*8q*
12-10-2008, 12:39 PM
พระพุทธองค์ตรัสว่า ความสงบของจิตหรือ จิตตวิเวก และการพ้นจากกิเลส อุปธิวิเวก เกิดจาก กายวิเวก ด้วยเหตุนี้จึงทรงสรรเสริญการหลีกเร้นอยู่ในป่าอย่างสันโดษมักน้อยว่า เป็นเครื่องอุดหนุนที่สำคัญในการประพฤติปฏิบัติ
เนื่องจากความสงบสงัดของสิ่งแวดล้อมในป่าช่วยให้กายสงบระงับ และความรู้สึกนึกคิดก็เยือกเย็นลง ในภาวะเช่นนี้ นักปฏิบัติจะได้อยู่ใกล้ชิด และสัมผัส กับธรรมชาติภายนอกที่เป็นรูปธรรม
ซึ่งจะแทงทะลุเข้าไปถึงธรรมชาติที่ละเอียดอ่อน อันเป็นนามธรรมภายในจิต จึงเป็นโอกาสที่ข้อคิดทางธรรมจะผุดโผล่ขึ้นมาได้ง่าย จนอาจเกิดความสว่างในเรื่องนั้น ๆ ได้อย่างที่หลวงพ่อเคยพูดว่า
เมื่อเห็นธรรมภายนอก ก็เห็นธรรมภายใน
อนึ่ง ธรรมชาติเป็นตัวยืนยัน และสนับสนุนการภาวนาของนักปฏิบัติ เสียงของป่าแม้มีอยู่ก็ไม่รบกวน แต่เป็นเสียงที่จะกล่อมเกลาจิตใจของนักปฏิบัติให้เข้าสู่ความสงบ ไม่เหมือนเสียงนักร้อง หลวงพ่อท่านว่าอย่างนั้น
พวกนักร้องที่มันร้องกันอยู่นั่น เราไปฟังเข้าครั้งเดียว แหม! มันแสบร้อนอยู่กระทั่งวันกระทั่งคืน
ท่านจึงได้คอยชี้ชวนลูกศิษย์ ให้ลืมหูลืมตาต่อสัจธรรมที่อยู่รอบตัว เหมือนสอนให้ปลาเห็นน้ำ
ธรรมชาติต่าง ๆ มันก็เป็นอยู่ตามธรรมชาติของมัน สารพัดอย่าง แต่ถ้าเราไม่สงบระงับ อันใดที่ชอบใจเราก็เห็นว่าสงบ อันใดที่ไม่ชอบใจเราก็เห็นว่าไม่สงบ
ความเป็นจริงคนผู้ปฏิบัติ ถ้าหากว่าเราจะมาอาศัยแต่ผู้อื่น เกาะผู้อื่น อาศัยผู้อื่นสอนเราอย่างเดียวนั้น มันก็ไม่เกิดปัญญา ต้องเป็นคนเข้าใจตนของตนเอง พยายามสอนตน พยายามฝึกตน
ที่ครูบาอาจารย์ท่านฝึกให้น่ะภายนอก ท่านก็เป็นผู้แนะแนวทางให้ตั้งแต่ไหนแต่ไรมาก็ดี ทางโลกทางธรรมก็ต้องเป็นอย่างนี้
เรื่องธรรมชาติทั้งหลายน่ะ มันสอนพระสอนคนอยู่ในตัวของมันเต็มที่อยู่แล้ว ถ้าคนมีปัญญาแล้ว ก็เรียกว่าได้ความรู้จากสิ่งต่าง ๆ ของที่อยู่ในป่า จะเป็นก้อนดิน จะเป็นก้อนหิน จะเป็นต้นไม้ หรือจะเป็นเครือเถาวัลย์
เปรียบประหนึ่งว่า สิ่งทั้งหลายนั้นมันพร้อมที่จะแนะนำพร่ำสอนเราอยู่เสมอ แต่ว่ามันก็รู้สึกแต่บุคคลที่มีปัญญา ถ้าคนไม่มีปัญญาแล้วก็ไม่รู้เรื่องอะไร
http://www.agalico.com/board/showthread.php?t=25190
เนื่องจากความสงบสงัดของสิ่งแวดล้อมในป่าช่วยให้กายสงบระงับ และความรู้สึกนึกคิดก็เยือกเย็นลง ในภาวะเช่นนี้ นักปฏิบัติจะได้อยู่ใกล้ชิด และสัมผัส กับธรรมชาติภายนอกที่เป็นรูปธรรม
ซึ่งจะแทงทะลุเข้าไปถึงธรรมชาติที่ละเอียดอ่อน อันเป็นนามธรรมภายในจิต จึงเป็นโอกาสที่ข้อคิดทางธรรมจะผุดโผล่ขึ้นมาได้ง่าย จนอาจเกิดความสว่างในเรื่องนั้น ๆ ได้อย่างที่หลวงพ่อเคยพูดว่า
เมื่อเห็นธรรมภายนอก ก็เห็นธรรมภายใน
อนึ่ง ธรรมชาติเป็นตัวยืนยัน และสนับสนุนการภาวนาของนักปฏิบัติ เสียงของป่าแม้มีอยู่ก็ไม่รบกวน แต่เป็นเสียงที่จะกล่อมเกลาจิตใจของนักปฏิบัติให้เข้าสู่ความสงบ ไม่เหมือนเสียงนักร้อง หลวงพ่อท่านว่าอย่างนั้น
พวกนักร้องที่มันร้องกันอยู่นั่น เราไปฟังเข้าครั้งเดียว แหม! มันแสบร้อนอยู่กระทั่งวันกระทั่งคืน
ท่านจึงได้คอยชี้ชวนลูกศิษย์ ให้ลืมหูลืมตาต่อสัจธรรมที่อยู่รอบตัว เหมือนสอนให้ปลาเห็นน้ำ
ธรรมชาติต่าง ๆ มันก็เป็นอยู่ตามธรรมชาติของมัน สารพัดอย่าง แต่ถ้าเราไม่สงบระงับ อันใดที่ชอบใจเราก็เห็นว่าสงบ อันใดที่ไม่ชอบใจเราก็เห็นว่าไม่สงบ
ความเป็นจริงคนผู้ปฏิบัติ ถ้าหากว่าเราจะมาอาศัยแต่ผู้อื่น เกาะผู้อื่น อาศัยผู้อื่นสอนเราอย่างเดียวนั้น มันก็ไม่เกิดปัญญา ต้องเป็นคนเข้าใจตนของตนเอง พยายามสอนตน พยายามฝึกตน
ที่ครูบาอาจารย์ท่านฝึกให้น่ะภายนอก ท่านก็เป็นผู้แนะแนวทางให้ตั้งแต่ไหนแต่ไรมาก็ดี ทางโลกทางธรรมก็ต้องเป็นอย่างนี้
เรื่องธรรมชาติทั้งหลายน่ะ มันสอนพระสอนคนอยู่ในตัวของมันเต็มที่อยู่แล้ว ถ้าคนมีปัญญาแล้ว ก็เรียกว่าได้ความรู้จากสิ่งต่าง ๆ ของที่อยู่ในป่า จะเป็นก้อนดิน จะเป็นก้อนหิน จะเป็นต้นไม้ หรือจะเป็นเครือเถาวัลย์
เปรียบประหนึ่งว่า สิ่งทั้งหลายนั้นมันพร้อมที่จะแนะนำพร่ำสอนเราอยู่เสมอ แต่ว่ามันก็รู้สึกแต่บุคคลที่มีปัญญา ถ้าคนไม่มีปัญญาแล้วก็ไม่รู้เรื่องอะไร
http://www.agalico.com/board/showthread.php?t=25190