PDA

แสดงเวอร์ชันเต็ม : เหตุแห่งการเกิด - ดับของสภาวะจิต



*8q*
03-28-2009, 09:17 PM
http://www.agalico.com/board/attachment.php?attachmentid=7827&stc=1&d=1207533979


จิต " คืออะไร (จิต - เจตสิก - ตัณหา - อนุสัย)



ก่อนที่เราจะฝึกจิตเราก็ควรรู้ไว้ก่อนว่าจิตนั้นหมายถึงอะไร ซึ่งสามารถอธิบายความหมายของจิตได้สองระดับคือ จิตที่มีเหตุปัจจัยปรุงประกอบ และ จิตที่ไม่มีเหตุปัจจัยปรุงประกอบ
จิตที่มีเหตุปัจจัยปรุงประกอบ

คือจิตที่มีการ เกิด-ดับ จะกล่าวว่าคือจิตที่เนื่องด้วยขันธ์ก็ได้ เพราะมันอาศัย "ขันธ์ห้า" เป็นเหตุให้เกิดตาม "อายตนะ"

ขันธ์ห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
อายตนะ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย สมอง ใจ
อายตนะทั้งหมดนี้ถือเป็นรูปอย่างหนึ่ง

ปัจจัยที่ทำให้จิตเกิด คือ แสง เสียง กลิ่น รส สัมผัส ความคิด อารมณ์ ความนึก ก็ถือเป็นรูปอย่างหนึ่ง

เมื่อเหตุปัจจัยมากระทบกัน คือ ตาเห็นแสง หูได้ยินเสียง จมูกได้รับกลิ่น ลิ้นได้รับรส กายรับสัมผัส สมองรับความคิด ใจรับรู้อารมณ์และความนึก การกระทบกันของเหตุปัจจัยเช่นนี้เรียกว่า เกิด "ผัสสะ" และทำให้เกิดจิตขึ้น จิตที่เกิดขึ้นในลักษณะนี้ก็ถือว่าเกิดรูปขึ้นมาเช่นกัน

รูป ในที่นี้คือ เมื่อเกิดที่ตา ก็เกิดความหมายว่า สวย ไม่สวย , เกิดที่หู ก็เกิดความหมายว่า เพราะ ไม่เพราะ , เกิดที่จมูก ก็เกิดความหมายว่า หอม เหม็น , เกิดที่ลิ้น ก็เกิดความหมายว่า อร่อย ไม่อร่อย , เกิดที่กาย ก็เกิดความหมายว่า เย็น ร้อน อ่อน แข็ง , เกิดที่สมอง ก็เกิดความหมายว่า ความคิดเรื่องอดีต , เกิดที่ใจ ก็เกิดความหมายว่า ชอบ ไม่ชอบ และ ความนึกเรื่องอนาคต
เวทนา คือ ความรู้สึก ทุกข์ สุข เฉย อันเป็นผลจากการที่เหตุปัจจัยกระทบกันแล้ว
สัญญา คือ ความจำได้ ระลึกได้ รู้ความหมายของจิตที่เกิดขึ้น
สังขาร คือ ความคิดปรุงแต่ง หรือเจตนา ที่มีต่อจิตที่เกิดขึ้น เป็นความคิดที่เป็นกุศล อกุศล หรือ เป็นกลาง
วิญญาณ คือ ความรู้อารมณ์ หรือ รู้อาการที่จิตเกิดขึ้นตามอายตนะต่างๆ
หากจะกล่าวแบ่งให้ชัดขึ้นถึงสิ่งที่เป็นจิต และไม่ใช่จิต จะแบ่งได้ดังนี้ คือ ความรู้อารมณ์ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ คือการกระทบกันของรูปเหตุ-รูปปัจจัย สิ่งเหล่านี้เป็นจิต

ส่วนสิ่งที่ไม่ใช่จิต คือ เวทนา สัญญา สังขาร และ รูปที่เป็นเหตุกับปัจจัย สำหรับ เวทนา สัญญา สังขาร นั้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเพราะมีจิตเป็นเหตุ เป็นสิ่งที่เกิดพร้อมกับจิต หมุนเวียนไปตามจิต คอยประกอบจิต เรียกว่า เจตสิก

ดังนั้นเมื่อกล่าวอย่างสรุปและให้ง่ายแก่การเข้าใจ จิตในความหมายของจิตที่มีเหตุปัจจัยปรุงประกอบคือ ความนึกคิด ความรู้สึก และอารมณ์นั่นเอง


จิตที่ไม่มีเหตุปัจจัยปรุงประกอบ

เป็นสภาวะจิตที่ไม่มีการเกิด-ดับ และไม่สามารถกล่าวได้ว่ามีจิตเกิดขึ้น เป็นภาวะที่จิตหลุดพ้นจากขันธ์ห้า ผู้ที่จะเข้าใจจิตที่ไม่มีเหตุปัจจัยปรุงประกอบนี้ต้องเข้าถึงสภาวะวิมุตติ (นิพพาน* - ผู้เรียบเรียง)



-------------------------------------------------





นิพพาน* เป็นธรรมชาติที่พ้นจากเครื่องร้อยรัด คือ ตัณหา - พระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๖ (รูปสังคหวิภาค)
นิพพาน = นิ + วาน คำว่า "นิ" แปลว่า พ้นจาก
คำว่า "วาน" แปลว่า เครื่องร้อยรัด (ตัณหา) - ผู้เรียบเรียง
จิต - เจตสิก - ตัณหา - อนุสัย




http://www.agalico.com/board/attachment.php?attachmentid=7830&stc=1&d=1207534911


จิต คือสิ่งที่เกิดขึ้น จากเหตุปัจจัยปรุงประกอบกัน (จิตที่เนื่องด้วยเหตุปัจจัยปรุงประกอบ) เหตุก็คือ อายตนะ ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย สมอง ใจ ส่วนปัจจัยที่เข้ามาประกอบกับอายตนะ ก็คือ แสง เสียง กลิ่น รส สัมผัส อารมณ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีอยู่ประจำบนโลกนี้ตลอดเวลา เป็นสิ่งที่มีมานานแสนนาน แม้ตัวเราจะไม่เกิดขึ้น สิ่งเหล่านี้ก็ยังมีอยู่คู่โลกอยู่

เมื่อเซลล์ประสาทตา หู จมูก ลิ้น กาย สมอง ใจ ยังทำงานได้ดีอยู่ไม่เสียหายชำรุดเป็นอัมพาตไป มันก็สามารถจะรับการกระทบจาก แสง เสียง กลิ่น รส สัมผัส ความคิด อารมณ์ได้ เมื่อเกิดการกระทบกันของเหตุปัจจัยขึ้น คือ ตาเห็นแสง หูได้ยินเสียง จมูกดมกลิ่น ลิ้นรู้รส กายรับสัมผัส สมองรับความคิด ใจรู้อารมณ์ การกระทบกันเช่นนี้เรียกว่าเกิด ผัสสะ พลังงานที่เกิดขึ้นจากการกระทบผัสสะ ก็คือ จิต


ตามธรรมชาติของจิต เมื่อมันเกิดขึ้นแล้ว พลังงานที่เกิดขึ้นจะคงตัวอยู่ระยะเวลาหนึ่งแล้วสลายไปทันทีเหมือนประกายไฟที่เกิดจากการเสียดสีกันของวัตถุสองชิ้น ที่เกิดประกายไฟขึ้นแล้วก็ดับหายไปทันที แต่เพราะจิตเรานั้นมีองค์ประกอบและสิ่งที่เกี่ยวข้องมากกว่านั้น เมื่อเกิดจิตขึ้น เนื่องด้วยความไม่รู้เท่าทันของจิต และ จะมีแรงที่คอยดึงจิตไว้และเข้าล้อมจิตไว้เป็นทรงกลม เมื่อเกิดผัสสะขึ้นมาก็เกิดดวงกลมขึ้นเรื่อยไป ดวงกลมเหล่านี้เรียกว่า เจตสิก สิ่งที่คอยดึงจิตที่เกิดขึ้นเอาไว้ไม่ให้สลายไป คือ อนุสัย ซึ่งก็เป็นกลุ่มของเจตสิกที่เกิดก่อนหน้ามาก่อนแล้ว อนุสัยนี้จะกระทำต่อจิตที่เกิดขึ้นใหม่สองประการ คือ


ส่งแรงเข้าไปล้อมจิตให้เกิดเป็นเจตสิกดวงใหม่ แรงที่ส่งเข้าไปนี้เรียกว่า "ตัณหา" แรงตัณหานี้จะร้อยรัดดวงเจตสิกเป็นสาย และดึงเจตสิกเข้าไปรวมตัวกันยังจุดฐานต่างๆ ในร่างกาย
จะเข้าไปปรุงประกอบจิต ให้เกิดเป็นความนึกความคิด ความรู้สึก อารมณ์ ความจำได้หมายรู้ขึ้นมา จากกระบวนการที่เกิดขึ้น อนุสัยเก่าจะส่งผลให้เกิดอนุสัยใหม่ อนุสัยใหม่ที่สะสมรวมตัวกันก็กลายเป็นอนุสัยเก่า อนุสัยเก่าก็ดึงดูดให้เกิดอนุสัยใหม่อีก เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นทุกขณะวินาที วนเวียนซ้ำๆ อย่างนี้เรื่อยไป
ความนึกคิด ความรู้สึก อารมณ์ สัญญา กล่าวโดยรวมก็คือ "เจตสิก"

ความนึกคิด ความรู้สึก อารมณ์ สัญญา กล่าวได้อีกอย่างก็คือ สิ่งที่เราเรียกว่า " ขันธ์ "


ดังนั้น เจตสิก หรือ ขันธ์ ก็คือกลุ่มของสิ่งที่จะคอยดึงจิตไว้ไม่ให้สลายตัวไปตามธรรมชาติเมื่อเกิดการกระทบผัสสะขึ้น และเป็นสิ่งที่คอยบังจิตไม่ให้มีสติรู้เท่าทันการกระทบของผัสสะ

อันเจตสิกนั้นจะเรียกว่าเป็น " กิเลส " ก็ได้ พลังงานกิเลสที่เข้ามาสะสมตัวรวมกันก็เรียกว่า"อนุสัย" อนุสัยที่เข้ามาสะสมรวมตัวกันตามจุดต่างๆของร่างกาย เมื่อสะสมหมักดองนานเข้า จะกลายเป็นสิ่งที่เรียกว่า "อาสวะ" โดยอาสวะนี้จะอยู่ในรูปของเสียของร่างกายเช่น เสลด สารพิษที่ตกค้าง สารเสพติด เป็นต้น




http://www.agalico.com/board/attachment.php?attachmentid=7831&stc=1&d=1207535101



จิตที่ไม่รู้เท่าทันการกระทบผัสสะ ก็จะไม่เห็นการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ สลายไปของจิต ก็จะไม่ทันปล่อยให้จิตที่เกิดขึ้นสลายไปตามธรรมชาติ อนุสัยที่มีอยู่ก็ส่งแรงมาดึงจิตไว้ ปรุงประกอบจิตให้เกิดเป็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นขันธ์ 5 ขึ้นมา จิตที่รู้ไม่เท่าทันก็จะมายึดเกาะเอา รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณขึ้นมาอีก ว่าเป็นของจริง มีจริง อาการเช่นนี้เรียกว่า เกิด "อุปาทาน" ขึ้น

ภาวะที่เกิดอุปาทานขึ้นมาแล้วนี้ ก็คือ ภาวะของจิตที่เกิดเป็นความนิ่งกับขันธ์ 5 เห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นภาวะที่นิ่ง จะทำให้เรารู้ว่ามีตัวของเราอยู่ รู้ว่าเรานึก เราคิด เรารู้สึก รู้ว่าเรามีอารมณ์ ยิ่งเกิดอุปาทานยึดถือเอามากเท่าไร ก็เกิดความนึกคิด ความรู้สึก และอารมณ์มากขึ้นเท่านั้น เมื่อเราไปนิ่งกับขันธ์ เห็นขันธ์เป็นสิ่งที่นิ่ง สิ่งที่จะเกิดขึ้นกับเรา ก็คือ ความทุกข์.



http://board.agalico.com/showthread.php?t=18876