PDA

แสดงเวอร์ชันเต็ม : เด็กน้อยสงสัยเรื่องเวลาฉันภัตตาหารเช้าและเวลาฉันเพล



rabeangmai
03-21-2011, 10:15 PM
ความสงสัยนี้เกิดจากมีน้องคนหนึ่งมาถาม แล้วระเบียงไม้ไม่สามารถตอบคำถามได้
เลยอาสามาหาคำตอบให้จากท่านผู้รู้ที่นี่ค่ะ (ไม่กล้าไปถามพระที่วัด :D)

น้องเขาสงสัยว่าอย่างนี้ค่ะ ว่า....
"เวลาฉันภัตตาหารเช้ากับเวลาฉันเพล มีระยะเวลาห่างกันแค่ 4-5 ชั่วโมง จากนั้นก็เว้นจากเวลาฉันเพลไปจนถึงรุ่งเช้าอีกวันก็ประมาณเกือบๆ 20 ชั่วโมง ทำไมไม่เลื่อนระยะเวลาของการฉันเพลออกไปในช่วงบ่าย เพื่อที่พระท่านจะได้ไม่รู้สึกโหยมากในช่วงเย็นหรือหัวค่ำ"

คือน้องเขาเข้าใจความหมายของคำว่า "เพล" ว่าแปลว่าอะไร แต่เขาไม่เข้าใจเรื่องการจัดเวลาค่ะ

ฟังคำถามแล้วอึ้งจริงๆ ขอความช่วยเหลือตอบให้น้องเขาด้วยนะคะ

D E V
03-22-2011, 04:06 PM
สวัสดีคับ คุณระเบียงไม้

พระวินัยบัญญัติไว้ไม่ให้ภิกษุฉันของเคี้ยวในเวลาวิกาล
และที่เราเรียกว่าเวลาวิกาลก็คือ หลังเที่ยงไปจนถึงก่อนเช้าวันใหม่
ดังนั้น ท่านจึงฉันได้ไม่เกินเที่ยงวันน่ะคับ

เราอาจจะคุ้นเคยกับการกิน 3 มื้อ เช้า กลางวัน เย็น
และส่วนใหญ่ก็ไปหนักกันที่มื้อเย็นซะด้วยใช่มั้ยคับ
แต่ปัจจุบันเราก็คงเคยได้ยินที่เค้ารณรงค์ให้มื้อเช้าเป็นมื้อสำคัญที่สุด
เพราะร่างกายต้องการพลังงานเพื่อใช้ในการทำกิจกรรมต่างๆ ไปตลอดทั้งวัน
มื้อรองลงมาคือมื้อเที่ยงเพื่อเติมพลังงานอีกนิดหน่อยให้พอเพียงไปถึงเย็นค่ำ
ส่วนมื้อเย็นเป็นมื้อที่สำคัญน้อยที่สุด
ควรทานให้น้อยที่สุดเพราะใกล้เวลาพักผ่อนนอนหลับ
ร่างกายไม่ค่อยได้ใช้พลังงานอะไรนัก

สำหรับพระภิกษุซึ่งเป็นผู้ที่กินง่ายอยู่ง่าย
แค่เพียงพอสำหรับหล่อเลี้ยงร่างกายเพื่อดำรงชีวิตอยู่
เป็นผู้ประมาณในการฉันแต่พอเพียง
มื้อเย็นจึงเป็นเสมือนส่วนเกินที่ไม่จำเป็น
หรือพระภิกษุบางรูปอาจจะฉันเพียงมื้อเดียวด้วยซ้ำไป...ท่านก็อยู่ได้แล้วอ่ะคับ

น่าอัศจรรย์...ที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติห้ามฉันในเวลาวิกาล
ไว้เมื่อสองพันห้าร้อยกว่าปีมาแล้ว (เพราะมีเหตุให้บัญญัติ)
แต่ก็มาสอดคล้องกับหลักโภชนาการในปัจจุบัน
และเราคงจะไปเลื่อนเวลากันเอาเองไม่ได้
เพราะมีพระวินัยเป็นข้อประพฤติปฏิบัติซึ่งเหมาะสมดีอยู่แล้วน่ะคับ



พระบัญญัติ
๘๖. ๗. อนึ่ง ภิกษุใด เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ซึ่งของเคี้ยวก็ดี ซึ่งของฉันก็ดี
ในเวลาวิกาล เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องพระสัตตรสวัคคีย์ จบ.
สิกขาบทวิภังค์
[๕๐๙] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ... .
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่า ภิกษุที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า เวลาวิกาล หมายตั้งแต่เวลาเที่ยงวันล่วงแล้วไปจนถึงอรุณขึ้น.

ที่ชื่อว่า ของเคี้ยว คือ เว้นโภชนะ ๕ ของที่เป็นยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก
นอกนั้นชื่อว่า ของเคี้ยว.

ที่ชื่อว่า ของฉัน ได้แก่โภชนะ ๕ คือ ข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง ปลา เนื้อ.

ภิกษุรับไว้ด้วยตั้งใจว่า จักเคี้ยว จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ
ขณะกลืน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ คำกลืน.



หากสนใจเพิ่มเติม
อ่านที่มาที่ไปและเนื้อหาเต็มได้ตามลิงค์ที่ให้นะคับ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=2&A=10873&Z=10931&pagebreak=0




8) เดฟ

ปล. ขอเชิญท่านผู้รู้พระวินัยให้คำแนะนำเพิ่มเติมนะคับ

rabeangmai
03-22-2011, 08:32 PM
น่าอัศจรรย์...ที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติห้ามฉันในเวลาวิกาล
ไว้เมื่อสองพันห้าร้อยกว่าปีมาแล้ว (เพราะมีเหตุให้บัญญัติ)
แต่ก็มาสอดคล้องกับหลักโภชนาการในปัจจุบัน


สาธุ

เป็นความสอดคล้องที่น่าอัศจรรย์จริงๆ ค่ะ
และรู้สึกภาคภูมิใจที่ตัวเองได้เกิดมาเป็นชาวพุทธ

คุณเดฟคะ ประโยคที่ว่า "เพราะมีเหตุให้บัญญัติ" นั่นหมายถึง การที่พระองค์ท่านจะบัญญัติอะไรก็แล้วแต่ ล้วนมีที่มาที่ไป มีเหตุมีผลซึ่งสามารถอธิบายได้ เราจะกล่าวตามนี้ได้ไหมคะ?

ระเบียงไม้ขอขอบพระคุณคุณเดฟ แทนน้องเจ้าของคำถามด้วยค่ะ

D E V
03-23-2011, 09:44 AM
ประโยคที่ว่า "เพราะมีเหตุให้บัญญัติ" นั่นหมายถึง การที่พระองค์ท่านจะบัญญัติอะไรก็แล้วแต่ ล้วนมีที่มาที่ไป มีเหตุมีผลซึ่งสามารถอธิบายได้ เราจะกล่าวตามนี้ได้ไหมคะ?


ใช่แล้วคับ
เพราะพระพุทธองค์มิได้ทรงบัญญัติข้อปฏิบัติใดๆ แบบเลื่อนลอย
แต่เพราะมีเหตุอย่างนั้นๆ เกิดขึ้น
จึงทรงบัญญัติพระวินัยไว้เพื่อให้ประพฤติปฏิบัติน่ะคับ



อย่างกรณีนี้ เรื่องการห้ามฉันในเวลาวิกาล
ก็มีแสดงไว้ในพระวินัยปิฎก ตามลิงค์ที่ให้ไว้น่ะคับ

[๕๐๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร
อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์.
ครั้งนั้น ในพระนครราชคฤห์มีมหรสพบนยอดเขา.
พระสัตตรสวัคคีย์ได้ไปดูมหรสพบนยอดเขา.
ประชาชนเห็นพระสัตตรสวัคคีย์ จึงนิมนต์ให้สรงน้ำ ให้ลูบไล้ของหอม
ให้ฉันอาหารแล้วได้ถวายของเคี้ยวไปด้วย.
พระสัตตรสวัคคีย์นำของเคี้ยวไปถึงอารามแล้วได้กล่าวคำนี้กะพระฉัพพัคคีย์ว่า
อาวุโสทั้งหลายนิมนต์รับของเคี้ยวไปขบฉันเถิด.

พระฉัพพัคคีย์ถามว่า อาวุโสทั้งหลาย พวกท่านได้ของเคี้ยวมาจากไหน?
พระสัตตรสวัคคีย์ได้แจ้งเรื่องนั้นแก่พระฉัพพัคคีย์.

ฉ. อาวุโสทั้งหลาย ก็พวกท่านฉันอาหารในเวลาวิกาลหรือ
ส. เป็นอย่างนั้น อาวุโสทั้งหลาย.

พระฉัพพัคคีย์จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า
ไฉนพระสัตตรสวัคคีย์จึงได้ฉันอาหารในเวลาวิกาลเล่า
แล้วแจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย.

บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า
ไฉนพระสัตตรสวัคคีย์จึงได้ฉันอาหารในเวลาวิกาลเล่า ... แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.


ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามพระสัตตรสวัคคีย์ว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอฉันอาหารในเวลาวิกาล จริงหรือ?
พระสัตตรสวัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.


ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า
ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงได้ฉันอาหารในเวลาวิกาลเล่า
การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส
หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ... .

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ
๘๖. ๗. อนึ่ง ภิกษุใด เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ซึ่งของเคี้ยวก็ดี ซึ่งของฉันก็ดี ใน
เวลาวิกาล เป็นปาจิตตีย์.




8) เดฟ

rabeangmai
03-23-2011, 08:40 PM
ลิงค์ที่คุณเดฟนำทางให้ไว้นั้น ดีเหลือเกินค่ะ แม้จะมีคำศัพท์ที่ไม่คุ้นตาและเข้าใจยากบ้าง แต่ก็พอจะใช้บริบทนำทางไปให้พอเข้าใจได้ในเบื้องต้น ยังไงแล้วคงต้องค่อยๆ อ่านค่อยๆ ศึกษากันอีกต่อไป

ขอบพระคุณค่ะ