*8q*
04-01-2009, 09:54 PM
วิถีจิต
ธรรมชาติของจิตนั้น เป็นสภาพที่รู้อารมณ์อยู่เสมอ ไม่ว่างเว้นแม้ยามหลับ สภาพของจิตนั้นไม่เที่ยง
เกิดดับเปลี่ยนไปเป็นนิตย์ จิตแต่ละดวงมีการเกิดดับนับเป็นขณะได้ ๓ ขณะคือ
๑.อุปปาทขณะ - ขณะที่จิตเกิดขึ้น
๒.ฐีติขณะ - ขณะที่จิตตั้งอยู่
๓.ภังคขณะ - ขณะที่จิตดับไป
ลำดับแห่งวิถีจิต
จิตพ้นวิถี
๑. อตีตภวังค์ คือ ภวังค์อดีต
๒. ภวังคจลนะ คือ ภวังค์หวั่นไหว ไม่รับอารมณ์ใหม่
๓. ภวังคุปัจเฉทะ คือ ตัดกระแสภวังค์
ภวังค์ทั้ง ๓ นี้ ปกติจะรับอารมณ์เก่า คือ กรรมอารมณ์ กรรมนิมิตอารมณ์
หรือ คตินิมิตอารมณ์ จากชาติก่อน อยู่เป็นนิตย์
วิถีจิต
๔. ปัญจทวาราวัชชนะ คือ ตัดกระภวังค์ขาด เพื่อรับอารมณ์ใหม่
๕. ทวิปัญจวิญญาณ คือ ทำกิจเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส รู้สัมผัส คิดนึก...
๖. สัมปฏิจฉันนะ คือ รับอารมณ์ต่อจากปัญจวิญญาณ
๗. สันตีรณะ คือ ไต่สวนอารมณ์
๘. โวฏฐัพพนะ คือ ตัดสินอารมณ์
๙. ชวนจิตขณะที่ ๑ เสพอารมณ์
๑๐. ชวนจิตขณะที่ ๒ เสพอารมณ์
๑๑. ชวนจิตขณะที่ ๓ เสพอารมณ์
๑๒. ชวนจิตขณะที่ ๔ เสพอารมณ์
๑๓. ชวนจิตขณะที่ ๕ เสพอารมณ์
๑๔. ชวนจิตขณะที่ ๖ เสพอารมณ์
๑๕. ชวนจิตขณะที่ ๗ เสพอารมณ์
๑๖. ตทาลัมพนะขณะที่ ๑ รับอามณ์ต่อมาจากชวนะ
๑๗. ตทาลัมพนะขณะที่ ๑ รับอามณ์ต่อมาจากชวนะ เป็นจิตดวงสุดท้ายในอติมหันตารมณ์วิถี
ซึ่งเป็นวิถีที่มีอารมณ์ปรากฏชัดเจน หรือ เป็นอารมณ์ที่มีกำลังแรง
จิตของมนุษย์ทั้งหลายในโลก(วิถีจิตชาวโลก)ที่ไม่ได้รับการฝึกฝนจะมีวิถีเป็นเช่นนี้ เช่น คนที่กำลังหลับไม่ฝัน จะเกิดดับอยู่ในอตีตภวังค์ตลอดจนมีสิ่งเร้า เช่นมีเสียงเพื่อนบ้านทะเลาะกัน ภวังคจลนะ ภวังค์หวั่นไหว เกิดขึ้นแล้วดับลง
ส่งให้ ภวังคุปัจเฉทะ ตัดกระแสภวังค์ เกิดขึ้นคือตื่นแล้วดับลง ส่งให้ปัญจทวาราวัชชนะ ตัดกระภวังค์ขาด เพื่อรับอารมณ์ใหม่
แล้วดับไป ส่งให้จิตดวงใหม่ คือ ทวิปัญจวิญญาณ ทำกิจได้ยิน แล้วดับลง ส่งให้จิตดวงใหม่ คือ สัมปฏิจฉันนะ รับอารมณ์ต่อจากปัญจวิญญาณ แล้วดับลง ส่งต่อให้จิตดวงใหม่คือ สันตีรณะ ไต่สวนอารมณ แล้วดับลง ส่งต่อให้ โวฏฐัพพนะ ตัดสินอารมณ์เป็นโกรธแล้วดับลง
ส่งต่อให้ ชวนจิตขณะที่ ๑ เสพอารมณ์โกรธ แล้วดับลง
ส่งต่อให้ ชวนจิตขณะที่ ๒ เสพอารมณ์โกรธ แล้วดับลง
ส่งต่อให้ ชวนจิตขณะที่ ๓ เสพอารมณ์โกรธ แล้วดับลง
ส่งต่อให้ ชวนจิตขณะที่ ๔ เสพอารมณ์โกรธ แล้วดับลง
ส่งต่อให้ ชวนจิตขณะที่ ๕ เสพอารมณ์โกรธ แล้วดับลง
ส่งต่อให้ ชวนจิตขณะที่ ๖ เสพอารมณ์โกรธ แล้วดับลง
ส่งต่อให้ ชวนจิตขณะที่ ๗ เสพอารมณ์โกรธ แล้วดับลง
ส่งต่อให้ตทาลัมพนะขณะที่ ๑ รับอามณ์ต่อมาจากชวนะ แล้วดับลง
ส่งต่อให้ตทาลัมพนะขณะที่ ๒ รับอามณ์ต่อมาจากชวนะ เป็นจิตดวงสุดท้ายใน
อติมหันตารมณ์วิถี ซึ่งเป็นวิถีที่มีอารมณ์ปรากฏชัดเจน หรือ เป็นอารมณ์ที่มีกำลังแรง
เกิดเช่นนี้อยู่เป็นหมื่นเป็นแสนรอบจนลุกขึ้นมากระทำวจีทุจริตหรือกายทุจริตไป ผู้ที่เกิดเช่นนี้บ่อยๆ
จนเป็นนิสัย กลายเป็นคนมีนิสัยมักโกรธ แสดงออกทางหน้าตา วาจา ท่าทาง ..สะสมไปทุกภพทุกชาติ
ยิ่งละลมมากยิ่งรุนแรงขึ้นเรื่อยไป
วิถีจิตของพระอริยเจ้า
ถ้าจิตที่ฝึกดีแล้วทำกิจ ได้ยิน ในลักษณะที่รู้ว่าได้ยิน......สักแต่ว่าได้ยิน ด้วยจิตที่เป็นกลางแล้วดับลง
ส่งให้จิตดวงใหม่ที่เป็นกลาง ส่งต่อให้จิตดวงใหม่ไม่มีการไต่สวนอารมณ์ แล้วส่งต่อให้จิตดวงใหม่
ไม่มีการตัดสินอารมณ์เพราะจิตเป็นกลาง การเสพอารมณ์ทั้ง ๗ ขณะก็เสพอารมณ์ด้วยจิตที่เป็นกลาง
จิตดวงสุดท้ายในอติมหันตารมณ์วิถี ซึ่งเป็นวิถีที่มีอารมณ์ที่เป็นกลาง ส่งให้จิตที่เกิดใหม่เป็นจิตที่มีคุณภาพ
เรียกว่า มหากุศลจิต เกิดบ่อยๆเป็นหมื่น เป็นแสนรอบเข้าส่งผลให้เกิดมหาวิบากจิต เกิดบ่อยๆเป็นหมื่นเป็นแสนรอบเข้า
ส่งผลให้เกิด มหากิริยาจิต ซึ่งเป็นจิตของพระอรหันต์
นี่เป็นตัวอย่างของจิตทำกิจ ได้ยิน การทำกิจ เห็น ได้กลิ่น รู้รส รู้สัมผัส นึกคิด ก็เช่นเดียวกัน
พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช สอนให้รู้ตัว (รู้ว่าได้ยิน......สักแต่ว่าได้ยิน ด้วยจิตที่เป็นกลาง
ไม่พิจารณาอารมณ์ ไม่ตัดสินอารมณ์)จิตจึงพัฒนาไปตามวิถีนี้ เป็นวิถีของโลกุตรจิต เป็นวิถีจิตของพระอริยเจ้า (ไม่ใช่วิถีจิตของชาวโลกดังได้กล่าวมาแล้ว)จิตจึงหลุดพ้นจากวัฏฏสงสารได้
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=white-lotus&month=02-2008&date=21&group=15&gblog=2
<!-- End main-->
ธรรมชาติของจิตนั้น เป็นสภาพที่รู้อารมณ์อยู่เสมอ ไม่ว่างเว้นแม้ยามหลับ สภาพของจิตนั้นไม่เที่ยง
เกิดดับเปลี่ยนไปเป็นนิตย์ จิตแต่ละดวงมีการเกิดดับนับเป็นขณะได้ ๓ ขณะคือ
๑.อุปปาทขณะ - ขณะที่จิตเกิดขึ้น
๒.ฐีติขณะ - ขณะที่จิตตั้งอยู่
๓.ภังคขณะ - ขณะที่จิตดับไป
ลำดับแห่งวิถีจิต
จิตพ้นวิถี
๑. อตีตภวังค์ คือ ภวังค์อดีต
๒. ภวังคจลนะ คือ ภวังค์หวั่นไหว ไม่รับอารมณ์ใหม่
๓. ภวังคุปัจเฉทะ คือ ตัดกระแสภวังค์
ภวังค์ทั้ง ๓ นี้ ปกติจะรับอารมณ์เก่า คือ กรรมอารมณ์ กรรมนิมิตอารมณ์
หรือ คตินิมิตอารมณ์ จากชาติก่อน อยู่เป็นนิตย์
วิถีจิต
๔. ปัญจทวาราวัชชนะ คือ ตัดกระภวังค์ขาด เพื่อรับอารมณ์ใหม่
๕. ทวิปัญจวิญญาณ คือ ทำกิจเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส รู้สัมผัส คิดนึก...
๖. สัมปฏิจฉันนะ คือ รับอารมณ์ต่อจากปัญจวิญญาณ
๗. สันตีรณะ คือ ไต่สวนอารมณ์
๘. โวฏฐัพพนะ คือ ตัดสินอารมณ์
๙. ชวนจิตขณะที่ ๑ เสพอารมณ์
๑๐. ชวนจิตขณะที่ ๒ เสพอารมณ์
๑๑. ชวนจิตขณะที่ ๓ เสพอารมณ์
๑๒. ชวนจิตขณะที่ ๔ เสพอารมณ์
๑๓. ชวนจิตขณะที่ ๕ เสพอารมณ์
๑๔. ชวนจิตขณะที่ ๖ เสพอารมณ์
๑๕. ชวนจิตขณะที่ ๗ เสพอารมณ์
๑๖. ตทาลัมพนะขณะที่ ๑ รับอามณ์ต่อมาจากชวนะ
๑๗. ตทาลัมพนะขณะที่ ๑ รับอามณ์ต่อมาจากชวนะ เป็นจิตดวงสุดท้ายในอติมหันตารมณ์วิถี
ซึ่งเป็นวิถีที่มีอารมณ์ปรากฏชัดเจน หรือ เป็นอารมณ์ที่มีกำลังแรง
จิตของมนุษย์ทั้งหลายในโลก(วิถีจิตชาวโลก)ที่ไม่ได้รับการฝึกฝนจะมีวิถีเป็นเช่นนี้ เช่น คนที่กำลังหลับไม่ฝัน จะเกิดดับอยู่ในอตีตภวังค์ตลอดจนมีสิ่งเร้า เช่นมีเสียงเพื่อนบ้านทะเลาะกัน ภวังคจลนะ ภวังค์หวั่นไหว เกิดขึ้นแล้วดับลง
ส่งให้ ภวังคุปัจเฉทะ ตัดกระแสภวังค์ เกิดขึ้นคือตื่นแล้วดับลง ส่งให้ปัญจทวาราวัชชนะ ตัดกระภวังค์ขาด เพื่อรับอารมณ์ใหม่
แล้วดับไป ส่งให้จิตดวงใหม่ คือ ทวิปัญจวิญญาณ ทำกิจได้ยิน แล้วดับลง ส่งให้จิตดวงใหม่ คือ สัมปฏิจฉันนะ รับอารมณ์ต่อจากปัญจวิญญาณ แล้วดับลง ส่งต่อให้จิตดวงใหม่คือ สันตีรณะ ไต่สวนอารมณ แล้วดับลง ส่งต่อให้ โวฏฐัพพนะ ตัดสินอารมณ์เป็นโกรธแล้วดับลง
ส่งต่อให้ ชวนจิตขณะที่ ๑ เสพอารมณ์โกรธ แล้วดับลง
ส่งต่อให้ ชวนจิตขณะที่ ๒ เสพอารมณ์โกรธ แล้วดับลง
ส่งต่อให้ ชวนจิตขณะที่ ๓ เสพอารมณ์โกรธ แล้วดับลง
ส่งต่อให้ ชวนจิตขณะที่ ๔ เสพอารมณ์โกรธ แล้วดับลง
ส่งต่อให้ ชวนจิตขณะที่ ๕ เสพอารมณ์โกรธ แล้วดับลง
ส่งต่อให้ ชวนจิตขณะที่ ๖ เสพอารมณ์โกรธ แล้วดับลง
ส่งต่อให้ ชวนจิตขณะที่ ๗ เสพอารมณ์โกรธ แล้วดับลง
ส่งต่อให้ตทาลัมพนะขณะที่ ๑ รับอามณ์ต่อมาจากชวนะ แล้วดับลง
ส่งต่อให้ตทาลัมพนะขณะที่ ๒ รับอามณ์ต่อมาจากชวนะ เป็นจิตดวงสุดท้ายใน
อติมหันตารมณ์วิถี ซึ่งเป็นวิถีที่มีอารมณ์ปรากฏชัดเจน หรือ เป็นอารมณ์ที่มีกำลังแรง
เกิดเช่นนี้อยู่เป็นหมื่นเป็นแสนรอบจนลุกขึ้นมากระทำวจีทุจริตหรือกายทุจริตไป ผู้ที่เกิดเช่นนี้บ่อยๆ
จนเป็นนิสัย กลายเป็นคนมีนิสัยมักโกรธ แสดงออกทางหน้าตา วาจา ท่าทาง ..สะสมไปทุกภพทุกชาติ
ยิ่งละลมมากยิ่งรุนแรงขึ้นเรื่อยไป
วิถีจิตของพระอริยเจ้า
ถ้าจิตที่ฝึกดีแล้วทำกิจ ได้ยิน ในลักษณะที่รู้ว่าได้ยิน......สักแต่ว่าได้ยิน ด้วยจิตที่เป็นกลางแล้วดับลง
ส่งให้จิตดวงใหม่ที่เป็นกลาง ส่งต่อให้จิตดวงใหม่ไม่มีการไต่สวนอารมณ์ แล้วส่งต่อให้จิตดวงใหม่
ไม่มีการตัดสินอารมณ์เพราะจิตเป็นกลาง การเสพอารมณ์ทั้ง ๗ ขณะก็เสพอารมณ์ด้วยจิตที่เป็นกลาง
จิตดวงสุดท้ายในอติมหันตารมณ์วิถี ซึ่งเป็นวิถีที่มีอารมณ์ที่เป็นกลาง ส่งให้จิตที่เกิดใหม่เป็นจิตที่มีคุณภาพ
เรียกว่า มหากุศลจิต เกิดบ่อยๆเป็นหมื่น เป็นแสนรอบเข้าส่งผลให้เกิดมหาวิบากจิต เกิดบ่อยๆเป็นหมื่นเป็นแสนรอบเข้า
ส่งผลให้เกิด มหากิริยาจิต ซึ่งเป็นจิตของพระอรหันต์
นี่เป็นตัวอย่างของจิตทำกิจ ได้ยิน การทำกิจ เห็น ได้กลิ่น รู้รส รู้สัมผัส นึกคิด ก็เช่นเดียวกัน
พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช สอนให้รู้ตัว (รู้ว่าได้ยิน......สักแต่ว่าได้ยิน ด้วยจิตที่เป็นกลาง
ไม่พิจารณาอารมณ์ ไม่ตัดสินอารมณ์)จิตจึงพัฒนาไปตามวิถีนี้ เป็นวิถีของโลกุตรจิต เป็นวิถีจิตของพระอริยเจ้า (ไม่ใช่วิถีจิตของชาวโลกดังได้กล่าวมาแล้ว)จิตจึงหลุดพ้นจากวัฏฏสงสารได้
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=white-lotus&month=02-2008&date=21&group=15&gblog=2
<!-- End main-->