PDA

แสดงเวอร์ชันเต็ม : จิต พุทธะ ปัญญา ธรรมชาติ



*8q*
01-24-2009, 05:23 PM
จิต พุทธะ ปัญญา ธรรมชาติ

จิตเดิมแท้ (Essence of Mind) ของเรา

ซึ่งเป็นเมล็ดพืชหรือแก่นของการตรัสรู้นั้น

เป็นของบริสุทธิ์ตามธรรมชาติ (Pure by Nature)

และต้องอาศัย จิตเดิมแท้ นี้เท่านั้น

มนุษย์เราจึงจะเข้าถึงความเป็นพุทธะได้โดยตรงๆ

เมื่อผู้ใดผู้หนึ่งไม่ได้มีจิตเลื่อนลอยไป

จาก จิตเดิมแท้ (Esssence of Mind) ของตนแล้ว

ก็ควรจะเรียกเขาผู้นั้นว่า

ผู้เป็นเนื้อนาบุญของโลกเหมือนกัน

แม้ว่าจะมีคนชราเหนือและคนชราใต้ถึงก็จริง

แต่ทิศเหนือหรือทิศใต้นั้น

หาได้ทำให้ความเป็นพุทธะ

ซึ่งมีอยู่ในคนนั้นๆ แตกต่างกันได้ไม่

การที่ใครจะบรรลุอนุตตรสัมโพธิได้นั้น

ผู้นั้นจะต้องสามารถรู้แจ้งด้วยใจเอง

ในธรรมชาติแท้ของตัวเอง

หรือที่เรียกว่า จิตเดิมแท้

อันเป็นสิ่งที่ใครสร้างขึ้นไม่ได้

อันเป็นสิ่งที่ใครสร้างขึ้นไม่ได้

หรือทำลายให้สูญหายไปก็ไม่ได้

ไม่มีต้นโพธิ์

ทั้งที่ไม่มีกระจกเงาอันใสสะอาด

เมื่อทุกสิ่งว่างเปล่าแล้ว

ฝุ่นจะลงจับอะไร

เมื่อท่านทำในใจไม่คิด

ทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว (รู้จักสิ่งที่ไม่ดีและไม่ชั่ว) แล้ว

ในเวลานั้นเป็นอะไร ท่านที่นับถือ

นั่นคือธรรมชาติแท้ของท่าน

(ตามตัวหนังสือเรียก หน้าตาดั้งเดิมของท่าน) มิใช่หรือ?

ธรรมชาติแท้ของเรานั้น

คือธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ

และนอกไปจากธรรมชาติอันนี้แล้ว

หามีพุทธะที่ไหนอีกไม่เลย

ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย

เพราะเหตุที่ใจนั้นมีรัศมีทำงานกว้างขวางใหญ่หลวง









เราจึงไม่ควรใช้มันทำงานกระจิริดไร้เดียงสา

ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย

ปัญญาที่ทำสัตว์ให้ลุถึงการตรัสรู้นั้น

มีอยู่ในตัวเราทุกๆ คนแล้ว

แต่เป็นเพราะมีอวิชชาความมืดบอดที่ครอบงำใจของเราไว้

เราจึงไม่มองเห็นมันด้วยตัวเอง

จนเราต้องเที่ยวเสาะแสวงคำแนะนำตักเตือนจากผู้อื่น

ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย

ปัญญาที่ทำสัตว์ให้ลุถึงการตรัสรู้นั้น

มีอยู่ในตัวเราทุก ๆ คนแล้ว

ปัญญาดวงเดียวเท่านั้น

จะสร้างความรอบรู้ขึ้นถึงแปดหมื่นสี่พันวิถี

คือเท่ากับจำนวนของกิเลสที่เราจะต้องผจญ

ปรัชญาซึ่งมีประจำอยู่ใน จิตเดิมแท้ ของทุกๆ คนนั้นแล้ว

อาจจะเปรียบกันได้กับฝน

ซึ่งความชุ่มชื้นของมัน

ย่อมทำความสดชื่นให้แก่สิ่งที่มีชีวิตทุก ๆ สิ่ง

รวมทั้งต้นไม้และพืชพันธุ์ธัญญาหาร

ตลอดถึงสัตว์ทุกชนิด

ปรัชญานั้น ไม่แตกต่างกัน

*8q*
01-24-2009, 05:25 PM
แม้ว่าตัวบุคคลจะแตกต่างกัน

ข้อที่แตกต่างกันนั้น

อยู่ตรงที่ว่าหัวใจของเขาสว่างไสว หรือมืดมนเท่านั้นเอง

จิตเดิมแท้ของเรา

เป็นของบริสุทธิ์โดยเด็ดขาด

และถ้าเราแจ้งชัดว่า ตัวธรรมชาติแท้ของเราคืออะไรแล้ว

เราจะลุถึงพุทธภาวะได้ทุก ๆคน

(ที่มีความรู้เช่นนั้น)

เมื่อเราใช้ปรัชญา (ปัญญาดั้งเดิม) ของเรา

ในการเพ่งพิจารณาในภายใน

เราย่อมมีความสว่างแจ่มแจ้งภายในและภายนอก

และเราอยู่ในฐานะที่จะรู้จักใจของเราเอง

มันเป็นของฝืดในการที่จะไปถือคติว่า

ถ้าปราศจากคำแนะนำของผู้คงแก่เรียนและมีใจอารีแล้ว

เราไม่สามารถจะลุถึงวิมุติ

เพราะเหตุไร? เพราะเหตุว่า

มันเป็นเพราะปัญญาภายในของเราเองต่างหาก

ที่ทำให้เราเกิดความสว่างไสวได้

โพธิ เป็นสิ่งที่ประจำอยู่แล้วภายใน จิตเดิมแท้ ของเรา

การพยายามมองหาโพธิจากที่อื่นนั้น เป็นความเขลาฯ

จิตที่บริสุทธิ์นั้น จะหาพบได้ภายในจิตอันไม่บริสุทธิ์ของเรา นั่นเอง

เนื้อกายของเรานี้ เป็นนครแห่งหนึ่ง

ตา หู จมูก ลิ้น ของเราเป็นประตูเมือง

ประตูนอกมี ๕ ประตู ประตูในมี ๑ ประตู

ได้แก่อำนาจปรุงแต่ง สำหรับคิดนึก

ใจนั้นเป็นแผ่นดิน

จิตเดิมแท้เป็นเจ้าแผ่นดิน

ซึ่งอาศัยอยู่ในมณฑลแห่งใจ

ถ้าจิตเดิมแท้อยู่ข้างใน ก็แปลว่าเจ้าแผ่นดินยังอยู่

แล้วกายและใจของเราก็ชื่อว่ายังมีอยู่

เมื่อจิตเดิมแท้ออกไปเสียแล้ว

ก็ชื่อว่าเจ้าแผ่นดินไม่อยู่

กายและใจของเราก็ชื่อว่าสาบสูญไปแล้ว

ถ้าเรามีความเพียร

รอคอยจนได้ไฟอันเกิดจากการเอาไม้มาสีกัน

เมื่อนั้น บัวสีแดง (พุทธภาวะ)

ก็จะโผล่ออกมาเองจากตมสีดำ

(ความมืดมนก่อนตรัสรู้)

ในวันหนึ่ง ๆ ที่ชีวิตล่วงไป

เราควรปฏิบัติความไม่เห็นแก่ตัวอยู่ตลอดเวลา

แต่ว่าพุทธภาวะนั้น

ไม่มีหวังที่จะได้มาจากการให้เงินเป็นทาน

โพธิปัญญานั้น

หาพบได้เฉพาะจากภายในของเราเอง

และไม่มีความจำเป็นที่จะเสาะหาความจริง

อันเด็ดขาดของพระศาสนาจากภายนอก

น้อยคนเหลือเกิน ที่จะยอมเห็นด้วยว่า

ในเรือนที่ไฟกำลังไหม้นั่นเอง

มีพระธรรมราชา ซึ่งเราจะหาพบได้

ธรรมนั้นไม่เป็นของคู่

และจิตก็ฉันนั้น มรรคนั้นบริสุทธิ์

และอยู่เหนือรูปทั้งมวล

เมล็ดพืชแห่งพุทธะ แฝงอยู่ในจิตของเรา

ย่อมงอกตามสายฝน ที่ซึมซาบไปในทุกสิ่ง

ดอกไม้แห่งหลักธรรม เมื่อได้ผลิออกมาด้วยปัญญาญาณ

ผู้นั้นย่อมแน่แท้ ที่จะเก็บเกี่ยวผลแห่งการตรัสรู้

พุทธะก็อยู่ที่เรา

เราะจะไปค้นหาพุทธะข้างนอกนั้นไม่พบหรอก


เพราะเหตุที่พุทธนั้น ก็คือ ภาวะในตัวเรานี้เอง

พระพุทธเจ้าทั้งปวงและสัตว์โลกทั้งสิ้น

ไม่ได้เป็นอะไรเลย นอกจากเป็นเพียง จิตหนึ่ง (One mind)

นอกจาก จิตหนึ่ง นี้แล้ว มิได้มีอะไรตั้งอยู่เลย

จิตหนึ่ง นั่นแหละ คือ พุทธะ

ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก

ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก

จิต เป็นเหมือนความว่าง

ซึ่งภายในนั้นย่อมไม่มีความสับสนและความไม่ดีต่างๆ

จิตนี้ มิใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง

มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหากปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง

ฉะนั้นพระพุทธเจ้าทั้งหลายและสัตว์โลกทั้งปวง

จึงไม่แตกต่างกันเลย

ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ ดั้งเดิมของเรานั้น

โดยความจริงอันสูงสุดแล้ว

เป็นสิ่งที่ไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนแม้แต่สักปรมาณูเดียว

สิ่งนี้เป็น ความว่าง

เป็นสิ่งที่อยู่ในที่ทุกแห่ง

สงบเงียบและไม่มีอะไรเจือปน

มันเป็นศานติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ

และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง

ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะนั้น

เป็นเหมือนกับความว่าง

ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ไม่มีอะไรทำลายไป

จงเหวี่ยงคตินิยมไปเสียให้พ้น

รวมทั้งความชอบและความไม่ชอบของเธอด้วย

สิ่งที่มีอยู่จริงๆ เพียงสิ่งเดียวเท่านั้น คือ จิตหนึ่ง นี้เท่านั้น

ธรรมชาติแท้ของ จิต นั้น ถ้าเข้าใจซึมซาบแล้ว

คำพูดของมนุษย์ ไม่สามารถหว่านล้อม หรือเปิดเผยมันได้

ความตรัสรู้ คือความไม่มีอะไรให้ใครต้องลุถึง

และผู้ซึ่งได้ตรัสรู้แล้ว ก็ไม่พูด ว่าเขารู้อะไร

แม้เราได้ถ่ายทอดให้แล้ว ซึ่งธรรมะแห่ง จิต

ธรรมะก็จะเป็นธรรมะไปได้อย่างไรกัน?

เพราะว่า ไม่ใช่ทั้งธรรมะ ไม่ใช่ทั้ง จิต

ที่สามารถมีอยู่อย่างมีความเป็นตัวเป็นตน

เข้าใจข้อนี้เท่านั้น เธอจึงจะเข้าใจ

ธรรมะซึ่งถ่ายทอดด้วย จิต ถึง จิต

ไม่มีอะไรเลยสักสิ่งเดียวที่มีอยู่

ดังนั้นฝุ่นสกปรกจะจับได้ที่ตรงไหน

ถ้าท่านเข้าใจถึงหัวใจของความจริงเรื่องนี้

ทำไมจะต้องพร่ำถึงความสุขขั้นเลิศด้วยเล่า


จิต ของเธอ คือพุทธะ

พุทธะคือ จิต

จิต กับพุทธะ เป็นสิ่งที่ไม่แยกจากกันได้

เพราะฉะนั้นจึงมีคำจารึกไว้ว่า

“สิ่งซึ่งได้แก่ จิตนั้นแหละคือพุทธะ”

ถ้ามันเป็นสิ่งอื่นนอกไปจาก จิต

มันก็เป็นสิ่งอื่นนอกไปจากพุทธะ โดยแน่นอน

ถ้าพวกเราทราบโดยประจักษ์ว่า

สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงเป็นของอันเดียวกัน

กับโพธิมาเสร็จเรียบร้อยแล้ว

พวกเธอจะหยุดคิดถึงโพธิ

ในฐานะเป็นสิ่งที่ต้องลุถึง

จิต ซึ่งเป็นตัวธรรมชาติแท้ของคนเรานั้น

เป็น ครรภ์ ซึ่งมิได้มีใครทำให้เกิดขึ้น

และเป็นสิ่งทำลายไม่ได้

ในการทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ นั้น

*8q*
01-24-2009, 05:26 PM
มันเปลี่ยนรูปตัวมันเองออกมาเป็นปรากฏการณ์ต่างๆ

ธรรมะแต่ละชนิด

ทุกชนิดเป็นเพียงการสร้างสรรค์ของ จิต

อะไรคือใจสงบ?

ใจที่ได้ฝึกฝนและทราบซึ้งในธรรม คือใจที่สุขสงบ

หากปล่อยใจตามปรารถนา

โดยไม่รู้ธรรมเป็นเครื่องประกอบ

เท่ากับเราหลงมัวเมาอยู่ในความมืดอย่างไม่รู้สึกตัว

แท้จริงใจคนเราดั้งเดิมงดงาม สะอาดบริสุทธิ์

ไม่สกปรกแปดเปื้อน

แต่ต่อมาเกิดกิเลสตัณหาหรือความอยาก

ทำให้จิตใจเปลี่ยนโฉมหน้าไป

กิเลสที่เกิดขึ้นนี้สร้างความกลัดกลุ้ม รำคาญใจ จริงหรือไม่?

เราสามารถพิสูจน์ได้โดยการสำรวมใจตนเองดูแล้วจะเห็นจริง

จิตนั้นรวมตัวได้เมื่อทุกอย่างเงียบสงบ

จึงเห็นชัดในการเกิดและการดับ

ในท่ามกลางความรู้สึกนึกคิด

มันถูกสร้างเพื่อลิขิตชีวิต

ครั้งเห็นธรรมจิตก็สงบ

ไม่เคลื่อนย้ายสับส่ายร้อนรน

ใจกับความว่างไม่แตกต่าง

ที่พูดว่าใจว่าง

เป็นการจำกัดขอบเขตใจว่าเอง

เพราะจริง ๆ แล้วความว่างของใจ

อยู่ตรงกลางสิ่งมีชีวิตที่มีใจ

มองเห็นจิตเดิมแท้ของตน

นี่คือจุดหมายของวิปัสสนาญาณ

ใจกว้างใหญ่เป็นอนัตตาหาขอบเขตไม่ได้

ฟากฟ้าว่าสูงสุดตา แต่ใจสูงยิ่งว่านั้น

พื้นแผ่นดินที่ว่าหนาสุดคณา

แต่ใจสามารถเจาะผ่านได้อย่างสบาย

เราไม่สามารถไล่ตามแสงของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ได้ทัน

มีแต่ใจเท่านั้นที่นอกจากจะไล่ทันแล้ว

ยังสามารถไปรออยู่หน้าแสงได้

ทุกคนล้วนมีจิตแห่งพุทธะ

เมื่ออยู่ในศีลในธรรม

ย่อมปราศจากความกลัว

ใจที่รู้ย่อมอาจหาญไม่กลัว

สามารถ ละวางได้

และรู้ว่าชีวิตภายใต้ท้องฟ้านี้ไม่อาจฝืนอนิจจังได้

ถ้าหากใจเรามีราคาแพง

ก็ต้องมีใจที่ราคาถูก

ถ้าใจเรามีการทำถูก

ก็ต้องมีใจที่ทำผิด

ถ้าใจคิดว่าสิ่งนั้นดีถูกต้อง

ก็ต้องมีใจคิดว่าสิ่งอื่นทั้งหมดไม่ดีผิด

ถ้าใจเอียงเอนโดยมีความสนิทสนมกับสิ่งนั้น

สิ่งอื่นก็ห่างไกล ไม่เป็นที่ชอบใจ

หากมีใจที่แบ่งแยก

ก็จะเห็นธรรมทั้งหลายแบ่งแยกอยู่ในที่ต่างๆ

เช่น ความโลภ ความโกรธ และการตัดสินใจผิดพลาด

สิ่งที่ถูกต้องเข้าใจว่าไม่ดีไม่ถูกต้อง

นี่คือการมองธรรมที่เกิดขึ้น

หรือไม่พบธรรมที่เกิดขึ้นก็ไม่มีความแตกต่าง

นี่คือการบำเพ็ญธรรม

แท้จริงใจคือธารธรรม

ผู้เข้าใจปฏิบัติ

ย่อมบรรลุธรรมได้อย่างรวดเร็วฉับพลัน



ถ้ารู้ว่าตนเกิดหลงเวลาใด

ต้องพิจารณาให้เห็นธรรมความจริงอันยิ่ง

ใจคนที่ยังมีการแบ่งแยกเป็นอื่น

ย่อมคิดถึงสรรพสิ่ง

แต่ถ้าสำนึกว่าใจแท้คือสงบว่างเปล่า

ใจย่อมไม่คิดถึงสรรพสิ่ง

และใจไม่เกาะเกี่ยวสิ่งใด

สรรพสิ่งใดไม่ใช่สรรพสิ่ง ใจตนและวางอิ่มพอ

และรู้ว่าไม่มีอยู่จริง จึงเข้าถึงความรู้แจ้งปล่อยวาง

ปัญญาอันแท้จริงนั้นถ่ายทอดให้กันไม่ได้

ต้องเกิดขึ้นแก่ตัวเองเจ้าเอง

มันจึงจะอยู่และไม่ลืมไปได้ง่ายๆ

จิตเกิด รูปธรรมทั้งหลายก็เกิด

จิตดับ รูปธรรมทั้งหลายก็ดับ

บาปเกิดขึ้นที่จิต

จะดับก็ต้องดับที่จิต

บาปบุญมาจากจิต

ฉะนั้นจิตคือพุทธะ

สรรพสัตว์ที่มีความรู้สึกนึกคิดแล้ว

ย่อมมีธาตุแห่งความเป็นพุทธะอยู่ในตัวสัตว์เหล่านั้นมาแล้วทุกๆ ตัว

มิได้ยิ่งหย่อนกว่ากันเลย

อาศัย ๔ มหาภูตรูป ใช้ทำกาย

จิตเดิมไม่มีเกิด เหตุสภาวะจึงมี

ปัจจุบันสภาวะถ้าไม่มี จิตก็ไม่มี

บาปและบุญเหมือนมายา เกิดก็ดับ

เห็นกายไม่มีแท้ เป็นพุทธกาย

รู้จิตเหมือนมายา เก็บพุทธมายา

รู้ได้ว่ากายและจิตเดิมนิสัยว่าง

บุคคลนี้กับพุทธะ อะไรแตกต่างกัน

พุทธะไม่เห็นกาย รู้เป็นพุทธะ

ถ้าหากว่ามีรู้ ต่างก็ไม่มีพุทธะ

ปัญญาที่สามารถรู้บาปนิสัยว่าง

ฉะนั้นไม่หวาดกลัวต่อเกิดตาย

จงปล่อยคอยให้เหตุปัจจัยเขาปรุงแต่งพร้อมขึ้นไปเอง

แล้วตอนบัวจะบานผลจะเกิดขึ้นไปเองโดยธรรมชาติ

จงทำหน้าที่หว่านเมล็ดพืชพันธุ์แห่งพุทธะไปเรื่อยๆ

จงอย่าทำหน้าที่คอยยืดหวังเก็บเกี่ยวผลแห่งพุทธะ

จิตใจที่แท้ของมนุษย์นั้น

ปราศจากเสียง ปราศจากกลิ่น

ผู้ซึ่งเมื่อเวลาถูกเรียกชื่อแล้วขานรับนั้น

จะเป็นใครไปไม่ได้นอกจากขโมย

ในคำสอนของเซ็น

คำว่า “ธรรม” หมายถึง “ธรรมชาติที่แท้แห่งตน”

“ธรรมชาติที่แท้แห่งตน”

ไม่สามารถจะเป็นอย่างที่เห็นหรือพบได้ด้วยความคิด

เพราะมันเป็นภาวะว่างเปล่า

ท่านเคยให้โอกาสแก่ตัวเองพิจารณาเรื่อง

“ที่เก็บขยะ” ของท่านบ้างไหม ?

(นิสัยต่าง ๆ ของท่าน ความคิดของท่าน

อคติต่างๆ ของท่าน และความเชื่อที่ท่านยึดถือไว้)

จิตใจที่ถูกครอบงำไว้แล้วด้วยการสั่งสมความคิดต่างๆ

ย่อมจะถามคำถามด้วยจิตใจที่ถูกกำหนด

และถูกครอบงำไว้แล้วเท่านั้น

คำตอบก็แสดงถึงการถูกครอบงำความคิดของผู้ตอบ

คำตอบของผู้ตอบจะแสดงออก

ปัญญาที่แท้นั้น

ความคิดเชิงตรรกถึงทางตันแล้ว

บางทีอาจจะเป็นโอกาสของปัญญาญาณได้ปรากฏขึ้น

*8q*
01-24-2009, 05:27 PM
ธรรมชาติได้ประทานพลังชีวิตและความสามารถ

ที่จะตอบโต้กับสภาวะต่างๆ

ด้วยสมรรถนะอันสมบูรณ์แก่เราอยู่แล้ว

เพียงแต่ตระหนักในข้อนี้ก็จะค้นพบเพชรล้ำค่าในกายตน

นี่เป็นก้าวแรกสู่การปฏิบัติตัวเอง

มีเพียงผู้ที่ควบคุมร่างกานได้เท่านั้น

จึงจะดึงสติปัญญาความสามารถอันดีเด่นออกมาใช้ได้

ในใจของคนทุกคนต่างก็มีพระอยู่

วิธีการปลุกเร้ากายใจในสดชื่นนั้น

คือ ถึงเวลาอ่อนเพลียก็นอน

ถึงเวลาหิวก็กินข้าว

เป็นท่วงทำนองธรรมชาติ

ที่ตัวตนจะดำรงอยู่ ณ ที่นี้อย่างแท้จริงอยู่เสมอ

บนตัวของคนเรา มีคนจริง (พุทธะ)

ที่ไร้ตำแหน่ง (มีพลังอันเต็มเปี่ยม๗ อยู่ท่านหนึ่ง

ความคิดของฉันตลอดมา

จิต พระพุทธะ และสรรพสัตว์ทั้งหลาย

ไม่แตกต่างกันเลย

ตลอดคืน

ฉันถูกรบกวนด้วยความคิดเรื่องนิพพานและสังสาระ

(ช่างเป็นผู้ฝันที่เหน็ดเหนื่อยเสียนี่กระไร ! )

เห็นได้ชัดว่าฉันมีพระพุทธอยู่

เหนือภูเขาหิมะ (หิมาลัย)

ดวงดารายังคงฉายส่อง

สุกใสเมื่อพระพุทธะได้เห็นเรื่องนานมาแล้ว

(แต่ อนิจจา ! พวกเราบางคนไม่เห็น)

จงมองให้ลึกในธรรมชาติแห่งตน

ธรรมชาติแห่งพุทธะของสุนัขนั้น

เป็นประกาศิตจากเบื้องบน

มีอยู่แน่แท้

แต่หากมัววุ่นวายอยู่

ด้วยความคิดว่ามีหรือไม่มี

ชีวิตก็จะสูญเปล่าได้เสีย

ความคิดเกี่ยวกับเรื่องธรรมชาติแท้

อาจกลายเป็นอุปสรรคของผู้ฝึกฝนเซ็น

ที่เป็นจุดมุ่งหมายอันสูงสุดของเซ็น

จิตของปุถุชน

เมื่อได้มาก็ดีใจ

ไม่ได้ก็เสียใจ

พรพุทธเจ้าแท้จริง

อยู่ที่ใจที่หมดสงสัยลังเลต่อชีวิตแล้ว

พระพุทธรูปภายนอกนั้นพาให้ลังเล

ถ้าพบ “พระ” ในใจแล้ว

“พระ” นั้นคุ้มครองในทุกแห่งหน

จิตเดิมนั้นประภัสสรอยู่ปรกติเป็นกลางๆ

มิได้คด มิได้มีกิเลส

“กิเลสต่างหากคิด” และคนเข้าใจผิด “จิตคด”

เหมือนน้ำซึ่งไม่คด

แต่แม่น้ำหรือคลองต่างหากคด

ข้อนี้หมายถึงต้องกำจัดกิเลสที่จู่เข้ามาเป็นครั้งคราว

ไม่ใช่ไปทรมานจิตเดิมแท้ที่ประภัสสรอยู่เองแล้ว

เพราะเหตุที่วิธีการแสดงออซึ่งปรีชาญาณแห่งปรัชญา

มิได้นานาแบบอย่างไม่จำกัด

ดังนั้นคำตอบที่ตอบให้แก่ปัญหาที่อาจารย์ตั้งขึ้

จึงมิได้หลายแบบอย่างไม่จำกัดด้วย

ไม่เป็นแบบแผนที่ตายตัวหรือจำเจ

เซ็นมีปรัชญาอยู่ในเนื้อหาของมันมากมายยิ่งนัก

แต่ไม่ใช่ปรัชญาในความหมายธรรมดาสามัญทั่วๆไป


สรรพสัตว์เป็นพุทธะอยู่แต่เดิมแล้ว

มันเหมือนน้ำแข็งกับน้ำ

คือปราศจากน้ำที่จะไม่มีน้ำแข็ง

โลกนี้เป็นแดนดอกบัว

และกายนี้เป็นพุทธะ

ว่างเปล่าจากความคิด ฉันนั่งอยู่อย่างเงียบๆ

ที่โต๊ะเขียนหนังสือ ให้ห้องทำงานของฉัน

ด้วยจิตที่ดุจน้ำพุ อันไม่ถูกรบกวน

และสดใสเหมือนน้ำ

เสียงฟ้าร้องเปรี้ยงเกิดขึ้นทันใด โดยมิได้คาดหมาย

ประตูแห่งจิตก็ระเบิดเปิดออก

และดูซิ ! นั่งอยู่นั่น คือ ท่านผู้เฒ่า

ผู้อยู่ในความเรียบๆ ง่ายๆ

ฉันมีพลอยอยู่เม็ดหนึ่ง ส่งประกายสดใส

มันถูกฝังไว้นานแล้วภายใต้ความกังวลอย่างโลกๆ

เช้าวันนี้ ม่านฝุ่นที่คุลมอยู่ได้หลุดออกไป

และความแวววาวของมันก็ได้กลับคืนมาอีก

ส่องภูเขาสีน้ำเงินให้สว่างไสวอยู่ในความเคลื่อนไหว

ดุจลูกคลื่นอันไม่มีสิ้นสุด

ก็ในเรื่องสมองของท่าน

เต็มไปด้วยความคิดและทฤษฎีออกอย่างนั้น

ข้าพเจ้าจะอธิบายเรื่องเซ็นให้เข้าใจได้อย่างไร

ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี

ในจิตที่ถูกกลบอยู่ภายใต้โมหะนั้น

ก็ไม่ผิดอะไรกับเพชรที่จมอยู่ใต้ตม

เมื่อใดตมถูกเปิดออก

ความแพรวพราวของเพชรนั้นจะปรากฏออกมาทันที

ฉะนั้นจงช่วยกันลอกตาม คือ โมหะ ของตนเองออกเสียเถิด

หากไม่ดูจิตก็จะไม่เห็นจิต

จะไม่รู้จักตัวเอง

ดูกายเท่าไรก็จะไม่มีทางเห็นตัวเอง

ไม่มีทางรู้จักตัวเองแน่นอน

ปัญญาในทางพระพุทธศาสนานั้นที่รู้อริยสัจสี่

เป็นสำคัญรู้อะไรมากมายแต่ไม่รู้อริยสัจสี่ก็เท่ากับเหลว

เท่ากับไม่รู้อะไรเลยในทางศาสนา

สรรพสัตว์คือองค์พุทธะแต่ปฐม

เปรียบประดุจน้ำและน้ำแข็ง

จะมีน้ำแข็งโดยปราศจากน้ำหาได้ไม่

จะมีองค์พุทธะโดยปราศจากสัตว์โลกหาได้ไม่.

หากเธอหันมาเพ่งมองภายใน

เพื่อสัมผัสถึงสัจจะธรรมชาติแห่งตน

ธรรมชาติแห่งตนซึ่งปราศจากธรรมชาติ

เธอย่อมไปพับขอบเขตอันจำกัดของความรอบรู้ทั้งหลาย

ท่านเปรียบเทียบว่า ปัญญา หรือการรู้แจ้ง

นั่นก็เหมือนกับหน่อไม้

คือเมื่อผุดขึ้นมาพ้นดินได้แล้ว

ก็มีแต่จะเติบโตพุ่งพรวด

สูงขึ้นไปเป็นลำไผ่สถานเดียว

ชาล้นถ้วยยังพอมีน้ำชาอยู่บ้าง

แต่ไอ้ถ้วยไม่รับชานี่น่าสงสาร

พุทธะ คือจิตของท่าน

และ “ทรง” ก็ไม่ได้พาไปไหน

อย่าค้นหาสิ่งใดนอกเหนือจากนี้

ถ้าท่านมุ่งหน้าไปเหนือ เมื่อต้องการจะไปใต้

ท่านจะไปถึงจุดหมายได้อย่างไร?

ธรรมก็เช่นเดียวกับสิ่งไม่ใช่ธรรม

ไม่ใช่ดำรงอยู่ หรือไม่ดำรงอยู่

ใครที่เข้าใจความข้อนี้อย่างถ่องแท้

ย่อมประจักษ์วาทุกสรรพสัตว์คือพุทธ

แม้ว่าวัตถุอันประณีต

จะนำความสุขสำราญมาให้ แต่

โดยไม่มีสิ่งที่ผิดและการลวงหลอก

ฉันปรารถนาจะอยู่กับความยากจนมากกว่า

พร้อมด้วยหัวใจที่แกว่งไกวในศานติ

http://board.agalico.com/showthread.php?t=26327

ขอบคุนเพื่อนอกาลิโกครับ