*8q*
06-06-2009, 06:57 PM
http://images.google.co.th/url?q=http://www.dhammajak.net/board/files/268_1202517920.jpg_978.jpg&usg=AFQjCNFnUYIbDC64N0fq2Nt4cSsB-UzwwA
โพธิสัตว์เป็นชื่อเรียกบุคคลหรือกลุ่มคนที่ปรารถนาความรู้ แจ้งสูงสุดเพื่อปลดปล่อยตนเองและผู้อื่นให้พ้นจากทุกข์ ความรู้เหล่านั้นเรียกว่า โพธิญาณ การจะได้มาซึ่งโพธิญาณจำเป็นอย่างยิ่งที่โพธิสัตว์นั้น ๆ จะต้องฝึกฝนบ่มเพาะตนเองในสังสารวัฏอย่างเข้มงวด มีสติรอบด้าน มีปัญญาในทุกแง่มุม ซึ่งหนึ่งในแง่มุมที่โพธิสัตว์จะต้องเรียนรู้และจัดการคือความรัก ความรักของโพธิสัตว์เป็นอย่างไร จะแตกต่างจากความรักของชาวบ้านทั่วไปหรือไม่ เป็นเรื่องที่น่าสนใจศึกษาเป็นอย่างยิ่ง
หากย้อนกลับไปมองเส้นทางชีวิตของพระศากยมุนีพุทธเจ้า ในสมัยที่ท่านยังเป็นโพธิสัตว์เสวยพระชาติต่าง ๆ ความรักของท่านในบางชาติไม่ได้ผูกพันอยู่กับเรื่องเพศหรือการแต่งงาน แต่บางชาติที่ชาวพุทธเห็นว่ามีนัยยะสำคัญเช่นพระเวสสันดร รวมถึงชาติสุดท้ายที่ทรงอุบัติเป็นเจ้าชายแห่งศากยวงศ์ ท่านทรงมีพระมเหสี มีพระโอรส (และธิดา) เฉกเช่นสามัญชน ชีวิตแห่งการเป็นผู้ครองเรือนเยี่ยงนั้น ความรักจะเป็นบ่วงพันธนาการหรือว่าวิถีไปสู่ความหลุดพ้น ความรักจะเป็นอุปสรรคหรือโอกาสให้โพธิสัตว์ได้พัฒนาปัญญาของตน ความรักและการมีครอบครัวเป็นเรื่องยอมรับได้หรือไม่สำหรับคนที่ปรารถนาจะ เดินอยู่ในเส้นทางสายนี้ ดูเหมือนว่าคำตอบของปัญหาเหล่านี้จะเลือนลางเต็มที
แนวคิดว่าด้วยโพธิสัตว์
โพธิสัตว์ มาจากคำว่า โพธิ ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำว่า พุธ แปลว่า รู้ ตรัสรู้ หรือปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ บางทีก็ใช้สื่อถึงญาณหยั่งรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บวกเข้ากับคำว่า สัตว์ / สัตต์ / สัตตว์ ที่หมายถึงภาวะชีวิตหรือสัตว์ที่ยังเกี่ยว ข้อง ผูก ติด รวมความจึงหมายถึงสัตว์ผู้ฉลาด ข้องติดอยู่กับความรู้ มุ่งสู่การตรัสรู้ พูดง่าย ๆ คือมีเป้าหมายชีวิตที่การเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งในอนาคต
ในทางพุทธศาสนา พระพุทธเจ้ามีอยู่สองจำพวกใหญ่ ๆ ทั้งคู่สะท้อนความมีปัญญามากเหมือนกัน แต่พวกหนึ่งจะไม่ผูกพันตนด้วยปณิธานว่าจะช่วยสัตว์อื่นโดยไม่จำกัดให้หลุด พ้นไปพร้อมกับตน เรียกพระพุทธเจ้าพวกแรกนี้ว่า พระปัจเจกพุทธเจ้า ท่านจะบำเพ็ญบารมี สั่งสมกำลังปัญญาจนถึงขีดสุด เกิดชาติภพใดก็แล้วแต่ สามารถที่จะแสวงหาเส้นทางหลุดพ้นจากกองทุกข์ได้เอง ไม่ต้องรอรับคำสอนจากพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งก่อนเป็นพิเศษ ครั้นหลุดพ้นแล้วก็รอนแรมเพียงลำพังไปตามที่ต่าง ๆ อบรมสั่งสอนชาวบ้านบ้างเมื่อเหตุปัจจัยเอื้ออำนวย เที่ยวไปผู้เดียวอย่างไม่มีห่วงกังวล ดังคำอุปมาที่ว่า เที่ยวไปผู้เดียวดุจนอแรด แรดมีนอเดียวฉันใด พระปัจเจกพุทธเจ้าก็นิยมจาริกเพียงลำพังผู้เดียวฉันนั้น
พระพุทธเจ้าพวกที่สองไม่เพียงมีกำลังปัญญามาก สามารถแสวงหาหนทางหลุดพ้นโดยลำพังได้ก็จริง แต่ท่านจะผูกพันตนด้วยปณิธานแห่งกรุณาเท่า ๆ กับปณิธานแห่งปัญญา พวกแรกเน้นปัญญาเป็นหลัก ไม่ใช่ไม่กรุณา แต่ไม่มีจริตผูกพันตนกับคนอื่นมากกว่า ปณิธานแห่งกรุณาจึงดูเหมือนอ่อนกำลังกว่าพระพุทธเจ้ากลุ่มนี้ กรุณาคือปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ พระพุทธเจ้าพวกนี้จะบำเพ็ญบารมีเพื่อช่วยเหลือตนเองและผู้อื่นให้หลุดพ้นไป พร้อม ๆ กัน เรียกพระพุทธเจ้าพวกหลังนี้ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เหตุเพราะต้องการช่วยเหลือสัตว์ให้หลุดพ้นไปพร้อมกับตนโดย ไม่จำกัด ทำให้พระพุทธเจ้าพวกหลังนี้ ก่อนจะตรัสรู้จำเป็นต้องหล่อหลอมปัญญาของตนให้ถึงขีดสุด ถ้ามีกำลังปัญญาสูงสุดก็จะสามารถเข้าใจและเกื้อกูลสัตว์น้อยใหญ่ได้ ทำให้ดวงจิตของพวกท่านต้องเวียนว่ายตายเกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า เรียนรู้ทุกข์และทางออกจากทุกข์ในทุกรูปแบบ เพื่อที่ว่าจะได้ไม่มีสัตว์ใดถูกละทิ้งหรือเพิกเฉยในสังสารวัฏ
การเวียนว่ายตายเกิดนับชาติไม่ได้ของบุคคลที่ตั้งปณิธาน เหล่านี้ ทำให้ท่านเข้าใจความเป็นไปของสัตว์ในทุกแง่มุม รู้จักทุกข์ในทุกรูปแบบ ที่ว่ารู้จักทุกข์นั้นเพราะท่านต้องสละชีวิตของตนให้สัมผัสทุกข์เหล่านั้นจน ถึงที่สุด เมื่อสัมผัสถึงที่สุดแล้วจึงหาหนทางที่ถูกต้องในการช่วยเหลือสัตว์ต่อไปได้ เรียกง่าย ๆ ว่า ต้องอุทิศตนลองผิดลองถูกอยู่ในวัฏสงสาร การลองผิดลองถูกของพวกท่านก็คือเรียนรู้ทุกข์ให้เต็มที่ เสวยอารมณ์ของสัตว์โลกให้สุดขีด ถ้าไม่รู้จักความสุดขีดก็จะมองไม่เห็นทางสายกลาง
แต่ก็เพราะมีเป้าหมายอุดมคติเพียงนั้น ทำให้บุคคลเยี่ยงนี้ต้องมีปัญญาเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิตทุกภพทุกชาติไป คำเรียก โพธิสัตว์ จึงหมายถึงคนที่กำลังบำเพ็ญตนเพื่อมุ่งการเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ระหว่างที่ยังไม่ตรัสรู้ก็จะเรียกว่าโพธิสัตว์ โพธิสัตว์อาจเสวยชาติเป็นมนุษย์ เทวดา เดรัจฉาน หรืออะไรก็ได้ตามแต่กำลังจิตจะนำไป แม้ชาติที่เกิดมาเป็นมนุษย์บางทีก็อยู่ในเพศนักบวช บางทีก็เป็นผู้ครองเรือน รูปแบบภายนอกไม่สำคัญเท่ากับปณิธานภายใน อย่างไรเสีย คนที่เกิดอยู่ในทางสายนี้จะต้องดำเนินชีวิตเพื่อบ่มเพาะเชื้อหลัก ๆ สองอย่างอยู่ตลอดเวลา นั่นคือเชื้อปัญญา (wisdom) กับเชื้อกรุณา (compassion) สองเชื้อนี้จะผสานกันสร้างกลยุทธ์ในการช่วยสัตว์ที่เรียกว่า มหาอุบาย ถ้าไม่มีปัญญาก็ย่อมไม่สามารถหาอุบายโน้มน้าวใจสัตว์ที่มีอุปนิสัยหลากหลาย และถ้าไม่มีกรุณาก็ย่อมไม่มีแรงบันดาลใจจะคิดอุบายไปช่วยใคร
หากศึกษาชีวิตของโพธิสัตว์จะพบว่า ไม่ว่าจะเกิดกี่ชาติ แต่ละชาติจะมีบางอย่างเหมือนกัน นั่นคือความเสียสละ ยิ่งใกล้ชาติที่จะหลุดพ้นมาก การเสียสละก็จะดำเนินไปอย่างเข้มข้นมาก ไม่เพียงแค่วัตถุสิ่งของ โพธิสัตว์ในหลายครั้งหลายคราต้องเสียสละอวัยวะและชีวิตของตนเพื่อการได้มา ซึ่งปัญญาอันยิ่งใหญ่
ทีนี้เราขีดวงมองเพียงแค่สมบัติเฉพาะตนของโพธิสัตว์อัน ได้แก่ทรัพย์สิน อวัยวะ เลือดเนื้อ ตลอดจนชีวิต เรายังไม่ได้มองความสัมพันธ์ระหว่างโพธิสัตว์กับคนอื่น ถ้าโพธิสัตว์มีความรักความผูกพันต่อใคร ซึ่งแน่นอนว่าในสังสารวัฏอันกว้างใหญ่นี้ ความรักความผูกพันระหว่างดวงจิตต่อดวงจิตย่อมมีมาแล้วต่อเนื่องและยาวนาน โพธิสัตว์เสียสละอวัยวะกับชีวิตเราก็มองว่าทำยากมากเต็มที แต่ท่านยังต้องเสียสละความรักความผูกพันที่มีต่อดวงจิตอื่นด้วย การเสียสละความรักความผูกพันอันทำให้คนที่เรารักเป็นทุกข์กับการเสียสละร่าง กายของเราเท่านั้น อย่างไหนสร้างความเจ็บปวดมากกว่า ระหว่างการสละสมบัติส่วนตนกับการยอมเสียความรักความอบอุ่นที่คนรักของเรา ครอบครองอยู่ด้วย อันไหนจะนำมาซึ่งความทุกข์มากกว่ากัน
ปณิธานของโพธิสัตว์
จะเป็นโพธิสัตว์ได้ไม่ใช่แค่อธิษฐานขอเป็นพระสัมมาสัมพุทธ เจ้าพระองค์หนึ่งแล้วก็จบ ถ้าคิดว่าได้อุบัติเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วก็ถือว่าถึงจุดหมายปลายทาง นั่นเป็นความเข้าใจผิดอย่างมหันต์ และบุคคลนั้นจะไม่มีทางบรรลุปัญญาญาณหรือแม้แต่คุณธรรมขั้นสูงสุด โพธิสัตว์ที่แท้จะไม่สนใจว่าตนจะได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือไม่ แต่จะสนใจว่าทำอย่างไรจึงจะช่วยเหลือตนกับคนอื่นให้เกิดปัญญาได้โดยไม่จำกัด
ถ้าตั้งเป้าหมายไว้ที่ภาวะใดภาวะหนึ่ง ในกรณีนี้คือขอเป็นพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง การคิดอย่างนั้น เอ่ยวาจาอย่างนั้น อาจเป็นการสร้างเงื่อนไขบางอย่างขึ้นมาว่าฉันจะต้องได้หรือฉันจะต้องเป็น เช่นนี้เช่นนั้นในอนาคต เป็นการผูกพันจิตไว้ด้วยภาวะบางอย่างที่ตนคาดหวัง การช่วยเหลือสัตว์อย่างบริสุทธิ์ใจจึงเป็นไปได้ยาก ถ้ามุ่งที่การเป็นพระพุทธเจ้าก่อนสิ่งอื่นใด บุคคลนั้นย่อมช่วยเหลือสัตว์เพียงเพื่อให้ตนบรรลุภาวะอันพึงปรารถนา คิดแบบนี้มุ่งทำเพื่อตนเองก่อนผู้อื่น จึงไม่ใช่ปณิธานของคนมีปัญญาและกรุณาจริง ๆ ที่ว่าไม่มีปัญญาจริงเพราะยังหล่อเลี้ยงอัตตา (ความยึดถือตนของตน) ในระดับละเอียด ที่ว่าไม่มีกรุณาจริงเพราะคิด พูด และทำเพื่อตนเป็นหลัก
ในทางตรงข้าม ใครก็ตามที่สมควรถูกเรียกว่าเป็นโพธิสัตว์ ย่อมคำนึงถึงสัตว์ใหญ่น้อยก่อนตนเอง เพราะปรารถนาจะให้สัตว์ทั้งหลายพ้นทุกข์ไปด้วยกันพร้อมกัน การได้มาซึ่งปัญญาเพื่อความพ้นทุกข์ของสัตว์โลกจึงเป็นเป้าหมายอันดับแรก หาใช่ทำให้ตนบรรลุภาวะประเสริฐ ดีงาม หรือสูงสุดไม่ การขอให้ตนอุบัติเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเพียงวิถีทางที่ทำให้บรรลุเป้า หมาย เพราะมองไม่เห็นว่าจะมีภาวะชีวิตอื่นใดที่สามารถช่วยสัตว์ได้มากเท่ากับการ เป็นพระพุทธเจ้า จำเป็นต้องเกิดเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อทำให้ปณิธานของตนสำเร็จ ถ้ามีภาวะชีวิตอื่นที่ช่วยสัตว์ให้พ้นทุกข์ได้ดีกว่าหรือมากกว่าการเกิดเป็น พระพุทธเจ้า โพธิสัตว์จะไม่รีรอลังเลที่จะเลือกเส้นทางชีวิตนั้น สำหรับพวกท่าน สัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเพียงชื่อเรียกภาวะที่ช่วยสัตว์ได้ไม่จำกัดแค่นั้น
เพราะฉะนั้น สำหรับคนที่คิดว่าอยากเป็นพระพุทธเจ้าเพราะจะได้ความงามอย่างนั้น ความดีอย่างนี้ หรือความจริงสูงสุด คนเหล่านี้อยู่ห่างไกลจากภาวะของโพธิสัตว์ อาจหยั่งไม่ถึงปัญญาแบบนั้นจึงบิดเบือนภาวะแห่งโพธิสัตว์ให้กลายเป็นเรื่อง สนองตัณหา (ความอยาก) ของตนเอง โพธิสัตว์เป็นแนวคิดที่เปี่ยมด้วยอุดมคติ ประกอบด้วยคุณธรรมชั้นเลิศนานาประการ ไม่ใช่ภาวะที่ปุถุชนคนมีกิเลสจะเข้าใจและเป็นได้ง่าย ๆ ปณิธานของโพธิสัตว์มีหลากหลาย แต่ในความหลากหลายนั้นสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือการให้โดยไม่หวังผล (อาจเรียกว่าเป็นการเสียสละแบบที่ระบุไว้ข้างต้นก็ได้) แค่นี้สำหรับชาวบ้านอย่างพวกเราก็ยากที่ทำได้แล้ว
โดยทั่วไป บุคคลที่ได้ชื่อว่าโพธิสัตว์จะผูกพันตนไว้ด้วยมหาปณิธานสี่ประการคือ
๑) จะละกิเลสทั้งหลายให้หมดสิ้น
๒) จะศึกษาธรรม (นัยยะคือธรรมชาติ) ทั้งหลายให้แตกฉาน แจ่มแจ้ง รู้จริง
๓) จะโปรดสัตว์ไม่จำกัด และ
๔) จะบรรลุพุทธภูมิ (คือตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ)
ปณิธานเหล่านี้ไม่ได้ถูกผลักดันจากปัจจัยภายนอก ไม่ได้มาจากการท่องตามตำรา หรือเดินตามรอยโพธิสัตว์คนก่อน ๆ แต่เกิดจากใจของบุคคลนั้นที่ต้องการทำสี่ข้อนี้ให้สำเร็จ จะกี่ชาติกี่ภพก็ตามแต่ จะลำบากยากเข็ญอย่างไรก็ช่าง จะได้รับคำสรรเสริญชื่นชมมากหรือน้อยก็เป็นเรื่องของเขา เหล่านี้ไม่กระทบใจที่เข้มแข็งของเหล่าโพธิสัตว์เลย แต่กว่าจะได้ใจที่เข้มแข็งก็ต้องล้มลุกคลุกคลานมาอย่างยาวนานในสังสารวัฏ
โพธิสัตว์เป็นชื่อเรียกบุคคลหรือกลุ่มคนที่ปรารถนาความรู้ แจ้งสูงสุดเพื่อปลดปล่อยตนเองและผู้อื่นให้พ้นจากทุกข์ ความรู้เหล่านั้นเรียกว่า โพธิญาณ การจะได้มาซึ่งโพธิญาณจำเป็นอย่างยิ่งที่โพธิสัตว์นั้น ๆ จะต้องฝึกฝนบ่มเพาะตนเองในสังสารวัฏอย่างเข้มงวด มีสติรอบด้าน มีปัญญาในทุกแง่มุม ซึ่งหนึ่งในแง่มุมที่โพธิสัตว์จะต้องเรียนรู้และจัดการคือความรัก ความรักของโพธิสัตว์เป็นอย่างไร จะแตกต่างจากความรักของชาวบ้านทั่วไปหรือไม่ เป็นเรื่องที่น่าสนใจศึกษาเป็นอย่างยิ่ง
หากย้อนกลับไปมองเส้นทางชีวิตของพระศากยมุนีพุทธเจ้า ในสมัยที่ท่านยังเป็นโพธิสัตว์เสวยพระชาติต่าง ๆ ความรักของท่านในบางชาติไม่ได้ผูกพันอยู่กับเรื่องเพศหรือการแต่งงาน แต่บางชาติที่ชาวพุทธเห็นว่ามีนัยยะสำคัญเช่นพระเวสสันดร รวมถึงชาติสุดท้ายที่ทรงอุบัติเป็นเจ้าชายแห่งศากยวงศ์ ท่านทรงมีพระมเหสี มีพระโอรส (และธิดา) เฉกเช่นสามัญชน ชีวิตแห่งการเป็นผู้ครองเรือนเยี่ยงนั้น ความรักจะเป็นบ่วงพันธนาการหรือว่าวิถีไปสู่ความหลุดพ้น ความรักจะเป็นอุปสรรคหรือโอกาสให้โพธิสัตว์ได้พัฒนาปัญญาของตน ความรักและการมีครอบครัวเป็นเรื่องยอมรับได้หรือไม่สำหรับคนที่ปรารถนาจะ เดินอยู่ในเส้นทางสายนี้ ดูเหมือนว่าคำตอบของปัญหาเหล่านี้จะเลือนลางเต็มที
แนวคิดว่าด้วยโพธิสัตว์
โพธิสัตว์ มาจากคำว่า โพธิ ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำว่า พุธ แปลว่า รู้ ตรัสรู้ หรือปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ บางทีก็ใช้สื่อถึงญาณหยั่งรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บวกเข้ากับคำว่า สัตว์ / สัตต์ / สัตตว์ ที่หมายถึงภาวะชีวิตหรือสัตว์ที่ยังเกี่ยว ข้อง ผูก ติด รวมความจึงหมายถึงสัตว์ผู้ฉลาด ข้องติดอยู่กับความรู้ มุ่งสู่การตรัสรู้ พูดง่าย ๆ คือมีเป้าหมายชีวิตที่การเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งในอนาคต
ในทางพุทธศาสนา พระพุทธเจ้ามีอยู่สองจำพวกใหญ่ ๆ ทั้งคู่สะท้อนความมีปัญญามากเหมือนกัน แต่พวกหนึ่งจะไม่ผูกพันตนด้วยปณิธานว่าจะช่วยสัตว์อื่นโดยไม่จำกัดให้หลุด พ้นไปพร้อมกับตน เรียกพระพุทธเจ้าพวกแรกนี้ว่า พระปัจเจกพุทธเจ้า ท่านจะบำเพ็ญบารมี สั่งสมกำลังปัญญาจนถึงขีดสุด เกิดชาติภพใดก็แล้วแต่ สามารถที่จะแสวงหาเส้นทางหลุดพ้นจากกองทุกข์ได้เอง ไม่ต้องรอรับคำสอนจากพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งก่อนเป็นพิเศษ ครั้นหลุดพ้นแล้วก็รอนแรมเพียงลำพังไปตามที่ต่าง ๆ อบรมสั่งสอนชาวบ้านบ้างเมื่อเหตุปัจจัยเอื้ออำนวย เที่ยวไปผู้เดียวอย่างไม่มีห่วงกังวล ดังคำอุปมาที่ว่า เที่ยวไปผู้เดียวดุจนอแรด แรดมีนอเดียวฉันใด พระปัจเจกพุทธเจ้าก็นิยมจาริกเพียงลำพังผู้เดียวฉันนั้น
พระพุทธเจ้าพวกที่สองไม่เพียงมีกำลังปัญญามาก สามารถแสวงหาหนทางหลุดพ้นโดยลำพังได้ก็จริง แต่ท่านจะผูกพันตนด้วยปณิธานแห่งกรุณาเท่า ๆ กับปณิธานแห่งปัญญา พวกแรกเน้นปัญญาเป็นหลัก ไม่ใช่ไม่กรุณา แต่ไม่มีจริตผูกพันตนกับคนอื่นมากกว่า ปณิธานแห่งกรุณาจึงดูเหมือนอ่อนกำลังกว่าพระพุทธเจ้ากลุ่มนี้ กรุณาคือปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ พระพุทธเจ้าพวกนี้จะบำเพ็ญบารมีเพื่อช่วยเหลือตนเองและผู้อื่นให้หลุดพ้นไป พร้อม ๆ กัน เรียกพระพุทธเจ้าพวกหลังนี้ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เหตุเพราะต้องการช่วยเหลือสัตว์ให้หลุดพ้นไปพร้อมกับตนโดย ไม่จำกัด ทำให้พระพุทธเจ้าพวกหลังนี้ ก่อนจะตรัสรู้จำเป็นต้องหล่อหลอมปัญญาของตนให้ถึงขีดสุด ถ้ามีกำลังปัญญาสูงสุดก็จะสามารถเข้าใจและเกื้อกูลสัตว์น้อยใหญ่ได้ ทำให้ดวงจิตของพวกท่านต้องเวียนว่ายตายเกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า เรียนรู้ทุกข์และทางออกจากทุกข์ในทุกรูปแบบ เพื่อที่ว่าจะได้ไม่มีสัตว์ใดถูกละทิ้งหรือเพิกเฉยในสังสารวัฏ
การเวียนว่ายตายเกิดนับชาติไม่ได้ของบุคคลที่ตั้งปณิธาน เหล่านี้ ทำให้ท่านเข้าใจความเป็นไปของสัตว์ในทุกแง่มุม รู้จักทุกข์ในทุกรูปแบบ ที่ว่ารู้จักทุกข์นั้นเพราะท่านต้องสละชีวิตของตนให้สัมผัสทุกข์เหล่านั้นจน ถึงที่สุด เมื่อสัมผัสถึงที่สุดแล้วจึงหาหนทางที่ถูกต้องในการช่วยเหลือสัตว์ต่อไปได้ เรียกง่าย ๆ ว่า ต้องอุทิศตนลองผิดลองถูกอยู่ในวัฏสงสาร การลองผิดลองถูกของพวกท่านก็คือเรียนรู้ทุกข์ให้เต็มที่ เสวยอารมณ์ของสัตว์โลกให้สุดขีด ถ้าไม่รู้จักความสุดขีดก็จะมองไม่เห็นทางสายกลาง
แต่ก็เพราะมีเป้าหมายอุดมคติเพียงนั้น ทำให้บุคคลเยี่ยงนี้ต้องมีปัญญาเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิตทุกภพทุกชาติไป คำเรียก โพธิสัตว์ จึงหมายถึงคนที่กำลังบำเพ็ญตนเพื่อมุ่งการเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ระหว่างที่ยังไม่ตรัสรู้ก็จะเรียกว่าโพธิสัตว์ โพธิสัตว์อาจเสวยชาติเป็นมนุษย์ เทวดา เดรัจฉาน หรืออะไรก็ได้ตามแต่กำลังจิตจะนำไป แม้ชาติที่เกิดมาเป็นมนุษย์บางทีก็อยู่ในเพศนักบวช บางทีก็เป็นผู้ครองเรือน รูปแบบภายนอกไม่สำคัญเท่ากับปณิธานภายใน อย่างไรเสีย คนที่เกิดอยู่ในทางสายนี้จะต้องดำเนินชีวิตเพื่อบ่มเพาะเชื้อหลัก ๆ สองอย่างอยู่ตลอดเวลา นั่นคือเชื้อปัญญา (wisdom) กับเชื้อกรุณา (compassion) สองเชื้อนี้จะผสานกันสร้างกลยุทธ์ในการช่วยสัตว์ที่เรียกว่า มหาอุบาย ถ้าไม่มีปัญญาก็ย่อมไม่สามารถหาอุบายโน้มน้าวใจสัตว์ที่มีอุปนิสัยหลากหลาย และถ้าไม่มีกรุณาก็ย่อมไม่มีแรงบันดาลใจจะคิดอุบายไปช่วยใคร
หากศึกษาชีวิตของโพธิสัตว์จะพบว่า ไม่ว่าจะเกิดกี่ชาติ แต่ละชาติจะมีบางอย่างเหมือนกัน นั่นคือความเสียสละ ยิ่งใกล้ชาติที่จะหลุดพ้นมาก การเสียสละก็จะดำเนินไปอย่างเข้มข้นมาก ไม่เพียงแค่วัตถุสิ่งของ โพธิสัตว์ในหลายครั้งหลายคราต้องเสียสละอวัยวะและชีวิตของตนเพื่อการได้มา ซึ่งปัญญาอันยิ่งใหญ่
ทีนี้เราขีดวงมองเพียงแค่สมบัติเฉพาะตนของโพธิสัตว์อัน ได้แก่ทรัพย์สิน อวัยวะ เลือดเนื้อ ตลอดจนชีวิต เรายังไม่ได้มองความสัมพันธ์ระหว่างโพธิสัตว์กับคนอื่น ถ้าโพธิสัตว์มีความรักความผูกพันต่อใคร ซึ่งแน่นอนว่าในสังสารวัฏอันกว้างใหญ่นี้ ความรักความผูกพันระหว่างดวงจิตต่อดวงจิตย่อมมีมาแล้วต่อเนื่องและยาวนาน โพธิสัตว์เสียสละอวัยวะกับชีวิตเราก็มองว่าทำยากมากเต็มที แต่ท่านยังต้องเสียสละความรักความผูกพันที่มีต่อดวงจิตอื่นด้วย การเสียสละความรักความผูกพันอันทำให้คนที่เรารักเป็นทุกข์กับการเสียสละร่าง กายของเราเท่านั้น อย่างไหนสร้างความเจ็บปวดมากกว่า ระหว่างการสละสมบัติส่วนตนกับการยอมเสียความรักความอบอุ่นที่คนรักของเรา ครอบครองอยู่ด้วย อันไหนจะนำมาซึ่งความทุกข์มากกว่ากัน
ปณิธานของโพธิสัตว์
จะเป็นโพธิสัตว์ได้ไม่ใช่แค่อธิษฐานขอเป็นพระสัมมาสัมพุทธ เจ้าพระองค์หนึ่งแล้วก็จบ ถ้าคิดว่าได้อุบัติเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วก็ถือว่าถึงจุดหมายปลายทาง นั่นเป็นความเข้าใจผิดอย่างมหันต์ และบุคคลนั้นจะไม่มีทางบรรลุปัญญาญาณหรือแม้แต่คุณธรรมขั้นสูงสุด โพธิสัตว์ที่แท้จะไม่สนใจว่าตนจะได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือไม่ แต่จะสนใจว่าทำอย่างไรจึงจะช่วยเหลือตนกับคนอื่นให้เกิดปัญญาได้โดยไม่จำกัด
ถ้าตั้งเป้าหมายไว้ที่ภาวะใดภาวะหนึ่ง ในกรณีนี้คือขอเป็นพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง การคิดอย่างนั้น เอ่ยวาจาอย่างนั้น อาจเป็นการสร้างเงื่อนไขบางอย่างขึ้นมาว่าฉันจะต้องได้หรือฉันจะต้องเป็น เช่นนี้เช่นนั้นในอนาคต เป็นการผูกพันจิตไว้ด้วยภาวะบางอย่างที่ตนคาดหวัง การช่วยเหลือสัตว์อย่างบริสุทธิ์ใจจึงเป็นไปได้ยาก ถ้ามุ่งที่การเป็นพระพุทธเจ้าก่อนสิ่งอื่นใด บุคคลนั้นย่อมช่วยเหลือสัตว์เพียงเพื่อให้ตนบรรลุภาวะอันพึงปรารถนา คิดแบบนี้มุ่งทำเพื่อตนเองก่อนผู้อื่น จึงไม่ใช่ปณิธานของคนมีปัญญาและกรุณาจริง ๆ ที่ว่าไม่มีปัญญาจริงเพราะยังหล่อเลี้ยงอัตตา (ความยึดถือตนของตน) ในระดับละเอียด ที่ว่าไม่มีกรุณาจริงเพราะคิด พูด และทำเพื่อตนเป็นหลัก
ในทางตรงข้าม ใครก็ตามที่สมควรถูกเรียกว่าเป็นโพธิสัตว์ ย่อมคำนึงถึงสัตว์ใหญ่น้อยก่อนตนเอง เพราะปรารถนาจะให้สัตว์ทั้งหลายพ้นทุกข์ไปด้วยกันพร้อมกัน การได้มาซึ่งปัญญาเพื่อความพ้นทุกข์ของสัตว์โลกจึงเป็นเป้าหมายอันดับแรก หาใช่ทำให้ตนบรรลุภาวะประเสริฐ ดีงาม หรือสูงสุดไม่ การขอให้ตนอุบัติเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเพียงวิถีทางที่ทำให้บรรลุเป้า หมาย เพราะมองไม่เห็นว่าจะมีภาวะชีวิตอื่นใดที่สามารถช่วยสัตว์ได้มากเท่ากับการ เป็นพระพุทธเจ้า จำเป็นต้องเกิดเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อทำให้ปณิธานของตนสำเร็จ ถ้ามีภาวะชีวิตอื่นที่ช่วยสัตว์ให้พ้นทุกข์ได้ดีกว่าหรือมากกว่าการเกิดเป็น พระพุทธเจ้า โพธิสัตว์จะไม่รีรอลังเลที่จะเลือกเส้นทางชีวิตนั้น สำหรับพวกท่าน สัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเพียงชื่อเรียกภาวะที่ช่วยสัตว์ได้ไม่จำกัดแค่นั้น
เพราะฉะนั้น สำหรับคนที่คิดว่าอยากเป็นพระพุทธเจ้าเพราะจะได้ความงามอย่างนั้น ความดีอย่างนี้ หรือความจริงสูงสุด คนเหล่านี้อยู่ห่างไกลจากภาวะของโพธิสัตว์ อาจหยั่งไม่ถึงปัญญาแบบนั้นจึงบิดเบือนภาวะแห่งโพธิสัตว์ให้กลายเป็นเรื่อง สนองตัณหา (ความอยาก) ของตนเอง โพธิสัตว์เป็นแนวคิดที่เปี่ยมด้วยอุดมคติ ประกอบด้วยคุณธรรมชั้นเลิศนานาประการ ไม่ใช่ภาวะที่ปุถุชนคนมีกิเลสจะเข้าใจและเป็นได้ง่าย ๆ ปณิธานของโพธิสัตว์มีหลากหลาย แต่ในความหลากหลายนั้นสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือการให้โดยไม่หวังผล (อาจเรียกว่าเป็นการเสียสละแบบที่ระบุไว้ข้างต้นก็ได้) แค่นี้สำหรับชาวบ้านอย่างพวกเราก็ยากที่ทำได้แล้ว
โดยทั่วไป บุคคลที่ได้ชื่อว่าโพธิสัตว์จะผูกพันตนไว้ด้วยมหาปณิธานสี่ประการคือ
๑) จะละกิเลสทั้งหลายให้หมดสิ้น
๒) จะศึกษาธรรม (นัยยะคือธรรมชาติ) ทั้งหลายให้แตกฉาน แจ่มแจ้ง รู้จริง
๓) จะโปรดสัตว์ไม่จำกัด และ
๔) จะบรรลุพุทธภูมิ (คือตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ)
ปณิธานเหล่านี้ไม่ได้ถูกผลักดันจากปัจจัยภายนอก ไม่ได้มาจากการท่องตามตำรา หรือเดินตามรอยโพธิสัตว์คนก่อน ๆ แต่เกิดจากใจของบุคคลนั้นที่ต้องการทำสี่ข้อนี้ให้สำเร็จ จะกี่ชาติกี่ภพก็ตามแต่ จะลำบากยากเข็ญอย่างไรก็ช่าง จะได้รับคำสรรเสริญชื่นชมมากหรือน้อยก็เป็นเรื่องของเขา เหล่านี้ไม่กระทบใจที่เข้มแข็งของเหล่าโพธิสัตว์เลย แต่กว่าจะได้ใจที่เข้มแข็งก็ต้องล้มลุกคลุกคลานมาอย่างยาวนานในสังสารวัฏ