PDA

แสดงเวอร์ชันเต็ม : ถอนอาลัย อุปสมานุสสติ ขั้นวิมุตติ - ๖



*8q*
09-17-2009, 05:44 PM
อุปสมานุสสติ ขั้นวิมุตติ - ๖
ถอนอาลัยด้วยศีล สมาธิ ปัญญา

http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/302/10302/images/1211818318.jpg
.
อุปสมานุสสติ ขั้นวิมุตติ
.
ถอนอาลัยด้วยศีล สมาธิ ปัญญา


เพราะฉะนั้น

เมื่อยังถอนอาลัยไม่ได้ก็ยังถอนความทุกข์ทั้งปวงไม่ได้

เมื่อประสงค์จะถอนความทุกข์ทั้งปวง

ก็ต้องถอนอาลัยทำลายอาลัยนี้ให้สิ้นไปโดยลำดับ

ด้วยศีลด้วยสมาธิด้วยปัญญา

การถอนโดยลำดับนี้

ก็เป็นการที่ทำให้พบความพ้นทุกข์ไปได้โดยลำดับเช่นเดียวกัน

อาลัยอย่างหยาบย่อมจะทำให้ละเมิดศีล

เมื่อละอาลัยอย่างหยาบได้ก็รักษาศีลได้

อาลัยอย่างกลางก็ทำให้ใจไม่เป็นสมาธิ
เพระเมื่อใจหมกมุ่นอยู่ในอาลัยต่าง ๆ คือในสิ่งที่ผูกพันใจ

อันหมายความว่า
เมื่อจิตใจนี้ยังอยู่ในอาลัยก็มาอยู่ในอารมณ์ของสมาธิไม่ได้
เมื่อจิตใจออกจากอาลัยได้จึงจะมาอยู่ในอารมณ์ของสมาธิได้

คือเมื่อจิตใจนี้อยู่กับอารมณ์มีรูปเสียงเป็นต้น
ที่น่ารักใคร่ปรารถนาพอใจทั้งหลาย

ครุ่นคิดอยู่แต่เรื่องเหล่านี้
เรื่องรูปบ้าง เรื่องเสียงบ้าง

ที่เป็นบุคคลบ้าง เป็นวัตถุบ้าง เป็นการงานบ้าง
ฉะนั้น

ก็ชื่อว่ายังมีเรื่องเหล่านั้นเป็นอาลัย
คืออยู่กับเรื่องเหล่านั้น

มีความสุข ความพอใจอยู่กับเรื่องเหล่านั้น
ครั้นพรากใจออกมาจากเรื่องเหล่านั้น

เข้ามาสู่อารมณ์ของสมาธิ
จิตใจก็จะอยู่ไม่ได้
จะต้องวิ่งกลับไปหาอาลัย

ฉะนั้น
ท่านจึงเปรียบเหมือนอย่างว่าปลาที่อยู่ในน้ำ

เมื่อจับขึ้นจากน้ำมาวางไว้บนบก
ปลาก็จะดิ้นกลับไปสู่อาลัย

ฉะนั้น
จึงจำเป็นที่จะต้อง

ใช้ความเพียรใช้สตินำจิตมาตั้งอยู่ในอารมณ์ของสมาธิใหม่
จนจิตได้ความสุขจากสมาธิขึ้นบ้าง

จิตจึงจะมาตั้งอยู่ในอารมณ์ของสมาธิได้ดีขึ้น
ก็แสดงว่า

จะต้องกำจัดอาลัยอย่างกลาง
สงบอาลัยอย่างกลาง

จึงจะทำสมาธิได้
อาลัยอย่างละเอียด

ก็คือตัณหาอุปาทานนั้นเอง
และโดยเฉพาะตัณหาอุปาทานนี้

ก็เป็นความอยากความยึดอยู่ในขันธ์
ที่เป็นที่ยึดถือทั้งห้าประการนี้

คือในกายและใจนั้นเองของทุก ๆ คน
ฉะนั้น

จึงมีความอยากยึดอยู่ในขันธ์อันเป็นที่ยึดถือทั้งห้านี้
หรือในนามรูป
หรือว่ากายใจอันนี้

ฉะนั้น
เมื่ออบรมปัญญาที่ตรัสให้พิจารณาให้เห็นลักษณะ

คือเครื่องกำหนดหมายอันแท้จริงของขันธ์ห้า
ว่าไม่เที่ยง เป็นสิ่งเกิดดับ เป็นทุกข์

มีความแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปเป็นธรรมดา
เป็นอนัตตาไม่ใช่ตัวตนบังคับให้เป็นไปตามปรารถนาไม่ได้

เมื่อพิจารณาดังนี้
ตัณหาอุปาทานก็จะแย้งอยู่เสมอ

ที่ว่าไม่เที่ยงนั้นก็รู้สึกอยู่ว่าเที่ยง
ที่ว่าเป็นทุกข์นั้นก็รู้สึกอยู่ว่าสุข

ที่ว่าเป็นอนัตตานั้นก็รู้สึกว่าเป็นอัตตาตัวตน
เมื่อเป็นดังนี้

ก็แปลว่าปัญญายังไม่เกิด
เพราะว่า

ยังอาศัยอยู่กับอาลัยอย่างละเอียด
คือตัณหาอุปาทานนั้นเอง

ประกอบด้วยอวิชชาคือความไม่รู้
จึงยังเห็นยืนยันอยู่ว่า

เที่ยง เป็นสุข เป็นอัตตาคือตัวตน
นี่แหละเป็นอาลัยอย่างละเอียดซึ่งยากที่จะถอนได้

แต่เมื่ออาศัยใช้ปัญญาพิจารณาอยู่บ่อย ๆ
ในเบื้องต้นก็ตามสัญญา

คือความกำหนดหมาย
ตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า

และ
กำหนดหมายลงดูที่ขันธ์ห้าหรือว่ารูปนามอันนี้

เมื่อกำหนดหมายดูอยู่บ่อย ๆ ดังนี้
อาการที่ไม่เที่ยงของขันธ์ห้า

อันปรากฏอยู่เป็นประจำก็ย่อมจะปรากฏให้เห็น
อาการที่เป็นทุกข์ของขันธ์ห้า

ก็จะปรากฏให้เห็น
อาการที่เป็นอนัตตาของขันธ์ห้า
ก็จะปรากฏให้เห็น

เพราะ
เป็นอาการที่มีอยู่ที่เป็นไปอยู่ทุกขณะอันไม่อาจจะปกปิด

อาการที่ไม่เที่ยงก็ไม่เที่ยงอย่างเปิดเผยไม่ใช่ปกปิด

ดังจะพึงเห็นได้ว่า
เป็นสิ่งที่มีเกิดมีดับอยู่เป็นธรรมดา

เมื่อเกิดดับก็มองเห็นไม่ใช่เกิดดับอย่างปกปิด
อาการที่เป็นทุกข์ต่าง ๆ ที่แปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปต่าง ๆ

ก็เป็นทุกข์อย่างปรากฏให้เห็นไม่ใช่ปกปิด
อาการที่เป็นอนัตตาเอาจำเพาะข้อเดียวว่า

บังคับให้เป็นไปตามปรารถนาไม่ได้
ก็เปิดเผยให้เห็นว่าบังคับไม่ได้ตามปรารถนาไม่ปกปิด

ดังจะพึงเห็นได้ว่า
ความไม่เที่ยงความเป็นทุกข์ความเป็นอนัตตานี้

ได้มีอยู่แก่ตนเองด้วย
ได้มีอยู่แก่บุคคลผู้อื่นด้วยทุกคน

ไม่มียกเว้น
และมีอยู่เป็นอันมาก

ความไม่เที่ยงความเป็นทุกข์ความเป็นอนัตตา
ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน
และ

ความไม่เที่ยงความเป็นทุกข์ความเป็นอนัตตา
ที่ปรากฏเป็นความแก่ความเจ็บความตาย

ก็ปรากฏแก่ทุก ๆ คนและทุก ๆ เวลา
เป็นสิ่งที่มองเห็นกันอยู่

เพราะฉะนั้น
ลักษณะที่ไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตานี้

จึงเป็นลักษณะที่เปิดเผยไม่ซ่อนเร้นอยู่อย่างใดทั้งสิ้น
และปรากฏอยู่ทุกขณะ

แต่การที่มองใม่เห็นนั้นก็เพราะยังมีเครื่องปิดบัง
คืออวิชชา ตัณหา อุปาทานในจิตใจนั้นเอง

อันทำให้ตามืดมัวมองไม่เห็นหรือมองเห็นผิดไปเป็นอย่างอื่น

ฉะนั้น
เมื่อหมั่นพิจารณาอยู่เนือง ๆ อาศัยสัญญาอยู่เป็นเบื้องต้น

กำหนดทำอนิจจสัญญา กำหนดหมายว่าไม่เที่ยง
ทุกขสัญญา กำหนดหมายว่าเป็นทุกข์

อนัตตสัญญา กำหนดหมายว่ามิใช่ตัวตน
ในขันธ์ห้านี้ หรือรวมในนามรูปนี้

หมั่นพิจารณาเนือง ๆ แล้ว
อาการที่ไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา
จะปรากฏขึ้นโดยลำดับ
เพราะว่า

เมื่อปฏิบัติอบรมปัญญาอยู่เนือง ๆ เช่นนี้แล้ว
ดวงตาที่เคยมืดมัวนั้นก็จะสว่างขึ้น

เพราะการปฏิบัติดังนี้เป็นการอบรมปัญญา
สร้างดวงตาปัญญาหรือว่าล้างตาที่มืดมัวนั้น

หรือว่ารักษาตาที่มืดมัวนั้นให้ดีขึ้น
ก็จะมองเห็นขึ้นโดยลำดับ

เมื่อเป็นดังนี้แล้ว
ก็จะถอนตนออกจากอาลัย

คือความยึดถือออกได้โดยลำดับ
และเมื่อถอนออกมาได้เพียงใด

ก็จะพบกับความพ้นทุกข์ได้เพียงนั้น
อันนี้แหละเรียกว่า

อาลยสมุคฺฆาตธรรม

คือธรรมที่เป็นเครื่องถอนเป็นเครื่องทำลายอาลัย
และถอนได้แม้เพียงขั้นที่ปฏิบัติอบรมศีลสมาธิปัญญาสามัญ

ยังให้เกิดสุขพ้นความทุกข์ได้เพียงนี้
ถ้าหากว่าถอนให้หมดสิ้น

จะเป็นความสงบอันเป็นความสุขเพียงไหน
ฉะนั้น

หมั่นระลึกถึงธรรมอันเป็นที่ถอนที่ทำลายอาลัยอยู่เสมอ
ก็เรียกว่าเป็นการปฏิบัติทำอุปสมานุสสติ

ระลึกถึงธรรมอันเป็นที่สงบระงับหรือสันติอีกข้อหนึ่ง
ทำใจให้มีความผาสุกสงบ

.
.
.

http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/302/10302/blog_entry1/blog/2009-05-08/comment/437366_images/5_1241791336.jpg
http://board.agalico.com/showthread.php?t=32782