PDA

แสดงเวอร์ชันเต็ม : รวย......จน ทำไมไม่เหมือนกัน



*8q*
01-21-2009, 04:44 PM
เรื่องที่จะถามต่อไปนี้เป็นเรื่องจริงที่และพวกเขายังดำเนินชีวิตเป็นปกติอยู่ แต่......

คนที่ 1...มีอาชีพฆ๋าหมูขายวันละหลายตัวหลายชีวิต แต่เท่าที่เห็นๆดูเขามีเงินมีทอง มีรถ มีทรัพย์สินและดูเหมือนยิ่งนานเขายิ่งรวย

คนที่ 2....คนนี้ทำมาหาเลี้ยงชีพตามปกติของคนทั่วไป อาชีพหลักทำนา หาปูหาปลากินไปตามยะถา เขาเป็นคนขยันมากๆเรื่องทำมาหากินถ้าเป็นอาชีพสุจริตนอกจากทำนาแล้วหากมีคนมาจ้างอะไรก็ได้ทำหากเขาทำได้เขาทำหมด พูดง่ายๆขยันมากๆดิ้นรนทำทุกอย่างแต่ทำไมถึงจน รายที่สองนี้ทั้งๆที่ลูกก็ไม่มีหากินเพียง2ปากสองคนผัวเมียเท่านั้น

จากเรื่องจริงที่ทั้งสองกรณีนั้นจึงอยากถามว่า....
- คนแรกฆ่าสัตว์ตัดชีวิตทำไมถึงรวย
- คนที่สองนั้นอาจจะฆ่าสัตว์บ้าง แค่เพียงฆ่าปู หอย ปลาที่หามาได้เพื่อประทังชีวิตเท่านั้น แต่ทำไมถึงจน

ผู้รู้ช่วยตอบให้หายสงสัยด้วยครับ ขอบคุณครับ




จารย์เดฟชว้ยตอบด้วยครับมีคนฝากถามมาผม
ไม่ละเอีอดพอครับสาธุ

D E V
01-21-2009, 04:59 PM
กฏแห่งกรรมนั้นยุติธรรมที่สุด
ผู้ใดกระทำกรรมใดไว้ ก็ต้องได้รับผลกรรมนั้นอย่างแน่นอนน่ะคับ
หากแต่การให้ผลของกรรมก็ย่อมเป็นไปตามวาระของกรรมนั้นๆ
ซึ่งทุกคนย่อมกระทำมาแล้วทั้งกรรมดีและกรรมชั่ว

เราอาจจะเห็นคนที่กระทำกรรมไม่ดีเสมอๆ...แต่เค้าก็ยังสุขสบายดี
เพราะขณะนี้ผลของกรรมดีที่เค้าได้เคยกระทำมา...กำลังให้ผล
ส่วนผลของกรรมชั่วนั้นก็ย่อมต้องให้ผลเมื่อถึงวาระเช่นกัน

กลับกัน เราก็คงเคยเห็นคนที่กระทำความดีมากมาย...แต่ทำไมยังลำบากเหลือเกิน
เพราะขณะนี้ผลของกรรมชั่วที่เค้าได้เคยกระทำมา...กำลังให้ผล
ส่วนผลของกรรมดีนั้นก็ย่อมต้องให้ผลเมื่อถึงวาระเช่นกัน

ดังนั้น จึงไม่ควรท้อถอยในการกระทำกรรมดี
และไม่ควรประมาทในการกระทำกรรมชั่ว
ไม่ควรน้อยเนื้อต่ำใจเมื่อกระทำดีแล้วยังไม่ได้รับผล
ไม่ควรประมาทเมื่อเห็นผู้ที่ทำชั่วแต่ยังเสวยผลที่ดี
ทำดี...ย่อมได้ดี
ทำชั่ว...ย่อมได้ชั่ว
ย่อมเป็นไปตามกฏแห่งกรรมเสมอ
ซึ่งก็คือกฏแห่งเหตุและผลนั่นเองคับ


*************************************************

การให้ผลของกรรมเรียงตามลำดับ ก่อน - หลัง

1. กรรมหนัก
2. กรรมทำใกล้ตาย
3. กรรมทำประจำเสมอๆ
4. กรรมเล็กกรรมน้อยสักว่าทำ


*************************************************

กุศลกรรม - อกุศลกรรม ที่สั่งสมบันทึกไว้ในจิต
พร้อมที่จะให้ผลเมื่อถึงวาระ





http://buddhism-online.org/Images/Sect07B/PlanP29_01.gif





ชวนจิต ก็คือ จิตที่เกิดขึ้นเสพไปในอารมณ์เดียวกันซ้ำๆ
ต่อเนื่องกันไปถึง 7 ขณะ (7 ดวง)
บางทีก็เรียกว่า ชวนวิถี หรือ ชวนวิถีจิต

แล้วขณะใดที่เป็นชวนวิถีจิต?
สำหรับคนธรรมดาอย่างเราๆ นั้น
ก็คือขณะที่เป็น กุศลจิต หรือ อกุศลจิต นั่นเองคับ

ดังนั้น ขณะใดที่กุศลจิต หรืออกุศลจิต เกิดขึ้น
หรือมีการกระทำกุศลกรรม/อกุศลกรรม
ขณะนั้นไม่ได้มี กุศลจิต หรือ อกุศลจิต ที่เกิดขึ้นเพียงดวงเดียวหรือขณะเดียว
แต่จะเกิดต่อเนื่องกันไปถึง 7 ดวงเลยทีเดียว
จึงเสมือนบันทึก ประทับ หรือตราไว้ในจิตซ้ำๆๆๆ กันไปถึง 7 ดวง
เป็นการสั่งสมทุกสิ่งทุกอย่างที่เราคิด ที่เรากระทำ

กุศลกรรม หรือ อกุศลกรรมต่างๆ ที่ได้กระทำ
และได้ถูกบันทึกตราไว้ในจิตต่อเนื่องกันไปถึง 7 ดวงนี้เอง
รอวาระที่จะให้ผลที่เป็นกุศลวิบากบ้าง อกุศวิบากบ้าง
ตามเหตุที่ได้กระทำไว้

เวลาที่ได้กระทำกุศลกรรม หรือกระทำอกุศลกรรม อย่างใดอย่างหนึ่ง
ชวนจิตที่เกิดขึ้นดวงที่ 1 เป็นปัจจัยที่จะให้ผลของกรรมนั้นในชาตินี้
แต่ถ้าไม่มีโอกาสให้ผลในชาตินี้ ก็จะกลายเป็นอโหสิกรรมไป

ชวนจิตดวงสุดท้าย คือดวงที่ 7 เป็นปัจจัยที่จะให้ผลของกรรมนั้นในชาติหน้า
แต่ถ้าไม่มีโอกาสจะให้ผลในชาติหน้า ก็จะกลายเป็นอโหสิกรรมไป

แต่ว่า...อย่าพึ่งดีใจนะคับ
ว่าแหม...ดวงที่ 1 ก็เป็นอโหสิกรรมไปแล้ว
ดวงที่ 7 ก็เป็นอโหสิกรรมไปแล้ว
เราคงไม่ต้องรับผลของกรรมนั้นเป็นแน่แท้ทีเดียว

เพราะยังมีกุศลชวนจิต หรืออกุศลชวนจิต
ดวงที่ 2-6 ที่ยังเป็นปัจจัยให้ผลได้อยู่ ในชาติอื่นๆ ต่อๆ ไป
ตราบใดที่ยังเวียนว่ายในสังสารวัฏ

ดังนี้แล้ว การให้ผลของกรรมต่างๆ ทั้งดีและชั่ว
ก็ย่อมต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัย ตามกำลัง ตามวาระ
ซึ่งไม่มีใครจะไปสั่งหรือบังคับได้
เสมือนปลูกต้นไม้ก็ต้องใช้เวลา
กว่าจะออกดอกผลให้เก็บกินอ่ะคับ


*******************************************************

นอกจากนี้แล้ว
ยังมีปัจจัยที่สนับสนุนหรือตัดรอนการให้ผลของกรรม อันได้แก่


สมบัติ 4
ได้แก่ความถึงพร้อม สมบูรณ์ครบถ้วน
อันเป็นปัจจัยเกื้อหนุนแก่การให้ผลของกรรมดี

1. คติสมบัติ คือ เกิดในภพภูมิที่ดี หรือในประเทศที่ดี หรืออยู่ในที่เจริญ
2. อุปธิสมบัติ คือ เกิดมามีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง บุคลิกท่วงท่าดี
3. กาลสมบัติ คือ เกิดมาในยุคสมัยที่เจริญรุ่งเรือง บ้านเมืองสงบสุข
4. ปโยคสมบัติ คือ ประกอบด้วยความเพียร ขยันขันแข็ง มีความรู้ความสามารถ

กุศลกรรมต่างๆ ที่ได้กระทำ
ส่งผลให้ได้รับสมบัติเหล่านี้
มากหรือน้อย ครบถ้วนหรือไม่
ก็ตามกำลังของกุศลนั้นๆ
ซึ่งสมบัติเหล่านี้ก็จะเป็นปัจจัยเกื้อหนุน
ในการประกอบกุศลกรรมยิ่งๆ ขึ้นไป
และอาจปิดกั้นอกุศลกรรมบางอย่าง
ให้ยังไม่ส่งผลในขณะนั้นๆ
จนกว่าจะหมดวาระที่เสวยผลกรรมดี


วิบัติ 4
ได้แก่ความบกพร่อง
อันเป็นปัจจัยที่เป็นอุปสรรค
ไม่เกื้อกูลแก่การให้ผลของกรรมดี
แต่เป็นช่องทางที่เอื้ออำนวย
ในการให้ผลของกรรมไม่ดี
(ตรงข้ามกับ สมบัติ 4)

1. คติวิบัติ คือ เกิดในภพภูมิที่ไม่ดี หรือในประเทศที่ไม่ดี หรืออยู่ในที่ไม่เจริญ
2. อุปธิวิบัติ คือ เกิดมามีร่างกายอ่อนแอ ทุพพลภาพ
3. กาลวิบัติ คือ เกิดมาในยุคสมัยที่ตกต่ำ ข้าวยากหมากแพง รบราฆ่าฟัน
4. ปโยควิบัติ คือ ประกอบด้วยความเพียรน้อย ไม่ใฝ่รู้ หนักไม่เอาเบาไม่สู้

วิบัติทั้ง 4 ได้มาด้วยผลของอกุศลกรรม
จะบกพร่องมากน้อยแค่ไหน
ก็แล้วแต่กำลังของอกุศลกรรมนั้นๆ
และก็เป็นปัจจัยที่ขวางกั้น
ให้กรรมดีบางอย่างยังไม่อาจจะส่งผลได้ในขณะนั้นๆ
จนกว่าจะหมดวาระที่เสวยผลของอกุศลกรรม

ลองพิจารณาประกอบกันนะคับ




http://www.watkoh.com/board/Smileys/default/cool.gif เดฟ

*8q*
01-22-2009, 09:30 AM
ขอบคุนครับจารย์

piangfan
01-22-2009, 12:23 PM
สาธุ ค่ะ อาจารย์เดฟ พี่แปดคิว

rain....
01-25-2009, 04:31 PM
ขอบคุณ คุณ8ที่ถาม
ขอบคุณ คุณเดฟที่ตอบคำถาม
.................
สิ่งดีๆเกิดขึ้นที่นี่เสมอ



โดดเดี่ยว....แต่ไม่เคยเดียวดาย