*8q*
04-15-2009, 05:00 PM
http://variety.teenee.com/foodforbrain/img9/56194.jpg
ประสาโลกๆ การเกิด' ย่อมเป็นที่มาแห่งความยินดี เว้นแต่กรณีไม่ยินดีให้เกิด อย่างที่มักเรียกกันว่า มารหัวขน' หรือเด็กที่เกิดจากการตั้งครรภ์อย่างไม่ตั้งใจ อันเป็นผลจากความฟอนเฟะทางสังคม และการเสื่อมถอยด้านจริยธรรม ที่มีมาทุกยุคทุกสมัย
นี่ออกจะแตกต่างจากหลักการทางพุทธศาสนา ที่ถือว่า "การเกิดเป็นทุกข์" ดังพุทธพจน์ที่ว่า "การเกิดทุกคราวเป็นทุกข์ร่ำไป เช่นเดียวกับ การดับ' หรือ การตาย' ที่ในทางพุทธเห็นว่า สิ้นไป' ไม่ว่าจะชั่วครั้งชั่วคราว หรือถาวร เช่น หมดทุกข์-สิ้นทุกข์' ดังภาษาชาวบ้านว่ากันว่า หมดเคราะห์' สิ้นเคราะห์' หรือ พ้นทุกข์' ไปเสียที
แต่โดยวิถีโลกย์ กลับเชื่อกันว่า การดับไป สูญไป เสียไป เป็นที่ตั้งแห่งความเศร้าโศกเสียใจ เสียดาย หรืออาลัยอาวรณ์ ของผู้อยู่เบื้องหลัง ดังกรณีการ สิ้นชีวิต' เป็นต้น
ความเชื่อที่สวนทางกับหลักการสำคัญทางศาสนา ขณะที่ป่าวประกาศว่าเป็น สังคมพุทธ' หรือเรียกร้องให้ศาสนาพุทธเป็น "ศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญ" ดูจะเป็นเรื่องไม่แปลกประหลาดสักเท่าใดนักในสังคมไทย เช่นเดียวกับปรากฏการณ์ ความรุนแรงเชิงโครงสร้าง ความรุนแรงระหว่างบุคคล การละเมิดสิทธิมนุษยชน การทำลายธรรมชาติ การเดียจฉันท์ศาสนาอื่น หรือการละเมิดหลักการ ในทางพระพุทธศาสนา ฯลฯ ที่มีให้เห็นกันมาอย่างซ้ำแล้วซ้ำเล่า
กล่าวในส่วนของการ เกิด' - ดับ' ในเชิงพุทธเอง แม้ในแวดวงของพุทธศาสนิกชน พุทธบริษัท หรือชาววัดชาววา ก็ยังมีความเห็นแตกต่างกันออกไป
บ้างก็ว่าเป็นเรื่องของ ชีวิต' บ้างก็ว่าเป็นเรื่องของ ตัวตน' บ้างก็ถือว่าเป็นทั้ง ๒ ส่วน ต้องอาศัยบริบทแวดล้อมเข้ามาช่วยตีความ ทำนองว่า เป็นทั้ง ภาษาโลก' และ ภาษาธรรม' ซึ่งจะว่าไปแล้ว ก็คล้ายกับจะเป็นภาพสะท้อน ของสภาวการณ์ ในทางพระพุทธศาสนาของสังคมไทยที่อิสระและยืดหยุ่นในการเชื่อถือและการตีความ จนยากที่จะหาข้อยุติโดยง่าย
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าในทางปรัชญา ในทางปริยัติ หรือในแง่การหาข้อยุติ ทางวิชาการ จะเป็นเรื่องที่ยากจะหาข้อสรุป แต่ในทาง ปฏิบัติ' ซึ่งกินความตั้งแต่การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน หรือในแง่ของการเจริญสมาธิภาวนา อย่างที่เราเรียกกันว่า เป็น ภาวนาวิถี' ย่อมเป็นธรรมดาอยู่เอง ที่ ผู้ปฏิบัติ' หรือ นักปฏิบัติ' หรือกระทั่ง จะเรียกว่า นักศึกษาในทางจิตวิญญาณ' ย่อมจะต้องหาข้อยุติสำหรับตนเองให้ได้ ว่าการ เกิด' - ดับ' ที่ตนเข้าใจ คืออย่างไรกันแน่ เพื่อเป็นที่ตั้งของ สัมมาทิฏฐิ' อันเป็นจุดเริ่มต้นของอริยมรรคมีองค์ ๘ หรือ มัชฌิมาปฏิปทา' ที่เราเรียกกันว่า ทางสายกลาง' หรือ ทางสายเอก' แห่งการปฏิบัติธรรม เพราะในแง่หนึ่ง การ เกิด'-ดับ' เชื่อมโยงและสัมพันธ์อยู่กับหลักการเรื่อง ตัวตน' และ ไม่ใช่ตัวตน' หรือที่เป็นภาษาบาลีว่า อัตตา' และ อนัตตา' นั่นเอง
ในทางพระพุทธศาสนา "กระแสธารแห่งธรรม" ย่อมสืบเนื่อง และสัมพันธ์ กันอย่างไม่ขาดสาย ดังที่มีผู้กล่าวไว้ว่า "ธรรมะทั้งปวงเป็นองค์รวม" และ "บูรณาการเป็นเนื้อเดียวกัน" อย่างไม่สามารถ แยกส่วน' ออกไป จนทำให้ขัดแย้งกันได้ มิเช่นนั้น ก็จะเกิดเป็น ธรรมปฏิรูป' ที่จอมปลอม และเป็น หัวมังกุท้ายมังกร' ไปเสีย
บน ภาวนาวิถี' จึงมีทั้งปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ ไปพร้อมๆ กัน อย่างเชื่อมโยง สัมพันธ์ โดยมิอาจแบ่งแยกให้เกิดการแปลกเปลี่ยนออกไปโดยสะเปะสะปะ ขณะเดียวกัน บน ภาวนาวิถี' ก็มิใช่เรื่องยาก ที่ผู้ปฏิบัติจะสอบทาน หรือตรวจสอบ"ผลการปฏิบัติ"ของตนเอง ด้วยตนเอง' เพราะ ผล' ย่อมมาจาก เหตุ'
เมื่อผู้ปฏิบัติเป็นผู้สร้างเหตุปัจจัยที่เหมาะควร ภายใต้หลักการและวิธีการอันถูกต้องและเหมาะสม ผลที่เกิดย่อมถูกต้องและเหมาะสมโดยมิอาจผิดพลาด นี่เป็นที่มาของวลี "รู้ได้ด้วยตน" นั่นเอง
http://variety.teenee.com/foodforbrain/14209.html
ประสาโลกๆ การเกิด' ย่อมเป็นที่มาแห่งความยินดี เว้นแต่กรณีไม่ยินดีให้เกิด อย่างที่มักเรียกกันว่า มารหัวขน' หรือเด็กที่เกิดจากการตั้งครรภ์อย่างไม่ตั้งใจ อันเป็นผลจากความฟอนเฟะทางสังคม และการเสื่อมถอยด้านจริยธรรม ที่มีมาทุกยุคทุกสมัย
นี่ออกจะแตกต่างจากหลักการทางพุทธศาสนา ที่ถือว่า "การเกิดเป็นทุกข์" ดังพุทธพจน์ที่ว่า "การเกิดทุกคราวเป็นทุกข์ร่ำไป เช่นเดียวกับ การดับ' หรือ การตาย' ที่ในทางพุทธเห็นว่า สิ้นไป' ไม่ว่าจะชั่วครั้งชั่วคราว หรือถาวร เช่น หมดทุกข์-สิ้นทุกข์' ดังภาษาชาวบ้านว่ากันว่า หมดเคราะห์' สิ้นเคราะห์' หรือ พ้นทุกข์' ไปเสียที
แต่โดยวิถีโลกย์ กลับเชื่อกันว่า การดับไป สูญไป เสียไป เป็นที่ตั้งแห่งความเศร้าโศกเสียใจ เสียดาย หรืออาลัยอาวรณ์ ของผู้อยู่เบื้องหลัง ดังกรณีการ สิ้นชีวิต' เป็นต้น
ความเชื่อที่สวนทางกับหลักการสำคัญทางศาสนา ขณะที่ป่าวประกาศว่าเป็น สังคมพุทธ' หรือเรียกร้องให้ศาสนาพุทธเป็น "ศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญ" ดูจะเป็นเรื่องไม่แปลกประหลาดสักเท่าใดนักในสังคมไทย เช่นเดียวกับปรากฏการณ์ ความรุนแรงเชิงโครงสร้าง ความรุนแรงระหว่างบุคคล การละเมิดสิทธิมนุษยชน การทำลายธรรมชาติ การเดียจฉันท์ศาสนาอื่น หรือการละเมิดหลักการ ในทางพระพุทธศาสนา ฯลฯ ที่มีให้เห็นกันมาอย่างซ้ำแล้วซ้ำเล่า
กล่าวในส่วนของการ เกิด' - ดับ' ในเชิงพุทธเอง แม้ในแวดวงของพุทธศาสนิกชน พุทธบริษัท หรือชาววัดชาววา ก็ยังมีความเห็นแตกต่างกันออกไป
บ้างก็ว่าเป็นเรื่องของ ชีวิต' บ้างก็ว่าเป็นเรื่องของ ตัวตน' บ้างก็ถือว่าเป็นทั้ง ๒ ส่วน ต้องอาศัยบริบทแวดล้อมเข้ามาช่วยตีความ ทำนองว่า เป็นทั้ง ภาษาโลก' และ ภาษาธรรม' ซึ่งจะว่าไปแล้ว ก็คล้ายกับจะเป็นภาพสะท้อน ของสภาวการณ์ ในทางพระพุทธศาสนาของสังคมไทยที่อิสระและยืดหยุ่นในการเชื่อถือและการตีความ จนยากที่จะหาข้อยุติโดยง่าย
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าในทางปรัชญา ในทางปริยัติ หรือในแง่การหาข้อยุติ ทางวิชาการ จะเป็นเรื่องที่ยากจะหาข้อสรุป แต่ในทาง ปฏิบัติ' ซึ่งกินความตั้งแต่การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน หรือในแง่ของการเจริญสมาธิภาวนา อย่างที่เราเรียกกันว่า เป็น ภาวนาวิถี' ย่อมเป็นธรรมดาอยู่เอง ที่ ผู้ปฏิบัติ' หรือ นักปฏิบัติ' หรือกระทั่ง จะเรียกว่า นักศึกษาในทางจิตวิญญาณ' ย่อมจะต้องหาข้อยุติสำหรับตนเองให้ได้ ว่าการ เกิด' - ดับ' ที่ตนเข้าใจ คืออย่างไรกันแน่ เพื่อเป็นที่ตั้งของ สัมมาทิฏฐิ' อันเป็นจุดเริ่มต้นของอริยมรรคมีองค์ ๘ หรือ มัชฌิมาปฏิปทา' ที่เราเรียกกันว่า ทางสายกลาง' หรือ ทางสายเอก' แห่งการปฏิบัติธรรม เพราะในแง่หนึ่ง การ เกิด'-ดับ' เชื่อมโยงและสัมพันธ์อยู่กับหลักการเรื่อง ตัวตน' และ ไม่ใช่ตัวตน' หรือที่เป็นภาษาบาลีว่า อัตตา' และ อนัตตา' นั่นเอง
ในทางพระพุทธศาสนา "กระแสธารแห่งธรรม" ย่อมสืบเนื่อง และสัมพันธ์ กันอย่างไม่ขาดสาย ดังที่มีผู้กล่าวไว้ว่า "ธรรมะทั้งปวงเป็นองค์รวม" และ "บูรณาการเป็นเนื้อเดียวกัน" อย่างไม่สามารถ แยกส่วน' ออกไป จนทำให้ขัดแย้งกันได้ มิเช่นนั้น ก็จะเกิดเป็น ธรรมปฏิรูป' ที่จอมปลอม และเป็น หัวมังกุท้ายมังกร' ไปเสีย
บน ภาวนาวิถี' จึงมีทั้งปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ ไปพร้อมๆ กัน อย่างเชื่อมโยง สัมพันธ์ โดยมิอาจแบ่งแยกให้เกิดการแปลกเปลี่ยนออกไปโดยสะเปะสะปะ ขณะเดียวกัน บน ภาวนาวิถี' ก็มิใช่เรื่องยาก ที่ผู้ปฏิบัติจะสอบทาน หรือตรวจสอบ"ผลการปฏิบัติ"ของตนเอง ด้วยตนเอง' เพราะ ผล' ย่อมมาจาก เหตุ'
เมื่อผู้ปฏิบัติเป็นผู้สร้างเหตุปัจจัยที่เหมาะควร ภายใต้หลักการและวิธีการอันถูกต้องและเหมาะสม ผลที่เกิดย่อมถูกต้องและเหมาะสมโดยมิอาจผิดพลาด นี่เป็นที่มาของวลี "รู้ได้ด้วยตน" นั่นเอง
http://variety.teenee.com/foodforbrain/14209.html