*8q*
10-29-2008, 12:00 PM
การเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า( หรือ เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น)
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ สุตตันตปิฎกที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
http://larndham.net/cgi-bin/tread.pl?st ... yte=109458
[๑๔๗] อริยมรรคสมังคีบุคคล ย่อมเผาสังกิเลสที่ยังไม่เกิด ด้วยโลกุตตรฌานที่เกิดแล้ว
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวโลกุตตรฌานว่าเป็นฌาน
บุคคลนั้นย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฐิต่างๆ เพราะความเป็นผู้ฉลาดในฌานและวิโมกข์
ถ้าพระโยคาวจรตั้งใจมั่นดีแล้ว ย่อมเห็นแจ้งฉันใด
ถ้าเมื่อเห็นแจ้ง ก็พึงตั้งใจไว้ให้มั่นคงดีฉันนั้น
สมถะและวิปัสสนาได้มีแล้วในขณะนั้น ย่อมเป็นคู่ที่มีส่วนเสมอกันเป็นไปอยู่
จาก พระสูตรนี้
ในขณะจิต แห่งการบรรลุมรรคผล อริยมรรคสมังคี ย่อมต้องสมบูรณ์พร้อมทั้ง สมถะ(สัมมาสมาธิ) และ วิปัสสนาญาณ(สัมมาญาณะ)
ท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ท่านกล่าวไว้ดังนี้
จาก พุทธธรรม หน้า 331
"....เมื่อผู้เป็นวิปัสสนายานิกเจริญวิปัสสนาต่อๆไป สมาธิก็พลอยได้รับการฝึกอบรมไปด้วย ถึงตอนนี้อาจเจริญวิปัสสนาด้วยอุปจารสมาธิ(สมาธิจวนจะแน่วแน่ หรือ สมาธิจวนจะถึงฌาน)ก็ได้ จนในที่สุดเมื่อถึงขณะที่บรรลุมรรคผล สมาธินั้นก็จะแน่วแน่สนิทเป็นอัปปานาสมาธิ อย่างน้อยถึงระดับปฐมฌาน(ฌานที่1 หรือ รูปฌานที่1) เป็นอันสอดคล้องกับหลักที่แสดงไว้แล้วว่า ผู้บรรลุอริยภูมิ จะต้องมีทั้งสมถะและวิปัสสนาครบทั้งสองทั่วกันทุกบุคคล...."
สัมมาสมาธิ ที่เป็นสมาธิขั้นแน่วแน่ หรือ ที่เรียกว่า โลกุตรฌานนั้น จึงต้องบังเกิดขึ้นกับทุกท่าน ถ้าเดินมรรคถูกทาง.... ไม่ว่า จะในแนวทางไหนๆ ใน3แนวทาง(ตามที่ท่านพระอานนท์กล่าว)
ดังนั้น
แม้นแต่ท่านที่เจริญมรรคโดยใช้วิปัสสนานำหน้า สมถะ ก็จะบังเกิดตามมาเอง
ดังปรากฏในพระสูตร
[๕๓๗] ภิกษุนั้นย่อม เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น อย่างไร ฯ
วิปัสสนา ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา
ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดในวิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์ เพราะความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่านเป็นสมาธิ ด้วยประการดังนี้
วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ฯ
พระไตรปิฎกเล่มที่ 31 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 23
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา
นอกจากนี้ พระสุปฏิปันโนในปัจจุบัน ท่านยังกล่าวถึง แนวทางนี้ไว้
อาจจะเรียกว่า ปัญญาอบรมสมาธิ ก็ได้
โอวาทธรรม หลวงพ่อ พุธ ฐานิโย
สมถะหรือวิปัสสนาต่างก็เป็นวิธีการปฏิบัติ
เพื่อจุดหมายเดียวกัน
อีกปัญหาหนึ่งมีท่านกล่าวไว้ว่า ให้ฝึกหัดทำสมาธิให้มันได้เสียก่อน
แล้วจึงค่อยเจริญวิปัสสนากรรมฐาน
เฮ้อ อันนี่ถ้าสมมติว่าใครไม่สามารถทำสมาธิขั้นสมถะได้เนี่ย
จะไปรอจนกระทั่งจิตมันสงบเป็น สมาธิขั้นสมถะ เป็นอัปปนาสมาธิ
เผื่อมันทำไม่ได้ล่ะ มันจะไม่ตายก่อนหรือ?
เพราะฉะนั้น จึงขอทำความเข้าใจกับนักปฏิบัติทั้งหลายก่อนว่า
คำว่าสมถกรรมฐาน ก็ดี คำว่า วิปัสสนากรรมฐาน ก็ดี
ขอให้ท่านทั้งหลายพึงทำความเข้าใจก่อนว่า เป็นชื่อของวิธีการ
การภาวนาพุทโธ ๆ ๆ หรือการภาวนาอย่างอื่น
หรือการภาวนาแบบเพ่งกสิณ อันนั้นปฏิบัติตามวิธีของสมถะ
แต่ถ้าเราปฏิบัติด้วยการใช้ความคิดหรือกำหนดจิตรู้ตาม
ความคิดของตัวเอง หรือจะหาเรื่องราวอันใด เช่น
เรื่องของธาตุขันธ์ อายตนะมาพิจารณา
เช่น พิจารณาว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา อะไรทำนองนี้
อันนี้การน้อมจิตน้อมใจน้อมภูมิความรู้ความเข้าไปสู่
กฎพระไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ท่านเรียกว่าปฏิบัติตามวิธีการแห่งวิปัสสนา
แต่ทั้ง 2 อย่างนี้เราจะปฏิบัติด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งก็ได้
ถ้าท่านผู้ที่บริกรรมภาวนา จิตมันไม่เคยสงบเป็นสมาธิซักที
จะไปรอให้มันสงบ มันไม่เคยสงบซักที ก็มาพิจารณาซิ
ยกเรื่องอะไรขึ้นมาพิจารณาก็ได้ ซึ่งมันเกี่ยวกับเรื่องธรรมะ
พิจารณาไปจนกระทั่งจิตมันคล่องตัว
พิจารณาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อันนั้นก็ไม่เที่ยง อันนี้ก็เป็นทุกข์ อันนั้นก็เป็นอนัตตา
คิดเอาตามสติปัญญาที่เราจะคิดได้
คิดย้อนกลับไปกลับมา กลับไปกลับมา กลับไปกลับมาอยู่อย่างนี้
คิดจนกระทั่งมันคล่องตัว จนกระทั่งเราไม่ได้ตั้งใจคิด
จิตมันคิดของมันเอง ซึ่งมันอาจจะเอาเรื่องอื่นมาคิดอยู่ไม่หยุดก็ได้
เมื่อเป็นเช่นนั้น มันก็เข้าลักษณะเหมือนกันกับภาวนา
ถ้าจิตมันคิดของมันเอง สติรู้พร้อมอยู่เอง มันก็ได้วิตก วิจาร
ในเมื่อจิตมีวิตก วิจาร เพราะความคิดอ่านอันนี้
มันก็เกิดมีปีติ มีความสุข มีเอกัคตา
มันจะสงบลงไปเป็น อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ
หรือบางทีมันอาจจะไม่สงบถึงอัปปนาสมาธิ
พอถึงอุปจารสมาธิ มีวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคตา
มันก็จะทำหน้าที่พิจารณาวิปัสสนาของมันตลอดวันยันค่ำ
ตลอดคืนยันรุ่ง
เพราะฉะนั้นอย่าไปติดวิธีการ
ถ้าใครไม่เหมาะกับการบริกรรมภาวนา ก็ไม่ต้องไปบริกรรมภาวนา
ถ้าจิตของท่านผู้ใดไปเหมาะสมกับการกำหนดรู้จิตเฉยอยู่
โดยไม่ต้องนึกคิดอะไร เป็นแต่เพียงตั้งหน้าตั้งตาคอย
จ้องดูความคิดว่าอะไรมันจะเกิดขึ้นแค่นั้น
อะไรเกิดขึ้นรู้ อะไรเกิดขึ้นรู้ รู้ ๆ ๆ เอาตัวรู้อย่างเดียว
หรือบางทีบางท่านอาจจะใช้ความคิดอยู่ไม่หยุด
หรือบางท่านอาจจะฝึกหัดสมาธิ โดยวิธีการทำสติตามรู้
การยืน เดิน นั่ง นอน ดื่ม ทำ พูด คิด ทุกขณะจิต
ทุกลมหายใจ ก็สามารถทำจิตให้เป็นสมาธิได้เหมือนกัน
เพราะฉะนั้น ถ้าเราจะเป็นนักปฏิบัติ
เพื่อความรู้แจ้งเห็นจริงกันจริง ๆ แล้ว อย่าไปติดวิธีการ
ให้กำหนดหมายว่าสมถะก็ดี วิปัสสนาก็ดี เป็นวิธีการปฏิบัติ
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ สุตตันตปิฎกที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
http://larndham.net/cgi-bin/tread.pl?st ... yte=109458
[๑๔๗] อริยมรรคสมังคีบุคคล ย่อมเผาสังกิเลสที่ยังไม่เกิด ด้วยโลกุตตรฌานที่เกิดแล้ว
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวโลกุตตรฌานว่าเป็นฌาน
บุคคลนั้นย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฐิต่างๆ เพราะความเป็นผู้ฉลาดในฌานและวิโมกข์
ถ้าพระโยคาวจรตั้งใจมั่นดีแล้ว ย่อมเห็นแจ้งฉันใด
ถ้าเมื่อเห็นแจ้ง ก็พึงตั้งใจไว้ให้มั่นคงดีฉันนั้น
สมถะและวิปัสสนาได้มีแล้วในขณะนั้น ย่อมเป็นคู่ที่มีส่วนเสมอกันเป็นไปอยู่
จาก พระสูตรนี้
ในขณะจิต แห่งการบรรลุมรรคผล อริยมรรคสมังคี ย่อมต้องสมบูรณ์พร้อมทั้ง สมถะ(สัมมาสมาธิ) และ วิปัสสนาญาณ(สัมมาญาณะ)
ท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ท่านกล่าวไว้ดังนี้
จาก พุทธธรรม หน้า 331
"....เมื่อผู้เป็นวิปัสสนายานิกเจริญวิปัสสนาต่อๆไป สมาธิก็พลอยได้รับการฝึกอบรมไปด้วย ถึงตอนนี้อาจเจริญวิปัสสนาด้วยอุปจารสมาธิ(สมาธิจวนจะแน่วแน่ หรือ สมาธิจวนจะถึงฌาน)ก็ได้ จนในที่สุดเมื่อถึงขณะที่บรรลุมรรคผล สมาธินั้นก็จะแน่วแน่สนิทเป็นอัปปานาสมาธิ อย่างน้อยถึงระดับปฐมฌาน(ฌานที่1 หรือ รูปฌานที่1) เป็นอันสอดคล้องกับหลักที่แสดงไว้แล้วว่า ผู้บรรลุอริยภูมิ จะต้องมีทั้งสมถะและวิปัสสนาครบทั้งสองทั่วกันทุกบุคคล...."
สัมมาสมาธิ ที่เป็นสมาธิขั้นแน่วแน่ หรือ ที่เรียกว่า โลกุตรฌานนั้น จึงต้องบังเกิดขึ้นกับทุกท่าน ถ้าเดินมรรคถูกทาง.... ไม่ว่า จะในแนวทางไหนๆ ใน3แนวทาง(ตามที่ท่านพระอานนท์กล่าว)
ดังนั้น
แม้นแต่ท่านที่เจริญมรรคโดยใช้วิปัสสนานำหน้า สมถะ ก็จะบังเกิดตามมาเอง
ดังปรากฏในพระสูตร
[๕๓๗] ภิกษุนั้นย่อม เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น อย่างไร ฯ
วิปัสสนา ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา
ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดในวิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์ เพราะความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่านเป็นสมาธิ ด้วยประการดังนี้
วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ฯ
พระไตรปิฎกเล่มที่ 31 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 23
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา
นอกจากนี้ พระสุปฏิปันโนในปัจจุบัน ท่านยังกล่าวถึง แนวทางนี้ไว้
อาจจะเรียกว่า ปัญญาอบรมสมาธิ ก็ได้
โอวาทธรรม หลวงพ่อ พุธ ฐานิโย
สมถะหรือวิปัสสนาต่างก็เป็นวิธีการปฏิบัติ
เพื่อจุดหมายเดียวกัน
อีกปัญหาหนึ่งมีท่านกล่าวไว้ว่า ให้ฝึกหัดทำสมาธิให้มันได้เสียก่อน
แล้วจึงค่อยเจริญวิปัสสนากรรมฐาน
เฮ้อ อันนี่ถ้าสมมติว่าใครไม่สามารถทำสมาธิขั้นสมถะได้เนี่ย
จะไปรอจนกระทั่งจิตมันสงบเป็น สมาธิขั้นสมถะ เป็นอัปปนาสมาธิ
เผื่อมันทำไม่ได้ล่ะ มันจะไม่ตายก่อนหรือ?
เพราะฉะนั้น จึงขอทำความเข้าใจกับนักปฏิบัติทั้งหลายก่อนว่า
คำว่าสมถกรรมฐาน ก็ดี คำว่า วิปัสสนากรรมฐาน ก็ดี
ขอให้ท่านทั้งหลายพึงทำความเข้าใจก่อนว่า เป็นชื่อของวิธีการ
การภาวนาพุทโธ ๆ ๆ หรือการภาวนาอย่างอื่น
หรือการภาวนาแบบเพ่งกสิณ อันนั้นปฏิบัติตามวิธีของสมถะ
แต่ถ้าเราปฏิบัติด้วยการใช้ความคิดหรือกำหนดจิตรู้ตาม
ความคิดของตัวเอง หรือจะหาเรื่องราวอันใด เช่น
เรื่องของธาตุขันธ์ อายตนะมาพิจารณา
เช่น พิจารณาว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา อะไรทำนองนี้
อันนี้การน้อมจิตน้อมใจน้อมภูมิความรู้ความเข้าไปสู่
กฎพระไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ท่านเรียกว่าปฏิบัติตามวิธีการแห่งวิปัสสนา
แต่ทั้ง 2 อย่างนี้เราจะปฏิบัติด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งก็ได้
ถ้าท่านผู้ที่บริกรรมภาวนา จิตมันไม่เคยสงบเป็นสมาธิซักที
จะไปรอให้มันสงบ มันไม่เคยสงบซักที ก็มาพิจารณาซิ
ยกเรื่องอะไรขึ้นมาพิจารณาก็ได้ ซึ่งมันเกี่ยวกับเรื่องธรรมะ
พิจารณาไปจนกระทั่งจิตมันคล่องตัว
พิจารณาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อันนั้นก็ไม่เที่ยง อันนี้ก็เป็นทุกข์ อันนั้นก็เป็นอนัตตา
คิดเอาตามสติปัญญาที่เราจะคิดได้
คิดย้อนกลับไปกลับมา กลับไปกลับมา กลับไปกลับมาอยู่อย่างนี้
คิดจนกระทั่งมันคล่องตัว จนกระทั่งเราไม่ได้ตั้งใจคิด
จิตมันคิดของมันเอง ซึ่งมันอาจจะเอาเรื่องอื่นมาคิดอยู่ไม่หยุดก็ได้
เมื่อเป็นเช่นนั้น มันก็เข้าลักษณะเหมือนกันกับภาวนา
ถ้าจิตมันคิดของมันเอง สติรู้พร้อมอยู่เอง มันก็ได้วิตก วิจาร
ในเมื่อจิตมีวิตก วิจาร เพราะความคิดอ่านอันนี้
มันก็เกิดมีปีติ มีความสุข มีเอกัคตา
มันจะสงบลงไปเป็น อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ
หรือบางทีมันอาจจะไม่สงบถึงอัปปนาสมาธิ
พอถึงอุปจารสมาธิ มีวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคตา
มันก็จะทำหน้าที่พิจารณาวิปัสสนาของมันตลอดวันยันค่ำ
ตลอดคืนยันรุ่ง
เพราะฉะนั้นอย่าไปติดวิธีการ
ถ้าใครไม่เหมาะกับการบริกรรมภาวนา ก็ไม่ต้องไปบริกรรมภาวนา
ถ้าจิตของท่านผู้ใดไปเหมาะสมกับการกำหนดรู้จิตเฉยอยู่
โดยไม่ต้องนึกคิดอะไร เป็นแต่เพียงตั้งหน้าตั้งตาคอย
จ้องดูความคิดว่าอะไรมันจะเกิดขึ้นแค่นั้น
อะไรเกิดขึ้นรู้ อะไรเกิดขึ้นรู้ รู้ ๆ ๆ เอาตัวรู้อย่างเดียว
หรือบางทีบางท่านอาจจะใช้ความคิดอยู่ไม่หยุด
หรือบางท่านอาจจะฝึกหัดสมาธิ โดยวิธีการทำสติตามรู้
การยืน เดิน นั่ง นอน ดื่ม ทำ พูด คิด ทุกขณะจิต
ทุกลมหายใจ ก็สามารถทำจิตให้เป็นสมาธิได้เหมือนกัน
เพราะฉะนั้น ถ้าเราจะเป็นนักปฏิบัติ
เพื่อความรู้แจ้งเห็นจริงกันจริง ๆ แล้ว อย่าไปติดวิธีการ
ให้กำหนดหมายว่าสมถะก็ดี วิปัสสนาก็ดี เป็นวิธีการปฏิบัติ