*8q*
01-13-2009, 01:28 PM
จิต
จิตคืออะไร
จิต คือ ธรรมชาติชนิดหนึ่งซึ่ง รู้อารมณ์ จิตเป็นตัวรู้
สิ่งที่จิตรู้นั้นเป็นอารมณ์ จิตรู้สิ่งใด สิ่งนั้นแหละคืออารมณ์
อีกนัยหนึ่งแสดงว่า จิตคือธรรมชาติชนิดหนึ่งที่ รับ จำ คิด รู้ ซึ่ง
อารมณ์ จิตต้องมีอารมณ์ และต้องรับอารมณ์จึงจะรู้และจำ แล้วก็
คิดต่อไป สมตามนัยขยายความตามบาลีว่า
จิตเตตีติ จิตตัง อารัมมะณัง วิชานาตีติ อัตโถ ฯ ซึ่งแปลเป็น
ใจความว่า ธรรมชาติใดย่อมคิด ธรรมชาตินั้นชื่อว่า จิต มีอรรถว่า ธรรมชาติ
ที่รู้อารมณ์คือ จิต
ในปฏิสัมภิทาพระบาลีมหาวัคค แสดงว่าจิตนี้มีชื่อที่ใช้เรียกขานกันตั้ง ๑๐
ชื่อ แต่ละชื่อก็แสดงให้รู้ความหมายว่าจิตคืออะไร ดังต่อไปนี้
ยัง จิตตัง มะโน หะทะยัง มานะสัง ปัณฑะรัง มะนายะตะนัง
มะนินทริยัง วิญญาณัง วิญญาณักขันโธ ตัชชา มะโนวิญญาณะธาตุ
อิทัง จิตตัง ฯ
ซึ่ง อัฏฐสาลินีอรรถกถา อธิบายว่า
๑. ธรรมชาติใดย่อมคิ ธรรมชาตินั้นชื่อว่า จิต
๒. ธรรมชาติใดย่อมน้อมไปหาอารมณ์ ธรรมชาตินั้นชื่อว่า มโน
๓. จิตนั่นแหละได้รวบรวมอารมณ์ไว้ภายใน ดังนั้นจึงชื่อว่า หทัย
๔. ธรรมชาติคือ ฉันทะที่มีในใจนั่นเอง ชื่อว่า มนัส
๕. จิตเป็นธรรมชาติที่ผ่องใส จึงชื่อว่า ปัณฑระ
๖. มนะนั่นเองเป็นอายตนะ คือเป็นเครื่องต่อ จึงชื่อว่า มนายตนะ
๗. มนะอีกนั่นแหละที่เป็นอินทรีย์ คือครองความเป็นใหญ่ จึงชื่อว่า
มนินทรีย์
๘. ธรรมชาติใดที่รู้แจ้งอารมณ์ ธรรมชาตินั้นชื่อว่า วิญญาณ
๙. วิญญาณนั่นแหละเป็นขันธ์ จึงชื่อว่า วิญญาณขันธ์
๑๐. มนะนั่นเองเป็นธาตุชนิดหนึ่ง ที่รู้แจ้งซึ่งอารมณ์ จึงชื่อว่า
มโนวิญญาณธาตุ
สภาพหรือลักษณะของจิต
จิตเป็นปรมัตถธรรม ดังนั้น จิตจึงมีสภาวะ หรือสภาพ หรือ
ลักษณะทั้ง ๒ อย่างคือทั้ง สามัญญลักษณะ และ วิเสส-
ลักษณะ
สามัญญลักษณะ หรือไตรลักษณ์ของจิต มีครบบริบูรณ์ทั้ง ๓ ประการคือ
อนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะและอนัตตลักษณะ
จิตนี้เป็นอนิจจัง คือไม่เที่ยง ไม่มั่นคง หมายถึงว่า ไม่ยั่งยืน ไม่ตั้ง
อยู่ได้ตลอดกาล
จิตนี้เป็นทุกขัง คือทนอยู่ไม่ได้ เพราะเป็นสิ่งที่ไม่ยั่งยืน ทนอยู่ไม่
ได้ตลอดกาล จึงมีอาการเกิดดับ เกิดดับ อยู่ร่ำไป
จิตนี้เป็นอนัตตา คือเป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน เป็นสิ่งที่บังคับบัญชาให้
ยั่งยืน ให้ทนอยู่ไม่ให้เกิดดับ ก็ไม่ได้เลย
และเพราะเหตุว่าจิตนี้ เกิดดับ เกิดดับ สืบต่อเนื่องกันอย่างรวดเร็วเหลือ
ประมาณ จนปุถุชนคนธรรมดาเข้าใจไปว่า จิตนี้ไม่มีการเกิดดับ แต่ว่ายั่งยืน
อยู่จนตลอดชีวิตจึงดับไปก็เหมือนกับเข้าใจว่า กระแสไฟฟ้าชนิดกระแสสลับ
ซึ่งไปกลับไปกลับอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งเราเห็นหลอดไฟสว่างอยู่ตลอดเวลา
ก็เข้าใจว่ากระแสไฟฟ้าไม่ได้ไหลไปแล้วกลับฉะนั้น
ส่วนวิเสสลักษณะ หรือ ลักขณาทิจตุกะของจิต ก็มีครบบริบูรณ์
ทั้ง ๔ ประการ คือ
วิชานะนะ ลักขะณัง มีการรู้อารมณ์ เป็นลักษณะ
ปุพพังคะมะ ระสัง เป็นประธานในธรรมทั้งปวง เป็นกิจ
สันธานะ ปัจจุปัฏฐานัง มีการเกิดขึ้นต่อเนื่องกันไม่ขาดสาย เป็น
อาการปรากฏ
นามะรูปะ ปะทัฏฐานัง มีนามรูป เป็นเหตุใกล้ให้เกิด
ในธรรมบท ภาค ๒ มีคาถากล่าวถึงเรื่องการระวังสังวรจิต และมีความ
กล่าวถึงลักษณะหรือสภาพของจิตด้วย จึงขอนำมาแสดงไว้ ณ ที่นี้ ดังนี้
ทูรังคะมัง เอกะจะรัง อะสะริรัง คูหาสะยัง
เย จิตตัง สัญญะเมสสันติ โมกขันติ มาระพันธะนา ฯ
แปลความว่า ชนทั้งหลายใน จักระวังจิต ซึ่ง ไปไกล ไปเดี่ยว ไม่มี
สรีระ (รูปร่าง) มีคูหาเป็นที่อาศัย ไว้ได้ ชนทั้งหลายนั้น
จะพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร
อนึ่ง จิตเป็นสภาวธรรมที่ทำให้เกิดขึ้น ทำให้เป็นไปได้ คือทำให้วิจิตรได้ถึง
๖ ประการ
๑. วิจิตรในการกระทำ คือทำให้งดงาม แปลก น่าพิศวง พิลึกกึกกือ
เช่น สิ่งของต่างๆ ที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น ย่อมมีทั้งที่งดงาม แปลกตาน่าพิศวง
ตลอดจนน่าเกลียด น่าสยดสยองสะพรึงกลัว
๒. วิจิตรด้วยตนเอง คือ ตัวจิตเองก็แปลก น่าพิศวง มีประการ
ต่างๆ นานา เช่นจิตดีก็มี ชั่วก็มี จิตที่ฟุ้งซ่าน จิตที่สงบ จิตเบาปัญญา จิตที่
มากด้วยปัญญา จิตที่มีความจำเลอะเลือน จิตที่มีความจำเป็นเลิศ สุดที่จะ
พรรณนา
๓. วิจิตรในการสั่งสมกรรมและกิเลส ก็น่าแปลกที่จิตนั่นแหละเป็น
ตัวที่ก่อกรรมทำเข็ญ และก็จิตนั่นแหละเป็นที่สะสมกรรมและกิเลสที่ตัวนั้น
ทำไว้เอง น่าแปลก น่าพิศวงยิ่งขึ้นก็ตรงที่ว่า กรรมอะไรที่ไม่ดีที่ตัวทำเอง ก็
ไม่น่าจะเก็บสิ่งที่ไม่ดีนั้นไว้ แต่ก็จำต้องเก็บจำต้องสั่งสมไว้
๔. วิจิตรในการรักษา ซึ่งวิบากที่กรรมและกิเลสได้สั่งสมไว้ หมาย
ความว่ากรรมทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นกุศลกรรมหรืออกุศลกรรมที่จิตเป็นตัวการ
ก่อให้เกิดขึ้นนั้น จะไม่สูญหายไปไหนเลย แม้จะช้านานปานใด ก็ไม่มีการ
เสื่อมคลายไป เมื่อได้ช่องสบโอกาสเหมาะเมื่อใดเป็นต้องได้รับผลของกรรม
เมื่อนั้นจนได้
๕. วิจิตรในการสั่งสมสันดานของตนเอง หมายถึงว่าการกระทำ
กรรมอย่างใดๆ ก็ตาม ถ้ากระทำอยู่บ่อยๆ ทำอยู่เสมอๆ เป็นเนืองนิจ ก็ติดฝัง
ในนิสสัยสันดานให้ชอบกระทำชอบประพฤติอย่างนั้นเรื่อยๆ ไป
๖. วิจิตรด้วยอารมณ์ต่างๆ หมายถึงว่าจิตนี้รับอารมณ์ได้ต่างๆ
นานาไม่มีที่จำกัด แต่น่าแปลก น่าพิศวงที่มักจะรับอารมณ์ที่ไม่ดี ที่ชั่วได้ง่าย
จำแนกจิตเป็น ๔ ประเภท
เมื่อกล่าวตาม สภาพ คือกล่าวตามลักษณะของจิตแล้ว จิตก็มี
เพียง ๑ เพราะจิตมีสภาวะ มีสภาพ มีลักษณะ รับรู้อารมณ์แต่เพียงอย่าง
เดียวเท่านั้นเอง
แต่เมื่อกล่าวตามอาการที่รู้ ตามประเภทที่รู้ กล่าวคือ รู้ในเรื่องกามที่เป็นบุญ
เป็นบาป รู้เรื่องรูปฌาน รู้ในเรื่องอรูปฌาน รู้ในเรื่องนิพพานเหล่านี้แล้ว จิตก็
มีจำนวนนับอย่างพิสดารได้ถึง ๑๒๑ ดวง หรือ ๑๒๑ อย่าง ๑๒๑ ชนิด และ
จำแนกได้เป็นประเภทตามอาการที่รู้นั้นได้เป็น ๔ ประเภท คือ
๑. กามาวจรจิต ๕๔ ดวง
๒. รูปาวจรจิต ๑๕ ดวง
๓. อรูปาวจรจิต ๑๒ ดวง
๔. โลกุตตรจิต ๘ ดวง หรือ ๔๐ ดวง
รวมเป็น ๘๙ ดวง หรือ ๑๒๑ ดวง
๑. กามาวจรจิต เป็นจิตประเภทที่ข้องอยู่ ที่ติดอยู่ ที่หลงอยู่ ที่เจือ
อยู่ในกามตัณหาหรือเป็นจิตที่ส่วนมากท่องเที่ยววนเวียนอยู่ในกามภูมิ จิต
ประเภทนี้เรียกกันสั้นๆ ว่า กามจิต มีจำนวน ๕๔ ดวง
๒. รูปาวจรจิต เป็นจิตประเภทที่ถึงซึ่งรูปฌาน พอใจที่จะเป็น
รูปพรหม หรือเป็นจิตที่ท่องเที่ยวอยู่ในรูปภูมิ จิตประเภทนี้มีจำนวน ๑๕ ดวง
๓. อรูปาวจรจิต เป็นจิตประเภทที่ถึงซึ่งอรูปฌาน พอใจที่จะเป็น
อรูปพรหมหรือเป็นจิตที่ท่องเที่ยวอยู่ในอรูปภูมิ จิตประเภทนี้มีจำนวน
๑๒ ดวง
๔. โลกุตตรจิต เป็นจิตประเภทที่กำลังพ้นและพ้นแล้วจากโลก
ทั้ง ๓ คือ พ้นจากกามโลก (กามภูมิ) จากรูปโลก (รูปภูมิ) และจากอรูปโลก
(อรูปภูมิ) จิตประเภทนี้มีจำนวนเพียง ๘ ดวง ถ้าจิต ๘ ดวงนี้ประกอบด้วย
ฌานด้วยแล้ว จิตแต่ละดวงก็แจกได้เป็น ๕ ตามชั้นตามประเภทของฌาน
ซึ่งมี ๕ ชั้น จึงเป็นจิตพิสดาร ๔๐ ดวง
ดังนั้น จิตทั้งหมด นับโดยย่อก็เป็น ๘๙ ดวง และนับโดยพิสดารก็เป็น ๑๒๑
ดวง ที่นับอย่างพิสดารนั้น จำนวนที่เพิ่มขึ้น ก็เพิ่มที่โลกุตตรจิตประเภทเดียว
เท่านั้น
***************************************
กามาวจรจิต
กามาวจรจิต หรือ กามจิต ซึ่งมีจำนวน ๕๔ ดวงนั้น
จำแนกได้เป็น ๓ จำพวก คือ
อกุศลจิต ๑๒
อเหตุกจิต ๑๘
กามาวจรโสภณจิต ๒๔
๑. อกุศลจิต
อกุศลจิต เป็นจิตที่ไม่ฉลาด ไม่ดี ไม่งาม เป็นจิตที่ทราม ที่ชั่ว
ที่หยาบ ที่เป็นบาป ที่มีโทษและให้ผลเป็นทุกข์ ที่ท่านแสดง
อกุศลจิตก่อน ก็เพื่อจะให้รู้จักสิ่งชั่ว จะได้ไม่ประพฤติต่ำช้า อันจะนำ
ความเดือดร้อนมาสู่ตนเองและผู้อื่น อุปมาว่าเราจะต้องรู้จักผู้ร้ายก่อน
จะได้หลบหลีกให้ห่างไกล จึงจะพ้นความเดือดร้อนวุ่นวาย เมื่อไม่เดือดร้อน
วุ่นวาย ก็จะเป็นปกติสุข มีความสงบเป็นโอกาสที่จะประกอบกรรมทำดีได้
โดยสะดวก
อกุศลจิต แม้จะเป็นจิตที่ชั่ว เป็นบาปและให้ผลเป็นทุกข์ แต่ส่วน
มากมักจะเกิดได้ง่ายและเกิดได้บ่อย ทั้งนี้ก็เพราะเหตุว่าเมื่อจิตได้รับอารมณ์
ใดแล้ว ส่วนมากก็ไม่ได้พิจารณาให้แยบคาย คือ ไม่พิจารณาให้ซึ้งถึงสภาพ
แห่งความเป็นจริงของอารมณ์ที่ประสบนั้น การไม่ใส่ใจพิจารณาอารมณ์
ด้วยดีนี้เรียกว่า อโยนิโสมนสิการ เมื่อมี อโยนิโสมนสิการ
อกุศลจิตย่อมเกิด อโยนิโสมนสิการนี้ ย่อมเกิดขึ้นโดยอาศัยเหตุ ๕ ประการ
คือ
๑. ปุพเพ อะกะตะปุญญะตา ไม่ได้สร้างสมบุญไว้แต่ปางก่อน
๒. อัปปะฏิรูปะเทสะวาสะ อยู่ในประเทศที่ไม่สมควร (คือไม่มี
สัปบุรุษ)
๓. อะสัปปุริสูปะนิสสะยะ ไม่ได้คบหาสมาคมกับสัปบุรุษ
๔. อะสัทธัมมัสสะวะนะ ไม่ได้ฟังธรรมของสัปบุรุษ
๕. อัตตะมิจฉาปะณิธิ ตั้งตนไว้ผิด
เหตุให้เกิด อโยนิโสมนสิการ ๕ ประการนี้ ประการที่ ๑ เป็นอดีตกรรม ส่วน
ที่เหลืออีก ๔ ประการ เป็น ปัจจุบันกรรม
อกุศลจิต มี ๑๒ ดวงได้แก่
โลภมูลจิต ๘
โทสมูลจิต ๒
โมหมูลจิต ๒
โลภมูลจิต เป็นจิตที่มีรากเหง้าเค้ามูลเกิดมาจาก ความอยากได้
ความต้องการ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความติดใจ ความชอบใจใน
อารมณ์ รวมความว่าจิตจำพวกนี้ มีโลภะเป็นตัวนำ
โทสมูลจิต เป็นจิตที่มีรากเหง้าเค้ามูลเกิดมาจาก ความไม่ชอบ
เสียใจ กลุ้มใจ รำคาญใจ หงุดหงิด โกรธ เกลียด กลัว ประทุษร้าย ทำลาย
รวมความว่าไม่อยากได้ในอารมณ์นั้น มีโทสะเป็นตัวนำ หรือเป็น
จิตที่มีความโกรธความเกลียดเป็นมูลเหตุ หรือจะเรียกว่า ปฏิฆจิต
คือจิตที่กระทบกระทั่งอารมณ์ที่ไม่ชอบ ก็ได้
เหตุให้เกิดโทสะหรือปฏิฆะ มี ๕ ประการ ได้แก่
๑. โทสัชฌาสะยะตา มีอัธยาศัยเป็นคนมักโกรธ
๒. อะคัมภีระปะกะติตา มีความคิดไม่สุขุม
๓. อัปปะสุตตา มีการศึกษาน้อย
๔. อะนิฏฐารัมมะณะสะมาโยโค ได้ประสบกับอารมณ์ที่ไม่ดี
๕. อาฆาตะวัตถุสะมาโยโค ได้ประสบอาฆาตวัตถุ ๑๐ ประการ
[อาฆาตวัตถุ ๑๐ ประการ คือ
๑. อาฆาตเขาโดยคิดว่า ได้ทำ ความเสื่อมเสียแก่เรา
๒. อาฆาตเขาโดยคิดว่า กำลังทำ ความเสื่อมเสียแก่เรา
๓. อาฆาตเขาโดยคิดว่า จักทำ ความเสื่อมเสียแก่เรา
๔. อาฆาตเขาโดยคิดว่า ได้ทำ ความเสื่อมเสียแก่ผู้ที่เรารักชอบ
๕. อาฆาตเขาโดยคิดว่า กำลังทำ ความเสื่อมเสียแก่ผู้ที่เรารักชอบ
๖. อาฆาตเขาโดยคิดว่า จักทำ ความเสื่อมเสียแก่ผู้ที่เรารักชอบ
๗. อาฆาตเขาโดยคิดว่า ได้ทำ คุณทำประโยชน์แก่ผู้ที่เราเกลียดชัง
๘. อาฆาตเขาโดยคิดว่า กำลังทำ คุณทำประโยชน์แก่ผู้ที่เราเกลียดชัง
๙. อาฆาตเขาโดยคิดว่า จักทำ คุณทำประโยชน์แก่ผู้ที่เราเกลียดชัง
๑๐. ความอาฆาตเกิดขึ้นในฐานะอันไม่สมควร เช่น เกิดโกรธขึ้นเมื่อเดิน
สะดุดตอไม้หรือเหยียบหนาม เป็นต้น]
โมหมูลจิต เป็นจิตที่มีรากเหง้าเค้ามูลเกิดมาจาก ความหลง ความ
งมงาย ความไม่รู้เหตุผลต้นปลาย มีโมหะเป็นตัวนำ จิตนี้เรียกว่า
โมมูหจิต คือจิตที่ประกอบด้วยความหลงก็ได้ โมหะ หรือ
อวิชชา มีความหมายอย่างเดียวกัน ในวิสุทธิมัคคกล่าวว่า โมหะนี้
เป็นรากเหง้าแห่งบาปอกุศลทั้งมวล
จิตคืออะไร
จิต คือ ธรรมชาติชนิดหนึ่งซึ่ง รู้อารมณ์ จิตเป็นตัวรู้
สิ่งที่จิตรู้นั้นเป็นอารมณ์ จิตรู้สิ่งใด สิ่งนั้นแหละคืออารมณ์
อีกนัยหนึ่งแสดงว่า จิตคือธรรมชาติชนิดหนึ่งที่ รับ จำ คิด รู้ ซึ่ง
อารมณ์ จิตต้องมีอารมณ์ และต้องรับอารมณ์จึงจะรู้และจำ แล้วก็
คิดต่อไป สมตามนัยขยายความตามบาลีว่า
จิตเตตีติ จิตตัง อารัมมะณัง วิชานาตีติ อัตโถ ฯ ซึ่งแปลเป็น
ใจความว่า ธรรมชาติใดย่อมคิด ธรรมชาตินั้นชื่อว่า จิต มีอรรถว่า ธรรมชาติ
ที่รู้อารมณ์คือ จิต
ในปฏิสัมภิทาพระบาลีมหาวัคค แสดงว่าจิตนี้มีชื่อที่ใช้เรียกขานกันตั้ง ๑๐
ชื่อ แต่ละชื่อก็แสดงให้รู้ความหมายว่าจิตคืออะไร ดังต่อไปนี้
ยัง จิตตัง มะโน หะทะยัง มานะสัง ปัณฑะรัง มะนายะตะนัง
มะนินทริยัง วิญญาณัง วิญญาณักขันโธ ตัชชา มะโนวิญญาณะธาตุ
อิทัง จิตตัง ฯ
ซึ่ง อัฏฐสาลินีอรรถกถา อธิบายว่า
๑. ธรรมชาติใดย่อมคิ ธรรมชาตินั้นชื่อว่า จิต
๒. ธรรมชาติใดย่อมน้อมไปหาอารมณ์ ธรรมชาตินั้นชื่อว่า มโน
๓. จิตนั่นแหละได้รวบรวมอารมณ์ไว้ภายใน ดังนั้นจึงชื่อว่า หทัย
๔. ธรรมชาติคือ ฉันทะที่มีในใจนั่นเอง ชื่อว่า มนัส
๕. จิตเป็นธรรมชาติที่ผ่องใส จึงชื่อว่า ปัณฑระ
๖. มนะนั่นเองเป็นอายตนะ คือเป็นเครื่องต่อ จึงชื่อว่า มนายตนะ
๗. มนะอีกนั่นแหละที่เป็นอินทรีย์ คือครองความเป็นใหญ่ จึงชื่อว่า
มนินทรีย์
๘. ธรรมชาติใดที่รู้แจ้งอารมณ์ ธรรมชาตินั้นชื่อว่า วิญญาณ
๙. วิญญาณนั่นแหละเป็นขันธ์ จึงชื่อว่า วิญญาณขันธ์
๑๐. มนะนั่นเองเป็นธาตุชนิดหนึ่ง ที่รู้แจ้งซึ่งอารมณ์ จึงชื่อว่า
มโนวิญญาณธาตุ
สภาพหรือลักษณะของจิต
จิตเป็นปรมัตถธรรม ดังนั้น จิตจึงมีสภาวะ หรือสภาพ หรือ
ลักษณะทั้ง ๒ อย่างคือทั้ง สามัญญลักษณะ และ วิเสส-
ลักษณะ
สามัญญลักษณะ หรือไตรลักษณ์ของจิต มีครบบริบูรณ์ทั้ง ๓ ประการคือ
อนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะและอนัตตลักษณะ
จิตนี้เป็นอนิจจัง คือไม่เที่ยง ไม่มั่นคง หมายถึงว่า ไม่ยั่งยืน ไม่ตั้ง
อยู่ได้ตลอดกาล
จิตนี้เป็นทุกขัง คือทนอยู่ไม่ได้ เพราะเป็นสิ่งที่ไม่ยั่งยืน ทนอยู่ไม่
ได้ตลอดกาล จึงมีอาการเกิดดับ เกิดดับ อยู่ร่ำไป
จิตนี้เป็นอนัตตา คือเป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน เป็นสิ่งที่บังคับบัญชาให้
ยั่งยืน ให้ทนอยู่ไม่ให้เกิดดับ ก็ไม่ได้เลย
และเพราะเหตุว่าจิตนี้ เกิดดับ เกิดดับ สืบต่อเนื่องกันอย่างรวดเร็วเหลือ
ประมาณ จนปุถุชนคนธรรมดาเข้าใจไปว่า จิตนี้ไม่มีการเกิดดับ แต่ว่ายั่งยืน
อยู่จนตลอดชีวิตจึงดับไปก็เหมือนกับเข้าใจว่า กระแสไฟฟ้าชนิดกระแสสลับ
ซึ่งไปกลับไปกลับอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งเราเห็นหลอดไฟสว่างอยู่ตลอดเวลา
ก็เข้าใจว่ากระแสไฟฟ้าไม่ได้ไหลไปแล้วกลับฉะนั้น
ส่วนวิเสสลักษณะ หรือ ลักขณาทิจตุกะของจิต ก็มีครบบริบูรณ์
ทั้ง ๔ ประการ คือ
วิชานะนะ ลักขะณัง มีการรู้อารมณ์ เป็นลักษณะ
ปุพพังคะมะ ระสัง เป็นประธานในธรรมทั้งปวง เป็นกิจ
สันธานะ ปัจจุปัฏฐานัง มีการเกิดขึ้นต่อเนื่องกันไม่ขาดสาย เป็น
อาการปรากฏ
นามะรูปะ ปะทัฏฐานัง มีนามรูป เป็นเหตุใกล้ให้เกิด
ในธรรมบท ภาค ๒ มีคาถากล่าวถึงเรื่องการระวังสังวรจิต และมีความ
กล่าวถึงลักษณะหรือสภาพของจิตด้วย จึงขอนำมาแสดงไว้ ณ ที่นี้ ดังนี้
ทูรังคะมัง เอกะจะรัง อะสะริรัง คูหาสะยัง
เย จิตตัง สัญญะเมสสันติ โมกขันติ มาระพันธะนา ฯ
แปลความว่า ชนทั้งหลายใน จักระวังจิต ซึ่ง ไปไกล ไปเดี่ยว ไม่มี
สรีระ (รูปร่าง) มีคูหาเป็นที่อาศัย ไว้ได้ ชนทั้งหลายนั้น
จะพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร
อนึ่ง จิตเป็นสภาวธรรมที่ทำให้เกิดขึ้น ทำให้เป็นไปได้ คือทำให้วิจิตรได้ถึง
๖ ประการ
๑. วิจิตรในการกระทำ คือทำให้งดงาม แปลก น่าพิศวง พิลึกกึกกือ
เช่น สิ่งของต่างๆ ที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น ย่อมมีทั้งที่งดงาม แปลกตาน่าพิศวง
ตลอดจนน่าเกลียด น่าสยดสยองสะพรึงกลัว
๒. วิจิตรด้วยตนเอง คือ ตัวจิตเองก็แปลก น่าพิศวง มีประการ
ต่างๆ นานา เช่นจิตดีก็มี ชั่วก็มี จิตที่ฟุ้งซ่าน จิตที่สงบ จิตเบาปัญญา จิตที่
มากด้วยปัญญา จิตที่มีความจำเลอะเลือน จิตที่มีความจำเป็นเลิศ สุดที่จะ
พรรณนา
๓. วิจิตรในการสั่งสมกรรมและกิเลส ก็น่าแปลกที่จิตนั่นแหละเป็น
ตัวที่ก่อกรรมทำเข็ญ และก็จิตนั่นแหละเป็นที่สะสมกรรมและกิเลสที่ตัวนั้น
ทำไว้เอง น่าแปลก น่าพิศวงยิ่งขึ้นก็ตรงที่ว่า กรรมอะไรที่ไม่ดีที่ตัวทำเอง ก็
ไม่น่าจะเก็บสิ่งที่ไม่ดีนั้นไว้ แต่ก็จำต้องเก็บจำต้องสั่งสมไว้
๔. วิจิตรในการรักษา ซึ่งวิบากที่กรรมและกิเลสได้สั่งสมไว้ หมาย
ความว่ากรรมทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นกุศลกรรมหรืออกุศลกรรมที่จิตเป็นตัวการ
ก่อให้เกิดขึ้นนั้น จะไม่สูญหายไปไหนเลย แม้จะช้านานปานใด ก็ไม่มีการ
เสื่อมคลายไป เมื่อได้ช่องสบโอกาสเหมาะเมื่อใดเป็นต้องได้รับผลของกรรม
เมื่อนั้นจนได้
๕. วิจิตรในการสั่งสมสันดานของตนเอง หมายถึงว่าการกระทำ
กรรมอย่างใดๆ ก็ตาม ถ้ากระทำอยู่บ่อยๆ ทำอยู่เสมอๆ เป็นเนืองนิจ ก็ติดฝัง
ในนิสสัยสันดานให้ชอบกระทำชอบประพฤติอย่างนั้นเรื่อยๆ ไป
๖. วิจิตรด้วยอารมณ์ต่างๆ หมายถึงว่าจิตนี้รับอารมณ์ได้ต่างๆ
นานาไม่มีที่จำกัด แต่น่าแปลก น่าพิศวงที่มักจะรับอารมณ์ที่ไม่ดี ที่ชั่วได้ง่าย
จำแนกจิตเป็น ๔ ประเภท
เมื่อกล่าวตาม สภาพ คือกล่าวตามลักษณะของจิตแล้ว จิตก็มี
เพียง ๑ เพราะจิตมีสภาวะ มีสภาพ มีลักษณะ รับรู้อารมณ์แต่เพียงอย่าง
เดียวเท่านั้นเอง
แต่เมื่อกล่าวตามอาการที่รู้ ตามประเภทที่รู้ กล่าวคือ รู้ในเรื่องกามที่เป็นบุญ
เป็นบาป รู้เรื่องรูปฌาน รู้ในเรื่องอรูปฌาน รู้ในเรื่องนิพพานเหล่านี้แล้ว จิตก็
มีจำนวนนับอย่างพิสดารได้ถึง ๑๒๑ ดวง หรือ ๑๒๑ อย่าง ๑๒๑ ชนิด และ
จำแนกได้เป็นประเภทตามอาการที่รู้นั้นได้เป็น ๔ ประเภท คือ
๑. กามาวจรจิต ๕๔ ดวง
๒. รูปาวจรจิต ๑๕ ดวง
๓. อรูปาวจรจิต ๑๒ ดวง
๔. โลกุตตรจิต ๘ ดวง หรือ ๔๐ ดวง
รวมเป็น ๘๙ ดวง หรือ ๑๒๑ ดวง
๑. กามาวจรจิต เป็นจิตประเภทที่ข้องอยู่ ที่ติดอยู่ ที่หลงอยู่ ที่เจือ
อยู่ในกามตัณหาหรือเป็นจิตที่ส่วนมากท่องเที่ยววนเวียนอยู่ในกามภูมิ จิต
ประเภทนี้เรียกกันสั้นๆ ว่า กามจิต มีจำนวน ๕๔ ดวง
๒. รูปาวจรจิต เป็นจิตประเภทที่ถึงซึ่งรูปฌาน พอใจที่จะเป็น
รูปพรหม หรือเป็นจิตที่ท่องเที่ยวอยู่ในรูปภูมิ จิตประเภทนี้มีจำนวน ๑๕ ดวง
๓. อรูปาวจรจิต เป็นจิตประเภทที่ถึงซึ่งอรูปฌาน พอใจที่จะเป็น
อรูปพรหมหรือเป็นจิตที่ท่องเที่ยวอยู่ในอรูปภูมิ จิตประเภทนี้มีจำนวน
๑๒ ดวง
๔. โลกุตตรจิต เป็นจิตประเภทที่กำลังพ้นและพ้นแล้วจากโลก
ทั้ง ๓ คือ พ้นจากกามโลก (กามภูมิ) จากรูปโลก (รูปภูมิ) และจากอรูปโลก
(อรูปภูมิ) จิตประเภทนี้มีจำนวนเพียง ๘ ดวง ถ้าจิต ๘ ดวงนี้ประกอบด้วย
ฌานด้วยแล้ว จิตแต่ละดวงก็แจกได้เป็น ๕ ตามชั้นตามประเภทของฌาน
ซึ่งมี ๕ ชั้น จึงเป็นจิตพิสดาร ๔๐ ดวง
ดังนั้น จิตทั้งหมด นับโดยย่อก็เป็น ๘๙ ดวง และนับโดยพิสดารก็เป็น ๑๒๑
ดวง ที่นับอย่างพิสดารนั้น จำนวนที่เพิ่มขึ้น ก็เพิ่มที่โลกุตตรจิตประเภทเดียว
เท่านั้น
***************************************
กามาวจรจิต
กามาวจรจิต หรือ กามจิต ซึ่งมีจำนวน ๕๔ ดวงนั้น
จำแนกได้เป็น ๓ จำพวก คือ
อกุศลจิต ๑๒
อเหตุกจิต ๑๘
กามาวจรโสภณจิต ๒๔
๑. อกุศลจิต
อกุศลจิต เป็นจิตที่ไม่ฉลาด ไม่ดี ไม่งาม เป็นจิตที่ทราม ที่ชั่ว
ที่หยาบ ที่เป็นบาป ที่มีโทษและให้ผลเป็นทุกข์ ที่ท่านแสดง
อกุศลจิตก่อน ก็เพื่อจะให้รู้จักสิ่งชั่ว จะได้ไม่ประพฤติต่ำช้า อันจะนำ
ความเดือดร้อนมาสู่ตนเองและผู้อื่น อุปมาว่าเราจะต้องรู้จักผู้ร้ายก่อน
จะได้หลบหลีกให้ห่างไกล จึงจะพ้นความเดือดร้อนวุ่นวาย เมื่อไม่เดือดร้อน
วุ่นวาย ก็จะเป็นปกติสุข มีความสงบเป็นโอกาสที่จะประกอบกรรมทำดีได้
โดยสะดวก
อกุศลจิต แม้จะเป็นจิตที่ชั่ว เป็นบาปและให้ผลเป็นทุกข์ แต่ส่วน
มากมักจะเกิดได้ง่ายและเกิดได้บ่อย ทั้งนี้ก็เพราะเหตุว่าเมื่อจิตได้รับอารมณ์
ใดแล้ว ส่วนมากก็ไม่ได้พิจารณาให้แยบคาย คือ ไม่พิจารณาให้ซึ้งถึงสภาพ
แห่งความเป็นจริงของอารมณ์ที่ประสบนั้น การไม่ใส่ใจพิจารณาอารมณ์
ด้วยดีนี้เรียกว่า อโยนิโสมนสิการ เมื่อมี อโยนิโสมนสิการ
อกุศลจิตย่อมเกิด อโยนิโสมนสิการนี้ ย่อมเกิดขึ้นโดยอาศัยเหตุ ๕ ประการ
คือ
๑. ปุพเพ อะกะตะปุญญะตา ไม่ได้สร้างสมบุญไว้แต่ปางก่อน
๒. อัปปะฏิรูปะเทสะวาสะ อยู่ในประเทศที่ไม่สมควร (คือไม่มี
สัปบุรุษ)
๓. อะสัปปุริสูปะนิสสะยะ ไม่ได้คบหาสมาคมกับสัปบุรุษ
๔. อะสัทธัมมัสสะวะนะ ไม่ได้ฟังธรรมของสัปบุรุษ
๕. อัตตะมิจฉาปะณิธิ ตั้งตนไว้ผิด
เหตุให้เกิด อโยนิโสมนสิการ ๕ ประการนี้ ประการที่ ๑ เป็นอดีตกรรม ส่วน
ที่เหลืออีก ๔ ประการ เป็น ปัจจุบันกรรม
อกุศลจิต มี ๑๒ ดวงได้แก่
โลภมูลจิต ๘
โทสมูลจิต ๒
โมหมูลจิต ๒
โลภมูลจิต เป็นจิตที่มีรากเหง้าเค้ามูลเกิดมาจาก ความอยากได้
ความต้องการ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความติดใจ ความชอบใจใน
อารมณ์ รวมความว่าจิตจำพวกนี้ มีโลภะเป็นตัวนำ
โทสมูลจิต เป็นจิตที่มีรากเหง้าเค้ามูลเกิดมาจาก ความไม่ชอบ
เสียใจ กลุ้มใจ รำคาญใจ หงุดหงิด โกรธ เกลียด กลัว ประทุษร้าย ทำลาย
รวมความว่าไม่อยากได้ในอารมณ์นั้น มีโทสะเป็นตัวนำ หรือเป็น
จิตที่มีความโกรธความเกลียดเป็นมูลเหตุ หรือจะเรียกว่า ปฏิฆจิต
คือจิตที่กระทบกระทั่งอารมณ์ที่ไม่ชอบ ก็ได้
เหตุให้เกิดโทสะหรือปฏิฆะ มี ๕ ประการ ได้แก่
๑. โทสัชฌาสะยะตา มีอัธยาศัยเป็นคนมักโกรธ
๒. อะคัมภีระปะกะติตา มีความคิดไม่สุขุม
๓. อัปปะสุตตา มีการศึกษาน้อย
๔. อะนิฏฐารัมมะณะสะมาโยโค ได้ประสบกับอารมณ์ที่ไม่ดี
๕. อาฆาตะวัตถุสะมาโยโค ได้ประสบอาฆาตวัตถุ ๑๐ ประการ
[อาฆาตวัตถุ ๑๐ ประการ คือ
๑. อาฆาตเขาโดยคิดว่า ได้ทำ ความเสื่อมเสียแก่เรา
๒. อาฆาตเขาโดยคิดว่า กำลังทำ ความเสื่อมเสียแก่เรา
๓. อาฆาตเขาโดยคิดว่า จักทำ ความเสื่อมเสียแก่เรา
๔. อาฆาตเขาโดยคิดว่า ได้ทำ ความเสื่อมเสียแก่ผู้ที่เรารักชอบ
๕. อาฆาตเขาโดยคิดว่า กำลังทำ ความเสื่อมเสียแก่ผู้ที่เรารักชอบ
๖. อาฆาตเขาโดยคิดว่า จักทำ ความเสื่อมเสียแก่ผู้ที่เรารักชอบ
๗. อาฆาตเขาโดยคิดว่า ได้ทำ คุณทำประโยชน์แก่ผู้ที่เราเกลียดชัง
๘. อาฆาตเขาโดยคิดว่า กำลังทำ คุณทำประโยชน์แก่ผู้ที่เราเกลียดชัง
๙. อาฆาตเขาโดยคิดว่า จักทำ คุณทำประโยชน์แก่ผู้ที่เราเกลียดชัง
๑๐. ความอาฆาตเกิดขึ้นในฐานะอันไม่สมควร เช่น เกิดโกรธขึ้นเมื่อเดิน
สะดุดตอไม้หรือเหยียบหนาม เป็นต้น]
โมหมูลจิต เป็นจิตที่มีรากเหง้าเค้ามูลเกิดมาจาก ความหลง ความ
งมงาย ความไม่รู้เหตุผลต้นปลาย มีโมหะเป็นตัวนำ จิตนี้เรียกว่า
โมมูหจิต คือจิตที่ประกอบด้วยความหลงก็ได้ โมหะ หรือ
อวิชชา มีความหมายอย่างเดียวกัน ในวิสุทธิมัคคกล่าวว่า โมหะนี้
เป็นรากเหง้าแห่งบาปอกุศลทั้งมวล