ประวัติพระครูสุเวทกิตติคุณ (หลวงปู่ บุญชุบ ทินฺนโก)
หลวงปู่บุญชุบ ทินฺนโก ประวัติ โดยสังเขปนามเดิม ชื่อบุญชุบ นามสกุล สารสิงห์ บิดาชื่อนายบุตร มารดาชื่อ นางหอม เกิดเมื่อ วันพุธ ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2456 แรม 15 ค่ำ เดือน 4 ปีฉลู ณ บ้านเลขที่ 51 ตำบลบ่อแร่ อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท มีพี่น้องด้วยกัน 6 คนด้วยกัน ท่านเป็นคนที่ 2
1. ชื่อ นายอ๋อ เสียชีวิตแล้ว
2. ชื่อ บุญชุบ หลวงพ่อบุญชุบ ทินฺนโก
3. ชื่อ นางเข็มทอง เสียชีวิตแล้ว
4. ชื่อ นางถุงเงิน เสียชีวิตแล้ว
5. ชื่อ นางบุญเทียม ยังมีชีวิตอยู่ อายุ 75 ปี
6. ชื่อ นายประทวน เสียชีวิตแล้ว
ชีวิตในวัยเด็ก ตอนอายุได้ 1 0 ขวบ คุณพ่อก็ได้ถึงแก่กรรม ได้ถูกผีที่ถูกเขาเรียนมาตอนกลางคืน 7 ค่ำ หรือ 15 ค่ำ พ่อเสกหนังควายไปโดยไม่ได้เจตนาทำร้ายใคร แต่หนังควายกลับมา เข้าตัวโยมพ่อของท่านเองจนเสียชีวิต พอเสียได้ 2 ปี พี่อ๋อก็มาป่วยเป็นไข้จับสั่น พอใกล้จะหายก็ อยากจะกินแตงโม หลวงพ่อเป็นเด็กไม่รู้อะไรก็ไปหยิบมาให้พี่อ๋อกินไข้กำเริบ พี่อ๋อก็เสียชีวิตลงไป อยู่ต่อมาอีก 2 ปี หลวงพ่อได้อายุ 12 ขวบ คุณแม่ก็ได้ป่วยเป็นไข้เสียชีวิตลงไปอีก ในวันฌาปนกิจ พอถึงบ้านเห็นแต่บ้านไม่เห็นหน้าพ่อแม่ เห็นแต่พี่น้อง 5 คนเท่านั้น คุณแม่มาตายเมื่อ พ.ศ. 2466 ส่วนโยมพ่อมาตายตอนอาตมาอายุ 10 ขวบ คุณโยมพ่อเสียเดือนเมษายน พ.ศ. 2465 พอเอาโยมไป เผาแล้วตกเย็นขึ้นมา 5 พี่น้องรวมหัวกันร้องไห้เพราะคนเล็กร้องไห้หาแม่เลยพากันร้องไห้ไปตาม กันหมด โยมลุงโทนได้มาปลอบและได้มาเป็นเพื่อนอาตมาเองตั้งหม้อข้าวทำอาหารให้ พี่น้องทานกินแล้วพากันอาบน้ำน้องคนเล็กร้องไห้หาแม่จนหลับไป นึกถึงเรื่องอดีตมายามใดอดน้ำตา ใหลไม่ได้ พอโรงเรียนเปิดคุณโยมชื้นได้นำอาตมาและพี่น้องไปฝากอยู่วัดกับหลวงพ่อยอดแล้วมอบ ให้อาจารย์เป็นผู้อบรมสอนหนังสือตอนเย็นต่อศีล 10 ทุกวัน จบต่อคำสวดมนต์เย็น ทุก ๆ ตอน เช้า ต้องบิณฑบาตร เพราะตอนนั้นเป็นลูกศิษย์วัด ตอนนั้นเรียนหนังสือได้ชั้น ป.7 พออายุได้ 15 ปี ก็จะบวชเณรแต่บวชไม่ได้เพราะหลวงพ่อ ยอดป่วยไม่มีใครปฏิบัติต้มน้ำต้มข้าวถวาย จนกระทั่งท่านมรณะภาพไปในปี พ.ศ. 2470 ทางวัดเก็บศพ ไว้ 1 ปี
บรรพชาเป็นสามเณร
วัน ศุกร์ ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 4 ปีเถาะ วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2470 ณ วัดมุจรินทราวาส
ตำบลบ่อแร่ อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท พระอุปัชฌาย์ พระปลัดเคลือบปฺญญทีโป วัดพิกุลงาม ตำบลท่าหาด อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท ได้บวชหน้าไฟให้หลวงพ่อยอด พออายุได้ 16 ปี แล้ว ก็เริ่มศึกษาพระธรรมเรียนนักธรรมตรี เมื่ออายุ 19 ปีสอบได้นักธรรมตรี อายุ 20 สอบได้นักธรรมโท
อุปสมบท
วัน พุธ แรม 13 ค่ำ เดือน 5 ปีจอ วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2477 ณ. วัดมุจรินทราวาส ตำบลบ่อแร่ อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท พระอุปัชฌาย์ พระปลัดเคลือบ ปัญฺญทีโป วัดพิกุลงาม ตำบลท่าหาด อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท พระกรรมวาจาจารย์ ชื่อ อาจารย์ต่อม ธมฺมวิริโย พระอนุสาวนาจารย์ ชื่อ อาจารย์ถม ปญฺจลาโภ ช่วงพรรษาที่ 1 ถึงพรรษาที่ 4 ก็ได้สอบนักธรรมชั้นเอกได้ที่ สำนักศาสนศึกษา วัดพิกุลงาม ตำบลท่าหาด อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท ท่านบวชที่วัดมุจรินทราวาส (หนองจิก) แต่ไม่ได้จำพรรษาที่วัดหนอกจิก เพราะที่วัดหนอกจิกมีพระ 80 กว่ารูป ก็เลยย้ายไปจำพรรษาที่วัดท่าหาด สร้างศาลา หลวงพ่อได้ปรึกษากับโยมพี่สาวของหลวงน้าต่อม ให้ไปบิณฑบาตรไม้ยางใหญ่ มา 2 ต้น หลวงพี่ได้ซื้อเลื่อยมา 4 ปื้น มาขึ้นรูปเองออกพรรษาแล้วก็ปรึกษากับพระที่วัด ว่ายังไม่สึกจะอยู่ช่วยสร้างศาลาต่อ ให้เสร็จก่อนก็ช่วยกันเลื่อยไม้สร้างศาลาเสร็จได้ 2 หลัง แล้วขอบิณฑบาตรไม้อีก 4 ต้น พาพระในวัดช่วยกันเลื่อยไม้ จึงลงมือสร้างกุฏิอีก 4 หลัง พอดีหลวงน้าต่อม ที่เป็นเจ้าอาวาสอยู่ได้ล้มป่วยลง ต้องพาไปรักษาที่จังหวัดอุทัยธานี จน 3 เดือนแล้วก็ยังไม่หาย จึงพากลับวัด และมรณะภาพในพรรษาและฌาปนกิจในเดือนต่อมา
หนีการเป็นสมภาร (เจ้าอาวาส)
ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2480 พวกมรรคทายก และญาติโยมปรึกษาหารือ กันว่าจะตั้งสมภาร บางกลุ่มก็จะให้อาจารย์บุญรอดเป็น อีกกลุ่มก็จะให้หลวงพ่อเป็นสมภาร พอหลวงพ่อรับจะเป็นสมภารแล้วตกตอนกลางคืนคว้าย่ามได้ก็หนีไปอยู่ที่วัดอัมพวัน อำเภอมโนรมย์ เสียครึ่งเดือน
ญาติโยมจึงได้แต่งตั้งอาจารย์บุญรอดเป็นสมภาร หลวงพ่อก็สบายใจ กลับไปชาวบ้านโกรธกันเป็นการใหญ่ ที่หลวงพ่อไม่ยอมรับเป็นสมภาร ต่อมาญาติโยมได้นิมนต์มาอยู่ที่วัดโคกหมอน เนินสุทาราม และจำพรรษาได้ปีครึ่ง ท่านอาจารย์เอก ก็มีเรื่องทะเลาะกับลูกศิษย์ เจ้าคณะอำเภอได้เรียกประชุมพระทั้งทายก และทายิกา จะไล่อาจารย์เอกออกจากวัดในกลางพรรษา ตามพระทั้งหมดวัด หลวงพ่อเป็นพระที่พรรษาน้อยสุด ระหว่างการประชุม อาจารย์เอกท่านไม่พอใจหลวงพ่อจึงเอาระฆังขว้างแต่ไม่ถูกข้ามหัวไป ต่อหน้ากรรมการ 30 กว่าคน แต่พอออกพรรษาไม่รู้อาจารย์เอก หายไปไหน มีพระลูกบ้านชื่อพระจ๋าย อยากเป็นสมภารแต่ไม่มีความรู้ ชาวบ้านพร้อมด้วยศรัทธาได้ประชุมหารือกันในเดือนพฤศจิกายน โดยมีเจ้าคณะอำเภอวัดธรรมขันฑ์ มีพระลูกวัดบางส่วนเห็นว่าพระจ๋ายเหมาะสมเพราะท่านเป็น พระลูกบ้านเนินสุทธารามแต่ศรัทธาญาติโยมไม่เห็นด้วยและลงคะแนนให้หลวงพ่อชุบเป็นรักษาการณ์แทน หลวงพ่อไม่อยากรับแต่ขัดเจ้าคณะอำเภอ และญาติโยมไม่ได้จึงรับไว้ประมาณ 6 เดือน ก็ได้รับตราตั้งเป็นเจ้าอาวาสได้ 4 พรรษา สงครามโลกครั้งที่ 2 ก็เกิดขึ้น ตอนเดือนมีนาคม มีพระมหาสวัสดิ์ ได้เดินทางมาชวนเดินธุดงถ์ทางเหนือ หลวงพ่อก็มอบหมายให้พระสงัดดูแลวัด และนักเรียนอนุบาลอีก 500 เดินทางเวลา 09.49 น. หลวงพ่อก็ขึ้นรถมาที่วัดจวน พระมหาสวัสดิ์รออยู่ที่ท่ารถ หน้าวัดจวน พอฉันเพลแล้ว ก็ออกเดินทางด้วยเท้า เดินตามถนนสายเอเซีย กำลังสร้างทางตัดจากกรุงเทพ เชียงใหม่ – เชียงราย เดินทางมาถึงอำเภอ พยุหคีรี เวลา 18.00 น. วัดบางปราบ ก็ได้พัก 1 คืน รุ้งขึ้นเดินทางจากบางปราบถึงนครสวรรค์ เวลา 15.30 น. เข้าพักที่วัดโพธิ์ 1 คืน
ออกเดินธุดงค์
ตอนเช้าก็ออกบิณฒบาตร ฉันเช้ าก็ออกเดินทางมาจังหวัดพิจิต ถึงอำเภอบางมูลนาค ก็เข้ามาพักที่วัดไข่เน่า อำเภอบางมูลนาค จังหวัดพิจิต พักอยู่ 1 อาทิตย์ เท้าเป็นแผลพอรักษาเท้าหายดีแล้ว ก็จะเดินทางต่อ แต่หลวงพ่อละมูล วัดวังสำโรง จังหวัดพิจิตรนิมนต์ให้อยู่ต่อ เป็นพระคู่สวดอีก 15 วัน พวกญาติโยมจะมานิมนต์ให้หลวงพ่อเป็นเจ้าอาวาส จัดขบวน กลองยาว แห่มารับจะให้เป็นเจ้าอาวาสวัดบางมูลนาค หลวงพ่อก็หนีโดยเขียนจดหมายปลอมว่าจะเอาของไปให้น้อยชายที่เป็นทหาร จังหวัดลำปาง ก็หนีลงเรือ พายเรือเองประมาณ 30 นาที ถึงสถานีรถไฟ บางมูลนาค ตีตั๋วจะไปลำปาง ก็มาพักที่พิษณุโลก วัดสระแก้ว หลวงพ่อโสท่านก็ให้อยู่ด้วย 1 พรรษา เข้าพรรษาที่ 3 สอบเทียบ ม.3 ไปสอบที่จังหวัดนครสวรรค์ โรงเรียนประจำจังหวัด พอสอบได้แล้วก็เดินทางกลับบ้านที่ จังหวัดชัยนาท หนองจิก เข้าพักอยู่ 15 วัน แล้วเดินทางมาที่วัดสระแก้ว ต่อมาในกลางพรรษาได้ช่วยทำถนนเข้าวัด พอดีมีเหตุการณ์เครื่องบินตกที่วัดสระแก้ว เครื่องจะลงแต่ผิดพลาดทางเทคนิคบินไปเฉียวเกือบจะชนหอสวดมนต์ไปตกในสระน้ำ ที่วัดสระแก้ว คนตาย 2 คน หลวงพ่อลงไปช่วยเอาคนออกจากเครื่องบิน โดยว่ายน้ำลงไปช่วยเลยโดนน้ำมันเครื่องบิน ผิวหนังเลยอักเสบเป็นแผล ต้องเข้าโรงพยาบาล 1 คืน ฉี ดยาพอหายดีก็เตรียมตัวเดินทางมาที่จังหวัดลำปาง ได้ไต่ถามกับหลวงพ่อโสว่าวัดไหนดี ท่านจึงบอกให้ว่าวัดเกาะเพราะท่านเคยมารู้จักกับหลวงพ่อกริ่ม
แล้วก็เดินทางเวลา 9 โมงเช้า มาพักที่สถานีห้วยไร่ จ.แพร่ ก็หาที่พักปักกลด พอดีเจอต้นไม่ใหญ่มาก ขนาดพลูรากสูงใหญ่ทั่วหัว หลวงพ่อก็อธิฐานสิ่งศักดิ์สิทธ์ รุกขเทวดา ขอพักผ่อน 1 คืน ฝากพระแม่ธรณีด้วย คาถา แม่ธรณีเจ้าเอย อยู่แล้วหรือยัง ข้าพเจ้าจะขอฝากฝังตัวลูกบ้างด้วย สังขารัง โลกังกะวิทู แม่ธรณีเจ้าเอย อยู่แล้วหรือยัง ข้าพเจ้าจะขอเชิญแม่ธรณีมาเป็นประชาสัมพันธ์ ข่าวสารไปถึงคุณปู คุณย่า คุณตา คุณยาย หรือเทวะทั้งหลายที่อารักขามนุษย์อยู่ก็ดีใน โลกนี้ บัดนี้ข้าพเจ้าได้เดินทางไปแสวงซึ่งทางปฏิบัติ ข้าพเจ้าจะขอพักที่ใต้ต้นรุกขชาติ ที่มีผู้อารักขาต้นไม้นี้อยู่ ฉนั้นอาตมาจึงขอฝากตัวกับรุกขเทวดาผู้รักษาต้นไม้นี้ด้วย อยู่แล้วหรือยัง ถ้าอยู่แล้วขอให้ข้าพเจ้าปลอดภัย ที่อารุกขเทวดา ที่รักษาข้าพเจ้าอยู่ด้วย แม่ธรณีเจ้าเอย อยู่แล้วหรือยัง ข้าพเจ้าจะขอฝากฝังตัวข้าพเจ้าที่มาพักอยู่ตรงนี้ ขอให้อารักขาข้าพเจ้า กว้างและวงกลมประมาณ 4 เมตร ที่สัพสัตว์ทั้งหลายที่มีเท้าก็ดี ไม่มีเท้าก็ดีขอให้ต่างคนต่างไป ทางใครทางมัน ที่ข้าพเจ้าได้เดินทางมานี้ มาขอเพิ่งใบบุญแม่ธรณี จงรักษาข้าพเจ้าด้วย สังขาตัง โลกังกะวิทู แล้วก็เอาดินมาใส่ที่หัว ประมาณ 3 ทุ่ม ก็มีเสือโคล่ง ลายพาดกรอนแม่กับลูก อยู่ห่างประมาณ 20 เมตร ขว้างทางไว้กว่าเสือจะไปก็ประมาณ 4 -5 ชั่วโมง พอเสือไปซักพักใหญ่ ก็เดินทางไปเจองูเหลือมยาว 4 เมตร ตัวโตมากกำลังวัดน้ำกินปลาอยู่ เดินทางอีกที่ 7 โมงเช้า ถึงสถานีที่ห้วยไร่ ก็ปักกลดหาที่พักห่างจากสถานี 1 กิโล นายสถานีถวายอาหารเช้า 1 มื้อ พอฉันเสร็จแล้วก็ให้พร แล้วจึงลาออกเดินทาง ผ่านสถานี
เด่นชัยไปบ้านปิ่นก็มืดพอดี
ค้างคืนที่บ้านปิ่น 1 คืน ปักกรดพักห่างจากหมู่บ้าน 20 เมตร ต้อนประมาณ ตี 2 นั่งสวดมนต์ก็ได้ยินเสียงใบไม้ดังเหมือนมีคนหรือสัตว์เดินเหยียบ เดินใกล้เข้ามาก็รู้ว่าเป็นเสือมาขู่คำราม แต่ก็ไม่ได้ทำร้ายอะไร รุ้งขึ้นนายสถานีก็นำอาหารมาถวายเป็นข้าวเหนียว ฉั นเสร็จแล้วจึงลาเดินทางไปถึงสถานีบางป๋วย ก็ค่ำแล้ว ก็จะหาที่พักที่ปลอดภัยเพราะแถวนั้นมีช้างลากไม้เยอะมาก พัก 1 คืน รุ้งขึ้นเถ้าแก่โรงเลื่อยถวายอาหารเช้า 1 มื้อ ฉัตรเสร็จแล้วเดินทางต่อมาตามทางรถไฟก็ถึงสถานีแม่ทะ ก็ปักกลดพัก 1 คืน ก็ได้เจอโยมคน 1 ชื่อว่า แม่ตุด ได้นิมนต์หลวงพ่อไปพักอยู่บนดอยม่วงคำ พักอยู่ 2 คืน โยมแม่ตุดก็จะนิมนต์หลวงพ่ออยู่ที่ดอยม่วงคำ แต่หลวงพ่อก็ปฏิเสธ แล้วก็ลาเดินทางเข้ามาวัดเกาะถึงประมาณ 18.00 น. เข้ามาหาหลวงพ่อกริ่ม และหลวงพ่อเอม สนทนาธรรมกันพอสมควร หลวงพ่อบอกว่าจะมาขอเรียนประเพณีทางเหนือก็ได้พักในโบสถ์กับอาจารย์ จุม ซักพักหนึ่ง แล้วก็ไปพักจำพรรษาอยู่ที่ วัดดำรงค์ธรรม
มาอยู่ลำปาง
ตอนกลางวันก็มาเรียนกรรมฐาน กับหลวงพ่อกริ่ม และหลวงพ่อเอม พอตอนกลางคืนก็เรียน มัธยม ทางลัด ม.4 – ม.6 ไปสอน ม.6 ได้ที่วัดพระแก้วดอนเต้า ช่วงนั้นอยู่ระหว่างสงคราม พอออกพรรษาแล้วจึงมาพักที่วัดเกาะเป็นช่วงที่หลวงพ่อกริ่มชราภาพมาก และป่วยท้องเสียมากเพราะอาหารเป็นพิษ แล้วก็มรณะภาพในเดือนมกราคม 2487 ตั้งศพไว้ประมาณ 1 ปี หลวงพ่ออยู่วัดเกาะตอนนั้นเกิดสงคราม พวกทหารญี่ปุ่นก็เข้ามาที่วัดเกาะ ยึดเอาอุโบสถเป็นคลังเก็บอาหาร หลวงพ่อเคยทำอาหารให้กับทหารญี่ปุ่นกิน พวกที่กินอาหารแล้วติดใจมาก แต่ก็ต้องโดนหัวหน้าทหารทำโทษเพราะว่าช่วงสงครามทหารญี่ปุ่นจะกินข้าวของคนไทยไม่ได้กลัวโดนยาพิษ ช่วงนั้นอดอยากมาก ทหารญี่ปุ่นได้เอาธรรมมาสไปทำเชื่อไฟหุ้งข้าว พอสงครามเลิก หลวงพ่อรื้อศาลาใช้เวลา 7 วัน แล้วก็สร้างศาลามาใหม่ มีพระที่วัดช่วยกันและพวกญาติโยมด้วยใช้เวลา 1 ปี จึงเสร็จ จนถึงปัจจุบันนี้ หลวงพ่อก็ส่งเสริมกิจการงานของสงฆ์โดยตลอดจัดให้มีการบวชเณร ภาคฤดูร้อน บวชพระเฉลิมพระเกียรติแด่องค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เปิดเป็นโรงเรียนสอนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ และมีการบวชพระภิกษุ บวชชีพราหม์ ตลอดทั้งปี หลวงพ่อเอม เมตติโก อดีตเจ้าอาวาสองค์ที่สอง วัดเกาะวาลุการาม ท่านเป็นคนจังหวัดอุทัยธานี ได้เดินธุดงค์ คู่ไปกับหลวงพ่อกริ่ม ที่ประเทศอินเดียและพม่า เดินไปสวดมนต์บนดอยสุเทพ 2 องค์กับหลวงพ่อกริ่มตลอดคืนในวันวิสาฆบูชาท่านเป็นพระที่เมตตาสูงมาก การปกครองดีมาก ท่านมรณะภาพด้วยโรคเบาหวานในปี พ.ศ. 2495 หลวงปู่ชุบจึงได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสรูปที่ 3
ได้เป็นพระอุปฌาย์ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลสวนดอก อ.เมือง จ.ลำปาง เมื่อ พ.ศ. 2502
ท่านเป็นผู้มีอุปนิสัยใจคออย่างไร ทำคุณให้วัดเกาะวาลุการามอย่างไร เป็นที่นับถือนิยมรักใคร่ใกล้ชิดขึ้นสู่หาของศรัทธาญาติโยมมากน้อยเพียงใด ผู้เขียนเห็นว่ายังไม่จำเป็นอ้างความดี และการวางตัวปฏิบัติของท่านจะนำมาเขียนไว้ที่นี้ จึงขอยุติไว้ก่อน จนกว่าจะถึงเวลาอันสมควรเพราะท่านทั้งหลายก็คงได้ทราบได้เห็น ความเป็นอยู่ของท่านทุกวันนี้ไม่มากก็น้อย ในด้านการปลูกสร้างบูรณะวัดก็จะเห็นอาคารวัตถุเกิดขึ้นจำนวนมาก เป็นต้นว่า หอฉัน กุฏิสงฆ์ ห้องน้ำ เพื่อรับรองแขกมาพักและเยี่ยมเยือนสิ่งเหล่านี้ล้วนสร้างขึ้นด้วยอิฐ เสริมเหล็กปูนอย่างถาวรแข็งแรงทั้งสิ้น
นอกจากนี้ก็มีกุฏิกรรมฐานเป็นไม้อีกหลายหลัง ซึ่งล้วนแต่เป็นคุณประโยชน์ให้แก่วัดวาอารามอย่างมาก ความอัดแอของวัดอันมีพระภิกษุสามเณรก็ยังล้นหลามอยู่เสมอไม่พอกับจำนวน ต้องไปอาศัยพักในศาลาการเปรียญบ้างในโบสถ์บ้างท่านจึงดำเนินการสร้างกุฎิสงฆ์ หลังใหญ่ 2 ชั้น และเขื่อนป้องกันศาสนสมบัติอย่างมั่นคง ยาวตลอดแนวฝั่งเขตวัดซึ่งกำลังทำการก่อสร้างอยู่ยังไม่เสร็จเพราะการเงิน ท่านจึงบอกบุญแก่ศรัทธาศาสนิกชนช่วยกันค้ำจุนสมทบทุนตามกำลังศรัทธาให้การก่อสร้างสิ่งถาวรนี้ ได้สำเร็จไว้เป็นอนุสรณ์ในบวรพุทธศาสนา มั่นคงสืบต่อลูกหลานเยาวชนรุ่นหลังเป็นพลังได้ยึด เป็นที่พึ่งหลักธรรมประจำชาติไทยในอนาคตกาลยืนนานสืบไป
หลวงปู่มรณภาพแล้วเมื่อ วันที่ 31 มีนาคม 2547 เวลา 16.40 น. ที่โรงพยาบาลสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่ รวมสิริอายุ 91 ปี