*8q*
04-05-2009, 01:04 PM
การค้นคว้าวิจัยในปัจจุบันมีอยู่มาก และนับวันงานวิจัยก็ยิ่งสนุก ยิ่งท้าทาย ยิ่งยั่วให้อยากเห็นความสำเร็จ เพราะถ้างานวิจัยบางชิ้นเกิดผลสำเร็จจริง นอกจากประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับโลกแล้ว ก็อาจหมายถึงจุดสุดยอดของชีวิตนักวิจัย ที่ชื่อเสียงเงินทองจะไหลมาเทมา และจับพลัดจับผลูชื่ออาจถูกบันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ เป็นที่จดจำไปอีกหลายสิบ หรือหลายร้อยหลายพันปีทีเดียว<?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:P></O:P>
ขอยกตัวอย่างความฝันเฟื่องที่คล้ายมีเค้าว่าจะเป็นไปได้จริง คือการ กำจัดจุดอ่อนก่อนเกิด ลองคิดดูว่าถ้าวันหนึ่งมีอัจฉริยะสักคนสามารถเรียงลำดับดีเอ็นเอให้มนุษย์ทุกคนสวยหล่อ สุดฉลาดและแสนดีด้วยกรรมวิธีราคาถูก เอาไปใช้ในโรงพยาบาลทั่วไปได้ ทั้งโลกจะติดหนี้บุญคุณอัจฉริยะคนนั้นขนาดไหน?
<O:P></O:P>
หากฟังข่าววิทยาการเพียงเผินๆโดยไม่ลงรายละเอียด ก็เหมือนความคิดเกี่ยวกับการเรียงลำดับดีเอ็นเอเป็นไปได้จริง หรือความจริงอยู่ใกล้แค่เอื้อม แต่หากเป็นนักวิจัยโดยตรงจะทราบว่าเรื่องมันไม่หวานขนาดนั้น ยังมีหลายสิ่งที่ต้องเรียนรู้ ทำความเข้าใจ และพัฒนาวิทยาการเพื่อเข้าถึงรายละเอียดดีเอ็นเออีกมาก<O:P></O:P>
ถ้ากฎแห่งกรรมวิบากมีจริง ก็ต้องฟันธงครับว่าวันแห่งการค้นพบวิธีดัดแปลงทารกตามใจชอบจะไม่มีวันมาถึง ต่อให้อัจฉริยะแค่ไหนก็จะพบข้อจำกัดที่ไม่มีทางเอาชนะได้ โดยข้อจำกัดนั้นอาจมาในรูปของผลกระทบข้างเคียงที่น่ากลัว หรืออาจมาในรูปของความล้มเหลวจากสาเหตุอันไม่เป็นที่รู้ ทั้งนี้เพราะมนุษย์ไม่ได้เกิดมาด้วยเหตุผลที่จับต้องได้อย่างเป็นรูปธรรม รูปธรรมเป็นเพียงผลอันไหลมาแต่เหตุซึ่งดูจะเป็นนามธรรมที่ไม่อาจจับต้อง พวกเรากำลังอยู่ในโลกแห่งความจริงที่มีอะไรอย่างหนึ่ง จะเอาอย่างนี้ให้ได้ เช่นถ้าเด็กต้องเกิดมาลำบาก เป็นทุกข์ และเจอแต่เรื่องร้ายๆ จะไปเปลี่ยนยีนบางตัวเพื่อให้เขาอยู่สบาย เป็นสุข และเจอแต่เรื่องดีๆไม่ได้ วันไหนนักวิทยาศาสตร์ทำได้ ก็แปลว่ากฎแห่งกรรมวิบากไม่มีจริง ที่จริงแท้น่าบูชาอยู่อย่างเดียวคือกฎแห่งพันธุศาสตร์ซึ่งมนุษย์ควบคุมได้ดุจเป็นพระเจ้า<O:P></O:P>
อีกอย่าง ทั้งภาครัฐและเอกชนไม่ได้สนใจลงทุนค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับการดัดแปลงทารกแรกเกิดกันจริงจังนัก เพราะยังดูเป็นเรื่องเลื่อนลอยเมื่อเทียบกับ
ไอเดียอื่นๆ
ปัจจุบันผู้ให้ทุนวิจัยส่วนใหญ่มักมุ่งเน้นการแก้ปัญหาสำคัญเร่งด่วน โดยเฉพาะเกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บอันก่อความทุกข์ทรมานกายและความตายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ น้อยครับที่ยอมลงเงินเป็นร้อยเป็นพันล้านเหรียญเพื่องานวิจัยที่ยิ่งใหญ่อันไม่เป็นที่รู้ว่าจะสำเร็จจริงหรือเปล่า<O:P></O:P>
โลกเรามีสถาบันศึกษาที่แต่ละปีผลิตอัจฉริยะนักวิจัยออกมาจำนวนมาก ฉะนั้นไม่น่าแปลกที่นักวิจัยจะคิดอะไรซ้ำๆกันโดยไม่เป็นที่รู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากต่างฝ่ายต่างก็ได้ทุนจากเอกชน และฝังตัวอยู่ในห้อง
แล็บลับ
ไม่เปิดเผยให้สาธารณชนทราบ
สักแอะว่ากำลังคิดอะไร
ทำอะไร จน
ไมเคิล
ไครชตันเคยเขียนนิยายออกมาเรื่องหนึ่ง
เป็นการเตือนว่าโครงการวิจัยลับๆพวกนี้อาจทำเรื่องแสบๆ เช่นผลิตสัตว์ประหลาดขนาดเล็กที่ร้ายกาจและไม่มีทางกำจัดออกมาให้ชมเป็นขวัญตา<O:P></O:P>
แม้บางงานจะเป็นที่เปิดเผย แต่ก็เป็นงานวิจัยที่ทั่วโลกแข่งกันเอาความสำเร็จกันอยู่ โดยไม่เต็มใจแบ่งปันข้อมูลความรู้แก่กันและกัน เนื่องจากใครคิดได้ก่อนก็รวยก่อน และไม่ใช่รวยระดับสิบล้านร้อยล้าน แต่รวยขนาดเรียกพี่ได้คนเดียวคือ
บิล
เกตส์
<O:P></O:P>
ยกตัวอย่างเช่นยารักษาโรค ทุกวันนี้เป็นที่รู้ว่าถ้า
สามารถเช็กดีเอ็นเอก่อน
เพื่อดูว่ายีนที่ผิดปกติแบบนั้นแบบนี้ต้องใช้ยาอะไร การรักษาโรคนั้นๆจะประสบความสำเร็จร้อยเปอร์เซ็นต์ ต่างจากยาปัจจุบันที่คลุมๆไป ไม่มีวิธีใดจะช่วยให้วินิจฉัยได้ละเอียดว่าคนไข้เป็นอะไรกันแน่ ควรใช้ยาขนานใดรักษาดี<O:P></O:P>
ยกตัวอย่างเช่นการรักษาผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านม ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันทำให้บางคนหาย แต่วิธี
เดียวกันเป๊ะก็ไม่ทำให้อีกคนหายได้
ซึ่งก็เริ่มๆพบแล้วว่าขึ้นอยู่กับยีนของแต่ละคน บางคนมียีนที่รักษาไม่ได้ รักษาจนตายก็ไม่หายอยู่ดี (และนักวิทยาศาสตร์ก็จนใจ ไม่อาจอธิบายว่าทำไมยีนรักษาไม่หายจึงมาปรากฏในบางคน ไม่ใช่กับทุกคน)<O:P></O:P>
อย่างไรก็ตาม ในที่สุดแล้วการค้นพบที่แสนยากอาจไม่ยิ่งใหญ่เท่าที่ควร เนื่องจากโรคใหม่ๆดาหน้าเรียงคิวมาท้าทายสมองประลองปัญญามนุษย์ทุกวัน วันหนึ่งคุณอาจไม่ประหลาดใจ ไม่ตื่นตระหนกอกสั่นอีกแล้ว ถ้าได้ยินว่ามีโรคประหลาด คนเดินอยู่ดีๆชักกระตุกทีเดียวตาย ไม่เปิดโอกาสให้ร้องเรียกใครมาช่วยสักคำ และคุณอาจเฉยๆ ไม่เตรียมทำพินัยกรรมให้ใครเพียงเพราะได้ยินว่านักวิทยาศาสตร์ยอมแพ้กับโรคใหม่นั้น หรือโรคนั้นกลายพันธุ์รวดเร็วเป็นจรวด บริษัทยาจนด้วยเกล้าที่จะคิดหายาใหม่ๆมาปราบทัน สายพันธุ์หนึ่งยังแก้ไม่ได้ ดันมีสายพันธุ์ใหม่มาจ่อรออีกเป็นสิบ<O:P></O:P>
อย่างวันนี้นะครับ ถ้ามีคนลุกขึ้นมาประกาศตูมว่าคิดวิธีรักษาไข้หวัดนกได้ คนในวงการอาจเท้าคางฟังด้วยแววตาเฉย
เมย
และถามเบาๆว่าที่รักษาได้นั้นเป็นสายพันธุ์ไหน?
เพราะไข้หวัดนกไม่ได้มีแค่สายพันธุ์เดียว และบางสายพันธุ์ก็ไม่ดุร้ายประมาณเพชฌฆาต ยังมีอีกหลายสายพันธุ์นักที่คร่าชีวิตคนและสัตว์ได้เร็วราวกับวายร้ายในนิยายสยองขวัญ<O:P></O:P>
พูดมาทั้งหมดนี่ ผมอยากบอกว่าทุกวันนี้ การค้นพบที่ยิ่งใหญ่ นั้นเกิดขึ้นได้ยากมาก ปัญหาระดับโลกสำคัญๆนั้น ใครๆก็อยากเป็นพระเอกขี่ม้าขาวมาช่วย ฉะนั้นถ้ามีอัจฉริยะนักวิจัยสัก ๓-๔ คนลุกขึ้นมาประกาศในเวลา
ไล่เลี่ยกันถึงความสำเร็จซ้ำซ้อน
ก็คงไม่ใช่เรื่องเหลือวิสัย บางคนเพิ่งได้ทุนสำหรับงานวิจัยที่ ดูเหมือน ยิ่งใหญ่ ก็อาจปรากฏว่าอีกมุมโลกหนึ่ง มีใครอีกคนประกาศโครมว่างานวิจัยเดียวกันประสบความสำเร็จแล้ว
<O:P></O:P>
ขอยกตัวอย่างความฝันเฟื่องที่คล้ายมีเค้าว่าจะเป็นไปได้จริง คือการ กำจัดจุดอ่อนก่อนเกิด ลองคิดดูว่าถ้าวันหนึ่งมีอัจฉริยะสักคนสามารถเรียงลำดับดีเอ็นเอให้มนุษย์ทุกคนสวยหล่อ สุดฉลาดและแสนดีด้วยกรรมวิธีราคาถูก เอาไปใช้ในโรงพยาบาลทั่วไปได้ ทั้งโลกจะติดหนี้บุญคุณอัจฉริยะคนนั้นขนาดไหน?
<O:P></O:P>
หากฟังข่าววิทยาการเพียงเผินๆโดยไม่ลงรายละเอียด ก็เหมือนความคิดเกี่ยวกับการเรียงลำดับดีเอ็นเอเป็นไปได้จริง หรือความจริงอยู่ใกล้แค่เอื้อม แต่หากเป็นนักวิจัยโดยตรงจะทราบว่าเรื่องมันไม่หวานขนาดนั้น ยังมีหลายสิ่งที่ต้องเรียนรู้ ทำความเข้าใจ และพัฒนาวิทยาการเพื่อเข้าถึงรายละเอียดดีเอ็นเออีกมาก<O:P></O:P>
ถ้ากฎแห่งกรรมวิบากมีจริง ก็ต้องฟันธงครับว่าวันแห่งการค้นพบวิธีดัดแปลงทารกตามใจชอบจะไม่มีวันมาถึง ต่อให้อัจฉริยะแค่ไหนก็จะพบข้อจำกัดที่ไม่มีทางเอาชนะได้ โดยข้อจำกัดนั้นอาจมาในรูปของผลกระทบข้างเคียงที่น่ากลัว หรืออาจมาในรูปของความล้มเหลวจากสาเหตุอันไม่เป็นที่รู้ ทั้งนี้เพราะมนุษย์ไม่ได้เกิดมาด้วยเหตุผลที่จับต้องได้อย่างเป็นรูปธรรม รูปธรรมเป็นเพียงผลอันไหลมาแต่เหตุซึ่งดูจะเป็นนามธรรมที่ไม่อาจจับต้อง พวกเรากำลังอยู่ในโลกแห่งความจริงที่มีอะไรอย่างหนึ่ง จะเอาอย่างนี้ให้ได้ เช่นถ้าเด็กต้องเกิดมาลำบาก เป็นทุกข์ และเจอแต่เรื่องร้ายๆ จะไปเปลี่ยนยีนบางตัวเพื่อให้เขาอยู่สบาย เป็นสุข และเจอแต่เรื่องดีๆไม่ได้ วันไหนนักวิทยาศาสตร์ทำได้ ก็แปลว่ากฎแห่งกรรมวิบากไม่มีจริง ที่จริงแท้น่าบูชาอยู่อย่างเดียวคือกฎแห่งพันธุศาสตร์ซึ่งมนุษย์ควบคุมได้ดุจเป็นพระเจ้า<O:P></O:P>
อีกอย่าง ทั้งภาครัฐและเอกชนไม่ได้สนใจลงทุนค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับการดัดแปลงทารกแรกเกิดกันจริงจังนัก เพราะยังดูเป็นเรื่องเลื่อนลอยเมื่อเทียบกับ
ไอเดียอื่นๆ
ปัจจุบันผู้ให้ทุนวิจัยส่วนใหญ่มักมุ่งเน้นการแก้ปัญหาสำคัญเร่งด่วน โดยเฉพาะเกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บอันก่อความทุกข์ทรมานกายและความตายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ น้อยครับที่ยอมลงเงินเป็นร้อยเป็นพันล้านเหรียญเพื่องานวิจัยที่ยิ่งใหญ่อันไม่เป็นที่รู้ว่าจะสำเร็จจริงหรือเปล่า<O:P></O:P>
โลกเรามีสถาบันศึกษาที่แต่ละปีผลิตอัจฉริยะนักวิจัยออกมาจำนวนมาก ฉะนั้นไม่น่าแปลกที่นักวิจัยจะคิดอะไรซ้ำๆกันโดยไม่เป็นที่รู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากต่างฝ่ายต่างก็ได้ทุนจากเอกชน และฝังตัวอยู่ในห้อง
แล็บลับ
ไม่เปิดเผยให้สาธารณชนทราบ
สักแอะว่ากำลังคิดอะไร
ทำอะไร จน
ไมเคิล
ไครชตันเคยเขียนนิยายออกมาเรื่องหนึ่ง
เป็นการเตือนว่าโครงการวิจัยลับๆพวกนี้อาจทำเรื่องแสบๆ เช่นผลิตสัตว์ประหลาดขนาดเล็กที่ร้ายกาจและไม่มีทางกำจัดออกมาให้ชมเป็นขวัญตา<O:P></O:P>
แม้บางงานจะเป็นที่เปิดเผย แต่ก็เป็นงานวิจัยที่ทั่วโลกแข่งกันเอาความสำเร็จกันอยู่ โดยไม่เต็มใจแบ่งปันข้อมูลความรู้แก่กันและกัน เนื่องจากใครคิดได้ก่อนก็รวยก่อน และไม่ใช่รวยระดับสิบล้านร้อยล้าน แต่รวยขนาดเรียกพี่ได้คนเดียวคือ
บิล
เกตส์
<O:P></O:P>
ยกตัวอย่างเช่นยารักษาโรค ทุกวันนี้เป็นที่รู้ว่าถ้า
สามารถเช็กดีเอ็นเอก่อน
เพื่อดูว่ายีนที่ผิดปกติแบบนั้นแบบนี้ต้องใช้ยาอะไร การรักษาโรคนั้นๆจะประสบความสำเร็จร้อยเปอร์เซ็นต์ ต่างจากยาปัจจุบันที่คลุมๆไป ไม่มีวิธีใดจะช่วยให้วินิจฉัยได้ละเอียดว่าคนไข้เป็นอะไรกันแน่ ควรใช้ยาขนานใดรักษาดี<O:P></O:P>
ยกตัวอย่างเช่นการรักษาผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านม ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันทำให้บางคนหาย แต่วิธี
เดียวกันเป๊ะก็ไม่ทำให้อีกคนหายได้
ซึ่งก็เริ่มๆพบแล้วว่าขึ้นอยู่กับยีนของแต่ละคน บางคนมียีนที่รักษาไม่ได้ รักษาจนตายก็ไม่หายอยู่ดี (และนักวิทยาศาสตร์ก็จนใจ ไม่อาจอธิบายว่าทำไมยีนรักษาไม่หายจึงมาปรากฏในบางคน ไม่ใช่กับทุกคน)<O:P></O:P>
อย่างไรก็ตาม ในที่สุดแล้วการค้นพบที่แสนยากอาจไม่ยิ่งใหญ่เท่าที่ควร เนื่องจากโรคใหม่ๆดาหน้าเรียงคิวมาท้าทายสมองประลองปัญญามนุษย์ทุกวัน วันหนึ่งคุณอาจไม่ประหลาดใจ ไม่ตื่นตระหนกอกสั่นอีกแล้ว ถ้าได้ยินว่ามีโรคประหลาด คนเดินอยู่ดีๆชักกระตุกทีเดียวตาย ไม่เปิดโอกาสให้ร้องเรียกใครมาช่วยสักคำ และคุณอาจเฉยๆ ไม่เตรียมทำพินัยกรรมให้ใครเพียงเพราะได้ยินว่านักวิทยาศาสตร์ยอมแพ้กับโรคใหม่นั้น หรือโรคนั้นกลายพันธุ์รวดเร็วเป็นจรวด บริษัทยาจนด้วยเกล้าที่จะคิดหายาใหม่ๆมาปราบทัน สายพันธุ์หนึ่งยังแก้ไม่ได้ ดันมีสายพันธุ์ใหม่มาจ่อรออีกเป็นสิบ<O:P></O:P>
อย่างวันนี้นะครับ ถ้ามีคนลุกขึ้นมาประกาศตูมว่าคิดวิธีรักษาไข้หวัดนกได้ คนในวงการอาจเท้าคางฟังด้วยแววตาเฉย
เมย
และถามเบาๆว่าที่รักษาได้นั้นเป็นสายพันธุ์ไหน?
เพราะไข้หวัดนกไม่ได้มีแค่สายพันธุ์เดียว และบางสายพันธุ์ก็ไม่ดุร้ายประมาณเพชฌฆาต ยังมีอีกหลายสายพันธุ์นักที่คร่าชีวิตคนและสัตว์ได้เร็วราวกับวายร้ายในนิยายสยองขวัญ<O:P></O:P>
พูดมาทั้งหมดนี่ ผมอยากบอกว่าทุกวันนี้ การค้นพบที่ยิ่งใหญ่ นั้นเกิดขึ้นได้ยากมาก ปัญหาระดับโลกสำคัญๆนั้น ใครๆก็อยากเป็นพระเอกขี่ม้าขาวมาช่วย ฉะนั้นถ้ามีอัจฉริยะนักวิจัยสัก ๓-๔ คนลุกขึ้นมาประกาศในเวลา
ไล่เลี่ยกันถึงความสำเร็จซ้ำซ้อน
ก็คงไม่ใช่เรื่องเหลือวิสัย บางคนเพิ่งได้ทุนสำหรับงานวิจัยที่ ดูเหมือน ยิ่งใหญ่ ก็อาจปรากฏว่าอีกมุมโลกหนึ่ง มีใครอีกคนประกาศโครมว่างานวิจัยเดียวกันประสบความสำเร็จแล้ว
<O:P></O:P>