PDA

แสดงเวอร์ชันเต็ม : พระธรรมจักรกัปวัตนสูตร



bb
02-08-2009, 01:29 PM
ธรรมจักรกัปปวัตนสูตร


ทเวเม ภิกขะเว อันตา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่สุดแห่งการกระทำสองอย่างเหล่านี้มีอยู่
ปัพพะชิเตนะ นะ เสวิตัพพา เป็นสิ่งที่บรรพชิตไม่ควรข้องแวะเลย
โย จายัง กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค
นี้คือการประกอบตนพัวพันอยู่ด้วยความใคร่ในกามทั้งหลาย
หีโน เป็นของต่ำทราม
คัมโม เป็นของชาวบ้าน
โปถุชชะนิโก เป็นของคนชั้นปุถุชน
อะนะริโย ไม่ใช่ข้อปฏิบัติของพระอริยเจ้า
อะนัตถะสัญหิโต ไม่ประกอบด้วยประโยชน์เลย นี้อย่างหนึ่ง
โย จายัง อัตตะกิละมะถานุโยโค อีกอย่างหนึ่ง คือการประกอบการทรมานตนให้ลำบาก
ทุกโข เป็นสิ่งที่นำมาซึ่งทุกข์
อะนะริโย ไม่ใช่ข้อปฏิบัติของพระอริยเจ้า
อะนัตถะสัญหิโต ไม่ประกอบด้วยประโยชน์เลย
เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต อะนุปะคัมมะ มัชฌิมา ปะฏิปะทา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลาง ไม่เข้าไปหาส่วนสุดแห่งการกระทำสองอย่างนั้น มีอยู่
ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา เป็นข้อปฏิบัติที่ตถาคตได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว
จักขุกะระณี เป็นเครื่องกระทำให้เกิดจักษุ
ญาณะกะระณี เป็นเครื่องกระทำให้เกิดญาณ
อุปะสะมายะ เพื่อความสงบ
อะภิญญายะ เพื่อความรู้ยิ่ง
สัมโพธายะ เพื่อความรู้พร้อม
นิพพานายะ สังวัตตะติ เป็นไปเพื่อนิพพาน
กะตะมา จะ สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลางนั้น เป็นอย่างไรเล่า ?



อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค
ข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลางนั้น คือข้อปฏิบัติเป็นหนทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดประการ นี้เอง
เสยยะถีทัง ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ
สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ
สัมมาสังกัปโป ความดำริชอบ
สัมมาวาจา การพูดจาชอบ
สัมมากัมมันโต การทำการงานชอบ
สัมมาอาชีโว การเลี้ยงชีวิตชอบ
สัมมาวายาโม ความพากเพียรชอบ
สัมมาสะติ ความระลึกชอบ
สัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นชอบ
อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายนี้แล คือข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลาง
ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา เป็นข้อปฏิบัติที่ตถาคตได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว
จักขุกะระณี เป็นเครื่องกระทำให้เกิดจักษุ
ญาณะกะระณี เป็นเครื่องกระทำให้เกิดญาณ
อุปะสะมายะ เพื่อความสงบ
อะภิญญายะ เพื่อความรู้ยิ่ง
สัมโพธายะ เพื่อความรู้พร้อม
นิพพานายะ สังวัตตะติ เป็นไปเพื่อนิพพาน
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อริยสัจ คือทุกข์นี้ มีอยู่
ชาติปิ ทุกขา คือความเกิดก็เป็นทุกข์
ชะราปิ ทุกขา ความแก่ก็เป็นทุกข์
มะระณัมปิ ทุกขัง ความตายก็เป็นทุกข์
โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา
ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์
อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข ความประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์
ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข ความพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์
ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง มีความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์
สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้งห้า เป็นตัวทุกข์
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อริยสัจคือเหตุให้เกิดทุกข์นี้ มีอยู่
ยายัง ตัณหา นี้คือตัณหา
โปโนพภะวิกา อันเป็นเครื่องทำให้มีการเกิดอีก
นันทิราคะ สะหะคะตา อันประกอบอยู่ด้วยความกำหนดด้วยอำนาจความเพลิน
ตัตระตัตราภินันทินี เป็นเครื่องให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ
เสยยะถีทัง ได้แก่ตัณหาเหล่านี้ คือ
กามะตัณหา ตัณหาในกาม
ภะวะตัณหา ตัณหาในความมีความเป็น
วิภะวะตัณหา ตัณหาในความไม่มีไม่เป็น
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อริยสัจ คือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นี้ มีอยู่
โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ อะเสสะวิราคะนิโรโธ
นี้คือความดับสนิทเพราะจางไป โดยไม่มีเหลือของตัณหานั้น นั่นเอง
จาโค เป็นความสลัดทิ้ง
ปะฏินิสสัคโค เป็นความสละคืน
มุตติ เป็นความปล่อย
อะนาละโย เป็นความทำไม่ให้มีที่อาศัย ซึ่งตัณหานั้น
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อริยสัจคือข้อปฏิบัติที่ทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์นี้ มีอยู่
อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค
นี้คือข้อปฏิบัติเป็นหนทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดประการ
เสยยะถีทัง ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ
สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ
สัมมาสังกัปโป ความดำริชอบ
สัมมาวาจา การพูดจาชอบ
สัมมากัมมันโต การทำการงานชอบ
สัมมาอาชีโว การเลี้ยงชีวิตชอบ
สัมมาวายาโม ความพากเพียรชอบ
สัมมาสะติ ความระลึกชอบ
สัมมาสะมาธิ ความตั้งใจมั่นชอบ
อิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ญาณเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อน ว่าอริยสัจคือทุกข์เป็นอย่างนี้อย่างนี้ ดังนี้
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญเญยยันติ
ว่า ก็อริยสัจคือทุกข์นั้นแล เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ ดังนี้
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญญาตันติ
ว่าก็อริยสัจคือทุกข์นั้นแล เรากำหนดรู้ได้แล้ว ดังนี้
อิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ญาณเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อน ว่าอริยสัจ คือเหตุให้เกิดทุกข์เป็นอย่างนี้อย่างนี้ ดังนี้
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหาตัพพันติ
ว่า ก็อริยสัจคือเหตุให้เกิดทุกข์นั้นแล เป็นสิ่งที่ควรสละเสีย ดังนี้
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหีนันติ
ว่าก็อริยสัจคือเหตุให้เกิดทุกข์นั้นแล เราละได้แล้ว ดังนี้
อิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ญาณเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อน ว่าอริยสัจ คือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้อย่างนี้ ดังนี้
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกาตัพพันติ
ว่า ก็อริยสัจคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นั้นแล เป็นสิ่งที่ควรทำให้แจ้ง ดังนี้
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกะตันติ
ว่าก็อริยสัจคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นั้นแล เราทำให้แจ้งได้แล้ว ดังนี้
อิทัง ทุกขะนิโรโธคามินีปะฏิปะทา อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ญาณเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อน ว่าอริยสัจ คือข้อปฏิบัติที่ทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้อย่างนี้ ดังนี้
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธคามินีปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาเวตัพพันติ
ว่า ก็อริยสัจคือข้อปฏิบัติที่ทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นั้นแล เป็นสิ่งที่ควรทำให้เกิดมี ดังนี้
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธคามินีปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาวิตันติ
ว่าก็อริยสัจคือข้อปฏิบัติที่ทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นั้นแล เราทำให้เกิดมีได้แล้ว ดังนี้
ยาวะกีวัญจะ เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง นะ สุวิสุทธัง อะโหสิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัญญาเครื่องรู้เห็นตามที่เป็นจริง มีปริวัฏฏ์สามมีอาการสิบสอง เช่นนั้น ในอริยสัจทั้งสี่เหล่านี้ ยังไม่เป็นของบริสุทธิ์หมดจดด้วยดีแก่เรา อยู่เพียงใด
เนวะตาวาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตลอดกาลเพียงนั้น เรายังไม่ปฏิญญาว่าได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์
ยะโต จะ โข เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติ ปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง สุวิสุทธัง อะโหสิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ปัญญาเครื่องรู้เห็นตามที่เป็นจริง มีปริวัฏฏ์สาม มีอาการสิบสอง เช่นนั้น ในอริยสัจทั้งสี่เหล่านี้ เป็นของบริสุทธิ์หมดจดด้วยดีแก่เรา
อะถาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง
เมื่อนั้น เราปฏิญญาว่าได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์
ญาณัญจะ ปะนะ เม ทัสสะนัง อุทะปาทิ ก็ญาณและทัศนะได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
อะกุปปา เม วิมุตติ ว่าความหลุดพ้นของเราไม่กลับกำเริบ
อะยะมันติมา ชาติ ความเกิดนี้เป็นการเกิดครั้งสุดท้าย
นัตถิทานิ ปุนัพภะโว ติ บัดนี้ความเกิดอีกย่อมไม่มี ดังนี้

(From:http://board.dserver.org/l/luangta3/00000059.html)

bb
02-09-2009, 04:40 AM
โอวาทปาติโมกข์ ถือเป็นหลักคำสอนอันเป็นหัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนา โดยเป็นการสรุปคำสอนในพระพุทธศาสนาทั้งปวงให้สั้นและเข้าใจได้ง่าย เรียกว่าเป็น “หัวใจพระพุทธศาสนา” หรือ “พุทธโอวาท ๓” อันเป็นหลักแห่งพระพุทธศาสนาเพื่อเป็นหลักในการประกาศพระพุทธศาสนาสำหรับพระสาวกสืบไป อีกทั้งคำสอนเหล่านั้นได้ สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน และพุทธศาสนิกชนก็ได้ถือเอาโอวาทปาฏิโมกข์นี้เป็นแม่แบบในการประพฤติปฏิบัติ ซึ่งโอวาทปาฏิโมกข์นี้มีสาระสำคัญคือ
๑. การไม่ทำความชั่วทั้งปวง : สพฺพปาปสสฺ อกรณ ํ
๒. การบำเพ็ญความดีให้เพียบพร้อม : กุสลสฺสูปสมฺปทา
๓. การทำจิตของตนให้ผ่องใส : สจิตฺต ปริโยทปนํ
ในครั้งนั้นพระพุทธองค์ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ โดยตรัสเป็นพระคาถา รวม ๓ พระคาถาครึ่งดังต่อไปนี้
“ขันติคือความทนทานเป็นตบะอย่างยิ่ง
พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสว่า พระนิพพานเป็นธรรมอย่างยิ่ง
ผู้ทำร้ายผู้อื่น ผู้เบียดเบียนผู้อื่น
ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต ไม่ชื่อว่าเป็น สมณะเลย
การไม่ทำบาปทั้งสิ้น
การยังกุศลให้ถึงพร้อม
การทำจิตของตนให้ผ่องใส
นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.
การไม่กล่าวร้าย ๑
การไม่ทำร้าย ๑
ความสำรวมในพระปาติโมกข์ ๑
ความเป็นผู้รู้ประมาณในภัตตาหาร ๑
ที่นอนที่นั่งอันสงัด ๑
การประกอบความเพียรในอธิจิต ๑
หกอย่างนี้ เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.”

bb
02-09-2009, 04:58 AM
มาฆบูชา
วั น ขึ้ น ๑ ๕ ค่ำ เ ดื อ น ๓

”มาฆะ” เป็นชื่อของเดือน ๓ มาฆบูชานั้น ย่อมาจากคำว่า“มาฆบุรณมี” แปลว่าการบูชาพระในวันเพ็ญ เดือน ๓ วันมาฆบูชาจึงตรงกับวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๓ แต่ถ้าปีใดมีเดือน อธิกมาส คือมีเดือน ๘ สองครั้ง วันมาฆบูชาก็จะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ เป็นวันสำคัญวันหนึ่ง ในวันพุทธศาสนา คือวันที่มีการประชุมสังฆสันนิบาตครั้งใหญ่ในพุทธศาสนา ที่เรียกว่า “จาตุรงคสันนิบาต” และเป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดง โอวาทปฎิโมกข์ แก่พระสงฆ์สาวกเป็นครั้งแรก ณ เวฬุวันวิหาร กรุงราชคฤห์ เพื่อให้พระสงฆ์นำไปประพฤติปฏิบัติ เพื่อจะยังพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป
คำว่า “จาตุรงคสันนิบาต” แยกศัพท์ได้ดังนี้ คือ “จาตุร” แปลว่า ๔ “องค์” แปลว่า ส่วน “สันนิบาต” แปลว่า ประชุม ฉะนั้นจาตุรงคสันนิบาตจึงหมายความว่า “การประชุมด้วยองค์ ๔” กล่าวคือมีเหตุการณ์พิเศษที่เกิดขึ้นพร้อมกันในวันนี้ คือ

๑. เป็นวันที่ พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า จำนวน ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมพร้อมกันที่เวฬุวันวิหาร
ในกรุงราชคฤห์ โดยมิได้นัดหมาย
๒. พระภิกษุสงฆ์เหล่านี้ล้วนเป็น “เอหิภิกขุอุปสัมปทา” คือเป็นผู้ที่ได้รับการอุปสมบทโดยตรงจาก
พระพุทธเจ้าทั้งสิ้น
๓. พระภิกษุสงฆ์ทุกองค์ที่ได้มาประชุมในครั้งนี้ ล้วนแต่เป็นผุ้ได้บรรลุพระอรหันต์แล้วทุก ๆองค์
๔. เป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวงกำลังเสวยมาฆฤกษ

การปฎิบัติตนสำหรับพุทธศาสนาในวันนี้ก็คือ การทำบุญ ตักบาตรในตอนเช้า หรือไม่ก็จัดหาอาหารคาวหวานไปทำบุญฟังเทศน์ที่วัด ตอนบ่ายฟังพระแสดงพระธรรมเทศนา ในตอนกลางคืน จะพากันนำดอกไม้ ธูปเทียน ไปที่วัดเพื่อชุมนุมกันทำพิธีเวียนเทียน รอบพระอุโบสถ พร้อมกับพระภิกษุสงฆ์โดยเจ้าอาวาสจะนำว่า นะโม ๓ จบ จากนั้นกล่าวคำ ถวาย ดอกไม้ธูปเทียน ทุกคนว่าตาม จบแล้วเดิน เวียนขวา ตลอดเวลาให้ระลึกถึง พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ จนครบ ๓ รอบ แล้วนำดอกไม้ ธูปเทียนไปปักบูชาตามที่ทางวัด เตรียมไว้ เป็นอันเสร็จพิธี