ทั่นยาย
03-30-2009, 12:40 PM
ประวัติโดยสังเขปของสามเณรประมัย กาฬเนตร
ในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2475 ได้เที่ยวจาริกไปเพื่อบำเพ็ญสมณะธรรม
ที่ถ้ำแฝด อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี แล้วกลับมาจำพรรษาที่วัดปทุมวนาราม
ในปี พ.ศ.2476 ได้ศึกษาพระปริยัติธรรม จนสอบไล่ได้นักธรรมโท และบาลีประโยค 3
ในปี พ.ศ.2476 นั้น สามเณรประมัยเป็นผู้มีนิสัยใคร่ในการปฏิบัติธรรม ได้เคยศึกษา
สมถะกัมมัฏฐาน และวิปัสสนากัมมัฏฐาน กับท่านเจ้าคุณผู้เป็นอุปัชฌาย์
จนมีความรู้และเลื่อมใสในการปฏิบัติธรรมเป็นอย่างยิ่ง จึงได้ตัดสินใจอย่างเด็ดขาด
ว่าจะไม่สอบพระปริยัติธรรมอีก ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จะมุ่งหน้าต่อการปฏิบัติธรรมอย่างเดียว
จึงเรียนความเห็นนั้น แด่ท่านเจ้าคุณอุปัชฌาย์ ท่านก็อนุโมทนาด้วย เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว
ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2476 จึงได้เที่ยวจาริกไปทางใต้ ผ่านจังหวัดนครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี
แล้วพักจำพรรษาที่วัดร้าง ตำบลหนองคาง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ใน พ.ศ. 2476
ระหว่างที่พักจำพรรษา ก็ตั้งหน้าปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดแข็งแรง ถึงกับตั้งสัตยาธิษฐานว่า
จะไม่เอนหลังนอนเลย และได้สมาทานเนสัชชิกธุดงค์อย่างอุกฤษฎ์ เพื่อปฏิบัติธรรม
ให้เต็มกำลังสามารถสมความตั้งใจจนตลอดพรรษาและต่อมา นอกจากนั้นยังได้ช่วย
แนะนำสั่งสอนชาวบ้าน ให้มีความรู้ในธรรมปฏิบัติตามควร ได้ช่วยกันปฏิสังขรณ์วัด
ร้างนั้นให้เป็นสำนักสงฆ์ขึ้น และได้จัดตั้งโรงเรียนประชาบาลประจำตำบลหนองคางจนสำเร็จ
ออกพรรษาแล้วได้จาริกไปสวนโมกขพลาราม ไชยา เพื่อดูกิจการเกี่ยวด้วยการปฏิบัติธรรม
กลับจากนั้นแล้ว เลยจาริกไปทางเหนือจนถึงเชียงใหม่
ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2478 กลับจากเชียงใหม่ จำพรรษาที่วัดพระแท่นศิลาอาสน์
จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้ช่วยสมภารวัดพระแท่นฯ จัดการปฏิสังขรณ์เสนาสนะ
และเรียบเรียงหนังสือ "ธัมมานุวัตต์" เกี่ยวกับการปฏิบัติธรรม ต่อมาได้เรียบเรียง
หนังสือ "ศาสนวิถี" อีก (ระหว่างอาพาธลงแล้ว)
ในระหว่างที่อยู่ช่วยเหลือกิจการที่วัดพระแท่นฯ นั้น โรคเดิมซึ่งเคยเป็นมาแต่อายุ 10-16 ปี
ได้กำเริบขึ้น เนื่องด้วยตรากตรำงานมากเกินไป เริ่มอาพาธกระเสาะกระแสะมา
แต่เดือนธันวาคม แต่ก็จำต้องช่วยเหลืองานเทศกาลกลางเดือน 3 ปีนั้นจนเสร็จ
และรักษาตัวเรื่อยมา จนวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2479 ไปรักษาตัวที่เชียงใหม่
อาการของโรคก็ไม่ทุเลาลง ต้องกลับมารักษาตัวที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน
และจำพรรษาที่วัดปทุมวนาราม แพทย์ลงความเห็นว่าเป็นวัณโรค ถึงกระนั้นก็ดี
ก็ยังพยายามปฏิบัติธรรมอยู่มิได้ท้อถอย
เมื่ออาการของโรคค่อยทุเลาขึ้นและออกพรรษาแล้ว วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ.2479
ไปทางจังหวัดชลบุรี พักที่วัดร้าง ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา มีผู้เลื่อมใส
จนบัดนี้ ได้จัดตั้งเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมขึ้น
วันที่ 18 ธันวาคม กลับไปพักอยู่ที่เขาถ้ำ ตำบลห้วยไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี
อาการของโรคมักเป็นไข้เสมอ มิใคร่ปกติได้ แม้เช่นนั้นก็ไม่หวาดหวั่นเกรงกลัวต่อพยาธิเลย
อุตส่าห์รีบเร่งบำเพ็ญสมณธรรมจนเต็มความสามารถ เพื่อหวังความพ้นทุกข์อย่างแท้จริง
และพยายามรักษาพยาบาลเต็มกำลัง อาการคงทรงอยู่อย่างนั้น บางครั้งก็หนักลง
จนถึงวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2480 ได้ย้ายจากเขาถ้ำไปรักษาตัวทางเขาช้าง อำเภอปากท่อ
เมื่อเห็นอาการไม่ทุเลาขึ้น จึงกลับมารักษาตัวที่วัดปทุมวนารามเมื่อต้นเดือนมิถุนายน
และเลยจำพรรษาที่วัดนั้น ในการรักษาตัวครั้งนี้ ได้รับอุปการะคุณจากท่านเจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถร
และเจ้าจอมมารดาทับทิมเป็นอย่างดี ตลอดจนพระภิกษุสามเณรและทายกทายิกา
ที่คุ้นเคย ก็ได้พร้อมใจกันช่วยเหลือตามกำลังความสามารถ แต่อาการของโรคมี
แต่ทรงกับทรุดเรื่อยมา หมดความสามารถของแพทย์ที่จะเยียวยาได้ ได้ถึงแก่มรณภาพ
เมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2480 เวลา 1 นาฬิกา 40 นาที คำนวณอายุได้ 22 ปี กับ 6 เดือน
การที่สามเณรประมัยได้ด่วนมรณะไปเสียในปฐมวัยเช่นนี้ ย่อมเป็นเหตุนำมา
ซึ่งความเศร้าสลดแก่บรรดาญาติมิตรสหายเป็นอย่างยิ่ง แต่ก็เป็นธรรมดาของสังขารอย่างนั้นเอง
สุดวิสัยที่ผู้ใดจะฝืนให้เป็นไปได้ตามประสงค์ หากแต่ว่า ถ้าผู้มรณะนี้ยังมีชีวิตอยู่
ก็คงจะสามารถทำประโยชน์ให้แก่พระพุทธศาสนาได้เป็นอย่างมาก
ในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2475 ได้เที่ยวจาริกไปเพื่อบำเพ็ญสมณะธรรม
ที่ถ้ำแฝด อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี แล้วกลับมาจำพรรษาที่วัดปทุมวนาราม
ในปี พ.ศ.2476 ได้ศึกษาพระปริยัติธรรม จนสอบไล่ได้นักธรรมโท และบาลีประโยค 3
ในปี พ.ศ.2476 นั้น สามเณรประมัยเป็นผู้มีนิสัยใคร่ในการปฏิบัติธรรม ได้เคยศึกษา
สมถะกัมมัฏฐาน และวิปัสสนากัมมัฏฐาน กับท่านเจ้าคุณผู้เป็นอุปัชฌาย์
จนมีความรู้และเลื่อมใสในการปฏิบัติธรรมเป็นอย่างยิ่ง จึงได้ตัดสินใจอย่างเด็ดขาด
ว่าจะไม่สอบพระปริยัติธรรมอีก ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จะมุ่งหน้าต่อการปฏิบัติธรรมอย่างเดียว
จึงเรียนความเห็นนั้น แด่ท่านเจ้าคุณอุปัชฌาย์ ท่านก็อนุโมทนาด้วย เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว
ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2476 จึงได้เที่ยวจาริกไปทางใต้ ผ่านจังหวัดนครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี
แล้วพักจำพรรษาที่วัดร้าง ตำบลหนองคาง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ใน พ.ศ. 2476
ระหว่างที่พักจำพรรษา ก็ตั้งหน้าปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดแข็งแรง ถึงกับตั้งสัตยาธิษฐานว่า
จะไม่เอนหลังนอนเลย และได้สมาทานเนสัชชิกธุดงค์อย่างอุกฤษฎ์ เพื่อปฏิบัติธรรม
ให้เต็มกำลังสามารถสมความตั้งใจจนตลอดพรรษาและต่อมา นอกจากนั้นยังได้ช่วย
แนะนำสั่งสอนชาวบ้าน ให้มีความรู้ในธรรมปฏิบัติตามควร ได้ช่วยกันปฏิสังขรณ์วัด
ร้างนั้นให้เป็นสำนักสงฆ์ขึ้น และได้จัดตั้งโรงเรียนประชาบาลประจำตำบลหนองคางจนสำเร็จ
ออกพรรษาแล้วได้จาริกไปสวนโมกขพลาราม ไชยา เพื่อดูกิจการเกี่ยวด้วยการปฏิบัติธรรม
กลับจากนั้นแล้ว เลยจาริกไปทางเหนือจนถึงเชียงใหม่
ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2478 กลับจากเชียงใหม่ จำพรรษาที่วัดพระแท่นศิลาอาสน์
จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้ช่วยสมภารวัดพระแท่นฯ จัดการปฏิสังขรณ์เสนาสนะ
และเรียบเรียงหนังสือ "ธัมมานุวัตต์" เกี่ยวกับการปฏิบัติธรรม ต่อมาได้เรียบเรียง
หนังสือ "ศาสนวิถี" อีก (ระหว่างอาพาธลงแล้ว)
ในระหว่างที่อยู่ช่วยเหลือกิจการที่วัดพระแท่นฯ นั้น โรคเดิมซึ่งเคยเป็นมาแต่อายุ 10-16 ปี
ได้กำเริบขึ้น เนื่องด้วยตรากตรำงานมากเกินไป เริ่มอาพาธกระเสาะกระแสะมา
แต่เดือนธันวาคม แต่ก็จำต้องช่วยเหลืองานเทศกาลกลางเดือน 3 ปีนั้นจนเสร็จ
และรักษาตัวเรื่อยมา จนวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2479 ไปรักษาตัวที่เชียงใหม่
อาการของโรคก็ไม่ทุเลาลง ต้องกลับมารักษาตัวที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน
และจำพรรษาที่วัดปทุมวนาราม แพทย์ลงความเห็นว่าเป็นวัณโรค ถึงกระนั้นก็ดี
ก็ยังพยายามปฏิบัติธรรมอยู่มิได้ท้อถอย
เมื่ออาการของโรคค่อยทุเลาขึ้นและออกพรรษาแล้ว วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ.2479
ไปทางจังหวัดชลบุรี พักที่วัดร้าง ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา มีผู้เลื่อมใส
จนบัดนี้ ได้จัดตั้งเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมขึ้น
วันที่ 18 ธันวาคม กลับไปพักอยู่ที่เขาถ้ำ ตำบลห้วยไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี
อาการของโรคมักเป็นไข้เสมอ มิใคร่ปกติได้ แม้เช่นนั้นก็ไม่หวาดหวั่นเกรงกลัวต่อพยาธิเลย
อุตส่าห์รีบเร่งบำเพ็ญสมณธรรมจนเต็มความสามารถ เพื่อหวังความพ้นทุกข์อย่างแท้จริง
และพยายามรักษาพยาบาลเต็มกำลัง อาการคงทรงอยู่อย่างนั้น บางครั้งก็หนักลง
จนถึงวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2480 ได้ย้ายจากเขาถ้ำไปรักษาตัวทางเขาช้าง อำเภอปากท่อ
เมื่อเห็นอาการไม่ทุเลาขึ้น จึงกลับมารักษาตัวที่วัดปทุมวนารามเมื่อต้นเดือนมิถุนายน
และเลยจำพรรษาที่วัดนั้น ในการรักษาตัวครั้งนี้ ได้รับอุปการะคุณจากท่านเจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถร
และเจ้าจอมมารดาทับทิมเป็นอย่างดี ตลอดจนพระภิกษุสามเณรและทายกทายิกา
ที่คุ้นเคย ก็ได้พร้อมใจกันช่วยเหลือตามกำลังความสามารถ แต่อาการของโรคมี
แต่ทรงกับทรุดเรื่อยมา หมดความสามารถของแพทย์ที่จะเยียวยาได้ ได้ถึงแก่มรณภาพ
เมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2480 เวลา 1 นาฬิกา 40 นาที คำนวณอายุได้ 22 ปี กับ 6 เดือน
การที่สามเณรประมัยได้ด่วนมรณะไปเสียในปฐมวัยเช่นนี้ ย่อมเป็นเหตุนำมา
ซึ่งความเศร้าสลดแก่บรรดาญาติมิตรสหายเป็นอย่างยิ่ง แต่ก็เป็นธรรมดาของสังขารอย่างนั้นเอง
สุดวิสัยที่ผู้ใดจะฝืนให้เป็นไปได้ตามประสงค์ หากแต่ว่า ถ้าผู้มรณะนี้ยังมีชีวิตอยู่
ก็คงจะสามารถทำประโยชน์ให้แก่พระพุทธศาสนาได้เป็นอย่างมาก