PDA

แสดงเวอร์ชันเต็ม : อะไรคือแก่นสารในพระพุทธศาสนา



DAO
12-26-2008, 05:13 PM
http://www.bangkokmag.com/images/not.gif
http://www.bangkokmag.com/images/not.gif อะไรคือแก่นสารในพระพุทธศาสนา
http://www.bangkokmag.com/images/not.gif สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนารามใกล้กรุงสาวัตถี มีพราหมณ์ผู้หนึ่งชื่อ ปิงคลโกจฉะ เข้าไปเฝ้า เมื่อได้กล่าทักทายปราศรัยพอสมควรแล้ว พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า
http://www.bangkokmag.com/images/not.gif “
พระโคดมผู้เจริญ สมณพราหมณ์ที่เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ มีคนรู้จักมาก มีเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิอันชนหมู่มากเข้าใจกันว่าเป็นคนดี สมณพราหมณ์ทั้งหมดนั้นรู้แจ้งเห็นจริงตามปฏิญญาของตน หรือว่าไม่รู้แจ้งเห็นจริงเลย หรือบางพวกรู้ บางพวกไม่รู้
”
http://www.bangkokmag.com/images/not.gif พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
http://www.bangkokmag.com/images/not.gif “
อย่าเลย พราหมณ์ ข้อที่สมณพราหมณ์ทั้งหมดนั้นรู้แจ้งเห็นจริงตามปฏิญญาของตนหรือไม่รู้แจ้งเห็นจริงเลย เป็นต้นนั้น จงยกไว้ เราจักแสดงธรรมแก่ท่าน ท่านจงตั้งใจฟังให้ดีเถิด
http://www.bangkokmag.com/images/not.gif
เมื่อพราหมณ์ทูลรับคำแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
http://www.bangkokmag.com/images/not.gif “
ดูก่อนพราหมณ์ มีข้ออุปมาว่า บุรุษผู้ต้องการแก่นไม้แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อมีต้นไม้ใหญ่มีแก่นยืนต้นอยู่ ละเละแก่น กะพี้ เปลือก และสะเก็ดไม้เสีย ตัดกิ่งและใบไม้ไปด้วยสำคัญว่าเป็นแก่น คนที่รู้เรื่องดีเห็นเข้า จะพึงกล่าวว่า บุรุษผู้เจริญนี้ ไม่รู้จักแก่น ไม่รู้จักกะพี้ เปลือก สะเก็ด กิ่งและใบไม้ เมื่อต้องการแก่นไม้ จึงละเลยแก่นเป็นต้น ตัดเอาแต่กิ่งและใบไม้ไปด้วยสำคัญว่าเป็นแก่น ทั้งจะไม่ได้รับประโยชน์จากกิ่งและใบไม้นั้นด้วย
”
http://www.bangkokmag.com/images/not.gif “
อีกอุปมาหนึ่ง บุรุษต้องการแก่นไม้ ก็ตัดเอาแต่แก่นไป ด้วยรู้จักแก่นไม้ คนที่รู้เรื่องดีเห็นเข้าก็จะพึงกล่าวว่า บุรุษผู้เจริญนี้ รู้จักแก่น กะพี้ เปลือก สะเก็ด กิ่งและใบไม้ ต้องการแก่นไม้ก็ตัดเอาแต่แก่นไปด้วยรู้จักแก่นไม้ ทั้งจะได้รับประโยชน์จากแก่นไม้นั้นด้วย
”
http://www.bangkokmag.com/images/not.gif “
ดูก่อนพราหมณ์ ข้ออุปมาก็ฉันเดียวกันนั่นแหละ คือกุลบุตรบางคนในศาสนานี้ มีศรัทธาออกบวชไม่ครองเรือนด้วยคิดว่า เราเป็นผู้อันความเกิด ความแก่ ความตาย ความโศก ความคร่ำครวญ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ และความคับแค้นใจ เข้าถึงตัวแล้ว อันความทุกข์เข้าถึงตัวแล้ว มีความทุกข์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า ไฉนหนอการทำที่สุดแห่งทุกข์ทั้งหมดนี้จะปรากฏ ผู้นั้นออกบวชแล้ว ลาภสักการะและชื่อเสียงเกิดขึ้น ก็อิ่มใจ เต็มความปรารถนาด้วยลาภสักการะและชื่อเสียงนั้น ยกตนเอง ข่มผู้อื่น เพราะลาภสักการะและชื่อเสียงนั้น ว่าเราเป็นผู้มีลาภ สักการะ ชื่อเสียง ส่วนภิกษุอื่นๆ เหล่านี้ไม่มีใครรู้จัก เป็นผู้มีศักดาน้อย คุณธรรมอื่นๆ ที่ยิ่งกว่า ประณีตกว่า ลาภ สักการะ และชื่อเสียง ก็ไม่ปลุกความพอใจ ไม่พยายามเพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณธรรมนั้นๆ เป็นผู้มีความประพฤติย่อหย่อนหละหลวม
”

http://www.bangkokmag.com/images/not.gif “
อนึ่ง บุคคลบางคนออกบวช มีลาภสักการะชื่อเสียงเกิดขึ้น แต่ก็ไม่อิ่มใจ ไม่เต็มปรารถนาด้วยลาภสักการะชื่อเสียงนั้นไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นเพราะสิ่งนั้น ทั้งยังปลูกความพอใจ พยายามเพื่อทำให้แจ้งึ่งคุณธรรมที่ยิ่งกว่า ประณีตกว่าลาภสักการะชื่อเสียงนั้น ไม่มีความประพฤติย่อหย่อนหละหลวม ผู้นั้น ได้ความสมบูรณ์ด้วยศีล ก็อิ่มใจ
http://www.bangkokmag.com/images/not.gif
“
อนึ่ง บุคคลบางคนออกบวช มีลาภสักการะชื่อเสียงเกิดขึ้น ก็ไม่อิ่มใจ ไม่เต็มปรารถนาด้วยลาภสักการะชื่อเสียงนั้น ได้ความสมบูรณ์ด้วยศีล ก็อิ่มใจ แต่ไม่เต็มปรารถนาด้วยสีลสัมปทา (ความสมบูรณ์ด้วยศีล) นั้น ได้ความสมบูรณ์ด้วยสมาธิ ก็อิ่มใจ แต่ไม่เต็มปรารถนาด้วยสมาธิสัมปทา (ความสมบูรณ์ด้วยสมาธิ) นั้น ได้ญาณทัสสนะ (หรือปัญญา) ก็อิ่มใจ แต่ไม่เต็มปรารถนาด้วยญาณทัสสนะนั้น ต้องการคุณธรรมอื่นๆ ที่ยิ่งกว่าประณีตกว่าญาณทัสสนะ ก็ปลูกความพอใจ พยายามเพื่อทำให้แจ้ง
”

http://www.bangkokmag.com/images/not.gif “
ดูก่อน พราหมณ์ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เข้าปฐมญาณ (ญาณที่ 1) เข้าทุติยญาณ (ญาณที่ 2) เข้าตติยญาณ (ญาณที่ 3) เข้าจตุตญาณ (ญาณที่ 4) เข้าอากาสาณัญ จายตนะ (อรุปญาณ กำหนดอากาศไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์) เข้าวิญญาณณัญจายตยะ (อรูปญาน กำหนดวิญญาณไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์ เข้าอากิญจัญญายตนะ (อรูปฌาน กำหนดว่า ไม่มีอะไรแม้แต่นิดหน่อย) เข้าแนวสัญญานา สัญญายตนะ (อรูปฌาน ที่มีสัญญา) ความจำได้หมายรู้ก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่) เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ (สมาบัติชั้นสูงสุดในพระพุทธศาสนา ซึ่งเมื่อเข้าแล้ว ทำให้ดับสัญญความจำได้หมายรู้และเวทนาความเสวยอารมณ์สุขทุกข์ หรือไม่ทุกข์ไม่สุขได้ อาสวะของภิกษุนั้นสิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา คุณธรรมเหล่านี้แล ที่ยิ่งกว่าประณีตกว่าญาณทัสสนะ ดูก่อนพราหมณ์ เรากล่าวบุคคลนี้ว่าเปรียบเหมือนผ้ต้องการแก่นไม้ ก็ตัดเอาแต่แก่นไม้ไปฉะนั้น
”

http://www.bangkokmag.com/images/not.gif “
ด้วยประการฉะนี้แหละ พราหมณ์ พรหมจรรย์นี้ มิใช่มีลาภสักการะชื่อเสียงเป็นอานิสงส์ มิใช่มีความสมบูรณ์ด้วยศีลเป็นอานิสงส์ มิใช่มีความสมบูรณ์ด้วยสมาธิเป็นอานิสงส์ มิใช่มีญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ แต่ความหลุดพ้นแห่งใจอันไม่กลับกำเริบอันใด พรหมจรรย์นี้ มีความหลุดพ้นแห่งใจอันไม่กลับกำเริบนั้นแหละเป็นที่ต้องการ นั้นเป็นแก่นสาร นั้นเป็นที่สุดโดยรอบ
”

http://www.bangkokmag.com/images/not.gif เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ปิงคลโกจฉพราหมณ์กราบทูลสรรเสริญพระธรรมเทศนา แสดงตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยตลอดชีวิต
http://www.bangkokmag.com/images/not.gif จุฬสาโรปมสูตร 12/374

http://www.bangkokmag.com/images/not.gifสรุปความ
http://www.bangkokmag.com/images/not.gif 1. ลาภสักการะชื่อเสียง เปรียบเหมือนกิ่งไม้ใบไม้
http://www.bangkokmag.com/images/not.gif 2. ความสมบูรณ์ด้วยศีล เปรียบเหมือนสะเก็ดไม้
http://www.bangkokmag.com/images/not.gif 3. ความสมบูรณ์ด้วยสมาธิ เปรียบเหมือนเปลือกไม้
http://www.bangkokmag.com/images/not.gif 4. ญาณทัสสนะ หรือปัญญา เปรียบเหมือนกะพี้ไม้
http://www.bangkokmag.com/images/not.gif 5. ความหลุดพ้นแห่งใจอันไม่กลับกำเริบ เปรียบเหมือนแก่นไม้
ขอขอบคุณที่มาคะ http://www.bangkokmag.com/tudji/tudji_014.html