PDA

แสดงเวอร์ชันเต็ม : ฝึกดูใจ..ไม่ใช่การฝึกใจ..



*8q*
03-18-2009, 06:02 PM
วิปัสสนาปัญญา เรียกในภาษาธรรมว่าวิปัสสนากรรมฐาน มิได้มีจุดมุ่งหมายว่าทำให้ใจสงบตั้งมั่น ไม่ใช่การนั่งนิ่งๆเพื่อทำจิตใจให้สงบแต่ต้องการนั่งนิ่งๆเพื่อเฝ้าติดตามดูความรู้สึกต่างๆให้ทัน
..


การฝึกใจให้สงบ ตั้งมั่นในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง ด้วยการบังคับใจให้รับรู้เพียงอารมณ์เดียว ไม่รับรู้อย่างอื่นนั้น เรียกว่า สมถกรรมฐาน เป็นอีกแนวทางหนึ่งของการปฎิบัติกรรมฐานซึ่งมีจุดมุ่งหมายคือฌานสมาบัติและอภิญญาจิต หรือสมาธิขั้นแน่วแน่ และความสามารถพิเศษของจิตในการรับรู้ เช่น การมีหูทิพย์ ตาทิพย์ การอ่านใจคนอื่น หรือการมีอิทธิฤทธิ์เป็นต้น ซึ่งความสามารถเหล่านี้ แม้จะฟังดูพิเศษ แต่พระพุทธเจ้าก็ไม่ได้ทรงให้ความสำคัญหรือให้ความสนใจ เพราะเป็นความสามารถที่ไม่อาจพาใจให้เข้าถึงความหลุดพ้นจากกิเลสและการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏได้
..


สมถกรรมฐานจึงไม่ใช่คำสอนหลักของพระพุทธเจ้า แต่เป็นหลักคำสอนของครูบาอาจารย์ต่างๆ เช่นนักพรต ดาบส ฤาษี ชีไพร ตั้งแต่ก่อนพุทธกาล ซึ่งวิชาเหล่านั้นพระพุทธเจ้าทรงศึกษามาจนจบหลักสูตรแล้วจากสองอาจารย์คือ ท่านอาฬารดาบส และ ท่านอุทกดาบส

สมถกรรมฐานนั้นพาพระองค์ไปได้สูงสุดแค่อรูปฌาน แต่ยังไม่ถึงทางหลุดพ้น
..


พระองค์จึงทรงหาทางหลุดพ้นด้วยตัวเองโดยยึดหลัก มัชฌิมาปฏิปทา ด้วยการเจริญวิปัสสนากรรมฐานซึ่งจะนำไปสู่การหลุดพ้นแห่งการเวียนว่ายตายเกิดได้

อีกสาเหตุคือ สมถกรรมฐานนั้นต้องอาศัยการปลีกตัวออกจากสังคม หมู่คณะ และไปอยู่ลำพังในสถานที่วิเวกอันสงบเงียบเท่านั้น ผู้ที่ยังมีภารกิจ ยังมีงาน มีครอบครัว จึงมีสภาวะจิตที่ไม่พร้อมสำหรับการเจริญฌาน
..
เหล่านั้น

การเจริญวิปัสสนากรรมฐานจึงเหมาะสำหรับคนที่มีสถานภาพอย่างพวกเรา เพราะวิปัสสนากรรมฐานไม่ได้มุ่งเน้นให้ใจนิ่ง แต่ฝึกการระลึกและการกระทำความรู้สึกให้แคล่วคล่องว่องไว เพื่อใช้ตามดูใจ ให้รู้เท่าทันความจริง จนสามารถนิ่งเฉยต่อสิ่งกระทบได้
..


ความนิ่งจากการรับรู้เท่าทันแตกต่างจากความนิ่งจากสมาธิ ความนิ่งจากสมาธิคือนิ่งเพราะใจไม่ยอมรับรู้โลกภายนอก จึงแสดงออกถึงความนิ่งเฉย แต่การนิ่งจากการวิปัสสนานั้นเกิดขึ้นได้ทั้งๆที่ใจยังคงรับรู้สิ่งต่างๆตามปกติเหมือนคนทั่วไป แต่เพราะสามารถรับรู้อย่างเท่าทัน ความตื่นเต้นไปตามความรู้สึกต่างๆหมดไป เกิดเป็นความนิ่งเฉยขึ้นมาแทน อุปมาเหมือนการดูหนังดูละคร หากเป็นเรื่องที่เคยดูมาแล้ว เราย่อมทราบดีว่าเรื่องราวจะเป็นอย่างไรและจะจบลงอย่างไร จึงไม่รู้สึกตื่นเต้นเร้าใจไปตามสิ่งที่เห็นอีก
..


ดังนั้น
..
การฝึกใจ
..
กับการฝึกดูใจนั้นแตกต่างกัน
..


ฝึกใจคือ ฝึกให้ใจรับรู้ ให้ใจรู้สึก เฉพาะเรื่องที่เราอยากให้รู้ เพื่อให้เกิดความนิ่ง ความตั้งมั่น เป็นสมาธิ ส่วนการฝึกดูใจคือ การฝึกสังเกต ตามดู ตามรู้ใจที่ทำหน้าที่รับรู้และทำหน้าที่รู้สึกให้ทัน ซึ่งการฝึกสังเกตใจนั้น ฝึกใหม่ๆอาจจะพบว่าใจของเราพล่าน นั่นเป็นเพราะเราไปบังคับใจ ไม่ปล่อยให้ใจรับรู้โดยอิสระ ใจจึงมีปฎิกิริยาโต้ตอบโดยการพล่าน การกระสับกระส่าย
..


ผู้ที่เริ่มฝึกใหม่ๆอาจจะสับสน ระหว่างฝึกใจกับฝึกดูใจ เช่นการฝึกดูลมหายใจเข้าออก ก็บังคับให้ใจกลับมาดูเฉพาะลมหายใจเข้าออกเท่านั้น เมื่อใจหลุดไปคิดเรื่องอื่น ก็บังคับให้ใจกลับมาดูที่ลมหายใจอีก โดยไม่ยอมให้ใจไปรับรู้เรื่องอื่นเลย หากฝึกวิธีนี้ ไปได้สักครึ่งชั่วโมงใจเราจะเริ่มเหนื่อย พล่าน ดิ้นรน จากการถูกบังคับ เนื่องจากไปฝืนธรรมชาติของใจนั่นเอง
..


แต่หากเราตามดูลมหายใจเข้าออกแบบไม่บังคับ ใจจะคิดอะไรก็ปล่อยให้ใจคิดไป หน้าที่ของเราก็คือตามดู ตามสังเกตใจไปเรื่อยๆเท่านั้น เราจะเห็นว่าใจนั้นบังคับไม่ได้ เพราะมีธรรมชาติต้องรับรู้เรื่องใหม่ตลอดเวลา เราก็จะสามารถฝึกไปได้อย่างสบายๆ โดยที่ใจไม่พล่าน
..


ขอบคุณหนังสือ รู้จักใจคือกำไรชีวิต
:
พระอาจารย์มานพ อุปสโม
ฐิติขวัญ เหลี่ยมวัฒนา
:
เรียบเรียง
ขอบคุณสำนักพิมพ์อมรินทร์ ที่พิมพ์แจกเป็นธรรมทาน
ขอบคุณสหายในธรรมที่เป็นธุระจัดส่งหนังสือเล่มนี้มาให้




http://www.oknation.net/blog/print.php?id=86151

loveyousomuch
03-20-2009, 02:29 PM
ขอบคุณค่ะที่นำสิ่งดีๆมาฝาก

ทั่นยาย
03-25-2009, 11:32 AM
อนุโมทนากับทั่นแปคคิวมากๆค่ะ ที่นำความรู้มาต่อยอดให้ได้องค์ความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมากค่ะ

ตอนนี้ทั่นยายเองก็อยู่ในช่วง " ฝึกใจ"ค่ะ มีแอบ "ฝึกดูใจ" บ้างนิดหน่อยค่ะ
แต่ไม่มากนัก เพราะติดตามดูใจได้แค่อึดใจเดียวง่วงแระ แต่ไปดูทีวีได้อีก2 ชั่วโมงไม่ง่วงเลยค่ะ อิ อิ

ใครรู้สึกหมั่นเขี้ยวอนุญาติให้หยิกได้โดยไม่บาปค่ะ อิ อิ

*8q*
03-26-2009, 08:58 PM
ถ้าดูจิตต้องอาจารย์ปราโมชครับลองหาอ่านดู

ซีดีก็มี

ทั่นยาย
03-27-2009, 08:36 AM
ขอบคุณทั่นแปดคิวที่แนะนำค่ะ เรื่องการดูจิตดูใจนี้มีครูบาอาจารย์หลายท่าน
ก็ได้แนะนำสั่งสอนญาติโยมอยู่เสมอ ดังนั้นทั่นยายจึงขออนุญาตินำคำสอน
ของหลวงปู่เทสก์มาเพิ่มเติมไว้ ณ ที่นี่ด้วยนะคะ คงจะยังประโยชน์แก่ผู้สนใจ
ในการฝึกดูจิตดูใจได้บ้างค่ะ

วิธีหาจิต โดย หลวงปู่เทสก์ เทสก์รังสี วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย

(แสดงธรรม ณ วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย
เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2524)

วันนี้จะอธิบายถึงเรื่องวิธีหาจิต จิต เป็นของสำคัญที่สุด เกิดมาเป็นมนุษย์ต้องมีจิต
ทุกคน แต่หากเราไม่ เห็นจิต เราเกิดมาก็เพราะจิต เป็นอยู่ก็เพราะจิต เราจะตายไป
ก็เพราะจิต จิตแท้นั้นคืออะไร จิตนี้ไม่มี ตัวมีตน มองก็ไม่เห็น ความรู้สึกความนึก
ความคิดนั่นแหละคือ ตัวจิต เพราะฉะนั้น ลืมตาจึงมองไม่เห็น ถ้าหลับตาแล้วเห็นหรอก
ถ้าหากเราไม่เห็นตัวจิต จิตมันจะพาเราไปเที่ยวฟอนทุกสิ่งทุกอย่าง กิเลสทั้งหลาย
ทั้งปวงหมดเกิดจากจิตทั้งนั้น ที่ท่านพูดถึงเรื่อง เจตสิก ก็คืออาการของจิตที่เรียก
ว่ากิเลสทั้งหลายร้อยแปดพันประการนั้นก็เกิากจิตอันเดียว ผู้ที่รู้มากมายหลายเรื่อง
ก็ว่าไปตามตำรา แต่ตัวจิตแท้ไม่เห็น กิเลสตัณหาก็ว่าไปตามเรื่องตามราวตั้งแต่
ขันธ์ 5 อายตนะ 6 เรื่อยไป ขันธ์ 5 มี รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ รวมลง
มามี 2 อย่าง คือ รูปกับนาม รูปมองเห็นได้ แต่นามคือจิต มองไม่เห็น

ทำอย่างไรจึงจะเห็นจิต ถ้ามิฉะนั้น จิตก็จะพาเราว่อนอยู่อย่างนั้นแหละ เที่ยวเหนือ
ล่องใต้ไปทั่วทุกทิศทุกทาง ถ้าเราคุมจิตไม่อยู่ รักษาจิตไม่ได้ ก็จะพาให้เราทุกข์เร่าร้อน
เศร้าโศกเสียใจ อาลัยอาวรณ์ ถ้าไม่มีจิตแล้ว ตัวของเราก็เหมือน กับท่อนไม้ท่อนฟืน
ใครจะสับจะบั่น ใครจะเผาจะอะไรๆ ต่างๆ ไม่รู้สึกทั้งนั้น

การปรากฏเห็นภาพทางตา เขาเรียกว่า จิต แต่คนไม่เห็นตัวจิต คือตาเห็นภาพนั่นน่ะ
เข้าใจว่าจิตเห็น ไม่ใช่จิต ตาเห็นต่างหาก แสงกระทบเข้ามาก็เห็นเท่านั้น
หูได้ยินเสียงก็เหมือนกัน เสียงมาเข้าหูกระทบกันเข้ามันก็ได้ยิน จมูกสูดกลิ่น ลิ้นถูก รส
กายสัมผัสอะไรต่างๆ อันนั้นไม่ใช่ตัวจิต เป็นเรื่องกระทบกันต่างหาก กระทบกันแล้ว
ก็หายไป ถ้าเช่นนั้น จิตมันอยู่ที่ไหน ให้ลองหาดูในตัวเรานี่แหละ หาให้หมดทุกสิ่งทุกอย่าง
ดูว่าจิตแท้มันอยู่ที่ไหนกัน เมื่อหาจิตไม่เห็นแล้ว คนที่หาน่ะไม่เห็น คนไหน
เป็นคนหา มันยังมีซ้อนอีก ใครเป็นคนค้นหา สิ่งที่ไปหานั้นเห็น แต่ผู้หาไม่เห็น อย่างว่าเห็นรูป
รูปนั้นเห็นแล้ว แต่ผู้เห็นน่ะใครเป็นคนเห็น มันต้องหาตัวนั้นซีจึงจะ เห็น จิตมันต้องเป็นหนึ่ง
ถ้าไม่ใช่หนึ่งแล้วก็ไม่ใช่จิต จิตเป็นหนึ่งกลายเป็นใจละคราวนี้
ตัวจิตนั่นแหละกลายเป็นใจ อันที่นิ่ง เฉย ไม่คิดไม่นึก ไม่ปรุงไม่แต่ง
ความรู้สึกเฉยๆ นั่นแหละมันกลายเป็นใจ จิตมันกลายเป็นใจ ในหนังสือต่างๆ
ก็พูดอยู่หรอกจิตอันใดใจอันนั้น ใจอันใดจิตอันนั้น บางแห่งท่านก็พูดเป็นจิต
บางแห่งท่านก็พูดเป็นใจ
อย่างท่านพูดว่า มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา ธรรมทั้งหลายมีใจอันถึงก่อน มโนคือใจ
ผู้นึกผู้น้อมทีแรก นั่นแหละ ไม่ใช่คิด นึกน้อมทีแรกนั้นแหละคือตัวใจ มโนเสฎฐา
มโนมยา ใจเป็นของประเสริฐ สำเร็จแล้วด้วยใจ

ท่านพูดถึงเรื่อง มโนคือใจ คราวนี้พูดถึงเรื่อง จิต ปภสฺสรมิทํ จิตฺตํ ตญฺจ โข
อาคนฺตุ เกหิ อุปกฺกิเลเสหิ อุปกฺกิลิฏฐํ จิตเป็นของประสัสสร คือมันผ่องใสสะอาด
อยู่ตลอดเวลา อาคันตุกกิเลสต่างหาก มันเศร้าหมองเพราะกิเลสที่จรมา
นี่พูดเรื่อง จิต ให้คิดดูว่า หากจิตเดิมเป็นของเศร้าหมองแล้ว

ใครจะทำให้บริสุทธิ์ได้ ไม่มี เลย เหตุนั้นท่านจึงว่า ปภสฺสรมิทํ จิตฺตํ จิตเป็นของ
ประภัสสรตลอดเวลา ทำอย่างไรจึงจะรู้ว่าจิตประภัสสร จิตกับใจเข้ามารวมกันแล้ว
คราวนี้มารวมกันเข้าเป็นใจ เมื่อมันเป็นประภัสสรมันรวมกันเป็นใจ ประภัสสรนั้น
หมายความถึงจิตไม่คิดไม่นึกไม่ปรุงไม่แต่ง จึงจะเห็นจิต เรียกว่าใจ
ถ้าหากยังคิดนึกปรุงแต่งอยู่มันเศร้าหมอง ถ้าจิตผ่องใสแท้มันต้องสะอาด
ปราศจากความคิดความนึก ความปรุงความแต่งจึงเรียกว่าใจ

เรามาพยายามขัดเกลากิเลสตรงนั้นแหละ ตรงอาคันตุกกิเลสอันนั้น ไม่ให้มันมี
ไม่ให้มันเกิดขึ้นในที่นั้น จึงจะรู้เห็นสิ่งต่างๆ คำว่าใสสะอาดมันก็เห็นนะซี มันจะไม่เห็นอย่างไร
น้ำใสสะอาดบริสุทธิ์ ย่อมมองเห็นเงาตนเองได้ เพชรนิลจินดา เขาเจียระไน
แล้วเป็นของใสสะอาด
เพราะเนื้อมันเป็นของใสมาแต่เดิม ถ้าหากเป็นเหล็กก็จะไม่ผ่องใสหรอก
เพราะธรรมชาติ ไม่ใช่ของใสสะอาด จิตของคนเราเป็นของใสสะอาดมาแต่เดิม
เหตุนั้นขัดเกลากิเลส ออกหมด มันจึงเห็นความใสสะอาด
จึงเรียก ปภสฺสรมิทํ จิตฺตํ คราวนี้จะไม่เรียกว่าจิต จะเรียกว่าใจ เราเรียกธรรมชาติ
ของที่ใสสะอาดบริสุทธิ์ว่าใจ
ในขณะที่เราทำความเพียรภาวนา ทำใจให้เป็น กลางๆ เฉยๆ สบาย มันก็ถึงใจ
ความสบาย นั่นแหละเป็นใจ ความเฉยๆ นั่นแหละ เป็นใจ ไม่มีอดีตอนาคต
ไม่มีบาปไม่มีบุญ ตัวเฉยๆ นั่นแหละ ไม่มีอะไรทั้งหมด ความคิดความนึกความปรุง ความแต่ง
มันออกไปจากใจ เรียกว่าจิต จิตคือผู้คิดนึก ปรุงแต่ง จิตเป็นคนสั่งสารพัดทุกอย่างในโลก ส่วนใจสงบคงที่

เหตุนั้นพระพุทธศาสนาจึงสอนเข้าถึงใจ คือสอนถึงที่สุด คือเข้าถึงความบริสุทธิ์นั่นเอง
สุดนั้นก็คือที่สุดของทุกข์นั่นเอง ถ้าเข้าถึงใจแล้ว ไม่มีทุกข์ไม่มีร้อน ไม่ปรุงไม่แต่ง
ไม่คิดไม่นึก ก็หมดเรื่องเท่านั้นละ ถ้าปรุงแต่งก็จะไปกันมากมาย หลงใหลไม่มีที่สิ้นสุด
เหตุฉะนั้น จึงว่าคนเราไม่เคยเห็นใจของตน แต่ไหนแต่ไรมา เกิดก็เกิดเพราะใจ
เวลาตายก็ตาย
เพราะใจปรุงแต่ง คิดนึกสารพัดทุกอย่าง คนทั้งหลายโดยส่วนมากพูดกันถึงเรื่องใจทั้งนั้น
พุทธศาสนาก็พูดถึงเรื่องใจ ใจบุญ ใจกุศล ใจบาป ใจอำมหิต ใจคิดประทุษร้าย สารพัดทุกใจ
พูดกันถึงเรื่องความดี ความงาม ก็ใจบุญ ใจกุศล ใจใสสะอาดบริสุทธิ์ พูดถึงเรื่องใจอันเดียว

ใจต้องเป็นอันเดียวไม่ใช่หลายอย่าง ที่หลายอย่างนั่นน่ะมันจิตต่างหาก
พระพุทธศาสนาสอนให้เข้าถึงตัวหนึ่ง ตัวใจนี่แหละ จึงจะเห็นเรื่องทั้งหลายทั้งหมด
ถ้าไม่เห็นตัวหนึ่งแล้วก็ไม่เห็นสิ่งทั้งหลายทั้งนั้น อย่างเรานับหนึ่งขึ้นเบื้องต้น
นับหนึ่งเสียก่อน หนึ่งสองหน ก็เป็นสอง หนึ่งสามหนก็เห็นสาม สี่หน ห้าหน
จนถึงเก้าหน สิบหน ก็เป็นสี่ ห้า จนถึงเก้า ถึงสิบ ก็มาจากหนึ่งอันเดียวนั่นแหละ
จะนับเป็นสิบเป็นร้อยแท้ที่จริงก็นับจากหนึ่งอันเดียวเท่านั้น คนเราลืมหนึ่งเสีย
ไปนับสอง สาม สี่ ห้า ถ้านับหนึ่งแล้วหมดเรื่อง เหตุนั้นการทำสมาธิภาวนาคุมจิต
ให้ถึงใจรวมเป็นหนึ่งนี่แหละ พระพุทธศาสนาสอนอย่างนั้น สอนใจอย่างเดียว
คนส่วนมากเห็นว่าการทำสมาธิภาวนาไม่ใช่หน้าที่ของฆราวาสเป็นเรื่องของพระ
พระบางท่านบางองค์ ก็ว่าไม่ใช่หน้าที่ของเราหรอก เป็นเรื่องของพระกัมมัฏฐาน
แท้ที่จริงคนเรามีใจด้วยกันทุกคน ใครเข้าหาใจได้แล้วก็เป็น กัมมัฏฐานด้วยกันทั้งนั้นแหละ
เป็น ภาวนา สมาธิแล้วทั้งนั้น เว้นไว้แต่เรา ไม่ทำ

อธิบายถึงเรื่องใจ ให้ค้นหาใจ ให้ พิจารณาเข้าถึงใจ ขอยุติเพียงเท่านี้


คัดลอกจาก http://www.manager.co.th/dhamma/DhammaLeeLarView.asp?NewsID=4667136818765

ภพกฤต
http://ariyasaj4.blogspot.com/ (http://ariyasaj4.blogspot.com/)

*8q*
03-27-2009, 07:56 PM
อนุโมทนาท่านยายครับ