PDA

แสดงเวอร์ชันเต็ม : อุบัติธรรม ๓”



*8q*
02-01-2009, 10:27 AM
http://images.google.co.th/url?source=imgres&ct=img&q=http://www.dhammajak.net/gallery/albums/userpics/normal_%25BE%25D8%25B7%25B8%25C8%25D4%25C5%25BB%25EC%2520%25F3.jpg&usg=AFQjCNEwGD2VPtEYKJMTQ2SwrYMdOjRL_A
“อุบัติธรรม ๓”
การเกิดขึ้นของธรรมต่างๆ ๓ ประเภท
“อุบัติธรรม” หรือ สิ่งที่ปรากฏให้รับรู้ได้ ทั้งสามแบบ ได้แก่ สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นธรรมชาติที่เที่ยงแท้ถาวร (วิมุติธรรม), สิ่งที่เรารับรู้ความจริงแท้ชั่วคราว เมื่อถึงเวลาก็เปลี่ยนไป (สมมุติธรรม) และสิ่งที่เราเข้าใจผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง เพราะจิตเราหลงไปเอง (อธรรม) สิ่งเหล่านี้ จะเรียกว่าไม่มีจริงก็ไม่ใช่ เพราะแม้แต่ความหลงผิดก็มีปรากฏให้เห็นจริงว่าหลงผิด ดังนั้น ความหลงผิด ก็เป็นอุบัติธรรมที่ปรากฏขึ้นเช่นกัน เพียงแต่ไม่ใช่ธรรมชาติที่เที่ยงแท้ถาวร ด้วยเหตุนี้ “อุบัติธรรม” จึงคลอบคลุมสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นหรืออุบัติขึ้น จำแนกออกเป็นสามประเภทดังกล่าว การเข้าใจในอุบัติธรรม จึงสามารถแยกแยะสิ่งที่รับรู้ได้ว่าสิ่งใดเป็นสิ่งจริงแท้ หรือวิมุติธรรม (สัจธรรม) ดังจะอธิบายดังนี้

๑) วิมุติธรรม (ความจริงเที่ยงแท้)
คือ สัจธรรม ซึ่งเกิดขึ้นอย่างนั้นเอง เป็นอย่างนั้นเอง ไม่เป็นไปอย่างที่เราเข้าใจผิดๆ เป็นแบบของมันเองที่มันเป็น ไม่ใช่แบบที่มนุษย์หลงนึกคิดเอาว่าใช่ เรียกว่า “ตถตา” ซึ่งจะมีลักษณะตามไตรลักษณ์เชิงละเอียดที่การรับรู้ปกติของมนุษย์ไม่สามารถ รับรู้ได้ คือ ลักษณะของความแปรปรวน, ไม่สม่ำเสมอ, ไม่คงที่, ไม่เกิดใหม่, ไม่ดับหายไป เป็นธรรมเดิมที่ไม่เกิดใหม่ไม่สูญสลายแต่แปรรูปแบบไป (อนิจจัง) มีการกระทบกระทั่ง, การส่งถึงกัน, มีการแลกเปลี่ยนระหว่างสิ่งที่พิจารณาสองสิ่ง, กระแทกบีบเค้นกันเสมอทั่วทั้งสิ้น (ทุกขัง) มีความไม่สามารถกักตุนแยกตัวเป็นตัวตนของตนได้เด็ดขาดออกจากกัน สรรพสิ่งจึงเป็นหนึ่งเดียว เชื่อมโยงถึงกันแต่ไม่แนบสนิท มีบางส่วนถูกคั่นไว้ด้วยความต่าง ทำให้รู้สึกเหมือนแยกเป็นตัวๆ ได้ (อนัตตา) ลักษณะทั้งสามประการนี้เป็นลักษณะของวิมุติธรรม เป็นความจริงตลอดกาลที่เรียกว่า absolutely truth หรือ “ความจริงสัมบูรณ์” ไม่เว้นแม้แต่ดวงจิตที่ถึงแก่นิพพานแล้ว ดวงจิตเหล่านั้นยังต้องมีคำว่า “ทุกขัง” ที่ไม่ใช่ “ทุกขเวทนา” (ทุกข์ทางกาย) หรือ “โทมนัสเวทนา” (ทุกข์ทางใจ) แต่เป็นภาวะส่งถึงกัน แลกเปลี่ยนกัน เช่น การที่ดวงจิตอรหันต์แผ่เมตตามาถึงดวงจิตบนโลก ก็ยังคงมีการกระทบของพลังเมตตาลงไปยังจิตที่อยู่บนโลก จึงยังมีภาวะ “ทุกขัง” ในไตรลักษณ์ปรากฏ แต่ไม่ใช่ทุกข์ทรมาน สรรพสิ่งล้วนมีปัจจัยปรุงประกอบ, ถูกปรุงแต่งขึ้นเรียกว่า “สังขารธรรม” ส่วนลักษณะบางประการที่ไม่อาจอธิบายได้หมด จึงแบ่งพิจารณาลักษณะออกมาเป็นส่วนๆ ซึ่งมีความบริสุทธิ์แน่นอน เรียกว่า “อสังขารธรรม” ซึ่งสังขารธรรมนั้นเป็นธรรมภาพรวม ดูสับสนจับหลักไม่ได้ ส่วนอสังขารธรรมเป็นธรรมที่พิจารณาทีละด้านทีละส่วน มีหลักการที่ง่ายและชัดเจน บริสุทธิ์ ไม่ถูกปรุงแต่ง แต่ความจริงมีไม่ครบทุกส่วนทุกด้าน จำต้องกล่าวให้ครบทุกส่วนทุกด้าน ดังนั้นขอแบ่งพิจารณาเป็น

มหาธรรม (ความจริงเที่ยงแท้ภาพรวม)
เป็น การพิจารณาวิมุติธรรมภาพรวมทั้งหมดพร้อมกัน อันนำไปสู่การบรรลุธรรม เป็นการเข้าใจสัจธรรมที่แท้จริง ไม่มีธรรมะ ไม่มีอธรรม มารเป็นธรรม เทพก็เป็นธรรม แต่ “มหาธรรม” ไม่ใช่ทั้งมารและเทพ ดังนั้นการอ้างอิงมหาธรรมไม่ช่วยในการตัดสินใจในระยะสั้น ไม่ช่วยในการดำเนินชีวิต แต่ช่วยให้เข้าใจถึงที่สุดของสรรพสิ่งได้ในฉับพลันทันที “มหาธรรม” นี้ เป็นธรรมแท้, เป็นธรรมะ, เป็นธรรมชาติ, เป็นสรรพสิ่ง ครอบคลุมทุกธรรมย่อยไปทั้งหมด แล้วแต่ว่าจะมีผู้พิจารณาส่วนหนึ่งส่วนใด แล้วเห็นส่วนหนึ่งส่วนใด จึงนำไปแสดงเป็นธรรมย่อยอีกที ดังนั้น “มหาธรรม” จึงเป็นธรรมที่เกิดก่อนมานานแล้วและคงอยู่ตลอดไปไม่เสื่อมสลายไปไหน ก่อให้เกิดสรรพสิ่ง สร้างสรรพสิ่ง รักษาสรรพสิ่ง ทำลายสรรพสิ่ง และมีอยู่ในทุกสิ่ง และเป็นทุกสิ่ง ในทางคริสต์ เรียกว่า “พระเจ้า” เพื่อให้เกิดความเชื่อถือศรัทธา และสวมรอยพระคัมภีร์เก่าของชาว “ยิว” ที่เคยเขียนไว้เกี่ยวกับพระเจ้านั่นเอง ในทางพุทธเรียกว่า “ไกวัลยธรรม” ซึ่งมีลักษณะเป็นเช่นนั้นเอง ไม่เป็นอย่างอื่น ไม่ใช่อย่างที่มนุษย์นึกคิดเอาไปผิดๆ จึงมีลักษณะ “ตถตา” ใน ทางเต๋า เรียกว่า “เต๋า” ซึ่งเป็นแค่คำยืมแทนแต่ไม่สามารถอธิบายความหมายเต๋าได้ ในทางฮินดูเรียกว่า “ปรมาตมัน” ซึ่งไม่อาจอธิบายได้โดยมนุษย์แต่จะต้องสื่อจิตถึงเอง

อนุตรธรรม (ความจริงเที่ยงแท้ภาพย่อย)
เป็น การพิจารณาวิมุติธรรมส่วนย่อย แยกออกมาตามแง่มุมต่างๆ ตามนัยยะต่างๆ เพื่อให้ง่ายขึ้นต่อความเข้าใจของมนุษย์ ซึ่งมีขีดจำกัดในการรับรู้ถึงมหาธรรมได้ยาก ทำให้มนุษย์ที่ปัญญาไม่สูงมาก ยังสามารถสัมผัส หรือเข้าใจมหาธรรมได้ด้วยการพิจารณาอนุตรธรรมแทน ทั้งยังสามารถประยุกต์ไปใช้ในการตัดสินใจระยะสั้นในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย เช่น สังคหวัตถุสี่ ที่ช่วยให้สังคมอยู่กันอย่างสันติสุข ลักษณะของอนุตรธรรมมีหลายลักษณะ เช่น พระธรรมในคัมภีร์ต่างๆ เช่น คัมภีร์อัลกุรอาล, คัมภีร์ไตรปิฎก, คัมภีร์ไบเบิล ฯลฯ นอกจากนี้ พระธรรมและคัมภีร์เหล่านี้ช่วยให้มนุษย์เข้าถึงธรรมระดับสูงได้อีกด้วย กล่าวคือ การได้เข้าถึง “มหาธรรม” ได้ในคำเรียกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น “พระเจ้า”, “อัลลอฮ์”, “ไกวัลยธรรม”, “นิพพาน”, “เต๋า”, “ปรมาตมัน” โดย “อนุตรธรรม” เหล่านี้ ซึ่งได้มาจากวิธีต่างๆ เช่น การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าองค์ต่างๆ, พระปัจเจกพุทธเจ้า เช่น ท่านเหล่าจื้อ, พระสมณโคดม ฯลฯ หรือการสื่อทางจิตต่อจิตวิญญาณที่ศักดิ์สิทธิ์ เช่น การได้มาของพระคัมภีร์อัลกุรอาล ของพระนบีมูฮัมหมัด ซึ่งทรงได้รับจากพระเจ้าผ่านทางเทวทูต ทั้งนี้ธรรมย่อยเหล่านี้ จะมีปรากฏเสมอเพื่อช่วยมนุษย์โลกโดยสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ เพื่อเป็นขุมความรู้ให้มนุษย์ศึกษาปฏิบัติจิตจนสามารถเข้าถึง “มหาธรรม” ได้เอง

๒) สมมุติธรรม (ความจริงชั่วคราว)
คือ สิ่งที่มนุษย์รับรู้สัมผัสได้ตามความสามารถของประสาทรับรู้ที่จำกัด ทำให้รู้ไม่แจ้งแทงไม่ตลอด ไม่รู้ทั่วถึงไปทุกสรรพสิ่ง ทำให้สิ่งที่มนุษย์ทั่วไปรู้จึงมีขีดจำกัด คือ เป็นจริงอย่างนั้นชั่วคราว เช่น ต้นไม้ ที่มนุษย์เรียกกัน เมื่อถึงวันหนึ่ง ก็อาจไม่ใช่ต้นไม้อีก กลายเป็น “ปุ๋ย” ไปแทน แต่เพราะอาศัยการสมมุติธรรม มนุษย์จึงสื่อสารและทำกิจการต่างๆ ร่วมกันได้ในแต่ละขณะหนึ่งๆ และเมื่อภาวะชั่วคราวนั้นสิ้นลง ก็ยังความวุ่นวาย, ความขัดแย้ง, ความทุกข์ ฯลฯ มาสู่มวลมนุษย์ สมมุติธรรมนี้มีลักษณะตามไตรลักษณ์แบบหยาบ ตามขีดจำกัดความสามารถในการรับรู้ที่หยาบอยู่ได้แก่ ความเกิดขึ้น, ตั้งอยู่ แล้วดับไป (อนิจจัง) ความบีบเค้นทนไม่ได้และเป็นทุกข์ทรมาน (ทุกขัง) และความไม่มีตัวตนของตนเองอย่างแท้จริง (อนัตตา) ความจริงชั่วคราว หรือสมมุติธรรมนี้ มีไว้เพื่อการดำรงชีพอยู่ของมนุษย์ในสังคม เพื่อให้เกิดความเข้าใจกัน และสามารถตัดสินใจได้ในระยะสั้น ซึ่งไม่ต้องรอการพิสูจน์หรือการสื่อจิตหรือการค้นคว้าด้วยตนเองแบบวิมุติ ธรรม สามารถจดจำ, ทำความเข้าใจ หรือนำไปใช้ในการดำรงชีวิตได้ทันที ประกอบด้วย

๒.๑) บัญญัติธรรม (สื่อสัญลักษณ์ในสังคม)
“บัญญัติธรรม” เป็นธรรมที่มีอยู่แล้ว รอให้สังคมมนุษย์หยิบไปใช้ ซึ่งอาจมีอยู่แล้วด้วยการเกิดเอง อันเนื่องมาจากการรับรู้เศษเสี้ยวหนึ่งของ “วิมุติธรรม” แต่ไม่สามารถเข้าใจได้ เช่น เห็นวิมุติธรรม แต่ไม่รู้แจ้งในวิมุติธรรม จึงเกิดเป็น “บัญญัติธรรม” ขึ้น ตามความคิดเห็นของแต่ละบุคคลนั้นๆ เรียกว่า “บัญญัติธรรม” รอให้มนุษย์ไปเห็นแล้วบัญญัติขึ้น ซึ่งยังไม่ใช่ “วิมุติธรรม” เพราะขาดความรู้แจ้งในสิ่งที่เห็น แต่เพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถดำรงชีพได้อย่างสันติสุขในระยะสั้นๆ จึงจำเป็นต้องมี “บัญญัติธรรม” เพราะวิมุติธรรมนั้น ต้องใช้เวลาในการปฏิบัติทางจิต จึงจะรู้แจ้ง หรือเข้าถึงได้ อันได้แก่

๒.๑.๑) สัทบัญญัติ (ที่มนุษย์สร้างขึ้น)
ได้แก่ คำศัพท์, นิยาม, ทฤษฎี, สูตร, แนวคิด, ปรัชญาต่างๆ ฯลฯ อันเป็นความจริงชั่วคราวที่รอการพิสูจน์ หรือใช้ได้ในยุคใดยุคหนึ่ง เป็นเหมือนอุปกรณ์ให้สังคมมนุษย์ได้หยิบไปใช้ตามแต่ความประสงค์ เพื่อก่อให้เกิดความสันติสุข ซึ่ง สัทบัญญัตินี้มีความหมายที่แน่นอนตายตัวที่ชัดเจน ไม่ใช่ “วิมุติธรรม” ที่ถูกต้องแค่เพียงชั่วคราวในระยะที่นำมาใช้เท่านั้น ไม่ใช่ถูกต้องเป็นสัจธรรมไปตลอด จึงทำให้บางสถานการณ์เกิดความสับสนว่าถูกหรือผิด เช่น จะยึดหลักอะไรดี เช่น บิดาฆ่าคน ลูกเป็นผู้พิพากษา จะยึดหลักกตัญญูหรือยุติธรรมดี

๒.๑.๒) อัตถบัญญัติ (บัญญัติที่เกิดขึ้นเอง)
ได้แก่ สิ่งที่มนุษย์รับรู้สัมผัสได้เองจากธรรม เรียกว่า “เห็น” หรือ “สัมผัส” หรือ “รับรู้” แต่ยังไม่จำเป็นต้องเข้าใจ หรือรู้แจ้งในสิ่งนั้นๆ ก็ได้ เช่น ชิมมะนาวแล้วรู้รสอย่างหนึ่ง สิ่งนั้นคือ “อัตถบัญญัติ” จากนั้น ก็ใช้คำว่า “เปรี้ยว” ซึ่งเป็น “สัทบัญญัติ” มาเรียกอีกที ดังนั้น คำว่าเปรี้ยว กับความรู้สึกรับรู้ได้ว่าเปรี้ยวนั้นเป็นคนละส่วนกัน อาจสอดคล้องกันในบางครั้ง และขัดแย้งกันได้ในบางครั้ง แม้ในคนเดียวกันและต่างคน เช่น บางคนบ่นว่าเปรี้ยวไป บ้างบ่นว่าไม่ค่อยเปรี้ยว ดังนั้น “อัตถบัญญัติ” จึงยังไม่สามารถเป็นสัจธรรมความจริงแท้ถาวรได้

๒.๒) วัฒนธรรม (อิทธิพลโน้มน้าวทิศทางสังคม)
“วัฒนธรรม” เป็นสิ่งที่ถูกกระทำหรือเป็นผลจากการกระทำเพื่อขับเคลื่อนสังคมมนุษย์ ไปสู่ความสันติสุข อันอาจเกิดจากการนำ “บัญญัติธรรม” มาใช้ในการขับเคลื่อน หรือเปลี่ยนแปลงสังคม ไปในทางที่ดีขึ้น แต่ในบางครั้ง “บัญญัติธรรม” นั้น ไม่ใช่ “วิมุติธรรม” จึงมีความผิดพลาด ใช้ได้เพียงชั่วคราว ทำให้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงบัญญัติธรรมใหม่บ้าง หรือมีการเลือกบัญญัติธรรมอื่นๆ มาใช้แทนบ้าง สลับเปลี่ยนแปลงกันไป หรือบางครั้งปล่อยปละละเลยขาดการดูแล ทำให้เกิด “บัญญัติธรรม” ที่ผิดพลาดไปจากสิ่งที่ควร เช่น ค่านิยมฟุ้งเฟ้อ, อวดรวยแข่งกัน, การกล้าแสดงออกแต่สิ่งไม่เหมาะสม ฯลฯ มีคำศัพท์ใหม่ๆ ของวัยรุ่นถูก “บัญญัติ” ขึ้นมา เช่น “กิ๊ก” เหล่านี้ จะค่อยๆ ถูกสังคมกำจัดให้หมดไป หรือเสื่อมความนิยมในที่สุด จัดเป็น “อธรรม” ไม่ใช่ “วัฒนธรรม” ซึ่งบางครั้งบางยุคบางสมัย บางสถานที่ มี “อธรรม” ปรากฏขึ้นมาก เพราะผู้ปกครองบ้านเมืองปล่อยปละละเลยไม่ดูแลก็มี จะขออธิบายเฉพาะส่วน “วัฒนธรรม” ต่างๆ เป็นเบื้องต้น ดังนี้

๒.๒.๑) ค่านิยม (ความนิยมว่าดี)
คือ ความนิยมของคนส่วนใหญ่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่คิดว่าดี แต่ยังไม่แน่ว่าจะดีต่อสังคม ต้องรอการพิสูจน์ของสังคมว่าดี หากดีจะเลื่อนขั้นเป็น “วัฒนธรรม” เต็มตัว เป็นจุดเริ่มในการก่อกำเนิดของวัฒนธรรมใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปตลอด หากไม่ดี หรือสังคมไม่ยอมรับ ก็จะเสื่อมสลายหรืออาจถูกกำจัดไป ค่านิยมจึงเป็นความนิยมของคนจำนวนหนึ่งแต่ไม่ใช่ทั้งหมดของสังคม ซึ่งยังไม่รู้ว่าดีหรือไม่ต่อสังคมนัก ต้องรอการตรวจสอบของสังคมต่อไป

๒.๒.๒) ศีลธรรม (ข้อห้ามที่ดี)
คือ กฎระเบียบและข้อบังคับหรือข้อห้ามไม่ให้ปฏิบัติ โดยเชื่อว่าจะส่งผลดีต่อสังคมและต่อตนเอง อันอาจพัฒนามาจากค่านิยม หรือหลักธรรมในพระศาสนาต่างๆ เช่น การนำศีลมาปฏิบัติกัน การปฏิบัติในขั้นนี้ จะเป็นการปฏิบัติโดยไม่ใช้ปัญญา จะกระทำตามด้วยความเชื่อ, การจดจำหรือการเกรงกลัวจึงได้กระทำ จัดเป็นการกระทำด้วยความไม่รู้จริง จึงเป็นความจริงชั่วคราวให้ได้ยึดถือไว้เป็นเบื้องต้น ก่อนที่จะค้นพบสัจธรรมหรือความจริงแท้ถาวรในอนาคต

๒.๒.๓) จริยธรรม (แยกแยะดีชั่ว)
คือ หลักการแยกแยะความถูกผิด, ดีชั่ว ให้เห็นความแตกต่างชัดเจน ว่าสิ่งใดเป็นสิ่งที่ดี และสิ่งตรงข้ามเป็นสิ่งที่เลว ดังนั้น จริยธรรม จึงคล้ายกับเป็นการรวม “ศีลและค่านิยม” เข้ามาเสริมความเข้าใจของคนมากยิ่งขึ้น เช่น ความกตัญญูเป็นสิ่งที่ดี แต่ความอกตัญญูเป็นสิ่งที่เลว ลักษณะของจริยธรรม จึงยังมีความถูกผิดดีชั่วให้พิจารณาแยกแยะออกเป็นสองขั้วให้ตัดสินใจได้ ชัดเจน แต่เนื่องจากความถูกผิดดีชั่วเป็นธรรมไม่ถาวร บางครั้งก็ถูกชั่วคราว บางครั้งกลับผิดก็มี ดังนั้น จริยธรรมจึงกลายเป็นธรรมะที่ถูกต้องชั่วคราวไปด้วย ยังไม่ใช่สัจธรรม

๒.๒.๔) คุณธรรม (ดีแต่ส่วนเดียว)
คือ ธรรมะในส่วนที่เป็นคุณประโยชน์เกื้อกูลสังคมในปัจจุบันแต่ส่วนเดียว ไม่มีส่วนที่เป็นโทษ ดังนั้น คุณธรรมจึงเป็นเสมือนสีขาวบริสุทธิ์ด้านเดียว ไม่แสดงส่วนสีดำให้เห็น พัฒนาจาก “ค่านิยม” ซึ่งเกิดจากความนิยมของคนส่วนใหญ่ หากค่านิยมใดมีประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม ก็จะพัฒนาขึ้นมาเป็นคุณธรรม ซึ่งจะมีความลึกซึ้งมากกว่าจริยธรรม เข้าใจยากและปฏิบัติได้ยากกว่า เช่น ความเสียสละ จัดเป็นคุณธรรมที่ให้ประโยชน์แต่ส่วนเดียว แต่ปฏิบัติได้ยาก และอาจไม่สามารถปฏิบัติได้ทุกวัน จุดนี้จึงต่างจากศีลหรือจริยธรรม นอกจากนี้ คุณธรรม ยังไม่แสงเหตุผลและความเป็นจริงของสรรพสิ่ง จะเลือกเฉพาะด้านดีมาเท่านั้น จึงจัดเป็นความจริงชั่วคราว ยังไม่ใช่สัจธรรม ยังไม่ใช่ความจริงแท้ถาวร

๓) อธรรม (ความไม่จริงแท้)
คือ สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วไม่สอดคล้องกับความไม่จริง เป็นผลมาจากความหลงผิด, การหลอกลวงตัวเอง, หลอกลวงผู้อื่น ต่างๆ อันได้แก่ อวิชชา, กิเลส, ตัณหา, อุปทาน, อกุศลกรรม ทั้งหลาย เช่น การหลงคิดว่ามีภาวะแห่งตัวตนของตนที่แท้จริง จากการค้นหาอาตมันแล้วค้นพบกายทิพย์ในกายตน ก็คิดว่านั่นคือตัวตนของตนที่แท้จริง คิดว่าเป็น “อาตมัน” แต่แท้แล้วไม่ใช่เช่นนั้น เพราะแม้แต่กายทิพย์หรือวิญญาณก็จำต้องมีวันสลายเปลี่ยนแปลงไป แล้วเกิดใหม่ไปเรื่อยๆ ดังนั้น สิ่งที่เห็นด้วยตาทิพย์ว่าเป็นอาตมัน และหลงคิดว่าเป็นตัวตนของตนที่แท้จริงนั้น จึงผิดไป ไม่ใช่อาตมัน แต่เป็น “อัตตา” ต่างหาก สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ธรรม ไม่สอดคล้องกับธรรม เป็น “อธรรม” ซึ่งปรากฏแล้วแต่ไม่ใช่สิ่งที่เที่ยงแท้ถาวร และไม่ใช่ธรรมชาติตามจริง อธรรมนั้นมีมากมาย ส่งผลให้เกิดสิ่งต่างๆ มากมาย เช่น ไอพ๊อด, โมไบล์, หุ่นยนต์เลียนแบบสุนัข (ทุ่มการวิจัยอย่างหนักแต่กลับได้สิ่งที่ย่ำแย่กว่าสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ ) วัตถุนิยมต่างๆ สิ่งเหล่านี้ เป็นเพียงผลจากการสร้างขึ้นด้วยความไม่เข้าใจหลักความสุขที่แท้จริง จึงต้องสร้างสินค้ามากมายสนองกิเลส บำรุงบำเรอลูกค้าไม่จบไม่สิ้น เพราะความไม่รู้ความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า นั่นเอง ดังนั้น สงครามนวัตกรรม, สงครามโฆษณา, สงครามโปรโมชั่น ฯลฯ จึงเกิดขึ้นเพราะความโง่เขลาของนักการตลาด อันนำไปสู่ภาวะราคาตกต่ำ และต้องขายราคาถูกลงและขาดทุนในที่สุด เพราะการขาดความเข้าใจความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า การขาดความเข้าใจในภาวะสมดุลทางสายกลางของจำนวนการผลิต ทำให้เมื่อเร่งผลิตสินค้าใหม่ๆ มากเกินไป ก็ไม่ทันขายให้เกิดกำไร ถูกแย่งชิงด้วยสินค้าคู่แข่งตัวใหม่อยู่เสมอ นี่คือ ตัวอย่างเบื้องต้นของ “อธรรม” ในชีวิตการทำงานของคนในปัจจุบัน

*8q*
02-01-2009, 10:28 AM
ความสัมพันธ์ของอุบัติธรรม ๓


สรรพสิ่งล้วนเกิดขึ้นมีอยู่เช่นนั้นเองมานานแล้ว เป็น “วิมุติธรรมใหญ่” คลอบคลุมทุกสรรพสิ่ง วิมุติธรรมใหญ่นี้เองคือผู้ให้กำเนิด “อนุตรธรรม” หรือ “ธรรมย่อย” เป็นแหล่ง ที่มาของธรรมย่อยๆ หมวดต่างๆ ตามแต่มนุษย์จะพิจารณา เช่น มองเฉพาะมุมบางมุม บางด้าน ให้ถึงแก่นแท้ที่สุดแห่งธรรมนั้น “ธรรมย่อยเป็นเครื่องนำไปสู่ธรรมใหญ่” เป็นสิ่งที่พระอรหันต์สามารถเข้าถึงและหลุดพ้นได้ ส่วนธรรมใหญ่นั้นมีเฉพาะพระพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้าเท่านั้นที่จะเข้า ถึงได้ ซึ่งจะต้องเข้าถึงด้วย “สัพพัญญูญาณ” ไม่สามารถเข้าถึงด้วยปัญญาญาณของ “สาวกญาณ” และธรรมใหญ่นี้เอง เป็นแหล่งกำเนิดของ “สมมุติธรรม” เพราะด้วยความไม่เข้าใจถึงที่สุดแห่งธรรม “สมมุติธรรมจึงเกิดขึ้น” ถูกสร้างขึ้น เป็นคำเรียกต่างๆ เพื่อใช้ในระยะสั้นๆ อันเหมาะสมกับการดำรงชีพ ซึ่งหากมนุษย์หลงยึดติดว่า “สมมุติธรรม” นี้มีความเป็นธรรมเที่ยงแท้ถาวรยาวนานแล้ว ก็จะให้กำเนิด “อธรรม” คือ ความเข้าใจผิดในธรรม สร้างธรรมใหม่ที่ตรงข้ามกับธรรมใหญ่ขึ้นมา เช่น พยายามสร้าง “ยาอำมตะ” เพื่อไม่ต้องตายเป็นต้น อย่างไรก็ตาม เพราะ “อธรรม” นี้เอง จึงก่อให้เกิด “ธรรมย่อย” ที่ทำให้ “ธรรมใหญ่” ขยายตัวมีความหลากหลายขึ้น เช่น ผลจากการหลงผิดก่อกรรม จำต้องไปเกิดเป็นสัตว์พันธุ์ใหม่ ดังนั้น “ธรรมะและอธรรม” ทั้งหลายล้วนให้กำเนิดกันเป็นทั้งเหตุเกิดและเหตุดับแก่กัน ดังที่จะอธิบายดังต่อไปนี้

ธรรมใหญ่และอธรรม คือ ผู้ให้กำเนิด “ธรรมย่อย”
กล่าวคือ สรรพสิ่งนั่นแหละเกิดเองเป็นธรรมะ โดยธรรมชาติ เพียงแต่มนุษย์เข้าไปศึกษาความเป็นจริงของธรรมชาตินั้น จึงเข้าใจ “ธรรมใหญ่” เมื่อเข้าใจธรรมใหญ่แล้ว ด้วยขีดจำกัดความสามารถในการสื่อสารและการรับรู้ของมนุษย์ มนุษย์ผู้มีสัพพัญญูญาณรู้ธรรมใหญ่ รู้ได้ทั่วทุกสรรพสิ่ง จำต้องอาศัย “อธรรม” เป็นเครื่องสร้าง “ธรรมย่อย” เช่น หากตรัสรู้แล้วได้พบผู้ที่หลงผิดไม่รู้เหตุผลของทุกข์และการดับทุกข์ ผู้ตรัสรู้ธรรมย่อมจะใช้ “อธรรม” หรือความไม่รู้ และความหลงผิดนั้น เป็นเครื่องจำแนกธรรมใหญ่ ออกเป็นมุมมองในด้านทุกข์และการดับทุกข์ ก่อเกิดเป็น “ธรรมย่อย” คือ “อริยสัจสี่” แต่หากบุคคลนั้นไม่เข้าใจในองค์ประกอบของร่างกายว่ามีอะไรบ้าง ก็ต้องอธิบายเป็น “ขันธ์ห้า” ซึ่งเป็นปัจจัยปรุงแต่งกายและจิตใจของเรา ซึ่งทำให้ได้ธรรมย่อยต่างกัน ดังนั้น ธรรมในคัมภีร์ศาสนาที่ถูกต้องต่างๆ จึงต้องอาศัย “อธรรม” หรือความไม่รู้เป็นเครื่องหมายในการแสดงมุมมองของธรรม หาไม่เช่นนั้นแล้ว ต่อให้มีความรู้ที่มากมายทั้งป่าก็ไม่รู้ว่าจะแสดงธรรมอะไรแก่ผู้ที่ยังมืด บอดขาดความรู้ได้ ดังนั้น “การเข้าใจผู้ที่มืดบอด” และ “เข้าใจสรรพสิ่ง” นั่นแหละคือ “ที่มาของธรรมย่อย” ในหมวดต่างๆ นั่นเอง ดังนี้ คนที่หลงผิดและมารต่างๆ จึงมีหน้าที่เป็นเครื่องบ่งบอกความมืดบอดและไม่รู้ของคน ธรรมย่อยที่ใช้สอนคนจึงเกิดได้ พระโพธิสัตว์ก็จำต้องอาศัย “มารเป็นครู” เรียกว่าต้องเอาชนะมารให้ได้ก่อน เมื่อเอาชนะมารในใจตนได้แล้ว จึงสามารถสอนให้ผู้อื่นรู้ตามได้มากมาย

ธรรมใหญ่และอธรรม คือ ผู้ให้กำเนิด “สมมุติธรรม”
กล่าวคือ สรรพสิ่งนั่นแหละเกิดเองเป็นธรรมะ โดยธรรมชาติ เพียงแต่มนุษย์เข้าไปศึกษาความเป็นจริงของธรรมชาตินั้น แต่ไม่เข้าใจ “ธรรมใหญ่” อย่างท่องแท้แทงตลอด จึงตัดทอนความเข้าใจเป็นส่วนๆ มีความเข้าใจในระดับ “สมมุติ” เช่น พบพืชชนิดหนึ่งตั้งสมมุติชื่อว่า “สัก” แล้วนำต้นไม้ไปแปรรูป ตั้งสมมุติชื่อใหม่ว่า “บ้าน” เป็นต้น แท้แล้วก็เป็นสิ่งเดียวกันที่แปรเปลี่ยนไปเท่านั้นเอง แต่หากบุคคลยังไม่เข้าใจถึงท้ายที่สุดได้ก็จำต้องใช้ “สมมุติ” เป็นเครื่องมือในการสื่อสารและจัดการสิ่งต่างๆ ไปพรางๆ ก่อน เพื่อดำรงชีพไปในแต่ละวันเป็นพลางๆ ก่อนยังไม่สามารถยึดมั่นหรือมั่นใจได้ว่าการกระทำในชีวิตของตนนั้นถูกต้องดี แล้ว เพียงแต่ทำไปก่อนเป็นเบื้องต้น จนกว่าแต่ละบุคคลจะเข้าถึงท้ายที่สุดแห่งธรรม ก็จะเลือกเส้นทางที่ “เหมาะสมที่สุด” ในการดำเนินชีวิตอย่างไม่หลงต่อไป

ธรรมใหญ่และสมมุติธรรม คือ ผู้ให้กำเนิด “อธรรม”
กล่าวคือ สรรพสิ่งนั่นแหละเกิดเองเป็นธรรมะ โดยธรรมชาติ เพียงแต่มนุษย์เข้าไปศึกษาความเป็นจริงของธรรมชาตินั้น แต่ไม่เข้าใจ “ธรรมใหญ่” อย่างท่องแท้แทงตลอด จึงคิดเอาว่าความเข้าใจที่ถูกตัดทอนเป็นส่วนๆ หรือ “สมมุติธรรม” นั้นแหละคือ “ธรรมใหญ่” ด้วยความเข้าใจที่ผิดพลาดเพราะหลงคิดว่า “สมมุติธรรม” คือ “ธรรมใหญ่” นี้เอง ทำให้เกิดการหลงผิด เช่น การได้เกิดมาร่ำรวยเสวยผลบุญมากมาย ก็คิดว่าความร่ำรวยนั่นแหละคือความถูกต้องและเที่ยงแท้จริง เราสามารถร่ำรวยไปได้ตลอดกาล จึงใช้เงินต่อยอดความร่ำรวยของตนให้ยืดยาวขึ้น แท้แล้วเมื่อวันหนึ่งก็ต้องล่มสลายในที่สุด ความหลงผิดเช่นนี้แหละ คือ “อธรรม” คือ หลงคิดว่า “สมมุติธรรม” คือ “วิมุติธรรม” นั่นเอง

อธรรมและสมมุติธรรม คือ ผู้ให้กำเนิด “ธรรมใหญ่”
กล่าวคือ เพราะอธรรมนั่นแหละที่ก่อให้เกิด “สิ่งใหม่ๆ” หรือสิ่งที่ผิดแผกไปจากเดิม ก่อให้เกิดกรรมใหม่ๆ นำสัตว์ไปเกิดตามกรรมเป็นสัตว์พันธุ์ใหม่ ทำให้ธรรมใหญ่ขยายความกว้างขวางขึ้น นอกจากนี้ “สมมุติธรรม” นั่นแหละ คือ “ส่วนหนึ่งของธรรมใหญ่” ยิ่งมนุษย์สร้างสมมุติคำศัพท์บัญญัติอันใดขึ้นมา สิ่งเหล่านั้นทั้งหมดก็ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของธรรมใหญ่ทั้งสิ้น ดังนั้น “ธรรมใหญ่” จึงขยายพรหมแดนความหลากหลายได้ด้วยเหตุนี้ ด้วยเหตุนี้ ความดี, ความชั่ว แท้แล้วไม่มี “มาร” แท้แล้วไม่มีจริง (เป็นเพียงสมมุติไม่ใช่วิมุติ) เป็นเพียงธรรมะอีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “อธรรม” ซึ่งเป็นผู้สร้าง “ธรรมใหญ่” นั่นเอง




สรุปหลักอุบัติธรรม ๓


หลายครั้งที่บางท่านปฏิบัติธรรม แต่ไม่คิดค้นหาหลัก “สัจธรรม” หลายท่านจึงยึดมั่นในคุณธรรมแทน และคิดว่าการทำความดีนั่นแหละคือการปฏิบัติธรรม แต่หารู้ไม่ว่า หลายครั้งไม่อาจนำไปสู่ความสุขแท้ ไม่สามารถพ้นทุกข์ได้จริง เพราะความยึดมั่นในคุณธรรมนั้นเอง เช่น บางท่านต้องทนทุกข์กับการเสียใจที่บุพการีสิ้นชีวิต เพราะคิดว่านั่นคือความกตัญญู แทนที่จะปล่อยวางอย่างเข้าใจถึงหลักอนิจจังแล้วก้าวเดินต่อไปข้างหน้า บางท่านก็ยึดติดเพียงคำศัพท์และการแปลความหมายศัพท์ธรรม แทนที่จะค้นหาความหมายที่แท้จริงของสัจธรรม เรียกว่า “หลงคิดว่าบัญญัติธรรมคือวิมุติธรรม” คนส่วนใหญ่ที่มุ่งปฏิบัติธรรมนั้น มักพ้นจาก “อธรรม” ได้ง่าย แต่กลับยังไม่หลุดพ้นจาก “สมมุติธรรม” ยังหลงวนอยู่ในโลกแห่งสมมุติ ที่มีการสมมุติอย่างหนึ่งไว้ เมื่ออย่างนั้นเสื่อมลงก็คิดว่าดับสลาย ก็เกิดความทุกข์ขึ้น โลกแห่งสมมุติจึงเต็มไปด้วยการเกิดและการดับตลอดเวลา แต่โลกแห่งวิมุติกลับไม่มีอะไรเกิดใหม่ และไม่มีสิ่งใดดับสลายไปเลย สรรพสิ่งยังคงเป็นเช่นนั้นเอง เพียงแต่มีความผันผวนไปตามเวลาทำให้เราต้อง “หยิบยืมสมมุติ” ต่างๆ มาใช้ “ชั่วคราว” เมื่อใช้แล้วก็ปล่อยวางลงไป แต่จะไม่ใช้เลยก็ไม่ได้ จะยึดไว้ตลอดกาลก็ไม่ได้เช่นกัน ดังนั้น “วิมุติ” จึงมีอยู่ เพียงแต่ยืม “สมมุติ” มาใช้ชั่วคราวเท่านั้นเอง

http://board.agalico.com/showthread.php?t=26490

Vipawee
02-01-2009, 10:36 AM
สาธุค่ะ