*8q*
03-18-2009, 06:02 PM
วิปัสสนาปัญญา เรียกในภาษาธรรมว่าวิปัสสนากรรมฐาน มิได้มีจุดมุ่งหมายว่าทำให้ใจสงบตั้งมั่น ไม่ใช่การนั่งนิ่งๆเพื่อทำจิตใจให้สงบแต่ต้องการนั่งนิ่งๆเพื่อเฝ้าติดตามดูความรู้สึกต่างๆให้ทัน
..
การฝึกใจให้สงบ ตั้งมั่นในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง ด้วยการบังคับใจให้รับรู้เพียงอารมณ์เดียว ไม่รับรู้อย่างอื่นนั้น เรียกว่า สมถกรรมฐาน เป็นอีกแนวทางหนึ่งของการปฎิบัติกรรมฐานซึ่งมีจุดมุ่งหมายคือฌานสมาบัติและอภิญญาจิต หรือสมาธิขั้นแน่วแน่ และความสามารถพิเศษของจิตในการรับรู้ เช่น การมีหูทิพย์ ตาทิพย์ การอ่านใจคนอื่น หรือการมีอิทธิฤทธิ์เป็นต้น ซึ่งความสามารถเหล่านี้ แม้จะฟังดูพิเศษ แต่พระพุทธเจ้าก็ไม่ได้ทรงให้ความสำคัญหรือให้ความสนใจ เพราะเป็นความสามารถที่ไม่อาจพาใจให้เข้าถึงความหลุดพ้นจากกิเลสและการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏได้
..
สมถกรรมฐานจึงไม่ใช่คำสอนหลักของพระพุทธเจ้า แต่เป็นหลักคำสอนของครูบาอาจารย์ต่างๆ เช่นนักพรต ดาบส ฤาษี ชีไพร ตั้งแต่ก่อนพุทธกาล ซึ่งวิชาเหล่านั้นพระพุทธเจ้าทรงศึกษามาจนจบหลักสูตรแล้วจากสองอาจารย์คือ ท่านอาฬารดาบส และ ท่านอุทกดาบส
สมถกรรมฐานนั้นพาพระองค์ไปได้สูงสุดแค่อรูปฌาน แต่ยังไม่ถึงทางหลุดพ้น
..
พระองค์จึงทรงหาทางหลุดพ้นด้วยตัวเองโดยยึดหลัก มัชฌิมาปฏิปทา ด้วยการเจริญวิปัสสนากรรมฐานซึ่งจะนำไปสู่การหลุดพ้นแห่งการเวียนว่ายตายเกิดได้
อีกสาเหตุคือ สมถกรรมฐานนั้นต้องอาศัยการปลีกตัวออกจากสังคม หมู่คณะ และไปอยู่ลำพังในสถานที่วิเวกอันสงบเงียบเท่านั้น ผู้ที่ยังมีภารกิจ ยังมีงาน มีครอบครัว จึงมีสภาวะจิตที่ไม่พร้อมสำหรับการเจริญฌาน
..
เหล่านั้น
การเจริญวิปัสสนากรรมฐานจึงเหมาะสำหรับคนที่มีสถานภาพอย่างพวกเรา เพราะวิปัสสนากรรมฐานไม่ได้มุ่งเน้นให้ใจนิ่ง แต่ฝึกการระลึกและการกระทำความรู้สึกให้แคล่วคล่องว่องไว เพื่อใช้ตามดูใจ ให้รู้เท่าทันความจริง จนสามารถนิ่งเฉยต่อสิ่งกระทบได้
..
ความนิ่งจากการรับรู้เท่าทันแตกต่างจากความนิ่งจากสมาธิ ความนิ่งจากสมาธิคือนิ่งเพราะใจไม่ยอมรับรู้โลกภายนอก จึงแสดงออกถึงความนิ่งเฉย แต่การนิ่งจากการวิปัสสนานั้นเกิดขึ้นได้ทั้งๆที่ใจยังคงรับรู้สิ่งต่างๆตามปกติเหมือนคนทั่วไป แต่เพราะสามารถรับรู้อย่างเท่าทัน ความตื่นเต้นไปตามความรู้สึกต่างๆหมดไป เกิดเป็นความนิ่งเฉยขึ้นมาแทน อุปมาเหมือนการดูหนังดูละคร หากเป็นเรื่องที่เคยดูมาแล้ว เราย่อมทราบดีว่าเรื่องราวจะเป็นอย่างไรและจะจบลงอย่างไร จึงไม่รู้สึกตื่นเต้นเร้าใจไปตามสิ่งที่เห็นอีก
..
ดังนั้น
..
การฝึกใจ
..
กับการฝึกดูใจนั้นแตกต่างกัน
..
ฝึกใจคือ ฝึกให้ใจรับรู้ ให้ใจรู้สึก เฉพาะเรื่องที่เราอยากให้รู้ เพื่อให้เกิดความนิ่ง ความตั้งมั่น เป็นสมาธิ ส่วนการฝึกดูใจคือ การฝึกสังเกต ตามดู ตามรู้ใจที่ทำหน้าที่รับรู้และทำหน้าที่รู้สึกให้ทัน ซึ่งการฝึกสังเกตใจนั้น ฝึกใหม่ๆอาจจะพบว่าใจของเราพล่าน นั่นเป็นเพราะเราไปบังคับใจ ไม่ปล่อยให้ใจรับรู้โดยอิสระ ใจจึงมีปฎิกิริยาโต้ตอบโดยการพล่าน การกระสับกระส่าย
..
ผู้ที่เริ่มฝึกใหม่ๆอาจจะสับสน ระหว่างฝึกใจกับฝึกดูใจ เช่นการฝึกดูลมหายใจเข้าออก ก็บังคับให้ใจกลับมาดูเฉพาะลมหายใจเข้าออกเท่านั้น เมื่อใจหลุดไปคิดเรื่องอื่น ก็บังคับให้ใจกลับมาดูที่ลมหายใจอีก โดยไม่ยอมให้ใจไปรับรู้เรื่องอื่นเลย หากฝึกวิธีนี้ ไปได้สักครึ่งชั่วโมงใจเราจะเริ่มเหนื่อย พล่าน ดิ้นรน จากการถูกบังคับ เนื่องจากไปฝืนธรรมชาติของใจนั่นเอง
..
แต่หากเราตามดูลมหายใจเข้าออกแบบไม่บังคับ ใจจะคิดอะไรก็ปล่อยให้ใจคิดไป หน้าที่ของเราก็คือตามดู ตามสังเกตใจไปเรื่อยๆเท่านั้น เราจะเห็นว่าใจนั้นบังคับไม่ได้ เพราะมีธรรมชาติต้องรับรู้เรื่องใหม่ตลอดเวลา เราก็จะสามารถฝึกไปได้อย่างสบายๆ โดยที่ใจไม่พล่าน
..
ขอบคุณหนังสือ รู้จักใจคือกำไรชีวิต
:
พระอาจารย์มานพ อุปสโม
ฐิติขวัญ เหลี่ยมวัฒนา
:
เรียบเรียง
ขอบคุณสำนักพิมพ์อมรินทร์ ที่พิมพ์แจกเป็นธรรมทาน
ขอบคุณสหายในธรรมที่เป็นธุระจัดส่งหนังสือเล่มนี้มาให้
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=86151
..
การฝึกใจให้สงบ ตั้งมั่นในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง ด้วยการบังคับใจให้รับรู้เพียงอารมณ์เดียว ไม่รับรู้อย่างอื่นนั้น เรียกว่า สมถกรรมฐาน เป็นอีกแนวทางหนึ่งของการปฎิบัติกรรมฐานซึ่งมีจุดมุ่งหมายคือฌานสมาบัติและอภิญญาจิต หรือสมาธิขั้นแน่วแน่ และความสามารถพิเศษของจิตในการรับรู้ เช่น การมีหูทิพย์ ตาทิพย์ การอ่านใจคนอื่น หรือการมีอิทธิฤทธิ์เป็นต้น ซึ่งความสามารถเหล่านี้ แม้จะฟังดูพิเศษ แต่พระพุทธเจ้าก็ไม่ได้ทรงให้ความสำคัญหรือให้ความสนใจ เพราะเป็นความสามารถที่ไม่อาจพาใจให้เข้าถึงความหลุดพ้นจากกิเลสและการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏได้
..
สมถกรรมฐานจึงไม่ใช่คำสอนหลักของพระพุทธเจ้า แต่เป็นหลักคำสอนของครูบาอาจารย์ต่างๆ เช่นนักพรต ดาบส ฤาษี ชีไพร ตั้งแต่ก่อนพุทธกาล ซึ่งวิชาเหล่านั้นพระพุทธเจ้าทรงศึกษามาจนจบหลักสูตรแล้วจากสองอาจารย์คือ ท่านอาฬารดาบส และ ท่านอุทกดาบส
สมถกรรมฐานนั้นพาพระองค์ไปได้สูงสุดแค่อรูปฌาน แต่ยังไม่ถึงทางหลุดพ้น
..
พระองค์จึงทรงหาทางหลุดพ้นด้วยตัวเองโดยยึดหลัก มัชฌิมาปฏิปทา ด้วยการเจริญวิปัสสนากรรมฐานซึ่งจะนำไปสู่การหลุดพ้นแห่งการเวียนว่ายตายเกิดได้
อีกสาเหตุคือ สมถกรรมฐานนั้นต้องอาศัยการปลีกตัวออกจากสังคม หมู่คณะ และไปอยู่ลำพังในสถานที่วิเวกอันสงบเงียบเท่านั้น ผู้ที่ยังมีภารกิจ ยังมีงาน มีครอบครัว จึงมีสภาวะจิตที่ไม่พร้อมสำหรับการเจริญฌาน
..
เหล่านั้น
การเจริญวิปัสสนากรรมฐานจึงเหมาะสำหรับคนที่มีสถานภาพอย่างพวกเรา เพราะวิปัสสนากรรมฐานไม่ได้มุ่งเน้นให้ใจนิ่ง แต่ฝึกการระลึกและการกระทำความรู้สึกให้แคล่วคล่องว่องไว เพื่อใช้ตามดูใจ ให้รู้เท่าทันความจริง จนสามารถนิ่งเฉยต่อสิ่งกระทบได้
..
ความนิ่งจากการรับรู้เท่าทันแตกต่างจากความนิ่งจากสมาธิ ความนิ่งจากสมาธิคือนิ่งเพราะใจไม่ยอมรับรู้โลกภายนอก จึงแสดงออกถึงความนิ่งเฉย แต่การนิ่งจากการวิปัสสนานั้นเกิดขึ้นได้ทั้งๆที่ใจยังคงรับรู้สิ่งต่างๆตามปกติเหมือนคนทั่วไป แต่เพราะสามารถรับรู้อย่างเท่าทัน ความตื่นเต้นไปตามความรู้สึกต่างๆหมดไป เกิดเป็นความนิ่งเฉยขึ้นมาแทน อุปมาเหมือนการดูหนังดูละคร หากเป็นเรื่องที่เคยดูมาแล้ว เราย่อมทราบดีว่าเรื่องราวจะเป็นอย่างไรและจะจบลงอย่างไร จึงไม่รู้สึกตื่นเต้นเร้าใจไปตามสิ่งที่เห็นอีก
..
ดังนั้น
..
การฝึกใจ
..
กับการฝึกดูใจนั้นแตกต่างกัน
..
ฝึกใจคือ ฝึกให้ใจรับรู้ ให้ใจรู้สึก เฉพาะเรื่องที่เราอยากให้รู้ เพื่อให้เกิดความนิ่ง ความตั้งมั่น เป็นสมาธิ ส่วนการฝึกดูใจคือ การฝึกสังเกต ตามดู ตามรู้ใจที่ทำหน้าที่รับรู้และทำหน้าที่รู้สึกให้ทัน ซึ่งการฝึกสังเกตใจนั้น ฝึกใหม่ๆอาจจะพบว่าใจของเราพล่าน นั่นเป็นเพราะเราไปบังคับใจ ไม่ปล่อยให้ใจรับรู้โดยอิสระ ใจจึงมีปฎิกิริยาโต้ตอบโดยการพล่าน การกระสับกระส่าย
..
ผู้ที่เริ่มฝึกใหม่ๆอาจจะสับสน ระหว่างฝึกใจกับฝึกดูใจ เช่นการฝึกดูลมหายใจเข้าออก ก็บังคับให้ใจกลับมาดูเฉพาะลมหายใจเข้าออกเท่านั้น เมื่อใจหลุดไปคิดเรื่องอื่น ก็บังคับให้ใจกลับมาดูที่ลมหายใจอีก โดยไม่ยอมให้ใจไปรับรู้เรื่องอื่นเลย หากฝึกวิธีนี้ ไปได้สักครึ่งชั่วโมงใจเราจะเริ่มเหนื่อย พล่าน ดิ้นรน จากการถูกบังคับ เนื่องจากไปฝืนธรรมชาติของใจนั่นเอง
..
แต่หากเราตามดูลมหายใจเข้าออกแบบไม่บังคับ ใจจะคิดอะไรก็ปล่อยให้ใจคิดไป หน้าที่ของเราก็คือตามดู ตามสังเกตใจไปเรื่อยๆเท่านั้น เราจะเห็นว่าใจนั้นบังคับไม่ได้ เพราะมีธรรมชาติต้องรับรู้เรื่องใหม่ตลอดเวลา เราก็จะสามารถฝึกไปได้อย่างสบายๆ โดยที่ใจไม่พล่าน
..
ขอบคุณหนังสือ รู้จักใจคือกำไรชีวิต
:
พระอาจารย์มานพ อุปสโม
ฐิติขวัญ เหลี่ยมวัฒนา
:
เรียบเรียง
ขอบคุณสำนักพิมพ์อมรินทร์ ที่พิมพ์แจกเป็นธรรมทาน
ขอบคุณสหายในธรรมที่เป็นธุระจัดส่งหนังสือเล่มนี้มาให้
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=86151