เข้าสู่ระบบ

แสดงเวอร์ชันเต็ม : ขอคำแนะนำเรื่อง......รู้ผู้รู้



DAO
10-12-2011, 06:35 AM
ขอคำแนะนำเรื่องรู้ผู้รู้ด้วยคะ
ผู้รู้คือ................คือจิตที่ประกอบด้วยสติใช่ไม่คะ
รู้ผู้รู้..................คือใครคะหรือว่าคือจิตที่ประกอบด้วยสติสติอีกตัวรึคะ
แล้วทำไมถึงไปรู้สติอีกตัว ไปรู้กันตอนไหน ถ้าสติดีมากสติสามารถไปรู้ซ้อนกันขึ้นมาได้ละเอียดขนาดนั้นเลยรึคะ
แล้วเกิดขึ้นมายังไงคะ ช่วยแนะนำด้วยคะขอให้ช่วยแจกแจงออกมาให้เห็นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนให้ด้วยนะคะ ขอบคุณมากคะ

Admax
10-12-2011, 08:58 AM
ป้าดาว ผมอยากโพสท์ไปงั้นๆแหละเห็นป้าดาวถามน่ะ 5555 จริงๆไม่รู้อะไรหรอกนะเอาแบบคลายเครียดไปก่อนนะครับต้องรอพี่เดฟมาตอบ



ขอคำแนะนำเรื่องรู้ผู้รู้ด้วยคะ
ผู้รู้คือ................คือจิตที่ประกอบด้วยสติใช่ไม่คะ
รู้ผู้รู้..................คือใครคะหรือว่าคือจิตที่ประกอบด้วยสติสติอีกตัวรึคะ
แล้วทำไมถึงไปรู้สติอีกตัว ไปรู้กันตอนไหน ถ้าสติดีมากสติสามารถไปรู้ซ้อนกันขึ้นมาได้ละเอียดขนาดนั้นเลยรึคะ
แล้วเกิดขึ้นมายังไงคะ ช่วยแนะนำด้วยคะขอให้ช่วยแจกแจงออกมาให้เห็นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนให้ด้วยนะคะ ขอบคุณมากคะ



หากป้าดาวกล่าวว่า ผู้รู้ คือจิตที่ประกอบด้วยสติ จะกล่าวง่ายๆคือ จิตที่เกิดร่วมกับเจตสิกที่เป็นตัวระลึกรู้ใช่ปะ ในความหมายของป้า
ถ้าใช่ ดังนั้น
รู้ผู้รู้ ก้อคือ จิตเห็นจิตไงป้าดาว จิตที่จะเห็นจิตได้ จิตนั้นต้องมีความรู้เท่าทันสภาวะจิตต่างๆ บางครั้งอาจหมายเอาถึงเห็นเหตุที่สภาวะจิตเกิด ก่อเป็นปัจจัย ไปถึงผล เห็นแค่ความที่เป็นสภาวะนั้นๆ เอาต่อไปถึงแยกรูป-นามเห็นตามสภาพจริงเลย เอิ๊กๆๆๆ แต่จะใช่อย่างผมพูดมามั้ย ผมไม่รู้แฮะ เพราะผมยังไม่ถึง อิอิอิ แค่มาตอบกวนๆไปงั้นแหละไม่รู้อะไรหรอก ข้อความทั้งหมดยังเชื่อไม่ได้ 555 อยากแกล้งป้าดาวให้สับสนเล่นเฉยๆ 5555 รอพี่เดฟตอบมาละกัน นั่นของจริง อิอิอิ กวนคนวันละนิดจิตแจ่มใส 555

D E V
10-12-2011, 09:34 AM
สวัสดีคับ คุณ DAO และ คุณ Admax

ต้องขออนุโมทนาด้วยนะคับ
ในการสนใจศึกษาและประพฤติปฏิบัติธรรม
โดยไม่ทอดทิ้งพระธรรมคำสอน

*********************************************************************

1. ใช่คับ...คำว่า ผู้รู้ เป็นคำง่ายๆ ที่เรามักใช้เรียกให้เป็นที่เข้าใจกัน
หมายถึงจิตที่ประกอบด้วยสติระลึกรู้ ก็เลยเรียกว่า ผู้รู้ หรือ ตัวรู้ นั่นเองคับ

2. จิตแต่ละประเภทนั้นเกิดดับทีละ 1 ขณะ
เมื่อจิตประเภทใดเกิดขึ้น...ก็ต้องดับไปก่อน (ซึ่งรวดเร็วมาก)
แล้วจิตอีกประเภทจึงจะเกิดต่อได้
จะมีจิตหลายๆ ประเภทเกิดซ้อนกันในขณะเดียวกันไม่ได้เลยน่ะคับ

ยกตัวอย่างเช่น
กำลังโกรธ...ขณะนั้นก็เป็นโทสมูลจิตที่เกิดขึ้นสืบต่อกันไปทีละขณะๆ
แล้วถ้าขณะนั้นมีสติระลึกรู้ถึงความโกรธ สภาพจิตที่โกรธ
รู้ว่าเป็นเพียงสภาพอกุศลธรรมอย่างนึงที่เกิดขึ้น
ซึ่งไม่ใช่ตัวตน สัตว์ บุคคล แต่เป็นอกุศลจิต (โทสมูลจิต)
มีสภาพที่ขุ่นข้องเคืองใจ หยาบ กระด้าง
การที่ระลึกรู้ได้อย่างนี้...ขณะนั้นก็เป็นกุศลจิตประกอบด้วยสติ (ขั้นสติปัฏฐาน)
เกิดขึ้นระลึกรู้โทสมูลจิตที่เกิดก่อนหน้าตะกี้นี้นั่นเองอ่ะคับ
แล้วเราก็เลยเรียกกุศลจิตที่ประกอบด้วยสตินี้ว่าเป็น ผู้รู้
ส่วนโทสมูลจิตก็เป็นสิ่งที่ถูกรู้
ทั้งสิ่งที่ถูกรู้และผู้รู้ก็เกิดดับสลับกันไปได้อย่างรวดเร็วน่ะคับ

เช่นกัน
ถ้าขณะนั้นไม่ได้โกรธ แต่เป็นกุศลจิตที่ผ่องใส ไม่ขุ่นมัว
เกิดเมตตาคือความปรารถนาดีต่อผู้อื่น
ก็สามารถที่จะเกิดกุศลจิตที่ประกอบด้วยสติ (ขั้นสติปัฏฐาน)
ระลึกรู้สภาพกุศลจิตที่เกิดขึ้นก่อนหน้าตะกี้นี้
ว่าเป็นสภาพที่เมตตา อ่อนโยน มีความเป็นมิตร

เช่นเดียวกัน
จิตที่ประกอบด้วยสติ (ขั้นสติปัฏฐาน) ที่เกิดขึ้นเป็นผู้รู้
เมื่อเกิดขึ้นระลึกรู้แล้วก็ดับไป
ก็สามารถจะมีจิตที่ประกอบด้วยสติ (ขั้นสติปัฏฐาน) เกิดขึ้นสืบต่อ
ระลึกรู้ถึงจิตที่ประกอบด้วยสติอันเป็นผู้รู้ก่อนหน้านี้นั่นเองคับ
ก็คือ มีผู้รู้ เกิดขึ้นระลึกรู้ ในผู้รู้ที่ดับไปตะกี้นี้ (กลายเป็นสิ่งที่ถูกรู้)

ดังนั้น เราก็เลยมีคำเรียกกันอย่างง่ายๆ ว่า รู้ผู้รู้ ดูผู้รู้ จิตเห็นจิต ฯลฯ
หรือจะเรียกอะไรก็ตามแต่เราจะเรียกกัน
แต่ให้เข้าใจความหมายดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นน่ะคับ

ถ้าจะสรุปอย่างง่ายๆ ก็คือ
จิตดวงที่ 1 เกิดขึ้นดับไป
จิตดวงที่ 2 เกิดขึ้นระลึกรู้จิตดวงที่ 1 (แล้วจิตดวงที่ 2 เองก็ดับไป)
จิตดวงที่ 3 เกิดขึ้นระลึกรู้จิตดวงที่ 2
จิตดวงที่ 4 เกิดขึ้นระลึกรู้จิตดวงที่ 3
จิตดวงที่ 5 เกิดขึ้นระลึกรู้จิตดวงที่ 4
ฯลฯ สืบต่อกันไปเรื่อยๆ เช่นนี้
แล้วแต่ว่าจิตแต่ละขณะนั้นเป็นประเภทใด
จะระลึกรู้ได้สืบต่อกันไปตลอดหรือไม่น่ะคับ

เมื่อจำแนกเป็นจิตแต่ละขณะ
ก็จะเป็นในลักษณะดังได้กล่าวไว้
แต่ทีนี้...ในความรู้สึกที่เกิดขึ้น จะรู้สึกว่าเหมือนพร้อมๆ กันไปเลย
นั่นเพราะความรวดเร็วของจิตที่เกิดดับสืบต่อกันไปน่ะคับ


หมายเหตุ.-
ตามตัวอย่างที่สรุปให้เห็นอย่างง่ายๆ นั้น
เป็นการยกตัวอย่างตามที่ปรากฏเป็นอารมณ์ให้สามารถระลึกรู้ได้
แต่ไม่ได้กล่าวโดยวิถีจิตซึ่งจะละเอียดเกินไป
และยังไม่สามารถจะระลึกรู้ได้อ่ะนะคับ




8) เดฟ

DAO
10-12-2011, 11:34 AM
อิอิ อนุโมทนากับการก่อกวนที่ได้ประโยชน์นะจ้ะตาแอด

อ้อออคะ ดาวก็ว่าแล้ว.........
เพระเคยถามคุณเดฟและฟังอาจารย์พูดมาบ้างแล้วว่าจิตนั้นเกิดดับทีละดวง
ถ้าเช่นนั้นคำว่า....รู้ผู้รู้....นี่ก็ไม่ใช่ว่าจะรู้ได้ง่ายๆเลยนะคะ
ต้องรู้ให้ทันขนาดนี้ก็ไช่เรื่องง่ายๆเลยนะคะ

ถ้าจะสรุปอย่างง่ายๆ ก็คือ
จิตดวงที่ 1 เกิดขึ้นดับไป
จิตดวงที่ 2 เกิดขึ้นระลึกรู้จิตดวงที่ 1 (แล้วจิตดวงที่ 2 เองก็ดับไป)
จิตดวงที่ 3 เกิดขึ้นระลึกรู้จิตดวงที่ 2
จิตดวงที่ 4 เกิดขึ้นระลึกรู้จิตดวงที่ 3
จิตดวงที่ 5 เกิดขึ้นระลึกรู้จิตดวงที่ 4
ฯลฯ สืบต่อกันไปเรื่อยๆ เช่นนี้
แล้วแต่ว่าจิตแต่ละขณะนั้นเป็นประเภทใด
จะระลึกรู้ได้สืบต่อกันไปตลอดหรือไม่น่ะคับ


แล้วกรณีนี้ละคะ(เอาเรื่องใหม่)
ถ้าเราอยากเผยแผ่พระธรรม จิตขณะนั้นๆใช่กุศลจิตที่ผ่องใสไม่คะ
แต่มีความติดข้องในความอยากเผยแผ่อยู่ จะถือว่าผ่องใสได้ไม่คะ

ขอบพระคุณคุณเดฟมากๆคะสำหรับคำแนะนำรอบแรก ขอรบกวนต่ออีกนะคะ อิอิ

Admax
10-12-2011, 12:04 PM
กวนต่ออีกรอบ แกล้งคนแก่นี่มันสนุก
สาธุพี่เดฟด้วยครับที่ให้ผมก่อกวนคนแก่ กร๊ากกกก
จิตเห็นจิต คือ จิตตานุปัสสนา (คนแก่สับสนแน่หลายๆคำตอบ 555555)

ผมว่าป้าเป็นโลภมากกว่ากุศลนะ 555555555
ล้อเล่นๆๆๆๆๆๆ ต้องให้พี่เดฟมาแยกให้เรื่องสภาพที่มีทาน มีเมตตา มีกรุณา กับ สภาวะที่มี โลภะ โทสะ
แต่ถ้าหน้าตาไม่ดีนี่คงรู้ยากนะป้าดาว ส่วนมากคนที่รู้นี่รู้สึกจะหล่อๆ น่ารักๆ อย่างผมน่ะป้า 55555
ไม่กวนแระ เดี๋ยวอัญเชิญพี่เดฟมาตอบแระกันครับ อิอิอิ แกล้งคนแก่มากแระเด๋วบาป

ใจจริงๆของผมน่ะครับ การจะมาถามคนอื่นว่าเป็นกุศลไหม ผ่องใสไหม คนอื่นเขาไม่รู้กับสภาวะนั้นของจิตเราหรอกครับ ถ้าจะพูดก้อคงจะบอกได้แค่สภาพโลภเป็นยังไง กุศลเป็นยังไง เมตตา ทาน เป็นยังไง การจะรู้ว่ากุศลไหม เป็นเมตตาทานไหม เราเท่านั้นที่รู้เองครับ ความผ่องใสของจิต จิตกุศลไหม ป้าถามพี่เดฟพี่เดฟก้อบอกได้แค่ลักษณะนั้น แต่สภาพที่เกิดจริงๆกับป้า ป้าเท่านั้นที่รู้ครับ หากเราไม่รู้สภาพจิตจริงๆของตนเองเอาแต่ถามคนอื่นมันก็จะเป็นแค่ความคิดที่เราเข้าใจในสภาพความคิดแล้วกล่าวออกมาไม่ใช่สภาพที่เรียกว่าสภาวะจริงของจิต แม้มันจะเกิดดับสลับกันไวมากแค่ไหน หากสภาวะที่จิตเรานั้นมีความมุ่งต่อสภาพใดมากที่สุดเราก็จะเห็นสภาพนั้นได้อยู่เนืองๆถ้ามีสติระลึกรู้บ่อยๆมันก้อจะพิจารณาระลึกรู้เองโดยอัตโนมัติ จากนั้นเราก็จะเริ่มทันกับสภาวะจิตนั้นและรู้สภาวะจริงๆของมันได้บ่อยขึ้น ยกตัวอย่างน่ะครับป้า พี่เดฟบอกป้าว่าการที่เผยแพร่พระธรรมด้วยจิตใจที่ สงบ เบาสบาย ผ่องใส ไม่ติดข้องแวะใจใดๆ กับสิ่งที่เรากระทำอยู่ รับอยู่ เห็นอยู่ รู้อยู่ สภาพนั้นเป็นกุศล(โดยที่สภาพนี้เป็นสภาพจริงเมื่อรักฉันเกิด เอ๊ย เมื่อกุศลเมตตาทานเป็นต้นเกิดขึ้นกับจิต) ป้าก้อไปคิดเอาเองว่าเออนะสภาพนั้นของป้าที่กำลังออกวิทยุผ่องใสก้อไปคิดไปว่าเป็นกุศล โดยทั้งที่สภาพจิตจริงๆของป้านั้นขณะที่กระทำอยู่มีสภาพจิตความติดข้องยินดี ต้องการ ไม่สงบบางเบาแบบอ่อนๆในจิตอยู่ เห็นไหมป้าการที่เราจะรู้ว่ากุศลไหมเราเท่านั้นที่รู้เองสังเกตุเอง อย่าเพิ่งไปลงลึกเอาวิถีจิตที่เกิดดับๆ ลงลึกเอารูปนั้นรูปนี้เป็นยังไง รู้เบื้องต้นก่อนเพื่อเป็นแนวทาง แล้วให้มีสติตั้งมั่นเอาแค่รู้สภาวะจริงของจิตเราที่เรารู้สึกจริงๆมันก้อยากแระ บอกก่อนน่ะครับหน้าตาไม่ดีทำไม่ได้ อิอิอิ พร่ำมาเยอะแล้วป่านนี้ป้าดาวมาอ่านก้อคงสับสนปวดหัวพอควรแระเด๋วบาป อย่าเชื่อผม เพราะผมไม่รู้ ไม่ถึง ไม่เข้าใจ ผมแค่มาป่วนให้งง อิอิอิอิ ต้องรอพี่เดฟมาตอบ 5555

D E V
10-12-2011, 03:38 PM
ขออนุโมทนาคับ ดีเจดาว และ คุณแอดแม็กซ์

อ่ะโห๋ เดฟไม่ต้องตอบอะไรเลยอ่ะ
คุณแอดเดฟ เอ๊ยยย แอดแม็กซ์ ตอบแทนให้หมดแล้วอ่ะคับ 55555

ซ้าๆๆๆๆทุ กับดีเจดาวค้างฟ้า และ คุณแอดแม็กซ์
กับคำถามและคำตอบที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นด้วยนะคับ




8) เดฟ

แสงจันทร์
10-12-2011, 04:12 PM
แล้วกรณีนี้ละคะ(เอาเรื่องใหม่)
ถ้าเราอยากเผยแผ่พระธรรม จิตขณะนั้นๆใช่กุศลจิตที่ผ่องใสไม่คะ
แต่มีความติดข้องในความอยากเผยแผ่อยู่ จะถือว่าผ่องใสได้ไม่คะ
ฉันทะเจตสิกเป็น ปกิณณกเจตสิก เกิดร่วมได้กับจิตทุกดวง ถ้าเกิดร่วมกับอกุศล มักเรียกว่าตัณหา(ตัณหาเป็นไวพจน์ฉันทะก็ได้)
ถ้าเกิดร่วมกับกุศล มักเรียกว่าฉันทะ
ในคัมภีร์ปปัญจสูทนี ท่านกล่าวว่า ความปราถนา(บาลีว่า ปตฺถนา แปลเป็นไทยง่ายๆว่า ความอยาก) มี๒อย่าง คือ
๑.ความปราถนาที่เป็นตัณหา (อยากด้วยตัณหา)
๒.ความปราถนาที่เป็น(อยากด้วยฉันทะ)
ส่วน อรรถกถาจารย์จัดแยก พอสรุปได้ ฉันทะมี ๓ ประเภท คือ
๑.ตัณหาฉันทะ เป็นฝ่ายอกุศล
๒.กัตตุกัมยตาฉันทะ ฉันทะ คือความใคร่เพื่อที่จะทำ เป็นฝ่ายกลางๆ คือใช้ในทางดีก็ได้ทางชั่วก็ได้ แต่ท่านมักจัดเข้าไว้เป็นฝ่ายดี
๓.กุศลธรรมฉันทะ ฉันทะในกุศลธรรม ป็นฉันทะที่เป็นกุศล เป็นฝ่ายดีงาม เรียกสั้นว่ากุศลฉันทะ
ปล.หากผิดพลาดประการใดฝากท่านทั้งหลายช่วยพิจารณาด้วนนะครับ

D E V
10-12-2011, 05:51 PM
สวัสดีคับ คุณแสงจันทร์

อ่ะคับ...
ฉันทเจตสิก เป็นเจตสิกที่เกิดร่วมกับกุศลจิตหรืออกุศลจิตก็ได้
แต่ไม่เกิดกับจิตทุกดวงน่ะคับ ทว่าก็เกิดกับจิตต่างๆ มากมาย
ส่วนใหญ่แล้วก็จะมีฉันทเจตสิกเกิดร่วมด้วย คือ...
เกิดร่วมกับ โลภมูลจิต 8 ดวง...โทสมูลจิต 2 ดวง...กามโสภณจิต 24 ดวง
มหัคคตจิต 27 ดวง...โลกุตตรจิต 8 ดวง
แต่จะไม่เกิดร่วมกับ โมหมูลจิต 2 ดวง...อเหตุกจิต 18 ดวง

ฉันทเจตสิก เป็นสภาพที่น้อมใจไปในการกระทำนั้น พึงพอใจในการกระทำนั้น
ซึ่งเมื่อเกิดร่วมกับกุศลจิต จึงเกิดความเต็มใจ พึงพอใจ ที่จะกระทำกุศล
โดยปราศจากความติดข้องต้องการ

แต่ถ้าเกิดร่วมกับอกุศลจิต เช่น เกิดร่วมกับโลภมูลจิต
แสดงว่ามี โลภเจตสิก เกิดร่วมด้วย
โลภเจตสิกนี้เป็นลักษณะที่ติดข้องต้องการ ใคร่ได้
ทะยานไปด้วยความอยาก ความปรารถนา
หรือจะเรียกในชื่ออื่นว่า ตัณหา ราคะ นิกันติ ฯลฯ ก็ได้ (มีอีกหลายชื่อ)
สภาพที่ติดข้องต้องการเหล่านี้ องค์ธรรมคือ โลภเจตสิก
หรืออย่างที่เราทราบกันดีว่า ตัณหาคือสมุทัย
องค์ธรรมก็คือ โลภเจตสิก นั่นเองคับ (ไม่ใช่ฉันทเจตสิกนะคับ)

ดังนั้น ฉันทเจตสิก กับ โลภเจตสิก จึงเป็นเจตสิกคนละตัวกัน
ฉันทเจตสิก เป็นปกิณกเจตสิก เกิดร่วมได้ทั้งกุศลจิต และ อกุศลจิต
ส่วนโลภเจตสิก เป็นอกุศลเจตสิก เกิดร่วมกับอกุศลจิตเท่านั้น
จะไม่เกิดร่วมกับกุศลจิตเลยน่ะคับ

ขณะใดที่เป็นกุศลจิตที่เกิดขึ้นเป็นไปในชีวิตประจำวัน
จะมีฉันทเจตสิกเกิดร่วมด้วย โดยไม่มีโลภเจตสิก
จึงมีการน้อมใจไปที่จะกระทำสิ่งนั้นด้วยความเต็มใจ พึงพอใจที่จะกระทำ
โดยปราศจากความติดข้องต้องการ

ขณะใดที่เป็นโลภมูลจิต
จะมีทั้งฉันทเจตสิกและโลภเจตสิก เกิดร่วมกัน
จึงมีความอยาก มีความชื่นชอบพอใจที่จะกระทำสิ่งนั้น
โดยมีความติดข้องต้องการ ปรารถนา ใคร่ได้

อนุโมทนาคับ




8) เดฟ

แสงจันทร์
10-12-2011, 05:53 PM
สาธุ ;D

DAO
10-12-2011, 07:17 PM
สาธุๆๆคะ ขอขอบคุณตาแอดคุณเดฟและคุณแสงจันทร์คะ ขออนุโมทนาบุญด้วยคะ

Admax
10-13-2011, 08:23 AM
เฮ้อโล่งอกป้าดาวไม่ด่าผม อิอิอิ