PDA

แสดงเวอร์ชันเต็ม : มาลดทิฐิมานะของตัวเอง...กันเถอะ!!!



*8q*
09-06-2009, 03:51 PM
ที่ยอดบนต้นไม้ มีใบเขียวชอุ่มเหลืองอ่อน
พลิกพลิ้วไหวไปตามแรงลม
ไล่ลำต้นต่ำลงมามีสะเก็ดเปลือกไม้แข็งขรุขะ

คือ ความจริงว่า
ของอ่อนอยู่ข้างบน ของแข็งอยู่ข้างล่าง
ดุจเดียวกัน คนที่อ่อนน้อมถ่อมตนไม่ถือตัว
แม้อยู่ในที่ต่ำแต่ใจก็สูง
คนที่มีทิฐิมานะแข็งกระด้าง แม้อยู่ในที่สูงแต่ใจก็ต่ำ

การแสดงอาการอันอ่อนน้อมค้อมเคราพ
ไม่มีอะไรสูญเสียหรอก นอกจากทิฐิมานะ
และทิฐิมานะก็ไม่เคยให้อะไร นอกจากความด้านกระด้าง

ถ้าไม่บรรเทาถอนมันจะฝังติดตัวแน่นขวางกั้นทุกอย่าง
แสงสว่างทางพระนิพพาน ก็อย่าหวังเลย

คนถือดีดื้อรั้นดันทุรังด้วยทิฐิ
จะรองรับอะไรได้ มีแต่จะล้นทะลักออกมา

http://www.dhammajak.net/forums/images/smilies/b43.gif http://www.dhammajak.net/forums/images/smilies/b43.gif http://www.dhammajak.net/forums/images/smilies/b43.gif


http://www.agalico.com/board/images/statusicon/wol_error.gifกดที่เเถบนี้เพื่อดูรูปขนาดดั้งเดิมhttp://variety.teenee.com/saladharm/img7/60637.jpg
มานัตถัทธสูตร

มีพราหมณ์คนหนึ่งชื่อ มานัตถัทธะ พำนักอยู่ในกรุงสาวัตถี
ไม่ยอมไหว้มารดา บิดา อาจารย์ และพี่ชายเลย
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ามีบริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อม ทรงแสดงธรรมอยู่
มานัตถัทธพราหมณ์คิดว่า

"พระสมณโคดมนี้ มีบริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อม ทรงแสดงธรรมอยู่
ทางที่ดีเราควรเข้าไปหาพระสมณโคดม
ถ้าพระสมณโคมทักทายเรา เราก็จะทักทายท่าน
ถ้าท่านไม่ทักทายเรา เราก็จะไม่ทักทายท่านเหมือนกัน"

มานัตถัทธพราหมณ์เข้าไปหาพระผู้มีพระภาคเจ้า
ถึงที่ประทับ ยืนนิ่งอยู่ ณ ที่ควร
พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงทักทาย

เขาคิดว่า "พระสมณโคดมนี้ไม่รู้อะไร" หมุนตัวจะกลับ

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความคิดของเขา
จึงตรัสกับเขาด้วยพระคาถาว่า

พราหมณ์ในโลกนี้ ใครที่ยังมีมานะไม่ดีเลย
บุคคลมาด้วยประโยชน์ใด พึงเพิ่มพูนประโยชน์นั้นไว้เถิด

มานัตถัทธพราหมณ์คิดว่า

"พระสมณโคดมนี้ทรงทราบจิตของเรา"

จึงน้อมศีรษะลงแนบแทบพระยุคลบาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ณ ที่นั้นเอง
จุมพิตพระยุคลบาทพระผู้มีพระภาคเจ้า และนวดด้วยมือ ประกาศชื่อว่า

"ท่านพระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ชื่อมานัตถัทธะ
ท่านพระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ชื่อมานัตถัทธะ"

หมู่บริษัทที่อยู่ในที่นั้นต่างก็ฉงนสนเทห์ว่า

"น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏมาก่อน
มานัตถัทธพราหมณ์นี้ไม่ยอมไหว้มารดาบิดา อาจารย์และพี่ชาย
แต่พระสมณโคมทรงทำคนเช่นนี้ให้นอบน้อมได้อย่างดียิ่ง"

ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกับมานัตถัทธพราหมณ์ว่า

"พอเถิด พราหมณ์ เชิญท่านลุกขึ้นนั่งบนที่นั่งเถิด
เพราะท่านมีจิตเลื่อมใสในเราแล้ว"

มานัตถัทธพราหมณ์ลุกขึ้นนั่งบนที่นั่งแล้ว
กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า

"บุคคลไม่ควรทำมานะในใคร
ควรมีความเคราพในใคร พึงยำเกรงในใคร
บูชาใครด้วยดีแล้วจึงจะเป็นการดี"

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบด้วยพระคาถาเช่นกันว่า

"บุคคลไม่ควรทำมานะในมารดาบิดา
พี่ชาย และในอาจารย์เป็นที่ ๔
พึงมีความเคารพในบุคคลเหล่านั้น
พึงยำเกรงในบุคคลเหล่านั้น
บูชาบุคคลเหล่านั้นด้วยดีแล้วจึงเป็นการดี

บุคคลพึงทำลายมานะ ไม่ควรกระด้าง
พึงนอบน้อมพระอรหันต์ ผู้เยือกเย็น
ทำกิจเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ ไม่มีผู้ใดยิ่งกว่า"

ธรรมชาติฝ่ายลบอย่างหนึ่ง
ซึ่งติดตามมาตั้งแต่แรกเกิด และเริ่มขยายตัวเติบโต
แสดงผลออกมาทางกิริยาท่าทางในลักษณะกร่างวางก้าม

ครั้นมันเพิ่มปริมาณมากขึ้น
ก็กลายเป็นความแข็งกระด้างหยิ่งยโส
ไม่ยอมอ่อนน้อมค้อมเคารพใคร

ในคราวประชุมปรึกษาหารือกัน มักจะยืนกระต่ายขาเดียว
ยืดตัวนั่งตรงคอแข็งหน้าเชิด
ไม่ยอมรับฟังความเห็นของคนอื่น
ยิ่งถึงคราวทะเลาะวิวาท ก็ยิ่งยากจะยินยอม

ธรรมชาติฝ่ายลบนั้นท่านเรียกว่า
ทิฐิมานะ คือ ความเห็นถือตนถือตัว

คนที่มีทิฐิเป็นเจ้าเรือนเต็มไปด้วยมานะกระด้างถือตัว
เวลาแสดงความคิดเห็น ก็ไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น
ประเภทกูถูกอยู่คนเดียว

เชื่อว่า หลาย ๆ ท่านคงเอือมระอา ไม่ปรารถนาจะร่วมเสวนาด้วย
เพราะรู้ว่า แม้แสดงความคิดเห็นดีเพียงใด เขาก็ไม่ยอมรับ
ผลร้ายหลายประการนี้ ล้วนเกิดจากเจ้าทิฐิมานะนี้ทั้งสิ้น

ทิฐิมานะเกิดขึ้นได้อย่างไร
เกิดขึ้นจาก อวิชชา ตัณหา อุปาทาน
ซึ่งทำให้หลง อยาก ยึดมั่นสำคัญผิด
เข้าใจอนัตตาว่าเป็นอัตตา
คือเห็นชีวิตสังขารซึ่งตกอยู่ในสภาพอนัตตาหาตัวตนมิได้
โดยความเป็นอัตตามีตัวตน

เมื่อเห็นว่ามีอัตตาตัวตน ก็สำคัญว่านี่เรา นี่ของเรา นั่นเขานั่นของเขา
ทิฐิมานะก็ก่อตัวทันที และเปิดทางให้สรรพกิเลสเข้ามาอาศัย
ทิฐิมานะก็ครองเหย้าเนานอนสบาย

การถือตนถือตัว และการยึดถือนานัปการ
จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากไม่เห็นว่าเป็นอัตตา*

การรื้อถอนทิฐิมานะ ให้ได้จริง ๆ
ต้องรื้อถอนที่ต้นตอคือ อัตตาตัวตน
โดยปรับมุมมองใหม่ว่า

แท้จริง ชีวิตสังขารตกอยู่ในสภาพอนัตตาหาตัวตนที่เที่ยงแท้ถาวรไม่ได้
ครั้นเห็นเป็นอนัตตา ทิฐิมานะก็จะพังทลาย สร่างคลายจากการยึดถือไปเอง

การรื้อถอนทิฐิมานะละอัตตามิใช่เรื่องง่าย
ละไม่ได้ก็มาบรรเทาลดลงดีกว่า
บรรเทาทิฐิมานะโดยการลดอัตตาตัวตนลงบ้าง
โดยพิจารณาเห็นโทษดังกล่าวในเบื้องต้น
มันไม่ส่งผลดีหรอก ทั้งแก่ตนและคนอื่นนั่นแหละ.

* ดังกล่าวนี้ตรงข้อความที่ พระราหุล
ได้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

อะไร เป็นเหตุให้คนอหังการ (ตัวกู-ทิฐิ) มมังการ (ของกู-ตัณหา)

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

รูปทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
หยาบ ละเอียด เลว ประณีต ไกล หรือใกล้
เป็นเหตุให้เกิดอหังการ มมังการ
เพราะปุถุชนไม่เห็นตามความเป็นจริงว่า

"นั่นมิใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นมิใช่อัตตาเรา "

http://www.dhammajak.net/forums/images/smilies/b8.gif http://www.dhammajak.net/forums/images/smilies/b8.gif http://www.dhammajak.net/forums/images/smilies/b8.gif

(ที่มา : จาก อนุสยสูตร สํ.นิ. ๒๐๐/๓๐๐/๑๖
ใน พระไตรปิฎกร่วมสมัย ๒ โดย พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตต์)


http://variety.teenee.com/saladharm/16297.html
<!-- / message --><!-- sig -->
__________________