แสดงเวอร์ชันเต็ม : ต้องเข้าใจให้ดี
http://variety.teenee.com/saladharm/img4/62545.jpg
ต้องเข้าใจให้ดี
ในการเจริญสติในการเจริญวิปัสสนานั้นต้อง
มีกิเลสมาอยู่เสมอจนกว่าผู้ที่เจริญวิปัสสนานั้น
เป็นพระอรหันต์จึงจะปราศจากกิเลสได้
ยกตัวอย่างเช่น สมมุติว่าท่านนั้นเดินอยู่ที่สวนผลไม้แห่งหนึ่ง
ในระหว่างนั้นท่านได้เจริญสติกำหนดรู้
ในระหว่างนั้นเองเกิดอาการคิดเรื่องๆหนึ่ง
และทำให้จิตนั้นฟุ้งซ่าน นั่นคือโมหะ
แล้วท่านก็คิดอีกว่าทำไมต้องคิดด้วย
ต้องพยายามหยุดคิดแต่ ไม่สามารถหยุดได้ ความอยากที่จะไม่ให้คิดคือ โลภะ
แล้วก็เกิดความไม่พอใจว่าทำไมถึงทำให้หยุดคิดไม่ได้นะ ความไม่พอใจนั้นแหละคือโทสะ
บางครั้งสติเผลอ นั่นแหละคือ โมหะ
เห็นไหมว่า ปุถุชน
ยังมีกิเลสอยู่ คือโลภะโทสะและโมหะนั่นเอง
วิธีแก้ก็คือต้องมีการเจริญสติเยอะๆพร้อมกับฟังธรรมควบคู่ไปด้วย
http://variety.teenee.com/saladharm/16994.html
ธรรมที่พระพุทธเจ้าสอนไว้มีมากมายนับได้ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ การนำธรรมาปฏิบัติในชีวิตจริงนั้นไม่ต้องหยิบมาใช้ทุกพระธรรมขันธ์ เราเลือกใช้ธรรมที่เหมาะกับเรา ท่านเรียกว่า ธรรมนุธรรมปฏิบัติ หมายถึงปฏิบัติข้อธรรมที่สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของเรา ถ้าอยากเป็นเศรษฐีให้ปฏิบัติธรรมที่เรียกว่า "หัวใจเศรษฐี" ถ้าอยากเป็นที่รักของคนทั่วไปก็ปฏิบัติธรรมที่เรียกว่า พรมวิหาร ๔
ในฤดูกาลเข้าพรรษาปีนี้ ขอให้เลือกข้อธรรมบางประการมาปฏิบัติ เมื่อมีข้อธรรมนั้นอยู่ประจำใจตลอดเวลา ชีวิตจะมีความสุขมากขึ้น ดั่งคนขับแท็กซี่คนหนึ่งมีความสุขในชีวิตเพราะเขามีธรรมประจำใจ
http://www.dhammathai.org/dhammastory/pic/taxi.jpg
วันนั้น ผู้เขียนเรียกแท็กซี่คันหนึ่งเพื่อให้ไปส่งที่วัดมหาธาตุ ตกลงจ่ายค่าโดยสาร ๕๐ บาท ผู้เขียนนั่งเบาะหน้าคู่กับคนขับ เมื่อรถแล่นไปได้พักหนึ่ง คนขับแท็กซี่ถามว่า
"ท่านบวชพระมานานแล้วหรือ" ผู้เขียนตอบว่า "บวชมานานแล้ว" เขาถามต่อว่า
"ท่านบวชแล้วมีความสุขดีหรือ"
"ก็เรื่อยๆ นะ" ผู้เขียนตอบแล้วถามกลับไปบ้างว่า "คุณขับแท็กซี่มานานหรือยัง"
"นานแล้วครับ ผมขับแท็กซี่มา ๒๗ ปีแล้วครับ"
"มีความสุขมากครับ ผมขับแท็กซี่แล้วผมดับทุกข์ได้" เขาตอบด้วยน้ำเสียงที่จริงจัง ทำให้ผู้เขียนนึกถึงเรื่องสิทธารถะที่พายเรือข้ามฟากขึ้นทันที
"คุณขับแท็กซี่ตลอดเวลา ไม่เคยประกอบอาชีพอื่นเลยหรือ" ผู้เขียนถามต่อ
เขาตอบว่า "ผมเคยขับรถที่กระทรวงแห่งหนึ่ง แต่ผมอยู่ไม่ได้ ผมไม่ชอบระบบราชการที่เล่นพรรคเล่นพวกกันเหลือเกิน ทำราชการต้องมีเส้นสายครับ ค่าของคนไม่ได้อยู่ที่ผลของงาน ค่าของคนอยู่ที่ว่าเป็นคนของใคร ผมเบื่อหน่ายจึงลาออกไปเป็นพนักงานขับรถที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง แต่ผมก็อยู่ไม่ได้"
"ทำไม ที่มหาวิทยาลัยนั้นก้มีการเล่นพรรคเล่นพวกเหมือนกันหรือ"
"ไม่ใช่อย่างนั้น ผมขอถามหน่อย คนเราเรียนหนังสือไปเพื่ออะไร คนเรียนมากเป็นคนฉลาดมากขึ้นใช่ไหม"
"ก็ควรจะเป็นเช่นนั้น"
"คนเรียนมากฉลาดมากควรมีความสุขมากขึ้นใช่หรือไม่แต่ผมว่าไม่จริง ประสบการณ์ที่มหาวิทยาลัยแห่งนั้นสอนผมว่า คนเรียนมากฉลาดมากกลับทุกข์มากขึ้น พวกดอกเตอร์ครูบาอาจารย์ที่ นั่นมีความทุกข์เหลือเกิน ตัวเองทุกข์คนเดียวไม่พอ ยังพลอยให้นิสิตนักสึกษาทุกข์ไปด้วย ที่เป็นเช่นนั้นแสดงว่าต้องมีอะไรผิดพลาดในระบบการศึกษาของชาติเป็นแน่"
"คุณเห็นว่าผิดพลาดอย่างไร" ผู้เขียนซักถามต่อ
"ผมว่าครูบาอาจารย์สอนผิด พวกเขาสอนให้คนมีความทุกข์แทนที่จะสอนให้คนมีความสุข ผมไปเตือนพวกเขาให้เปลี่ยนวิธีสอนใหม่เพื่อให้นิสิตนักศึกษามีความสุข พวกเขาไม่เชื่อผม ผมจึงลาออกมาขับแท็กซี่เลยครับ"
"คุณบอกพวกเขาว่าอย่างไร"
"อักษรไทยมีพยัญชนะกี่ตัว" เขาย้อนถาม
"สี่สิบสี่ตัว" ผู้เขียนตอบ
"ในสี่สิบสี่ตัวนี้ ท่านทราบไหมว่าอักษรตัวไหนดี และตัวไหนชั่ว ผมไปบอกพวกครูบาอาจารย์ให้สอนว่าอักษรตัวไหนเป็นตัวดี และตัวใดเป็นตัวชั่ว เด็กจะได้ไม่ทุกข์ พวกครูบาอาจารย์ไม่ฟังผมพวกเขาบอกว่าหนังสือไม่มีตัวดีตัวชั่ว มีแต่ตัวกลาง ๆ"
ผู้เขียนถามเขาว่า "อักษรอะไรคือตัวดี อะไรคือตัวชั่ว"
"ตัวชั่วมี ๓ ชั่ว คือ ล ก ล ตัวดีมี ๓ ตัว คือ พ ห ช"
"ล ก ล หมายถึงอะไร"
เขาตอบว่า "ท่านเป็นพระไม่รู้เรื่องนี้ได้อย่างไร พระพุทธเจ้ายังสอนไว้ว่า โลภ โกรธ หลง นั้นไง มันชั่วใช่ไหม ท่าน"
"ใช่แล้ว โลภ โกรธ หลง เป็นอกุศลมูล คือรากเหง้าของความชั่ว คุณเล่นย่ออย่างนี้ใครจะไปรู้ แต่ว่า พ ห ช คืออะไรเป็นตัวดีจริงหรือเปล่า"
เขาตอบว่า "เพื่อนขับแท็กซี่ด้วยกันมีความทุกข์มาก พวกเขาบ่นว่า ค่าเช่ารถแพง รายได้ก็น้อย แต่ผมไม่ทุกข์ เพราะผมใช้ พ พาน คือ รู้จักพอ คนเราถ้ารู้จักพอจะมีความสุขใช่ไหม"
ผู้เขียนเห็นด้วยกับคำตอบของเขา เพราะพระพุทธเจ้าตรัสว่า "สนฺตุฏฺฐี ปรมํ ธนํ ความรู้จักพอเป็นยอดทรัพย์ คนจนมีสองประเภทคือ คนจน เพราะ ไม่มี คนจนเพราะ ไม่พอ คนส่วนใหญ่จน เพราะไม่รู้จักคำว่า "พอ"
ความไม่พอใจจนเป็นคนเข็ญ
พอแล้วเป็นเศรษฐีมหาศาล
จนทั้งนอกทั้งในไม่ได้การ
ต้องคิดอ่านแก้จนเป็นคนพอ
คนที่มีความสุขในชีวิตต้องเป็นคนรู้จักพอ หมายถึงว่า "ความพอใจในสิ่งที่มี ยินดีในสิ่งที่ทำ" ใครไม่มีสิ่งที่ตัวชอบก็ต้องชอบสิ่งที่ตัวมี ภาษิตฝรั่งว่า "นกตัวเดียวในกำมือดีกว่านกสองตัวบนต้นไม้" คนไทยทุกวันนี้หลงอยู่ในวัตถุนิยม ได้เท่าไรก็ไม่รู้จักพอ
ผู้เขียนถามคนขับแท็กซี่ต่อไปว่า "ห คืออะไร"
เขาตอบว่า "ห คือรู้จักให้ ผู้โดยสารต่อราคากับผมผมลดให้เขาบ้าง ถ้าผู้โดยสารขอให้ผมไปส่งต่ออีกนิด ผมก็ไปให้ ผมถือว่าผมให้บริการแก่ผู้โดยสาร ผู้โดยสารก็ให้ค่าโดยสารแก่ผม"
ผู้เขียนเห็นด้วยกับเขา สังคมอยู่ได้เพราะมีการให้และการรับจิตที่คิดจะให้สบายกว่าจิตที่คิดจะเอา ในครอบครัวใด ทุกคนคิดแต่จะเอาจะไม่มีใครได้ แต่ถ้าทุกคนคิดจะให้ทุกคนจะได้ พระพุทธเจ้าตรัสว่า "ปูชโก ลภเต ปูชํ, วนฺทโก ปฏิวนฺทนํ ผู้บูชาเขาย่อมได้รับการบูชาตอบ ผู้ไหว้เขาย่อมได้รับการไหว้ตอบ" และว่า "ททมาโนปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก"
ผู้เขียนถามต่อไปว่า "แล้ว ช คืออะไร"
รถแท็กซี่ติดไฟแดงอยู่หน้าสุด ไฟเขียวส่งสัญญาณขึ้นแล้วคนขับแท็กซี่ยังไม่ยอมออกรถ เพราะสนทนาธรรมเพลิน รถคันหลังจึงบีบแตรไล่ คนขับแท็กซี่จึงกล่าว่า "ไฟเขียวเพิ่งขึ้น เขาบีบแตรไล่ผมแล้ว ไม่รู้จะรีบไปไหน ผมโดนบีบแตรไล่เป็นประจำ แต่ผมไมโกรธหรือหัวเสีย เพราะผมใช้ ช ช้างครับ
"หมายถึงอะไร"
ช่างเขาเถอะ ผมโดนบีบแตรไล่ผมก็คิดว่าช่างเขาเถอะนั่นคือ การปล่อยวางแบบหนึ่ง ทำให้สบายใจดี
...ใครชอบใครชังช่างเถิด
ใครเชิดใครแช่งช่างเขา
ใครเบื่อใครบ่นทนเอา
ใจเราร่มเย็นเป็นพอฯ
เมื่อรถแท็กซี่ถึงวัดมหาธาตุ ผู้เขียนจ่ายค่าแท็กซี่ไป ๖๐ บาท เพิ่มจากราคาที่ตกลงกันไว้ ๑๐ บาทเลย แต่เขาขอรับเพียง ๕๐ บาท เมื่อถามว่าเพราะเหตุไร เขาตอบว่า
"ผมไม่เอาหรอกครับ ผมรู้จักพอ"
แล้วเขาก็ขับรถต่อไปอย่างมีความสุข เพราะเขามีธรรมประจำใจสามข้อเท่านั้น คือ รู้จักพอ(สันโดษ) รู้จักให้ (ทาน) และรู้จักปล่อยวาง (จาคะ)
http://www.dhammathai.org/flowers/flower13.gif
http://www.dhammathai.org/flowers/flower13.gifhttp://www.dhammathai.org/dhammastory/story48.php
ขับเคลื่อนระบบโดย vBulletin™ Version 4.2.2 Copyright © 2024 vBulletin Solutions, Inc. All rights reserved.