PDA

แสดงเวอร์ชันเต็ม : สงสัยเนื้อความในพระไตรปิฎก



napad
08-08-2014, 09:53 AM
๑. อัสสุตวตาสูตรที่ ๑

[๒๓๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี

เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ...

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเบื่อ หน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง

หลุดพ้นบ้าง ในร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูต ทั้ง ๔ นี้

ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะเหตุว่า ความเจริญก็ดี ความเสื่อมก็ดี

การเกิดก็ดี การตายก็ดี ของร่างกาย

อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้

ย่อมปรากฏ ปุถุชนผู้ มิได้สดับ

จึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในร่างกายนั้น

แต่ตถาคต เรียกร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า

จิตบ้าง มโน บ้าง วิญญาณบ้าง
ปุถุชนผู้มิได้สดับ ไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นในจิต เป็นต้นนั้น
คำว่าร่างกายเป็นอันที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง
วิญญาณบ้าง อยากทราบว่าแปลไม่ถูก หรือมีเนื้อหา มันัยอย่างไร ครับ

D E V
08-08-2014, 07:37 PM
.
สวัสดีครับ คุณ napad

คงจะเป็นสำนวนแปลที่ต่างกันนิดนึงน่ะครับ
ลองดูสำนวนแปลอันนี้ จะเข้าใจง่ายขึ้นครับ





พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]
๗. มหาวรรค ๑. อัสสุตวาสูตร

๗. มหาวรรค
หมวดว่าด้วยพระสูตรที่มีเนื้อหาสำคัญ

๑. อัสสุตวาสูตร
ว่าด้วยผู้ไม่ได้สดับ



[๖๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี
ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ...

“ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ๑
พึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง
จากกายซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะเหตุที่การประชุมก็ดี ความสิ้นไปก็ดี การยึดถือก็ดี
การทอดทิ้งกายซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ก็ดี ย่อมปรากฏ
เพราะฉะนั้น ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับพึงเบื่อหน่ายบ้าง
คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง จากกายนั้น

ตถาคตเรียกสิ่งนี้ว่า ‘จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง’
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัด
หลุดพ้นไปจากจิตเป็นต้นนั้นได้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะจิตเป็นต้นนี้ ถูกรัดไว้ด้วยตัณหา ยึดถือว่าเป็นของเรา
เป็นสิ่งที่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับยึดมั่นว่า
‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’ ตลอดกาลนาน
เพราะฉะนั้น ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
จึงไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัด
หลุดพ้นไปจากจิตเป็นต้นนั้นได้


http://www.geocities.ws/tmchote/tpd-mcu/tpd16.htm

(เลื่อนดูที่หัวข้อ 61 นะครับ)


...............................................................

จากเนื้อหาข้างต้นทั้งสองสำนวนนั้น
มีสาระสำคัญเหมือนกัน โดยสรุปย่อๆ ก็คือ
ปุถุชนผู้มิได้สดับ (มิได้ศึกษาทำความเข้าใจ)
ก็อาจเบื่อหน่ายคลายกำหนัดในรูปกาย (รูปธาตุ)
เพราะรูปกายนั้นแสดงความเปลี่ยนแปลงเป็นที่ปรากฏให้รู้ได้
ส่วนนามธาตุ (จิต,มโน,วิญญาณ)
ซึ่งไม่ปรากฏการเปลี่ยนแปลงชัดเจนเหมือนอย่างรูปกาย
ผู้ที่มิได้สดับมิอาจเบื่อหน่ายคลายกำหนัด
เพราะร้อยรัดไว้ด้วยตัณหา
ยึดถือนามธาตุเหล่านี้ไว้ว่าเป็นตัวตนของเรา
มิอาจหลุดพ้นไปได้น่ะครับ

อนุโมทนาครับ




:cool: เดฟ

napad
08-08-2014, 10:40 PM
ขอบคุณคุณเดฟ และ ขออนุโมทนาที่ช่วยให้ความกระจ่าง ;)