บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน ปี 60

กระทู้: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน ปี 60

ป้ายกำกับ: ไม่มี
  1. Admax said:

    บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน ปี 60

    เศรษกิจพอเพียง คือ จรณะ ๑๕ ทางอบรมแห่งอิทธิบาท ๔

    ในโลกนี้มีให้รู้ผู้ที่สามารถนำพระธรรมแท้ๆมาใช้ในโลกเพื่ออบรมสะสมเหตุได้อย่างมีคุณประโยชน์สูงสุด นับจากพระเจ้าจักรพรรดิ์อโศกมหาราช มาในสมัยนี้ล่วงเลยมากว่า 2000 ปี ชาวโลกก็ได้เห็นพระมหาจักพรรดิ์อีกพระองค์ ซึ่งเป็นพระองค์เดียวในโลกปัจจุบันนี้ นั่นคือพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ทรงเป็นที่กล่าวขานเลื่องชื่อระบือไกลว่า ทรงเป็นราชาในหมู่ราชันย์ ซึ่งพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ ๙ ของสยามประเทศ นั่นคือในของของประเทศไทยนี้เอง

    พระบาทสมเด็จพระภูมิพลมหาราช ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ของไทยนี้เพียงพระองค์เดียวในโลกเท่านั้น ที่สามารถเอาพระธรรมคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธศาสดา มาใช้กับทางโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล เกื้อกูล ก่อประโยชน์สูงสุดได้อย่างดี ทั้งการปกครองด้วยพระอริยะสัจ ๔ ทั้งการพัฒนาด้วยอิทธิบาท ๔ จรณะ ๑๕ ดังนี้ ซึ่งข้าพระพุทธเจ้าผู้มีปัญญาอันน้อยนิดได้เห็นและเข้าใจได้ตามพระปัญญาอันยิ่งของ พระบามสมเด็จพระภูมิพลมหาราช ที่ทรงพระปรีชาสามารถมีพระปัญญาอันเฉียบแหลมแจ้งชัดแทงตลอดในธรรมทั้งปวง มีความเพียรที่บริสุทธิ์ด้วยพระมหาสติอันยิ่ง นำหลักพัฒนาบริหารประเทศชาติสงเคราะห์ลงธรรมเห็นแจ้งชัดในอิทธิบาท ๔ ให้คนไทยเจริญอิทธิบาม ๔ ด้วยปัญญาเพื่อเลี้ยงชีพชอบ จึงเขียนกระทู้นี้ขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางศึกษาปฏิบัติด้วยปัญญา การพลิกแพลงต่อยอดนำพระธรรมอันเป็นโลกุตระในพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้กับทางโลก ตามที่พระบาทสมเด็จพระภูมิพลมหาราช รัชกาลที่ ๙ ของไทยได้ทรงให้ประชาราษฎร์ผู้ยังปุถุชนอยู่ได้สะสมเหตุความดีและอิทธิบาท ๔ เลี้ยงชีพชอบตาม ดังที่ข้าพพุทธเจ้าจะกล่าวบรรยายดังต่อไปนี้




    ก. จรณะ ๑๕

    ก.๑) พระอริยะสัจ ๔

    ๑. ทุกข์ ควรกำหนดรู้
    [ทุกข ์คือ โลก ธรรมชาติของความเป็นโลก]

    ๒. สมุทัย ควรละ
    [สมุทัย คือ โลก สิ่งที่เป็นโลก]

    ๓. นิโรธ ควรทำให้แจ้ง
    [นิโรธ คือ โลกุตระ ธรรมชาติความเป็นโลกุตระ]

    ๔. มรรค ควรเจริญให้มาก
    [มรรค คือ โลกุตระ สิ่งที่เป็นโลกุตระ, ทางเข้าสู่โลกุตระธรรม]




    ก.๒) อิทธิบาท ๔

    ๑. ฉันทะ ความพอใจยินดีสร้างบุญบารมียังกำลังใจตนให้เต็ม, ยินดีในกิจการงานสิ่งที่ทำ, พอใจยินดีในกุศลธรรม, พอใจยินดีในความดีที่ได้ทำ หรือ พอใจยินดีที่ได้ทำความดี

    ๒. วิริยะ ความเพียรทำสะสมเหตุบารมี, ตั้งใจมั่นขยันไม่ย่อท้อ, ประครองใจไว้ในกิจการงานสิ่งที่ทำด้วยละชั่ว-ทำดี

    ๓. จิตตะ ทำไว้ในใจถึงความยินดีในผล-แต่ไม่กระสันเอาผล ความมีใจตั้งมั่นในสิ่งที่ทำ ไม่เหลาะแหละถอดใจ ไม่ทำด้วยหวังผลจนเกินไป

    ๔. วิมังสา ใช้ปัญญาหัดสังเกตุ คิดวิเคราะห์ตามถึงเหตุปัจจัยและผลจากสิ่งที่ทำ รวมทั้งผลลัพธ์ที่เกิดกับกายใจตนและสิ่งรอบข้างเมื่อได้ทำ ทำให้ถึงพร้อมปัญญาไม่ทำด้วยความหลงฟุ้งซ่านกระสันได้ หรือเกียจคร้านเหลาะแหละ เมื่อมีสิ่งนี้ๆได้ผลยังไง เมื่อมีมากเป็นยังไง เมื่อขาดหรือไม่มีสิ่งนี้ๆให้ผลยังไง สิ่งไหนเกิน สิ่งไหนขาด

    (พระอริยะสัจ ๔ และ อิทธบาท ๔ นี้ ข้าพจ้าทำความเเข้าใจจากการรู้เห็นตามจริงที่ข้าพเจ้าพอจะมีปัญญาเข้าถึงปัญญาแห่งธรรมนี้ได้โดยทั้งสมถะ วิปัสสนา และความตรึกตรองคิดวิเคราะห์จากปัญญาอันน้อยนิดของข้าพเจ้าเอง แล้วใช้คำสื่อสารแบบบ้านๆที่เข้าถึงธรรมอันเป็นสัจจะ ๔ ข้ออันยิ่ง ที่ปุถุชนอย่างข้าพเจ้าหรือใครๆที่มีโอกาสได้แวะเยี่ยมชมกระทู้นี้จะพอเข้าใจทำให้ได้พื้นฐานการปฏิบัติธรรมที่เข้าถึงได้ตามจริงสืบต่อไป ดังบทความข้างต้นนี้..)




    ก.๓) จรณะ ๑๕

    1)ศีลสัมปทา
    - ความถึงพร้อมด้วยศีล

    2)อปัณณกปฏิปทา 3 คือ
    - ข้อปฏิบัติที่ไม่ผิด ทางดำเนินที่ไม่ผิด
    - อินทรีย์สังวร....การสำรวมอินทรีย์ 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กายใจ
    - โภชเนมัตตัญญุตา....ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค
    - ชาคริยานุโยค....การหมั่นประกอบความดี ไม่เห็นแก่นอน

    3)สัทธรรม 7(ธรรมที่ดี ธรรมที่แท้ ธรรมของคนดี ธรรมของสัตบุรุษ) ได้แก่
    - ศรัทธา หิริ(ละอายต่อบาป)
    - โอตตัปปะ(กลัวบาป)
    - พาหุสัจจะ(คงแก่เรียน)
    - วิริยารัมภะ(ปรารภความเพียร เพียรเข้มแข็งเด็ดเดี่ยว)
    - สติ และปัญญา

    4)ฌาน 4
    - ปฐมฌาน
    - ทุติยฌาน
    - ตติยฌาน
    - จตุตถฌาน .......




    ก.๔) วิชชา 3 และ วิชชา 8
    วิชชา 3 (ญาณ3)
    -ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ...ญาณเป็นเหตุระลึกขันธ์ที่อาศัยอยู่ในก่อนได้ เรียกว่า ระลึกชาติได้
    -จุตูปปาตญาณ...ญาณกำหนดรู้จุติและอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย อันเป็นไปตามกรรม เห็นการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ทั้งหลาย เรียกว่า ทิพพจักขุญาณ(ตาทิพย์)
    -อาสวักขยญาณ....ญาณหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ ความตรัสรู้





    ข. เศรษฐกิจพอเพียง

    ข.๑) พระอริยะสัจ ๔

    ๑. ทุกข์ของเขาเป็นแบบไหน
    (เขามีความรู้สึกอย่างไร, เขาคิดแบบไหน,ทุกข์ร้อนยังไง จึงแสดงออกมาอย่างนั้น)

    ๒. สิ่งใดเป็นเหตุแห่งทุกข์ของเขา
    (เหตุที่ทำให้เขาเกิดความรู้สึก, เกิดความตรึกนึกคิด และ ทำแบบนั้นคือสิ่งใด, สิ่งใดเป็นเหตุที่นำพาความทุกข์ร้อนมาสู่เขา, เพราะอะไร เขายินดีหรือยินร้ายในสิ่งไหน, ชอบหรือชังในสิ่งไร, เขามีหรือขาดในสิ่งใด, เขาต้องแบกรับยังไง, มีสิ่งกระทบไรๆ เขาได้รับรู้สัมผัสแบบไหน, ไม่รู้อะไร, จึงทำให้เขาเกิดความรู้สึก, เกิดความตรึกนึกคิด, เกิดความคำนึงถึง และ เกิดการทำในแบบนั้นออกมา)

    ๓. ความดับทุกข์ของเขาเป็นอย่างไร
    (ความดับทุกข์ของเขาเป็นไฉน, การดับความรู้สึกหน่วงนึกคิดอันเร่าร้อน, ดับการกระทำอันเร่าร้อนนั้นๆของเขาเป็นแบบไหน, อย่างไร, สิ่งใดที่จะดับทุกข์ของเขาได้, สิ่งใดคือความดับทุกข์ของเขา)

    ๔. สิ่งใดเป็นเหตุหรือทางดับทุกข์ของเขา
    (เหตุที่นำไปสู่ความสำเร็จประโยชน์สุขของเขาคือสิ่งใด, สิ่งที่เป็นทางดับทุกข์ของเขาคือแบบไหน, ควรต้องทำอย่างไร, แสดงให้เห็นแบบไหน, สื่ออย่างไร, เขาต้องเติมส่วนที่ขาดสิ่งใด, เขาต้องละสิ่งที่เกินแบบไหน, เขาต้องคงไว้ซึ่งสิ่งที่เหมาะควรยังไง)
    ซึ่งทั้งหมดนี้เราต้องทำกับกายใจเราได้ก่อน เราจึงจะเห็นจริง แจ้งใจรู้ทางจริง แล้วจึงบอกต่อผู้อื่น โดยต้องฝึกฝนตนให้พิจารณาตามนี้ทุกครั้ง ทำใจให้ใฝ่รู้แล้วก็ยินดีในการแก้ไขให้ตนดียิ่งๆขึ้น แล้วทบทวนมองดูตนกับการตอบสนองของคนรอบๆกายเราบ่อยๆ หัดสังเกตคนรอบข้าง สิ่งแวดล้อม ุแล้วแก้ที่ตน จนเมื่อตนทำได้แน่นอนจนแจ้งชัดใจจนเป็นนิสัยแล้วเราจึงจะสอนคนอื่นต่อได้ เพื่อที่เราจะได้ตอบโจทย์ความต้องการของเขาได้ถูกและตรงจุด ชักนำให้เขาเดินตามทางโดยชอบได้จริง ดั่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระบรมศาสดาได้ทรงกระทำ



    ข.๒) อิทธิบาท ๔

    ๑. ฉันทะ อาศัย ทาน จาคะ ศรัทธาที่ถึงพร้อมด้วยศีลว่า..ความดีเป็นของเย็นกายสบายใจไม่เร่าร้อน-ไปอยู่ที่ใดก็ได้ไม่ลำบากกายใจ, ความชั่วเป็นของร้อน อยู่ที่ใดก็ยากลำบากระส่ำยิ่ง
    (ดั่งความว่า..เรามีกรรมเป็นของๆตน มีกรรมเป็นผู้ให้ผล มีกรรมเป็นเดินเกิด มีกรรมเป็นที่พึ่งพาอาศัย เราจะทำกรรมใดไว้เป็นบุญหรือเป็นบาป เราจักเป็นทายาท คือว่าจะได้รับผลของดกรรมนั้นสืบไป)

    ๒. วิริยะ ตั้งใจมั่นในความดี, เพียรประครองใจไว้ด้วยสติให้ทำความดีเพื่อความดี

    ๓. จิตตะ ตั้งใจมั่นที่จะทำความดี ไม่เหลาะแหละท้อถอย, ทำดีต่อให้ไม่มีใครเห็น ไม่มีคนสรรเสริญ ยังไงสิ่งที่เราทำมันก็คือความดี ความดีก็คือความดีไม่กลับกลายแปรเป็นอื่นไปได้

    ๔. วิมังสา คิดวิเคราะห์พิจารณาให้รอบรู้ยิ่งในสิ่งที่ตนทำ ทำความรู้เข้าใจอยู่เสมอๆ จนรู้แจ้งแทงตลอด รู้ขาด รู้เกิน รู้พอดี พลิกแพลงประยุกต์ใช้ให้เป็น ทำใจไว้ในความรู้จักหยุด รู้จักประมาณตน รู้จักพอ

    (พระอริยะสัจ ๔ และ อิทธบาท ๔ นี้ ข้าพระพุทธเจ้าทำความเจ้าใจคิดวิเคราะห์จากปัญญาอันน้อยนิดของข้าพระพุทธเจ้าเอง มองในมุมมองความเห็นตามหลักพระราชวิสัยทัศน์ของในหลวง รัชกาลที่ ๙ ที่กว้างไกล ทั้งหลักสำคัญในแนวทางพระราชดำริของในหลวง รัชกาลที่ ๙ ในการประยุกต์พระพุทธธรรมและการดูแลจัดการปกครอง เศรษฐศาสตร์ การบริหาร การพัฒนาประเทศของพระองค์ท่าน โดยมุมมองที่ข้าพเจ้าพอจะมีปัญญาเข้าถึงได้ดังบทความข้างต้นนี้..)




    ข.๓) “๙ คำสอน” ของ
    พระบาทสมเด็จพระภูมิพลมหาราช รัชกาลที่ ๙




    1.คนดี
    “ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดี และคนไม่ดี ไม่มีใครที่จะทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปกติสุขเรียบร้อย จึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดี ไม่ให้มีอำนาจ ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้”

    (พระบรมราโชวาทในพิธีเปิดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ จังหวัดชลบุรี 11 ธันวาคม 2512)
    2.อนาคตทำนายได้
    “ทุกสิ่งทุกอย่าง ที่เกิดที่เป็นอยู่แก่เราในวันนี้ ย่อมมีต้นเรื่องมาก่อน ต้นเรื่องนั้นคือ เหตุ สิ่งที่ได้รับคือ ผล และผลที่ท่านมีความรู้อยู่ขณะนี้ จะเป็นเหตุให้เกิดผลอย่างอื่นต่อไปอีก คือ ทำให้สามารถใช้ความรู้ที่มีอยู่ทำงานที่ต้องการได้ แล้วการทำงานของท่าน ก็จะเป็นเหตุให้เกิดผลอื่นๆ ต่อเนื่องกันไปอีก ไม่หยุดยั้ง ดังนั้นที่พูดกันว่า ให้พิจารณาเหตุผลให้ดีนั้น กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ให้พิจารณาการกระทำหรือกรรมของตนให้ดีนั่นเอง คนเราโดยมากมักนึกว่าอนาคตจะเป็นอย่างไรเราทราบไม่ได้แต่ที่จริงเราย่อมจะทราบได้บ้างเหมือนกัน เพราะอนาคต ก็คือ ผลของการกระทำในปัจจุบัน”

    (พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 8 กรกฎาคม 2519)
    3.ความดี
    “การทำดีนั้นทำยากและเห็นผลช้า แต่ก็จำเป็นต้องทำ เพราะหาไม่ความชั่วซึ่งทำได้ง่าย จะเข้ามาแทนที่และจะพอกพูนขึ้นอย่างรวดเร็วโดยไม่ทันรู้สึกตัว แต่ละคนจึงต้องตั้งใจและเพียรพยายามให้สุดกำลัง ในการสร้างเสริมและสะสมความดี”

    (พระบรมราโชวาทพระราชทาน แก่ผู้สำเร็จการศึกษา ที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ สวนอัมพร 14 สิงหาคม 2525)



    4.การทำงาน
    “เมื่อมีโอกาสและมีงานทำ ควรเต็มใจทำโดยไม่จำเป็นต้องตั้งข้อแม้ หรือเงื่อนไขอันใด ไว้ให้เป็นเครื่องกีดขวาง คนที่ทำงานได้จริงๆนั้น ไม่ว่าจะจับงานสิ่งใด ย่อมทำได้เสมอ ถ้ายิ่งมีความเอาใจใส่ มีความขยัน และ ความซื่อสัตย์สุจริต ก็ยิ่งจะช่วยให้ประสบผลสำเร็จในงานที่ทำสูงขึ้น”

    (พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา 8 กรกฎาคม 2530)
    5.คุณธรรมของคน
    “ประการแรก คือ ความซื่อสัตย์ ประการที่สอง คือ การรู้จักข่มใจฝึกใจตนเอง ให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัตย์ความดีนั้น ประการที่สาม คือ การอดทน อดกลั้น และอดออมที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัตย์สุจริต ประการที่สี่ คือ การรู้จักละวางความชั่ว ความทุจริต และรู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตน เพื่อประโยชน์ส่วนรวมคุณธรรมสี่ประการนี้ ถ้าแต่ละคนพยายามปลูกฝังและบำรุงให้เจริญงอกงาม จะช่วยให้ประเทศชาติบังเกิดความสุขความร่มเย็นและมีโอกาสที่จะปรับปรุงพัฒนาให้มั่นคงก้าวหน้าต่อไป”

    (พระบรมราโชวาท ในพิธีบรวงสรวง สมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า 5 เมษายน 2535)



    6.ความเพียร
    “ความเพียรที่ถูกต้องเป็นธรรม และพึงประสงค์นั้นคือความเพียรที่จะกำจัดความเสื่อมให้หมดไป และระวังป้องกันมิให้เกิดขึ้นใหม่ อย่างหนึ่ง กับความเพียรที่จะสร้างสรรค์ความดีงาม ให้บังเกิดขึ้นและระวังรักษามิให้เสื่อมสิ้นไป อย่างหนึ่ง ความเพียรทั้งสองประการนี้ เป็นอุปการะอย่างสำคัญ ต่อการปฏิบัติตน ปฏิบัติงาน ถ้าทุกคนในชาติจะได้ตั้งตนตั้งใจอยู่ในความเพียรดังกล่าว ประโยชน์และความสุขก็จะบังเกิดขึ้นพร้อม ทั้งแก่ส่วนตัวและส่วนรวม”

    (พระราชดำรัสพระราชทานในพิธีกาญจนาภิเษก ทรงครองราชย์ ครบ 50 ปี พ.ศ.2539)
    7.แก้ปัญหาด้วยปัญญา
    “ปัญหาทุกอย่างไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ มีทางแก้ไขได้ ถ้ารู้จักคิดให้ดี ปฏิบัติให้ถูก การคิดได้ดีนั้น มิใช่การคิดได้ด้วยลูกคิด หรือด้วยสมองกล
    เพราะโลกเราในปัจจุบันจะวิวัฒนาการไปมากเพียงใดก็ตาม ก็ยังไมมีเครื่องมืออันวิเศษชนิดใด สามารถขบคิดแก้ไขปัญหาต่างๆได้อย่างสมบูรณ์
    การขบคิดวินิจฉัยปัญหา จึงต้องใช้สติปัญญา คือคิดด้วยสติรู้ตัวอยู่เสมอ เพื่อหยุดยั้งและป้องกันความประมาทผิดพลาด และอคติต่างๆมิให้เกิดขึ้น
    ช่วยให้การใช้ปัญญาพิจารณาปัญหาต่างๆ เป็นไปอย่างเที่ยงตรง ทำให้เห็นเหตุเห็นผลที่เกี่ยวเนื่องกันเป็นกระบวนการได้กระจ่างชัด ทุกขั้นตอน”

    (พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 1 สิงหาคม 2539)



    8. คนเราจะต้องรับและจะต้องให้
    “คนเราจะเอาแต่ได้ไม่ได้ คนเราจะต้องรับและจะต้องให้ หมายความว่าต่อไป และเดี๋ยวนี้ด้วยเมื่อรับสิ่งของใดมา ก็จะต้องพยายามให้ ในการให้นั้น ให้ได้โดยพยายามที่จะสร้างความสามัคคีให้หมู่คณะและในชาติ ทำให้หมู่คณะและชาติประชาชนทั้งหลายมีความไว้ใจซึ่งกันและกันได้ ช่วยที่ไหนได้ก็ช่วย ด้วยจิตใจที่เผื่อแผ่โดยแท้”

    (พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ 20 เมษายน 2521)
    9.พูดจริง ทำจริง
    “ผู้หนักแน่นในสัจจะพูดอย่างไร ทำอย่างนั้น จึงได้รับความสำเร็จ พร้อมทั้งความศรัทธาเชื่อถือและความยกย่องสรรเสริญ จากคนทุกฝ่าย การพูดแล้วทำ คือ พูดจริง ทำจริง จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมเกียรติคุณของบุคคลให้เด่นชัด และสร้างเสริมความดี ความเจริญ ให้เกิดขึ้นทั้งแก่บุคคลและส่วนรวม”
    (พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 10 กรกฎาคม 2540)

    ขอบคุณข้อมูลจาก เว็บไซต์
    MThai News
    oknation







    ข.๔) เศรษฐกิจพอเพียง
    (โดยส่วนตัวของเรานี้พระบามสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลมหาราช พระองค์ทรงดำริให้ทำความพอเพียงแก่ตนเอง นั่นเพราะความพอเพียงของแต่ละคนนั้นต่างกัน ดังนี้จึงทำให้พอเพียงกับตนเอง จนเมื่อใช้ ปัญญา ความรู้ ความเพียร อดทน พิลิกแพลงประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับตนและพื้นที่อยู่อาศัย, ทำความดีเพื่อความดี รู้ว่าความดีต่อให้ำไม่มีใครเห็น ไม่เห้นผลในวันนี้ ไม่มีคนสรรเสริญ แต่ความดีก็คือความดีจะแปรเปลี่ยนเป้นอย่างอื่นไปไม่ได้ ..ที่สุดจุดสุดท้ายรวมที่ความเท่าดกันเสมอกันคือ เลี้ยงชีพชอบ ดำรงชีพอยู่ด้วยความชอบธรรม)
    เศรษฐกิจพอเพียง คือ ปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงชี้แนวทางการดำเนินชีวิตให้แก่ปวงชนชาวไทยมาเป็นระยะเวลานาน ในช่วงตั้งแต่ก่อนการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ เพื่อมุ่งให้พสกนิกรได้ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างยั่งยืน มั่นคง และปลอดภัย ภายใต้ความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นตามกระแสโลกาภิวัฒน์ อีกทั้งพระองค์ยังได้ทรงพระราชทานความหมายของ เศรษฐกิจพอเพียง เอาไว้เป็นภาษาอังกฤษว่า Sufficiency Economy ดังพระราชดำรัสที่ได้ทรงตรัสไว้เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2554
    “ในที่นี้เราฟังเขาถามว่าเศรษฐกิจพอเพียง จะแปลเป็นภาษาอังกฤษว่าอย่างไร ก็อยากจะตอบว่ามีแล้วในหนังสือ ไม่ใช่หนังสือตำราเศรษฐกิจ แต่เป็นหนังสือพระราชดำรัสที่อุตส่าห์มาปรับปรุงให้ฟังได้ และแปลเป็นภาษาอังกฤษ เพราะคนที่ฟังภาษาไทยบางทีไม่เข้าใจภาษาไทย ต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษ จึงได้แปลเป็นภาษาอังกฤษ และเน้นว่าเศรษฐกิจพอเพียง แปลว่า Sufficiency Economy โดยเขียนเป็นตัวหนาในหนังสือ”
    แต่เนื่องด้วยคำว่า Sufficiency Economy เป็นคำที่เกิดมาจากความคิดใหม่ อีกทั้งยังเป็นทฤษฎีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงไม่มีปรากฏอยู่ในตำราเศรษฐศาสตร์ ซึ่งบางคนอาจจะยังสงสัยอยู่ว่า Self-Sufficient Economy สามารถใช้แทน Sufficiency Economy ได้หรือไม่ หากว่าไม่ได้มีความหมายอย่างเดียวกัน หรือไม่สามารถใช้เหมือนกันด้ จะมีความเหมือน หรือแตกต่างกันอย่างไร โดยคำว่า Self-Sufficiency มีความหมายตามพจนานุกรที่ว่า การไม่ต้องพึ่งใคร และการไม่ต้องพึ่งใครในความหมายของพระองค์ท่านนั้น คือ
    “Self-Sufficiency นั้นหมายความว่า ผลิตอะไรมีพอที่จะใช้ ไม่ต้องไปขอยืมคนอื่น อยู่ได้ด้วยตนเอง”
    ฉะนั้น เมื่อเติมคำว่า Economy เข้าไป กลายเป็น Self-Sufficient Economy แล้วนั้น จะมีความหมายว่า เศรษฐกิจแบบพอเพียงกับตัวเอง คือ การที่สามารถอยู่ได้ด้วยตนเองอย่างไม่เดือดร้อน ไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่น แต่ในทุกวันนี้ ประเทศไทยเรายังเดือดร้อน ยังมีความจำเป็นต้องพึ่งพาผู้อื่นอยู่ ที่ในความเป็นจริงที่เราจะสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ก็ตาม ดังนั้น Self-Sufficient Economy จึงหมายถึง เศรษฐกิจแบบพอเพียงกับตัวเอง ที่แตกต่างจาก Sufficiency Economy ซึ่งหมายถึง เศรษฐกิจพอเพียงที่ยังคงมีการพึ่งพากันและกันอยู่ ดังพระราชดำรัสเพิ่มเติมที่ว่า
    “คือพอมีพอกินของตัวเองนั้นไม่ใช่เศรษฐกิจพอเพียง เป็นเศรษฐกิจสมัยหิน สมัยหินนั้นเป็นเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนกัน แต่ว่าค่อยๆ พัฒนาขึ้นมา ต้องมีการแลกเปลี่ยนกัน มีการช่วยระหว่างหมู่บ้าน หรือระหว่าง จะเรียกว่าอำเภอ จังหวัด ประเทศ จะต้องมีการแลกเปลี่ยน มีการไม่พอเพียง จึงบอกว่าถ้ามีเศรษฐกิจพอเพียง เพียงเศษหนึ่งส่วนสี่ก็จะพอแล้ว จะใช้ได้”
    ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้น เป็นแนวทางการดำรงชีวิตและการปฏิบัติตนของประชาชนทุกระดับ โดยยึดแนวทางการพัฒนาที่มีคน หรือประชาชนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เองจะเป็นตัวการที่นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน หรือในภาษาอังกฤษ คือ Sustainable Development
    หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง

    การพัฒนาตามหลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง คือการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำ



    ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีหลักพิจารณาอยู่ ๕ ส่วน ดังนี้

    ๑. กรอบแนวความคิด
    เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สมารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤต เพื่อความมั่นคง และ ความยั่งยืน ของการพัฒนา

    ๒. คุณลักษณะ
    เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับโดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน

    ๓. คำนิยาม
    ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย ๓ คุณลักษณะ พร้อม ๆ กัน ดังนี้

    1. ความพอประมาณ: หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่นการผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
    2. ความมีเหตุผล: หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
    3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว: หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล


    ๔. เงื่อนไข

    การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้นต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ

    • เงื่อนไขความรู้: ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
    • เงื่อนไขคุณธรรม: ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต


    ๕. แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    ผลจากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี




    เศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ


    เศรษฐกิจพอเพียงและแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ เป็นแนวทางในการพัฒนาที่นำไปสู่ความสามารถในการพึ่งตนเอง ในระดับต่าง ๆ อย่างเป็นขั้นตอน โดยลดความเสี่ยงเกี่ยวกับความผันแปรของธรรมชาติ หรือการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยต่าง ๆ โดยอาศัยความพอประมาณและความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี มีความรู้ ความเพียรและความอดทน สติและปัญญา การช่วยเหลือซึ่งกันและกันและความสามัคคี
    เศรษฐกิจพอเพียงมีความหมายกว้างกว่าทฤษฎีใหม่โดยที่เศรษฐกิจพอเพียงเป็นกรอบแนวคิดที่ชี้บอกหลักการและแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ในขณะที่ แนวพระราชดำริเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่หรือเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาภาคเกษตรอย่างเป็นขั้นตอนนั้น เป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในทางปฏิบัติ ที่เป็นรูปธรรมเฉพาะในพื้นที่ที่เหมาะสม
    ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ

    อาจเปรียบเทียบกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบพื้นฐานกับแบบก้าวหน้า ได้ดังนี้
    ความพอเพียงในระดับบุคคลและครอบครัวโดยเฉพาะเกษตรกร เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐานเทียบได้กับทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 ที่มุ่งแก้ปัญหาของเกษตรกรที่อยู่ห่างไกลแหล่งน้ำ ต้องพึ่งน้ำฝนและประสบความเสี่ยงจากการที่น้ำไม่พอเพียง แม้กระทั่งสำหรับการปลูกข้าวเพื่อบริโภค และมีข้อสมมติว่า มีที่ดินพอเพียงในการขุดบ่อเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องดังกล่าวจากการแก้ปัญหาความเสี่ยงเรื่องน้ำ จะทำให้เกษตรกรสามารถมีข้าวเพื่อการบริโภคยังชีพในระดับหนึ่งได้ และใช้ที่ดินส่วนอื่น ๆ สนองความต้องการพื้นฐานของครอบครัว รวมทั้งขายในส่วนที่เหลือเพื่อมีรายได้ที่จะใช้เป็นค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ไม่สามารถผลิตเองได้ ทั้งหมดนี้เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวให้เกิดขึ้นในระดับครอบครัว อย่างไรก็ตาม แม้กระทั่ง ในทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 ก็จำเป็นที่เกษตรกรจะต้องได้รับความช่วยเหลือจากชุมชนราชการ มูลนิธิ และภาคเอกชน ตามความเหมาะสม
    ความพอเพียงในระดับชุมชนและระดับองค์กร เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 2 เป็นเรื่องของการสนับสนุนให้เกษตรกรรวมพลังกันในรูปกลุ่มหรือสหกรณ์ หรือการที่ี่ธุรกิจต่าง ๆ รวมตัวกันในลักษณะเครือข่ายวิสาหกิจ กล่าวคือ เมื่อสมาชิกในแต่ละครอบครัวหรือองค์กรต่าง ๆ มีความพอเพียงขั้นพื้นฐานเป็นเบื้องต้นแล้วก็จะรวมกลุ่มกันเพื่อร่วมมือกันสร้างประโยชน์ให้แก่กลุ่มและส่วนรวมบนพื้นฐานของการไม่เบียดเบียนกัน การแบ่งปันช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามกำลังและความสามารถของตนซึ่งจะสามารถทำให้ ชุมชนโดยรวมหรือเครือข่ายวิสาหกิจนั้น ๆ เกิดความพอเพียงในวิถีปฏิบัติอย่างแท้จริง
    ความพอเพียงในระดับประเทศ เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 3 ซึ่งส่งเสริมให้ชุมชนหรือเครือข่ายวิสาหกิจสร้างความร่วมมือกับองค์กรอื่น ๆ ในประเทศ เช่น บริษัทขนาดใหญ่ ธนาคาร สถาบันวิจัย เป็นต้น
    การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในลักษณะเช่นนี้จะเป็นประโยชน์ในการสืบทอดภูมิปัญญา แลกเปลี่ยนความรู้ เทคโนโลยี และบทเรียนจากการพัฒนา หรือร่วมมือกันพัฒนา ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ประเทศอันเป็นสังคมใหญ่อันประกอบด้วยชุมชน องค์กร และธุรกิจต่าง ๆ ที่ดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงกลายเป็นเครือข่ายชุมชนพอเพียงที่เชื่อมโยงกันด้วยหลัก ไม่เบียดเบียน แบ่งปันและช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ในที่สุด

    การสร้างขบวนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง


    สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอให้ริเริ่มการสร้างขบวนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสานต่อความคิดและเชื่อมโยงการขยายผลที่เกิดจากการนำหลักปรัชญาฯ ไปใช้อย่างหลากหลาย รวมทั้งเพื่อจุดประกายให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ซึ่งจะนำไปสู่การยอมรับ และการนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดผลในทางปฏิบัติในทุกภาคส่วนของสังคมอย่างจริงจัง
    จากพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสของพระองค์ นับตั้งแต่ปี 2517 เป็นต้นมา จะพบว่าพระองค์ท่านได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการพัฒนาที่อยู่บนพื้นฐานของการพึ่งตนเอง ความพอมีพอกิน พอมีพอใช้ การรู้จักความพอประมาณ การคำนึงถึงความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว และทรงเตือนสติประชาชนคนไทยไม่ให้ประมาท ตระหนักถึงการพัฒนาตามลำดับขั้นตอนที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ตลอดจนมีคุณธรรมเป็นกรอบในการดำรงชีวิตซึ่งทั้งหมดนี้เป็นที่รู้กันภายใต้ชื่อว่า "เศรษฐกิจพอเพียง"

    สศช. จึงได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากสาขาต่าง ๆ มาร่วมกันกลั่นกรองพระราชดำรัสฯ สรุปเป็นนิยาม ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และได้อัญเชิญมาเป็นปรัชญานำทางในการจัดทำ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทุกระดับมีความเข้าใจและนำไปประกอบการดำเนินชีวิต

    การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง มีเป้าหมายหลักเพื่อสร้างเครือข่ายเรียนรู้ ให้มีการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้เป็นกรอบความคิด เป็นแนวทางในการปฏิบัติ ตลอดจนเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของคนไทยในทุกภาคส่วน
    วัตถุประสงค์ของการขับเคลื่อนเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงให้ประชาชนทึกคนสามารถนำหลักปรัชญาฯ ไปประยุกต์ให้ได้อย่างเหมาะสม และปลูกฝัง ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการดำรงชีวิตให้อยู่บนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนนำไปสู่การปรับแนวทางการพัฒนาให้อยู่บนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียง

    การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการเสริมพลังให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาไปได้อย่างมั่นคง ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ โดยให้ความสำคัญกับการสร้างฐานรากทางเศรษฐกิจและสังคมให้เข้มแข็ง รักษาความสมดุลของทุนและทรัพยากรในมิติต่าง ๆ ตลอดจนสามารถปรับตัวพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ได้อย่างเท่าทัน และนำไปสู่ความเอยู่เย็นเป็นสุขของประชาชนชาวไทย

    การขับเคลื่อนจะเป็นลักษณะเครือข่ายและระดมพลังจากทุกภาคส่วน
    แบ่งเป็น 2 เครือข่ายสนับสนุนตามกลุ่มเป้าหมายเบื้องต้น ได้แก่

    • เครือข่ายด้านประชาสังคมและชุมชน
    • เครือข่ายธุรกิจเอกชน

    นอกจากนี้แล้วยังมีเครือข่ายสนับสนุนตามภารกิจ ได้แก่

    • เครือข่ายวิชาการ
    • เครือข่ายสร้างกระบวนการเรียนรู้
    • เครือข่ายเผยแพร่ประชาสัมพันธ์

    ทั้งนี้แกนกลางขับเคลื่อนมี 3 ระดับได้แก่ คณะที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง และกลุ่มงานเศรษฐกิจพอเพียงใน สศช. ซึ่งจะเป็นหน่วยปฏิบัติงานในการขับเคลื่อนและจะทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายผลการดำเนินงานเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา ครบรอบ 80 พรรษา ในเดือนธันวาคม 2550

    ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

    เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์
    ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผลรวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐนักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริตและให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
    (ประมวลและกลั่นกรองจากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งพระราชทานในวโรกาสต่าง ๆ รวมทั้งพระราชดำรัสอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำไปเผยแพร่ เมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของทุกฝ่ายและประชาชนโดยทั่วไป)
    ---------------------------
    ขอบคุณข้อมูลจาก:
    เว็บไซต์สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, chaipat.or.th
    https://guru.sanook.com/4238/



    ข. ๕) พระบรมราโชวาท “ความดี ความเจริญ”

    ความดี ความเจริญ ๑ พระราชดำรัสในโอกาสที่คณะครูใบฎีกาเล็ก(ถานุตตโร) และคณะ
    เฝ้าถวายเงินและต้นเทียนพรรษา ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๒๔

    “… การทำดีนั้นมีหลายอย่าง อย่างที่ท่านทำดีโดยที่ได้ร่วมกุศลเป็นเงินเพื่อที่จะแผ่ไปช่วยผู้ที่ตกทุกข์ได้ยากนั้น ก็เป็นการกระทำที่ดีอย่างหนึ่ง การกระทำที่ดีอีกอย่างที่ได้กล่าวก็คือมีความปรองดองสามัคคีช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อุดหนุนกัน แล้วก็ไม่ เบียดเบียนกัน โดยเฉพาะอย่างหมู่คณะที่ตั้งขึ้นมาอย่างนี้ก็ช่วยกันในทางวัตถุและในทางจิตใจ ความสามัคคีนี้ก็เป็นการทำดีอย่างหนึ่ง การทำดีอีกอย่างซึ่งจะดูลึกซึ้งกว่า คือปฏิบัติด้วยตนเองปฏิบัติให้ตัวเองไม่มีความเดือดร้อน คือพยายามหันเข้าไปในทางปัจจุบันให้มาก อย่างง่าย ๆ ก่อน คือพิจารณาดูว่าตัวเองกำลังคิดอะไร กำลังทำอะไร ให้รู้ตลอดเวลา แล้วรู้ว่าทำอะไร อย่างนี้เป็นวิธีอย่างหนึ่งที่จะทำให้ไม่มีภัย ถ้าเราคอยระมัดระวังตลอดเวลาให้รู้ว่าตัวทำอะไร ให้รู้ว่าการทำนี้เราทำอะไรตลอดเวลา ก็จะไม่ ผิดพลาด เพราะว่าโดยมากความผิดพลาดมาจากความไม่รู้ในปัจจุบัน …”
    ——————————————————————————–
    ความดี ความเจริญ ๒ พระราชดำรัส พระราชทานแก่ผู้บังคับบัญชาลูกเสือในโอกาสเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท และรับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ณ ศาลาดุสิดาลัย พระราชวังดุสิต ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๒๗
    “… การที่บุคคลจะทำความดีให้ได้จริง และต่อเนื่องไปโดยตลอดได้ จะต้องอาศัยหลักปฏิบัติที่ถูกต้องแน่นอน. ประการแรก จะต้องมีศรัทธาเชื่อมั่นในความดี เห็นว่าความดีหรือสุจริตธรรม ย่อมไม่ทำลายผู้ใด หากแต่ส่งเสริมให้เป็นคนสะอาดบริสุทธิ์และเจริญมั่นคง. เมื่อเกิดศรัทธาแน่วแน่ในความดีแล้ว ก็จะต้องตั้งกฎเกณฑ์ ตั้งระเบียบให้แก่ตนเอง สำหรับควบคุมประคับประคองให้ปฏิบัติแต่ความดี และรักษาความดีไว้อย่างเหนียวแน่น ไม่ให้บกพร่องคลอนแคลน. พร้อมกันนั้น ก็จะต้องพยายามเพิกถอน ลด ละ การกระทำและความคิด อันจะเป็นเหตุบั่นทอนการกระทำดีของตนด้วยตลอดเวลา. สำคัญยิ่งกว่าอื่น ทุกคนจะต้องอาศัยปัญญา ความฉลาดรู้เหตุผล เป็นเครื่องตรวจสอบ พิจารณา วินิจฉัยการกระทำความประพฤติทุกอย่างอยู่เสมอโดยไม่ประมาท เพื่อมิให้ผิดพลาดเสื่อมเสีย. เมื่อประกอบความดีได้โดยถูกถ้วน ก็ย่อมได้ รับประโยชน์ที่สมบูรณ์แท้จริง คือประโยชน์ที่เกื้อ*ลให้มีความสุขความเจริญได้ในปัจจุบัน และยั่งยืนมั่นคงตลอดไปถึงภายหน้า. ข้าพเจ้าจึงขอฝากหลักปฏิบัติความดีนี้ไว้ให้ท่านทั้งหลายรับไปพิจารณาปฏิบัติต่อไป. …”
    ——————————————————————————–
    ความดี ความเจริญ ๓ พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่ข้าราชการพลเรือนเนื่องในโอกาสวันข้าราชการพลเรือน
    ๑ เมษายน ๒๕๒๔

    ข้าราชการทุกฝ่ายมีหน้าที่เหมือนกัน ที่จะต้องตั้งใจขวนขวายปฏิบัติงานด้วยความฉลาดรอบคอบ ให้สำเร็จลุล่วงตรงตามเป้าหมายโดยไม่ชักช้า และที่จะต้องร่วมกับชาวไทยทุกคนในอันที่จะอุ้มชูรักษาความดีในชาติให้ยืนยงมั่นคงอยู่คู่กับผืนแผ่นดินไทย. ยิ่งเป็นผู้ใหญ่ มีตำแหน่งสำคัญ ยิ่งจะต้องปฏิบัติให้ดี ให้หนักแน่น ให้มีประสิทธิภาพ สูงขึ้น. ผลงานที่สำเร็จขึ้นจากความร่วมมือและจากความบริสุทธิ์ใจ จักได้แผ่ไพศาล ไปตลอดทั่วทุกหนแห่ง ยังความสุขความเจริญที่แท้จริงให้บังเกิดขึ้นได้ตามที่ปรารภปรารถนา.
    ——————————————————————————–
    ความดี ความเจริญ ๔ พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานกระบี่และปริญญาบัตรแก่ว่าที่ร้อยตำรวจตรี ที่สำเร็จการศึกษาชั้นสูงสุดจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ประจำปีการศึกษา ๒๕๒๘ ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร ๑๐ มีนาคม ๒๕๒๙
    “… การทำความดีนั้น โดยมากเป็นการเดินทวนกระแสความพอใจและความต้อง การของมนุษย์ จึงทำได้ยาก และเห็นผลช้า แต่ก็จำเป็นต้องทำ เพราะหาไม่ ความชั่ว ซึ่งทำได้ง่าย จะเข้ามาแทนที่ แล้วจะพอกพูนขึ้นอย่างรวดเร็วโดยไม่ทันรู้สึกตัว. ตำรวจแต่ละคนจึงต้องตั้งใจและเพียรพยายามให้สุดกำลัง ที่จะสร้างเสริมและสั่งสมรักษาความดีให้สมบูรณ์อยู่เสมอ. และสำคัญที่สุด จะต้องกระทำดังนี้ให้พร้อมทั่วกันทุกฝ่ายทุกคน ด้วย จึงจะบังเกิดประสิทธิผล ช่วยให้บ้านเมืองมีความสงบเรียบร้อยและเป็นปรกติสุขมั่นคงได้. ตรงข้าม ถ้าปฏิบัติไม่พร้อมเพรียงกัน หรือพากันละเลยไม่รักษาความดีแล้ว ความยุ่งยากระส่ำระสายก็จะมีตามมา. จึงใคร่ขอให้นายตำรวจทุกคนนำไปคิดพิจารณา ให้เห็นถ่องแท้ เพื่อจักได้ประพฤติปฏิบัติตนปฏิบัติหน้าที่ให้ถูก ให้สมควร และให้เป็น กำลังสร้างสรรค์สันติราษฎร์อย่างแท้จริงได้ตลอดไป. …”
    ——————————————————————————–
    ความดี ความเจริญ ๕ พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๓๓

    “… ความเป็นบัณฑิต นอกจากจะหมายรู้ได้ที่ความรู้และความฉลาดสามารถของบุคคล ในการใช้วิทยาการให้เกิดประโยชน์แล้ว ยังสังเกตทราบได้ที่การกระทำ คำพูด และความคิด อีกทางหนึ่ง. บัณฑิตนั้น เมื่อจะทำจะพูดหรือจะคิด ย่อมพยายามทำให้ดี พูดให้ดี คิดให้ดีเสมอ. ทำให้ดี หมายถึงทำด้วยความตั้งใจและจริงใจ ให้เป็น การสร้างสรรค์แท้. ไม่ว่าการเล็กการใหญ่ ก็พยายามทำอย่างดีที่สุด เพื่อให้บรรลุ เป้าหมายและประโยชน์ของการที่ทำนั้นโดยครบถ้วน ไม่ทำโดยเพทุบาย หรือมีเจตนา ไม่บริสุทธิ์แอบแฝง. การพูดให้ดี หมายถึงการกล่าววาจาชอบให้เกิดประโยชน์ เช่น กล่าวในสิ่งที่จะก่อให้เกิดความรู้ ความฉลาด ความเจริญ ความดี ความสามัคคีปรองดอง ไม่กล่าวในสิ่งที่ไม่รู้จริง ที่ก่อให้เกิดความสับสน หรือที่ทำลายความดีงาม ความเจริญมั่นคง. การคิดให้ดีนั้น หมายถึงการคิดด้วยความมีสติตั้งมั่น เป็นกลาง ไม่ถูกเหนี่ยวนำด้วยอคติ หากอาศัยความถูกต้องด้วยหลักวิชา เหตุผลความเป็นจริง และศีลธรรมจรินธรรม เป็นพื้นฐานเครื่องวินิจฉัย เพื่อให้ความคิดนั้นปราศจากพิษภัย เป็นคุณเป็นประโยชน์แท้จริง.
    บัณฑิตทั้งหลายจะทำ จะพูด จะคิดสิ่งใด ขอให้ทำ ให้พูด ให้คิดอย่างมีหลักการ และความสังวรระวัง เพราะเชื่อว่าถ้าสามารถฝึกหัดปฏิบัติให้เคยชินเป็นนิสัย จะช่วยให้ สมัครสมานเข้าใจกันได้เป็นอย่างดี ร่วมงานประสานประโยชน์กันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และจะส่งเสริมให้แต่ละคนประสบความสำเร็จรุ่งโรจน์ในหน้าที่การงานได้เป็น แน่นอน. …”
    ——————————————————————————–
    ความดี ความเจริญ ๖ พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัย
    ธรรมศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๒๑

    “… บัณฑิตทั้งหลายคงจะมีความหวังตั้งใจอยู่เต็มเปี่ยม ที่จะออกไปทำการงานด้วยความรู้ ความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ และด้วยความพากเพียรเข้มแข็ง เพื่อให้ บังเกิดความเจริญก้าวหน้าแก่ชาติบ้านเมือง แต่บางคนก็อาจกำลังคิดอยู่ด้วยว่า ถ้าเราทำดีแล้วคนอื่นเขาไม่ทำด้วยจะมิเสียแรงเปล่าหรือ ความรู้ ความตั้งใจ ความอุตสาหะพากเพียร ของเราทั้งหมดจะมีประโยชน์อันใด ข้าพเจ้าขอให้ทุกคนทำความเข้าใจเสียใหม่ให้ชัดแจ้ง ตั้งแต่ต้นนี้ว่า การทำความดีนั้น สำคัญที่สุดอยู่ที่ตัวเอง ผู้อื่นไม่สำคัญ และไม่มีความจำเป็นอันใดที่จะต้องเป็นห่วงหรือต้องรอคอยเขาด้วย เมื่อได้ลงมือลงแรงกระทำแล้ว ถึงแม้จะมีใครร่วมมือด้วยหรือไม่ก็ตาม ผลดีที่ทำจะต้องเกิดขึ้นแน่นอน และยิ่งทำมากเข้า นานเข้า ยั่งยืนเข้า ผลดีก็ยิ่งเพิ่มพูนมากขึ้น และแผ่ขยายกว้างออกไปทุกที คนที่ไม่เคยทำดีเพราะเขาไม่เคยเห็นผล ก็จะได้เห็น และหันเข้ามาตามอย่าง หลักประกันสำคัญในการทำดีจึงอยู่ที่ว่า แต่ละคนต้องทำใจให้มั่นคง ไม่หวั่นไหวกับสิ่งแวดล้อมที่เห็นอยู่ทราบอยู่มากเ*ไป จนเกิดความท้อถอย เมื่อใจมั่นคงแล้ว ก็ขอให้ตั้งอกตั้งใจสร้างนิมิตและค่านิยมใหม่ขึ้นสำหรับตัว ตามที่พิจารณาเห็นดีด้วยเหตุผลอันถูกต้องเที่ยงตรงแล้ว แล้วมุ่งหน้าปฏิบัติดำเนินไปให้เต็มกำลังจนบรรลุผลสำเร็จ ในที่สุด ความดีความเจริญที่ปรารถนาก็จะเกิดทวีขึ้น และจะเอาชนะความเสื่อมทราม ต่าง ๆ ได้ไม่นานเ*รอ …”
    ——————————————————————————–
    ความดี ความเจริญ ๗ พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๒ พฤศจิกายน ๒๕๒๘
    “…ประโยชน์และความเจริญมั่นคงของส่วนรวมย่อมขึ้นอยู่กับประโยชน์และความเจริญมั่นคงของแต่ละบุคคลเป็นสำคัญ เพราะส่วนรวมนั้นประกอบขึ้นด้วยบุคคลที่รวมกันอยู่เป็นสำคัญ เป็นชาติบ้านเมือง. ดังนี้ ผู้ใดก็ตามที่มุ่งหวังให้ส่วนรวมเจริญ มั่นคง จะต้องพยายามสร้างความมั่นคงให้แก่การงาน แก่อาชีพ และแก่ฐานะของตนเองให้ได้เป็นข้อแรกและข้อใหญ่. แต่ในการสร้างประโยชน์สร้างความเจริญให้แก่ตนเองนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องถือหลักปฏิบัติสองข้ออย่างเคร่งครัด. ข้อแรก จะต้องมุ่งหมายกระทำแต่เฉพาะกิจการงานที่สุจริต ที่เป็นประโยชน์สร้างสรรค์ และที่ถูกต้องเป็นธรรม พร้อมกับจะต้องระมัดระวังควบคุมตนเองอยู่เสมอ มิให้ประพฤติปฏิบัติการสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ดำเนินทวนกระแสความถูกต้องเป็นธรรม และที่เบียดเบียนบ่อนทำลายผู้อื่น อย่างเด็ดขาด. ครั้นเมื่อทำดีมีผลแล้ว ข้อต่อไป จะต้องพยายามขวนขวายประสานประโยชน์ของแต่ละคนเข้าด้วยกัน ด้วยความมุ่งดีมุ่งเจริญและจริงใจต่อกัน โดยไม่เพ่งเล็งถึงผลประโยชน์เฉพาะตัวจนเ*พอดี หรือจนทำให้เกิดความโลภเห็นแก่ตัวขึ้นมาปิดบังความสำคัญและประโยชน์ของคนอื่นเสียหมด. การปฏิบัติตามหลักการดังนี้ แม้จะยากลำบากอยู่บ้างสำหรับบางคน แต่เมื่อฝึกหัดตั้งตัวตั้งใจให้ประพฤติปฏิบัติมั่นคงเหนียวแน่นอยู่ได้จนเป็นปรกติ ก็จะประคับประคองส่งเสริมให้สามารถสร้างความเจริญมั่นคงให้แก่ตัวแต่ส่วนรวมได้สำเร็จอย่างงดงามและแน่นอนที่สุด. จึงขอให้บัณฑิตทั้งหลาย ได้นำไปคิดวินิจฉัยให้ได้ประโยชน์สำหรับตัว สำหรับชาติบ้านเมืองต่อไปในวัน ข้างหน้า. …”
    ——————————————————————————–
    ความดี ความเจริญ ๘ พระบรมราโชวาทพระราชทานแก่คณะกรรมการวันกตัญญูกตเวที สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย เพื่อเชิญลงพิมพ์ในหนังสือที่ระลึกวันกตัญญูกตเวที และเชิญออกเผยแพร่แก่ ประชาชนเป็นแนวทางปฏิบัติ ๘ เมษายน ๒๕๒๖
    ความกตัญญูกตเวทีคือสภาพจิตที่รับรู้ความดี และยินดีที่จะกระทำความดีโดยศรัทธามั่นใจ. คนมีกตัญญูจึงไม่ลบล้างทำลายความดี และไม่ลบหลู่ผู้ที่ได้ทำความดี มาก่อน หากเพียรพยายามรักษาความดีทั้งปวงไว้ให้เป็นพื้นฐานในความประพฤติปฏิบัติทุกอย่างของตนเอง. เมื่อเต็มใจและจงใจกระทำทุกสิ่งทุกอย่างด้วยความดีดังนี้ ก็ย่อม มีแต่ความเจริญมั่นคง และรุ่งเรืองก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้น. จึงอาจกล่าวได้ว่าความกตัญญูกตเวทีเป็นคุณสมบัติอันสำคัญยิ่งสำหรับนักพัฒนา และผู้ปรารถนาความเจริญก้าวหน้าทุกคน.
    ——————————————————————————–
    ความดี ความเจริญ ๙ พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๑

    “…ขอแสดงความชื่นชมกับบัณฑิตผู้ได้รับเกียรติและความสำเร็จในการศึกษา ความสำเร็จครั้งนี้ แต่ละคนควรถือว่าสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นต้นทางที่จะช่วยให้สามารถดำเนินไปสู่การงานที่กว้างขวางยิ่งใหญ่ต่อไปในกาลข้างหน้า และควรจะสำนึกด้วยว่าการที่มีความสำเร็จนี้ นอกจากอาศัยสติปัญญาความสามารถของตนเองแล้ว ยังได้อาศัยความอุปการะเกื้อ*ลจากผู้อื่นอีกด้วย ผู้ที่ช่วยเหลือโดยตรง ก็มีบิดามารดา ผู้ปกครอง ถัดมาก็มีครูบาอาจารย์ ซึ่งทุกคนจะได้มองเห็นแล้ว แต่ยังมีผู้ช่วยเหลืออื่นอีกเป็นอันมาก ที่ได้อุปการะท่านโดยทางอ้อม ซึ่งท่านอาจนึกไปไม่ถึง บุคคลทั้งนั้นคือประชาชนคนไทยทั้งมวล ประชาชนเป็นผู้เสียภาษีอากรให้แก่รัฐ ซึ่งได้นำมาบำรุง การศึกษา ทำให้ท่านสามารถเข้าศึกษาในสถานศึกษาทุกระดับได้ และโดยเฉพาะระดับอุดมศึกษาที่ท่านสำเร็จแล้วนี้ ก็ต้องใช้เงินทองมิใช่น้อย ดังนั้นท่านไม่ควรลืมว่า ประชาชนทุกคนเป็นผู้มีอุปการคุณ เป็นผู้มีส่วนในความสำเร็จของท่าน
    ท่านมีหน้าที่อันสำคัญผูกพันอยู่ ที่จะต้องตอบแทนคุณของทุกฝ่ายที่ได้อุปการะ ช่วยเหลือ การทดแทนคุณนั้น มิใช่สิ่งที่ยากนัก ถ้าท่านประพฤติตนดี มีสัมมาอาชีวะ เป็นหลักฐานเป็นที่เชิดชูวงศ์ตระ*ล ก็เป็นการทดแทนคุณบิดามารดา ถ้าท่านหมั่นศึกษาค้นคว้าวิชาการให้มีความรู้ความสามารถเหมาะแก่กาลสมัย ก็เป็นการได้ทดแทนคุณครูบาอาจารย์ และในประการสุดท้าย ถ้าท่านตั้งใจทำงานทุกอย่างโดยถือประโยชน์ส่วนรวมยิ่งกว่าประโยชน์ส่วนตัวแล้ว ก็เป็นการได้ทดแทนคุณประชาชนคนไทยทุกคน …”
    ——————————————————————————–
    ความดี ความเจริญ ๑๐ พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร แก่นิสิตนักศึกษาวิทยาลัยวิชาการศึกษา
    ณ วิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๑๔

    “…การรักษาคุณค่าและความสำคัญของสิ่งที่ดีงามนั้น ในทุกวันนี้ มักเห็นกัน ว่าเป็นสิ่งเ*วิสัยที่จะทำ เพราะสภาพชีวิตความเป็นอยู่รวมทั้งความคิดความต้องการของคนเปลี่ยนไปจากเดิมมาก สิ่งที่เคยรับนับถือ ก็ละเลยกันเสียโดยมาก เรื่องนี้เป็นปัญหาใหญ่ที่ท่านทั้งหลายจะต้องขบคิดและแก้ไข สังคมของเรานั้นถึงจะเปลี่ยนแปลง ไปอย่างไร ก็ยังคงต้องอาศัยเหตุผลเป็นรากฐานและเป็นหลักการความคิดความต้องการหรือความเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่มิได้เป็นไปตามเหตุผล จะหนักแน่นยิ่งกว่าสิ่งที่เกิดจากเหตุผลความถูกต้องไม่ได้ และจะคงทนถาวรอยู่ตลอดไปไม่ได้ ผู้เป็นบัณฑิตจะต้อง เชื่อมั่นและยืนหยัดในเหตุผลและความดี ถ้าทุกคนมีความมั่นคง ไม่หวั่นไหวต่อความวิปริตผันผวนของสังคม ช่วยกันปลูกฝังความรู้ความคิดความมีเหตุผลให้เกิดมีในอนุชน สังคมของเราก็จะเข้ารูปเข้ารอยดีขึ้นเป็นลำดับ และจะสามารถรักษาคุณค่าความดีงาม โดยเฉพาะของงานของท่าน และตัวของท่านไว้ได้ตามประสงค์ …”
    ——————————————————————————–
    ความดี ความเจริญ ๑๑
    พระราชดำรัสพระราชทานแก่ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ในโอกาสเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทและรับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา ๖ กรกฎาคม ๒๕๒๑

    “… ทุกวันนี้ อาจกล่าวได้ว่า ผู้ใหญ่เรามักพากันละทิ้งวิธีการเก่า ๆ ในการอบรมฝึก ฝนคุณธรรมและความสุภาพเรียบร้อยในกายวาจาใจของเยาวชน โดยมิได้หาวิธีการที่เหมาะ สมมาทดแทนให้เพียงพอ ทั้งนี้เห็นจะเป็นเพราะโดยมากเราไม่ค่อยจะคิดถึงเรื่องนี้กันนัก ด้วยเหตุที่มัวสนใจและตื่นเต้นกับวิชาการอย่างใหม่กันหมด ประการหนึ่ง และด้วยเหตุ ที่ผลเสียหายมิได้เกิดขึ้นฉับพลันทันที หากแต่ค่อย ๆ เกิดขึ้นทีละเล็กละน้อย อีกประการ หนึ่ง จึงปล่อยกันมาเรื่อย ๆ จนบัดนี้ผลเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นได้กลายเป็นปัญหาที่เกือบจะแก้ กันไม่ตก ตามที่ท่านเห็นกับตาและทราบแก่ใจอยู่แล้ว ไม่จำเป็นจะต้องพูดให้ยาวความไป ความจริง เยาวชนที่มีพื้นจิตใจดีอยู่แล้ว และปรารถนาจะทำตัวให้ดีให้เป็นประโยชน์นั้น มีอยู่เป็นอันมาก แต่การทำความดีโดยลำพังตนเองเป็นของยาก จำเป็นต้องอาศัยหลักเกณฑ์ และแบบฉบับที่ดีอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นที่ยึดเหนี่ยว จึงจะกระทำได้โดยถูกต้องเหมาะสม และไม่เปลืองเวลา พูดง่าย ๆ ก็คือต้องอาศัยผู้ใหญ่เป็นที่พึ่งหรือเป็นผู้นำนั่นเอง ผู้ใหญ่จึง ต้องถือเป็นหน้าที่และความจำเป็นที่จะต้องช่วยเหลือเขา
    เคราะห์ดีอย่างหนึ่ง ที่เราได้รับเอากิจกรรมอย่างใหม่ ที่มีประสิทธิภาพสูงในการ ขัดเกลาและปลูกฝังความดีความสามารถในเยาวชน เข้ามา คือกิจการลูกเสือ ซึ่งก็เคราะห์ดี อีกอย่าง ที่ริเริ่มขึ้นทันท่วงที และยังคงทนมาได้นานจนถึงบัดนี้ มิได้ถูกล้มเลิก จึงได้อาศัย เป็นปัจจัยฝึกหัดความดีให้แก่คนของเราได้ส่วนหนึ่ง ซึ่งนับว่าเป็นส่วนใหญ่ พอที่จะช่วย มิให้เราหมดหวังเสียทีเดียว
    ท่านทั้งหลายทุกคนได้ชื่อว่ามีศรัทธาในกิจการลูกเสือ และได้ช่วยกันอุปถัมภ์ค้ำ จุนอย่างจริงจังมาจนเห็นผลอันน่าชื่นชมถึงเพียงนี้แล้ว ขอให้นึกถึงเด็ก ๆ กันให้มาก และ ขอให้ร่วมแรงร่วมใจกันต่อไป ทั้งฝ่ายราชการและมิใช่ราชการ ในอันที่จะส่งเสริมดำเนินงาน ลูกเสือต่อไป ด้วยศรัทธา ปัญญา ความเมตตากรุณา ให้เต็มกำลังความสามารถ เพื่อให้ กิจการอันทรงคุณค่านี้มีประสิทธิผลยิ่งขึ้น และให้เจริญงอกงามและยั่งยืนมั่นคงอยู่ในบ้าน เมืองของเราตลอดไป เพื่อประโยชน์อันยิ่งใหญ่ของเยาวชนและของชาติไทยของเรา …”
    ——————————————————————————–
    ความดี ความเจริญ ๑๒ พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรและอนุปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์หาวิทยาลัยณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๑๘
    “… ความสุขความเจริญอันแท้จริงนั้น หมายถึงความสุขความเจริญที่บุคคลแสวงหามาได้ด้วยความเป็นธรรม ทั้งในเจตนาและการกระทำ ไม่ใช่ได้มาด้วยความบังเอิญ หรือด้วยการแก่งแย่งเบียดบังมาจากผู้อื่น ความเจริญที่แท้นี้มีลักษณะเป็นการสร้างสรรค์ เพราะอำนวยประโยชน์ถึงผู้อื่นและส่วนรวมด้วย ตรงกันข้ามกับความเจริญ อย่างเท็จเทียม ที่เกิดขึ้นมาด้วยความประพฤติไม่เป็นธรรมของบุคคล ซึ่งมีลักษณะ เป็นการทำลายล้าง เพราะให้โทษบ่อนเบียนทำลายผู้อื่นและส่วนรวม การบ่อนเบียนทำลายนั้น ที่สุดก็จะกลับมาทำลายตน ด้วยเหตุที่เมื่อส่วนรวมถูกทำลายเสียแล้ว ตนเอง ก็จะยืนตัวอยู่ไม่ได้ จะต้องล่มจมลงไปเหมือนกัน …”



    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย Admax : 12-29-2017 เมื่อ 02:31 AM
    ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
    ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
    รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
    การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ
     
  2. Admax said:
    ขันธ์ ๕

    รูป = ร่างกาย ธาตุ ๔ ธาตุ ๕ กายสังขาร
    เวทนา = ความเสวยรสของอารมณ์ความรู้สึกที่ผัสสะ จิตสังขาร
    สัญญา = ความจำได้หมายรู้อารมณ์ ความสำคัญมั่นหมายของใจ จิตสังขาร
    สังขาร = ความปรุงแต่งอารมณ์ จิตสังขาร
    วิญญาณ = จิต คือ ความคิด ตัวรู้ทางทวาร ๖ จักขุวิญญาณ โสตะวิญญาณ ฆานะวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ วิญญาณสังขาร

    มนะ หรือ มโน หรือ
    วิญญาณธาตุ(จิตวิญญาณ) คือ ใจ คือ ดวงจิตเรานี้ที่ท่องเที่ยวไป เป็นผู้รู้..จากตัวรู้ คือ มโนวิญญาณ ที่มีธัมมารมณ์มาผัสสะ





    วิธีแก้เมื่อหดหู่ ฟุ้งซ่าน อยากจะผลักไสสิ่งที่คนเกลียดชังไปให้ไกลๆตน


    1. มีสติเป็นเบื้องหน้า พิจารณาดูโทษรู้ทุกข์เมื่อเสพย์ความรู้สึกนึกคิดนั้นๆ มันทำให้เราอึดอัด อัดอ้น ระส่ำ กระสับกระส่าย ใจเตลิดอยากหนีไปให้พ้นๆไม่สิ้นสุด อยู่เป็นปรกติสุขไม่ได้ ไม่เย็นใจ ร้อนไม่สิ้นสุด ไม่สงบสุขเย็นกายสบายใจ จิตระส่ำอยู่ไม่ได้ด้วยตัวเองโดย ไหลเคลื้อมไปกอดเอาความไม่ขุ่นข้องหมองมัว เร่าร้อน เศร้าหมองไม่สิ้นสุด
    2. ไม่หยิบเอาความเร่าร้อนนั้น พึงเห็นว่า ความเร่าร้อนนี้มี เพราะมีเรา ตัวตนของเรา เพราะมีรัก มีชัง เพราะปารถนา เพราะต้องการ เพราะไม่เป็นดั่งปารถนา เพราะประสบกับตัวตนที่ไม่จำเริญใจ เพราะเอาใจเข้ายึดครองโลก เอาใจเข้ายึดความความไม่ใช่ตัวตน,ความไม่มี,ความสูญ
    3. ลองไม่มีเรา ไม่มีตัวเรา ไม่มีตัวตนของเรา เมื่อไม่มีเรา ไม่มีตัวตนของเรา สิ่งเหล่าใดมีเกิดขึ้น ความร้อนใดมีเกิดขึ้น มากระทบ เมื่อไม่มีเรา เราไม่มีโลก โลกไม่มีในเรา เราไม่ใช่ตัวตน มันย่อมกระทบสัมผัสชักนำให้เราร้อนตามมันไม่ได้ สักแต่มีไว้ให้รู้ว่านี่คือโลก สิ่งที่เป็นโลก ไม่ใช่เรา ไม่ใช่โลกุตระ
    4. เมื่อเราไม่มีในโลก เราก็ไม่จำเป็นต้องไปรองรับ เอนไหว ไหลตามเอาอารมณ์ความรู้สึกความปรุงแต่งสมมติรัก ชัง เกลียด กลัว ใคร่ ลุ่มหลง ไม่รู้จริง สมมติ ไม่ใช่ของจริง มันจะเบาว่างไม่มีออะไรในโลกให้เราเร่าร้อนตาม






    1. คลายใจจากทุกสิ่ง ละอุปาทานจากสมมติในโลกทั้งปวง ไม่ยึดจับสิ่งใดๆทั้งสิ้นทั้งปวงแม้ภายนอกและภายในกายใจนี้2. มีสติอยู่เฉพาะหน้าตั้งจิตปักหลักไว้ที่ปลายจมูกรู้ลมหายใจเข้า-ออก ตามนิมิตทางลม


    **หากไม่เคยได้ฌาณจากอานาปานสติจะไม่รู้จักนิมิตทางลม เพราะนิมิตนี้เกิดแต่อานาปานสติฌาณเท่านั้น อุปมาดั่งแสงสว่างฟ้าในที่ขาวโพรง หรือมืดมิด**


    ความสงบ เรียกขณิกสมาธิ
    สงบแบบหนักๆตรึงๆจิต มันได้เพียงกดทับกิเลสให้พอที่จะทุเลาความเร่าร้อนในตนได้เท่านั้น ..แต่คุณมีไม่มากเกินกว่านั้น
    เข้าอุปจาระกลางๆ อยู่ปรกติมีความอุ่นใจ อบอุ่น เบาเย็นใจมีคุณสูงกว่า


    ความอบอุ่นที่ว่านี้..ไม่ใช่ร่างกายมันอบอุ่น แต่ใจเราต่างหากที่อุ่น มันอุ่นจิตอุ่นใจ เพราะไม่มีความใคร่ ความหวาดกลัว ความระแวง มันจึงเป้นที่สบายกายใจยิ่งนัก

    เมื่อใจเรามันไม่เกาะราคะ โทสะ โมหะ มันตั้งอยู่ด้วยตัวมันเอง มันจึงเบาใจมีกำลัง
    เพราะไม่ต้องมีความรู้สึกอันเร่าร้อนความคิดสมมติให้ใจเร่าร้อน ใจมันจึงสบายเป้นที่เย็นใจ จะอยู่ที่นี้ หรือที่ใด ก็เย็นใจได้เสมอ ไม่กลัวแม้แต่ต้องตาย ไม่มีติดค้างในใจด้วยกิเลสเหล่าใดทั้งสิ้น


    ความสงบนี้ ถ้ามันสงบเพราะถูกกดข่มไว้อยู่ มันจะหนักอึ้ง ไม่เบา ไม่อุ่นใจ เพราะมันข่มเบื้องลึกของจิตที่ขุ่นหมองอยู่ มันจึงไม่เป็นที่เบาโล่งสบายกายใจ


    ปฏิบัติสมาธิบ่อยๆมันจึงได้รู้เห้นทั้งเหตุ ปัจจัย ผล แทงตลอดไม่เพี้ยนโดยต้องเข้าเห็นบ่อยๆ
    - เห็นแค่ครั้งเดียวเรียกฟลุ๊ก
    - หากนึกคิดเอามีความคิดเมื่อไหร่ เรียกสมมติ ติดสมมติความคิดที่กิเลสมันสร้างขึ้นมาหลออกให้จิตหลงทั้งสิ้น


    การติดสมมติความคิด คิดกล่อมจิต ปลอบจิตกล่อมให้ใจสงบบ่อยๆ มันจะถูกกิเลสหลอกเอา


    แต่หากด้วยประการใดก็ตามถ้ามันเข้าสงบว่างได้ แต่มันโหวงๆ คลอนแคลน ใจไม่นิ่ง ให้มารู้ลมหายใจ เพราะจิตมันดิงไวยังต้องอาศันสิ่งยึด
    ลมหายใจนี้ คือธรรมธาตุ คือของจริง คือธาตุ ๔ มหาภูตรูปในกายนี้ เอาจิตจับจับสิ่งนี้ย่อมรู้ของจริงไม่มีหลอก ทำให้เรารู้ปัจจุบันไม่หลงตามสมมติความคิด
    - เมื่อสมมติหมดก็มีแต่อาการของลม
    - เมื่อลมหมดก็มีแต่อาการของเวทนา
    - เมื่อไม่รู้ว่าเป็นเวทนา มีแค่าสภาพธรมที่เปลี่ยนแปลงไป แปรรูปลักษณะไป อย่างนี้รู้ผัสสะ สิ่งนี้นี่แหละ คือ ปัจจุบัน


    พระอริยะสาวกในพระธรรมวินัยนี้รู้ปัจจุบันทั้งสิ้น
    พระศาสดาจึงสอนให้รู้ผัสสะได้
    เมื่อรู้ผัสสะ รู้จริง รู้ปัจจุบัน จึงสามารถทำอินทรีย์สังวรได้







    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย Admax : 12-29-2017 เมื่อ 02:32 AM
    ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
    ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
    รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
    การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ
     
  3. Admax said:
    หิริ โอตตัปปะ กับ ศีล วิธีเจริญลงใจ

    ธรรมทั้งหมดเหล่านี้เป็นเพียงสิ่งที่ปุถุชนอย่างผมพึงน้องเอาพระธรรมของพระศาสดา และคำสอนของครูบาอาจารย์มาปฏิบัติ แล้วเห็นผลได้ด้วยตัวเองจากสติปัญญาอันน้อยนิดของผมซึ่งมีผิดเพี้ยนอยู่มากดังนั้นท่านผู้อ่านต้องแยกแยะพิจารณาด้วย หากสิ่งใดอ่านแล้วเห็นผิดเพี้ยนขอท่านจงรู้ว่านั่นเป็นธรรมที่ปุถุชนอย่างผมผู้มีปัญญาน้อยพอจะมีปัญญาคิดพลิกแพลงมาทำสะสมเหตุตนได้เพียงเท่านั้น ไม่ใช่ธรรมของพระตถาคตหรือครูบาอาจารย์โดยตรงแต่อย่างใดหากสิ่งใดที่ท่านอ่านแล้วเห็นว่ามีคุณประโยชน์ในการทำสะสมเหตุก็ให้รู้ว่าธรรมของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธศาสดามีคุณมาก อันพ่อแม่ครูบาอาจารย์ทั้งหลายได้เผยแพร่มาสู่เราให้เราได้ประยุกต์ใช้ตามกาล ตามแต่จริตของตนสามารถน้อมมาระลึกปฏิบัติได้ไม่จำกัดกาล เพื่อประโยชน์สุข และบารมีกุศลของเราสืบไป



    บันทึกกรรมฐาน เสร็จเดือนตุลาคม 60

    เรื่อง
    ทำเหตุใน "ศีล"


    ศีล เหล่าใดเป็นศีลเพื่อความหลุดพ้นจากกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้

    ศีลที่จะทำให้เกิดสมาธิได้ ต้องมีคุณสมบัติที่ปุถุชนเข้าถึงได้แล้วทำสันดานแห่งพระอริยะเกิดมีขึ้นแก่ผู้เจริญนั้น นั่นคือ
    ๑. ศีล..ที่ไม่ทำให้กายใจเราเร่าร้อน ..แต่เป็นศีลที่ทำให้เราเป็นที่สบายเย็นใจ
    ๒. ศีล..ที่ทำไว้ในใจโดยแยบคายซึ่งกุศลไม่หลงอยู่ ประกอบด้วยหิริโอตตัปปะ น้อมไปในการสละประโยชน์สุขอันปรนเปรอตน เกื้อกูลอิสระสุขแก่ผู้อื่น
    ๓. ศีล..เพื่อการละเว้นความเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น คือ
    - เว้นจากความโลภ เว้นจากอภิชฌา เว้นจากราคะความกำหนัดกระสัน เว้นจากความตระหนี่
    - เว้นจากความโกรธ เว้นจากโทมนัส เว้นจากความเกลียดผูกเวร เว้นจากความผูกแค้นพยาบาท เว้นจากความริษยา
    - เว้นจากความลุ่มหลงสมมติของปลอม เว้นจากความหลงในสุขอันไม่เที่ยงแท้ยั่งยืนนาน สุขเพียงวูบวาบๆประเดี๋ยวประด๋าวชั่วคราวก็ดับไป แล้วประกอบไปด้วยทุกข์ในภายหลัง ยิ่งหวนระลึกถึงก็ยิ่งเป็นทุกข์
    ..ทุกข์เพราะมันแปรปรวน และ ดับไปของมัน
    ..ทุกข์เพราะความพรัดพราก
    ..ทุกข์เพราะความตรึกหน่วงนึกพอใจยินดี ในสิ่งไม่เที่ยง ไม่อยู่ยั่งยืนนาน อยู่ได้นานสุดกก็แค่หมดลมหายใจของตน
    ..ทุกข์เพราะความตรึกหน่วงนึกพอใจยินดี ในสิ่งที่ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ไม่มีตัวตน บังคับไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตน
    ..ทุกข์เพราะความคำนึงถึงถวิลหาด้วยความติดใจ ติดใคร่ แสวงหา ปารถนาทะยานอยากใคร่ได้ที่จะเสพย์
    ๔. ศีลที่เป็นรากฐานเอื้อประโยชน์ให้จิตตั้งมั่นไม่กวัดแกว่งเอนไหวไปตามกิเลส ..แต่เป็นไปเพื่อความฉลาดในการปล่อยวาง ไม่หลงอยู่กับสมมติของปลอม ศีลอันเป็นไปเพื่อสุขที่เนื่องด้วยใจที่อิ่มเอมเป็นสุขจากกุศลปล่อยวาง สุขจากการไม่แสวงหาความเนื่องด้วยกายและวาจา ยิ่งหวนระลึกถึงก็ยิ่งเป็นสุขจากศีลนั้น
    ๕. ศีลอันเป็นมรรคมีองค์ ๘ ศีลที่ประกอบด้วยสังวรปธาน(สัมมัปปธาน ๔) อันมีสติสัมปะชัญญะคลุมให้ตั้งอยู่ใน ๔ ข้อข้างต้นนั้น นั่นก็คือ ศีลของพระพุทธเจ้าเท่านั้น
    ๖. อันเนื่องมาจากสัมมาทิฏฐิ ศีล คือ เจตนา, เจตนา คือ ศีล เจตนาละเว้นจากความเบียดเบียนทำร้ายผู้อื่น ทำกาย วาจา ใจ ให้ผ่องใสเบิกบาน



    เจริญศีลอย่างไรให้เป็นสบายไม่ขัดข้องใจ


    ๑. ศรัทธา ใจจะถึงศีลได้เราก็ต้องมีศรัทธาก่อน นั่นคือ ศรัทธาพระพุทธเจ้า เชื่อองค์พระบรมศาสดา เชื่อการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าตรัสรู้ความจริง รู้เห็นเหตุ ปัจจัย แห่งกรรม รูู้ทางหลุดำ้นจากทุกข์จริง จึงทรงตรัสสอนเรื่องกรรม และ ทุกข์

    ศรัทธาในทางพระพุทธศาสนามีสี่อย่าง คือ

    • กัมมสัทธา เชื่อกรรม เชื่อกฎแห่งกรรม เชื่อว่ากรรมมีอยู่จริง คือ เชื่อว่า เมื่อทำอะไรโดยมีเจตนา คือ จงใจทำทั้งรู้ ย่อมเป็นกรรม คือ เป็นความชั่วความดีมีขึ้นในตน เป็นเหตุปัจจัยก่อให้เกิดผลดีผลร้ายสืบเนื่องต่อไป การกระทำไม่ว่างเปล่า และเชื่อว่าผลที่ต้องการ จะสำเร็จได้ด้วยการกระทำ มิใช่ด้วยอ้อนวอนหรือนอนคอยโชค เป็นต้น
    • วิปากสัทธา เชื่อวิบาก เชื่อผลของกรรม เชื่อว่าผลของกรรมมีจริง คือ เชื่อว่ากรรมที่ทำแล้วย่อมมีผล และผลต้องมีเหตุ ผลดีเกิดจากกรรมดี ผลชั่วเกิดจากกรรมชั่ว
    • กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน เชื่อว่าแต่ละคนเป็นเจ้าของ จะต้องรับผิดชอบเสวยวิบาก เป็นไปตามกรรมของตน
    • ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า มั่นใจในองค์พระตถาคต ว่าเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ ทรงพระคุณทั้ง ๙ ประการ(ตามบทสวดอิติปิโส หรือ พุทธคุณ นั่นเอง) ตรัสธรรม บัญญัติวินัยไว้ด้วยดี ทรงเป็นผู้นำทางที่แสดงให้เห็นว่า มนุษย์ คือเราทุกคนนี้ หากฝึกตนด้วยดีก็สามารถเข้าถึงภูมิธรรมสูงสุด บริสุทธิ์หลุดพ้นได้ ดังที่พระองค์ทรงบำเพ็ญไว้


    สัทธรรม, สัจจะ, ไตรลักษณ์ฺ, สัทธา ๔..เป็นเหตุแห่ง..หิริ-โอตตัปปะหิริ-โอตตัปปะ..เป็นเหตุแห่ง..ทาน, พรหมวิหาร ๔, ศีลศีล..เป็นเหตุแห่ง..สติ, จิตผ่องใสปราโมทย์, อิ่มใจ, สงบ, สุข, สมาธิ

    - พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เชื่อด้วยปัญญา ปัญญาพิจารณาในความเป็นเหตุเป็นผล ทบทวนตรวจสอบได้ สัมผัสและเห็นได้จริง ไม่ใช่เชื่อตามๆกันมา เอนเอียงเชื่อเพราะรักใคร่ เพราะเกลียด เพราะกลัว เพราะพลง เพราะไม่รู้ตามจริง
    ** ดังนั้นผู้ใดที่ไม่ศรัทธาพระพุทธเจ้าก็จะเข้าไม่ถึงธรรม ไม่ถึงความเป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ตามพระพุทธเจ้า จิตเข้าไม่เป็นพุทธะ หรือเข้าถึงได้ก็ยากลำบากมากเพราะมันจะมีกิเลสนิวรณ์คอยขัดไม่ให้เราเข้าถึงรู้แจ้งชัดได้

    ๒. พุทธะ คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
    ก. ศรัทธาความเป็นผู้รู้ของพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงรู้อะไร รู้แจ้งโลก รู้แจ้งธรรม รู้แจ้งสังขารธรรม รู้เหตุและผล รู้แจ้งดีและชั่ว รู้แจ้งคุณและโทษ รู้แจ้งชัดซึ่งกุศลและอกุศล รู้แจ้งชัดเรื่องกรรมและผลของกรรม รู้แจ้งชัดทางหลุดพ้นทุกข์และบ่วงกรรม ไม่มีใครเสมอเหมือน
    ข. ศรัทธาความเป็นครูผู้สอนเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ศรัทธาความเป็นครูผู้ฝึกสอนบุรุษเพื่อถึงความหลุดพ้นจากกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้เข้าถึงธรรมอันลึกซึ้งได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า เมื่อเชื่อสิ่งนี้เราก็จะเชื่อว่า..พระพุทธเจ้าสอนความจริง สอนทางกุศลดีงาม สอนทางชอบ สอนให้เรารู้จักกรรมและผลของกรรมตามความจริง พระตถาคตจึงได้ทรงสอนให้เราละเว้นในสิ่งที่ควรละ และ รู้จักเจริญในสิ่งที่ควรเจริญ

    ค. เมื่อพิจารณาตรึกตรองถึงความเป็นเหตุเป็นผลอันเป็นข้อละเว้นทางกายและวาจาที่เรียกว่า ศีล อันพระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ดีแล้ว ที่สอนให้เจริญข้อละเว้นเหล่านั้นให้มาก จะเห็นได้ว่า..พระพุทธเจ้าสอนให้เรารู้แจ้งประจักษ์ทุกข์จากการกระทำทั้งปวง และ ผลของกรรมที่จะสืบทอดติดตามเรามาให้ได้รับผลของกรรมนั้น ดังนี้คือ..
    - พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เราใช้ปัญญาอันแยบคายพิจารณากำหนดรู้ทุกข์ ทรงตรัสสอนให้เราเห็นโทษและทุกข์จากการที่ดำรงชีพอยู่โดยไม่รู้จักหรือไม่สนใจให้ความสำคัญว่าสิ่งไหนดีหรือชั่ว ถูกหรือผิด กุศลกรรมหรืออกุศลกรรม ดำรงชีพอยู่โดยความเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นอยู่เป็นนิตย์มันให้ผลลัพธ์เป็นยังไง มันเร่าร้อน ร้อนรุ่มกลุ้มรุม ให้ร้อนรนระส่ำไม่เป็นปกติที่สบายกายใจยังไง แล้วผลแห่งการกระทำเหล่านั้นในภายหน้าจะส่งผลสืบต่อให้เป็นไปอย่างไรต่อไป
    - พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เราใช้ปัญญาอันแยบคายพิจารณาเห็นสิ่งที่ควรละ ทรงตรัสสอนให้เรารู้เห็นตามจริงถึงเหตุอันเป็นต้นตอที่ทำให้กายใจเราเร่าร้อน ร้อนรุ่ม ระส่ำดั่งไฟสุมกลุ้มรุมกายใจ หลงลืมไม่มีสติ ไม่รู้จักถูกและผิด ไม่รู้จักดีและชั่ว ไม่รู้จักกุศลและอกุศล ไม่รู้จักสิ่งที่ควรและไม่ควร เป็นเหตุให้ไม่เกรงกลัวและละอายต่อบาปอกุศลและผลของบาปกรรมนั้น เป็นผู้มีปกติอุปนิสัยที่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่นอยู่เป็นนิตย์ นั่นก็คือ อภิชฌา และ โทมนัส สิ่งนี้เป็นเหตุให้เร่าร้อน สิ่งนี้เป็นเหตุที่ควรละ
    1. อภิชฌา ในคำนั้นเป็นอย่างไร คือ จิตใจไม่บริสุทธิ์ มีใจประสงค์ร้ายเบียดเบียนผู้อื่น จิตใจแอบแฝงใคร่ได้หวังช่วงชิงฉุดพรากประโยชน์สุขของผู้อื่นมาปรนเปรอเป็นของตน มีความติดใคร่ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความดีใจ ความยินดี ความเพลิดเพลิน ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน ความกำหนัดนักแห่งจิต เพ่งเล็งหมายปองอยากได้ของผู้อื่นมาครอบครองเป็นของตน นี้เรียกว่าอภิชฌา.
    2. โทมนัส ในคำนั้นเป็นอย่างไร คือ จิตใจขุ่นขัดไม่รื่นเริง ความไม่สำราญทางใจ ทุกข์ทางใจ ความตับแค้นใจ อัดอั้นใจ อึดอัดใจ เวทนาที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ ความโกรธ ความเกลียด ความเครียด ความแค้น ความพยาบาม ความมีจิตหมายให้ผู้อื่นฉิบหาย อันเกิดแก่สัมผัสทางใจ นี้เรียกว่า โทมนัส.
    - พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เราใช้ปัญญาอันแยบคายพิจารณาเพื่อทำความดับทุกข์ให้แจ้ง โดยทรงสอนให้เห็นผลอันเกิดจากความที่เรามีปกติเป็นผู้ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่นมันเป็นที่เบากายเย็นใจอย่างไร มีความรู้กายรู้ใจอยู่ทุกขณะไม่หลงลืม เป็นผู้ไม่ตระหนี่ ไม่ริษยา รู้ดีรู้ชั่ว ไม่มีอภิชฌา โทมนัส มาปรุงแต่ง

    ความดับทุกข์ พระองค์ทรงสอนให้เรารู้แจ้งถึงความสำราญเย็นใจรื่นรมย์ที่ได้รับจากความไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น มีจิตเป็นปกติ มีจิตเป็นสุขจากความไม่มี-ความดับไป-ความสื้นไปซึ่งเหตุแห่งทุกข์ที่ทำให้เร่าร้อนไม่สบายกายใจ ไม่ละอายเกรงกลัวต่อบาป เมื่อเหตุแห่งทุกข์นี้ๆดับความเร่าร้อนจึงดับไม่มีอีก จึงประกอบไปด้วยคุณ คือ ความปกติที่สงบสุขเย็นกายสบายใจเป็นผล
    - ทางที่จะดับเหตุแห่งทุกข์เหล่านั้นมีทางอยู่ทางเดียวคือ ศีล ทาน ภาวนา(อบรมจิตให้ตั้งมั่นและปัญญา)

    สุขจากการการละอภิชฌา โทมนัส



    เหตุแห่งทางที่จะละอภิชฌา-โทมนัส มี 3 ข้อดังนี้คือ


    ๑. หิริ
    ความละอายบาป ละอายใจต่อการทำความชั่ว

    หิริ (อ่านว่า [หิ-หฺริ]) แปลว่า ความละอายแก่ใจ ความละอายต่อบาป หมายถึงความละอายใจตัวเองต่อการทำความชั่วความผิด ต่อการประพฤติทุจริตทั้งหลายและความละอายใจตัวเองที่จะละเว้นไม่ทำความดีซึ่งควรจะทำให้เกิดมีในตน เช่นบิดามารดามีความละอายใจที่จะไม่ดูแลบุตรของตน เช่นนี้เรียกว่ามีหิริ
    หิริ เกิดขึ้นได้ด้วยการคิดถึงการศึกษา ฐานะ ยศศักดิ์ ชาติตระกูลของตน คิดถึงความเสียหายที่จะเกิดขึ้น รวมกับความแกล้วกล้าของจิตใจที่จะไม่ทำชั่วเช่นนั้น

    ดั่งพระเดชพระคุณ พระพุทธิสารเถระ หลวงปู่บุญกู้ อนุวัฒฑโน ครูของเราผู้เเป็นพระอรหันตสาวกของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระบรมศาสดา ท่านได้แสดงสัทธรรมเทศนาสอนเอาไว้ ซึ่งการนี้ผมจักขออนุญาตกล่าวตามในภาษาแบบที่ผมเข้าถึงได้ เข้าใจได้ ดังนี้ว่า..

    เรื่องกรรม
    การกระทำทั้งปวงของเราคือกรรม ไม่ว่าอดีต ปัจจุบัน อนาคต การทำเหล่าใดคือกรรมทั้งสิ้น ดังนี้เราทำในปัจจุบันนี้ให้ดีเพื่อสืบต่อให้ดีไปในภายหน้า จริงๆแล้วคนเราอาศัยของเก่ามา เป็นเหตุปัจจัยให้ได้รับผลกรรมจากสิ่งที่ทำในอดีตนั้นมาสู่ปัจจุบัน
    - หากของเก่าทำทานมาดีจึงมีฐานะบ้าง รวยบ้าง มีเงินใช้จ่ายมากมาย มีบริวารมาก
    - หากทำในศีลก็มีรูปร่างหน้าตาที่หมดจรดงดงาม ผิวพรรณดี อายุยืน ปราศจากโรคภัยเบียดเบียน
    - หากทำจิตภาวนามาดี ก็มีสติปัญญามาก เป็นคนฉลาดหลักแหลม
    - แต่จะมีสิ่งใดมากน้อยก็ตามแต่ของเก่าที่สะสมมา

    (ดูเทสนาหลวงปุ่บุญกู้ว่า.. ทำไมเราถึงต้องทำสะสมเหตุ )

    ตรลักษณ์ หรือโลกธรรม ๘
    ลาภ ยศ สรรเสริญ มันไม่เที่ยงอยู่ได้นานสึุดแค่หมดลมหายใจเรานี้ แต่สิ่งที่ติดตามเราไปก็ คือ กรรม คือบุญกับบาปเท่านั้น

    - ละโลภได้ทาน มีทาน..ใจเราก็อยู่เหนือโลภ
    - ละโทสะ ความโกรธแค้น ความพยาบาทเบียดเบียนได้ศีล มีศีล..ใจเราก็อยู่เหนือโทสะ
    - ละหลงได้ภาวนา มีภาวนาอบรมจิตใจให้ผ่องใสอยู่ตลอดเวลา รู้จักพอ ฉลาดในการปล่อยวาง ..ใจเราก็อยู่เหนือโมหะ ความหลงติดข้องอยู่กับสมมติของปลอมในโลก ใจก็อยู่เหนือโลก(โลกียะผู้ข้องด้วยกิเลสตัณหาทะยานอยาก)
    อานิสงส์
    การได้เกิดมาเป็นคนนี้มันยาก ต้องมีศีลจึงจะได้ไปเป็นคน เกิดมาเจอพระพุทธศาสนานี้ยากกว่า การได้พบเจอพระพุทธศาสนามีพระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนธรรมนี้ยากมาก ดังนั้น..ก่อนตายเราได้หาได้ทำกำไรชีวิตไว้แล้วหรือ สิ่งที่เป็นกำไรชีวิตของเราสะสมให้เราได้รับผลสืบไปนั้นคือ ทาน ศีล ภาวนา กุศลผลบุญทั้งปวงเหล่านี้เราได้ทำแล้วหรือยัง..
    - อานิสงส์จากการให้ทาน สละให้ และชอบช่วยเหลือแบ่งปันผู้อื่น ในภายหน้าก็จะสบายมีทรัพย์สิน ฐานะ บริวารดี มีมิตรกัลยาณมิตรมาก
    - อานิสงส์จากการเจริญศีล ก็ทำให้ได้เกิดมาเป็นคนอีก มีรูปพรรณสันฐานอันงาม ครบ ๓๒ ประการ ไม่พิกลพิการ ไม่มีคนมุ่งร้าย ศัตรูภัยพาลแพ้ภัยตนเอง
    - อานิสงส์จากการภาวนาอบรมจิต ก็ทำให้เป็นฉลาด มีไหวพริบไม่โง่ลุ่มหลงง่าย มีสติแยกแยะพิจารณาว่องไหว

    (ดูเทสนาหลวงปุ่บุญกู้ว่า.. ทำไมเราถึงต้องทำสะสมเหตุ )


    .. แต่หากเรายังไม่ได้ทำกำไรชีวิตสะสมเหตุเหล่านี้ก็เสียชาติเกิด ที่มีโอกาสได้เกิดเป็นคน ได้มาพบเจอพระพุทธศาสนา
    .. เพราะบางคนบางพวกลำบากยากแค้นไม่มีมิตรขาดคนช่วยเหลือดูแล บางคนจิตใจสกปรกชั่วร้าย บางคนโง่ไม่ฉลาดไม่ทันโลก ไม่มีสติ หลงง่าย เพราะเขาไม่มีโอกาสได้เจอพระพุทธศาสนา ไม่มีโอกาสได้ฟังธรรมแท้จริงนำทางชีวิตให้พ้นจา่กสิ่งที่ชั่ว จึงไม่รู้จักการสะสมเหตุ ทาน ศีล ภาวนา ทำผิดศีลธรรมอันงามอยู่มากมาย ก็ทาน ศีล ภาวนานี้แหละที่จะเป็นบุญบารมีติดตามเราไปทุกภพชาติตราบจนถึงพระนิพพานตามพระพุทธศาสดา

    (สิ่งที่ชั่ว โดยนัยยะที่เราเข้าใจ คือ สิ่งที่เป็นความเสื่อมเสีย เมื่อทำแล้วยังความเสื่อมเสียแห่งสติปัญญามาให้ ทำให้ใจเศร้าหมอง มัวหมองเร่าร้อนกาย วาจา ใจ ทำให้ดำรงชีพอยู่ด้วยความเย็นใจปราศจากเวรภัยต่อตนเองและผู้อื่นไม่ได้ นำเอาความฟุ้งซ่านไม่สงบกายใจ สัดส่ายเหลาะแหละ อ่อนไหวลุ่มหลงง่ายมาให้ มีชีวิตอยู่บนความเบียดเบียนทำร้ายตนองและผู้อื่นให้เดือนร้อนเสียหายอยู่เสมอ)

    ระลึกถึงฐานันดร โครต ตระกูล ทรัพย์สมบัติ สิ่งที่ทำ เฝ้าเพียรสร้างทำสะสมมา อริยะทรพย์ที่ตนสะสมมา เช่น ทาน สีล ภาวนาเป็นต้น
    ดังนี้แล้วเมื่อเรามีการศึกษาดี มีความรู้ มีหน้าที่การงาน มียศฐาบรรดาศักดิ์ มีฐานะดี มีอยู่มีกินดี มีสถานภาพการครองชีพของตนดีอยู่แล้ว สูงแล้ว เราจะไปเบียดเบียนทำร้ายกลั่นแกล้งคนอื่นหรือคนที่ต่ำกว่าเราไปทำไม เพื่อสิ่งใด ก็ทั้งๆที่ตนเองอยู่สูงกว่าเขามีฐานันดรที่ดีกว่าเขา ยศศักดินาดีอยู่แล้ว ยังจะไปเบียดเบียนเขาให้ได้อะไร ยิ่งเรามีดีกว่าเขาแล้วแต่เขาต่ำกว่าเราด้อยกว่าเรา เราจะยังไปเบียดเบียนทำร้ายเขาอีกทำไม อย่างนี้ก็เท่ากับว่าเราต่ำกว่าเขาเสียอีก..
    ก. ดั่งคำสอนของพระบรมศาสดา คือ ยศฐาบรรดา ศักดิ์ โครตเหง้า เหล่าตระกูลของของเราเป็นชนชั้นที่ดีแล้ว สูงแล้ว ท่านต่างทำสะสมมาดีแล้วเพื่อตัวเรา ดังนี้แล้วอย่าปล่อยให้อารมณ์ชั่ววูบ หรือสุขเพียงชั่วคราวของเรา ทำให้สิ่งที่บรรพบุรุษเราทำสะสมมาดีแล้วต้องพินาศสิ้นไป
    ข. ดั่งคำสอนของพระบรมศาสดา คือ อย่าปล่อยให้อารมณ์ชั่ววูบ หรือ สุขเพียงเล็กน้อยวูบวาบชั่วคราวเหล่านั้นของเรา มาทำให้สิ่งที่เราได้เพียรประครองสร้างสะสมเหตุมาดีแล้วนั้นต้องสูญเปล่า ทั้งโภคทรัพย์สมบัติ และ อริยะทรัพย์ที่ได้ทำมาดีงามแล้วทั้งหมดเหล่านี้ต้องสูญสิ้นวินาสพังลงไป..ด้วยการเสพย์เสวยอารมณ์ความรู้สึกชั่ววูบ หรือสุขเพียงเล็กน้อยที่เนื่องด้วยกายเพียงชั่วคราวเหล่านั้น..
    ค. ดั่งคำสอนของพระบรมศาสดา คือ ขัดเขลาใจด้วยความเห็นเสมอด้วยตน
    - เราไม่ชอบใจอย่างไร..ก็อย่าไปทำกับคนอื่นอย่างนั้น
    - สิ่งใดที่เราถูกกระทำแล้วรู้สึกอัดอั้นคับแค้นกายใจ เราก็อย่าไปทำกับคนอื่นอย่างนั้น
    - สิ่งใดที่เราทำ หรือถูกกระทำแล้วยังความเสื่อมฉิบหายให้เกิดมีแก่เรา เราก็อย่าไปทำกับคนอื่นเขาอย่างนั้น

    ..เช่น เราเป็นหัวหน้างาน มีตำแหน่งหน้าที่การงานฐานะดีใหญ่โตอยู่แล้ว ยังไปแกล้งลูกน้องที่ต่ำกว่าตน ไปเลียดเลียนเขา คอยหาทางกลั่นแกล้งทำร้ายเขา ทั้งๆที่ตนอยู่สูงกว่า ทำเหมือนอิจสา ริษยาเขา เทียบเขาไๆม่ได้ทั้งๆที่เขาต่ำกว่าตนแท้ ทำให้ให้ตนเศร้าหมองเร่าร้อนที่ต้องคอบหาทางเบียดเบียนทำร้ายเขา เป็นเหตุให้ตนอยู่แบบธรรมดาดีๆสบายๆเย็นใจไม่ได้ แถมยังเป็นบาปเป็นกรรมสะสมพกติดตัวไปด้วยอีกต่างหาก มิหนำซ้ำยังทำให้ตนเองและครอบครัวเสื่อมเสียเปล่าๆ หากมีใครมาคอยตั้งแง่ อคติ ๔ คือ ลำเอียงเพราะรัก เพราะชัง เพราะกลัว เพราะไม่รู้ตามจริง กับเรา คอยทำแบบที่เราทำเขานี้ทั้งๆที่เราไม่เคยคิดร้ายไม่เคยทำความเดือร้อนเบียบดเบียนให้เขา ดังนี้แล้วเราเป็นสุขหรือสำราญใจมากใช่หรือไม่ ก็คงไม่ใช่ใช่ไหม สุดท้ายทุกสิ่งทุกอย่างทั้งปวงอันเป็นที่รัก ที่เจริญใจ ที่แสวงหา ต้องการ อยู่ได้นานสุดก็แค่หมดลมหายใจเรานี้เท่านั้น แล้วยังจะไปเบียดเบียนเขาอีก โกงกินชาติ ทำร้ายผู้อื่น หรือคนที่ต่ำกว่า หรือโกงกินทำร้ายประเทศชาติ มันก็สะสมกรรมชั่ว บารมีชั่วไว้เสวยทั้งที่ตอนยังมีชีวิตอยู่ บ้ั้นปลายชีวิต ภพ ภูมิ ชาติหน้าสืบไป
    คนเราเกิดแต่กรรมสุดท้ายก็มีแต่บุญกับบาปเท่านั้นที่ติดตามเราไปปได้ สิ่งของ เงินทอง ชื่อเสียง มันอยู่ไม่นาน แต่ที่ยั่งยืนนานติดตามเราไปทุกๆขณะเวลา ทุกวัน ทุกปี ทุกภพ ทุกภูมิ ทุกชาติ คือ กรรม วิบากกรรมเท่านั้น ยศฐา ทรัพย์สิ่น สิ่งของหรือบุคลอันเป็นที่รักไม่ได้ตายติดตามเราไปด้วย รู้อย่างนี้กระนั้นยังจะสะสมบาปกรรมไปเพื่ออะไร ที่ตนมีอยู่มันก็ดีอยู่แล้ว ควรทำจิตให้ผ่องใส มีใจเอื้อเฟื้อ เว้นจากความเบียดเบียน ทำทาน ศีล ภาวนาอบรมจิต ไม่เหลาะแหละอ่อนแอหวั่้นไหวไปกับสิ่งที่ชั่ว สะสมเหตุในกุศลกรรมทั้งปวงเหล่านี้ มันจะสะสมเหตุดีบารมีกุศลติดตามเราไปให้ได้เสวยสุขรำราญในภายภาคหน้าทุกชาติภพ ตราบจนถึงพระนิพพานนั้นแล



    ๒. โอตตัปปะ ความกลัวบาป เกรงกลัวต่อความชั่วและผลของกรรมชั่ว

    โอตตัปปะ (อ่านว่า โอดตับปะ) แปลว่า ความเกรงกลัว หมายถึงความสะดุ้งกลัวต่อผลของความชั่ว ต่อผลของความทุจริตที่ทำไว้
    โอตตัปปะ เป็นอาการของจิตที่หวั่นไหวเมื่อจะทำความชั่ว เพราะกลัวความผิดที่จะตามให้ผลในภายหลัง เกิดขึ้นได้เพราะคิดถึงโทษหรือความทุกข์ที่จะเกิดขึ้นจากการทำชั่ว จากการประพฤติทุจริตของตน เช่น ตัวเองเองต้องเดือดร้อน เกิดความเสียหาย เสียทรัพย์สินเงินทอง เสียอิสรภาพ หรือถูกคนอื่นตำหนิติเตียน ถูกสังคมรังเกียจ เป็นต้น
    ง. ดั่งคำสอนของพระบรมศาสดาใน ศรัทธา ๔ ที่ว่า
    _สัพเพ สัตตา กัมมัสสะกา กัมมะทายาทา
    _กัมมะโยนิ กัมมะพันธุ กัมมะปะฏิสะระณา
    ..สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงมีกรรมเป็นของของตน, มีกรรมเป็นผู้ให้ผล,
    ..มีกรรมเป็นแดนเกิด, มีกรรมเป็นผู้ติดตาม,มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศ้ย
    _ยัง กัมมัง กะริสสันติ, กัลฺยาณัง วา ปาปะกัง วา,
    _ตัสสะ ทายาทา ภาวิสสันติ
    ..จักทำกรรมอันใดไว้, เป็นบุญหรือเป็นบาป,
    ..จักต้องเป็นผู้ได้รับผลกรรมนั้นๆ สืบไป
    - ความเสมอด้วยความรู้สึกนึกคิด คือ สิ่งมีชีวิตในโลกล้วนมีชีวิตจิตใจ มีความรู้สึกที่เสมอด้วยกัน ดังนี้จึงมีรัก มีโลภ มีโกรธ มีชอบ มีชัง มีลุ่มหลง เสมอด้วยกันทั้งสิ้นไม่ต่างกัน เมื่อเสมอด้วยกันแล้วจะอคติลำเอียงด้วยเลิกเพราะรัก เพราะชัง เพราะกลัว เพราะไม่รู้จริงกันเพื่อสิ่งใด ดังนี้ควรมีใจเป็นกลางเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกันเพื่อประโยชน์และความสุขด้วยกัน เมื่อต่างคนต่างมีแต่สุขสำเร็จดีงามเสมอด้วยกันแม้จะในรูปแบบที่ต่างๆกันไปตามแต่ฐานะ สัตว์ย่อมไม่มีความปองร้ายเบียดเบียนกันให้รุ่มร้อน ร้อนรน ยังความฉิบหายให้กัน ไม่ทำร้ายกันสืบไป (ผู้ใดละเว้นความเบียดเบียนได้มากย่อมมีใจสูงกว่าและทุกข์น้อยกว่าคนที่เบียดเบียนเขามาก)
    - ความเสมอด้วยกรรม ก็เมื่อสัตว์โลกทั้งหลาย ไม่ว่าจะงาม ทราม หยาบ ละเอียด ใหญ่ ยาว ขาว ดำหรือไรๆ ต่างมีกรรมเป็นแดนเกิด พึ่งพา อาศัย ติดตาม เป็นทายาทได้รับผลของกรรมนั้นสืบไปเสมอด้วยกัน จึงต้องมายึดครองขันธ์ ๔ เสมอกัน มาพบเจอกัน เพราะติดค้างกัน หรือทำร่วมกันมาแต่กาลก่อนไม่ว่า จะเป็นกุศลกรรม หรือ อกุศลกรรมก็ตาม จึงทำให้มี ฐานะ รูปร่าง สันฐานที่ต่างกัน ได้รับโอกาสดีๆต่างกัน มาเจอกันบางฝ่ายเกื้อกูลกัน บางฝ่ายทำร้ายกัน ดังนี้แล้วเมื่อต่างก็เกิดแต่กรรม มันก็ไม่ต่างกัน แล้วจะแบ่งแยกกันเลือกที่รักที่ชังไปเพื่ออะไร เขาเป็นอย่างนั้นก็เพราะกรรมเก่าและใหม่ที่เขาได้ทำสะสมมาให้เป็นไป เราเป็นอย่างนี้ก็เพราะกรรมเก่าและใหม่ได้ทำสะสมมาให้เป็นไป เมื่อเสัตว์ต่างก็มีกรรมเป็นแดนเกิด พึ่งพา อาศัย ลิขิต สืบสานติดตามเสมอกัน จะทำการกระทำใดๆอันเบียดเบียนกันเพื่อสิ่งใด
    - กายในกายที่เสมอกัน ไม่ว่าคนหรือสัตว์ ก็แค่อาการ ๓๒ ธาตุ ๖ ที่ประกอบเข้ากันเสมอกันทั้งสิ้น ดังนี้แล้วจะไปจงเกลียด จงชัง ลุ่มหลง รังแก กันเพื่อประโยชน์เหล่าใด มีหูซ้ายข้างเดียวเสมอกัน มีปอด 2 ข้างเสมอกัน มีเส้นเลือดเหมือนกัน มีเนื้อหนังเหมือนกัน จะกลั่นแกล้งกันก็เหมือนเราแกล้งตนเอง เพราะมีไม่ต่างกัน ดังนี้แล้วจะเลือกที่รัก มักที่ชัง เบียดเบียนทำร้ายกันเพื่อสิ่งใด ให้เป็นเวรเป็นกรรมอันเร่าร้อนกายใจซึ่งกันและกันเปล่าๆ กลั่นแกล้ว หรือผูกพยาบาทหวังทำร้ายฆ่ากันให้ฉิบหายไปข้างข้ามภพขชาติเหมือนพระองคุลีมาลย์ ที่ต่างเจ็บปวดเสมอกันทั้งผู้รับและผู้กระทำข้ามภพชาติกัน ไม่มีความสุขความเจริญเหล่าใดเกิดขึ้น มีแต่ความฉิบหายเท่านั้นที่จะเกิดขึ้นตั้งอยู่แก่กันและสืบไปทุกครั้งที่พบเจอกัน
    - แรงกระทำเสมอกันกับแรงสะท้อนกลับ เพราะการกระทำทั้งปวงจะมีพลังสะท้อนกลับสู่เราทั้งสิ้น ทำดี เราก็ได้ดี เหมือนมีคนดีกับเรา..เราก็รักใคร่เคารพเขา ฉันใด เราเว้นจากความเบียดเบียนแก้ใคร..เราก็ได้รับเย็นกายสบายใจกลับคืนมาฉันนั้น เพราะไม่มีความเร่าร้อน ไปอยู่ที่ใดก็เย็นใจผ่องใสเป็นที่สบาย ไม่ต้องกลัว ไม่ต้องระแวง ใครจะมาดีกว่าตน จะอยู่สูงกว่าตน หรือจะมาทำร้ายตน ไม่ต้องแสวงหาอาทรเอาสิ่งมด หรือความเคารพศรัทธาจากใครเพราะการทำดีมีใจเอื้อเฟื้อเว้นจากความเบียดเบียนของเรามันสร้างสิ่งนี้ให้แก่เราอยู่แล้ว ไม่มีความอิจฉา ริษยาต่อใคร ไม่ตระหนี่หวงแหนวิตกกังวลใจ
    หากคนเรามีกรรมเสมอกันไปในทิศทางเดียวกัน ย่อมมีความคิดนิสัย การกระทำที่เอื้อเฟื้อกัน หากทุกคนมีกรรมดีทั้งหมดเสมอด้วยกัน ก็ย่อมช่วยเหลือเกื้อกูลให้ซึ่งกันและกันให้ได้ดี ไม่เดบียดเบียนทำร้ายให้กันและกันต้องเป็นทุกข์กายใจ ดังนี้แล้วเราควรแผ่และควรกระทำทาง กาย วาจา ใจ อันดีงามมีจิตผ่องใส มีใจเอื้อเฟื้อ เว้นจากความเบียดเบียนของเราให้แก่เขาเสมอกันกับที่เราจำเริญใจ


    โอตตัปปะ เป็นธรรมคุ้มครองโลกคู่กับหิริ เพราะคนที่มีโอตตัปปะย่อมกลัวที่จะทำความผิด ทำให้งดเว้นจากการประพฤติต่างๆ ได้ อันเป็นเหตุให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข เกิดสันติภาพขึ้น





    ๓. กำหนดรู้ทุกข์ แล้วสืบต่อครบไปในรอบ ๓ อาการ ๑๒ ใน พระอริยะสัจจ ๔

    - สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระบรมศาสดาทรงตรัสสอนให้เราใช้ปัญญาอันแยบคายพิจารณากำหนดรู้ทุกข์ ทุกขอริยะสัจ พระอริยะสัจ ๔ พิจารณาดูสภาพความเป็นไปในสิ่งต่างๆเพื่อความแจ้งแทงตลอด ดังนั้นให้เรากำหนดรู้ซึ่งทุกข์เพื่อเข้าถึงความเป็นธรรมชาติของโลกจากสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น
    - กำหนดรู้ทุกข์โดยธรรมชาติ สภาวะอาการ ความรู้สึก ที่เกิดมีแก่ตนว่า..

    1/1. เมื่อเสพย์สิ่งนี้ๆ.. ความรู้สึกหน่วงนึกที่ได้เสวยต่ออารมณ์นั้นเป็นไฉน ลักษณะ อาการ สภาวะ ความจำสำคัญมั่นหมายรู้ในอารมณ์ ความตรึกนึก มุมมองต่างๆจากการรับรู้สัมผัสทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เหล่านั้นเป็นอย่างไร
    1/2. เมื่อสิ่งนี้ๆเกิดมีขึ้นในเรา เรามีสิ่งนี้ๆแล้ว.. ความรู้สึกหน่วงนึกที่ได้เสวยต่ออารมณ์นั้นเป็นไฉน ลักษณะ อาการ สภาวะ ความจำสำคัญมั่นหมายรู้ในอารมณ์ ความตรึกนึก มุมมองต่างๆจากการรับรู้สัมผัสทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เหล่านั้นเป็นอย่างไร

    2/1. เมื่อไม่เสพย์สิ่งนี้ๆ.. ความรู้สึกหน่วงนึกที่ได้เสวยต่ออารมณ์นั้นเป็นไฉน ลักษณะ อาการ สภาวะ ความจำสำคัญมั่นหมายรู้ในอารมณ์ ความตรึกนึก มุมมองต่างๆจากการรับรู้สัมผัสทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เหล่านั้นเป็นอย่างไร
    2/2. เมื่อไม่มีสิ่งนี้ๆเกิดมีขึ้นในเรา เราไม่มีสิ่งนี้ๆแล้ว..ความรู้สึกหน่วงนึกที่ได้เสวยต่ออารมณ์นั้นเป็นไฉน ลักษณะ อาการ สภาวะ ความจำสำคัญมั่นหมายรู้ในอารมณ์ ความตรึกนึก มุมมองต่างๆจากการรับรู้สัมผัสทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เหล่านั้นเป็นอย่างไร
    ๑ก.การที่เรามีชีวิตอยู่ตามปรกติด้วยความ ไม่มีศีลธรรมข้อละเว้น คือ มีปรกติอยู่ด้วยการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ มั่วกามเมถุน พูดปด ส่อเสียด หยาบคาย กินเหล้าเมายา อยากได้ของคนอื่นมาเป็นของตน หมายใจแย่งชิงเอาของผู้อื่นมาครอบครอง ตระหนี่ ริษยา เป็นผู้มักโกรธ โวยวาย อารมณ์ร้าย มักอคติลำเอียงเพราะรัก-ชัง-กลัว-ไม่รู้ เป็นปรกตินิสัย ชีวิตเรานี้มันสุขเย็นกายสบายใจ หรือ ต้องร้อนรุ่ม เร่าร้อน แสวงหา หมกมุ่นใคร่ที่จะได้เสพย์สมในสิ่งนั้นๆหรือไม่อย่างไร

    ๑ข. การ
    ที่เรามีชีวิตอยู่ตามปรกติด้วยความ มีศีลธรรมข้อละเว้ คือ มีปรกติอยู่ด้วยการไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ผิดมั่วกามเมถุน ไม่พูดปด ไม่ส่อเสียด ไม่หยาบคาย ไม่กินเหล้าเมายา ไม่หมายเอาของคนอื่นมาเป็นของตน ไม่หมายใจแย่งชิงเอาของผู้อื่นมาครอบครอง ไม่ตระหนี่ ไม่ริษยา ไม่เป็นผู้มักโกรธ มีความยุติธรรมเป็นกลางไม่อคติลำเอียงเพราะรัก-ชัง-กลัว-ไม่รู้ เป็นปรกตินิสัย ชีวิตเรานี้มันสุขเย็นกายสบายใจ หรือ ต้องร้อนรุ่ม เร่าร้อน แสวงหา หมกมุ่นใคร่ที่จะได้เสพย์สมในสิ่งนั้นๆหรือไม่อย่างไร

    ๒ก. ความสุขในการ ไม่เจริญศีลข้อละเว้นทาง กาย วาจา ใจ ของพระพุทธเจ้านั้น ..
    สุขนี้มันอยู่ยั่งยืน ขัดเกลาใจเราให้ไม่เร่าร้อนเย็นใจอยู่เป็นสุขได้โดยไม่อาศัยเครื่องล่อใจเหล่าใด ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ติดใคร่ไหลตาม ไม่หมกมุ่นความเสพย์สมอารมณ์หมาย หรือ สุขเกิดขึ้นเพียงชั่ววูบแล้วก็ดับไป แล้วก็แสวงหาทะยานใคร่กระทำต่อเรื่อยๆจนเป็นจริต อุปนิสัย

    (จึงมักมีคำสอนว่าคนดีทำดีง่าย ทำชั่วได้ยาก คนชั่วทำดียาก ทำชั่วได้ง่าย สุขทางโลกมันเริ่มจากสุขมากไปหาความทุกข์ยากลำบากเสื่อมสูญในภายหน้า ไม่คงอยู่เที่ยงแท้ยั่งยืนอยู่นานสุดก็แค่หมดลมหายใจเรานี้เท่านั้น ยิ่งเสพย์ยิ่งขาดทุนยิ่งทุกข์ยิ่งเร่าร้อนสูญเสีย ยังผลให้บารมีการขาดทุนเสื่อมสูญติดตามเราไปทุกภพทุกชาติ)

    ๒ข. ความสุขในการ เจริญศีลข้อละเว้นทาง กาย วาจา ใจ ของพระพุทธเจ้านั้น
    ..สุขนี้มันอยู่ยั่งยืน ขัดเกลาใจเราให้ไม่เร่าร้อนเย็นใจอยู่เป็นสุขได้โดยไม่อาศัยเครื่องล่อใจเหล่าใด ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ติดใคร่ไหลตาม ไม่หมกมุ่นความเสพย์สมอารมณ์หมาย หรือ สุขเกิดขึ้นเพียงชั่ววูบแล้วก็ดับไป แล้วก็แสวงหาทะยานใคร่กระทำต่อเรื่อยๆจนเป็นจริต อุปนิสัย

    (จึงมักมีคำสอนว่าคนดีทำดีง่าย ทำชั่วได้ยาก คนชั่วทำดียาก ทำชั่วได้ง่าย สุขทางธรรมมันเริ่มจากทุกข์ยากลำบากไปหาอมตะสุขที่ไม่มีเสื่อม เป็นบารมีกำไรชีวิตพอกพูนขึ้นติดตามเราไปในทุกภพทุกชาติ)
    ก. พิจารณาดูว่า..จากการก้าวล่วงเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ทางมโนกรรม, วจีกรรม และ กายกรรม มันส่งผลยังไง มันดีหรือไม่ดี เป็นสุขหรือเป็นทุกข์ ร้อนรุ่มหรือขัดเกลาใจให้เราเย็นสบายกายใจอยู่ได้ด้วยไม่อาศัยเครื่องปรนเปรล่อใจสิ่งใด
    ข. พิจารณาดูว่า..จากการไม่ก้าวล่วงเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ทางมโนกรรม, วจีกรรม และ กายกรรม ดั่งในศีล ๕ เป็นต้น มันส่งผลยังไง มันดีหรือไม่ดี เป็นสุขหรือเป็นทุกข์ ร้อนรุ่มหรือขัดเกลาใจให้เราเย็นสบายกายใจอยู่ได้ด้วยไม่อาศัยเครื่องปรนเปรอล่อใจสิ่งใด





    - ทำกายและวาจาให้ตั้งอยู่ในละเว้นซึ่งความเบียดเบียน เมื่อเข้าถึง กรรม ไตรลักษณ์ หิริโอตัปปะ แล้ว เกิดความเห็นชอบ สัมมาทิฐิ จิตย่้อมแล่นลงในศีลอันงาม ศีลที่เป็นปรกติของจิต มีความเย็นใจไม่เร่าร้อน มีใจชื่นบานผ่องใส ที่เป็นไปเพื่อความหลุดพ้นจากกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ จะเหลือศีลเพียงข้อเดียว คือ ศีลใจ นั่นคือ มีเจตนาเป็นศีลนั่นเอง
    ..เช่น..หากเราบวชอยู่แล้วบังเอิญคิดถึงผู้หญิงแล้วเกิดน้ำสุกกะหลั่งโดยไม่ได้ไปสัมผัสอวัยวะเพศแต่อย่างใดไม่มีการจับ หนีบ ลูบ แตะ เกร็งทั้งสิ้น ข้อนี้ยังไม่ถึงสังฆาทิเสส แต่อาจลงเป็นอาบัติสะสมคือ ทุกกฏ ดีที่สุดคือถามครูอุปัชฌาย์ แล้วปลงอาบัติ ขออยู่ปริวาสเพื่อล้างอาบัติยิ่งดีใหญ่
    ต่อมาด้วยประการดังกล่าวจากความบังเอิญแล้วตนทำใจไว้ว่า ตนแค่คิดถึงผู้หญิงน้ำสุกกะก็หลั่งได้ ให้น้ำสุกกะไหลโดยไม่ได้เอามือจับแตะทำชักว่าว โดยประมาณคาดว่าไม่สำเร็จสังฆาทิเสส ..หลังจากนั้นก็ทำความนึกถึงผู้หญิงลงกามเมถุนด้วยหมายให้น้ำสุกกะหลั่งเองอีก จนสำเร็จผลตามต้องการ ถือเป็นอาบัติสังฆาทิเสส คือ เจตนาแกล้งให้น้ำอสุจิเคลื่อนไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม แม้ไม่ใช้มือ ร่างกายทำ แต่มีเจตนาให้สำเร็จความใคร่น้ำสุกกะหลัง ด้วยรู้ว่าตนเองแค่ทำความนึกถึงในเมถุนด้วยประการอย่างนี้ๆน้ำสุกกะก็หลั่งได้

    ดังนั้นภิกษุในพระธรรมวินัยนี้จึงมีเจตนาละเว้นสิ่งเหล่าใดทั้งปวงที่ก่อให้เกิดการผิดพระวินัยทั้งปวง มีเจตนาเป็นศีล มีเจตละเว้น มีศีลเป็นเครื่องขัดเกลากิเลส แกุศลอันลามกจัญไรทั้งปวง เพื่อถึงซึ่งความหลุดพ้น ความไม่มีอีก

    * การอาบัติในทางพระวินัย ร่วมด้วยเจตนา ๓ คือ
    1. กระทำที่ใจ
    2. ลงมือกระทำตามวิธีต่างๆ ไม่ว่าจะด้วย กาย วาจา ใจ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์เป็นอันที่ตนต้องการ สำเร็จผลตามที่ตนต้องการ แต่ผลสำเร็จนั้นเป็นข้อห้าม ข้อละเว้น ข้ออาบัติในพระธรรมวินัย
    3. ทำสำเร็จ
    * หากครบองค์ ๓ ก็เป็นอาบัติตามพระวินัยทันที หากมีเจตนากระทำ แต่ไม่ได้ทำก็ยังไม่อาบัติในข้อนั้นๆ หากเจตนาทำและได้ทำแล้วแต่ไม่สำเร็จก็เป็นอาบัติอีกอย่าง อุปมาเหมือนทางโลกที่มีแบ่งโทษคดีหนังเบาในการฆ่าคน เป็น ฆ่าโดยเจตนา ฆ่าโดยไม่เจตนา ฆ่าโดยเจตนาและไตร่ตรองไว้ก่อน ซึ่งโทษจะหนักเบาต่างกันไป *




    ** ด้วยเหตุของการแสดงธรรมแห่ง หิริ-โอตตัปปะ คือ กรรม วิบากกรรม, โลกธรรม ๘, อานิสงส์, ความเสื่อม ความสูญเสียแห่งโภคทรัพย์และอริยะทรพย์ที่ตนสะสมมา ความเห็นเสมอกันไม่แบ่งแยกเขา-เรา ลงสู่การกำหนดรู้ทุกข์ เข้าสู่พระอริยะสัจ ๔ ทั้งหมดนี้แลทำให้ความละอายเกรงกลัวต่อบาปนี้ เกิดมีลงใจแก่ผู้ที่สะสมเหตุบารมีมาดีแล้ว ควรแก่การทำ ทาน ศีล ภาวนา ให้ถึงซึ่ง สุจริต ๓ และ มหาสติปัฏฐาน เพื่อยังโพชฌงค์ ๗ ให้เกิดขึ้น ถึงแก่วิมุติธรรม วิมุติสุข





    ศีล ต้องบริสุทธิ์แค่ไหนถึงจะเกิดสมาธิ


    ศีลของตนนั้นบริสุทธิ์พอจะเป็นสัมมาสมาธิได้ไหม ให้พิจารณารู้สภาวะจิตของตนดังนี้คือ

    ขณะที่เราเจริญในศีลนั้น มีจิตประครองอยู่ด้วยความเพียรเผากิเลสอกุศลธรรมอันลามกจัญไร เพื่อปิดกั้นบาปอกุศลทั้งปวงที่ยังไม่เกิดขึ้นหรือที่เกิดขึ้นแล้ว

    ขณะที่เราเจริญในศีลนั้น เรามีความตื่นตัวรูู้ตัวอยู่เสมอๆหรือไม่ รู้ปัจจุบันขณะที่ตนกำลังดำเนินไปอยู่เสมอๆ ทุกๆขณะที่ทำอะไรหรือไม่ ทำให้สติตั้งมั่นเป็นอารมณ์เดียว น้อมนำจิตให้จดจ่อตั้งมั่นตาม ทำให้ถึงความสงบใจไม่กวัดแกว่งไปตาม อภิชฌา โทมนัส ทำให้เราไม่เร่าร้อนกายใจ มีจิตประครองอยู่ด้วยความเพียรเผากิเลสอกุศลธรรมอันลามกจัญไร

    - มีศีลอยู่ด้วยความเย็นเบาใจ เป็นที่สบาย ไม่เร่าร้อน จิตไม่ติดใจข้องแวะสิ่งไรๆ ไม่ฟุ้งซ่านผูกใจคิดระคนสุมรุมใจ มีความปลดปล่อยใจให้สบาย ไม่ติดใจข้องแวะสิ่งไรๆ จิตแช่มชื่นชื่นบาน ไม่ฟุ้งซ่าน ศีลลงใจเป็นเจตนาไม่กระทำเจตนาต่ออารมณ์อันเร่าร้อน ร้อนรุ่ม มีความสบายกายใจ จิตนี้เหมาะควรจะทำสมาธิ

    - ศีลเครื่องละเว้นขัดเกลาจิตจากความเบียดเบียนและเครื่องเศร้าหมองทั้งปวงอันพระบรมศาสดาตรัสไว้ดีแล้ว ย่อมทำให้เย็นใจไม่เร่าร้อน
    - ความเย็นใจไม่เร่าร้อน มีความผ่องใสชื่นบานเบาสบายไม่ตรึงหน่วงจิตเป็นอานิสงส์
    - จิตที่ผ่องใสไม่เศร้าหมอง มีความอิ่มใจเป็นอานิสงส์
    - ความอิ่มใจซาบซ่าน มีความสงบเป็นอานิสงส์
    - ความสงบอันบริสุทธิ์ปราศจากความเจือปน มีสุขเป็นอานิสงส์
    - ความสุขอันแช่มชื่นรมย์อันบริสุทธิ์ปราศจากเครื่องล่อใจ มีสมาธิเป็นอานิสงส์
    - จิตที่ตั้งมั่นแนบแน่นไม่ปรุงแต่งสมมติเหล่าใด มีสติอันบริสุทธิ์ บริบูรณ์ ไม่ทำ ไม่บังคับ ไม่ปรุงแต่ง มีปัญญาเป็นอานิสงส์


    เมื่อล่วงพ้นเกินกว่าอุปนิสัย แต่เป็นเจตนาเครื่องละเว้นอันแจ้งแทงตลอดลงใจ มันมีแต่ความเย็นกายสบายใจ ไม่เร่าร้อน จิตผ่องใส เย็นใจ ไม่คิดมาก ไม่คิดร่ำไร ไม่เพ้อรำพัน ตั้งมั่นอยู่ด้วยปัจจุบัน ไม่สัดส่ายคำนึงถึงสิ่งอันเป็นเครื่องเร่าร้อนเหล่าใดทั้งปวง

    จิตแต่นั้นก็เข้าสมาธิได้ง่ายไม่ลำบาก ไม่ตั้งมั่นผิด







    ๑. การทำเหตุ การปฏิบัติแรกๆมันยาก การทำดีมันยาก ค่อยๆทำไปทีละนิดสะสมไปเรื่อยๆ ทำบ่อยๆ ทำกุศลให้มากในกาย วาจา ใจ เรื่องอกุศลก็ค่อยๆลดลง อดทนอดกลั้นสำรวมระวังต่ออกุศลไว้ให้มันทิ้งระยะห่างให้นานขึ้นจึงเกิดมีเข้าแทรกได้ แล้วเว้นระยะห่างไปเรื่อยๆจนมันเว้นขาดจากกาย,วาจา,ใจของเรา
    - เวลามันคิดชั่วเราก็คิดดีแทรกแทรงโดยทำใจให้เอื้อเฟื้อปารถนาดี แบ่งปัน สงเคราะห์ให้

    ๒. ผลของวิบากกรรมที่ไม่มี ศีล ทาน ภาวนา คนที่ชอบทำร้ายเบียดเบียนคนอื่นให้ช้ำใจ พรากชีวิตผู้อื่นนั้น ลักขโมยของผู้อื่น ชอบไปผิดลูกเมียเขา พรากคนรักเขา กระทำไม่ดีชอบด่า ชอบว่าให้ร้ายคนอื่น ยุยงให้ผู้อื่นแตกคอกัน ชอบลุ่มหลงมอมเมาขาดสติในกามารมณ์ ในสุรายาเสพย์ติดที่ทำให้ขาดสติ ระลึกไม่ได้ นั่นเพราะมีนิสัยสันดานติดมาจากนรกมันสะสมมานาน และเพราะเขาได้สะสม ศีล ทาน ภาวนามา มากพอก็จะมาเกิดเป็นคนได้ พอมาได้เกิดเป็นคนแต่กรรมอกุศลทั้งปวงที่เขาทำมานั้นมีมากทำให้เขามีหน้าตาดุร้ายบ้าง พิการบ้าง หม่นหมองไม่งดงามบ้าง และสันดานจากนรกที่เคยเป็นสัตว์นรถที่ทำไม่ดีนี้สะสมมามากติดตามเขามาด้วย เขาเลยยังแก้ไม่ได้ ยังทำกาย วาจา ใจ เบียดเบียนทำร้ายตนเองและผู้อื่นอยู่ แล้วเขาไม่ทำเหตุในกุศลเพิ่มมันก็ยิ่งชั่วไปใหญ่

    ๓. ทำจิตเป็นมิตรสงเคราะห์เขา เมื่อเขามีกรรม มีวิบากกรรมอย่างนั้นเราก็ไม่พึงข้องใจในเขา อย่าไปติดใจในเขา พึงสงเคราะห์เขาเสีย อย่าไปคิด พูด ทำ เพื่อเบียดเบียนเขาเพิ่มเติมซ้ำเติมเขาอีก เขาเป็นอย่างนั้นทั้งกายและใจเขาก็ได้รับทุกข์มามากพอแล้ว ทั้งเร่าร้อน, ร้อนรุ่ม, ถูกไฟกิเลสกรรมไฟนรกแผดเผาต้องกายใจให้หดหู่, วุ่นวาย, ฟุ้งซ่านมามากเต็มที่เขาแล้ว ควรอดโทษไว้แก่เขาสงเคราะห์เขาเสีย

    ๔. มองพิจารณาในวิบากกรรมย้อนมาสู่ตน หากนิสัยจากนรกที่ติดตามมานี้เป็นตัวเราเอง เมื่อรู้ว่านิสัยในนรกของเรามีมาก วิบากกรรมจากนรกมันติดตามเรามามาก ก็ให้เพียรเจริญในกุศล ศีล ทาน ภาวนา ให้มากสะสมไปเรื่อยๆ เมื่อมันดีมีกำลังเรียกว่า พละ ๕ มันก็จะกลายเป็นอุปนิสัย คิด พูด ทำ ในกุศลโดยชอบไม่เร่าร้อนเป็นทุกข์ ท่านผู้รู้ผู้ภาวนาท่านมองมาดูที่ตนเองอย่างนี้ เมื่อเป็นอุปนิสัยก็จะกลายเป็นจริตสันดาน ตามไปทุกภพชาติ เมื่อมีจริตสันดานในกุศลที่เต็มที่เต็มกำลังใจก็กลายเป็นบารมี อินทรีย์ก็จะแก่กล้า ทีนี้จิตมันจะไม่ปล่อยให้อกุศลเล็ดลอดออกมาได้ ภาวนาก็ให้รู้ลมหายใจมีพุทโธนี้แหละ พิจารณาธาตุ ๖ ตามบทสวดมนต์ธาตุไป




    เทศนาหลวงปู่บุญกู้ อนุวัฑฒโน วันที่ 12 กุทภาพันธ์ 2559 มีเทสนาโดยย่อที่เราพอจะจำได้โดยรวมๆดังนี้

    ท่านสอนว่า โลกเรานี้มีหลายทวีป คนเกิดในทวีปใด บ้านใด เมืองใด ก็นับคือจารีตประเพณี ความเชื่อ และ ศาสนาตามในพื้นที่นั้นต่างๆกันไปไม่ใช่ว่าจะเกิดมาเจอพระพุทธศาสนาทุกคน พระพุทธเจ้า พุทธะ คือผู้รู้ รู้แจ้งโลก รู้แจ้งสังขาร รู้แจ้งเรื่องบาปบุญคุณโทษ เวรกรรม สวรรค์ นรก พระพุทธเจ้าจึงสอนให้รู้เรื่องทุกข์และสุข เรื่องบาปและบุญ เรื่องกรรมชั่วและกรรมดี เรื่องกุศลและอกุศล เรื่องผลของกรรม สอนให้รู้จักนรกและสวรรค์ มรรค ผล นิพพาน เพื่อให้เราได้เป็นผู้รู้แจ้งชัดตามพระศาสดาแล้วกระทำความดีเพื่อถึงความหลุดพ้นทุกข์ ดังนั้นหากคนที่เกิดในพื้นที่นั้นๆไม่ได้ชี้แนะสั่งสอนหรือรู้แจ้งถึงกรรม วิบากกรรม บาป บุญ ไม่สอนการละเว้นอกุศล เพียรทำกุศล ศีล ทาน ภาวนา มรรค ผล นิพพาน คนนั้นก็จะไม่รู้จักดีและชั่ว บูยอละบาป ก็ย่อมก้าวล่วงที่ต่ำได้ง่ายด้วยผลของกรรมนั้นเมื่อกายเนื้อนี้แตกตายไปก็ไปเกิดในนรกบ้าง ไปเกิดเป็นเปรตบ้าง เกิดเป็นสัตว์นรกบ้าง เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานบ้าง
    "ต้องทำกุศลสะสมศีล คือ มีศีล ๕ เป็นเบื้องต้น จึงจะได้เกิดมาเป็นคนอีก"




    ศีลนี้สำคัญมากมีศีลถึงได้เกิดมาเป็นคนได้ มีศีลรูปร่างผิวพรรณจึงงดงาม อายุยืน

    ศีล ของพระพุทธเจ้าที่ตรัสสอนไว้ดีแล้วนี้ เป็นเหตุแห่งกุศลทั้งปวง เมื่อทำเหตุให้ดีจึงนำไปสู่ผลที่ดี
    - ทำเหตุดี-ผลก็ดี ทำเหตุชั่ว-ผลก็ชั่ว

    เหตุที่สะสมให้เกิดเป็นอุปนิสัย จริต สันดานในการผิดศีล ติดไปทุกภพชาติ กล่าวคร่าวๆได้ดังนี้ว่า

    ก. พิจารณาดูว่า อย่างเราเป็นคนฆ่าสัตว์เป็นนิตย์ เจอมดแมลงหรืออะไรก็ตบ แม้ไม่ตั้งใจอยากจะทำกายก็ทำเสียแล้วห้ามหรือยั้งไม่ทันตามสัญขาตญาณหรือสัญญาที่สำคัญไว้แก่ใจ ก็สิ่งทั้งปวงที่เป็นไปนั้นนั่นเพราะเราทำเหตุ คือ ทำใจตั้งเจตนายินดีหมายใจที่จะทำในปาณาติบาตเป็นนิตย์ไม่ให้ความสำคัญสนใจชีวิตเขาเราจึงฆ่าเขาเป็นนิตย์ เมื่อทำเหตุอย่างนี้ๆจนเต็มพอเมื่อเจออะไรขัดใจหน่อยยุง มด แมลงกัด หรือสิ่งไรๆที่ระคายเคืองตนมันก็บี้ปุ๊บตบปั๊บทันทีเพราะสัญญาก็ตั้งความต้องการของจิตไว้บังคับกายให้ทำอย่างนั้น อันนี้ก็โดยคร่าวๆในเหตุแห่งปาณาติบาต

    ข. พิจารณาดูว่า คนลักทรัพย์ทำอยู่เป็นนิตย์ เพราะเหตุที่เข้าไปตั้งเจตนาหมายปองของๆผู้อื่นอยู่เป็นนิตย์ มันก็เคยชิน เมื่อมันเต็มก็เกิดเป็นความทะยานอยากที่จะได้ของเขาอยู่ประจำแม้เขาไม่ได้ให้ในสิ่งนั้นแก่เรา เมื่อมันปะทุแล้วทีนี้เมื่อเจออะไรมันก็จิ๊กเอาหมด อันนี้ก็โดยคร่าวๆในเหตุแห่งอทินนาทาน


    ค. พิจารณาดูว่า คนที่ชอบผิดลูกเมียคนอื่น เพราะทำเหตุในความยินดีในเมถุนให้มีมากจนล้นปรี่ จึงเกิดความกระสันทัะยานอยากแสวงหาที่จะเสพย์ในราคะเมถุน จนไม่สนใจว่าคนๆนั้นจะเป็นบุคคลอันเป็นที่รักที่หวงแหนของใครหรือไม่ก็ตาม มันจะสนแต่จะเสพย์ในกามารมณ์อันเกิดแต่ความยึดมั่นถือมั่นติดใคร่ในการสัมผัสกายระหว่างเพศนั้น คือ เมถุนนั่นเอง จะเป็นใครหรืองบุคคลอันมีค่าและเป็นที่รักยิ่งของใครก็ช่างมันไม่สนมันเอาหมด ที่นี้พอเราระลึกอยู่เรื่อยๆ ได้ทำอยู่เรื่อยๆมันก็เป็นเหตุให้กาย วาจา ใจ เป็นไปในกาเมสุมิจฉาจารณ์เสมอๆจนมันเต็ม เป็นจริตนิสัยบารมีกามตัณหาเกิดเต็มมันก็จะแสวงหาทะยานอยากที่จะเสพย์เมถุนไปเรื่อยจนไม่สนลูกเมียตนหรือลูกเมียใครทั้งสิ้น อันนี้ก็โดยคร่าวๆในเหตุแห่งกามเมสุมิจฉาจารณ์

    ง. พิจารณาดูว่า คนที่คิดว่าตนเป็นที่สุด ตนควรได้สิ่งนั้นสิ่งนี้ สิ่งนี้ๆไม่ควรเกิดมีแก่ตน สิ่งนี้ๆเป็นตน เป็นของตนบ้าง ตนดีที่สุด ให้ใครเหนือกว่าตนไม่ได้ คนต้องสรรเสริญตน ตนต้องดีกว่าใคร ไม่พอใจที่ใครได้ดีกว่า มีจิตริษยา หมายใจไว้จะทำร้ายผู้อื่น อัตตาเหล่าใด เพราะมีใจอย่างนี้เป็นเหตุ สะสมมันไว้จนให้มันเต็มใจตนจึงเกิดมีความพูดชักจูงเพื่อประโยชน์ส่วนตน วาจาเกิดมาแต่ความคิด วิตกเป็นวจีสังขารดังนี้ จึงเกิดการพูดปดอยู่เป็นนิตย์ ยุแยงคนอื่นให้แตกกัน พร่ำเพ้อกล่าวคำไม่จริง ส่อเสียดให้คนแตกกัน ด่าทอ เอาเรื่องของคนนี้ไปบอกคนโน้น เอาเรื่องของคนโน้นมาบอกคนนี้เพื่อให้เขาแตกกัน ยินดีที่เขาแตกกันไม่เป้นกลุ่มสามัคคี นั่นเพราะเขาทำในเหตุอันเป็นมิจจาวาจาดังนั้นมานานทับถมจนเป็นจริตนิสัย อันนี้ก็โดยคร่าวๆในเหตุแห่งมิจฉาวาจา หรือ วจีทุจริตทั้งปวง

    จ. พิจารณาดูว่า คนชอบดื่มสุราเป็นนิตย์ ลองคิดดูว่าเมื่อยังเด็กมีใครเกิดมาแล้วกินเหล้าบ้าง ก็ไม่มีเลย แต่พอเมื่อโต เรากินเรื่อยๆ ยินดีในสภาพแวดล้อมตอนกินเหล้าในวงเหล้า ยินดีในสุราเรื่อยๆด้วยเหตุอย่างนี้เป็นต้น ยินดีที่กินเหล้าแล้วทำในอกุศลลามกเรื่อยๆได้ด้วยสนุกสนานด้วยคิดว่ามันระบายกายใจตนได้บ้างเป็นต้น เมื่อทำกาย-วาจา-ใจในเหตุอย่างนี้เรื่อยๆ ทีนี้ความคิดนั้นการกระทำนั้นๆมันก็สะสมเป็นจริตนิสัยขึ้น จนเต็มปริ่มปะทุ ทำให้เป็นคนที่คิดถึงแต่เหล้า อยากกินแต่เหล้าทะยานอยากจะเสพย์เหล้าจนเป็นนิสัยขี้เหล้าที่เราเห้นกันดังนี้แหละ อันนี้ก็โดยคร่าวๆในเหตุแห่งสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน
    นี่แหละสาเหตุที่ว่าทำไมเราต้องปฏิบัติกรรมฐาน ต้องเจริญใน ศีล เป็นเบื้องหน้า นั่นก็เพื่อ..ทำเหตุแห่งกุศลให้ดีให้เต็มนั้นเอง

    ๑. ทำเหตุในศีลให้ดี..เพื่อล้างโทสะ(เมตตา,กรุณา)



    ฉ. พิจารณาดูว่า คนที่ละโมบโลภมาก ย่อมทำในเหตุโดยความยึดตัวตนแนบแน่นในสิ่งที่ปรนเปรอตนเป็นนิตย์ มีความหวงแหนทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ยอมจะแบ่งปันอะไรให้ใครแม้แต่เล็กน้อยก็ตาม ถือเอาเป็นตัวตนผูกตนไปเรื่อย เมื่อสร้างความหวงแหนความตระหนี่ ความยินดีในสิ่งที่ปรนเปรอตนให้เป็นเหตุสะสมไปจนเต็มจนกลายเป็นจริตนิสัยที่หวงแหนตระหนี่ขี้เหนียวแค่ตน เมื่อมันเต็มปะทุก็จะมีแต่ความเสียดาย หวงแหนเป็นนิตย์ เพราะเหตุโดยยึดเอาความโลภเอาสิ่งไม่เที่ยงว่าเป็นสุขตนจนไม่ยอมแบ่งปันคิดแต่จะเอาโดยส่วนเดียว แสวงหาอยู่ไม่มีที่สิ้นสุด ทั้งๆที่ไม่สามารถเอาสิ่งไรๆตายตามไปด้วยได้เลยนอกจากบุญกับบาป
    นี่แหละสาเหตุที่ว่าทำไมเราต้องปฏิบัติกรรมฐาน ต้องเจริญใน ศีล เป็นเบื้องหน้า นั่นก็เพื่อ..ทำเหตุแห่งกุศลให้ดีให้เต็มนั้นเอง

    ๒. ทำเหตุในทานให้ดี..เพื่อล้างโลภะ(กรุณา,มุทิตา)



    ช. พิจารณาดูว่า ทีนี้เมื่อทำจิตให้ยินดีในกามคุณ ๕ อยู่เป็นนิตย์ ก็เป็นเหตุให้จิตเรานี้เติมเต็มในอกุศลบารมี มีแต่ความลุ่มหลงในสมมติทั้งปวงทับถมจนเป็นตัวตนอุปาทานมานับไม่ถ้วน หลงโง่คลุกอยู่แต่ในสมมติจนไม่สามารถรับรู้ของจริงได้ แม้จะเวียนว่ายตายเกิดไม่มีที่สิ้นสุดมานับไม่ถ้วนไม่รู้ว่ากี่ิสงไขยมันก้ยังยิ่งเพิ่มทับถมบารมีแห่งโมหะไปอย่างนั้น เสริมกำลังให้ โลภะ ราคะ โทสะ ไปทุกภพทุกชาติ ทีนี้เมื่อเราไม่ปฏิบัติใน ศีล ทาน ภาวนา จิตเราก็จะทำเหตุสะสมแต่ในของปลอม ของสมมติไปเรื่อยๆ จนเกิดวิปปัลลาส ๓ คือ สัญญาวิปลาส ๑ จิตตวิปลาส ๑ ทิฏฐิวิปปลาส ๑ (สุภสัญญา, สุขสัญญา, นิจจสัญญา และ อัตตสัญญา)
    นี่แหละสาเหตุที่ว่าทำไมเราต้องปฏิบัติกรรมฐาน ต้องเจริญใน ศีล เป็นเบื้องหน้า นั่นก็เพื่อ..ทำเหตุแห่งกุศลให้ดีให้เต็มนั้นเอง

    ๓. ทำเหตุในนภาวนาให้ดี..เพื่อล้างโมหะ(อุเบกขา)







    ธรรมจากพระอรหันต์
    พระพุทธสารเถระ หลวงปู่บุญกู้ อนุวัฑฒโน
    พระครูอุปัชฌาย์อาจารย์กรรมฐานของเราท่านสอนว่า

    ทำเหตุให้ดี ทำเหตุให้ดี.. เหตุไม่ดีจะไปเอาผลได้อย่างไร เอาแต่ภาวนาอย่างเดียวแล้วบรรลุ ก็ไม่ต้องมีศีลทานกันแล้วสิ พระพุทธเจ้าพระองค์ทรงตรัสรู้เห็นชัดแล้วว่าศีลทานภาวนานี้เป็นเหตุสะสมไปถึงผลแห่งกุศลดีงาม จึงต้องทำควบคู่กันจึงจะถึงทางหลุดพ้น

    ศีล เป็นเหตุให้เราละความเบียดเบียน มีจิตเป็นกุศลไม่เร่าร้อน ไปอยู่ที่ไหนก็สบายกายใจ (ลองดูคนที่ผิดศีลนะมันเร่าร้อนไปอยู่ที่ไหนก็ไม่เป็นสุขสงบ)
    ทาน เป็นเหตุให้ถึงความสละ ละความโลภ ไม่ที่ใดก้ไม่แสวงหาทะยานอยากให้เร่าร้อน
    ภาวนา เป็นเหตุให้ถึงปัญญา ละความโง่ ความลุ่มหลงสมมติกิเลสทั้งปวง

    - ที่พระท่านสอนว่า "ทำเหตุให้ดี" คนเราไม่รู้ว่าคืออะไร ทำไปเพื่ออะไร ทำไมหัด ทำไมปฏิบัติให้ตนมี "ศีล-ทาน-ภาวนา" ทำไปเพื่ออะไร ซึ่งธรรมข้อนี้ในหนังสือไม่มีสอน คนที่ไม่ปฏิบัติก็จะไม่รู้ได้เลย กล่าวได้แค่มันสูงเกินบ้าง พูดได้แค่ว่านี่คือฐานบ้าง แต่ไม่รู้เลยว่าทำไมจึงเป็นพื้นฐาน ทำไมจึงเป็นฐานขอกุศลธรรม ของสัมมา ของสัมโพชฌงค์ ของวิราคะ ของวิมุตติ จะพูดก็ได้ตามแต่สังสือบอกกล่าวเท่านั้น
    - "การปฏิบัติ ศีล ทาน ภาวนา เป็นกรรมฐาน เป็นการทำเหตุให้ดี" เมื่อทำอยู่เป็นนิตย์ก็จะสร้างลักษณะนิสัยอันเรียกว่า "จริต" ให้ทับถมด้วยกุศลแทนของแลอมสมมติกิเลสที่ทับถมเรามานับอสงไขย
    - ครูบาอาจารย์ท่านจึงกล่าวว่าทำเหตุให้ดี ทำให้มาก อย่าหวังผล เหตุไม่ดีจะไปเอสผลได้อย่างไร ทำเหตุให้ดี ทำของเก่าที่มีให้มันดีกว่าเดิม ดังนั้น "การปฏิบัติเกรรมฐานเหล่าใดที่ประกอบไปด้วย ศีล ทาน ภาวนา สมถะ+วิปัสสนา เป็นการทำเหตุดังนี้แล" ที่นี้ เมื่อทำเหตุให้ดีสะสมไปเรื่อยนับไม่ถ้วนจนเป็นจริตกุศลให้เกิดมีแก่จริตสันดานตน เมื่อตายไป ของเก่านี้ก็ตามไปในภพภูมิใหม่ด้วย

    ** "เมื่อเหตุมันดีมันเต็ม ท่านเรียกว่า บารมี" คือ "เต็มกำลังใจใน กุศล ศีล ทาน ภาวนา" คือ "บารมี ๑๐ ทัศน์" ** นั่นเอง




    ศีลสำคัญไฉน เป็นไปเพื่ออะไร เข้าธรรมใดได้บ้าง มีที่สุดคืออะไร ซึ่งสำคัญมาก ดูได้ตาม 2 Link จากพระไตรปิฏกดังนี้


    1. กาลามสูตร อันเป็นไปในเจโตวิมุตติ ถึงความอุ่นใจ ๔ อย่าง

    2. สัลเลขสูตร ศีลเป้นเครื่องขัดเกลาให้บรรลุธรรม ไม่มีศีลก็บรรลุธรรมไม่ได้





    เหตุให้เกิด ทาน ศีล ภาว

    . เหตุปัจจัจบนทาง ศีล ทาน ภาวนา พละ มรรค โพชฌงค์

    ๑. รู้ใน โลกธรรม กรรม และ วิบากกรรม(ผลของกรรม)ตามจริง กำหนดรู้ทุกข์
    รู้ในโลกธรรม ๘ ว่า..อนิจจัง อนัตตา ทุกข์(รู้ถึงความไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน ความยึดในสิ่งเหล่านั้นเป็นทุกข์ ทั้งไตรลักษณะในสิ่งทั้งปวง - สัญญา ๑๐) โลกธรรม นี้ คนมองเห็นได้ง่ายสุดสัมผัสได้ง่ายสุดเพราะมีความเป็นไปอยู่มองเห็นได้สัมผัสได้ ทำให้เห็นในความเสื่อม ความแปรปรวน ไม่คงอยู่ำได้นาน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา บังคับไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตน เป็นทุกข์
    - คนจนต้องเห็นสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน บังคับไม่ได้ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา มีแต่บุญกับบาปเท่านั้นที่เป็นของๆตน ติดตามไปทุกภพ ชาติ
    - คนรวยต้องเห็นสิ่งที่ไม่เที่ยง ไม่คงอยู่ได้นาน อยู่กับเราได้นานก็สุดแค่หมดลมหายใจเรานี้เท่านั้น ไม่คงอยู่กับเราตลอดไป ไม่ตายติดตามเราไปด้วยได้ มีแต่บุญกับบาปเท่านั้นที่เที่ยงแท้แน่นอน เที่ยงตรงติดตามเราไปทุกภพ ชาติ
    รู้เรื่องกรรม ว่า..เรามีกรรมเป็นของๆตน มีกรรมเป็นแดนเกิด ทีกรรมเป็นที่ติดตาม มีกรรมเป็นที่พึ่งพาอาศัย เราจะทำกรรมได้ไว้ เป็นบุญหรือเป็นบาป เราจะเป็นทายาท คือว่าจะได้รับผลของกรรมนั้นสืบไป ดังนี้แล้วไม่ว่าเราจะบากดีมีจน รวยล้นฟ้าหรือยากไร้ สุดท้ายสิ่งที่ติดตัวเราตามไปก็คือ บุญกับบาป กรรมดีกับกรรมชั่วที่ส่งผลให้เกิดในภพภูมิอย่างนั้น อย่างนี้ มีขันธ์ ๕ อย่างนั้น อย่างนี้ เช่น..
    - มีทาน ก็มีบริวารมาก มีทรัพย์สมบัติไว้รอในภพภูมิเบื้องหน้ามาก มีมิตรมาก โภคทรัพย์สมบัติมีมาก ไม่อับจน, หากไม่มีทานก็ยากไร้อับจน ไม่มีคนช่วยเหลืออุ้มชู
    - มีศีล ก็มีขันธ์ ๕ ที่สะอาด ลมุล งดงามหมดจด ผ่องไสว ครบพร้อม ๓๒ ประการ ไม่ตกลงที่ชั่ว ไม่ลงสู่ทุคติภูมิ แม้ยังเกิดในโลกอีกก็จักเป็นสัตว์ประเสริฐคือเป็นมนุษย์เท่านั้น ไม่หยั่งลงสู่สัตวฺเดรัจฉาน, หากไม่มีศีลก็ยังให้ทำสิ่งที่ชั่วเบียดเบียน หมายพรากเอาสิ่งอันเป็นที่รักเป็นชีวิตของผู้อื่น หมกมุ่นติดข้องในสิ่งที่มอมเมาทำให้ลุ่มหลงยั้งคิดไม่ได้อันทำให้ระลึกไม่ได้
    - มีการภาวนาอบรมสมาธิ อบรมจิต อบรมปัญญา ก็ทำให้ไม่โง่ ไม่เป้นผู้มักหลง เป็นผู้มีปฏิภาณไหวพริบ แยกแยะสิ่งดีสิ่งชั่ว สิ่งเป็นประโยชน์เกื้อกูง สิ่งไม่เป็นประโยชน์ยังความฉิบหายมาสู่ตนได้ คือเป็นปราชญ์ ย่อมยั่งให้กาย วาจา ใจงดงามทำให้ประพฤติชอบไม่ตกล่วงลงสู่ที่ชั่ว, ไม่มีการอบรมจิต ภาวนา ก็เป็นผู้มักหลงอยู่ ไม่รู้เห็นตามจริง แยกแยะไม่ได้ ระลึกไม่ได้ หมกมุ่นง่าย ขาดไหวพริบ แก้ปัญหาไม่เป็น คิดเองไม่ได้ โง่
    กำหนดรู้ทุกข์ ว่า..คุณที่เอื้อเฟื้อเกื้อกูลประโยชน์สุข(กุศลกรรม) และ โทษที่ยังความเร่าร้อน ความร้อนรุ่ม ความฉิบหาย(อกุศลกรรม)..เมื่อเรากระทำสิ่งใดทางกาย วาจา ใจนั้นไป..
    กำหนดรู้ ะลึกถึง ตรึกถึง นึกถึง ตรองถึง คำนึงถึงสิ่งที่ควรละเพื่อไม่ให้เกิดการ คิด พูด ทำ อันจะยังความเร่าร้อนฉิบหายทั้งหลายมาสู่ตน ว่า..สิ่งที่จะไม่ทำให้เกิดการกระทำที่ยังความฉิบหายเหล่านั้นหยั่งลงมาสู่เรา เราต้องยับยั้งอะไร หยุดสิ่งไหน ละสิ่งใด ดับที่สิ่งใด ความเร่าร้อน ความร้อนรุ่ม ความฉิบหายจึงไม่เกิดขึ้นกับเรา..น้อมไปใจพิจารณาดูบ่อเกิดแห่งความทุกข์เร่าร้อนกระสันที่จะยังความฉิบหายมาสู่เราอันนั้น เหตุมันมาจากอะไร เหตุมันคืออะไร
    กำหนดรู้ ระลึกถึง ตรึกถึง นึกถึง ตรองถึง คำนึงถึงความไม่เร่าร้อน ความไม่ฉิบหาย ความไม่ชุ่นหมอง ความโล่ง เบา สบาย รื่นรมยฒเย็นใจ เป็นแบบไหน ิย่างไร เพราะมีสิ่งใด ไม่มีสิ่งใด อิงอาศัยสิ่งใด ไม่อิงอาศัยสิ่งใด

    ** ทั้งหมดคือพระสัทธรรมจากสัตบุรุษทำให้เกิดความเห็นชอบ าะมมาทิฏฐิ หมุนวนโยนิโสเป็นวงจร เมื่อลงใจก็เกิดหิริโอตตัปปะ **

    ๒. หิริ(ความละอายต่อบาป), โอตตัปปะ(ความเกรงกลัวต่อบาป) ทำให้ใจตั้งมั่นยึดทำในกุศลด้วยศรัทธา คือ ความเชื่อที่รู้เห็นด้วยปัญญาตามจริง จากที่ได้เห็น ได้ยิน ได้ฟัง ได้ลิ้ม ได้สัมผัสกาย ได้สัมผัสใจ เหล่านั้น

    ๓. ความตั้งมั่นในกุศลธรรมด้วยศรัทธาพละ ทำให้เห็นและเข้าใจจริงในทาน ศีล พรหมวิหาร ๔ รู้ว่าต้องทำ ถึงสัมมาสังกัปโป

    ๔. การเจริญใน ทาน ทำให้อิ่มใจ (ละกิเลสอย่างหยาบ..ความตระหนี่), เจริญในศีล ทำให้เย็นใจ มีปรกติที่ไม่เร่าร้อนกายใจ (ละกิเลสอย่างกลาง..อภิชฌา), พรหมวิหาร เสริมใจทำให้มีจิตผ่องใสด้วยกุศล คิดดี มีใจเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน (เสริมกำลังภาวนาให้จิตผ่องใส เบาใจด้วยกุศล).. ถึงสัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา และสัมมากัมมันโต

    ๕. ความตั้งมั่นดำรงชีพอยู่ใน ทาน ศีล พรหมวิหาร ๔ จนลงใจเป็นสัมมาอาชีโว ทำให้เกิดความเพียรชอบ สัมมาวายามะ

    ๖. สัมมาวายามะอันเกิดใน ทาน ศีล พรหมวิหาร ๔ ทำให้เกิด สติและสัมปชัญญะ สำรวมระวังกำกับอบรมจิตไว้อยู่ ให้เข้าถึงความฉลาดเฟ้นธรรมเครื่องกุศลได้ง่าย เกิดเป็นสุจริต ๓
    - สติ ทำให้รู้ธรรมไม่เคลิ้มหลง
    - สัมปะชัญญะ ทำให้ไม่หดหู่คล้อยตาม

    ๗. การภาวนาอบรมจิตในกรรมฐาน ๔๐ ทำให้มี สติ+สัมปะชัญญะ ที่ตั้งมั่นในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งได้นาน ทำให้เกิดจิตตั้งมั่นจดจ่อเป็นอารมณ์เดียวได้นานตาม ทำให้ใจไม่กวัดแกว่ง, กระเพื่อม, อ่อนแอแล่นไหวไปตามอารมณ์ ถึงสัมมาสมาธิ

    ๘. สัมมาสมาธิจากการภาวนาอบรมจิตในกรรมฐาน ๔๐ ทำให้จิตเราได้พัก
    (ประสบการณ์ส่วนตัวของเรา ตามลำดับสมาธิ คือ สบาย ผ่องใสเบาใจแช่มชื่น วูบวาบๆ -> สงบใจให้อยู่ภายในได้มากขึ้น -> มีอาการคันบ้าง เสียววูบวาบบ้าง -> ว่าง -> แล้วจะเกิดอาการที่โยกเยกหรือดันอัดลอยตัวหรือหนักอึ้งหรือมีกำลังอัดแน่นขยายตัวออกใหญ่ขึ้น -> สงบแช่นิมิต จิตแยกจากนิมิต ->ไม่มีความคิด นิ่ง เพ่งนิมิตเบื้องหน้ามนสิการไปในอารมร์ หากบริกรรมอยู่คำบริกรรมจะหายไป จิตจับสนเวทนาทางกายน้อยลง -> นิมิตดับ -> จิตได้พักนิ่งแช่ไม่รับรู้ มืดสนิทบ้าง -> สุขที่เกิดมาในชีวิตนี้ไม่เคยเจอเกิดขึ้น -> รู้สุข สุขดับ -> เข้าอัปปนาสมาธิ นิ่งแช่ สักแต่รู้แลดูเพ่งนิ่งไปเรื่อยไม่มีการกระทำใดๆของจิต -> รู้ตัว -> เหมือนมีความคิดมีความตรึกอยู่ แต่ก็เหมือนไม่มีความคิด -> ไม่มีความจำในอดีตสัญญา เหมือนไม่มีเวทนา -> นิ่ง ว่าง -> เข้าปฐมฌาณ ส่วนตัวมีลักษณะนิมิตสีขาวระเรื่อๆอยู่ มีความตรึกแนบอารมณ์ ไม่หลุดจากอารมณ์ -> ดับนิ่ง -> รู้ตัว -> เข้าทุติยะฌาณ มีสีฟ้าสว่างไสว เหมือนอยู่ท่านกลางมหาสมุทรไม่สนสิ่งอื่น ไม่มีความคิด มีแต่สำเนียก เจตนามีปุ๊บ จิตมันมนสิการ เพิกพุ่งไปทันที ไวกว่าแสงนิ่งเงียบเพ่งนิมิตสีฟ้า -> นิมิตสว่างขึ้นออกไปทางสีเหลือง สีเขียว รัศมีเปล่งประกาย -> แช่นานพอควร หลุดจากสมาธิ)

    ๙. เมื่อใจเราได้พัก ทำให้ใจมีกำลังอยู่ได้ด้วยตัวของมันเอง ทำให้เกิดเป็น มหาสติปัฏฐาน อันเป็นกำลังแห่งปัญญา มีจิตประภัสสร ผ่องสกาวสว่างไสวดุจดวงประธีป ไม่เจอปนสมมติกิเลส

    ๑๐. เมื่อปัญญาเกิด ก็ทำให้แจ้งชัดใน กาย เวทนา จิต และธรรมทั้งปวง มีใจเป็นพุทโธ คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
    - รู้เห็นของจริงต่างหากจากสมมติ (ยถาภูญาณทัสสนะ)
    - ตื่นจากสมมติ ละ ตัด ดับ (นิพพิทาญาณ วิราคะสัมโพชฌงค์)
    - เบิกบานใจด้วยพ้นแล้วสิ้นแล้วซึ่งสมมติกิเลสทั้งปวง (วิมุตติ)

    ยกตัวอย่างเช่น ในขณะทำสมาธิ
    เราเกิดง่วงสติรู้อาการหดหู่เซื่องซึม สัมปัชัญญะรู้ตัวว่าทำสมาธิไม่คล้อยตามนิ่งนอน สมาธิทำใจตั้งมั่นในกรรมฐานปัญฐาแจ้งชัดธรรม แล้วตัด เลือกเฟ้นธรรมงาม

    วิธีฝึกให้เห็นตามจริงโดยลำดับ
    - ถ้ายังไม่เห็นจริงก็ให้ทำสะสมเหตุบ่อยๆ แล้วหัดสังเกตุความเป็นไปที่เกิดขึ้นตามจริงในเรา การสังเกตุ คือทำสักแต่ว่าตามรู้มันไปแต่ไม่เข้าไปข้องแวะ ซึ่งไม่ใช่ไปจำจดจำจ้องที่จะรู้จะเอามันจะติดสมมติเอาได้
    - ศีกษาเรียนรู้ในแนวทางนั้นๆเพื่อน้อมนำมาใช้ปฏิบัติเพิ่มเติม
    - วิเคราะหฺ์พิจารณา
    - ถามผู้รู้ เมื่อไม่เข้าใจ
    - จด บันทึกกันลืม
    - ปฏิบัติทำให้แจ้ง





    . หิริ โอตตัปปะ กับ ศีล วิธีเจริญลงใจ

    - ศีล มี หิริ โอตัปปะ เป็นฐานให้เจริญประพฤติดีงามลงใจ
    - หิริ ละอายต่อบาปอกุศล อาศัยกำหนดรู้ทุกข์และโทษ ลง ทาน พรหมวิหาร เสมอด้วยตน อบรมจิตให้รู้จักพอ ไม่ก้าวล่วงหมายพรากเอาสิ่งของบุคคลที่เขาไม่ได้ให้อันผิดจารีตประเพณีของผู้อื่น อนภิชฌา
    - โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อบาปอกุศล อาศัยศัรทธากำหนดรู้ทุกข์และโทษ ลงอาศัยกรรม กรรมสังขาร วิบากกรรมปฏิจจะสมุปปบาทอันเป็นนิทานะ บ่อเกิดจุตติสังขารกรรม

    คนที่ท่องศีลจะไม่รู้ว่าสีลเพื่อความพ้นทุกข์ที่พระพุทธศาสดาตรัสสอนนั้น มาจากไหน อาศัยอะไร

    ศีล สีลสังวร อินทรีย์สังวร โสรัจจะ อาศัย..หิริ โอตตัปปะเป็นฐาน

    หิริ อาศัย ทานความเกื้อกูลประโยชน์สุขต่อตนเองและผู้อื่น คุณและโทษ อนภิชฌา อาศัยการเจริญในพรหมวิหาร ๔ทำเสมอด้วยตน เรารักตนเองยังไง ชอบชังยังไง เราปารถนาดีกับเขาเสมอเราฉันนั้น ความละอาย เกิดมีข้นด้วยเห็นว่าเสมอด้วยตน
    เราหมายพรากชีวิตเขา เขาหมายพรากชีวิตเรา เราหมายพรากของเขา เขาหมายพรากของเรา เราหมายพรากคนรักเขาเขาหมายพรากคนรักเรา เราโกหกเขาเขาโกหกเรา เรากินเหล้าเมาหมา เขากินเหล้าเมาหมา เขาเมาเละเทะเสียคน เราอายคน แล้วหากเป็นเราอย่างนั้นล่ะ ความเสมอด้วยตนมีดังนี้
    ความนึกถึงฐานะ ชื่อเสียง ครอบครัว พรอแม่ คนที่เรารักและรักเรา ที่จะถูกทำลายพังเสียด้วยตน
    ระลึกถึงความดีแต่เก่าก่อนมาจนถึงปัจจุบันที่ตนได้ทำมาดีแล้ว มันจะคุ้มเสียกันไหม กุศลวิตก ๓ หรือระลึกถึงกุศลกรรมอันดีที่ตนทำมาเป็นอนุสสติ ที่สุดแล้ว ระลึกถึง อนุสสติ ๖ ถึง อนุสสติ ๑๐ เจโตวิมุตติ

    - สรุปคือโยนิโมสนสิการ อนิจจัง อนัตตา ทุกขัง คุณและโทษในสิ่งที่ทำ

    โอตตัปปะ อาศัย ความรู้เห็นตามจริงในกรรม วิบากกรรม จึงเกิดความเชื่อด้วยปัญญา คือ ศรัทธา คือความเชื่อในแบบพระพุทธศาสนา คือความเชื่อด้วยปัญญาเห็นจริง เช่น จิตเรานี้จรมาไกลวนเวียนไปเรื่อย มนะเข้าจุติภพใด ภูมิใดล้วนเป็นไปตามกรรม ล้วนแล้วแต่กรรมปางก่อนที่ทำมา ไม่อาจจะไปบังคับว่า ขอขันธ์ 5 ของเราจงเป็นนั่น โน่น นี่ ไม่อาจบังคับได้ว่าต้องเกิดในภพใดภูมิใด เพราะกรรมลิขิตให้เกิดไปตามนั้น จึงชื่อว่าเรามีกรรมเป็นแดนเกิด ก้อเมื่อเรากระทำการพรากเอาชีวิตเขา กรรมนั้นย่อมส่งผลให้เราอายุสั้น ลักทรัพย์ย่อมส่งผลให้พิกลพิการไปตามกำลังการทุศีลที่ทำนั้นการก้าวล่วงอกุศลกรรมย่อมทำให้ความฉิบหายยังมาสู่เรา ทำให้เกิดความเกรงกลัวต่อบาป
    เมื่อเรารู้ว่ามันอันตราย เราจะเอื้อมมือจับลูบคลำมันอยู่หรือ เพราะความเกรงกลัวด้วยอาศัยความรู้เห็นตามจริงเรื่องกรรมนี้ๆเป็นตน เราฆ่าใครเราต้องหนี่ความผิด ลักของใครต้องหนี่อย่างโจร มันอยู่เป็นสุขละหรือ นี่กรรมที่ส่งผลในปัจจุบัน โอตตัปปะจึงเกิดมีเพราะความเกรงกลัวต่อบาปนี้แหละ

    - สรุปคือโยนิโสมนสิการในกรรม วิบสกกรรม

    ศีล มีเหตุของศีล, หิริ มีเหตุของหิริ, โอตตัปปะ มีเหตุของโอตัปปะ
    ด้วยเหตุดังนี้พระพุทธศาสดาจะเสด็จไปที่ใด แสดงธรรมใด ย่อมตรัสถึงกรรม ถึงความล่วงกรรม ผลของกรรมที่ส่งผลในปัขขุบันและภายหน้า

    - ทั้งหมดรวมลงสัมมาทิฏฐิ






    กรรมบท 10 ทำข้อเดียวคือใจ ซึ่ง ใจ คือ มโนกรรม นั่นคือ ทำเจตนาละเว้นนั่นเอง

    - เจตนาละเว้นจากการข้องเกี่ยวติดพันของผู้อื่น ..ด้วยใจฝักใฝ่อยากได้, หมายปอง, หมายครอบครอง, หมายเบียดเบียนทำร้าย, หมายพรากเอาซึ่ง..ชีวิต สิ่งของ และบุคคลอันเป็นที่รักของผู้อื่น
    - ด้วยระลึกสงเคราะห์ลงสัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นชอบ ว่าด้วยความละอายเกรงกลัวต่อบาป รู้เห็นตามจริงในกรรม และ วิบากกรรม ไม่มีความอคติลำเอียงเพราะรัก ชัง กลัว และไม่รู้ตามจริง
    - ซึ่งประครองไว้ด้วยจิตที่ผ่องใสปราศจากกิเลสนิวรณ์ ความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน เว้นจากความเบียดเบียน อังมีสติสังขารโดยรอบด้วยความเพียรระวังบาปอกุศลที่ยังไม่เกิด เพียรละอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว เพียรทำกุศลให้เกิดขึ้น เพียรรักษากุศลไว้ไม่ให้เสื่อม
    - อานิสงส์ความเย็นใจ จิตผ่องใสตั้งมั่น พ้นจากความติดข้องสิ่งไรๆในโลก ละโลภ ละโกรธ ละหลง


    สรุป การเจริญกรรมบท 10 คือ ทำศีล 5 ให้ดด้วยใจนั่นเอง เรามีใจเป็นนายกายเป็นบ่าว ทำที่ใจดีได้ วาจาและกายก็ดีตาม


    เจตนาละเว้นการกระทำเหล่าใดที่เบียดเบียน ชีวิต สิ่งของ บุคคลอันเป็นที่รักของตนเอง(ความขาดสติ ระลึกยั่งคิด แยกแยะ ยับยั้งช่างใจทำชั่ว) และ ผู้อื่น(ความทำร้าย ข้องแวะ ข้องเกี่ยว ติดพัน หมายปอง อยากครอบครอง หมายพราก) ทำกุศลให้เกิดขึ้น คงกุศลไว้ไม่ให้เสื่อม





    ซึ่งกรรมบท 10 มีดังนี้..
    (จากหลวงปู่ฤๅษีลิงดำ https://www.dhammathai.org/monktalk/dbview.php?No=370)


    สิกขาบท ๕ ประการ มี ปาณาติบาต เป็นต้น และมี สุราเมรัย เป็นปริโยสาน และอีกประการหนึ่งนั้น บุคคลที่จะเป็นมนุษย์สมบูรณ์ได้ก็ต้องอาศัย กรรมบถทั้ง ๑๐ ประการ เป็นสำคัญ เพราะว่าคำว่า “มนุษย์” นี้ แปลว่า เป็นผู้มีใจสูง คือมีอารมณ์ดี”
    แล้วองค์สมเด็จพระชินศรีบรมศาสดาจึงได้นำมาซึ่ง กรรมบถ ๑๐ ประการ แสดงแก่พราหมณ์และบรรดาพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายโดยที่องค์สมเด็จพระจอมไตรตรัสว่า “ ภิกขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลใดที่จะปฏิบัติตนเป็นมนุษย์ครบถ้วนบริบูรณ์ก็ดี หรือว่าจะสร้างกุศลบุญบารมีให้เกิดเป็นมนุษย์ต่อไป ต้องปฏิบัติด้วยเหตุ ๑๐ ประการนี้ คือ
    (๑) ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต หรือว่าประทุษร้ายสัตว์ทั้งหลายให้มีความลำบาก
    (๒) อทินนาทานา เวรมณี จงเว้นการถือเอาของที่บุคคลอื่นไม่ให้ มาเป็นของตนโดยเจตนา
    (๓) กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี จงเว้นจากการคบหาสมาคมกับบุตร ธิดา ภรรยาของบุคคลอื่น
    (๔) มุสาวาทา เวรมณี จงเว้นจากการพูดเท็จ
    (๕) ปิสุณาย วาจาย เวรมณี จงเว้นจากการพูดส่อเสียดยุยงส่งเสริมให้บุคคลทั้งหลายแตกร้าวกัน
    (๖) ผรุสาย วาจาย เวรมณี จงเว้นจากการพูดคำหยาบให้เป็นคำสะเทือนใจของบุคคลอื่น
    (๗) สัมผัปปลาปา เวรมณี จงเว้นจากการพูดวาจาเพ้อเจ้อ เหลวไหลไร้ประโยชน์
    (๘) อนภิชฌา องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้เห็นโทษของความโลภ ได้แก่ ไม่คิดเพ่งเล็งทรัพย์สินของบุคคลอื่นโดยอยากจะได้มาเป็นของตน
    (๙) อพยาบาท จงเว้นจากความโกรธ ความพยาบาท นี่เป็นธรรมะ
    (๑๐) สัมมาทิฏฐิ จงมีความเห็นถูก มีความเห็นตรง นี่เป็น ตัวปัญญา เป็นธรรมะ ”








    กุศลกรรมบถ 10

    ประพฤติดีด้วยกาย 3 ประเภท

    ประพฤติดีด้วยกาย นั้นชื่อว่า กายกรรม คือ ทำกิจการงานด้วยกายอย่าให้ทุกข์เกิดขึ้นแก่ผู้อื่น กายกรรมที่ให้เกิดทุกข์แก่ผู้อื่นนั้น มี 3 ประการ

    1. คือ อย่าเบียดเบียนร่างกายของท่าน คือ อย่าฆ่า อย่าฟัน อย่าทุบ อย่าตี ร่างกายของท่านผู้อื่นโดยที่สุด เว้นถึงสัตว์ติรัจฉานได้ยิ่งเป็นการดี ตรงภาษาบาลีที่ว่า ปาณาติปาตาเวรมณี ฯ
    2. คือ อย่าเบียดเบียนทรัพย์สมบัติข้าวของของท่านผู้อื่น คืออย่าลักขโมย อย่าฉ้อโกง อย่าเบียดบังเอาข้าวของของท่านผู้อื่น ตรงภาษาบาลที่ว่า อทินฺนาทานาเวรมณี ฯ
    3. คือ อย่าแย่งชิงลักลอบด้วยอำนาจของกายในหญิงที่ท่านหวงห้าม ตรงภาษาบาลีที่ว่า กาเมสุมิจฉาจาราเวรมณีฯ



    ประพฤติดีด้วยวาจา 4 ประเภท


    ประพฤติดีด้วยวาจา 4 ประเภท (วจีกรรม 4 ประเภท) นั้นได้แก่


    1. คือ ให้กล่าวแต่วาจาถ้อยคำที่สัตย์ที่จริง ให้เว้นจากวาจาที่เท็จไม่จริงเสีย ตรงกับภาษาบาลีที่ว่า มุสาวาทา เวรมณี ฯ
    2. คือ ให้กล่าวแต่วาจาถ้อยคำอันสมานประสานสามัคคีให้ท่านดีต่อกัน ให้เว้นวาจาส่อเสียดยุยงเสีย ตรงกับภาษาบาลีที่ว่า ปิสุณายาวาจา เวรมณีฯ
    3. คือ ให้กล่าวแต่วาจาถ้อยคำอันอ่อนโยน ให้เกิดความยินดีแก่ผู้ฟัง ให้งดเว้นวาจาที่หยาบคายขึ้นกูขึ้นมึง บริภาษตัดพ้อหยาบคาย ให้ผู้ฟังได้รับความเดือดร้อนต่างๆ เสีย ตรงกับภาษาบาลีที่ว่า ผรุสฺสาย วาจาย เวรมณี ฯ
    4. คือ ให้กล่าวแต่วาจาถ้อยคำที่เป็นไปกับด้วยประโยชน์ ให้เว้นวาจาที่เหลวไหล คือพูดเล่นหาประโยชน์มิได้เสีย ตรงกับภาษาลีที่ว่า สมฺผปฺปลาปาวาจายเวรมณี ฯ



    ประพฤติดีด้วยใจ 3 ประเภท


    ประพฤติดีด้วยใจ 3 ประเภท (มโนกรรม 3 ประเภท) นั้นคือ

    1. คือ ให้ระวังเจตนากรรม ให้สัมประยุตต์ด้วยเมตตาอยู่เสมอ คือ ความดำริของใจ อย่าให้ลุอำนาจแห่งโลภะ คืออย่าเพ่งเอากิเลสกามและวัตถุกามของท่านผู้อื่น ตรงกับภาษาบาลีที่ว่า อนภิชฺฌา โหติฯ
    2. คือ ให้ระวังเจตนากรรมให้สัมประยุตต์ด้วยกรุณาอยู่ทุกเมื่อ อย่าให้โทสะ พยาบาท เข้าครอบงำได้ ตรงกับภาษาบาลีที่ว่า อพฺพยาปาโท โหติฯ
    3. คือ ให้ระวังเจตนากรรมให้สัมประยุตต์ด้วย มุทิตา อุเบกขา อยู่ทุกเมื่อ อย่าให้ไหลไปในทางผิด ให้เห็นตรงตามคลองธรรมทั้ง 10 นี้อยู่ทุกเมื่อ ตรงกับภาษาบาลีที่ว่า สมฺมทิฎฺฐิโก โหติฯ


    อ้างอิง


    1. พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช), พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548
    2. พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ 12 พ.ศ. 2546
    3. พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท), อัตตโนประวัติ ธรรมบรรยาย และ คิริมานนทสูตร, ชมรมพุทธศาสน์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต 2531 ผู้พิมพ์ หจก. ป. สัมพันธ์พาณิชย์






    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย Admax : 12-29-2017 เมื่อ 01:58 AM
    ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
    ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
    รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
    การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ
     
  4. Admax said:
    กรรมที่ตนทำผิดพลาดพลั้ง กับวิบากกรรมผลสืบต่อเนื่องของกรรมนั้น

    กรรม และ ทาน ศีล ภาวนา

    กรรม แปลว่า การกระทำ การกระทำใดก็ตามในอดีต หรือ ปัจจุบัน โดยเจตนาทางใจ วาจา กาย ล้วนเป็นกรรมทั้งสิ้นกรรม คือ การกระทำต่างๆทางกาย วาจา ใจ, ส่วนวิบากกรรม คือ ผลของการกระที่ตนได้รับสืบต่อเนื่องจากการกระทำนั้นๆ

    ดังนั้นแยกกรรมใน 2 ประประเด็นไม่ต้องไปเปรียบเทียบไกลเกินจะสัมผัสได้ โดยนัยยะดังนี้..

    1. กรรมในปัจจุบันกาล คือ การกระทำของเราต่างๆของเราคือการ คิด พูด ทำ ในปัจจุบันขณะนั้นๆนั่นเอง, ส่วน วิบากกรรมส่งผลคือ ผลของการกระทำที่ตนได้รับสืบต่อเนื่องจากการกระทำนั้นๆในปัจจุบัน
    - เราอยู่โดยความประมาท ไม่ระวัง ไม่ดูแลรักษา เราก็มีการกระทำทางใจที่ละเลย ไม่ใส่ใจ ไม่เห็นคุณค่า ไม่เห็นความสำคัญในสิ่งนั้นๆ ที่จะเกิดความสุมเสี่ยง เสียหาย สูญหาย
    - เมื่อกระทำทางใจอย่างนั้นส่งผลให้ การกระำทางวาจา การกระทำทางกายของเรา เป็นไปตามที่ทำใจไว้ คือ ก็จะพูดย้ำใจย้ำคิดในเชิงละเลย แล้วก็กระทำทางกายที่ละเลย ขาดสติ ระลึกไม่ได้
    - วิบากกรรมที่ได้รับต่อเนื่องก็คือ เกิดความสูญเสีย พรัดพราด เสียหาย ฉิบหายตามมา

    2. กรรมเก่าในอดีตชาติ คือ การกระทำต่างๆทางกาย วาจา ใจ ในอดีตชาติกาล, ส่วน วิบากกรรมเก่าที่ส่งผล คือ ผลของการกระทำที่ตนได้รับสืบต่อเนื่องจากการกระทำนั้นๆตั้งแต่ชาติก่อนมาจนถึงปัจจุบัน
    ..ส่งผลให้ทั้งๆที่ตรวจสอบตรวจทาน ระวัง ไม่ผิดศีล แต่ก็ยังเกิดสิ่งที่ทำให้สูญเสียซ้ำประจำๆ จากความไม่ประมาท ได้สิ่งใดมาก็ต้องเสียไป ถูกพรากสิ่งของหรือบุคคลอันเป็นที่รักของตนอยู่ซ้ำประจำๆ ให้พึงสังวรไว้ว่า สัตว์ทั้งหลาย มีกรรมเป็นของๆตน มีกรรมเป้นผู้ให้ผล มีกรรมเป้นแะนเกิด มีกรรมเป็นที่พึ่งพาอาศัย เราจะทำกรรมได้ไว้เป็นบุญหรือเป็นบาป เราจะเป็นทายาท คือว่าจะได้รับผลของกรรมนั้นสืบไป จิตวิญญาณเดิมเรานี้ เกิดเป็นคนบ้าง สัตว์บ้าง เทวดาบ้าง สัตว์นรกบ้าง ด้วยกรรมผรุวงแต่งให้เป็นไปต่างๆนาๆ มีกรรมเป็นแดนเกิด เป็นที่ติดตามอาศัย เป็นทายาทกรรม ด้วยเหตุอย่างนี้ๆพระพุทธศาสดาทรงตรัสรู้แจ้งโลกได้เห็นชัดแทงตลอดในสิ่งนี้จึงสั่งสอนสัตว์ให้ดำรงอยู่ด้วย ทาน ศีล ภาวนา
    ..ซึ่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระบรมศาสดาเมื่อทรงตรัสรู้ ทำความรู้แจ้ง จึงได้ทรงเห็นแจ้งแทงตลอดว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นแดนเกิด เพราะผลของกรรมที่ทำมานั้นแลทำให้เกิดมา "ทั้งมี และ ไม่มี หรือ กลางๆ" ซึ่ง อายุ วรรณะ สุขะ พละ ด้วยประการดังนี้
    - บางคนมีโภคทรัพย์ สมบัติ ฐานะ สภาพแวดล้อมที่ดี มิตร สหาย ครอบครัว - บางคนไม่โภคทรัพย์ สมบัติ ฐานะ สภาพแวดล้อมที่ดี มิตร สหาย ครอบครัว
    - บางคนมีโอกาส - บางคนด้อยหรือขาดโอกาสที่ดีๆ
    - บางคนพบพระพุทธศาสนา - บางคนไม่มีโอกาสพบพระพุทาธศาสนาถึงแม้จะเคยได้ยินก็ตาม (ดูฝรั่งที่มาบวช กับฝรั่งที่ไม่รู้จักพระพุทธศาสนา หรือรู้แต่ไม่สนใจ)
    - บางคนมีความเชื่อ วิถีการสอน วิธีคิด แนวทาง มุมมองความเห็น คิด พูด ทำ ดำรงชีพโดยชอบธรรม - บางคนเห็นผิด คิดผิด พูดผิด ทำผิด ดำรงชีพผิดดำรงชีพอยู่ด้วยความเร่าร้อน เบียดเบียนทำร้ายผู้อื่น ชอบยุ่งเกี่ยวพรากเอาของคืนอื่น รังแก ข่มเหง ทำร้ายคนอื่นเป็นต้น
    - บางคนมีความเอื้อเฟื้อ - บางคนตระหนี่จนตายเป็นปู่โสมเฝ้าทรัพย์
    - บางคนมีสุขภาพดี ไม่มีโรค ไม่เจ็บป่วย - บางคนเจ็บป่วยตลอดเวลา เป็นโรคร้าย
    - บางคนร่างกายงดงามหมดจรดครบ 32 ประการ - บางคนขี้เหร่ไม่งาม และพิการ
    - บางคนทำอะไรก็ดี ถูกหมด ไปเจริญ มีสมบัติไหลเข้ามาให้ได้ใช้จ่ายและคงไว้อยู่ไม่มีหมด - บางคนทำดีให้ตายก็ผิด ไม่เจริญ ไม่ถูกกาล ทำคุณไม่ขึ้น มีแต่ความฉิบหาย มีสมบัติสิ่งใดก็ต้องสูญไปให้หมด
    - บางคนมีความฉลาด บางคนโง่ด้อยปัญญาความรู้
    - บางคนจิตใจดีงาม เย็นใจ ไม่เร่าร้อน มีจิตผ่องใส มีใจเแื้อเฟื้อ เว้นจากความเบียดเบียน - บางคนจิตใจหยาบช้า ต่ำทราม จิตใจหมดมุ่น ติดใคร่ อยากได้ ไม่รู้จักพอ ตระหนี่หวงแหน มีชีวิตอยู่ด้วยความเร่าร้อนคอยเบียดเบียนคนอื่น

    ..เราทุกคนได้เกิดเป็นคนนี้ยาก เพราะต้องมีศีลมาก่อนจึงเกิดเป็นคนได้ การเกิดเป็นคนว่ายากแล้ว การเกิดมาพบเจอได้ฟังเรียนรู้พระสัทธรรม ธรรมแท้ในพระพุทธศาสนานี้ยากยิ่งกว่า ดังนั้นที่เราต่างคนต่างก็มีต่างๆกันไป เพราะสัตว์โลกคือเราทุกคนนี้มีกรรมเป็นแดนเกิด เป็นที่พึ่งพาอาศัย เราทำกรรมได้ก็ย่อมได้รับผลของกรรมนั้น
    - เรามีจิตผ่องใส มีใจเอื้อเฟื้อเกื้อกูล เว้นจากความเบียดเบียน เกิดชาติใดเราก็มี
    - เรามีจิตหมกมุ่นมัวหมอง เศร้าหมอง หวนแหนตระหนี่ เบียดเบียนอยากได้ ผูกใจข้องเกี่ยว หมายพราก ฝั่กใฝ่หมายใจเอาของเขามาครอบครอง เบียดเบียน รังแก ทำร้ายคนอื่น ้กิดมาชาติใดก็ถึงความไม่มี หรือมีมาก็ต้องสูญไป
    - กรรมใดมีมากกรรมนั้นย่อมส่งผลก่อน กรรมใดมีน้อยย่อมส่งผลน้อย ไม่มีเลยก็ไม่ส่งผล

    - กรรมก็คือกรรม เราแก้กรรมใดที่เราได้กระทำผ่านมาแล้วนั้นไม่ได้แน่นอน กรรมชั่วมันก็คือชั่วแก้ไขไม่ได้ กรรมดีก็คือดีไม่มีอย่างอื่น กรรมใดมีมากก็ส่งผลก่อน กรรมใดมีน้อยก็ส่งผลช้า ..กรรมที่น้อยมากๆก็มีผลทำให้ใจเราเศร้าหมองไม่สบายกายไม่สบายใจชั่วคราว แต่ไม่มีผลอะไรร้ายแรงเสียหายจนสูญสิ้น ..ดังนั้นเราทำกรรมดีเพื่อให้ปัจจุบันและต่อไปภายภาคหน้าของเรานี้มีแต่สิ่งดีๆเกิดขึ้นแก่เรา หากทำดีแล้วแต่สิ่งดีๆยังไม่เกิดก็แสดงว่ากรรมดียังน้อยอยู่ยังไม่เพียงพอ ส่วนกรรมชั่วเก่าเรานั้นมีมากจึงส่งผลสืบต่อเนื่องแก่เราจนกว่าจะหมดสิ้นไป ดังนี้เมื่อเจอสิ่งร้ายก็รู้ว่ากรรมชั่วเรามีเยอะทำให้ผลสืบต่อเนื่องของผลกรรมชั่วมีมากให้เกิดเรื่องร้ายๆไม่ดีทั้งหลายขึ้นแก่เรา และความต้องพบเจอกรรมนี้ๆแหละเป็นบทเรียนให้เราเข้มแข็งเพื่อก้าวข้ามผ่านสิ่งที่ชั่วไปได้โดยไม่หวั่นคลอนแคลนการทำความดีของเราสืบไป ดังนั้นเราตั้งใจทำกรรมดีในตอนนี้เพื่อส่งผลมีแต่กรรมดีที่เราทำส่งผลให้ได้รับสืบไปติดตามไปทุกภพทุกชาติ

    ..ด้วยเหตุอย่างนี้ๆเป็นต้น พระพุทธศาสดาจึงทรงตรัสสอนเน้นให้รู้จักกรรมแท้ๆ วิบากกรรม กรรมที่ส่งผลต่อเนื่องให้เราได้รับ หากเราทำกรรมดีมีมากกว่ากรรมขั่วกรรมดีก็ส่งผลเต็ม จนกรรมชั่วแทบจะส่งผลไม่ได้ หรือไม่มีผลกับเราเลย(เช่นสิ่งที่สูญเสียเพื่อชดใช้กรรมนั้นไปอาจเป็นเพียงเล็กน้อยไม่มีค่ามากสำหรับเรา เป็นต้น) ด้วยเหตุอย่างนี้ๆพระตถาคตเจ้านั้นจึงทรงสั่งสอนให้ทำดี ไม่ประมาท เพื่อสะสมบุญบารมีเป็นกำไรชีวิตให้ติดตามเราไปทุกภพชาติ (ตรงนี้คงตอบคำถามในใจเรื่องกรรมเก่าได้บ้างนะครับ ทั้งประเทศ ศาสนา ความเชื่อ ลัทธิ ที่สุดก็ไม่พ้นกรรม)




    ..ทาน การที่เรามีทานในชาติก่อนเราก็มีทรัพย์มาก มีบริวารมาก ชอบช่วยเหลือคน ชักชวนคนทำบุญก็มีบริวารญาติมิตรมาก เปลี่ยนทรัพย์มาเป็นทานบารมีโดยเหลือจากสิ่งที่เราต้องใช้จ่ายและเก็บสำรองไว้ในปัจจุบัน หรือแต่ละเดือน เราเอามาทำบุญ สะสมบารมีด้วยใจสละให้ทรัพย์นั้นก่อประโยชน์สุขดีงามแก่ผู้อื่น มีมากก็ให้มาก มีน้อยก็ให้น้อย ไม่เกินกำลังไม่ลำบากตนเองและผู่อื่น ทานที่มีใจสละแล้วเราก็ได้สะสมจาคะ จาคะคือผลของทานได้ทำทานนั้นแล้วด้วยใจสละ จึงมีครูบาอาจารย์ท่านสอนว่า ให้เป็นทาน สละเป็นจาคะ ให้ทานด้วยอยากได้ผลอยากรวยก็ได้ความเร่าร้อนในการทำทานความเร่าร้อนในการหวังผลตามมา ไม่มีเงินเราก็ใช้แรงกายช่วยเหลือทำงานวัด กวาดลานวัด ล้างห้องน้ำ ดูแลเป็นกิจธุระให้สงฆ์ ให้ธรรมทานคือให้ปัญญา ความเห็น แนวคิด พูด ทำเพื่อการดำรงชีพอยู่โดยชอบอันเกื้อกูลความดีงามแก่เขา ทำอภัยทานก็ได้ศีล

    ..ศีล ทำจิตให้มีการอภัยเป็นฐาน การเว้นจากความโกรธ แค้น พยาบาท จองเวร เบียดเบียน ทำร้าย การกระทำเหล่าใดที่เป็นไปเพื่อความไม่เอื้อเฟื้อ เกื้อกูล จิตใจข้องแวะยุ่งเกี่ยวสิ่งของและบุคคลอันเป็นที่รักของผู้อื่น จนนำไปสู่การกระทำที่ยุ่งเกี่ยวข้องแวะฉกชิงพรากเอาของผู้อื่นมาเป็นของตน การกระทำที่รังแก ทำร้ายผู้อื่นมห้สูญเสียสิ่งของและบุคคลอันเป็นที่รัก ชิวิตอันมีค่ายิ่งเพราะรัก เกลียดชัง กลัว และ หลง ไม่รู้ความจริง ..การมีศีลนี้อายุยืน เย็นใจ ไม่เร่าร้อนจากใจที่คิดเบียดเบียนทำร้ายใครเพราะรัก ชัง กลัว หลง ด้วยเหตุดังนี้ก็ไม่มีชนักติดหลังให้คอยระแวงหวาดกลัว ไปอยู่ที่ใดก็เย็นใจเป็นที่สบาย เกิดใหม่ก็ได้เป็นคนอีกเพื่อมาสะสมบารมีให้เต็ม ศีลทำให้เย็นใจ ศีลคือเจตนาที่ละเว้น ไม่กระทำเจตนาเบียดเบียนทำร้ายใคร มีความเย็นใจทำให้เกิด ปราโมทย์ ปิติ ปัสสัทธิ สุข สมาธิ ปัญญา ตามมา

    ..ภาวนา ภาวนาเพื่อความฉลาดของจิตวิญญาณ(มโน)
    - ทางโลก กรรมฐาน ๔๐ มีไว้ให้จิตวิญญาณ(มโน)ได้พัก จิตวิญญาณ(มโน)พักปิดสวิซท์การทำงานของจิตวิญญาณ(มโน)ก็ทำให้สมองที่จิตวิญญาณ(มโน)ควบคุมประสาทการทำงานอยู่ได้พักตาม เมื่อจิตวิญญาณ(มโน)ได้พักมีกำลัง จิตวิญญาณ(มโน)จะมีสติที่บริสุทธิ์ จิตวิญญาณ(มโน)จะตั้งมั่น ไม่ฟุ้งซ่าน สงบเย็นไม่สัดส่าย จิตวิญญาณ(มโน)ตะทำงานสบายๆเป็นระบบเลือกใช้ความรู้ความจำที่ถูกจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบมีระเรียบมากขึ้น จำง่าย คิดไว ความคิดปัญญาทางโลกจะเกิดผุดขึ้นมามากมายให้เลือกสรรค์ไม่จำกัดแนวทางวิถีที่เรียนรู้มา สามารถนำมาใช้งานได้อย่างเป็นระบบไม่ปะปนกัน โดยสภาวะนี้จิตวิญญาณ(มโน)จะทำวิตกวิจารเทียบเคียงสภาวะจริงที่เป็นอยู่ จะไม่ฟุ้งเฟื้อความคิด
    - ทางธรรม กรรมฐาน ๔๐ มีไว้ให้จิตวิญญาณ(มโน)ได้พักจิตวิญญาณ(มโน)พักปิดสวิซท์การทำงานของจิตวิญญาณ(มโน)จิตวิญญาณ(มโน)ก็มีกำลังไม่สัดส่ายปรุงแต่งแล่นตามสมมติอารมณ์สมมติความคิด เมื่อจิตวิญญาณ(มโน)ได้พักมีกำลัง จิตวิญญาณ(มโน)จะมีสติที่บริสุทธิ์ประครองจิตวิญญาณ(มโน)ให้รู้ตัวทั่วพร้อม ไม่มีความฟุ้งซ่านสัดส่าย สงบเย็นใจ ไม่หวั่นไหวต่ออารมณ์ที่มากระทบสัมผัส จิตวิญญาณ(มโน)ตั้งมั่นชอบทำหน้าที่เดิมคือตัวรู้ ทำแค่รู้ สักแต่ว่ารู้ได้ ไม่เข้าร่วมเสพย์อารมณ์ที่รู้ผัสสะ แยกขาดจากจิตสังขาร วิญญาณสังขาร ทำให้เกิดความรู้เห็นตามจริง คือ ยถาภูญาณทัสนะ ฉลาดในธรรม ไม่หลงข้องติดสังขารทั้งปวง เข้าไปเห็นบ่อยๆ ด้วยจิตวิญญาณ(มโน)ตั้งมั่นมีกำลังอยู่ด้วยอาการแห่งสังขารุเปกขาเกิดนิพพิทา วิราคะ วิมุตติ (สังขารุเปกขามีทั้งเป็นของหลงและปัญญาดังนั้นถ้าจิตวิญญาณ(มโน)ฉลาดจะลงปัญญาถ้าหลงก็เหมือนคนบ้าไม่มีสติ)
    - การภาวนาอบรมจิตวิญญาณ(มโน)ใน ๔๐ กรรมฐานนี้เพื่ออะไร พระพุทธเจ้าสอนให้ทำเพื่อให้จิตวิญญาณ(มโน)ได้พัก หากจิตวิญญาณ(มโน)ได้พักมันจะมืดปิดสวิซท์การทำงานของจิตวิญญาณ(มโน) เข้าแช่นิ่งไม่รับรู้อะไรอยู่ ถ้าจิตวิญญาณ(มโน)ได้พักจะเกิดความสุขอันที่เกิดมาในชีวิตนี้ไม่เคยได้พบเจอมาก่อนมันประทุพรั่งพรูออกมาในภายในโดยไม่อิงอามิสเครื่องล่อใจ เมื่อสุขเกิดเป็นที่สุดจนดับปราโมทย์ ปิติ สุขนี้ไปได้ จิตวิญญาณ(มโน)ก็จะตั้งมั่นด้วยสติที่บริสุทธิ์ ทำให้รู้ตัวทั่วพร้อม แยกจิตวิญญาณ(มโน)จากสังขารทั้งปวง ทำหน้าที่เดิมแท้ของจิตวิญญาณ(มโน) คือ ทำหน้าที่เพียรรู้ สึกแต่ว่ารู้ไม่เข้าร่วมเสพย์เสวยอารมณ์ปรุงแต่งเหล่าใดทั้งสิ้น แยกขาดจากขันธ์ ๔ ไม่เข้ายึดขันธ์ ๕ อีก สภาวะนี้แหละที่ขันธ์ ๕ รูป เจตสิก จิต จะแสดงของจริงให้เราดู เรียนเกิด ยถาภูญาณทัสสนะนั่นเอง หากจิตวิญญาณ(มโน)เห็นบ่อยๆมีปัญญาก็จะเกิด นิพพิทาญาณ คือ มีอุเบกขาวางเฉยต่อสังขารธรรมทั้งปวง เกิดความวางเฉยทำแต่เพียงรู้ เป็นสังขารุเปกขา ไม่เข้าร่วมเสพย์ มีอาการที่หน่ายคายความยึดเสพย์สังขารทั้งปวงขึ้นประกอบจิตวิญญาณ(มโน) เมื่อจิตวิญญาณ(มโน)หน่ายคลายความยึดสังขารทั้งปวงวิราคะเกิดขึ้นประกอบกับจิตวิญญาณ(มโน) เป็นปัญญาญาณ ด้วยอาการที่ตัดสะบั้นขาดสิ้นซึ่งความยึดหลงสังขารธรรมของจิตวิญญาณ(มโน)เรานี้ ละซึ่งสังขารเหล่านั้น
    ..โดยความเข้าใจส่วนตัวว่านิพพิทาเกิดแต่ขาดวิราคะ ปัญญาญาณจะไม่เกิด มันมีความหน่ายแต่ไม่ตัด แล้วหยั่งลงปุถุชนดังเดิมจิตยังกลับกรอกอยู่ ส่วนพระอริยะมรรคท่านเกิดนิพพิทาญาณและวิราคะที่ไม่กลับกรอก ตัดลงได้ในสังโยชน์บางตัว

    วิธีทำไว้ในใจตอนภาวนา
    ทำปัจจุบันติดข้องในสมมติความคิดแห่งอดีตที่ล่วงเลยมาแล้ว สมมติความคิดแห่งอนาคตที่ยังมาไม่ถึง ขจัดความเศร้าหมองใจด้วย..เลือกธรรมารมณ์ที่ควรเสพย์และไม่ควรเสพย์ คือ
    ก. ความโสมนัส แช่มชื่นใจ ความพอใจยินดี สำราญใจ ความเจริญใจ ฉันทะที่ควรเสพย์ และไม่ควรเสพย์
    ข. ความโทมนัส ขุ่นข้องหมองใจ ความไม่พอใจยินดี ขัดข้องใจ ติดข้องใจ ขุ่นข้องหมองใจ ปฏิฆะที่ควรเสพย์ และไม่ควรเสพย์
    ค. อุเบกขา ความสงบด้วยวางใจไว้กลางๆไม่ติดใจข้องแวะทั้งความพอใจยินดีหรือไม่พอใจยินดี หรือ สัมผัสอันเป็นที่ตั้งแห่งเวทนาที่มีทั้งสุขและทุกข์ที่เสมอกัน ที่ควรเสพย์ และไม่ควรเสพย์

    - ทมะ(ความข่มใจจากกิเลส มีความคิดโดยชอบเปรียบเทียบคุณประโยชน์ ระหว่างความเสื่อมสูญที่มีเทียบกับสิ่งที่ยังคงไว้ได้อยู่ หากเราจะทำสิ่งใดลงไป หรือ พิจารณาต่อเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น เป็นต้น)
    - อุปสมะ(ความสงบใจจากกิเลส ความไม่ติดใจข้องแวะสิ่งไรๆในโลกด้วยเห็นว่าหาประโยชน์สุขไรๆไม่ได้นอกจากทุกข์ ความไม่ผูกเวร ไม่ผูกโกรธแค้นทั้งตนเองและผู้อื่น ยังจิตใจให้ผ่องใสเกิดขึ้น เย็นสงบกายสบายใจไม่ติดใจข้องแวะสิ่งไรๆในโลก เข้าสู่อุเบกขาจิตที่วางเฉยต่อสังขารทั้งปวง)
    - เมื่อสงบ ก็ไม่ฟุ้งซ่าน จิตได้พัก ทำงานเป็นระบบ ยังปัญญาให้เกิดขึ้น ฉลาดเข้าใจเข้าถึงทั้งความรู้เห็นตามจริงใจวิถีทางโลก และ วิถีทางธรรม


    ..เวลาภาวนาคนเรามักติด 2 อย่างคือ สิ่งที่ใคร่กับสิ่งที่ตนรู้สึกไม่สบายกายใจกับมันอยู่ ในที่นี้จะยกเอาการคำนึงถึงกระทำผิดพลาดใดๆ ซ้ำๆ แล้วรู้สึกเสียดายเสียใจที่ทำลงไปแบบนั้น เรายึดเกาะเกี่ยว เสียใจ หวาดกลัว โกรธแค้นตนเองที่ทำอย่างนั้น มีทางแก่ให้พิจารณาเท่าที่เราจะพอมีปัญญารับรู้ได้ 6 ข้อดังนี้..

    1. ก็เมื่อกาลนั้นล่วงเลยมาแล้ว เราย้อนไปแก้ไขสิ่งไรๆไม่ได้ เราต้องยอมรับมัน ให้มันเป็นไปตามวิบากกรรม เราแค่ยอมรับ แล้วสู้กับความจริง เราไม่อาจหลีกหนีความจริงนี้ๆไปได้ ไม่ว่าเราจะไปอยู่ไหน มุมไหนของโลก นานเท่าไหร่ก็หนีสิ่งที่ตนนั้นเคยกระทำไปได้ ดังนั้น..เราต้องยอมรับมัน ไม่หวั่นไหวพร้อมรับปัญหา เผชิญหน้ากับมันด้วยปัญญา ไม่ใช่ความรู้สึก เพื่อให้มันจบลงด้วยดี

    2. เจริญสัมปะชัญญะ รู้อยู่ในปัจจุบัน ทำความรู้ว่าในปัจจุบันนี้เราไม่มีสิ่งนั้นแล้ว ปัจจุบันที่ควรทำ คือ ทำความรู้สำเนียกไว้ในใจว่าสิ่งนี้มีโทษมหันต์ไม่ควรทำสิ่งนี้ๆอีก เป็นบทเรียนสอนตนต่อไป มีใจคำนึงถึงความปล่อยวางว่าสิ่งที่ล่วงเลยมาแล้วทำไปแล้วมันแก้ไขอะไรไม่ได้แล้ว เรายึดเกาะเกี่ยวมันไปย่อมถึอเอาสมมติที่ไม่มีอยู่ในปัจจุบันเอามาตั้งเป็นอารมณ์ให้เสพย์เสวยทุกข์ โทมนัส ปัจจุบันนี้ๆเราไม่ได้ทำสิ่งนั้นแล้วไม่มีสิ่งนั้นทำอยู่อีก ตั้งอยู่อีก มีเพียงวิบากกรรมที่เราต้องใช้ปัญญา ความเพียรชอบด้วยสติ ระลึกได้ แยกแยะ ความอดทน ความข่มใจ ความสงบใจ เผชิญหน้าสู้กับมันเท่านั้นเอง

    3. ก็สิ่งไรๆผลไรๆจากความผิดพลาดเหล่านั้นที่เป็นอนาคตที่ยังมาไม่ถึง ยังไม่เกิดขึ้น คาดเดาไม่ได้ ก็ไม่ใช่สิ่งที่ควรคำนึงถึง
    - เพราะหากเมื่อมันจะเกิด เราจะต้องได้รับผลของการกระทำนั้น ให้เราทำอย่างไรมันก็ต้องเจอผลของกรรมนั้นอยู่ดี
    ..ต่อให้เราวิตกกังวลอะไรไป หวาดกลัว ระแวง ผวาแค่ไหน ระวังอย่างไรเท่าที่จะทำได้เท่าที่สติกำลังเรามี..หรือ..เมื่อรู้โทษจากสิ่งที่ตนทำแล้ว พึงสำเหนียกในใจมั่นว่าจะไม่ทำผิดซ้ำอีก แล้วยอมรับความจริง มีใจยอมรับผลกรรมที่จะเกิดขึ้น พร้อมที่จะเผชิญหน้ามันด้วยปัญญาและสติกำลังด้วยความสงบใจ แล้วทำกายใจให้เป็นที่สบาย ให้มันเป็นไปของมันตามกรรม..ก็ตามที
    - หากมันจะไม่เกิด มันก็ไม่มีทางจะเกิดขึ้นต่อให้เศร้าหมองใจ โศรกเศร้า ร่ำไร รำพันให้ตาย หรือ สงบใจทำให้เป้นที่สบายยอมรับผลกรรมและพร้อมเผชิญหน้ามันทุกเมื่อ ถ้ามันจะไม่เกิดยังไงมันก็ไม่เกิด
    - ซึ่งหากผลกรรมนั้นมีค่าน้อยก็เกิดน้อยพอให้เราวิตกกังวล หรือได้สำเนียกรู้โทษแล้วจดจำไว้ไม่ทำอีก

    4. ทำสัมปะชัญญะ คู่กับความสงบใจ คือ
    - ลองหลับตา เราจะเห็นเพียงมืดๆอยู่ตรงหน้าเท่านั้น แล้วจิตมันยังคำนึงคิดถึงเหตุการณ์ที่ผ่านมา และ คำนึงถึงอนาคตภายที่ที่ตนจะเจออะไรบ้าง ทั้งหวาดกลัวที่จะเจออะไรร้ายๆ กระทบครอบครัว หน้าที่การงาน ทุกสิ่งทุกอย่างใช้ไหม แล้วในขณะหลับตานั้น เรื่องต่างๆนาๆนี้เกิดขึ้นอยู่ใช่ไหม หรือไม่มีเรื่องอะไรเกิดขึ้นเลย แต่เราอาศัยจิตเข้าไปยึดวิตกฟุ้งซ่านทำให้เเหมือนมันกำลังเกิดขึ้นอยู่เบื้องหน้าขณะนี้ๆอยู่ใช่ไหม โดยแท้ที่จริงแล้วเรื่องในอดีตก็ผ่านมาแล้วไม่มีอยู่อีก เรื่องในอนาคตก็ยังไม่เคยเกิดขึ้นเลย เพราะยังมาไม่ถึง นี่แนะเราติดสมมติความคิดทั้งนั้นเลยไม่อยู่กับปัจจุบัน จิตส่งออกนอกไปอดีตบ้าง อนาคตบ้าง ในสิ่งที่ไม่เคยรับรู้ไม่เคยเห็นโดยอาศัยความจำที่เคยเกิดมีขึ้นมาก่อนอุปาทานเอามันขึ้นมา
    - ลองหลับตา แล้วทำใจไว้ในปัจจุบัน เอาจิตจับที่จิต ไม่ติดเสพย์ข้องสมมติความคิดทั้งปวง จับจิตตั้งไว้ที่รู้เท่านั้นมันรู้อะไรก็ช่างแต่สักแต่รู้ ไม่เข้าไปร่วมปรุงแต่งร่วมคิดร่วมเสพย์ จิตมันคิดก็ให้รู้ว่าจิตมันคิดอยู่เท่านั้น ทำใจไว้ที่ความสงบ สบาย จิตผ่อนคลาย ตอนนี้จับที่ลมหายใจเข้า-ออก จิตสงบจับที่ลม ไม่ข้องแวะ ยุ่งเกี่ยวสมมติความคิดเหล่าใดทั้งสิ้น จิตสงบ สบาย เย็นใจ สัก 10 นาที แล้วลืมตาขึ้นมาดูว่า เรื่องที่ตนวิตกกังวลในกาลก่อนนี้ เกิดผลกระทบ เกิดผลสืบต่อเนื่องไรๆจากการกระทำนั้นๆให้เราได้รับผลของกรรมนั้นอยู่หรือไม่ ก็ไม่มีเลยใช่ไหม มันก็ปรกติทุกอย่างไม่มีอะไรเลย ไม่ต่างจากตอนที่หลับตาคิดวิตกกังวลนั้นเลย คือ ไม่มีอะไรเกิดขึ้นทั้งสิ้น
    - ดังนั้น เรื่องมันจะไม่เกิดขึ้น มันก็ไม่เกิด ให้เราวิตกกังวลเร่าร้อนเพียงไรหรือจะเย็นกายสบายใจแบบไหน มันก็ไม่เกิดขึ้น
    - หากมันจะเกิดให้เราวิตกกังวลแค่ไหน เตรียมตัวระมัดระวังไว้เท่าไหร่ ระแวงแค่ไหนมันก็เกิดขึ้นอยู่ดี ดังนี้แล้วเมื่อมันจะเกิดมันก็ต้องเกิด
    - ลองเทียบเคียงดูว่าเราจะอยู่ด้วยความวิตกกังวลจนกลายเป็นคนย้ำคิดย้ำทำ วิตกจริตรอให้ผลสืบต่อเนื่องของกรรมนั้นเกิดขึ้นให้เราได้รับผลของมัน.. เทียบกับการที่เราจะอยู่เย็นกายสบายใจไม่มีกังวลมันก็ต้องเกิดอยู่ดี สู้ทำใจยอมรับความจริง สอนใจไม่ให้ทำผิดพลาดอีก ทำบุญสะสมบารมีต่อไป แล้วปล่อยให้กรรมมันเป็นไปของมัน ด้วยความเบาสบายกายใจไม่ต้องวิตกกังวลใดๆจนมันเกิดผลกรรมสิบต่อเนื่องให้เราได้รับผลของกรรมนั้น เราก็เพียงแค่ยอมรับมันเท่านั้นก็จบแล้วอยู่มีชีวิตปรกติสบายไป อันไหนมันมีค่ากว่ากัน

    ยกตัวอย่าง
    ก. ปัจจุบันขณะหรือช่วงเวลาที่ผ่านมานั้นที่เราวิตกกังวล ร่ำไร รำพัน คับแค้นกายใจ หวาดกลัว ไม่สบายกายใจอยู่นี้ จะไปที่ไหนอยู่มุมใด..ผลแห่งกรรมนั้นมันเกิดขึ้นหรือยัง ก็ยังไม่เกิด และไม่มีเกิดขึ้นเลย และ อีกในปัจจุบันขณะหนึ่งหรือช่วงเวลาที่ผ่านมานั้นที่เรามีความสงบใจเป็นที่สบายเย็นใจ จะไปที่ไหนอยู่มุมใดมา..ผลแห่งกรรมนั้นมันเกิดขึ้นให้ได้รับหรือยัง ก็ยังไม่เกิด และไม่มีเกิดขึ้นเลย
    .. ด้วยเหตุดังนี้ต่อให้เราวิตกกังวลแค่ไหนหรือทำให้เป็นที่สบายใจยอมรับความจริงพร้อมเผชิญหน้ามันด้วยจิตที่ผ่องใส เมื่อมันไม่เกิดมันก็ไม่เกิดขึ้นอยู่ดี
    .. เมือสิ่งที่วิตกคือ อดีตที่ล่วงเลยมาแล้วปัจจุบันนี้ไม่มีอยู่อีก คิดคำนึงไปจิตใจก็เศร้าหมองใจเปล่าๆ ทั้งๆที่ปัจจุบันนี้ไม่มีเหตุการณ์นั้นๆอยู่อีกเลย และ อนาคตมันเป็นเรื่องที่ยังมาไม่ถึง คาดเดาไม่ได้ จึงไม่ควรวิตกกังวล ให้รู้อยู่ในปัจจุบันเอาจิตจับที่จิตไม่หวั่นไหวไปกับความคิด ทำความสงบไว้ในภายในใจมีสติเป็นเบื้องหน้านิ่งรู้เฉพาะหน้าไม่เสพย์สมมติเความคิดหล่าใด
    ข. ปัจจุบันขณะหรือช่วงเวลาที่ผ่านมานั้นที่เราวิตกกังวล ร่ำไร รำพัน คับแค้นกายใจ หวาดกลัว ไม่สบายกายใจอยู่นี้ จะไปที่ไหนอยู่มุมใด..เมื่อผลแห่งกรรมนั้นมันเกิดให้เราต้องได้รับ ยังไงมันก็ต้องเกิดให้ได้รับอยู่ดีไม่ว่าจะหลึกหนีไปไหนก็ตาม และ อีกในปัจจุบันขณะหนึ่งหรือช่วงเวลาที่ผ่านมานั้นที่เรามีความสงบใจเป็นที่สบายเย็นใจ จะไปที่ไหนอยู่มุมใดมา..เมื่อผลแห่งกรรมนั้นมันเกิดให้เราต้องได้รับ ยังไงมันก็ต้องเกิดให้ได้รับอยู่ดีไม่ว่าจะหลึกหนีไปไหนก็ตาม
    .. ด้วยเหตุดังนี้ต่อให้เราวิตกกังวลแค่ไหนหรือทำให้เป็นที่สบายใจยอมรับความจริงพร้อมเผชิญหน้ามันด้วยจิตที่ผ่องใส เมื่อมันจะเกิดมันก็ต้องเกิดขึ้นอยู่ดี
    .. เมือสิ่งที่วิตกคือ อดีตที่ล่วงเลยมาแล้วปัจจุบันนี้ไม่มีอยู่อีก คิดคำนึงไปจิตใจก็เศร้าหมองใจเปล่าๆ ทั้งๆที่ปัจจุบันนี้ไม่มีเหตุการณ์นั้นๆอยู่อีกเลย และ อนาคตมันเป็นเรื่องที่ยังมาไม่ถึง คาดเดาไม่ได้ จึงไม่ควรวิตกกังวล ให้รู้อยู่ในปัจจุบันเอาจิตจับที่จิตไม่หวั่นไหวไปกับความคิด ทำความสงบไว้ในภายในใจมีสติเป็นเบื้องหน้านิ่งรู้เฉพาะหน้าไม่เสพย์สมมติเความคิดหล่าใด

    4. ให้อภัยทานแก่ตนเอง เราเศร้าหมองใจร่ำไร รำพัน ผวาหวาดกลัวมาพอแล้วได้รับวิบากกรรมนั้นมาระดับหนึ่งแล้ว เมื่อให้อภัยตนเองแล้ว ให้เลิกเกาะเกี่ยวเอาอารมณ์ความรู้สึกนั้นมาเป็นที่ตั้งของใจอีก ควรปล่อยวางให้อภัยตนเองแล้วยอมรับความจริง ยอมรับตนเอง ยอมรับความผิดพลาดในสิ่งที่ตนทำลงไปแล้วนั้น อะไรจะเกิด มันก็ต้องเกิดเราไปห้ามมันไม่ได้ ก็ด้วยผลของกรรมนั้นมีอยู่เราก็ต้องยอมรับมันตามจริงนั้นสืบไป ไม่ควรยินดียินร้ายหวั่นไหวในอารมณ์นี้

    5. ทำความสงบใจไม่เกาะเอาสิ่งใดเป็นที่ตั้งแห่งจิต สงบนิ่ง ว่าง ปล่อยวาง ทำผิดพลาดจุดนี้ ทำความเสื่อมให้ตนในแบบนี้ๆ ยังดีกว่าทำให้ตนและคนอื่นฉิบหาย หากไม่ได้ฆ่าคน ก็ยังดีกว่าฆ่าคน ไม่ใช่คนเริ่มเรื่องแต่ตนเข้าไปเสือกก็ยังดีกว่าตนเริ่มแล้วก่อเหตุรุนแรง หากตนเป็นคนก่อต้องสูญเสียความรัก ศรัทธา ครอบครัว มิตรสหายทุกอย่างไป ก็ยังดีกว่าต้องสูญเสียชีวิต เพราะเรายังต้องใช้กายนี้ชีวิตนี้ทำประโยชน์ทดแทนส่วนที่ขาดไปเสียไปพลาดไป อบรมจิตภาวนาให้ตนเป็นคนดีจนติดเป็นสันดารกุศลบารมี เพื่อภายหน้ามีโอกาสได้รับสิ่งที่ดีงามกลับมาเราจะได้ไม่ทำผิดพลาดอีก

    6. ทำเพียงความรู้ตัวที่จะรับวิบากนั้นด้วยใจสงบ ให้มันเป็นบทเรียนสอนตน เมื่อเป็นบทเรียนสอนตน แล้วเราจะแสวงหาถึงต้นเหตุที่เป็นนั้นว่า มันเป็นเพราะสิ่งใด ความรู้สึกใด สัมผัสใด เสร็จแล้วทำความรู้เพื่อละเหตุให้เกิดความผิดพลาดนั้น ตนขาดสิ่งใด ศรัทธา๔ วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ให้เพียรทำสิ่งนั้นให้เกิดมีขึ้นเพื่อประครองตนอยู่ทุกเมื่อด้วยสติระลึกได้ แยกแยะ เลือกธรรมมารมณ์ที่ควรเสพย์ และ ไม่ควรเสพย์ได้ สิ่งใดที่เกินในทางร้ายให้ละ ในทางดีให้คงไว้ด้วยสติปัญญาแล้วเพิ่มส่วนที่ขาด แล้วให้อภัยตนเอง ทำอภัยทานแก่ตนเอง
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย Admax : 12-29-2017 เมื่อ 02:51 AM
    ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
    ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
    รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
    การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ
     
  5. Admax said:
    บรรทัดฐาน กับ แรงบรรดาลใจ

    ไม่ควรตั้งบรรทัดฐานไว้กับสิ่งมีชีวิต อย่าเอาตนเองหรือใครเป็นบรรทัดฐาน เพราะแต่ละคนมีบรรทัดฐาน ความสามารถ ศรัทธา ความเพียร สติ สมาธิ ปัญญา ที่ต่างกัน ไม่เท่ากันกัน จะเสมอกันก็แค่เพียงความเป็นสิ่งมีชีวิต ที่มีความรู้สึก ความเป็นโลกเสมอกัน เพราะยังสิ่งที่เป็นโลกอยู่

    ..อย่าหลงตนเองว่าดีแล้วเอาตนเองเป็นบรรทัดฐาน ตราบที่ยังปุถุชน ยังความเป็นโลกอยู่นี้ เราก็ไม่มีดีพร้อมทุกอย่าง ถ้าดีพร้อมจะไม่ตั้งตนเป็นบรรทัดฐานเปรียบเทียบใครเลย เป็นการตีเสมอท่าน ยกตนข่มท่าน เป็นอุปกิเลศในทางธณรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ "ด้วยเหตุอย่างนี้ๆ จงทำตนให้ถึงซึ่งความดี เพียรทำดีเพื่อความดี ความดีต่อให้ไม่มีใครเห็น ไม่มีใครรับรู้ ไม่มีคนชื่นชมสรรเสริญ ถูกติฉินนินทาว่าร้าย ทุกคนเมินหน้าหนี แต่ความดียังไงมันก็เป็นความดีจะแปรเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่นไม่ได้" จงเพียรทำดีด้วยสติระลึกได้ พร้อมปัญญาวิเคราะห์ตรวจสอบความเป็นเหตุเป็นผล ความขาด ความเกิน กาบลใดควรใช้-ควรทำ-ควรแสดง หรือ กาลใดไม่ควรใช้-ไม่ควรทำ-ไม่ควรแสดง ทำแล้วมีความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลคุณประโยชน์สุขสำเร็จ เจตนาเว้นจากความเบียดเบียนตนเอง(เร่าร้อน ไม่สบายกายใจ ฉิบหาย ระลึกไม่ได้)และ คนอื่น(เร่าร้อน ฉิบหาย เจ็บปวด ทรมาน พรัดพราก) ความไม่หมกมุ่นทำ สุดโต่ง ไม่หย่อนยาน ขี้เกียจ ทำสม่ำเสมอ ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป


    ..จากนั้นก็เอาความดีที่ตนมีนี้แหละแสดงความเป็นเหตุเป็นผลให้เขาเห็น รับรู้ สร้างแรงบรรดาลใจให้แก่เขา หากบอกเขาไม่ได้ก็จงทำให้ดู
    หากเหนื่อยท้อก็ให้รู้ตัวเสมอๆว่าทำความดีเพื่อความดี ..รู้ว่าตนนั้นทำสะสมเหตุแห่งความดี
    ระลึกได้เสมอๆว่า..ที่ตนทำคือความดี แม้พูดไม่ได้ บอกไม่ได้ ไม่มีใครเห็น ไม่มีคนสรรเสริญ มันก็ยังเป็นความดี ให้ยึดมั่นความดีภูมิใจในความดีที่ตนทำ

    ..ด้วยเหตุดังนี้แล้ว สิ่งที่จะกระตุ้นสิ่งมีชีวิตได้ คือ ความเข้าถึงสภาพจิตใจเขา นั่นคือ แรงบรรดาลใจนั่นเอง "จงสร้างแรงบรรดาลใจ แต่อย่าสร้างบรรทัดฐาน" เปรียบเทียบ เพราะหากไม่เป็นไปดั่งที่เดราปารถนา เราก็ทุกข์ เขาทำไม่ได้ก็กดดันเบียดเบียนกายใจเขาไปอีก จงสร้างแรงบรรดาลใจที่ประกอบด้วยความเห็นชอบอันประกอบด้วยศีลและความเพียรด้วยสติ ปัญญา จึงจะสำเร็จประโยชน์


    ..ดั่งที่พระพุทธเจ้าประกาศพระพุทธศาสนาในหลายที่ๆไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ไม่บังคับ ไม่รั้ง ไม่บังเบียด เบียดเบียน ไม่ตั้งบรรทัดฐานต่อเขา แต่แสดงความจริงให้เขาเห็น สร้างแรงบรรดาลใจที่เข้าถึงใจคนให้ประกอบ ศรัทธาด้วยศีล ความเพียร สติ สมาธิ ปัญญา


    ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
    ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
    รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
    การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ
     
  6. Admax said:
    ก. สงบนิ่ง ทำสติไว้เฉพาะหน้า หลับตา สงบนิ่ง ทำใจไว้ในปัจจุบัน มองไปในเบื้องหน้าที่หลับตาเราจะเห็นว่ามันว่างโล่งไม่มีอะไร นั่นแหละคือปัจจุบันแท้จริง เอาจิตวิญญาณจับที่จิตวิญญาณนิ่งไม่หวั่นไหวให้ทำมันทำเพียงแค่รู้ ไม่ไหวตาม ไม่ใคร่เสพย์ ไม่ใคร่รู้ ไม่ลังเลสงสัย ทำไว้ในใจให้จิตวิญญาณนี่ทำหน้าที่แต่เพียงรู้เท่านั้น ไม่มีหน้าที่อื่นนนอกจากรู้ ไม่ข้องแวะสมมติความคิด สิ่งที่จิตรู้เหล่าใด นอกจากความไม่มีอันเป็นปัจจุบันในเบื้องหน้านั้น ..หากมีความคิด นิมิตเหล่าใดเกิดขึ้นมาให้รู้ทันทีว่า นั่นคือสมมติของจิต อาศับความตรึก ความหวนระลึก ความหมายรู้อารมณ์ด้วยสัญญา เพราะของจริงคือเบื้องหน้าในปัจจุบันที่ไม่มีอะไรนั่น สิ่งอื่นใดนอกจากนี้ที่จิตมันรู้นั้นคือสมมติทั้งสิ้น ..จิตจะสลัดสมมติความคิดตั้งมั่นง่าย
    ..เมื่อจิตทำสักแต่เพียงรู้ได้มันจะมีเป็นเพียงตัวรู้ไม่ใช่ตัวปรุง ไม่เสพย์ ไม่บังคับ ไม่ประครอง ไม่ทำเจตนาไรๆทั้งสิ้นนอกจากให้จิตวิญญาณรู้
    ..ซึ่งสภาวะจากนี้จิตวิญญาณมันจะไปรู้เห็นความรู้สึกนึกคิด นิมิต อาการสภาวะไรๆให้ช่างมันปล่อยมันไป ไม่ต้องไปพยายามจดจำสภาวะอาการ หมายรู้อารมณ์ความรู้สึกไรๆด้วยสัญญาจดจำสำคัญมั่นหมายไรๆทั้งสิ้น เพราะสัญญาที่ไม่บริสุทธิ์มันเป็นที่ตั้งแห่งสมมติ หากเราประครองมากไป คือ พยายามทำเจตนาเหล่าใดในขณะนี้..ก็เท่ากับเราพยายามทำเจตนาเข้าไปยึดเอาอารมณ์ทั้งปวงไม่ว่ากาย สังขาร เจตสิก จิต วิญญาณ ขันธ์ ๕ มันจะทำให้จิตวิญญาณหลุดจากสมาธิทันที (..บางท่านอาจเข้าใจว่าเพราะตนมีสติมากไป ซึ่งแท้จริงแล้วไม่ใช่เรามีสติมากไป..แต่มันเป็นเพราะเรามีเจตนาที่พยายามกระทำความยึดในอารมณ์ในอารมณ์แรงกล้าต่างหาก จึงทำให้หลุดสมาธิเพราะเจตนาเข้าไปยึดอารมณ์นี้แหละ เพราะถ้าหากสติแท้จริงแล้วมันจะทำหน้าที่ให้จิตวิญญาณเรานี้ทำแต่เพียงรู้ อันแยกขาดจากจิตสังขาร(ความปรุงแต่งประกอบจิต เวทนา, สัญญา, สังขาร) วิญญาณสังขาร(มโนวิญญาณ, ความคิด, วิญญาณขันธ์) จนจิตวิญญาณเรานี้มันไม่สัดส่ายไหลเสพย์หลงตามสสมติทั้วปวงที่จรมาหลอกให้จิตหลง ทำให้จิตวิญญาณมันนิ่งแช่ได้พักเมื่อปิดสวิทซ์ให้จิตวิญญาณได้พักมันก็จะมีกำลัง จิตมันจะรู้รอบรอบจำได้ทั้งหมดเอง โดยไม่ต้องไปหมายรู้อารมณ์ใดด้วยสัญญาทั้งสิ้น

    ข. อานิสงส์จากสงบนิ่ง จิตนิ่งแช่ในเบื้องหน้าจับเพียงที่ว่าง มืด ไม่มีประาณ นิ่งแช่อยู่อย่างนั้น ด้วยกำลังของสมาธิทำให้มีอาการที่ความมืดนั้นดูดจิตเราออกไปอีกที่ ให้ปล่อยมันเป็นไป ไม่ต้องไปประครองมากไป หรือตกใจ หรือพยายามจดจำอาการ จิตจะไม่หลุดจากสภาพนั้นๆ หากหลุดขาดจากกายด้วยอาการนี้ๆ เข้าอรูปฌาณได้

    ค. กรุณา ความมีใจเอื้อเฟื้อเกื้อกูล ให้สัตว์ปราศจากทุกข์ ไม่มีทุกข์ พ้นจากทุกข์ ประสบเพียงสุขเกิดมีขึ้นแก่เขา เหมือนดั่งอากาศอันมันเป็นที่ว่างไม่มีสิ้นสุดเหล่าใด ความว่างจากทุกข์ ความไม่กระทบสัมผัสซึ่งทุกข์อันไม่มีประมาณ อากาศความว่างเหล่านั้นย่อมทำให้ความพ้นจากทุกข์ไม่ถูกทุกข์สัมผัสหยั่งเอาของสัตว์ย่อมไม่มีประมาณเท่าความว่างเป็นอากาศไม่มีสิ้นสุดด้วยประการฉันนั้น เมื่อไม่มีทุกข์ย่อมยังสุขให้เกิดมีขึ้นด้วยประการฉะนั้น ทำไว้ในใจมนสิการไปเอาจิตจับที่ความว่าง น้อมใจไปถึงความว่างจากทุกข์ ความไม่มีไม่ถูกทุกข์กระทบสัมผัสแก่เหล่าสัตว์ ด้วยความว่างอันไม่มีประมาณด้วยประการฉะนั้น จิตเข้าอากาสานัญจายตนะ
    มุทิตา ความคงไว้ได้ซึ่งทรัพย์ทั้งปวงคนตนย่อมเป็นสุข ความสุขอยู่ที่จิตด้วยประการดังนี้เป็นต้น ด้วยเหตุดังนี้แล้ว อริยะทรัพย์(คือ บารมี ๑๐ ทัศน์, ทาน, ศีล, ภาวนา หรือ ศีล, สมาธิ, ปัญญา เหล่าใด) ยังคงอยู่ไว้ได้ย่อมทำให้จิตวิญญาณเป็นสุข สุขอยู่ที่จิตวิญญาณ ซึ่งอริยะทรัพย์ทั้งปวงจะยังคงอยู่ได้ก็ด้วยความไม่ส่งจิตออกนอก ทุกอย่างคงไว้ภายในจิตไม่ส่งนิตออกนอก อุปมานิมิตนี้เป็นดั่งดวงจิตที่ไม่สัดส่ายส่งออกนอกตามสัมผัสความรู้สึกอารมณ์ วิตก หรือนิมิตเหล่าใด ยังคงไว้ในภายในยังกำลังของจิตให้เกิดมีขึ้น จิตมีกำลังไม่สัดส่ายข้องแวะย่อมยังสุขอันบริสุทธิ์เกิดขึ้นแก่จิต เอาจิตวิญญาณจับที่จิตวิญญาณ(เอาจิตจับที่จิตไม่ส่งออกนอก มีนิมิตดั่งจิตรวมลงอยู่ในที่เดียวคือใจไม่พุ่ง ไม่ซ่าน ไม่กระเซ็นออกไปภายนัญจายตนะ ความดับไปในอากาสานัญจายตนะ เข้าสู่ วิญญานัญจายตนะ

    วิญญานัญจายตนะ คือ กสินวิญญาณ จิตจับที่จิตไว้ในภายในดั่งเบื้องต้นทำสงบนิ่งเอาจิตจับที่จิต เหมือนทำมุทิตาเจโตวิมุตติ เอาจิตจับที่จิตยังความสุขเกิดที่จิตด้วยคงไว้แห่งอริยะทรัพย์ของตน และหมู่สัตว์ เป็นต้น




    ฝึกกำหนดเข้าขณิกสมาธิ อุปจาระสมาธิ อัปปนาสมาธิ/ฌาณ ไม่ยึดสมมติ ใจน้อมเอาของจริงคือลมธาตุ

    1. คลายใจจากทุกสิ่ง ละอุปาทานจากสมมติในโลกทั้งปวง ไม่ยึดจับสิ่งใดๆทั้งสิ้นทั้งปวงแม้ภายนอกและภายในกายใจนี้
    2. มีสติอยู่เฉพาะหน้าตั้งจิตปักหลักไว้ที่ปลายจมูกรู้ลมหายใจเข้า-ออก



    กำหนดจิตลงด้วยสัญญา

    1. คลายใจจากทุกสิ่ง ละอุปาทานจากสมมติในโลกทั้งปวง ไม่ยึดจับสิ่งใดๆทั้งสิ้นทั้งปวงแม้ภายนอกและภายในกายใจนี้
    2. มีสติอยู่เฉพาะหน้าตั้งจิตปักหลักไว้ที่ปลายจมูก รำลึกถึงสภาวะอาการฌาณ สมาธิที่ต้องการเข้า 3. รู้ลมหายใจเข้าด้วยใจผละใจออกจากโลก 4. หายใจออกดีดจิตลอยเข้าสภาวะที่กำหนดหมายไป




    มนสิการพักจิต

    1. จิตจับนิมิตเบื้องหน้า จิตเจ้าไปตั่งมั่นแนบอยู่ภายในนิมิต
    2. มีจิตจับนิมิตเบื้องหน้าไส้มั่นไๆม่สัดส่าย
    3. มีใจคลายจากนิมิตสัญญา สมมติ หน่าย คลายอาการที่กำลังเป็นอยู่ คลายพักออกจากการรับรู้ต่างๆที่เป้นอยู่นั้น
    4. หายใจเข้าผลักดีดจิตออกจากนิมิตโดยที่นิมิตนั่นตั้งอยู่ที่เดิน อุปมาเหมือนลมหายเข้าเข้าเป็นลมพัดจิตดีดลอยออกไปจากนิมิต
    5. หายใจออกผลักดีดจิตขึ้นหลุดพ้นนิมิตไป

    จิตมันเดินไปเองออกตั้ง ณ ที่ปฐมฌาณ



    บันทึกกรรมฐานวันที่ 23/7/60 เกิดวิตกใน ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๓ สังขาร วิญญาณธาตุ ขณะทำสมาธิ

    ** ซึ่งตรงนี้เกิดเฉพาะความคิดหวนระลึกทั้งที่อ่านจำมา ทั้งที่ระลึกถึงสัมผัส คิดสมมติคาดคะเนเอายังไม่เห็นจริงไม่ชัด ไม่ใช่เห็นในฌาณ **

    กายขันธ์ มีธาตุ ๕(ว่าด้วยธาตุ ๖) เป็นสังขาร มีลมหายใจเป็นต้น คือ กายสังขาร ไม่มีลมหายใจกายก็ไม่อาจจะคงรูปอยู่ได้
    จิตขันธ์ มี เวทนา สัญญา สังขาร มีความรู้สึก จำได้หมายรู้ ความปรุงแต่งนึกคิด คือ จิตสังขาร ไม่มีความรู้สึก ไม่มีความจำสำคัญมั่นหมายในอารมณ์ ไม่มีความนึกคิด จิตก็เกิดมีไม่ได้
    วิญญาณขันธ์ มี ตัวรู้ทางทวาร ๖, รู้ผัสสายตนะ มีอายตนะ ๑๒ เป็นเครื่องรู้ เป็นสังขารให้เกิดมีขึ้นวิญญาณขันธ์ หากดับสฬายตนะ ผัสสายตนะย่อมไม่มี วิญญาณที่มีในขันธ์ก็มีไม่ได้ มโนคือใจก็รู้ไม่ได้ รูปนามก็ไม่มี เวทนาก็ไม่มี สัญาก็ไม่มีในทวาร ความตรึกนึกคิดในทวารก็ไม่มี ธรรมชาติที่เป็นตัวรู้ๆในขันธ์ก็ดับไป ไม่ยึดสิ่งที่จิตรู้ ความเข้าไปยึดผัสสายตนะย่อมดับ

    มีนัยยะหนึ่งได้ฟังจากหลางพ่อเสถียร ธีระญาโน ว่า วิญญาณคือจิต จิตตัวรู้ จิตรู้สิ่งใดสิ่งนั้นคือสมมติทั้งหมด
    มีนัยยะหนึ่งได้ฟังจากผู้รู้อภิธรรมว่าวิญญาณเกิดกับจิต


    ธาตุ ๔ เป็นกายสังขาร
    เวทนา สัญญา สังขาร เป็นจิตสังขาร
    วิญญาณ เป็นมโนสังขาร

    ธาตุ ๔ มีกายครอง
    เวทนา สัญญา สังขาร มีจิตครอง
    วิญญาณ มีวิญญาณครอง

    ธาตุ ๔ เป็นกายสังขาร มีกายครอง
    รู้สึก จำ คิด เป็นจิตสังขาร มีจิตครอง
    รู้สัมผัส(รู้สึก รู้อาการ รู้สมมติ) เป็นที่รู้ของใจ เป็นมโนสังขาร มีใจครอง

    - ธาตุ ๔ เป็นกายสังขาร เป็นสิ่งที่จำเป็นของกาย ทำให้ยังกายอยู่ ทำให้เกิดเป็นกาย มีกายครอง- ความรู้สึก ความจำได้หมายรู้ ความคิด(ความปรุงแต่ง แต่งเติม ความสงเคราะห์ ประมวลมาของอารณ์) เป็นจิตสังขาร เป็นสิ่งที่จำเป็นของจิต ทำให้เกิดเป็นจิตดวงนั้นดวงนี้ ทำให้ยังจิตอยู่ มีจิตครอง
    - สฬายตนะ หรือ อายตนะภายใน ๖ ผัสสายตนะ เป็นเครื่องมือที่เข้าไปตั้งอยู่อาศัยของวิญญาณ เป็นที่จำเป็นของวิญญาณ เป็นที่วิญญาณใช้ ทำให้เกิดเป็นวิญญาณ มีวิญญาณครอง
    - วิญญาณ คือ ความรู้ ตัวรู้ๆอะไรทั้งปวง รู้ทุกอย่าง คือ ตัวรู้ผัสสายตนะในทวาร ๖ ตัวรู้ความรู้สึก อาการ รู้สมมติบัญญัติก็ดี ของจริงก็ดี เป็นมโนสังขาร เป็นสิ่งที่เนื่องด้วยใจ เป็นสิ่งที่ใจอาศัยรู้ จิตเดิมเรานี้เป็นธาตุรู้เท่านั้น ไม่มีความปรุงแต่งนึกคิด สั่ง ตาม หยุด ตัด ทำ ถอนอันใดทั้งสิ้น แต่อาศัยวิญาณจึงรู้ สั่ง ตาม ห้าม ขัดได้ ทำให้มโนนี้ยังรับรู้อยู่ได้ มีใจครอง



    ก. สัจธรรมคู่ ๒ คือ ทุกข์ กับ สมุทัย เป็นเรื่องของโลก
    - เข้าถึงก็เข้าใจแจ่มแจ้งในความเป็นโลก ความเป็นธรรมชาติของโลก สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต
    - เข้าถึงก็รู้แจ้งชัดความเป็นโลก เห็นความเป็นโลกุตระ จำแนกแยกแยะรู้เห็นของจริงต่างหากจากสมมติ
    - เเป็นเครื่องเข้าถึงจิตเป็นพุทโธ คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น

    ข. สัจธรรมคู่ ๒ คือ นิโรธ กับ มรรค เป็นเรื่องของโลกุตระ เข้าถึงก็แจ้งธรรม
    - เข้าถึงก็ตื่นจากโลก ตื่นจากสมมติ เดินสู่ทางโลกุตระ
    - เข้าถึงก็เลิกบานพ้นแล้วจากสมมติกิเลาของปลอม
    - เป็นเครื่องเข้าถึงจิตเป็นพุทโธ คือ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน

    ค. สัจธรรม คือ พรหมจรรย์(ทาน ศีล พรหมวิหาร ๔)
    - เป็นเครื่องปฏิบัติเพื่อประครองกายใจเราไว้อยู่ด้วยความไม่อิงอามิส เข้าถึงสมาธิ

    ง. สัจธรรม คือ สมาธิ
    - เป็นเครื่องปฏิบัติเพื่อดำรงรักษาจิตไว้อยู่ด้วยความไม่อิงอามิส เข้าถึงปัญญา

    จ. สัจธรรม คือ ปัญญา
    - เป็นเครื่องเข้าถึงความเบิกบาน พ้นแล้วซึ่งความหลงโลก หลงสมมติ


    **เมื่อแจ้งชัดโลกกียะ สังขารโลกกียะ จนเห็นโลกเป็นของว่าง ก็จึงเข้าถึงโลกุตระได้**



    ทางโลก เพียรเพื่อความสุขทางกาย ที่ใจอ่อนไหวไปยึดอารมณ์
    ทางธรรม เพียรเพื่อความสุขใจที่ใจไม่ยึดอารมณฺ มีกำลังอยู่ได้ด้วยตัวของมันเอง


    ทางโลก เพียรแสวงหาความต้องการทางกาย คือมีทรัพย์สินบริวารที่พร้อม
    ทางธรรม เพียรแสวงหาเพื่อความต้องการของใจ คือถึงซึ่งความหลุดพ้นทุกข์


    ทางโลก เพียรเพื่อสนองความต้องการให้ได้มาซึ่งสิ่งสมมติที่จิตรู้
    ทางธรรม เพียรเพื่อสนองความต้องการหลุดพ้นซึ่งสมมติที่จิตรู้


    ทางโลก เพียรเพื่อสนองเวทนาจากผัสสะที่มากระทบให้จิตรู้
    ทางธรรม เพียรเพื่อละเวทนาจากผัสสะที่มากระทบให้จิตรู้


    ทางโลก เพียรเพื่อได้ผัสสะที่รู้ทางสฬายตนะ
    ทางธรรม เพียรเพื่อละผัสสะที่รู้ทางสฬายตนะ


    ทางโลก เพียรเพื่อได้สิ่งที่จิตรู้
    ทางธรรม เพียรเพื่อละสิ่งที่จิตรู้


    ทางโลก เพียรยึดตัวรู้
    ทางธรรม เพียรดับตัวรู้


    ทางโลก เพียรสนองสันดาร (นิวรณ์)
    ทางธรรม เพียรดับสันดาร (นิวรณ์)


    ทางโลก เพียรสนองสันดร (อวิชชา)
    ทางธรรม เพียรดับสันดร (อวิชชา)


    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย Admax : 12-29-2017 เมื่อ 02:43 AM
    ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
    ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
    รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
    การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ
     
  7. Admax said:
    บรรทัดฐาน กับ แรงบรรดาลใจ

    ไม่ควรตั้งบรรทัดฐานไว้กับสิ่งมีชีวิต อย่าเอาตนเองหรือใครเป็นบรรทัดฐาน เพราะแต่ละคนมีบรรทัดฐาน ความสามารถ ศรัทธา ความเพียร สติ สมาธิ ปัญญา ที่ต่างกัน ไม่เท่ากันกัน จะเสมอกันก็แค่เพียงความเป็นสิ่งมีชีวิต ที่มีความรู้สึก ความเป็นโลกเสมอกัน เพราะยังสิ่งที่เป็นโลกอยู่

    ..อย่าหลงตนเองว่าดีแล้วเอาตนเองเป็นบรรทัดฐาน ตราบที่ยังปุถุชน ยังความเป็นโลกอยู่นี้ เราก็ไม่มีดีพร้อมทุกอย่าง ถ้าดีพร้อมจะไม่ตั้งตนเป็นบรรทัดฐานเปรียบเทียบใครเลย เป็นการตีเสมอท่าน ยกตนข่มท่าน เป็นอุปกิเลศในทางธณรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ "ด้วยเหตุอย่างนี้ๆ จงทำตนให้ถึงซึ่งความดี เพียรทำดีเพื่อความดี ความดีต่อให้ไม่มีใครเห็น ไม่มีใครรับรู้ ไม่มีคนชื่นชมสรรเสริญ ถูกติฉินนินทาว่าร้าย ทุกคนเมินหน้าหนี แต่ความดียังไงมันก็เป็นความดีจะแปรเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่นไม่ได้" จงเพียรทำดีด้วยสติระลึกได้ พร้อมปัญญาวิเคราะห์ตรวจสอบความเป็นเหตุเป็นผล ความขาด ความเกิน กาบลใดควรใช้-ควรทำ-ควรแสดง หรือ กาลใดไม่ควรใช้-ไม่ควรทำ-ไม่ควรแสดง ทำแล้วมีความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลคุณประโยชน์สุขสำเร็จ เจตนาเว้นจากความเบียดเบียนตนเอง(เร่าร้อน ไม่สบายกายใจ ฉิบหาย ระลึกไม่ได้)และ คนอื่น(เร่าร้อน ฉิบหาย เจ็บปวด ทรมาน พรัดพราก) ความไม่หมกมุ่นทำ สุดโต่ง ไม่หย่อนยาน ขี้เกียจ ทำสม่ำเสมอ ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป


    ..จากนั้นก็เอาความดีที่ตนมีนี้แหละแสดงความเป็นเหตุเป็นผลให้เขาเห็น รับรู้ สร้างแรงบรรดาลใจให้แก่เขา หากบอกเขาไม่ได้ก็จงทำให้ดู

    หากเหนื่อยท้อก็ให้รู้ตัวเสมอๆว่าทำความดีเพื่อความดี ..รู้ว่าตนนั้นทำสะสมเหตุแห่งความดี
    ระลึกได้เสมอๆว่า..ที่ตนทำคือความดี แม้พูดไม่ได้ บอกไม่ได้ ไม่มีใครเห็น ไม่มีคนสรรเสริญ มันก็ยังเป็นความดี ให้ยึดมั่นความดีภูมิใจในความดีที่ตนทำ

    ..ด้วยเหตุดังนี้แล้ว สิ่งที่จะกระตุ้นสิ่งมีชีวิตได้ คือ ความเข้าถึงสภาพจิตใจเขา นั่นคือ แรงบรรดาลใจนั่นเอง "จงสร้างแรงบรรดาลใจ แต่อย่าสร้างบรรทัดฐาน" เปรียบเทียบ เพราะหากไม่เป็นไปดั่งที่เดราปารถนา เราก็ทุกข์ เขาทำไม่ได้ก็กดดันเบียดเบียนกายใจเขาไปอีก จงสร้างแรงบรรดาลใจที่ประกอบด้วยความเห็นชอบอันประกอบด้วยศีลและความเพียรด้วยสติ ปัญญา จึงจะสำเร็จประโยชน์


    ..ดั่งที่พระพุทธเจ้าประกาศพระพุทธศาสนาในหลายที่ๆไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ไม่บังคับ ไม่รั้ง ไม่บังเบียด เบียดเบียน ไม่ตั้งบรรทัดฐานต่อเขา แต่แสดงความจริงให้เขาเห็น สร้างแรงบรรดาลใจที่เข้าถึงใจคนให้ประกอบ ศรัทธาด้วยศีล ความเพียร สติ สมาธิ ปัญญา


    ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
    ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
    รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
    การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ
     
  8. Admax said:
    ปรุงแต่ง เล่นกับจริตนิสัย ความรู้สึก เพื่อสิ่งใด

    ที่จริงที่ครูบาอาจารย์ของหลายๆคน สอนมาว่า ปรุงอารมร์ความรู้สึกจริตมันเล่น เล่นกับจริตตน ความรู้สึกตน โดยส่วนตัวเราเข้าใจว่า..

    1. ที่ครูท่านบอกแนวนั้น เพื่อให้เรารู้เข้าใจว่า ไม่ว่าอารมณ์ใด ความรู้สึกไหนทั้งหมดทั้งมวล มันไม่ใช่ของจริง ล้วนแล้วแต่เราปรุงแต่งสมมติมันขึ้นมาทั้งสิ้น
    2. ความรู้สึกนี้มันไม่ใช่ตัวตนของเรา แต่ความรู้สึกมันเป็นแค่ธรรมชาติอาการของอารมณ์หนึ่งๆที่มากระทบสัมผัสให้จิตรู้เท่านั้น..แล้วก็ดับไป เป็นเพียงอาการหนึ่งๆของจิตที่มีอยู่นับล้านๆแบบตามแต่จิตสังขารปรุงแต่งขึ้นมาให้เรารู้โดยวิญญาณสังขาร หรือ มโนวิญญาณ ซึ่งส่งมาทางมโนทวารให้จิตวิญญาณ หรือ มโน เรารู้เท่านั้น ..โดยกิเลสมันอาศัยจิตวิญญาณเรานี้แหละเข้าไปยึดอุปาทานความรู้สึกนี้มันด้วยสมมมติความคิดปรุงแต่งที่รู้ทางมโนทวารสืืบต่อให้มันเกิดมีขึ้นเป็นทั้งสุข ทั้งทุกข์ ทั้งไม่สุขไม่ทุกข์ ทั้งรัก ทั้งโลภ ทั้งโกรธ ทั้งชัง ทั้งหลง เหมือนที่เราปรุงแต่งจิตนี้มันขึ้นมาเองฉันนั้น
    (เราในที่นี้หมายถึง คือ จิตวิญญาณที่ท่องเที่ยวไปของเรานี้แหละ หรือ มโน มนะ ปฏิสนธิวิญญาณ นั่นเอง)

    3. กิเลสมันสร้างสมมติอารมณ์โดยสมมติความรู้สึกนึกคิดไว้หลอกจิตวิญญาณเราทางมโนทวารนี้เอง จิตจึงรู้แต่สมมติความคิดของปลอม

    4. ดังนั้นเมื่อความรู้สึกใดอันเกิดแต่สัมผัสใด เมื่อเราไม่สืบต่อมันก็ดับ เพราะไม่มีเหตุต่อ แต่หากเราเข้าไปยึดเสพย์ความรู้สึกนั้นด้วยสมมติความคิดมันก็จะสืบต่อเป็นตัวตนของเราในสมมติความคิดแห่งอารมณ์ความรู้สึกนั้นๆขึ้นมา

    จิตสังขาร(เวทนาขันธ์, สัญญาขันธ์, สังขารขันธ์) ปรุงแต่งประกอบความรู้สึกขึ้นเป็นจิต วิญญาณสังขารประกอบความรู้ซึ่งจิตดวงนั้นขึ้นเป็นความคิดให้วิญญาณรู้อีกที

    ..ด้วยประการดังนี้ จึงชื่อว่าเราทำให้มันเกิดมีขึ้น ด้วยเพราะมโนเข้าไปยึดเอาสมมติความคิดของความรู้สึกที่เกิดแต่สัมผัสมาปรุงแต่งเพิ่มนี้เอง จึงมีรัก โลภ โกรธ หลง เหมือนตอนที่เราทรงฌาณเดินอยู่ มีความรู้สึกพุ่งวาบขึ้นมาเร็วมากไวมากแล้วดับไป สิ่งนั้นไม่รู้อะไร พอต่อมารู้สึกเหมือนเกิดนิมิตแสงวาบพุ่งขึ้นก็รู้ว่าแสงนั้นคืออะไรความรู้สึกยังไง เมื่อเราไม่ยึดมันก็ไม่ปรุงต่อ เมื่อเราเสพย์ความรู้สึกนั้นมันจึงปรุงต่อสุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ รัก โลภ โกรธ หลง สืบมาอย่างหนัก

    5. เมื่อรู้ดังนี้แล้ว การปรุงแต่งเล่นกับอารมร์ความรู้สึกนึกคิดบ่อยๆ เราก็จะเข้าใจเหตุให้เกิดสมมตินั้นต่อสัมผัาความรู้สึกอาการไรๆ รู้ความเป็นไป รู้ผลของมัน รวมทั้งวิธีดับมัน

    ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
    ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
    รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
    การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

    จิตรู้สมมติ เป็น สมุทัย
    ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็น ทุกข์
    จิตรู้ของจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค
    ผลอันเกิดจากจิตรู้เห็นของจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ



    ทุกข์ คือ ธรรมชาติของโลกียะ ความเป็นโลกียะ
    สมุทัย คือ สิ่งที่เป็นโลกียะ
    นิโรธ คือ ธรรมชาติของโลกุตระ ความเป็นโลกุตระ
    มรรค คือ สิ่งที่เป็นโลกุตระ

    ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
    ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
    รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
    การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ
     
  9. Admax said:
    บันทึกกรรมฐาน วันที่ 15-12-2560


    หลักการทำสมาธิ

    ๑.) ส่งจิตเข้ารวมไว้ในภายใน ไม่ส่งจิตออกนอก* -> ๒.) ทำให้จิตได้พัก ปิดสวิทซ์การทำงานของจิต* -> .) อานิสงส์จิตได้พัก จะเกิดสุขอัดปะทุพรั่งพรูจากภายในขึ้นมาซาบซ่านเต็มไปหมด -> ๔.) อานิสงส์สุขดับจิตจะมีกำลังอยู่ได้ด้วยตัวเองไม่ต้องอิงอาศัยสมมติอารมณ์ความรู้สึกเหล่าใดมาเป็นเครื่องอยู่ของจิต สติมีกำลังบริสุทธิ์ผุดผ่องเกิดขึ้นประกอบจิตทำให้แยกขาดระหว่างจิต กับ ขันธ์ ๕-> ๔.) อานิสงส์จิตที่มีกำลังเข้าอัปปนาสมาธิ และ ฌาณ

    1. จิตส่งออกนอกมันไม่มีกำลัง จิตส่งเข้ารวมไว้ในภายในจึงมีกำลัง เมื่อรู้ดังนี้แล้วให้น้อมจิตเข้ามาไว้ภายใน ไม่สัดส่ายตามความรู้สึกนึกคิดที่มากระทบสัมผัสให้จิตรู้

    เมื่อจิตส่งเข้าภายใน..มีจิตจับที่จิตไม่ซ่านไหวส่งออกนอกยึดจับเสพย์สัมผัสความรู้สึกสมมตินึกคิดต่ออารมณ์ใดๆที่จิตรู้..จิตจะรวมลงเข้าไว้ที่ภายในจิต
    ..อุปมานิมิตดั่งจิตตั้งมันเพ่งจับที่ภายในจุดๆหนึ่งที่เป็นการรับรู้ ซึ่งทำหน้าที่แค่รู้เท่านั้น ไม่มีหน้าที่เสพย์ หรือกระทำปรุงแต่งไรๆต่ออารมณ์ความรู้สึกนั้นๆ เป็นการเอาจิตจับที่จิตคือตัวรู้ ประครองให้จิตวิญญาณตัวที่ท่องเที่ยวไปของเรานี้ทำหน้าที่เดิมแท้ คือ แค่รู้นั่นเอง


    2. เมื่อจิตเพ่งรวมไว้ภายในโดยไม่ประครองมากไป ทำเป็นที่สบายๆให้จิตมันเป็นไปของมันเอง จิตมันจะอิ่มอัดอยู่ในภายในแล้วมันจะวูบเข้าไปปัสสัทธิขั้นต้น..จิตจะนิ่งดับแช่เหมือนจะรู้อยู่ก็ไม่ใช่..ดับนิ่งไม่รับรู้อะไรก็ไม่ใช่..แต่ที่แน่นอนคือนิ่งแช่เฉยอยู่ไม่กระเพื่อมเอนไหวไรๆทั้งสิ้น..อาการนี้แหละทำให้จิตเรานี้ได้พักปิดสวิทซ์การทำงานของจิต..


    3. จิตได้พัก..จึงเกิดสุขอันหาประมาณไม่ได้อัดปะทุพรั่งพรูจากภายในขึ้นมาให้จิตรู้..
    เมื่อจิตสุขเต็มที่จากการได้พักจนสุขที่อัดปะทุนัันดับลงเหลือแต่ความนิ่งว่างอิ่มเอิบอยู่..จิตตั้งมั่นมีกำลังอยู่ได้ด้วยตัวของมันเองไม่ติดเครื่องล่อใจ เข้าสู่อัปปะนาสมาธิมีจิตไม่สัดส่ายกระเพื่อมอ่อนไหวไปตามอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดอันเป็นสมมติที่กิเลสสร้างขึ้นมาหลอกจิตให้เอนไหวอ่อนแอส่งออกนอกทั้งปวง มีสติบริสุทธิ์แยกจิตออกจากขันธ์ ..จิตมีความรู้อยู่ด้วยการไม่เสพย์สัญญาความปรุงแต่งจิต ไม่มีความคิด มีแต่มนสิการ คือ การทำไว้ในใจของจิต..ปัญญาจึงเกิดขึ้น..ญาณทัสนะปรากฏทำให้เกิดความรู้เห็นตามจริง



    สรุป การทำสมาธิ เราจะทำอย่างไรก็ได้ให้จิตเข้าไปพักให้ได้ ไม่ต้องไปขัดขวาง ไม่ต้องปรุง ไม่ต้องอยากเห็นนั่นโน่นนี่ ปล่อยให้จิตมันวูบดับเข้าไปพัก เพื่อให้จิตมีแรงกำลัง อยู่ได้ด้วยตัวของมันเอง ไม่อาศันเอาอารมณ์ปรุงแต่งสมมติความคิดมาเป็นเครื่องอยู่ของมัน จิตจึงจะเข้าอัปปนาสมาธิ และ เข้าฌาณได้ ..ทางที่ถูกต้องคือ 40 กรรมฐาน ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสอน ซึ่งจะเป็นการฝึกสติให้จดจ่ออยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งได้นาน ทำให้จิตตั้งมั่นเป็นอารมณ์เดียวได้นานตาม กองกรรมฐานทั้ง 40 กองนี้มีไว้เพื่อให้จิตรวมเข้าไว้ในภายใน ให้จิตได้เข้าไปพัก จิตเข้าไปพักจิตก็จะมีกำลังอยู่ได้ด้วยตัวของมันเองไม่สัดส่ายตามอารมณ์ที่เข้ามากระทบ ทำให้จิตเข้าฌาณได้ ทำให้จิตทำหน้าที่เดิมแท้ของจิตได้ นั่นคือ สักแต่ว่ารู้นั่นเอง มีสติบริสุทธิ์แยกขาดจิตกับขันธ์ ๕

    ** ข้อสำคัญเริ่มแรกที่ฝึกทำสมาธิ จิตเรามักจะไม่มีกำลัง ให้ทำไว้ในใจว่าทำสมาธิน้อมรวมเข้าไปไว้ภายในจิต ให้จิตเข้าไปพัก(จิตเราเหนื่อยต้องการนอนพักไม่ต้องการรับรู้อะไร ไม่อยากคิดอะไรนอกจากมีใจเพียงต้องการจะนอนพักเท่านั้น ฉันนั้น..)ทำความพอใจที่ให้จิตได้เข้าไปพักเท่านั้นพอ.. จนเมื่อจิตมีกำลังมากแล้วจึงเล่นในฌาณต่อไป




    วิธีการทำสมาธิ



    ก่อนทำให้จำยุทธศาสตร์หลักของการทำสมาธิไว้ 5 อย่างดังนี้..

    ก. จิตส่งออกนอกมันไม่มีกำลัง ยิ่งจิตส่งออกมากเท่าไหร่ก็ยิ่งใช้กำลังของจิตแล่นตามอารมณ์นั้นๆมาก จิตก็ทำงานหนักขึ้น บั่นทอนกำลังจิตลง กำลังของจิตยิ่งลดทอนลง
    ข. จิตส่งเข้าในจึงมีกำลัง จิตรวมเข้าไว้ในภายในไม่สัดส่ายส่งออกนอกจึงจะมีกำลัง ไม่ต้องทำงานหนัก จิตเริ่มผ่อนคลายได้พัก เหมือนเรานอนหลับ
    ค. จิตพักแช่แแน่นิ่งได้นานเท่าไหร่ จิตก็จะยิ่งมีกำลังมากเท่านั้น ยิ่งรวมลงไปลึกมากเท่าไหร่ ก็จะเข้าสมาธิได้ลึกไปมากฉันนั้น
    ง. การทำสมาธิไม่ต้องไปประครองจิตมากไป ไม่ต้องไปบังคับจิตให้ทำความรู้ หรือเพ่ง หรือพยายามจำจดจำจ้องมากไป จะทำจิตตื่นตัวฟุ้งต่ออารมณ์ความรู้สึกหลึดจากสมาธิทันที (เพราะหากจิตตื่นตัวในขณะที่ไม่มีกำลังอยู่ได้ด้วยตัวเองนั้นมันจะทำให้จิตกระทำเจตนาต่ออารมณ์มาก บังคับมาก เพ่งเกินพอดี กดข่มบังคับเกินประครองใจ ซ่านไหลตามความรู้สึกง่าย จนฟุ้งซ่านระส่ำไม่หยุด ทำให้เข้าสมาธิไม่ได้)
    จ. ให้ทำกายใจเป็นที่สบายๆสะสมเหตุไป ผ่อนคลาย ไม่ยึด ไม่เพ่ง ไม่หน่วงนึกคำนึงสิ่งใดมากไป ไม่ต้องทำเพราะอยากได้นั้น อย่ากได้โน่น อยากได้นี่ ทำให้จิตผ่อนคลายเป็นที่สบายๆ รำลึกไว้เพียงว่าทำสะสมเหตุสมาธิภาวนาไป พอใจที่ได้ทำสะสมเหตุ ให้อาหารแก่จิต และให้จิตได้พักเท่านั้นก็พอ (ความสงบรำงับจากสมมติความคิดทั้งหลาย คือ สมาธิ เป็นอาหารของจิต).. แล้วค่อยๆระลึกรวมลงไปภายในจิตเป็นอารมณ์เดียวเพื่อจิตได้เข้าไปพักก็พอ
    (ซึ่งทำจิตรวมลงเป็นอารมณ์เดียวไปพร้อมกับลมหายใจนี้ง่ายสุดจิตจะแล่นรวมลงตามลมที่พัดเข้าออกเป็นอารมณ์เดียวไว ง่าย สบายๆ มันจะซ่านไปทางไหนก็ตามรู้มันไปมันจบเสร็จกิจค่อยน้อมมาสิการมาดูลมจิตจะไม่หลุดจากสมาธิ หากดึงจิตบังคับประครองมากไปจิตจะหลุดทันที จิตไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่เรา เป็นไปตามสังขารกรรม เราจึงไปบังคับมันไม่ได้ แต่อบรมจิตให้รับรู้มากขึ้นได้จนฉลาดพอจะเลือกเสพย์ธรรมมารมณ์ที่ควรเสพย์ หากมันจะวูบดับลงก็ปล่อยมันไปจิตมันเข้าไปพักหรือดิ่งรวมลงในขั้นสมาธิที่สูงขึ้น)



    เมื่อทำสมาธิ

    1. ระลึกรวมจิตลงเข้าไว้ในภายใน ณ จุดใดจุดหนึ่งที่เป็นฐานที่ตั้งแห่งความระลึก ในที่นี้เรารวมลงไว้ที่หทัย หรือ เหนือศูนย์นาภี 2 นิ้ว

    2. ไม่ส่งจิตออกนอก ทำความรู้ว่าจิตรู้สิ่งใดสิ่งนันคือสมมติทั้งหมด ไม่ยึดสิ่งที่จิตรู้ รวมถึงไม่ยึดกาย กายก็สมมติ เจ็บ ปวด คัน คิด เป็นสมมติ (ลองหลับตาปัจุบันแท้แล้วมีเพียงความมืดเท่านั้น จิตมีความตรึกนึกคิด รู้สิ่งใดด้วยความคิด สิ่งนั้นไม่มีอยู่จริงเลยในปัจจุบัน มันเป็นสมมติเท่านั้น กิเลสมันอาศัยความรู้สึกสัมผัสทางสฬายตนะ ปรุงแต่งคละเคล้าด้วยสมมติเป็นความตรึกนึกเกิดขึ้นให้จิตรู้ ให้รู้สมมติว่าเป็นความรู้สึกนั่นนี่หลอกให้จิตไหลเคลิ้มไปปรุงแต่งเรื่องราวตามสมมติกิเลสของปลอม ดังนั้นไม่ควรยึดสิ่งที่จิตรู้)

    3. เมื่อไม่เอาจิตยึดสิ่งใด จิตไม่ยึดสมมติความคิดไม่ยึดกาย มีอาการเหมือนจิตนิ่งไม่ไหวตามอารมณ์อยู่ เหมือนจะเสพย์อารมณ์ก็ไม่ใช่ รู้อยู่ไม่เข้าร่วมก็ไม่ใช่ จิตจะมีความรู้สึกวูบวาบๆซ่านมา มีอาการวูบหนึ่งขนลุงซู่ซาบซ่านเข้ามา ด้วยความรู้สึกอิ่มอัดมีกำลังในภายในเหมือนลอยได้หรือหนักอึ้งก็มีเป็นต้น มีอาการอยู่ครู่หนึ่ง

    4. จิตมีความหน่ายคลายกำหนัดอุปาทาน จิตจะไม่ยึดเอาความรู้สึก นึก คิด และสิ่งไรๆที่จิตรู้ ไม่ยึดเอากายและความรู้สัมผัสทางกาย จิตจะมีความรู้สึกว่างๆกลางๆแต่เหมือนลอยๆโหวงไม่แต่ต้องสัมผัสเอาสิ่งไรๆทั้งสิ้น..มีอาการเหมือนหลีกเร้นจากการยึดจับทั้งปวง เหมือนความรู้สึกตอนเราง่วงมากแล้วกำลังเข้านอน.. ตอนนี้เป็นช่วงเวลาที่จิตอ่อนควรแก่งานคลายเกิเลสนิวรณ์ ซึ่งสำคัญมาก..
    .. ให้ทำไว้ในใจว่าของแท้อื่นใดที่จิตรู้ไม่มี..นอกจากลมหายใจนี้ เอาจิตจับที่ลมหายใจเข้า-ออก มันจะเริ่มจับที่ลมหายใจเองตลอดเวลา ซึ่งมันจะจับลมยาว เบา ทั้งเข้าและออกของมันเอง ..ตรงนี้ไม่ต้องไปจำจดจำจ้องมัน ไม่ต้องไปตั้งใจมั่นที่จะรู้ลมมากเกินไป ไม่ต้องตั้งใจมั่่นไม่ให้มันสัดส่ายเกินไป
    .. หากตั้งใจหรือตั้งมั่น เจตนาจงใจที่จะรู้ลมหายใจหรือสิ่งใดๆมากเกินไปจิตที่ไม่มีกำลังมันจะตื่นตัวเกินจนไม่รวมลงสมาธิ กลับจะทำให้ใจเราเกิดความฟุ้งซ่านแทน
    .. ดังนั้นให้ประครองแต่พอดี ไม่ต้องประครองมากไป ..ไม่หย่อนยานไปด้วยการทำความรู้ทั่วพร้อม คือ ตามรู้อาการความรู้สึกนึกคิดทันไป โดยทำสักแต่ว่ารู้ทำนิมิตแยกตัวรู้กับสิ่งที่ถูกรู้โดยที่จิตไม่เข้าร่วมเสพย์สิ่งที่รู้ ให้ทำแค่รู้แล้วปล่อยให้มันเป็นไปของมัน มันจะรู้ดูแนบนิมิตเป็นเรื่องราวไรๆเหมือนกำลังฝันก็ช่าง หรือ จะตรึกอะไรของมันที่เราไม่รู้ คือ มันรู้เร่ื่องราวที่ตรึกกับนิมิตในตอนปัจจุบัน แตาพอรู้มันกำลังตรึกแล้วเราจะจำสิ่งที่ตึกไม่ได้นึกไม่ออกก็ช่าง ไม่ต้องไปพยายามตรึกหรือต้องรู้เรื่องราวสิ่งที่มันตรึกให้ได้ ให้ทำแค่ปล่อยมันไป หรือ เหมือนมันวูบดิ่งลง หรือ จะเพ่ง หรือ จะมนสิการก็ตาม ให้ทำแค่รู้แล้วปล่อยให้มันเป็นไป ไม่ต้องไปอยากจดจำสิ่งที่มันกำลังเป็นไปอยู่นั้นๆ เพราะถ้าสติบริสุทธิ์จิตมันจะจำได้เองทุกอย่างแทงตลอดหมด โดยไม่ต้องไปจดจำหมายรู้อารมณ์ด้วยสัญญาไรๆทั้งสิ้น

    5. เมื่อจิตไม่ยึดสิ่งใดนอกจากลมหายใจเป็นอารมณ์เดียว จิตอิ่มจิตวูบลงเหมือนง่วงนอน ตรงนี้ให้ปล่อยมันไปไม่ต้องไปตื่นตัวหรือยัลยั้งไม่ให้ตนง่วง แต่มีใจรู้ประครองตนทำใจจะนั่งอยู่หากจะหลับก็นั่งหลับมันนี้แหละ แล้วจิตมันจะวูบแช่นิ่งเหมือนจะรู้อยู่ก็ไม่ใช่ ไม่รู้ก็ไม่ใช่ แน่นิ่งอยู่ ไม่มีความคิด ไม่มีอะไรทั้งสิ้น อาการนี้จิตเข้าไปพัก ซึ่งตามที่เข้าสมาธิได้พอจะตรีกหวนระลึกตามสติกำลังอาการที่รับรู้ได้โดยลำดับดังนี้

    ๕.๑). จิตวูบรวมลงชั่วขณะหนึ่ง มีอาการเพียงวูบวาบๆ ซาบซ่านขนลุกซู่ จิตสงบลงได้ ได้ขณิกสมาธิ หากประครองจิตให้เพ่งในอารมณ์มากไป..จะทำให้จิตตื่นตัวรับรู้เกินไปในตอนนี้จิตจะหลุดจากสมาธิทันที ..ดังนั้นให้ปล่อนมันไปทำแค่รู้หรือตามรู้พอ มันจะน้อมอะไรก็ช่างเราแต่ตามรู้แล้วค่อยประครองมันมาที่ลมหรือรวมจิตลงไว้ในภายในช้าๆเบาๆ

    ๕.๒). จิตวูบรวมลงพักนานขึ้น มีอาการวูบแช่นิ่งเหมือนสะลึมสะลือพักพอรู้สภาวะพักหนื่ง มีจิตรู้ในความตรึกหน่วงนึก มีนิมิต มนสิการแนบในอารมณ์นิมิตนั้นอยู่ มีความอิ่มเอิบซาบซ่านแล้ววูบออกรู้อาการนั้นแต่ไม่หลุดจากสภาวะนั้นๆ จิตตื่นขึ้นรู้ มีความรู้ตัวตรึกตรองรู้ได้ในสภาวะนั้นสลับกับวูบนิ่งแช่ ได้อุปจาระสมาธิ
    **สภาวะนี้..ถ้าปล่อยไปให้จิตมันเป็นไปของมันจิตจะรวมลงเข้าอัปปนาสมาธิ**
    **แต่ถ้าพยามยามประครองจดจำกระทำจิตต่ออารมณ์..หมายรู้อารมณ์ด้วยสัญญาที่จะจดจำสภาวะอาการนั้นๆ จิตจะหลุดจากสมาธิทันที**

    ๕.๓).จิตวูบรวมลงพักแช่ได้นานมากหน่อย มีอาการวูบรวมลงจุดเดียวดับแช่แน่นิ่งเหมือนจะมีความรู้ทั่วอยู่ก็ไม่ใช่-ไม่รับรู้อะไรเลยก็ไม่ใช่ มันแช่นิ่งอยู่ มีสุขเกิดขึ้นให้รู้ แต่แช่นิ่งรับสุขอยู่ เกิดความรู้ชัด จิตแค่รู้..ไม่กระทำบังคับไรๆ.. แนบนิ่งไปกับอารมณ์ไม่หลุดออก ได้อัปปะนาสมาธิ
    (บางครั้งจิตแช่นิ่งรวมลงพักแช่ไวมากแล้วลงไปลึกมากตามที่จิตรวมลงเข้าไปพักลึก เห็นผัสสะเจตสิกว่าเป็นแบบไหนยังไง เพราะอาศัยการกระทบกับจิตจึงรู้สัมผัสเวทนาได้ ..การกระทบสัมผัสจะเห็นเหมือนฟ้าแลบแปลบบ้างก็มี แล้วเกิดการดำเนินไปของสังขารทั้งหลายสืบต่อไปจากธรรมของจริงเป็นปัจจุบันแท้ สืบต่อไปจนเกิดรู้สมมติขึ้น จะทำให้รู้ได้ทันทีว่านอกจากปัจจุบันแห่งผัสสะแล้ว สืบต่อมาเป็นสมมติทั้งหมด จากความจำได้หมายรู้ต่ออารมณ์ ตรึกขึ้นสมมติ, เหมือนความเปลี่ยนใปของสภาวะธรรมก็มี, จิตรับรู้การสะเทือนกระเพื่อมจากการกระทบกันก็มี หรือ เกิดอาการที่ไม่รู้ว่าอะไรแต่รู้สึกว่ามันเป็นอาการที่ระคน ไม่มีความคิด ไม่มีสัญญารู้ต่ออาการ จนเมื่อจิตมันถอนขึ้นมาหน่อยจึงรู้ว่าเป็นอารมณ์ที่อึดอัดกระวนกระวายแต่ก็ยังไม่รู้ว่าอะไร หรือเพราะอะไร จนถอยขึ้นมาอีกจึงรู้ว่าตนเองลืมหายใจ เพราะจิตเข้าไปไวมาก ดังกรรมฐานที่เราบันทึกไว้เมื่อปี พ.ศ. 2558-2559)

    ๕.๔). จิตพ้นจากการรวมลงเพ่งแช่เป็นอารณ์เดียว จิตตื่นขึ้นจากการพักจิต มีสติกำลังบริสุทธิ์เป็นมหาสติ ซึ่งทำหน้าที่แยกจิตออกการความยึดร่วมเสพย์ต่อนิมิตหรือความรู้สึกไรๆ ณ เบื้องหน้าในขณะนั้นๆ..จิตมีกำลังมากวูบออกมารู้ตัวทั่วพร้อม จิตตื่นรู้อยู่โดยไม่หลุดจากสภาวะ ..แต่ไม่รับรู้อะไรภายนอกแล้วทั้งสิ้นนอกจากปัจจุบันที่อยู่ตรงหน้า และจิตสำเนียกกระทำมนสิการในอารมณ์ได้ แต่มันไม่ทำ มันทำตามหน้าที่เดิมของมัน คือ ทำแค่รู้เท่านั้น ปล่อยให้สังขารมันเป็นไปของมัน ใหห้มันแสดงให้เห็นเอง มีอาการเหมือนมีความตรึกแต่ไม่มีความคิด หรือ..จิตแยกจากกันกับวิตกตรึกนึก แต่ยังมีวิตกอยู่ เห็นความตรึกคิดบ้าง เป็นเสียงคิดที่กระทำในอารมร์อยู่ในส่วนข้างหนึ่งบ้าง มีวิจารแนบไปในอารมณ์ต่อนิมิตอยู่ ซึ่งแยกขาดออกเป็นคนละส่วนกับตัวรู้ ทำให้เห็นความเป็นไปของสังขาร แยกจิตกับขันธ์ ๕ หรือสังขาร อุปาทานขันธ์ไม่มีอีก สังขารุเปกขา
    (ถึงแม้สิ่งที่จิตมันทำวิตกวิจารณ์แนบแน่นอารมณ์อยู่นั้นมันไมีมีอะไรเลย มันว่างเปล่า ไม่มีอะไรทั้งสิ้น ไม่มีตังตนบุคคลใดเลย แต่มันกลับเข้าไปถือเอานิมิตที่ไม่นั้นอยู่ว่าเป็นนั่น เป็นนี่ ว่าคืออะไร แล้วก็วิตกไปกับอารมร์ที่ว่างไม่มีนั้นได้เป็นเรื่องเป็นราว "ข้อนี้แสดงให้เห็นถึงว่า..ติดสมมติความคิดอุปาทานจึงมีนั่นโน่นนี่ไปหมดทั้งๆที่ของแท้มันไม่มีอะไรทั้งสิ้น')

    ๕.๕). การเคลื่อนจากอัปปนาสมาธิเข้าฌาณ "มีจิตจับเพ่งเอานิมิต ณ เบื้องหน้านั้นแนบแน่นอยู่ แต่มนสิการน้อมถอนจิตออกจากสภาวะที่เป็นอยู่ในปัจจุบันเบื้องหน้านั้นเคลื่อนเข้าไปในอารมณ์ที่ลึกขึ้นหรือสูงขึ้น หรือเสภาวะธรรมใหม่ เหมือนว่าจิตจับนิมิตเพ่งแนบแน่นอยู่ แล้วอาศัยลมหายใจเข้านี้พัดเอาจิตเคลื่อนไปในอารมณ์ที่สูงขึ้น ลึกขึ้น ..เข้าสู่ปฐมฌาณ ว่างสงบ มีสีขาวโพลน จิตอิ่มเอิบ นิ่ง ซาบซ่านอยู่ มีความรู้สึกเหมือนเบาโหวงบ้าง มีความรู้สึกเหมือนตัวลอยบ้าง มีความรู้สึกเหมือนมีกำลังอัดแน่นภายในจิตจนเหมือนตัวเราเหวี่ยงหมุนอยู่บ้าง แต่ในขณะที่มีความรู้สึกว่ากายเหวี่ยงหมุนโยกกเยกอยู่นั้น จิตเรามันรวมลงนิ่งไว้อยู่ตรงกลาง ไม่ไหวเอนสัดส่ายโยกเยกไปตามความรู้สึกที่กายโยกอยู่นั้น
    - เหมือนจะมีความตรึกอยู่ก็ไม่ใช่ ไม่มีความตรึกก็ไม่ใช่ มีความรู้สึกที่จิตกระทำวิตกวิจารน้อยลง (เพราะจิตไม่พึงพาวิจากวิจารนอกจากใช้มนสิการธรรมนั่นเอง จิตอยู่กับปัจจุบันจึงไม่หมายรู้อารมณ์ไรๆด้วยสัญญาทั้งสิ้น สัญญาจึงดับมีแต่ความรู้ตัวทั่วพร้อม) ..จิตมีความรู้ทั่วพร้อมมากขึ้น ซึ่งสติจะทรงอารมณ์ขึ้นประครองจิตให้วางเฉยต่อสังขาร แยกจิตกับขันธ์ ๕ หรือสังขาร อุปาทานขันธ์ไม่มีอีก เข้าสังขารุเปกขาได้ด้วยปฐมฌาณนั้น

    ๕.๖). การเลื่อนฌาณ เมื่อจิตถอนออกจากจุดนี้ คือ ปฐมฌาณ วูบขึ้น มีอาดการเหมือนกันกับเข้าปฐมฌาณ คือ จับนิมิตนิ่งอยู่ จิตถอนจากอารมณ์เบื้องหน้า มีลมหายใจเข้า ยกจิตขึ้น ..เข้าสู่ทุติยะฌาณ เข้านิ่งว่างแช่ ไม่มีความคิดนอกจากจิตทำความน้อมไปในอารมณ์ มีความอิ่มซาบซ่าน ไม่มีความคิด นิมิตเบื้องหน้าเป็นสีฟ้าๆใสๆเหมือนน้ำทะเลสว่างจ้า เหมือนเราดิ่งลงอยู่ในทะเทอันสว่างไสว ว่าง โล่ง กว้างไกล ฉันนั้น

    (ฌาณ ต่างๆที่เลื่อนขึ้นที่เราเข้าได้ประสบมาเท่าที่จะพอมีสติบริสุทธิ์รับรู้จดจำได้ ก็มีด้วยประการเดียวกัน คือ จิตรวมลงแค่รู้แช่นิ่งแนบนิมิตสภาวะธรรมเบื้องหน้า วูบจิตคลายสภาวะเบื้องหน้า สภาวะธรรมที่เบื้องหน้าดับ วูบรวมลงแช่นิ่ง จิตเลื่อนเข้าสภาวะธรรมใหม่ เกิดความรู้ตัวทั่วพร้อมหลุดจากแช่ ทำมนสิการได้ วนเวียนไปแบบนี้ทุกครั้งที่เปลี่ยนฌาณ ..เหมือนเราเดินทางจอดรถอดูวิวอยู่ ณ ที่หนึ่ง เมื่อชมวิวจนความรู้สึกชอบนั้นอิ่มจบลง มีใจคลายอารมณ์ยึดในวิวที่ชมนั้น แล้วขับรถเลื่อนผ่านเดินทางต่อไปมีสภาพแวดล้อมใหม่ๆฉันนั้น)

    .. ส่วนคนที่จะเอาของเล่น ฌาณ 1 ยังไม่ได้ของเก่า เมื่อปล่อยให้มันเป็นไปของมันจนจิตมันเข้าคลองอื่มกับสภาวะ มันก็จะเกิดความดับวูบของจิตในอาการณ์นั้นมีอาการที่แล่นออกไปจากสภาวะนั้น จิตดีดขึ้นเข้าสู่ความว่างอันไม่มีอะไร มีสี แสง ที่ต่างๆกันไปตามกำลังของจิต มีความสำเหนียกรู้ จิตทำมนสิการได้เหมือนจะมีความคิดก็ไม่ใช่ ไม่มีความคิดก็ไม่ใช่ ไม่ใช่การตรึก เหมือนจะทำไว้ในใจ น้อมใจไปถึงสิ่งใดมันก็จะวูบไปตามนั้นในทันทีไวมาก ไม่มีความคิด มีแต่ความรู้แนบติดอารมณ์นิมิตในเบื้องหน้า



    หากเป็นการได้อัปปนาสมาธิครั้งแรก และ ฌาณครั้งแรก ห้ามไปมนสิการเด็กขาด ต้องปล่อยให้มันเป็นไปของมันเอง จนกว่าจะเข้าได้ซ้ำๆ ทุำได้ทุกวัน ทุกครั้งที่เข้าจึงฝึกมนสิการ เพื่อจะทำให้จิตมีกำลังทำได้ตอนนั้น




    บันทึกกรรมฐาน วันที่ 15-12-2560

    ฌาณเสื่อม วิธีหาคลองเก่า

    ที่จำคลองเก่าไม่ได้เพราะ "จิตไม่มีกำลัง"..
    ปรกติจิตมันสัดส่าย อ่อนไหว อ่อนแอ กระเอื่อม ซ่านเซนไปตามอารมร์ความรู้สึกที่รู้สัมผัส ที่จิตเห็น จิตรู้ เมื่อฌาณเราเสื่อม เราทำอย่างไรก็เข้าอีกไม่ได้ ยิ่งกระสันอยากได้คืน ยิ่งเข้าไม่ได้ ด้วยเหตุประการดังนี้คือ

    1. อุปาทานมีมาก ด้วยความกระสันนั้น
    2. ตัณหามีมาก ด้วยความใคร่เสพย์นั้น
    3. กิเลสมีมาก ด้วยความตรึกนั้น
    4. นิวรณ์มีมาก ด้วยความสำคัญมั่นหมายของใจ,หมายรู้อารมณ์ ด้วยสภาวะธรรมนั้นๆ


    อธิบาย
    ..ปัจจัย 4 ประการ ข้างต้นทั้งหมดนี้ ล้วนทำให้จิตอ่อนแอ กระเพื่อม อ่อนไหว ซ่านเซน เหนื่อยล้า ไม่มีกำลัง..ดังนี้แล้วเราจึงควรทำให้จิตมีกำลังก่อน
    ..ด้วยธรรมชาติของจิตที่มีกำลัง มีสติบริสุทธิ์ ไม่กกระเพื่อไหวเอนซ่านเซ็นต่อผัสสะ อารมร์ที่มากระทบ สามารถอยู่ได้ด้วยตนเองไม่อิงอามิสแล่นหาอารมณ์ไรๆมาเป็นเครื่องอยู่ของมัน มันจึงทำหน้าที่เดิมแท้ที่สักแต่ว่ารู้ นิ่งดูอยู่เฉยๆได้ เมื่อมันนิ่งรู้ดูอยู่เฉยๆเท่านั้นมันจะจดจำสภาวะธรรมทุกขั้นตอนได้เองอย่างไม่ผิดเพี้ยน ทั้งผัสสะ, สภาวะอาการความรู้สึก, นิมิต, มนสิการ ได้ครบหมดทุกขั้นตอน
    ..ดังนั้นเวลาทำสมาธิเข้าฌาณเราจึงไม่ต้องไปพยายามเพ่ง พยายามจดจำ สภาวะ อาการ ไม่ต้องหมายรู้อารมณ์ด้วยสัญญาถึงมนสิการ คือ การทำไว้ในใจต่ออารมณ์ของจิตด้วยสัญญาใดๆทั้งสิ้น ปล่อยให้มันเป็นไปของมันเอง

    .. ถ้าจิตไม่มีกำลังมันจะจำไม่ได้ แต่ถ้าจิตมีกำลังมันจะจำได้ด้วยตัวของมันเอง โดยไม่ต้องไปหมายรู้อารมณ์ ผัสสะ สภาวะธรรม หรือวิธีที่จิตทำมนสิการใดๆด้วยสัญญา



    วิธีแก้ คือ ทำให้จิตมีกำลัง จิตมันจะทำของเก่าได้เองทุกกระบวนการ

    1. สงบนิ่ง ทำจิตสบายๆให้ผ่อนคลาย ไม่หยิบจับเอาอะไรมาเป็นอารมณ์ทั้งสิ้น หรือ ทำเพียงรู้ลมหายใจเข้าออกโดยไม่ต้องเพ่ง ไม่ต้องกำหนด ตั้มมั่นในใจว่าเราจะทำให้จิตได้พัก ปิดสวิทซ์การทำงานของจิต เพื่อให้จิตมีกำลัง ไม่ต้องสนฌาณ ญาณอะไรทั้งสิ้น รู้แต่เพียงว่าถ้าจิตมีกำลังจิตมันจะทำคลองเก่าได้ทั้งหมดเอง มันจะมนสิการของมันเองแบบสายๆ โดยไม่ต้องไปบังคับเพ่งอะไรทั้งสิ้น เพราะจิตมันฉลาดมันรู้เองว่าสิ่งไหนดีต่อมัน การที่มันได้พักดีต่อมันยังไง การเข้าไปพักต้องมนสิการแบบไหนยังไง
    2. สมมติความรู้สึกนึกคิดเหล่าใดผ่านมาให้รู้ก็ทำจิตแค่รู้ว่าสมมติเกิด รู้ว่าคิด แล้วก็ปล่อยไปทำแต่รู้ ทำจิตให้ไม่หวั่นไหวไหลไปตามความคิด สมมติกิเลสที่สร้างขึ้นมาหลอกจิต รู้ว่าธรรมชาติของจิตมันคือคิด มันรู้แต่สมมติ ไม่ยึดสิ่งที่จิตรู้ ทำเพียงแต่รู้ตามสถานะภาพจิตเดิมแท้เราเท่านั้นพอ
    3. ทำไปเรื่อยๆด้วยผ่อนคลาย มันเผลอไหลไปตามคิดก็ช่างมันรู้ว่าคิดก็พอ ตามรู้ความคิดมันไปเท่านั้นพอ ไม่ต้องไปบังคับหยุดไม่ให้คิดเพราะธรรมชาติของจิตมันคือคิด ปล่อยมันคิดจนสุดแต่เราทำแค่รู้ความคิดเท่านั้น
    .. เมื่อมันคิดจนสุดมันจะเกิดสภาวะหฟนึ่งที่จิตรู้ตัวนิ่งแต่ไม่หลุดจากสภาวะที่น้อมไปในอารมณ์นั้นๆ ตรงนี้จึงค่อยทำช้าๆเบาๆให้จิตมันสิการรู้ลม หรือมองดูไปที่เบื้องหน้ามืดๆ นั้นด้วยทำใจไว้ไม่สัดส่ายเพื่อให้จิตได้พักเท่านั้น สำเนียกว่าการที่จิตได้พักมันจึงจะเข้าฌาณได้ ถ้าจิตไม่ได้พักจะไม่มีกำลังเข้าฌาณได้ ทำใจผ่อนคลายให้มันได้พักเท่านั้นพอ
    4. เมื่อเกิดอาการวูบวาบๆ หรืออะไรก็ช่าง วูบแนบนิ่งดิ่งลงก็ตามสำเนียกว่าเรามีหน้าที่แค่รู้ ไม่ได้มีหน้าที่เสพย์ ไม่ได้มีหน้าที่ปรุงแต่ง จิตเดิมแท้มันมีแต่เพียงรู้เท่านั้น ทำได้แค่รู้เท่านั้น ไม่มีหน้าที่อื่นใดนอกจากแค่รู้ ดังนี้แล้วเมื่อเกิดอาการอะไรให้ทำไว้ในใจเพียงแค่รู้ ไม่ต้องฉุกคิดไม่ต้องปรุง ไม่ต้องไปพยายามจำอะไรทั้งสิ้น จิตมีกำลังมันจะจำได้เอง สติมันจะบริสุทธิ์เอง ไม่ต้องครองอะไรมากไปจากการทำให้จิตแค่รู้ ถ้าจิตไม่มีกำลังพยายามแค่ไหนก็จำไม่ได้ ตรงนี้วัดกำลังของจิตเราเองได้ดีเลย ทำให้เราได้รู้ว่าจิตเรามันล้ามันเหนื่อยมันอ่อนแอแค่ไหน
    5. เมื่อจิตวูบดับแช่ จนอิ่มมีกำลัง มันจะสุข เมื่อสุขประทุจนดับไป หากจิตมีกำลังพอมันจะเข้าฌาณ มีตริ ตรึก ความสำเนียก มนสิการได้ แต่ไม่มีเสียงคิด จิตมันทำไว้ในใจอย่างไปมันเพิกไปทันที หากเข้าฌาณไม่ได้ถอบกลับมามีความรู้ความคิดความตรึก แม้จะแยกขาดจากนิมิตหรือสิ่งที่คิด นั่นมันแค่อุปจาระฌาณเท่านั้น ยังเข้าปฐมฌาณไม่ได้ เหตุนั้นเพราะจิตมีกำลังไม่พอเข้าอัปปะนาสมาธิ แล้วทะลุอัปปะนาสมาธิเข้าฌาณนั่นเอง เราก็แค่ทำจิตให้ได้พักบ่อยๆไม่ต้องไปให้ความสำคัญอะไรมากเกินกว่าการพักจิตแค่นั้นก็พอ



    แก้ไขครั้งล่าสุดโดย Admax : 12-29-2017 เมื่อ 02:56 AM
    ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
    ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
    รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
    การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ
     
  10. Admax said:
    บันทุกกรรมฐานวันที่ 28/12/60

    วิธีคิดให้ส่งจิตเข้าใจ ทำสัญญา 10 และ ผล ในแบบปุถุชนที่ย่างเข้ามรรค
    (ข้อมูลยังไม่เรียบเรียง ทำได้เป็นครั้งคราว ยังทรงอารมณ์ไม่ได้นาน)
    (รอทำให้เข้าได้ประจำบ่อยๆจนแน่ใจจึงจะเรียบเรียงทางปฏิบัติได้ตามจริงอีกครั้ง)

    1. น้อมใจเข้ามาภายใน กำหนดนิมิตดวงจิตในท่ามกลางสังขาร จับความนิ่งว่าง ความสงบ ความไม่มี ไม่ข้องเสพย์ ไม่เอา สละคืน รวมลงไว้ในภายในจิต
    2. น้อมใจเข้ามาภายในอยู่ใจกลาง เหมือนเรานี้อยุ่ท่ามกลางกองรูปขันธ์ แล้วดูความแปรปรวนเป็นไปของกองรูปขันธ์ หรือ อาการทั้ง ๓๒ ประการ
    - อุปมาเหมือนหอคอยสังเกตุการณ์ตรงใจกลางเมือง สามารถตรวจสอบรอบรู้ได้ทั้งความเคลื่อนไหวในภายในรั้วเมือง หรือรอบๆรั้วนั้นได้ โดยไม่ต้องออกไปดูในภายนอกเมื่อ เพียงแค่ปักหลักแลดูอยู่ใจกลางเมื่อแล้วแค่รู้ดูความเคลื่อนไว้แปรปรวนทั้งหลายรอบๆหอคอยสังเกตุการณ์นี้เท่านั้น เปรียบหอคอยเหมือนหลักที่เราตั้งจิตไว้ในใจกลาง, เปรียบบ้านเรื่องกำแพงสิ่งปลูกสร้างภายในเมื่องนี้เป็นกองรูปขันธ์ เปรียบเหมือนความเคลื่อนไว้ในเมืองนี้เป็นความแปรปรวนเป็นไปของกองรูปขันธ์ ในอาการทั้ง ๓๒ ประการ
    3. จิตน้อมเข้าอนิจสัญญา เห็นความไท่เที่ยง แปรปรวน เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป บังคับไม่ได้ ไม่อยู่ในบังคับของผูู้ใด แม้แต่ตัวรู้นี้ก็ตาม รู้สิ่งใดก็ได้ไม่นาน จะบังคับให้รู้ตามปารถนาไม่ได้ ให้คงความรู้นั้นไว้ ไม่จับความรู้นี้ก็ไม่ได้ของขันธ์
    4. ม้างกาย เราไม่มีในสิ่งนั้น สิ่งนั้นไม่มีในเรา เราไม่ใช่สิ่งนั้น สิ่งนั้นไม่ใช่เรา เราไม่ใช่เราตัวตน ไม่มีตัวตนสิ่งใดที่เป็นเราใน อาการทั้ง ๓๒ ประการ อาศัยเข้าอัปปนาสมาธิแล้วถอยมาอธิษฐานในอุปจาระ บังคับนิมิตได้ มีจิตรู้ตัวแยกนิมิตได้ ไม่หลงไปในนิมิต มีความรู้ว่ากำหนดขึ้นมาพิจารณา อย่างนี้ถือว่ากำลังจิตจึงจะใช้ได้ หากบังคับนิมิตไม่ได้ นิมิตเลือนหายไป หลงอุปาทานนิมิตที่ตนสร้างขึ้น อย่างนี้จิตไม่มีกำลังควรแก่งานให้เลิกทำำถอยจิตออกมาที่ความสงบ รู้ลมแล้วปล่อยให้แช่นิ่งรวมวูบลงจนจิตหลุดขึ้นมาเองค่อยอธิษฐานจิตกำหนดนิมิตใหม่
    5. ชีวิตปรกติ มองดูที่สวยที่ง่าม ที่ใคร่ อาศัยปัญญาจากการม้างกาย พิจารณาดูว่า ที่รเาเห็นเขาว่าสวยงามนี้ สิ่งใดที่เป็นเขา เขาหรือที่เป็นสิ่งนั้น หนังหรือ ผมหรือ ขนหรือ เล็บหรือ เสียงหรือ กลิ่นหรือ สัมผัสกายหรือ สีัมผัสใจหรือที่เป็นเขา ก็หาไม่ได้ เมื่อม้างออกหมดก็จักมีเพียงแค่จิตที่จรท่องเที่ยวไป ที่จรมาอาศัยกายที่ำพ่อแม่เขาให้มานี้เท่านั้นที่คงเรียกความรับรู้ว่าเป็นเขาได้ แต่ถึงแม้กระนั้นสิ่งนั้นก็แปรปรวนเป็นไปตามกรรม ไม่เป็นไปในบังคับของผู้ใด มีกรรมเป็นแดนเกิด เป็นที่ติดตามอาศัย ส่งผลให้เขามีความเป็นไปได้รับผลต่างๆเป้นไปตามแต่กรรมลิขิตกำหนดให้พบเจอเป็นไป
    6. จิตน้อมเข้าอนัตตสัญญา (ทั้ง 6 ข้อ เป็น สัญญา 10 อนิจสัญญา อนิจจสัญญา, อนัตตสัญญา, อสุภสัญญา)
    7. น้อมใจเข้าดูพิจารณาความเสื่อม เน่าเฟะ ประชุมไปด้วยโรค และ ขี้ กองกาย เห็นสัญญา 10 อาทีนวสัญญา


    ข้อท๊่ 1-7 จากที่รู้สัมผัสได้ด้วยตัวเอง หากไม่หลงผิดไป สิ่งนี้ๆจะเกื้อกูลกันเพื่อความแจ้งในแต่ละอย่าง



    8. ทำปหานสัญญา, วิราคสัญญา, นิโรธสัญญา, เข้าไปเห็นจริง จิตเห็นความเสื่อม ไม่ใช่ตัวตน จิตคลายอุปาทานในสังขารทั้งปวง ไม่จับยึดเอาสิ่งใดทั้งสิ้นอีก

    9. สัพพโลเกอนภิรตสัญญา(ไม่เพลินหลงยึดจับอุปาทานสิ่งใด อุปาทานลดลง ดับลง), สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา(ความระอาในขันธ์ กำหนดรู้ทุกข์เห็นโทษภัยจากมัน แต่ในขณะก็พิจารณาดูคุณของมันเพื่อนำเอามาใช้ประโยชน์ เช่นเอาไว้ใช้สะสมเหตุเท่านั้น หรือ เรื่องใจก็เ)็นการใช้ตัณหาเพื่อละตัณหา) เมื่อจิตน้อมคลายอุปาทานไว้อยู่แล้ว ไม่ข้องแวะ ติดข้องยึดอุปาทานไว้อยู่แล้ว เมื่อเขาน้อมพิจารณาตามรอบอาการจนชัดแจ้ง จิตจะตัดความยึด ตัดตัวยึดสายยึดอุปาทานทันที เป็นอาการที่จิตเหมือนกระชากสำรอกออกตัดอารมณ์ความรู้สึกต่อกายทั้งปวงออก(เทียบเคียงอาการเป็นคำพูดได้แบบนี้เท่านั้น เพราะในขณะที่สำรอกจิตมันดับตัดปิดสวิทซ์การรับรู้ในอาการความรู้สึกนั้นๆทันที หากเราไม่หลงไปเองโดนจิตหลอกก็มีอาการด้วยประการเทียบเคียงแบบนี้ เพราะยังปุถุชนอยู่จึงต้องทำให้แจ้งอีกมากนัก ไม่ควรหลงอาการที่มีอยู่นัลล้านๆแบบของจิต แค่รู้ ปรกติ วาง) ทาน ศีล ภาวนา หรือ สีล สมาธิ ปัญญาเกิดขึ้นเองลงที่ใจเป็นมโนกรรม คือ กำกับที่เจตนาไว้ทันที เห็นเจตนาเด่นชัดต่ออารมณ์ทั้งปวง เรียกจิตแล่นลงมรรค และไม่กลับกลายเปลี่ยนไปผิดมรรค ทาน ศีล ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา เหมือนดั่งจิตปุถุชนที่กลับกรอกคงอยู่ไม่นานไม่ตลอดไปอย่างเด็ดขาด



    10. จิตเข้า อานาปานสติ รู้ลมหายใจเอง จิตจับีท่ลมหายใจเองอยู่ตลอดเวลา




    ข้อที่ 8-10 จากที่รู้สัมผัสได้ด้วยตัวเอง หากไม่หลงผิดไป สิ่งนี้ๆเป้นผลที่จะแล่นต่อเนื่องกัน เดิมที ข้อ 8-9 อยู่ในส่วนเดียวกันแยกกันไม่ออก แต่เราจำแนกข้อแบ่งออกมาเพื่อความรู้ในสิ่งที่เป็นสัญญา 10 ได้ง่าย และให้ เป็นเหตุและผลลง 10 ข้อตาม สัญญา 10 เท่านั้นเอง




    ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
    ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
    รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
    การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ