PDA

แสดงเวอร์ชันเต็ม : ภูมิของจิต



Butsaya
03-29-2009, 03:06 PM
http://www.watkoh.com/board/richedit/smileys/YahooIM/37.gif
อิอิ... หลังจากหายไปนาน .... เลยได้ไปอ่านหนังสือ เลยมีคำถาม
อยากทราบว่า ภูมิของจิตขึ้นอยู่กับอะไร อะค่ะ ไปค้นหาอ่าน แล้วก็ต้อง งง เพราะว่ามีแยะมาก
แต่ก็ยังไม่ค่อยเข้าใจ แต่ก็อยากทำความเข้าใจอะค่ะ เลยต้องมาขอความช่วยเหลือหน่อยอะค่ะ

*8q*
03-29-2009, 04:57 PM
จิตคืออะไร


จิต คือธรรมชาติที่รู้อารมณ์ หรือธรรมชาติที่ทำหน้าที่ เห็น ได้ยิน รู้กลิ่น รู้รส รู้สึกต่อการสัมผัสถูกต้องทางกาย และรู้สึกนึกคิดทางใจ จิตนี้ไม่ว่าจะเกิดแก ่สัตว์เดรัจฉาน มนุษย์ เทวดา หรือพรหมก็ตาม ย่อมมีการรู้อารมณ์เป็นลักษณะ เหมือนกันทั้งสิ้น จิต เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่งที่มองไม่เห็น สัมผัสด้วยกายไม่ได้ ไม่มีรูปร่างสัณฐาน สีสัน วรรณะใด ๆ แต่เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่งที่มีอยู่จริงๆ เป็นปรากฏการณ์ของธรรมชาติฝ่ายนามธรรม ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับ ไปอย่างรวดเร็ว โดยอาศัยเหตุอาศัยปัจจัยต่าง ๆ ทำให้เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปตามกฎของธรรมชาติ อำนาจของจิตมีอยู่มากมาย เช่น มีอำนาจในการกระทำ การพูด การคิด การสั่งสมกรรมดี กรรมชั่ว นอกจากนี้ยังมีอำนาจในการสร้างฤทธิ์ ทำสมาธิ ทำฌาน ทำอภิญญา และอื่น ๆ ให้เกิดขึ้นได้อย่างมหัศจรรย์ จิต จะเกิดดับอย่างรวดเร็วมาก ชั่วเวลาลัดนิ้วมือเดียว จิตจะมีการเกิดดับถึงแสนโกฏิขณะ คือ ๑,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ ครั้ง (หนึ่งล้านล้านครั้ง) จึงเป็นการยากที่บุคคลจะรู้เท่าทันได้

สถานที่เกิดของจิต มีอยู่ด้วยกัน ๖ แห่ง คือ
. ที่ตา เพื่อทำหน้าที่เห็นรูปที่ปรากฏทางตา จิตนี้มีชื่อว่า จักขุวิญญาณ (จักขุ = ตา) . ที่หู เพื่อทำหน้าที่ได้ยินเสียงที่ปรากฏทางหู "โสตวิญญาณ (โสต = หู) . ที่จมูก เพื่อทำหน้าที่รู้กลิ่น ที่ปรากฏทางจมูก "ฆานวิญญาน (ฆาน = จมูก) . ที่ลิ้น เพื่อทำหน้าที่รู้รส ที่ปรากฏทางลิ้น "ชิวหาวิญญาณ (ชิวหา = ลิ้น). ที่กาย เพื่อทำหน้าที่รับความรู้สึกต่อการสัมผัสถูกต้องทางกาย "กายวิญญาณ . ที่ใจ เพื่อทำหน้าที่ รู้สึก นึก คิด ทางใจ "มโนวิญญาณ (มโน = ใจ) ดังนั้น จิต หรือ วิญญาณ จึงหมายถึงสิ่งเดียวกัน นอกจากนี้ จิต ยังมีชื่อเรียกอีกหลายชื่อ เช่น หทัย, ปัญฑระ, มโน, มนัส, มนินทรีย์, มโนธาตุ, มโนวิญญาณธาตุ, วิญญาณขันธ์, มนายตนะ เป็นต้น จึงขอให้เข้าใจว่า แม้จะเรียกชื่ออย่างไรก็ตาม ชื่อเหล่านั้นก็คือ จิต นั่นเอง

*8q*
03-29-2009, 04:59 PM
ที่เกิดของจิต


เปลวเทียน ต้องอาศัยไส้เทียนในการลุกไหม้ฉันใด จิตจะเกิดขึ้นได้ ก็ต้องมีที่ตั้งให้อาศัยเกิดฉันนั้น

ที่ตั้งให้อาศัยเกิดของจิตมี ๖ แห่ง ได้แก่
๑.ประสาทตา ๒.ประสาทหู ๓.ประสาทจมูก ๔.ประสาทลิ้น ๕.ประสาทกาย ๖.หทยวัตถุรูป

ประสาทตา (จักขุปสาท) เป็นที่ตั้งของจิตเห็น (จักขุวิญญาณ) ประสาทตานี้ มิได้หมายถึง ดวงตาหรือลูกตาทั้งลูก แต่หมายเฉพาะประสาทตาหรือแก้วตาที่อยู่กลางตาดำ โตประมาณเท่ากับศีรษะของเหา เป็นเยื่อบางดุจปุยนุ่น ที่ชุ่มด้วยน้ำมันซ้อนกันอยู่ ๗ ชั้น มีความสามารถในการรับคลื่นแสง (รูปารมณ์) ที่มากระทบ ปสาทหู (โสตปสาท) เป็นที่ตั้งของจิตได้ยิน (โสตวิญญาณ) อยู่ภายในช่องหู มีลักษณะเป็นวงกลมคล้ายวงแหวน และขนมีอันละเอียดอ่อนสีแดงปรากฏอยู่โดยรอบ มีความสามารถในการรับเสียง (สัททารมณ์) ที่มากระทบประสาทจมูก (ฆานปสาท) เป็นที่ตั้งของจิตดมกลิ่น (ฆานวิญญาณ) อยู่ภายในช่องจมูก มีลักษณะคล้ายกีบเท้าแพะ มีความสามารถในการรับกลิ่น (คันธารมณ์) ที่มากระทบประสาทลิ้น (ชิวหาปสาท) เป็นที่ตั้งหรือที่อาศัยเกิดของจิตลิ้มรส (ชิวหาวิญญาณ) อยู่ตรงกลางลิ้น มีลักษณะเหมือนปลายกลีบดอกบัวเรียงรายซ้อนกันเป็นชั้น ๆ มีความสามารถในการรับรส (รสารมณ์) ที่มากระทบประสาทกาย (กายปสาท) เป็นที่ตั้งของจิตที่รับสัมผัสทางกาย (กายวิญญาณ) ประสาทกายนี้จะเกิดอยู่ทั่วร่างกาย ยกเว้นที่เส้นผม ขน เล็บ ฟัน กระดูก และบริเวณที่มีหนังหนาด้าน มีลักษณะคล้ายสำลีที่แผ่บาง ๆ ชุบน้ำมันจนชุ่มซ้อนกันหลาย ๆ ชั้น มีความสามารถในการนรับความรู้สึกเย็นร้อน อ่อนแข็ง หย่อนตึง (โผฏฐัพพารมณ์) ที่มากระทบหทยวัตถุรูป เป็นที่ตั้งหรือที่อาศัยเกิดของมโนวิญญาณ อันได้แก่ จิตที่ไม่ได้อาศัยปสาทรูปทั้ง ๕ ข้างต้น เป็นที่เกิดอยู่ภายในช่องเนื้อหัวใจ ซึ่งมีลักษณะเหมือนบ่อ มีโลหิตอันเป็นน้ำหล่อเลี้ยงหัวใจบรรจุอยู่ประมาณ ๑ ซองมือ มีสัณฐานโตประมาณเท่าเมล็ดในดอกบุนนาค เป็นรูปอันเป็นที่อาศัยเกิดของมโนวิญญาณ ปสาทรูปทั้ง ๕ อันได้แก่ จักขุปสาทรูป, โสตปสาทรูป, ฆานปสาทรูป, ชิวหาปสาทรูป, กายปสาทรูป นอกจากจะเป็นที่อาศัยเกิดของจิตแล้ว ยังทำหน้าที่เป็นประตู (ทวาร) สำหรับรับอารมณ์ที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น และกาย อีกด้วย ดังนั้น จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า จักขุทวาร, โสตทวาร, ฆานทวาร, ชิวหาทวาร และกายทวาร ส่วนหทยวัตถุรูป ซึ่งเป็นที่อาศัยเกิดของ มโนวิญญาณ นั้น ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นมโนทวารด้วย เพราะองค์ธรรมของมโนทวาร คือ ภวังคจิต ไม่ใช่หทยวัตถุรูป

http://www.buddhism-online.org/ContentSect02A.htm



ขาดตกยังไงเชิญจารย์เดฟอธิบายต่อครับ

D E V
03-29-2009, 09:25 PM
ซ๊าๆๆๆทุ๊
อนุโมทนาคับ คุณแปดคิว

จิต คืออะไร ก็ตามที่คุณแปดคิวแสดงไว้อ่ะนะคับ


*************************************


สำหรับภูมิของจิต
หมายถึง ระดับชั้นของจิต จำแนกไว้ 4 ระดับ
ตามอารมณ์ของจิตและภพภูมิที่เกิด ได้แก่

1. กามาวจรจิต
คือจิตที่รับรู้อารมณ์อันข้องเกี่ยวอยู่ในกามคุณทั้งหลาย
เป็นจิตที่เกิดขึ้นท่องไปในกามภูมิ
จิตที่จัดอยู่ในระดับกามาวจรจิตนี้ มี 54 ดวง ได้แก่
อกุศลจิต 12 ดวง
อเหตุกจิต 18 ดวง
กามาวจรโสภณจิต 24 ดวง (แบ่งเป็น มหากุศลจิต 8 ดวง มหาวิปากจิต 8 ดวง และ มหากิริยาจิต 8 ดวง)

2. รูปาวจรจิต คือจิตที่สงบระงับจากกิเลสโดยมีรูปเป็นอารมณ์ ถึงซึ่งรูปฌาน
จิตที่จัดอยู่ในระดับรูปาวจรจิต มี 15 ดวง ได้แก่
รูปาวจรกุศลจิต 5 ดวง
รูปาวจรวิปากจิต 5 ดวง
รูปาวจรกิริยาจิต 5 ดวง

3. อรูปาวจรจิต คือจิตที่สงบระงับจากกิเลสโดยไม่มีรูปเป็นอารมณ์
แต่มีนามอันละเอียดกว่ารูปเป็นอารมณ์ ถึงซึ่งอรูปฌาน
จิตที่จัดอยู่ในระดับอรูปาวจรจิต มี 12 ดวง ได้แก่
อรูปาวจรกุศลจิต 4 ดวง
อรูปาวจรวิปากจิต 4 ดวง
อรูปาวจรกิริยาจิต 4 ดวง

4. โลกุตตรจิต ได้แก่จิตที่พ้นจากโลกียะ เป็นจิตของพระอริยบุคคล มี 8 ดวง ได้แก่
มัคคจิต 4 ดวง
ผลจิต 4 ดวง
ซึ่งถ้าจำแนกละเอียด
หากจิตทั้ง 8 ดวงนั้นประกอบด้วยฌาน
ก็จะเป็น มัคคจิต 20 ดวง ผลจิต 20 ดวง รวมเป็น 40 ดวง

จิตทั้งหมดที่จำแนกโดยภูมิจึงมีทั้งหมด 89 หรือ 121 ดวง




http://www.watkoh.com/board/Smileys/default/cool.gif เดฟ


แก้ไขตัวสะกดผิด

D E V
03-29-2009, 09:27 PM
ยากมั้ยคับ
ถ้ายาก...เอาแค่นี้พอคับ

ภูมิ
1. พื้นเพ, พื้น, ชั้น, ที่ดิน, แผ่นดิน
2. ชั้นของจิต, ระดับจิตใจ, ระดับชีวิต มี ๔ คือ
๑. กามาวจรภูมิ ชั้นที่ยังท่องเที่ยวอยู่ในกาม
๒. รูปาวจรภูมิ ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในรูป หรือชั้นของพวกที่ได้รูปฌาน
๓. อรูปาวจรภูมิ ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในอรูป หรือชั้นของพวกที่ได้อรูปฌาน
๔. โลกุตตรภูมิ ชั้นที่พ้นโลก หรือระดับพระอริยบุคคล

จาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)




http://www.watkoh.com/board/Smileys/default/cool.gif เดฟ

D E V
03-29-2009, 10:37 PM
เรื่องภูมิของจิตเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่ะคับ
การจะเข้าใจในรายละเอียดต่างๆ นั้น
ต้องทำความเข้าใจไปทีละประเภท
ซึ่งต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจ
หากไม่มีพื้นฐานเรื่อง จิตปรมัตถ์ มาก่อน
ก็ย่อมจะงงเป็นธรรมดาน่ะคับ

แต่เชื่อว่าหนังสือที่คุณบุษอ่าน
น่าจะมีคำอธิบายต่างๆ ไว้แล้ว...ลองอ่านดูอีกทีนะคับ
ค่อยๆ พิจารณาไปทีละประเด็นๆ อ่ะคับ
หากยังติดขัดสงสัย ก็ลองสรุปเป็นประเด็นๆ
แล้วค่อยสนทนากันในประเด็นนั้นอีกทีน่ะคับ




http://www.watkoh.com/board/Smileys/default/cool.gif เดฟ

ปล. เท่าที่ทราบ คุณบุษสนใจศึกษาปฏิบัติเรื่องสติปัฏฐาน
ความเห็นส่วนตัวเดฟอยากแนะนำให้คุณบุษ
ทำความเข้าใจในเรื่อง สติปัฏฐาน รูป นาม ก่อนน่ะคับ
ซึ่งจะเป็นพื้นฐานให้เกิดการประพฤติปฏิบัติได้ถูกต้องในการเจริญสติซึ่งต้องมีรูปนามเป็นอารมณ์

แต่ยังไม่ต้องลงลึกละเอียดถึงการจำแนกจิตโดยภูมิก็ได้คับ
ในขั้นต้นนั้น ส่วนนี้เว้นไว้ก่อนได้
เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนหรือยากลำบากแก่การทำความเข้าใจ

ในขั้นแรก...เอาแค่พื้นฐานที่จะเกื้อกูลแก่การเจริญสติในขณะนี้ก่อน
เช่น หากกล่าวโดยสภาพจิต ก็ให้รู้ว่าขณะใดที่เป็นกุศลจิต
ขณะใดที่เป็นอกุศลจิต เป็นไปด้วยโลภะ โทสะ หรือ โมหะ ฯลฯ เป็นต้น
สิ่งสำคัญคือต้องรู้สภาพจิตที่กำลังเป็นไป...ตามตรง ตามจริง ในขณะนี้ที่กำลังปรากฏน่ะคับ

และถ้าจะให้ดี
ลองทำความเข้าใจที่คุณแปดคิวยกมาแสดงด้วยนะคับ
จะช่วยให้เข้าใจว่า จิต คืออะไร ได้ถูกต้องยิ่งขึ้นอ่ะคับ

สำหรับในเว็บที่คุณแปดคิวให้มา
ก็มีกล่าวเรื่องภูมิของจิตไว้ด้วยอย่างง่ายๆ
พร้อมแผนผังและรายละเอียดอย่างสรุปให้เข้าใจง่าย
หากยังสงสัยก็ลองดูเพิ่มเติมนะคับ

เริ่มดูที่หน้านี้ http://www.buddhism-online.org/Section03A_01.htm
โดยเริ่มคลิกตรง ตอนที่ 3 ชุดที่ 1 ประเภทของจิต
เห็นว่ามีอธิบายไว้แบบสรุปอย่างง่ายๆ ดีแล้ว
และสามารถอ่านต่อเนื่องกันไปได้ตามลำดับ
โดยคลิกขึ้นหน้าถัดไป...ไปเรื่อยๆ ก็จะต่อเนื่องกันไปอ่ะคับ
ลองค่อยๆ ดูไปนะคับ

อนุโมทนาคับ

Butsaya
03-30-2009, 08:30 AM
http://www.watkoh.com/board/richedit/smileys/Word_Positive/2.gif http://www.watkoh.com/board/richedit/smileys/Word_Positive/8.gif
ต้องขอขอบคุณ พี่แปดคิว และพี่เดฟ เป็นอย่างมากเลยนะคะ
พี่อธิบายเป็นขั้นตอนทำให้เข้าใจได้ง่ายอะค่ะ
เพราะจิงแล้วตอนอ่านหนังสือเองคิดว่าจะเข้าใจเองได้ง่าย
แต่กลับรู้สึกว่าอยากกว่า เพราะเวลาที่อ่านก็จะมีศัพท์ทับศัพท์เข้าไปอีก
แล้วก็เอาศัพท์เหล่านั้นไปหาในเวปที่พี่ให้มาเป็น พจนานุกรมพุทธศาสตร์
แล้วยิ่งทำให้สับสน อืมจะเหมือนกับคำนี้เราก็ไม่มีพื้น คำใหม่ก็ไม่มีพื้นอีก
ฉะนั้นพอมาตั้งกระทู้ถาม ก็รู้สึกว่าเข้าใจได้ง่ายกว่าอะค่ะ สำหรับความรู้สึก
บุษยานะค่ะ แต่บางทีพี่ ๆ ก็อาจจะรู้สึกเหนื่อยใจอะค่ะ
ว่าถามอะไรที่มันไม่ได้มาจากระดับพื้นฐานก่อน
อืม.... แต่ถ้าในความคิดของบุษยาเอง ถ้าไม่มีพื้น
แต่ถ้ามีคนมาแนะนำเป็นลำดับขั้น ให้แบบนี้จากไม่รู้เรื่องเลย
ก็จะพอได้อะไรที่สามารถลำดับความเข้าใจได้ แต่แน่นอนถ้าไปอ่าน
เองก็สะเปะสะปะตามเรื่อง แล้วไม่เข้าใจ
ก็จะเกิดความเบื่อหน่ายแล้วก็ไม่อยากที่จะเรียนรู้เลย
เพราะยิ่งอ่านยิ่งอะไรกันนี่..ประมาณนี้
แต่ถ้ามีคนที่จะลำดับให้แบบนี้มันก็ตรงกันข้ามกลับยิ่งรู้สึกสนุกสนานแล้ว
ก็อยากที่จะเรียนรู้มากขึ้นอะค่ะ สิ่งที่พี่ ๆ ทั้ง 2 ตอบมาให้เป็นลำดับแบบนี้อะค่ะ
ทำให้เข้าใจว่าควรจะทำความเข้าใจ เป็นลำดับขั้นตอนอย่างไร อิอิ...

LOTUS
03-30-2009, 05:02 PM
เหตุการณ์ในขณะนี้ที่เป็นที่สงสัยอยู่คือเกิดขึ้นกับคุณแม่ค่ะ จาก คำตอบที่ว่า
จิต คือธรรมชาติที่รู้อารมณ์ หรือธรรมชาติที่ทำหน้าที่ เห็น ได้ยิน รู้กลิ่น รู้รส รู้สึกต่อการสัมผัสถูกต้องทางกาย และรู้สึกนึกคิดทางใจ จิตนี้ไม่ว่าจะเกิดแก ่สัตว์เดรัจฉาน มนุษย์ เทวดา หรือพรหมก็ตาม ย่อมมีการรู้อารมณ์เป็นลักษณะ เหมือนกันทั้งสิ้น จิต เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่งที่มองไม่เห็น สัมผัสด้วยกายไม่ได้ ไม่มีรูปร่างสัณฐาน สีสัน วรรณะใด ๆ แต่เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่งที่มีอยู่จริงๆ เป็นปรากฏการณ์ของธรรมชาติฝ่ายนามธรรม ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับ ไปอย่างรวดเร็ว โดยอาศัยเหตุอาศัยปัจจัยต่าง ๆ ทำให้เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปตามกฎของธรรมชาติ
อำนาจของจิตมีอยู่มากมาย เช่น มีอำนาจในการกระทำ การพูด การคิด การสั่งสมกรรมดี กรรมชั่ว นอกจากนี้ยังมีอำนาจในการสร้างฤทธิ์ ทำสมาธิ ทำฌาน ทำอภิญญา และอื่น ๆ ให้เกิดขึ้นได้อย่างมหัศจรรย์

คุณแม่นอนป่วยอยู่ไม่รับรู้อะไร นอนมากกว่าตื่น ๆ ถ้าตื่นก็ในตาเม่อลอย ขยับร่างกาย
ไม่ได้เนื่องจากอาการทางสมอง พูดคุยด้วยเหมือนไม่รับรู้ แท้จริงแล้วตอนนี้จิตอยู่ที่ไหน
ค่ะ
สาธุ

*8q*
03-30-2009, 07:56 PM
อันนี้เคยถามไว้นานแล้วครับจารย์เดฟก็ตอบไว้ว่า


สรุปอย่างย่นย่อให้พอเข้าใจง่ายๆ ได้ดังนี้นะคับ

ตามปกติคนเรา เวลาที่ตื่นอยู่
จะมีวิถีจิตเกิดขึ้นรับรู้อารมณ์ทางทวารต่างๆ อยู่เสมอ
คือ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจ

แต่เวลาที่หลับสนิท (ไม่ฝัน ไม่รู้สึกตัวใดๆ ทั้งสิ้น)
ขณะนั้นไม่มีจิตเกิดขึ้นรับรู้อารมณ์ทางทวารใดเลย
หากแต่ขณะนั้นเป็น ภวังคจิต ที่เกิดดับสืบต่อกันไปเรื่อยๆ น่ะคับ

ภวังคจิต เป็นจิตที่ทำหน้าที่ดำรงรักษาภพชาตินี้ไว้...ไม่ตาย
ภวังคจิตไม่อาศัยทวารใดเลย จึงไม่รับรู้อารมณ์ของภพชาตินี้เลย
(แต่ก็มีอารมณ์ของจิตนะคับ...เว้นไว้ก่อนไม่ขอกล่าวถึง)
ดังนั้น เวลาที่หลับสนิทจริงๆ เราจึงไม่รู้สึกตัวใดๆ ทั้งสิ้นน่ะคับ

สำหรับคนเมา
ขณะที่เค้าเมาแต่ยังรู้สึกตัวอยู่ แม้จะอ้อแอ้แค่ไหนก็ตาม
ขณะนั้นก็ยังมีจิตที่เกิดขึ้นรับรู้อารมณ์ทางทวารต่างๆ อยู่น่ะคับ
แต่พอเค้าเมามากจนหลับไป ไม่รู้สึกตัวใดๆ
ขณะนั้นก็เป็น ภวังคจิต เช่นเดียวกันกับคนนอนหลับนั่นเองคับ

สำหรับคนที่เป็นเจ้าชายนิทรา
หากขณะนั้นไม่รับรู้ใดๆ ทั้งสิ้น...แต่ยังไม่ตาย
ขณะนั้นก็เป็น ภวังคจิต เช่นเดียวกับคนนอนหลับเช่นกัน
แต่ถ้าเมื่อใดเค้ารู้สึกตัวแม้เพียงนิดเดียว
ไม่ว่าจะกะพริบตาได้ ขยับนิ้วได้
หรือแม้ว่าจะขยับเขยื้อนร่างกายไม่ได้เลย
หากแต่ทางใจเค้าพอจะเกิดความรู้สึกขึ้นมาได้
หรือทางหูเค้าพอจะได้ยินเสียงแผ่วๆ ได้
เช่น มีญาติมาพูดแสดงความเป็นห่วงเป็นใยที่ข้างหู
แล้วเค้าก็เกิดรับรู้เสียงนั้น....น้ำตาไหล
ขณะนั้นก็ไม่ใช่ภวังคจิตคับ
แต่จิตได้ไหวจากภวังคจิตขึ้นสู่วิถีจิตแล้ว
มีการรับรู้อารมณ์ทางโสตทวาร และ มโนทวาร แล้วน่ะคับ

สรุปก็คือ
ขณะใดที่เราทุกคนยังมีชีวิต...ยังไม่ตาย
แต่ขณะนั้นไม่รู้สึกตัวใดๆ เลย
ไม่รับรู้อารมณ์ทางทวารใดเลย
ไม่ว่าจะเป็นการหลับแบบธรรมดา เมาหลับ เจ้าชายนิทรา
หรือ ด้วยเหตุอื่นใดก็ตามที่ทำให้ไม่รู้สึกตัวใดๆ ทั้งสิ้นในขณะนั้น
ทุกคนอยู่ในสภาวะเดียวกันหมด

คือขณะนั้นเป็น ภวังคจิต ที่เกิดดับสืบต่อกันไปเรื่อยๆ
เพื่อดำรงรักษาภพชาตินี้ไว้...ไม่ตาย นั่นเองคับ

แต่หากมีการรู้สึกตัวขึ้นมาแม้เพียงนิดเดียว
แม้จะไม่รู้สึกทางกาย แต่รู้สึกทางใจได้
ขณะนั้นก็เป็นวิถีจิตที่เกิดขึ้นรับรู้อารมณ์แล้วน่ะคับ



http://www.watkoh.com/board/smileys/smiley1.gif เดฟ

D E V
03-31-2009, 08:37 AM
ซ๊าๆๆๆทุ๊
อนุโมทนาคับ คุณแปดคิว
โห๋ สุดยอดจริงๆ อุส่าห์ช่วยค้นคำตอบเก่าๆ ที่เดฟเคยตอบไว้นานแล้วมาให้
ขอบคุณจริงๆ คับ http://www.watkoh.com/board/richedit/smileys/Love/8.gif

งั้นก็ขอเพิ่มเติมเพียงนิดหน่อยละกันนะคับ


*************************************************


สำหรับผู้ที่ยังมีชีวิต
ย่อมยังมีจิตประกอบอยู่ในรูปกายเสมอคับ
และที่เกิดของจิตก็ตามที่คุณแปดคิวได้แสดงไว้แล้ว
คือ ที่จักขุปสาทรูป โสตปสาทรูป ฆานปสาทรูป ชิวหาปสาทรูป กายปสาทรูป และ หทยวัตถุรูป

หากแต่การเกิดขึ้นรับรู้อารมณ์ของจิต
ก็มีความชัดมาก ชัดน้อย ต่างกัน

วิถีจิตที่เกิดขึ้นรับรู้อารมณ์ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ทั้ง 5 ทวารนี้
หากรับรู้อารมณ์ต่างๆ ได้อย่างแจ่มชัด
คือมีการเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้กระทบสัมผัสทางกาย ได้อย่างแจ่มชัด เรียกว่า อติมหันตารมณ์วิถี
เช่น ขณะที่กำลังตั้งใจดู อ่าน ฟัง กิน ดม หยิบจับหรือสัมผัสสิ่งใดก็รู้อาการที่ปรากฏชัดทางกาย ฯลฯ เป็นต้น
จะมีการรับรู้ในสิ่งต่างๆ ที่กำลังปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ได้อย่างชัดเจน

ถ้ารู้อารมณ์ชัดพอประมาณ เรียกว่า มหันตารมณ์วิถี
เช่น บางทีเวลารีบๆ หรือยุ่งๆ ต้องรีบร้อนทำอะไรหลายๆ อย่างพร้อมกัน
ก็อาจทำแบบลวกๆ ฉุกละหุก เร่งให้เสร็จๆ ไป
ความใส่ใจรับรู้ในอารมณ์แต่ละอย่างก็ผ่านไปอย่างไว
ทำให้การรับรู้ในสิ่งนั้นๆ ก็อาจไม่ชัดเจนเท่าเวลาตั้งใจทำเต็มที่

ถ้ารู้อารมณ์นิดหน่อยไม่แจ่มชัด เรียกว่า ปริตตารมณ์วิถี
เช่น เพื่อนเรียกตั้งนาน เหมือนกับได้ยินแว่วๆ แด่ไม่ได้สนใจ
ยังคงก้มหน้าก้มตาทำกิจธุระของเราต่อไป ฯลฯ เป็นต้น

ถ้ามีอารมณ์มากระทบแต่ไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร เรียกว่า อติปริตตารมณ์วิถี
ซึ่งเป็นโมฆวาระ คือแม้มีอารมณ์กระทบ แต่ไม่มีวิถีจิตเกิดขึ้นรับอารมณ์นั้น
เป็นแต่เพียงอารมณ์มากระทบภวังคจิตเท่านั้น แต่ไม่ไหวขึ้นสู่วิถีจิตรับรู้อารมณ์นั้น
เช่น นอนหลับสนิท เพื่อนมาเขย่าตัวปลุกก็ไม่ตื่น ฯลฯ เป็นต้น

ส่วนวิถีจิตที่เกิดขึ้นรับรู้อารมณ์ทางใจ (มโนทวารวิถี)
ก็ย่อมมีความชัดมาก ชัดน้อย เช่นเดียวกันน่ะคับ
หากรับรู้อารมณ์ทางใจได้แจ่มชัดมาก เรียกว่า วิภูตารมณ์วิถี
ถ้ารู้อารมณ์ชัดน้อยกว่า อ่อนกว่า เรียกว่า อวิภูตารมณ์วิถี

และตามปกติแล้ว
จะมีจิตประเภทหนึ่งที่เกิดสืบต่อซ้ำๆ กันไป เรียกว่า ชวนจิต
ชวนจิตที่เกิดขึ้นในวิถีจิตแต่ละทวารนั้น
สำหรับคนปกติทั่วไป จะมีชวนจิตเกิดขึ้น 7 ขณะ
แต่ถ้าคนที่ป่วยหนัก เบลอๆ ไม่ค่อยรู้สึกตัว สลบ ชวนจิตเกิดขึ้นเพียง 5 หรือ 6 ขณะ
และถ้ายิ่งหนักมากถึงขั้นโคม่า ใกล้ตาย ชวนจิตจะยิ่งมีกำลังอ่อนมาก เกิดขึ้นเพียง 5 ขณะเท่านั้น
การรับรู้ต่างๆ ของคนที่ไม่อยู่ในสภาวะปกติ ก็ไม่สมบูรณ์เหมือนคนปกติน่ะคับ

ส่วนการที่บางครั้งขยับร่างกายไม่ได้
แม้ใจอยากจะขยับกาย แต่ก็ทำไม่ได้
อย่างเช่นคนที่เป็นอัมพาต เพราะความบกพร่องของรูปธาตุในร่างกาย
เช่น วาโยธาตุที่ไม่สมดุล ก็ไม่อาจไหวกายให้ขยับเขยื้อนไปได้
หรือคนที่ป่วย อ่อนเพลีย หรือจิตใจหดหู่ ไม่มีแก่ใจจะทำอะไร
จะเคลื่อนไหว ยืน เดิน ก็เชื่องช้าติดขัด ไม่สะดวกแคล่วคล่อง
ก็เพราะกายวิญญัติรูปบกพร่องคือขาดวิการรูป เป็นต้น

(กายวิญญัตินวกลาป เป็นกลุ่มรูปที่เกิดจากจิตเป็นสมุฏฐาน ไม่มีวิการรูปเกิดร่วมด้วย
จึงเกิดขึ้นกับคนป่วย อ่อนเพลีย หมดเรี่ยวแรง ไม่คล่องแคล่ว
ส่วน กายวิญญัติลหุตาทิทวาทสกกลาป เป็นกลุ่มรูปที่เกิดจากจิตเป็นสมุฏฐาน มีวิการรูปเกิดร่วมด้วย
จึงเกิดขึ้นกับคนปกติแข็งแรงดี แคล่วคล่องว่องไวคับ)




http://www.watkoh.com/board/Smileys/default/cool.gif เดฟ

tian*
03-31-2009, 06:38 PM
อนุโมทนาสาธุด้วยนะคะ คุณบุษ พี่คิว พี่เดฟ

LOTUS
04-02-2009, 05:18 PM
ได้ติดตามอ่านคำตอบของท่านทั้ง 2 แล้ว อ่านแล้วหลายครั้ง ทำความเข้าใจ พริ้นไปอ่านด้วย เข้าใจบ้างคะ อนุโมทนา

http://www.watkoh.com/board/richedit/smileys/YahooIM/43.gif

arkom
04-03-2009, 10:57 AM
อนุโทนา ..ซ่าธุ!!!!!!!!!!!!ครับ

Butsaya
04-09-2009, 09:25 AM
http://www.watkoh.com/board/richedit/smileys/Thinking/2.gif http://www.watkoh.com/board/richedit/smileys/Thinking/4.gif
อืม .. จิตทุกดวงเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป..
แล้วจะสะสมกิเลสได้อย่างไรอะค่ะ
เพราะจิตมันดับไปแล้ว อะค่ะ

D E V
04-09-2009, 12:20 PM
เพราะจิตดวงที่ดับไป
เป็นปัจจัยแก่จิตดวงที่เกิดต่อ

ยกตัวอย่างเส้นโซ่
ปล้องโซ่แต่ละปล้องย่อมไม่ใช่ปล้องเดียวกัน
แต่ก็ต้องสัมพันธ์ร้อยต่อกันไปจึงเป็นเส้นโซ่ขึ้นมาได้
ฉันใด จิตแต่ละดวงที่เกิดดับ ก็ไม่ใช่จิตดวงเดียวกัน
แต่จิตดวงที่ดับไปก็เป็นปัจจัยแก่จิตดวงที่เกิดต่อ
สิ่งที่สั่งสมในจิตแต่ละดวงจึงสัมพันธ์สืบต่อกันไปไม่ขาดสาย



http://www.watkoh.com/board/Smileys/default/cool.gif เดฟ

Butsaya
04-09-2009, 02:17 PM
http://www.watkoh.com/board/richedit/smileys/Word_Greetings/7.gif อะค่ะ พอมองภาพออกล่ะ
ถ้าแบบนี้มันก็ยาวไปเรื่อย ๆ ไม่มีวันขาดจากกันได้เลยใช่ปะค่ะ
เพราะมันเป็นปล้องโซ่สัมพันธ์ร้อยต่อกันไป อันนี้คือการทำงานที่
มันสะสมกิเลส แล้วถ้าในทางกลับกันอะค่ะ ว่าตอนมันละกิเลสนี่
หรือ กิเลสเบาบางแล้ว จะมองแบบไหนอะค่ะ หรือว่าพอถึงเวลา
กิเลสมันแยะ ๆ เข้ามันจะขาดหายไปเองแบบนี้หรือเปล่าค่ะ

D E V
04-09-2009, 04:22 PM
จิตดวงที่ดับไป เป็นปัจจัยแก่จิตดวงที่เกิดต่อ
ดังนั้น กิเลสทั้งหลาย กุศล-อกุศลทั้งหลาย
เจตนาที่กระทำกรรมดี-กรรมชั่วทั้งหลาย
บาป-บุญทั้งหลาย...ทุกสิ่งทุกอย่างที่สั่งสมในจิต ก็ย่อมสั่งสมสืบต่อไปเรื่อยๆ
สุดแล้วแต่ว่าสิ่งที่สั่งสมนั้นเป็นกุศลธรรมหรืออกุศลธรรม

หากคิดดี พูดดี ทำดี เจริญกุศลทั้งหลายยิ่งๆ ขึ้น
ลดละคลายอกุศลทั้งหลายได้ยิ่งขึ้น
ก็เท่ากับสั่งสมกุศลสืบต่อกันไปมากกว่าอกุศล
หากคิดไม่ดี พูดไม่ดี ทำไม่ดี เจริญแต่อกุศลอยู่บ่อยๆ เนืองๆ...เจริญกุศลน้อย
ก็เท่ากับสั่งสมอกุศลสืบต่อกันไปมากกว่ากุศล

สั่งสมอย่างไรมาก ก็ทำให้มีอุปนิสัยอย่างนั้น
และได้รับผลที่เป็นกุศลวิบากบ้าง อกุศลวิบากบ้าง ตามควรแก่เหตุที่ได้สั่งสมมา

การดับกิเลสสิ้นเป็นสมุจเฉท
ต้องเป็นโลกุตตรจิต คือ มัคคจิต ที่ทำหน้าที่ตัดขาดประหารกิเลสสิ้นซาก
ซึ่งกว่าจะถึงจุดนั้น ก็ต้องสั่งสมกุศลธรรมทั้งหลายอันเป็นมหากุศลญาณสัมปยุตต์จนสมบูรณ์พร้อม




http://www.watkoh.com/board/Smileys/default/cool.gif เดฟ

*8q*
04-09-2009, 05:09 PM
เพราะจิตดวงที่ดับไป
เป็นปัจจัยแก่จิตดวงที่เกิดต่อ

ยกตัวอย่างเส้นโซ่
ปล้องโซ่แต่ละปล้องย่อมไม่ใช่ปล้องเดียวกัน
แต่ก็ต้องสัมพันธ์ร้อยต่อกันไปจึงเป็นเส้นโซ่ขึ้นมาได้
ฉันใด จิตแต่ละดวงที่เกิดดับ ก็ไม่ใช่จิตดวงเดียวกัน
แต่จิตดวงที่ดับไปก็เป็นปัจจัยแก่จิตดวงที่เกิดต่อ
สิ่งที่สั่งสมในจิตแต่ละดวงจึงสัมพันธ์สืบต่อกันไปไม่ขาดสาย



http://www.watkoh.com/board/Smileys/default/cool.gif เดฟ




สาธุครับจารย์



แม้จิตจะเกิดดับอยู่ตลอดเวลาก็ตาม แต่ บาป บุญ ที่ทำไว้ และอนุสัยกิเลสที่นอนเนื่อง อยู่ในขันธสันดาน จะไม่สูญหายไป พร้อมกับการดับของจิตแต่ละดวง ทั้งนี้ เพราะจิตดวงใหม่ มีเหตุมีปัจจัยมาจากจิตดวงเดิม และจิตดวงใหม่ ที่เกิดขึ้นก็เป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้แก่จิตดวงต่อไป เพื่อสืบต่อ บาป บุญ และกิเลสที่สั่งสมไว้ไป จนกว่าจะปรินิพพาน