PDA

แสดงเวอร์ชันเต็ม : อัพยากตธรรม



suwit02
11-24-2009, 12:18 PM
โปรดอธิบายข้อความใน
ปัฏฐาน เล่ม 7 ภาค 1 ข้อ [๔๙๔] หน้า 413 ความว่า

[๔๙๔] ๘. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่ กุศลธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย
คือ ๑. พระเสขะทั้งหลายพิจารณาผลจิต พิจารณานิพพาน.
๒. นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน และมรรค ด้วย
อำนาจของอารัมมณปัจจัย.
๓. พระเสขะหรือปุถุชนก็ตาม พิจารณาเห็นแจ้งซึ่งจักขุ โดย
ความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา พิจารณาเห็นแจ้งซึ่งโสตะ
ฆานะ ชิวหา กายะ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หทยวัตถุ และ
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา โดยความเป็นของ
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา.
๔. พระอรหันต์เห็นรูปด้วยทิพยจักษุ ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ
รู้จิตของท่านผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยจิต ที่เป็นอัพยากตวิบากและ
อัพยากตกิริยา ด้วยเจโตปริยญาณ.
๕. ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตะ เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ
เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ และอนาคตังสญาณ ด้วยอำนาจ
ของอารัมมณปัจจัย.

ในข้อ 4. ผมเข้าใจว่า อภิญญาจิตของพระอรหันต์ เป็นกิริยาชวนจิต ไม่ใช่กุศลชวนจิต
เหตุการณ์ตามข้อ 4. จึงควรกล่าวว่า
อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่ อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย
ใช่หรือไม่

ในข้อ 5.ผมเข้าใจว่า ท่านหมายเอาเฉพาะ อภิญญากุศลจิต ไม่รวม อภิญญากิริยาจิต ใช่หรือไม่



ปกติผมไม่ได้อ่านพระอภิธรรมปิฏก ที่อ่านในครั้งนี้ เพราะมีข้อสงสัยว่า
ปุถุชน มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ ได้หรือไม่ ซึ่งปัญหานี้ ผมกำลังรวบรวมข้อมูล
ทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายสนับสนุน มาเสนอ เพื่อขอคำวินิจฉัยในโอกาสหน้า

ขอบพระคุณคับ

suwit02
11-24-2009, 01:09 PM
ปุถุชนมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ ได้หรือไม่

ผมขอเสนอข้อมูล ประกอบการพิจารณาของท่านทั้งหลาย คับ

ปุถุชนมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ไม่ได้ มีข้ออ้างดังนี้

1. วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๓ ตอน ๒ (ตอนจบ) - หน้าที่ 208 ความว่า
[โคตรภูญาณ]
ลำดับนั้น เมื่อนิมิตตารมณ์และปวัตตารมณ์ทั้งปวงปรากฏโดย
เป็นเครื่องกังวลแก่เธอแล้ว ในที่สุดแต่อาเสวนะแห่งอนุโลมญาณ
(คือในลำดับแห่งอนุโลมญาณที่ได้มาจนคุ้น)
โคตรภูญาณทำพระนิพพานอันไม่มีนิมิต ไม่มีปวัตตะ ปราศจากสังขาร
เป็นนิโรธ (ที่ดับ) ให้ให้เป็นอารมณ์ พลางก้าวล่วงเสียซึ่งโคตรปุถุชน
ชื่อปุถุชน ภูมิปุถุชน ก้าวลงสู่โคตรอริยะ ชื่ออริยะ ภูมิอริยะ
เป็นปฐมอาวัชนะ(ความนึกหน่วงครั้งแรก)
ปฐมอาโภค (ความคำนึงครั้งแรก)
ปฐมสมันนาหาร (ความประมวลจิตครั้งแรก)
ในนิพพานารมณ์ .......

สรุปได้ว่า ปุถุชน ไม่เคยมีพระนิพพานเป็นอารมณ์เลย เพราะ
บุคคลจะมีความนึกหน่วงในพระนิพพานเป็นครั้งแรก ก็ในโคตรภูญาณนี่เอง


2.ปัฏฐาน เล่ม 7 ภาค 1 ข้อ [๔๙๔] หน้า 413 ความว่า

[๔๙๔] ๘. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่ กุศลธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย
คือ ๑. พระเสขะทั้งหลายพิจารณาผลจิต พิจารณานิพพาน.
๒. นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน และมรรค ด้วย
อำนาจของอารัมมณปัจจัย.
๓. พระเสขะหรือปุถุชนก็ตาม พิจารณาเห็นแจ้งซึ่งจักขุ โดย
ความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา พิจารณาเห็นแจ้งซึ่งโสตะ
ฆานะ ชิวหา กายะ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หทยวัตถุ และ
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา โดยความเป็นของ
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา.
๔. พระอรหันต์เห็นรูปด้วยทิพยจักษุ ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ
รู้จิตของท่านผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยจิต ที่เป็นอัพยากตวิบากและ
อัพยากตกิริยา ด้วยเจโตปริยญาณ.
๕. ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตะ เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ
เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ และอนาคตังสญาณ ด้วยอำนาจ
ของอารัมมณปัจจัย.

สรุปได้ว่า ไม่ปรากฏ ( ในที่นี้ ) ว่า พระนิพพานเป็นอารัมมณปัจจัย ของปุถุชน



ปุถุชนมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ได้ มีข้ออ้างดังนี้

1.วิสุทธิมรรค ภาค 1 ตอน 2 ( ประมาณ หน้า 284 ? ) ความว่า

อนุสติอันปรารภอุปสมะเกิดขึ้น ชื่อว่าอุปสมานุสติ
คำว่าอุปสมานุสตินั่น เป็นคำเรียกสติอันมีพระนิพพาน
ซึ่งเป็นธรรมระงับแห่งสรรพทุกข์เป็นอารมณ์

สรุปได้ว่า ถ้าปุถุชนเจริญอุปสมานุสสติได้
ปุถุชนก็มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ได้ เพราะสติเป็นเจตสิก
เจตสิกมีสิ่งใดเป็นอารมณ์ จิตก็มีสิ่งนั้นเป็นอารมณ์ด้วย


2.อภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา พรรณาอาลัมพนสังคหะ
( ปริจเฉทที่ 3 ปกิณณกสังคหะ ) ความว่า

กามาวจร มหัคคตะ บัญญัติ และนิพพานทั้งหลาย
ย่อมถึงความเป็นอารมณ์แก่กุศลชวนะทั้งหลาย
ใน การให้ การพิจารณา การฟังธรรม การพิจารณาสังขาร
และการบริกรรมที่เป็นไปในกสิณ โดยเคารพเป็นต้น
แห่งพระเสขะและปุถุชน

สรุปได้ว่า กุศลชวน ( ญาณสัมปยุตต์ ) และอภิญญาจิต ของปุถุชน ก็มี
พระนิพพานเป็นอารมณ์ได้


3.ตัวอย่างเหตุการณ์ต่อไปนี้ คือ
ก.เวลาที่เราเจริญกุศลแล้ว ตั้งความปรารถนาว่า ขอให้กุศลเป็นปัจจัยแก่พระนิพพาน
ข.เวลาที่บุคคล เห็นภัยในวัฏฏะ ออกบวช โดยปรารถนาพระนิพพาน
ค.เวลาที่พระโพธิสัตว์ บำเพ็ญบารมี เพื่อพาสรรพสัตว์ไปสู่พระนิพพาน

ในเหตุการณ์ดังกล่าว จะมีบางขณะที่บุคคล ในข้อ กขค ( ซึ่งเป็นปุถุชน ) มีพระนิพพานเป็นอารมณ์



ผมได้ตั้งตัวเป็นผู้รวบรวมข้อมูลแล้ว จึงขอสงวนความเห็นส่วนตัวไว้ก่อน
ขอท่านทั้งหลาย โปรดแสดงความเห็น ในเรื่องนี้ ด้วย
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ ความเห็นว่า
ข้อสรุปที่แต่ละฝ่ายนำเสนอ มีข้อบกพร่องตรงไหน อย่างไรบ้าง

ขอบพระคุณคับ


ปล. ถ้าท่านเสนอข้อมูลอื่น ประกอบความเห็นด้วย จะช่วยผมได้มากเลยจ้า

D E V
11-25-2009, 12:34 AM
อ่ะคับ คุณ suwit02 คงมีความเห็นอยู่ในใจแล้ว
เพียงแต่ต้องการรวบรวมข้อมูลนะคับ

อารัมมณปัจจัย
จาก [๔๙๔] หากย้อนขึ้นไปดูที่ [๔๙๓] อัพยาตกธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม
จะสังเกตเห็นได้ว่า ข้อ 4 ใน 493 กับข้อ 4 ใน 494 นั้น มีแสดงไว้เหมือนกันเลยใช่มั้ยคับ

ในลิงค์นี้จะมีส่วนของอรรถกถาให้ไว้ด้วยน่ะคับ
ซึ่งจะขอยกมาทั้งหมดเพื่อให้เป็นข้อมูลแก่คุณ suwit02
ตั้งแต่ต้นจนจบของ อารัมมณปัจจัย เพื่อพิจารณาประกอบกัน
http://www.samyaek.com/tripidok/book85/401_450.htm

สำหรับข้อมูลในส่วน ฎีกา ที่จะอธิบายอรรถกถาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น...เดฟไม่มีน่ะคับ
หากท่านใดมีช่วยสงเคราะห์นำมาแสดงด้วย ก็จะช่วยให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

แต่ก็ลองพิจารณาส่วนสรุปในอภิธัมมัตถสังคหะนี้ประกอบด้วยละกันนะคับ
http://www.abhidhamonline.org/aphi/p8/071.htm

ปุถุชนมีนิพพานเป็นอารมณ์ได้หรือไม่
คุณ suwit02 คงได้ข้อมูลจากเว็บที่คุณ suwit02 ได้เคยโพสท์ถามไว้แล้วอ่ะนะคับ
ประเด็นอยู่ตรงที่ความเข้าใจในอุปสมานุสติที่เกิดขึ้นเป็นอารมณ์ของปุถุชน
กับการที่พระอริยบุคคลมีนิพพานเป็นอารมณ์น่ะคับ

ทั้งหมดนี้ ขออนุญาตเป็นเพียงให้ข้อมูล
ฝ่ายค้านหรือฝ่ายสนับสนุน
เดฟขอไม่เป็นฝ่ายไหนละกันนะคับ 555




8) เดฟ

suwit02
11-26-2009, 06:25 PM
ขอบพระคุณ คุณเดฟ มากคับ
ผมตามไปอ่านลิ้งค์ที่ให้มา เลยตอบช้าไปหน่อย
ขออนุญาตแสดงความเห็นและถาม ดังนี้

อารัมมณปัจจัย
จาก [๔๙๔] หากย้อนขึ้นไปดูที่ [๔๙๓] อัพยาตกธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม
จะสังเกตเห็นได้ว่า ข้อ 4 ใน 493 กับข้อ 4 ใน 494 นั้น มีแสดงไว้เหมือนกันเลยใช่มั้ยคับ

ใช่แล้วครับ และทำให้ยืนยันได้ว่า ในข้อ 4. ย่อย ของหัวข้อ 494 นั้น ผิดแน่ๆ
แต่ผมไม่อยากให้ผิดเช่นนั้น เลย เพราะจะทำให้ผมเกิดความระแวงว่า
ต่อไปจะเชื่อถือข้อความในพระอภิธรรมปิฏก ได้อย่างไร :'(
ผมเลยตามไปดู พระบาลี ข้อ 493 และ 494 ทั้งๆที่ ผมไม่มีพื้นฐานในภาษาบาลีเลย
เท่าที่ ผมสังเกตุ ( และดำน้ำ ) ได้ผลดังนี้ ( โปรดทราบว่าเป็นการเดา )

ก.ถ้าดูพระบาลี เฉพาะในข้อย่อย 4.ของ 493 และ 494 แล้วจะพบว่า ตรงกัน คำต่อคำ
ข.ในพระบาลี ไม่ได้มีเลขข้อย่อย 1 2 3 .... แต่ เขียนเรียงติดกันไป
การแยกเป็นข้อๆจะเป็นแบบไวยากรณ์บาลี ไม่มี Full Stop
ค.ประธาน ( พระอรหันต์ ) ในข้อย่อย 1 2 3 4 5 .... ของ 493 ระบุไว้ในข้อย่อย 1. ครั้งเดียว
ง.ประธานในข้อย่อย 1 2 ( พระเสขะ ) ของ 494 ระบุไว้ในข้อย่อย 1. ครั้งเดียว
จ.ประธานในข้อย่อย 3 4 5 ( พระเสขะและปุถุชน ) ของ 494 ระบุไว้ในข้อย่อย 3. ครั้งเดียว

ซึ่งถ้าผมเดาถูก ก็แสดงว่าพระบาลีไม่มีอะไรผิดเลย แต่ท่านผู้แปล
เพลินไปหน่อย กอบ ข้อ 493 มา โดยไม่เปลี่ยนประธาน

อยากขอความกรุณาท่านผู้รู้บาลี ช่วยชี้แจงว่า การเดาของผม โดยเฉพาะข้อ จ.
นั้นถูกต้องหรือไม่ ??? ผมจะได้หายระแวงในพระอภิธรรมปิฏก โล่งใจซะที ;D

ขอบพระคุณจ้า

suwit02
11-26-2009, 06:59 PM
ในลิงค์นี้จะมีส่วนของอรรถกถาให้ไว้ด้วยน่ะคับ
ซึ่งจะขอยกมาทั้งหมดเพื่อให้เป็นข้อมูลแก่คุณ suwit02
ตั้งแต่ต้นจนจบของ อารัมมณปัจจัย เพื่อพิจารณาประกอบกัน
http://www.samyaek.com/tripidok/book85/401_450.htm

ขอบพระคุณคับ ผมอ่านซะตาแฉะเลย


สำหรับข้อมูลในส่วน ฎีกา ที่จะอธิบายอรรถกถาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น...เดฟไม่มีน่ะคับ
หากท่านใดมีช่วยสงเคราะห์นำมาแสดงด้วย ก็จะช่วยให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

ใช่แล้วคับ ผมอยากได้ลิ้งค์ดาวน์โหลด
ฎีกาพระอภิธรรมปิฏก เช่น ธัมมสังคณีมูล-อนุฏีกา
วิภังคมูล-อนุฏีกา ......... มณิสารมัญชูสาฏีกา และ ปรมัตถมัญชูสา
ท่านใดทราบ โปรดบอกด้วยจ้า
( ผมอ่านบาลีไม่ได้ ขอเป็นภาษาไทยนะคับ )

แต่ก็ลองพิจารณาส่วนสรุปในอภิธัมมัตถสังคหะนี้ประกอบด้วยละกันนะคับ
http://www.abhidhamonline.org/aphi/p8/071.htm

ขอบพระคุณคับ
ขอถามว่า แม้คุณเดฟจะบอกว่าเป็นอภิธัมมัตถสังคหะ
แต่ว่า ในนั้นมีรายละเอียดเกินกว่า อภิธัมมัตถสังคหะ มากมาย
อยากทราบว่ารายละเอียดเหล่านั้นมาจากคัมภีร์หรืออัตตโนมัติของอาจารย์ท่านใดคับ

*8q*
11-26-2009, 07:11 PM
ยังกะในสภาเนาะ

นอกสภาก็มี ;D

Butsaya
11-26-2009, 07:15 PM
ขออนุโมทนาสาธุ สาธุ สาธุ กับพี่เดฟ และพี่สุวิทด้วยนะค่ะ ;D

suwit02
11-26-2009, 08:08 PM
ปุถุชนมีนิพพานเป็นอารมณ์ได้หรือไม่
คุณ suwit02 คงได้ข้อมูลจากเว็บที่คุณ suwit02 ได้เคยโพสท์ถามไว้แล้วอ่ะนะคับ
ประเด็นอยู่ตรงที่ความเข้าใจในอุปสมานุสติที่เกิดขึ้นเป็นอารมณ์ของปุถุชน
กับการที่พระอริยบุคคลมีนิพพานเป็นอารมณ์น่ะคับ

ผมยังไม่เชื่อความเห็นในกระทู้ที่ว่า ปุถุชนมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ ไม่ได้
เพราะเขาไม่อ้างพระปริยัติใดๆ มารองรับ และไม่ได้แสดงเหตุผลหักล้าง
พระปริยัติที่ผมอัญเชิญมา ( ความเห็นที่ 7 ไม่เปิดเผยสู่สาธารณะ )
ผมรู้สึกว่า เขากล่าวลอยๆจากความรู้สึก ไม่ได้กล่าวด้วยเหตุผล
ผมขออาคตสถาน เขาก็นิ่งเฉย ผมจึงไม่รู้สึกว่าได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือจากกระทู้นั้น

เนื่องจาก มีพระปริยัติขัดกันอยู่เช่นนี้ และหลักฐานจากพระอภิธรรม ก็ยังไม่ชัดเจน
เพราะ กล่าวเพียงนัยรับว่า กรณีที่จะมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ มีอะไรได้บ้าง
( และยังรอคำวินิจฉัย จากท่านผู้รู้บาลี อยู่ด้วย )
การสรุปความไปถึงนัยปฏิเสธ ยังน่าสงสัยอยู่
ผมจึงอยากฟังความเห็นและข้อมูลของท่านอื่นๆให้มาก
( เลยมีความอุตสาหะ ขอลิ้งค์ฎีกา แต่....... จะอ่านไหว ? ::) )

ขอบพระคุณคับ

D E V
11-26-2009, 09:10 PM
จะมีกล่าวถึงความเป็นมาของการศึกษาพระอภิธรรมในไทยไว้ที่หน้าแรกน่ะคับ
http://www.abhidhamonline.org/aphi/p0/start.html

และอันนี้ก็มีกล่าวเพิ่มเติมถึง คู่มือการศึกษาพระอภิธัมมัตถสังคหะ
http://www.watnai.org/live/index.php?option=com_content&view=article&id=217:--1---1-6-&catid=41:-1-&Itemid=71

(เนื้อหาในคู่มือจะเหมือนกันน่ะคับ)
http://www.watnai.org/live/index.php?option=com_content&view=category&id=41&Itemid=71

และมีแบบที่เป็นเนื้อหาอย่างย่อด้วย (แบบง่ายๆ)
เหมาะสำหรับผู้เริ่มศึกษาโดยไม่มีพื้นฐานมาก่อน
http://www.buddhism-online.org/web/index.php?option=com_content&view=article&id=49:2009-10-10-09-01-25&catid=34:demo-category&Itemid=53

http://www.buddhism-online.org/Index1.htm


หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม
ลองติดต่อสอบถามทางมูลนิธิต่างๆ หรือสถาบันต่างๆ ดูนะคับ

อนุโมทนาคับ




8) เดฟ

suwit02
11-27-2009, 07:31 AM
ขอบพระคุณคับ

suwit02
11-30-2009, 09:11 AM
คุณเดฟ ได้ให้ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องปุถุชน มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ได้หรือไม่
มา 2 ลิ้งค์ ดังนี้ ( ขอบพระคุณอย่างสูง )

http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=211
ข้อความเกี่ยวกับเรื่องนี้ คือ

ก.การระลึกถึงเกิดขึ้นปรารภอุปสมะ - ความสงบ ชื่อว่าอุปสมานุสติ.
อุปสมานุสตินี้เป็นชื่อของสติมีการสงบทุกข์ทั้งปวงเป็นอารมณ์

และ
http://www.abhidhamonline.org/aphi/p9/020.htm
ข้อความเกี่ยวกับเรื่องนี้ คือ

ข.อุปสมานุสสติ
การระลึกถึงคุณของพระนิพพาน ที่มีสภาพเป็นสันติสุข สงบจากกิเลสทั้งหลาย และหมดสิ้นจากความทุกข์ทั้งปวง เป็นธรรมที่คลายความกำหนัด กำจัดความมัวเมา ดับความกระหาย คลายความอาลัย สิ้นตัณหา ตัดวัฏฏะ พ้นจากเครื่องร้อยรัด ดับสนิท พ้นจากการปรุงแต่ง
เมื่อระลึกถึงคุณของพระนิพพานอยู่เนือง ๆ จิตใจก็สงบ ไม่กระสับกระส่าย อย่างแน่นอน

ตามข้อ ก. ผมเห็นว่า การสงบทุกข์ทั้งปวง เป็นลักษณะหนึ่งของพระนิพพาน
ส่วนข้อ ข. นั้น น่าสนใจมาก เพราะว่า
คุณของสังขารธรรม ไม่จำเป็นต้องเป็นลักษณะของสังขารธรรมนั้นเสมอไป
( เช่น คุณอันนึง ของรูป คือ สุข โสมนัส อาศัยรูปเป็นเหตุ )
ทั้งนี้ เพราะว่า สังขารธรรม ทั้งปวง ล้วนอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น และ
ยังเป็นปัจจัยให้สังขารธรรมอื่นๆ เกิดได้ด้วย
ดังนั้น เมื่อเรากล่าวถึง คุณ หรือ โทษ ของสังขารธรรม
ก็อาจพาดพิงไปถึงต้นทาง และ ปลายทาง ได้ด้วย
แต่ว่า พระนิพพาน ไม่ใช่ สังขารธรรม ไม่ใช่ทุกขสัจจ
เป็นนิโรธสัจจ ปราศปัจจัยปรุงแต่ง ไม่เป็นปัจจัยแก่สังขารธรรม
( เว้นการเป็นอารัมมณปัจจัย )
อีกทั้งเป็นธรรมที่ปราศจากโทษ มีแต่คุณ เท่านั้น ด้วยเหตุนี้
คุณใดๆของพระนิพพาน ก็ย่อมเป็นลักษณะของพระนิพพาน
ลักษณะใดๆของพระนิพพาน ก็ย่อมเป็นคุณของพระนิพพาน

( ซึ่ง 2 บรรทัดข้างต้นนี้ เราจะเอา คำว่า สังขารธรรม ไปแทนที่ไม่ได้
เพราะสังขารธรรม เป็นทุกขสัจจ )

การระลึกถึงคุณของพระนิพพาน ก็คือการระลึกถึงลักษณะของพระนิพพานนั่นเอง

ในข้อนี้ ผมมีข้อสนับสนุนดังนี้
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=31&A=10822&Z=10974&pagebreak=0

จากข้อ 732 สมัตตนิยาม อยู่ระหว่าง อนุโลมญาณ กับ ผลญาณ
ดังนั้น สมัตตนิยามคือ โคตรภูญาณ และหรือ มัคคญาณ
ซึ่งเรารู้ว่า ทั้งสองญาณนี้ มีพระนิพพานเป็นอารมณ์

จากข้อ 735 บรรยาย การที่สมัตตนิยาม มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ ว่า
คือ การมีคุณของพระนิพพานเป็นอารมณ์


สำหรับข้ออ้าง 2 ข้อ เกี่ยวกับ ปุถุชนมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ไม่ได้
ที่ผมรวบรวมไว้ในตอนต้นกระทู้ ผมมีความเห็นดังนี้

1. วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๓ ตอน ๒ (ตอนจบ) - หน้าที่ 208 ความว่า
[โคตรภูญาณ]
ลำดับนั้น เมื่อนิมิตตารมณ์และปวัตตารมณ์ทั้งปวงปรากฏโดย
เป็นเครื่องกังวลแก่เธอแล้ว ในที่สุดแต่อาเสวนะแห่งอนุโลมญาณ
(คือในลำดับแห่งอนุโลมญาณที่ได้มาจนคุ้น)
โคตรภูญาณทำพระนิพพานอันไม่มีนิมิต ไม่มีปวัตตะ ปราศจากสังขาร
เป็นนิโรธ (ที่ดับ) ให้ให้เป็นอารมณ์ พลางก้าวล่วงเสียซึ่งโคตรปุถุชน
ชื่อปุถุชน ภูมิปุถุชน ก้าวลงสู่โคตรอริยะ ชื่ออริยะ ภูมิอริยะ
เป็นปฐมอาวัชนะ(ความนึกหน่วงครั้งแรก)
ปฐมอาโภค (ความคำนึงครั้งแรก)
ปฐมสมันนาหาร (ความประมวลจิตครั้งแรก)
ในนิพพานารมณ์ .......

สรุปได้ว่า ปุถุชน ไม่เคยมีพระนิพพานเป็นอารมณ์เลย เพราะ
บุคคลจะมีความนึกหน่วงในพระนิพพานเป็นครั้งแรก ก็ในโคตรภูญาณนี่เอง

คำว่าครั้งแรก หมายถึง ครั้งแรก ในวิถีจิตนี้ คือ ก่อน มัคคญาณ และ ผลญาณ
ไม่ใช่ครั้งแรกในวัฏฏะ


2.ปัฏฐาน เล่ม 7 ภาค 1 ข้อ [๔๙๔] หน้า 413 ความว่า

[๔๙๔] ๘. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่ กุศลธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย
คือ ๑. พระเสขะทั้งหลายพิจารณาผลจิต พิจารณานิพพาน.
๒. นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน และมรรค ด้วย
อำนาจของอารัมมณปัจจัย.
๓. พระเสขะหรือปุถุชนก็ตาม พิจารณาเห็นแจ้งซึ่งจักขุ โดย
ความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา พิจารณาเห็นแจ้งซึ่งโสตะ
ฆานะ ชิวหา กายะ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หทยวัตถุ และ
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา โดยความเป็นของ
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา.
๔. พระเสขะหรือปุถุชนก็ตามเห็นรูปด้วยทิพยจักษุ
ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ รู้จิตของท่านผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยจิต
ที่เป็นอัพยากตวิบากและอัพยากตกิริยา ด้วยเจโตปริยญาณ.
๕. ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตะ เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ
เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ และอนาคตังสญาณ ด้วยอำนาจ
ของอารัมมณปัจจัย แก่ พระเสขะหรือปุถุชนก็ตาม

สรุปได้ว่า ไม่ปรากฏ ( ในที่นี้ ) ว่า พระนิพพานเป็นอารัมมณปัจจัย ของปุถุชน

ปรากฏว่า ในข้ออื่นๆ ท่านก็ระบุเหตุการณ์ไว้ไม่ครบ ยังมีกรณีอื่นอีกที่ท่านยังไม่ได้กล่าวไว้
ดังนั้นจึงอ้างไม่ได้ว่า ไม่มี/มีไม่ได้ เพราะไม่ปรากฏในที่นี้

ตัวอย่างเช่น ในข้อ 490 อกุศลเป็นอารัมมณปัจจัยของอกุศล จะเห็นว่า
อกุศลเจตสิก14 ดวง ถูกระบุไว้ เพียง 4 ขาดไปถึง 10
ทั้งด้านปัจจัย และด้านปัจจยุบันน

อนึ่งผมพบหลักฐานใหม่ ชั้นพระสูตรที่กล่าวรับรองว่า
ปุถุชนมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ได้ ดังนี้
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=31&A=7564&Z=7861&pagebreak=0

[๕๓๘]......
ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยอารมณ์อย่างไร ฯ
เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน
มีนิโรธเป็นอารมณ์
เมื่อภิกษุละอวิชชา วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น
มีนิโรธเป็นอารมณ์
ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน
เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความเป็นอารมณ์ เพราะเหตุดังนี้นั้นท่าน
จึงกล่าวว่าเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยความเป็นอารมณ์ ฯ


( การแปลตกหล่นอีกแล้ว :'( โปรดเทียบเคียงกับพระบาลีและคำแปลข้างเคียง )


ดูข้อ 535 เพื่อยืนยันว่า ปุถุชน ก็มีอารมณ์ตามข้อ 538 นี้ได้
ดูอรรถกถา วินิจฉัยยุคนัทธนิเทศ เพื่อยืนยันว่า
อนึ่ง นิโรธ ในที่นี้คือนิพพานนั้นเอง.
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=534

โปรดให้ความเห็นว่า การใช้เหตุผลของผม มีข้อบกพร่องตรงไหน ด้วยจ้า

ขอบพระคุณคับ