PDA

แสดงเวอร์ชันเต็ม : จิตแพทย์แนะวิธี พ่อแม่แก้ปัญหาเด็กติดเกม



DAO
02-28-2009, 11:38 AM
จิตแพทย์แนะวิธี พ่อแม่แก้ปัญหาเด็กติดเกม

http://women.kapook.com/wp-content/uploads/2008/11/addict.jpg

พ.ญ.พัชรี พรรณพานิช จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลมนารมย์ กล่าวถึงระดับการเล่นเกมของเด็กที่พ่อแม่ควรสังเกตและควรทำความเข้าใจ เพื่อหาทางแก้ไขให้เหมาะสม โดยแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ

1.เด็กเริ่มชอบเล่นเกมคือเล่นตามเพื่อน ทำอะไรอยากรู้อยากเห็น เล่นเพื่อความสนุก

2.เด็กหลงใหลหรือคลั่งไคล้เกมคือเล่นแล้วเพลิน ภูมิใจที่ชนะหรือผ่านด่านที่สูงขึ้นได้ ต้องการมีเพื่อนเล่นด้วย พูดในเรื่องเดียวกัน มีการจัดเวลาเล่นในชีวิตประจำวัน คือเล่นยามว่าง งานอดิเรก แต่การเรียนและชีวิตประจำวันปกติ

3.เด็กติดเกมหมายถึง มีกิจกรรมเล่นเกมอย่างเดียวโดยไม่สนใจอย่างอื่น หมกมุ่นอยู่กับเกมทั้งวันทั้งคืน ไม่ทำการบ้าน ไม่ทำงานส่งครู ไม่ไปโรงเรียน ส่งผลต่อร่างกายและจิตใจ คือกินข้าวไม่เป็นเวลา นอนดึกหรือไม่นอนเลย คิดแต่เรื่องเกม มองเห็นภาพการเล่นหรือตัวละครเกมในสมอง ตนเอง อาจเล่นพนันเกมหรือแสดงออกอย่างก้าวร้าว

“ปัจจุบันพ่อแม่สับสนและเข้าใจผิดว่าการห้ามไม่ให้ลูกเล่นเกมเป็นการปิดกั้นความคิดและจินตนาการ แต่ความจริงการที่เด็กไม่ได้เล่นเกมไม่ถือเป็นการปิดกั้นจินตนาการ ในทางกลับกันการเล่นเกมเป็นการรบกวนจินตนาการ เพราะเกมมีโครง สร้างที่ชัดเจน ว่าควรเล่นหรือทำอย่างไรและไม่เปิดโอกาสให้เด็กใช้จินตนาการ ซึ่งแก้ปัญหาเด็กติดเกมที่ได้ผลนั้นไม่ควรใช้การห้ามสำหรับเด็ก ควรพูดคุยฟังความคิดเห็นของเด็กและร่วมให้เด็กช่วยกันแก้ปัญหา ผู้ใหญ่ต้องมั่นใจว่าตนเองมีเหตุผลเพียงพอที่โน้มน้าวให้เด็กลดเวลาการเล่นเกม ขณะเดียวกันต้องหาทางออกหรือกิจกรรมอื่นที่สร้างสรรค์มาทดแทน” จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นกล่าว

การเล่นเกมของเด็กในระยะที่ 1-2 เป็นช่วงที่เด็กเริ่มชอบและหลงใหลเกม ผู้ใหญ่ควรเข้าไปมีส่วนร่วมกับเด็กในขณะที่เด็กเล่นเกม และพิจารณาเกมที่เหมาะสม วันธรรมดาไม่เกิน 1 ชั่วโมง ส่วนเสาร์อาทิตย์ไม่ควรเกิน 2 ชั่วโมง เพราะในระยะนี้เป็นระดับที่พ่อแม่ทำความเข้าใจและชี้แนะให้เล่นอย่างเหมาะสมได้

ซึ่งพ่อแม่ควรใช้วิธีต่อไปนี้ คือสร้างข้อตกลงในการเล่น สร้างเสริมวินัยในตนเองของเด็ก เช่น ฝึกให้เด็กเล่นจนครบเวลาตามที่กำหนดไว้และให้ลูกปิดคอมพิวเตอร์ด้วยตนเอง ถัดมาคือหากิจกรรมเสริมที่น่าสนใจและสนุกสำหรับเด็ก เช่น เล่นบิงโก ทำงานศิลปะและเกมภาษาอังกฤษ รวมถึงหาปัญหาที่อาจซ่อนอยู่ในตัวเด็ก เช่น สมาธิสั้น ซึมเศร้า วิตกกังวล ดื้อ ก้าวร้าว แต่อย่างไรก็ตามข้อสังเกตที่สามารถทราบว่าลูกติดเกมหรือไม่นั้น ดูได้จากลักษณะการเล่น หากเล่นแบบไม่หลับไม่นอน ไม่เรียนก็น่าจะมีปัญหารุนแรง ควรพบจิตแพทย์ เพื่อจะมีการพูดคุยให้เด็กเห็นปัญหาและสร้างแรงจูงใจให้เกิดการปรับเปลี่ยนโดยใช้คำพูดเชิงบวก

สำหรับพ่อแม่ที่สนใจเทคนิคช่วยลูกออกจากเกมอย่างสร้าง สรรค์ ร่วมฟังการบรรยายโดย น.พ.จอม ชุ่มช่วย จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลมนารมย์ ที่ห้องประชุมชั้น 2 โรงพยาบาลมนารมย์ สุขุมวิท 70/3 สอบถามโทร. 0-2725-9595 หรือคลิกที่ www.manarom.com (http://www.manarom.com/)

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://hilight.kapook.com/admin_hilight/spaw2/imghilight4/logo/khaosod.jpg