DAO
01-22-2009, 04:38 PM
http://www.geocities.com/buddhistworld/p.0103.jpg
ธรรมวิจัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พลตำรวจตรี สุชาติ เผือกสกนธ์
เรียบเรียง ณ วันที่ ๖ พฤษจิกายน ๒๕๔๐
ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๒๕ ได้กำหนดคำนิยามของคำว่า "วิจัย" ไว้ ๒ ประการคือ "การสะสม, การรวบรวม" และ "การค้นคว้าเพื่อหาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา (อ. research)" ดังนั้นคำว่า "ธรรมวิจัย" จึงหมายความว่า "การค้นคว้าเพื่อให้ได้ ข้อมูลที่ถูกต้อง ในการศึกษา(สภาว)ธรรม"
ท่านอาจารย์หลวงพ่อพุธ ฐานิโย (พระราชสังวรญาณ) ได้กรุณาอบรมสั่งสอนผมไว้ว่า การบำเพ็ญสมาธิภาวนาซึ่งเป็นการฝึกอบรมพัฒนาจิตใจมีอยู่ ๒ ประการ คือ "สมถภาวนา" ซึ่งได้แก่การภาวนาเพื่อให้จิตใจสงบเป็นสมาธิิเพียงอย่างเดียวประการหนึ่งและ "วิปัสสนาภาวนา" ซึ่งได้แก่การภาวนา เพื่อให้จิตใจสงบ เป็นสมาธิแล้วนำเอาสมาธินั้นมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาปัญญา ในการศึกษาและปฏิบัติธรรม เพื่อให้บรรลุ ุถึงการรู้แจ้งเห็นจริง ในสภาวธรรม ต่างๆ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงกำหนดขั้นตอนระเบียบปฎิบัติที่สำคัญที่เรียกว่า "โพธิปักขิยธรรม" ไว้ถึง ๓๗ประการ ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔อินทรีย์ ๕พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ และมรรค ๘ ในจำนวนนี้ "โพชฌงค์๗"นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะเป็นหัวข้อ
ที่ได้กล่าวถึง องค์ประกอบที่จะนำไปสู่การ(ตรัส)รู้แจ้งเห็นจริงซึ่งได้แก่ สติ ธรรมวิจัย วิริยะ สมาธิ ปิติ อุเบกขา และการสงบนิ่ง (ปัสสัทธิ) ดังปรากฏอยู่ในหัวข้อปุจฉาวิสัชนาระหว่างพระนาคเสนเถรกับพระเจ้ามิลินท์ (หนังสือ "มิลินทปัญหา สัตตมวรรค สัตตโพธิฌงคปัญหา") ดังนี้:
- "....สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า....อันว่าพระโพธิฌงค์เป็นองค์ให้ตรัสรู้นี้มีกี่ประการพระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า พระโพธิฌงค์เป็นองค์จะให้ตรัสรู้นั้นมีอยู่อย่างเดียวคือพระธัมมวิจยสัมโพธิฌงค์...."
พระนาคเสนได้ถวายคำวัสัชนาโดยอุปมาให้พระเจ้ามิลินท์เข้าพระทัยง่ายว่า ".....โพธิฌงค์ทั้ง ๖ นี้ เปรียบดุจฝักดาบ ธัมมวิจย สัมโพธิฌงค์เหมือนตัวดาบ โพธิฌงค์ทั้ง ๖ ย่อมอาศรัยธัมมวิจัย สัมโพธิฌงค์ก่อน จึงให้รู้มรรครู้ผล เหมือนฝักดาบอาศรัยตัวดาบ จึงฟันบั่นรอนสิ่งทั้งปวง
ให้ขาดได้....."
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงศึกษาและปฏิบัติธรรมอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาที่ยาวนาน พระองค์จึงทรงไว้ซึ่งพระบารม ีทั้งสิบประการคือ ทาน ศิล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา และอุเบกขา ผมได้มีโอกาส ปฏิบัติหน้าที่สนองพระเดชพระคุณใกล้ชิดพระยุคลบาทมานานพอสมควร พระองค์ท่าน ได้ทรงพระเมตตาอธิบายหัวข้อ ธรรมะจากพระโอษฐ์เองบ้าง พระราชทานหนังสือ และเทปคำบรรยายธรรม ของพระอริยสงฆ์มาให้ศึกษา ด้วยตนเองบ้าง จึงทำให้ผมได้มีความรู้ความเข้าใจในการศึกษาและปฏิบัติธรรมมากยิ่งขึ้น ผมจึงมีความเชื่อมั่นว่า ทุกครั้งที่พระองค์ท่าน ได้ทรงศึกษา และปฏิบัติธรรมนั้น สิ่งที่พระองค์ท่าน จะทรงขาดไม่ได้คือ การปฏิบัติธรรมวิจัย
ตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนประการหนึ่งคือ บทพระราชนิพนธ์เรื่อง "พระมหาชนก" ซึ่งได้ทรงศึกษาค้นคว้าจากเรื่องพระมหาชนกในพระไตรปิฎก (พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่มที่ ๔ ภาคที่ ๒) ในพระราชนิพนธ์นี้ ได้ทรงเน้นความสำคัญที่ควรให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่งไว้ประการหนึ่งคือ การบำเพ็ญวิริย บารมีของพระมหาชนกที่ไม่หวังผลตอบแทนใดๆ จนกระทั่งได้ทรงครองราชสมบัติ และนำความเจริญมั่งคั่งแก่กรุงมิถิลา ด้วยพระปรีชาสามารถ
ในหนังสือพระราชนิพนธ์เล่มนี้ ได้กล่าวถึงการเดินทางทางเรือของพระมหาชนกจากเมืองจัมปาไปยังเมืองมิถิลา แต่ได้ประสบอุบัติเหตุระหว่างทาง เรือพระที่นั่งถูกพายุคลื่นลมอย่างรุนแรงจนกระทั่งอับปาง พระมหาชนก ต้องทรงว่ายน้ำอยู่นานถึงเจ็ดวัน จนกระทั่งนางเทพธิดาชื่อ มณีเมขลา ได้ตรวจพบและช่วยเหลือ ก่อนที่จะให้ความ ช่วยเหลือนางมณี เมขลา ได้ทดสอบสัจจธรรมของพระมหาชนกอยู่หลายประการ ในที่สุด พระมหาชนกก็สามารถทำให้ นางมณีเมขลา จำนนต่อถ้อยคำ โดยการตรัสว่า ดูก่อนเทวดา ผู้ใดรู้แจ้งว่าการงานที่ทำ จะไม่ลุล่วงไปได้จริงๆ ชื่อว่าไม่รักษาชีวิตของตน ถ้าผู้นั้นละความเพียรในฐานะเช่นนั้นเสีย ก็จะพึงรู้ผลแห่งความเกียจคร้าน ดูก่อนเทวดา คนบางพวกในโลกนี้เห็นผล แห่งความประสงค์ของตน จึงประกอบการงานทั้งหลาย การงานเหล่านั้นจะสำเร็จหรือไม่ก็ตาม ดูก่อนเทวดา ท่านก็เห็น ผล แก่กรรมประจักษ์แก่ตนแล้วมิใช่หรือ คนอื่นๆ จมในมหาสมุทรหมด เราคนเดียวยังว่าย ข้ามอยู่ และได้เห็น ท่านมาสถิต อยู่ใกล้ๆเราเรานั้นจักพยายามตามสติกำลัง จักทำความเพียร ที่บุรุษควรทำ ไปให้ถึงฝั่งแห่งมหาสมุทร
ข้อความข้างต้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงขยายความไว้ในวรรคต่อมาให้เห็นเด่นชัดถึงความเดิมที่ปรากฏในพระสุตตันตปิฎกฯ ในส่วนที่เกี่ยวข้องซึ่งพระองค์ท่านได้ทรงศึกษาวิเคราะห์ หรือ ทรงปฏิบัติธรรมวิจัย ด้วยพระองค์เองว่าแต่ละพระคาถานั้นมีความหมายอย่างไร อาทิ
"....บทว่า ตานิ อิช.ฌน.ติ วา น วา ความว่า พระมหาสัตว์ทรงแสดงความว่า เมื่อบุคคลกระทำ ความเพียร ทางกายและความเพียร ทางใจว่า เราจักไปในที่นี้ จักเรียนสิ่งนี้ การ งานเหล่านั้น ย่อมสำเร็จทีเดียว เพราะฉะนั้น จึงควรทำความเพียรแท้....."
เท่าที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ย่อมเป็นเครื่องยืนยันได้อย่างแน่นอนว่า บทพระราชนิพนธ์เรื่อง "พระมหาชนก" นี้เป็นผลงานธรรมวิจัย ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในเรื่อง วิริยะ หรือการบำเพ็ญความเพียร ซึ่งเป็นพลังอินทรีย์หนึ่ง ในห้าประการที่องค์พระสัมมา สัมพุทธเจ้าได้ทรงกำหนดไว้เป็นขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลให้ผู้ปฏิบัติได้รู้แจ้งเห็นจริงในสภาวธรรมทั้งปวง หรือ "โพธิปักขิยธรรม" นั่นเอง
--------------
ที่มาของข้อมูล:สถาบันพระมหากษัตริย์กับพระพุทธศาสนา
http://www.geocities.com/buddhistworld/page0103.html
มีต่อคะ
ธรรมวิจัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พลตำรวจตรี สุชาติ เผือกสกนธ์
เรียบเรียง ณ วันที่ ๖ พฤษจิกายน ๒๕๔๐
ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๒๕ ได้กำหนดคำนิยามของคำว่า "วิจัย" ไว้ ๒ ประการคือ "การสะสม, การรวบรวม" และ "การค้นคว้าเพื่อหาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา (อ. research)" ดังนั้นคำว่า "ธรรมวิจัย" จึงหมายความว่า "การค้นคว้าเพื่อให้ได้ ข้อมูลที่ถูกต้อง ในการศึกษา(สภาว)ธรรม"
ท่านอาจารย์หลวงพ่อพุธ ฐานิโย (พระราชสังวรญาณ) ได้กรุณาอบรมสั่งสอนผมไว้ว่า การบำเพ็ญสมาธิภาวนาซึ่งเป็นการฝึกอบรมพัฒนาจิตใจมีอยู่ ๒ ประการ คือ "สมถภาวนา" ซึ่งได้แก่การภาวนาเพื่อให้จิตใจสงบเป็นสมาธิิเพียงอย่างเดียวประการหนึ่งและ "วิปัสสนาภาวนา" ซึ่งได้แก่การภาวนา เพื่อให้จิตใจสงบ เป็นสมาธิแล้วนำเอาสมาธินั้นมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาปัญญา ในการศึกษาและปฏิบัติธรรม เพื่อให้บรรลุ ุถึงการรู้แจ้งเห็นจริง ในสภาวธรรม ต่างๆ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงกำหนดขั้นตอนระเบียบปฎิบัติที่สำคัญที่เรียกว่า "โพธิปักขิยธรรม" ไว้ถึง ๓๗ประการ ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔อินทรีย์ ๕พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ และมรรค ๘ ในจำนวนนี้ "โพชฌงค์๗"นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะเป็นหัวข้อ
ที่ได้กล่าวถึง องค์ประกอบที่จะนำไปสู่การ(ตรัส)รู้แจ้งเห็นจริงซึ่งได้แก่ สติ ธรรมวิจัย วิริยะ สมาธิ ปิติ อุเบกขา และการสงบนิ่ง (ปัสสัทธิ) ดังปรากฏอยู่ในหัวข้อปุจฉาวิสัชนาระหว่างพระนาคเสนเถรกับพระเจ้ามิลินท์ (หนังสือ "มิลินทปัญหา สัตตมวรรค สัตตโพธิฌงคปัญหา") ดังนี้:
- "....สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า....อันว่าพระโพธิฌงค์เป็นองค์ให้ตรัสรู้นี้มีกี่ประการพระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า พระโพธิฌงค์เป็นองค์จะให้ตรัสรู้นั้นมีอยู่อย่างเดียวคือพระธัมมวิจยสัมโพธิฌงค์...."
พระนาคเสนได้ถวายคำวัสัชนาโดยอุปมาให้พระเจ้ามิลินท์เข้าพระทัยง่ายว่า ".....โพธิฌงค์ทั้ง ๖ นี้ เปรียบดุจฝักดาบ ธัมมวิจย สัมโพธิฌงค์เหมือนตัวดาบ โพธิฌงค์ทั้ง ๖ ย่อมอาศรัยธัมมวิจัย สัมโพธิฌงค์ก่อน จึงให้รู้มรรครู้ผล เหมือนฝักดาบอาศรัยตัวดาบ จึงฟันบั่นรอนสิ่งทั้งปวง
ให้ขาดได้....."
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงศึกษาและปฏิบัติธรรมอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาที่ยาวนาน พระองค์จึงทรงไว้ซึ่งพระบารม ีทั้งสิบประการคือ ทาน ศิล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา และอุเบกขา ผมได้มีโอกาส ปฏิบัติหน้าที่สนองพระเดชพระคุณใกล้ชิดพระยุคลบาทมานานพอสมควร พระองค์ท่าน ได้ทรงพระเมตตาอธิบายหัวข้อ ธรรมะจากพระโอษฐ์เองบ้าง พระราชทานหนังสือ และเทปคำบรรยายธรรม ของพระอริยสงฆ์มาให้ศึกษา ด้วยตนเองบ้าง จึงทำให้ผมได้มีความรู้ความเข้าใจในการศึกษาและปฏิบัติธรรมมากยิ่งขึ้น ผมจึงมีความเชื่อมั่นว่า ทุกครั้งที่พระองค์ท่าน ได้ทรงศึกษา และปฏิบัติธรรมนั้น สิ่งที่พระองค์ท่าน จะทรงขาดไม่ได้คือ การปฏิบัติธรรมวิจัย
ตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนประการหนึ่งคือ บทพระราชนิพนธ์เรื่อง "พระมหาชนก" ซึ่งได้ทรงศึกษาค้นคว้าจากเรื่องพระมหาชนกในพระไตรปิฎก (พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่มที่ ๔ ภาคที่ ๒) ในพระราชนิพนธ์นี้ ได้ทรงเน้นความสำคัญที่ควรให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่งไว้ประการหนึ่งคือ การบำเพ็ญวิริย บารมีของพระมหาชนกที่ไม่หวังผลตอบแทนใดๆ จนกระทั่งได้ทรงครองราชสมบัติ และนำความเจริญมั่งคั่งแก่กรุงมิถิลา ด้วยพระปรีชาสามารถ
ในหนังสือพระราชนิพนธ์เล่มนี้ ได้กล่าวถึงการเดินทางทางเรือของพระมหาชนกจากเมืองจัมปาไปยังเมืองมิถิลา แต่ได้ประสบอุบัติเหตุระหว่างทาง เรือพระที่นั่งถูกพายุคลื่นลมอย่างรุนแรงจนกระทั่งอับปาง พระมหาชนก ต้องทรงว่ายน้ำอยู่นานถึงเจ็ดวัน จนกระทั่งนางเทพธิดาชื่อ มณีเมขลา ได้ตรวจพบและช่วยเหลือ ก่อนที่จะให้ความ ช่วยเหลือนางมณี เมขลา ได้ทดสอบสัจจธรรมของพระมหาชนกอยู่หลายประการ ในที่สุด พระมหาชนกก็สามารถทำให้ นางมณีเมขลา จำนนต่อถ้อยคำ โดยการตรัสว่า ดูก่อนเทวดา ผู้ใดรู้แจ้งว่าการงานที่ทำ จะไม่ลุล่วงไปได้จริงๆ ชื่อว่าไม่รักษาชีวิตของตน ถ้าผู้นั้นละความเพียรในฐานะเช่นนั้นเสีย ก็จะพึงรู้ผลแห่งความเกียจคร้าน ดูก่อนเทวดา คนบางพวกในโลกนี้เห็นผล แห่งความประสงค์ของตน จึงประกอบการงานทั้งหลาย การงานเหล่านั้นจะสำเร็จหรือไม่ก็ตาม ดูก่อนเทวดา ท่านก็เห็น ผล แก่กรรมประจักษ์แก่ตนแล้วมิใช่หรือ คนอื่นๆ จมในมหาสมุทรหมด เราคนเดียวยังว่าย ข้ามอยู่ และได้เห็น ท่านมาสถิต อยู่ใกล้ๆเราเรานั้นจักพยายามตามสติกำลัง จักทำความเพียร ที่บุรุษควรทำ ไปให้ถึงฝั่งแห่งมหาสมุทร
ข้อความข้างต้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงขยายความไว้ในวรรคต่อมาให้เห็นเด่นชัดถึงความเดิมที่ปรากฏในพระสุตตันตปิฎกฯ ในส่วนที่เกี่ยวข้องซึ่งพระองค์ท่านได้ทรงศึกษาวิเคราะห์ หรือ ทรงปฏิบัติธรรมวิจัย ด้วยพระองค์เองว่าแต่ละพระคาถานั้นมีความหมายอย่างไร อาทิ
"....บทว่า ตานิ อิช.ฌน.ติ วา น วา ความว่า พระมหาสัตว์ทรงแสดงความว่า เมื่อบุคคลกระทำ ความเพียร ทางกายและความเพียร ทางใจว่า เราจักไปในที่นี้ จักเรียนสิ่งนี้ การ งานเหล่านั้น ย่อมสำเร็จทีเดียว เพราะฉะนั้น จึงควรทำความเพียรแท้....."
เท่าที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ย่อมเป็นเครื่องยืนยันได้อย่างแน่นอนว่า บทพระราชนิพนธ์เรื่อง "พระมหาชนก" นี้เป็นผลงานธรรมวิจัย ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในเรื่อง วิริยะ หรือการบำเพ็ญความเพียร ซึ่งเป็นพลังอินทรีย์หนึ่ง ในห้าประการที่องค์พระสัมมา สัมพุทธเจ้าได้ทรงกำหนดไว้เป็นขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลให้ผู้ปฏิบัติได้รู้แจ้งเห็นจริงในสภาวธรรมทั้งปวง หรือ "โพธิปักขิยธรรม" นั่นเอง
--------------
ที่มาของข้อมูล:สถาบันพระมหากษัตริย์กับพระพุทธศาสนา
http://www.geocities.com/buddhistworld/page0103.html
มีต่อคะ