


กิจที่ ๑๓ คือ ตทาลัมพณกิจ


กิจที่ ๑๔ คือ จุติกิจ




http://www.buddhism-online.org/Images/Sect07B/PlanP30_01.gif




ขอบคุณมากคะ :)

D E V
09-14-2010, 10:27 AM
กิจของจิต กับ วิถีจิต สัมพันธ์กันยังไง?
ถ้าจากตามผังนั้น ก็คือ...

อตีตภวังค์
ภวังคจลนะ
ภวังคุปัจเฉทะ
3 ดวงนี้เป็นภวังคจิต ทำ ภวังคกิจ

ปัญจทวาราวัชชนจิต
จิตดวงนี้ทำ อาวัชชนกิจ
ปัญจทวาราวัชชนจิตนี้ สามารถที่จะเรียกจำแนกออกไปได้ตามทวาร เช่น...
ถ้าเป็นการรับรู้อารมณ์ทางตา ก็เรียกว่า จักขุทวาราวัชชนจิต
ถ้าเป็นการรับรู้อารมณ์ทางหู ก็เรียกว่า โสตทวาราวัชชนจิต
ทางจมูก-ฆานทวาราวัชชนจิต...ทางลิ้น-ชิวหาทวาราวัชชนจิต...ทางกาย-กายทวาราวัชชนจิต
ก็เพราะจิตดวงนี้ ทำอาวัชชนกิจได้ทั้ง 5 ทวาร จึงรวมเรียกว่า ปัญจทวาราวัชชจิต อ่ะคับ

ทวิปัญจวิญญาณ
หมายถึงวิบากจิต 10 ดวง ได้แก่...
จักขุวิญญาณ 2 ดวง (เป็นกุศลวิบาก 1 ดวง...อกุศลวิบาก 1 ดวง)...ทำ ทัศนกิจ (กิจเห็น)
โสตวิญญาณ 2 ดวง ("----------------------------------------------")...ทำ สวนกิจ (กิจได้ยิน)
ฆานวิญญาณ 2 ดวง ("----------------------------------------------")...ทำ ฆายนกิจ (กิจได้กลิ่น)
ชิวหาวิญญาณ 2 ดวง ("----------------------------------------------")...ทำ สายนกิจ (กิจรู้รส)
กายวิญญาณ 2 ดวง ("----------------------------------------------")...ทำ ผุสสนกิจ (กิจรู้สัมผัส)

สัมปฏิจฉันนจิต
มี 2 ดวง เป็นกุศลวิบาก 1 ดวง อกุศลวิบาก 1 ดวง
ทำ สัมปฏิจฉันนกิจ คือ รับอารมณ์ต่อจาก ทวิปัญจวิญญาณน่ะคับ

สันตีรณจิต
มี 3 ดวง คือ อุเบกขาสันตีรณกุศล1 อุเบกขาสันตีรณอกุศล 1 และ โสมนัสสันตีรณกุศล 1
ทำ สันตีรณกิจ คือไต่สวนหรือพิจารณาอารมณ์นั่นเอง
เวลาที่เราใช้คำว่า ไต่สวนหรือพิจารณาอารมณ์ ฟังดูเหมือนเป็นการนึกคิดยาวๆ อ่ะนะคับ
แต่ไม่ใช่อย่างนั้นเลย...ไม่ใช่แบบขณะที่เรากำลังตรึกนึกพิจารณาอย่างเวลาที่เราอ่านกระทู้
แล้วก็มีการนึกคิดพิจารณาตามไป มีวิตก วิจาร ที่ตรึกนึกไปตามเรื่องราว...ไม่ใช่แบบนี้นะคับ
แต่ไต่สวนหรือพิจารณาอารมณ์ในที่นี้สั้นมาก เร็วมาก โดยที่เราไม่รู้หรือบังคับอะไรได้เลย
เพราะเพียงชั่วขณะจิตเดียวที่เค้าทำกิจของเค้า...แล้วส่งต่อให้จิตดวงต่อไป

โวฏฐัพพนจิต
ทำ โวฏฐัพพนกิจ คือ ตัดสิน หรือ กำหนด หรือ กระทำทาง ให้กุศลจิตหรืออกุศลจิตเกิดต่อ
จิตที่ทำโวฏฐัพพนกิจก็คือ มโนทวาราวัชชนจิต นั่นเองอ่ะคับ
มโนทวาราวัชชนจิตนอกจากจะทำอาวัชชนกิจแล้ว ก็ยังมากระทำโวฏฐัพพนกิจด้วย
เมื่อมากระทำโวฏฐัพพนกิจ จึงเรียกชื่อตามกิจที่กระทำว่า โวฏฐัพพนจิต

ชวนจิต
ก็คือกุศลจิต หรือ อกุศลจิต นั่นเองอ่ะคับ
(ในที่นี้ขอกล่าวเฉพาะในชีวิตประจำวันของปุถุชนเท่านั้นก่อน ยังไม่กล่าวถึงจิตอื่นๆ นะคับ)
เมื่อกุศลจิต หรือ อกุศลจิต เกิดขึ้นนั้น ไม่ได้เกิดแค่ดวงเดียว
แต่จะเกิดขึ้นเสพซ้ำแล่นไปในอารมณ์นั้นสืบต่อกันไปถึง 7 ดวง (โดยปกติทั่วไป)
จึงชื่อว่า ชวนกิจ

ตทาลัมพนจิต
เป็นวิบากจิตที่เกิดขึ้นทำ ตทาลัมพนกิจ
คือรับอารมณ์ต่อจากชวนจิตอีก 2 ขณะ แล้วอารมณ์นั้นก็ดับไป
(รูป 1 รูป จึงมีอายุเท่ากับ 17 ขณะจิต)
จิตที่ทำตทาลัมพนกิจได้ก็คือ สันตีรณจิต 3 ดวง และมหาวิบากจิต 8 ดวง

สำหรับ ปฏิสนธิกิจ คือ นำเกิดสืบต่อภพชาติ
และ จุติกิจ คือ เคลื่อนจากภพชาติเดิม
ทั้ง 2 กิจนี้ จะมีได้เพียงครั้งเดียวในภพชาตินั้นๆ น่ะคับ
ซึ่งระหว่างที่ยังไม่เป็นวิถีจิต ก็จะมี ภวังคจิตที่ทำภวังคกิจ ดำรงรักษาภพชาตินั้นไว้...ไม่ตาย
จิตที่ทำ ปฏิสนธิกิจ ภวังคกิจ จุติกิจ เป็นจิตประเภทเดียวกันในภพชาตินั้น
ถ้าเกิดด้วยอุเบกขาสันตีรณจิตดวงใดดวงหนึ่งใน 2 ดวง
จิตนี้ก็เป็น ปฏิสนธิจิต ภวังคจิต จุติจิต ของภพชาตินั้น
ถ้าเกิดด้วยมหาวิบากจิตดวงใดดวงหนึ่งใน 8 ดวง
มหาวิบากจิตดวงนั้นก็เป็น ปฏิสนธิจิต ภวังคจิต จุติจิต ของภพชาตินั้น
หรือถ้าเป็นพรหมบุคคล มหัคคตวิบากจิตดวงใดดวงหนึ่งใน 9 ดวง
ก็เป็นปฏิสนธิจิต ภวังคจิต จุติจิต ในภพชาตินั้นอ่ะคับ

รายละเอียดต่างๆ นั้นกว้างขวางมากมาย
แต่คงอธิบายอย่างย่อๆ คร่าวๆ เพียงเท่านี้ก่อนละกันนะคับ





8) เดฟ

DAO
09-14-2010, 11:01 AM
อตีตภวังค์
ภวังคจลนะ
ภวังคุปัจเฉทะ
3 ดวงนี้เป็นภวังคจิต ทำ ภวังคกิจ


ปัญจทวาราวัชชนจิต
จิตดวงนี้ทำ อาวัชชนกิจ


ทวิปัญจวิญญาณ
ทำทัศนกิจ


สัมปฏิจฉันนจิต
ทำ สัมปฏิจฉันนกิจ


สันตีรณจิต
ทำ สันตีรณกิจ


โวฏฐัพพนจิต
ทำ โวฏฐัพพนกิจ



ชวนจิต
ชวนกิจ



ตทาลัมพนจิต
ทำตทาลัมพนกิจ


ปฏิสนธิจิตและจุติจิตเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวในชาติหนึ่งๆเท่านั้น


แล้วที่เหลือนี้ไม่มีความสัมพันธ์กะเค้าเลยเหรอคะ


กิจที่ ๕ คือ สวนกิจ


กิจที่ ๖ คือ คายนกิจ


กิจที่ ๗ คือ สายนกิจ


กิจที่ ๘ คือ ผุสสนกิจ

D E V
09-14-2010, 11:40 AM
ทวิปัญจวิญญาณ
ทำทัศนกิจ


แล้วที่เหลือนี้ไม่มีความสัมพันธ์กะเค้าเลยเหรอคะ


กิจที่ ๕ คือ สวนกิจ


กิจที่ ๖ คือ คายนกิจ


กิจที่ ๗ คือ สายนกิจ


กิจที่ ๘ คือ ผุสสนกิจ



กำ...อ่านข้ามไปได้ยังไงอ่ะคับเนี่ย บุษ2...เอ๊ยย ดาว อิอิ

นี่ไงคับ มีกล่าวไว้แล้วง่ะ......คริ คริ


ทวิปัญจวิญญาณ

หมายถึงวิบากจิต 10 ดวง ได้แก่...

จักขุวิญญาณ 2 ดวง (เป็นกุศลวิบาก 1 ดวง...อกุศลวิบาก 1 ดวง)...ทำ ทัศนกิจ (กิจเห็น)

โสตวิญญาณ 2 ดวง ("----------------------------------------------")...ทำ สวนกิจ (กิจได้ยิน)

ฆานวิญญาณ 2 ดวง ("----------------------------------------------")...ทำ ฆายนกิจ (กิจได้กลิ่น)

ชิวหาวิญญาณ 2 ดวง ("----------------------------------------------")...ทำ สายนกิจ (กิจรู้รส)

กายวิญญาณ 2 ดวง ("----------------------------------------------")...ทำ ผุสสนกิจ (กิจรู้สัมผัส)



8) เดฟ

Butsaya
09-14-2010, 11:44 AM
อิอิ..... บุษขอแจมด้วยคนนะค่ะ พี่ดาว เข้ามาอ่านแล้วกะอดไม่ได้ อิอิ... :D :D

บุษสงสัยจากภาพ ปัญจทวารวิถี อติมหันตารมณ์วิถี
มีคำว่า จิตพ้นวิถี (ตี น ท) กับ จิตพ้นวิถี (ภ ภ) ทำมัยไม่เหมือนกันค่ะ
เพราะอะไรหรอค่ะ ขอสักหน่อยแล้วกันนะค่ะ อิอิ..... ;) ;)

DAO
09-14-2010, 11:51 AM
แหะๆๆๆ มันอยู่ไกลไปหน่อย มีค่ารถแค่สองบาทเลยไปได้ป้ายเดียวแล้วรีบกลับคะ อิอิ อีกสี่ป้ายเลยไปไม่ถึงคะ อิอิ ขอบคุณมากๆนะคะคุณเดฟ เดี๋ยวจะเอาหน้านี้ไว้ดูประกอบการฟังไปด้วยคะ อนุโมทนาด้วยนะคะ :D :D

D E V
09-14-2010, 01:54 PM
ตี เป็นตัวย่อของ อตีตภวังค์
น เป็นตัวย่อของ ภวังคจลนะ
ท เป็นตัวย่อของ ภวังคุปัจเฉทะ
ภ เป็นตัวย่อของ ภวังค์

ดังนั้น ทั้งหมดนั้นก็คือ ภวังคจิตนั่นเอง อ่ะคับ
เพียงแต่ ภวังคจิต ดวงที่มีปัญจารมณ์มากระทบ ก็เรียกชื่อว่า อตีตภวังค์
ภวังคจิตดวงที่ไหวไป ก็เรียกว่า ภวังคจลนะ
ภวังคจิตดวงที่ตัดกระแสภวังค์ ส่งให้วิถีจิตเกิด ก็เรียกว่า ภวังคุปัจเฉทะ
ซึ่งภวังคจิตนั้นไม่ใช่วิถีจิต พ้นไปจากวิถีจิต หรือ เป็นจิตพ้นวิถี (ปฏิสนธิจิต ภวังคจิต จุติจิต เหล่านี้ไม่ใช่วิถีจิต)

ทีนี้ หลังจากสิ้นสุดวิถีจิตที่รับรู้อารมณ์วาระหนึ่งๆ
วิถีจิตแต่ละวาระจะเกิดสืบต่อกันทันทีไม่ได้น่ะคับ
พอหมดวิถีจิตวาระนึงแล้วต้องมีภวังคจิตเกิดคั่น
แล้วจึงจะขึ้นสู่วิถีจิตวาระใหม่ได้...สลับกันไปเช่นนี้

ภวังคจิต (ภ) ทำภวังคกิจ รักษาภพชาตินี้ไว้ เกิดคั่นวิถีจิตที่รับรู้อารมณ์แต่ละวาระ
แล้วพอปัญจารมณ์กระทบกับภวังคจิต (ภ) ... ภวังคจิตดวงที่ถูกกระทบก็คือ อตีตภวังค์ (ตี)
ภวังคจิตดวงที่ไหวไปก็คือ ภวังคจลนะ (น)
ภวังคจิตดวงที่ตัดกระแสภวังค์ก็คือ ภวังคุปัจเฉทะ (ท)
แล้วก็เป็นวิถีจิตเกิดสืบต่อกันไป...พอสิ้นสุดวิถีจิต ก็เป็น ภวังคจิตเกิดคั่นอีก (ภ)
แล้วก็มีอารมณ์มากระทบอีก...ก็วนเวียนสลับกันไปเช่นนี้ตลอดภพชาติอ่ะคับ

และขณะที่ไม่รับรู้อารมณ์ใดๆ ของโลกนี้ทางทวารใดเลย...ขณะนั้นไม่มีวิถีจิต
ก็เป็นภวังคจิตนั้นเองที่เกิดดับสืบต่อไปเรื่อยๆ
ขณะที่เป็นภวังคจิตเกิดดับสืบต่อกันไปเรื่อยๆ นานๆ
โดยไม่มีวิถีจิตเกิดขึ้นรับรู้อารมณ์ทางทวารใดเลย...ก็คือขณะที่หลับสนิทนั่นเองอ่ะคับ






8) เดฟ

DAO
09-14-2010, 02:27 PM
จิตพ้นวิถี (ตี น ท) กับ จิตพ้นวิถี (ภ ภ)

สรุปก็คือภวังอันเดียว เพียงแต่เขียนไม่เหมือนกันเท่านั้นใช่ไม่คะ

D E V
09-14-2010, 03:13 PM
อ่ะคับ ก็คือภวังคจิตนั่นแหละ...แต่เรียกชื่อต่างๆ กันไป
การที่มีชื่อเรียกเฉพาะต่างกันไปนั้น
ก็เพื่อให้รู้ว่าภวังคจิตดวงนี้นะที่เริ่มกระทบกับปัญจารมณ์ ก็เรียกชื่อว่า อตีตภวังค์
แล้วภวังคจิตดวงที่ไหวไป ก็เรียกว่า ภวังคลนะ เพื่อให้รู้ว่าเป็นดวงที่ไหวไปหลังจากอตีตภวังค์ดับไป
แล้วภวังคจิตดวงต่อไปที่เกิดขึ้นดับไป...ตัดกระแสภวังค์ จากนั้นวิถีจิตจึงเกิดขึ้น
ก็เรียกชื่อภวังคจิตดวงนี้ว่า ภวังคุปัจเฉทะ นั่นเองอ่ะคับ
ถ้าไม่มีชื่อเรียกเฉพาะต่างกันไป
เราก็จะไม่รู้เรื่องว่ากำลังพูดถึงภวังคจิตดวงไหน?
ดวงที่เริ่มกระทบกับปัญจารมณ์ หรือดวงที่ไหว หรือดวงที่ตัดกระแสภวังค์




8) เดฟ

Butsaya
09-14-2010, 03:53 PM
และขณะที่ไม่รับรู้อารมณ์ใดๆ ของโลกนี้ทางทวารใดเลย...ขณะนั้นไม่มีวิถีจิต
ก็เป็นภวังคจิตนั้นเองที่เกิดดับสืบต่อไปเรื่อยๆ
ขณะที่เป็นภวังคจิตเกิดดับสืบต่อกันไปเรื่อยๆ นานๆ
โดยไม่มีวิถีจิตเกิดขึ้นรับรู้อารมณ์ทางทวารใดเลย...ก็คือขณะที่หลับสนิทนั่นเองอ่ะคับ


อืมพี่เดฟค่ะ ง้านเวลาที่เราหลับสนิทไม่ฝันเลย
ภวังคจิตที่เกิดขึ้นสลับกันนั้นเป็นแบบไหนค่ะ

1. จิตพ้นวิถี(ภ ภ) | จิตพ้นวิถี(ภ ภ) | จิตพ้นวิถี(ภ ภ)
2. จิตพ้นวิถี (ตี น ท) | จิตพ้นวิถี (ภ ภ) | จิตพ้นวิถี (ตี น ท)

แบบตัวอย่างที่ 1 หรือว่า 2 อะค่ะ

DAO
09-14-2010, 04:16 PM
ก็น่าจะต้องเป็นภวัง-ภวัง-ภวัง-ภวัง สืบต่อกันไปเรื่อยๆจนกว่าจะมีสิ่งใดมากระทบทางทวารใดก็แล้วแต่ก็จะเริ่มต้นด้วย
อตีตภวังค์
ภวังคจลนะ
ภวังคุปัจเฉทะ
ไปตามลำดับใช่ไม่คะ
อิอิ ขอแจมด้วยนะคะ คืออยากทบทวนความเข้าใจด้วยว่าดาวเข้าใจได้ถูกและตรงรึป่าวนะคะ ;)


ภ = ภวังคจิต คือจิตที่ทำหน้าที่รักษาขันธ์ ๕ ในชาติปัจจุบันไว้ ไม่ให้แตกทำลายไป จนกว่าจะสิ้นอายุ จากชาตินี้
ตี = อตีตภวังค์ คือ ภวังคจิตที่ผ่านไปในระหว่างที่รูปารมณ์เกิดขึ้นแล้ว แต่ยังไม่ปรากฏทางตา
น = ภวังคจลนะ คือ ภวังค์ที่หวั่นไหวด้วยอำนาจของรูปารมณ์ที่มาปรากฏทางตา
ท = ภวังคุปัจเฉทะ คือ ตัดกระแสภวังค์ เช่น บุคคลที่ตื่นจากหลับ หรือเปลี่ยนอารมณ์ใหม่

*8q*
09-14-2010, 07:03 PM
สาธุเด๊อ

D E V
09-14-2010, 07:23 PM
ก็น่าจะต้องเป็นภวัง-ภวัง-ภวัง-ภวัง สืบต่อกันไปเรื่อยๆจนกว่าจะมีสิ่งใดมากระทบทางทวารใดก็แล้วแต่ก็จะเริ่มต้นด้วย
อตีตภวังค์
ภวังคจลนะ
ภวังคุปัจเฉทะ
ไปตามลำดับใช่ไม่คะ



ใช่แล้วคับ (สำหรับวิถีจิตทางปัญจทวาร ซึ่งรับปัญจารมณ์นะคับ)

แต่ถ้าเป็นการรู้อารมณ์ทางมโนทวาร ก็เริ่มที่ ภวังคจลนะ เลยคับ

เทียบดูวิถีจิตทางปัญจทวาร และ มโนทวารได้ในกระทู้ที่เคยถามนะคับ
http://www.watkoh.com/board/index.php?topic=3655.0




8) เดฟ

Butsaya
09-14-2010, 07:59 PM
ขอบพระคุณมากค่ะ พี่เดฟ พี่ดาว อนุโมทนาสาธุค่ะ :D

http://www.watkoh.com/board/richedit/upload/2k6d106bc66c.gif