PDA

แสดงเวอร์ชันเต็ม : รูปปรมัตถ์เป็นอย่างไรค่ะ



Butsaya
01-31-2010, 11:41 AM
อืม.... :D วันนี้บุษสงสัยนะค่ะ ว่า รูปปรมัตถ์ที่ไม่สามารถรู้ด้วย
ตา หู จมูก ลิ้น กาย มีหรือเปล่าอะค่ะ ถ้ามีอะไรบ้างอะค่ะ แล้วเป็นอย่างไรอะค่ะ

D E V
01-31-2010, 02:23 PM
รูปที่สามารถรู้ได้ทางมโนทวารเท่านั้น
ไม่สามารถรู้ได้ทาง จักขุทวาร โสตทวาร ฆานทวาร ชิวหาทวาร กายทวาร
ได้แก่ ปสาทรูป และ สุขุมรูป
ซึ่งการเจริญสติปัฏฐาน สติระลึกรู้ในรูป (หรือนาม) ที่กำลังปรากฏให้รู้ได้ในปัจจุบันขณะ
ส่วนรูปใดที่ยังไม่ปรากฏให้สติระลึกรู้ ก็เว้นไว้ก่อนคับ




8) เดฟ

Butsaya
01-31-2010, 08:27 PM
บุษขอถามต่ออีกหน่อยนะค่ะ เห่อ....ตอบบุษซะสั้นจิง ๆ เลยนะค่ะ
แล้ว ปสาทรูป และ สุขุมรูป มีอะไรบ้างอะค่ะ ;D

D E V
02-01-2010, 08:22 AM
ปสาทรูป 5 ได้แก่ จักขุปสาทรูป โสตปสาทรูป ฆานปสาทรูป ชิวหาปสาทรูป กายปสาทรูป

สุขุมรูป 16 ได้แก่ อาโปธาตุ ปุริสภาวรูป อิตถีภาวรูป หทยรูป ชีวิตรูป อาหารรูป ปริจเฉทรูป
กายวิญญัติรูป วจีวิญญัติรูป ลหุตารูป มุทุตารูป กัมมัญญตารูป อุปจยรูป สันตติรูป ชรตารูป อนิจจตารูป

http://www.buddhism-online.org/ContentSect05A.htm



8) เดฟ

Butsaya
02-01-2010, 09:11 AM
:o :o :o :o :o :o :o :'( :'( :'( :'(
อืม... ทำอย่างไรจะเข้าใจได้ง่ายกว่านี้อะค่ะ พี่เดฟ
บุษอ่านแล้ว งงเต็กเลยนะค่ะ ตัวอย่างก็ไม่มี
อ่านแล้วทำความเข้าใจ นึกภาพไม่ออกเลยนะค่ะ
พี่เดฟ ช่วยบุษหน่อยนะค่ะ ??? ??? ???

D E V
02-01-2010, 09:29 AM
ในเว็บที่ให้ไป มีคำอธิบายรูปแต่ละรูปอย่างง่ายๆ
สั้นๆ กะทัดรัด ชัดเจน ไว้ให้แล้วน่ะคับ
ไม่ทราบว่างงตรงไหนคับ

งง เพราะรีบอ่านเยอะๆ ให้รู้ทั้งหมดในเวลาอันสั้น
เพียงไม่กี่ชั่วโมงจะรู้ให้หมดทุกรูปเลย หรือเปล่าคับ
หากค่อยๆ อ่าน และพิจารณาตามไปทีละเล็กละน้อย วันละนิดละหน่อย
จะง่ายกว่าคับ



8) เดฟ

Butsaya
02-01-2010, 09:40 AM
อืม เอางี้ดีกว่าค่ะ พี่เดฟ บุษเข้าใจถูกมัยนะค่ะ แบบนี้

ปสาทรูป คือ รูปที่มีความใส สามารถรับอารมณ์ได้
1. ปสาทตา เป็นที่ปรากฏของภาพ และจิตที่เห็นภาพล้วนแต่เกิดมาจากผลของกรรมทั้งสิ้น เมื่อเห็นภาพที่ดีก็ทำให้เราสบายใจ (เป็นผลของกรรมดี คือบุญที่ได้กระทำไว้แล้วในอดีตชาติ ส่งผลมาในชาตินี้) จักขุปสาทรูปนี้ มีหน้าที่ ๒ อย่าง คือ เป็นวัตถุที่ตั้งแห่งจักขุวิญญาณจิต และ จักขุทวารวิถี (สีแดงนี้บุษยังไม่เข้าใจนะค่ะ)
2. ปสาทหู หูจึงต้องรับเสียงทั้งที่พอใจและไม่พอใจ (เสียงชมเสียงด่า) ซึ่งเป็นผลของกรรมที่ได้กระทำไว้แล้วในชาติก่อน ๆ
3. ปสาทจมูก จมูกจะต้องรับกลิ่นทั้งที่พอใจและไม่พอใจ เช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นผลกรรมที่ได้ กระทำไว้ในชาติก่อน ๆ ซึ่งในชีวิตประจำวันของคนเราจะเห็นได้ชัดว่า บางครั้งก็ได้รับกลิ่นดี บางครั้งก็ได้รับกลิ่นไม่ดี เช่น ขณะที่มีรถขนขยะแล่นผ่านไป
4. ปสาทลิ้น ในชีวิตประจำวันของคนสัตว์ทั้งหลาย จึงได้รับรสต่าง ๆ กันไปไม่เหมือนกัน
5. ปสาทกาย ตั้งแต่ศีรษะถึงเท้า เว้นแต่เส้นผม เล็บ หรือหนังหนา ๆ จะไม่มีกายปสาท (ความรู้สึก) เวลาตัดผมตัดเล็บจึงไม่รู้สึกเจ็บ กายปสาทรูปนี้ก็เกิดจาก ผลของกรรม เหมือนกัน การได้รับความสุขความทุกข์ทางกายของคนและสัตว์ จึงแตกต่างกันไปตามกรรมที่ได้ทำมา ซึ่งจะเห็นว่า บางคนมีความเป็นอยู่ อย่างสุขสบาย ไม่ต้องตากแดดตากลมตรากตรำทำงานหนัก

แบบนี้บุษเข้าใจถูกแล้วใช่ปะค่ะ ถ้าถูกบุษจะได้มีแนวทำความเข้าใจต่อนะค่ะ พี่เดฟ ;D

D E V
02-01-2010, 11:55 AM
ปสาทรูป คือรูปที่เล็กใส
สามารถรับกระทบกับอารมณ์ได้

ปสาทรูป ยังเป็นที่เกิดของจิตเพื่อรับรู้อารมณ์ด้วยน่ะคับ

ดังนั้น ตัวของปสาทรูปเอง ไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลย
เป็นแต่เพียงรับกระทบกับอารมณ์เท่านั้น
แต่จิตซึ่งเกิดขึ้นที่ปสาทรูปนี้เอง ที่เป็นตัวรับรู้อารมณ์
เมื่ออารมณ์กระทบกับปสาทรูป ก็มีจิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์นั้น
เราจึงสามารถรับรู้ นึกคิด สิ่งต่างๆ ได้อ่ะคับ

ปสาทรูป มี 5 คือ
จักขุปสาทรูป โสตปสาทรูป ฆานปสาทรูป ชิวหาปสาทรูป กายปสาทรูป

จักขุปสาทรูป (ปสาทตา)
เป็นรูปเล็กใสอยู่กลางดวงตา เป็นที่เกิดของจักขุวิญญาณ
เมื่อ สี (รูปารมณ์) กระทบกับจักขุปสาทรูป
ทันทีนั้นเอง จักขุวิญญาณ ก็เกิดขึ้นรับรู้ (เห็น)...อารมณ์นั้น (สี)

จักขุปสาทรูปจึงเปรียบเสมือนทวาร หรือ ประตู
คือเป็นทางเข้าของอารมณ์ซึ่งปรากฏทางตา จึงเรียกว่า จักขุทวาร

แต่ตัวที่รู้อารมณ์คือจิต ซึ่งจิตที่ทำหน้าที่รู้อารมณ์ทางตา เรียกว่า จักขุวิญญาณ
และเวลาที่มีจิตเกิดขึ้นรับรู้อารมณ์หนึ่งๆ นั้น ไม่ได้มีจิตเกิดขึ้นเพียงดวงเดียว
แต่จะมีจิตเกิดขึ้นรับอารมณ์สืบต่อกันไปหลายดวง หลายประเภท...กว่าอารมณ์นั้นจะดับไป
จิตหลายๆ ดวงที่เกิดขึ้นสืบต่อกันไปในการรับรู้อารมณ์หนึ่งๆ ทางตานั้นเอง เรียกว่า จักขุทวารวิถี

(ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ก็ทำนองเดียวกันนะคับ)

จักขุปสาทรูป โสตปสาทรูป ฆานปสาทรูป ชิวหาปสาทรูป กายปสาทรูป
เหล่านี้ เป็นรูปที่เกิดจากกรรมเป็นปัจจัย
กรรม ทำให้มีปสาทตา ปสาทหู ปสาทจมูก ปสาทลิ้น ปสาทกาย

และกรรม ยังเป็นปัจจัยให้เกิดวิบากจิต
คือจิตซึ่งเกิดขึ้นรับผลของกรรม ได้แก่
จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ
ทำให้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส กระทบสัมผัส ในสิ่งที่ดีบ้าง ไม่ดีบ้าง
หากเป็นสิ่งที่ดี ก็เป็นผลของกุศลกรรม
หากเป็นสิ่งที่ไม่ดี ก็เป็นผลของอกุศลกรรม


*********************************************************

การศึกษาพระปริยัติธรรม
ไม่ควรรีบร้อนที่จะให้รู้ทั้งหมดภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงน่ะคับ

การที่จะเข้าใจความเป็นไปต่างๆ ทั้งหมดนั้น
ต้องทำความเข้าใจแต่ละอย่างๆ ให้ถูกต้องจริงๆ ก่อน
มิเช่นนั้น ก็จะงง และ สับสน แล้วก็จะท้อ เบื่อ อึดอัดขัดเคืองใจน่ะคับ

เรื่องของรูปปรมัตถ์ จิตปรมัตถ์ เจตสิกปรมัตถ์
ต้องค่อยๆ ทำความเข้าใจไปแต่ละส่วนๆ ให้ถูก ให้ตรง ให้แม่น ให้แน่น
จึงจะประสานเรื่องราวทุกอย่างเข้าด้วยกันได้

และประการสำคัญคือ
การศึกษาพระปริยัติธรรม
ทั้งหมดก็เพื่อเกื้อกูลแก่การปฏิบัติ
ต้องน้อมไปสู่สภาพธรรมที่ปรากฏตามความเป็นจริง (เท่าที่จะกระทำได้)
ไม่เพียงแค่รู้เรื่องราวทั้งหมดตามหนังสืออ่ะคับ

ดูเหมือนว่า
คุณบุษ กำลังพยายามจะสร้างกรุงโรมให้เสร็จภายในวันเดียวอ่ะนะคับ อิอิ




8) เดฟ

chocobo
02-02-2010, 09:46 PM
มาขอแจมด้วยครับผม :D

สรุปก็คือ ปสาทรูปทั้ง 5 ก็คือรูปที่เป็นที่ตั้งของจิตที่รับรู้รูปนั้นๆ พูดง่ายๆก็คือ ดวงตาก็มีแก้วตา เยื่อตา เส้นประสาท ฯลฯ ตามที่เรียนในวิชาวิทยาศาตร์ หูก็ที่รับเสียงรูปก้นหอย จมูกก็เยื่อจมูก(มั้ง) ลิ้นก็ตุ่มรับรสของลิ้น กายก็เส้นประสาทที่ไว้รับรู้เย็นร้อนอ่อนแข็ง

อย่างนี้หรือเปล่าครับท่านเดฟ

D E V
02-03-2010, 08:17 AM
อ่ะคับ โจ๋
ถ้ากล่าวทางวิทยาศาสตร์ก็ประมาณนั้นแหละคับ

แต่พุทธศาสตร์แสดงไว้ลึกละเอียดไปกว่านั้น
เพราะแสดงให้เห็นลักษณะของ ปสาทรูป แต่ละอย่างไว้ด้วย
ตามรายละเอียดในลิงค์ที่ให้ไว้นี้
http://www.buddhism-online.org/Section05A_03.htm

พุทธศาสตร์แสดงให้เห็นว่า
รูปก็คือรูปธาตุต่างๆ เป็นสิ่งที่ไม่สามารถรับรู้อะไรได้เลย
แต่ธาตุรู้ อาการรู้ สภาพรู้ คือ จิต

ถ้ามีแต่รูปธาตุ โดยไม่มีจิต ก็จะไม่เกิดการรับรู้สิ่งต่างๆ ใดๆ ทั้งสิ้น
แต่จะมีจิตเกิดขึ้นเองลอยๆ โดยไม่มีที่ให้เกิดขึ้น ก็ไม่ได้ (สำหรับภพภูมิที่มีขันธ์ 5)

ปัญจวิญญาณ คือจิตที่ทำหน้าที่เห็น จิตที่ทำหน้าที่ได้ยิน
จิตที่ทำหน้าที่ได้กลิ่น จิตที่ทำหน้าที่รู้รส จิตที่ทำหน้าที่รู้สัมผัส
ต้องมี ปสาทรูปทั้ง 5 เป็นที่ตั้งให้เกิดขึ้นอ่ะคับ




8) เดฟ

*8q*
02-03-2010, 07:29 PM
;Dสาธุ

Butsaya
02-03-2010, 07:39 PM
สุขุมรูป 16 มีดังนี้

1. อาโปธาตุ คือ ธาตุน้ำ มี ๔ อย่าง
1.1 น้ำแท้ (ปรมัตถอาโป หรือ ลักขณอาโป)
หมายถึง ลักษณะที่ไหล หรือ เกาะกุมของวัตถุต่าง ๆ จะรู้ได้ด้วยใจเท่านั้น ไม่ใช่รู้ได้โดยการเห็นด้วยตา หรือ สัมผัสด้วยกาย

1.2. น้ำสมมุติ (สมมุติอาโป หรือ ปกติอาโป)
หมายถึง น้ำที่เรียกกันทั่วไป เช่น น้ำที่ดื่ม น้ำในแม่น้ำลำคลอง น้ำในทะเล น้ำในมหาสมุทร เป็นต้น

1.3. น้ำที่มีอยู่ในร่างกาย (ตามนัยแห่งพระสูตร) เรียกว่า สสัมภารอาโป
หมายถึง ส่วนที่เป็นของเหลวที่อยู่ในร่างกายของคน และสัตว์ทั้งหลาย เช่น ดี เลือด เสมหะ เหงื่อ เป็นต้น รวมทั้งของเหลวที่อยู่ภายนอกด้วย เช่น น้ำจากรากต้นไม้ น้ำจากใบไม้ น้ำจากดอกไม้ น้ำจากผลไม้ เป็นต้น

1.4. น้ำที่ใช้เพ่งทำให้เกิดสมาธิ (กสิณอาโป)
หมายถึง น้ำที่นำมาใส่ในขัน อ่าง หรือ ในบ่อ ใช้เพ่งดูเพื่อให้เกิดสมาธิ ซึ่ง ใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญสมถกรรมฐาน

******************************
2,3 . ภาวรูป หมายถึง รูปที่แสดงความเป็นหญิงหรือชาย เป็นรูปที่รู้ได้ด้วยใจ (ไม่ใช่เห็นด้วยตา) โดยอาศัย รูปร่าง สัณฐาน เครื่องหมาย นิสัย และกิริยาอาการต่าง ๆ ให้รู้ว่าเป็นหญิงหรือชาย

ภาวรูป มี ๒ คือ อิตถีภาวรูป และ ปุริสภาวรูป
2. อิตถีภาวรูป หมายถึง รูปที่แสดงความเป็นเพศหญิง
3. ปุริสภาวรูป หมายถึง รูปที่แสดงความเป็นเพศชาย

**********************
4. หทยรูป ก็คือหัวใจของคนเรานั่นเอง ซึ่งมีความสำคัญมากเพราะเป็นรูปที่เกิดครั้งแรก เป็นที่ตั้งแห่งความรู้สึก คือจิตและเจตสิกของคนและสัตว์ทั้งหลาย

หทยรูปนี้มี ๒ อย่าง คือ
4.1. มังสหทยรูป ได้แก่ เนื้อที่เป็นรูปหัวใจ มีลักษณะคล้ายดอกบัวตูม
4.2. วัตถุหทยรูป เป็นรูปพิเศษที่อยู่ในมังสหทยรูปอีกทีหนึ่ง

*******************
5. ชีวิตรูป คือ รูปที่มีหน้าที่รักษารูปทั้งหลายมิให้เน่าเปื่อยแตกสลายทำให้คนเรามีชีวิตอยู่ได้ไม่ตายมาถึงวันนี้ เป็นรูปที่เกิดจากกรรมอย่างหนึ่ง ที่อุปการะให้คนสัตว์ทั้งหลายได้มีชีวิตอยู่ได้เพื่อสร้างกรรม คือ บุญบาปกันต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด คำว่า ชีวิต มี ๒ อย่าง คือ รูปชีวิต และ นามชีวิต รูปชีวิต ได้แก่ ชีวิตรูปนี้เอง ส่วนนามชีวิต ได้แก่ ชีวิตินทรียเจตสิก ที่ได้ศึกษาผ่านมาแล้ว

*******************
6. อาหารรูป คือ อาหารที่เรารับประทานเข้าไปประจำวันนี้เอง เมื่อรับประทานแล้วย่อยแล้วโดยไฟธาตุ (ปาจกเตโชธาตุ) ก็จะมาเป็นเลือดเป็นเนื้อ ชื่อว่า โอชา นำไปบำรุงเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ทำให้เจริญเติบโตเป็นหนุ่มเป็นสาวต่อไป อาหารที่รับประทานเป็นคำ ๆ ที่ยังไม่ย่อยเป็นโอชา ชื่อว่า กพฬีการาหาร เมื่อย่อยแล้วจึงชื่อว่า โอชา

*******************
7. ปริจเฉทรูป คือ ช่องว่างหรืออากาศที่คั่นระหว่างรูปกลาปต่อรูปกลาป(รูปที่อยู่กันเป็นกลุ่มๆ)
8. กายวิญญัติรูป คือ การเคลื่อนไหวทางกาย (การยืน เดิน นั่ง นอน)
9. วจีวัญญัติรูป คือ การเคลื่อนไหวทางวาจา (การพูด)
10. ลหุตารูป คือ การเบาคล่องแคล่ว ของนิปผันนรูป
11 มุทุตารูป คือ ความอ่อนของนิปผันนรูป
12.กัมมัญญตารูป คือ ความควรแก่การงานของนิปผันนรูป
13. อุปจยรูป คือ การเกิดครั้งแรก ของนิปผันนรูป
14. สันตติรูป คือ การเกิดขึ้นสืบต่อกันของนิปผันนรูป
15. ชรตารูป คือ ความแก่ของนิปผันนรูป
16. อนิจจรูป คือ ความดับของนิปผันนรูป

อิอิ...... :D
สรุปมาเก็บไว้อ่านเกี่ยวกับสุขุมรูป แต่บุษไม่เข้าใจคำว่า นิปผันนรูปนะค่ะ ถ้าไงบุษรบกวนพี่เดฟ ตรงนี้อีกนิดนะค่ะ สำหรับกระทู้นี้อะค่ะ

D E V
02-03-2010, 07:57 PM
ในเว็บที่ให้ไป ก็มีอธิบายไว้นะคับ

นิปผันนรูป...อนิปผันนรูป
มีอธิบายไว้ตั้งแต่หน้าแรกเลยคับ
http://www.buddhism-online.org/Section05A_01.htm

แล้วก็มีอธิบายเพิ่มเติมในหน้านี้อีก
http://www.buddhism-online.org/Section05A_09.htm




8) เดฟ

Butsaya
02-03-2010, 08:21 PM
อืม ..... :D คือ บุษไม่ได้อ่านตั้งแต่หน้าแรกอะค่ะ บุษอ่านตามคำ ที่พี่ให้มา สุขุมรูป 16 คำนั่นอะค่ะ เลยม่ะเจอคำนี้อะค่ะ แต่ตอนนี้บุษเจอแระค่ะ อิอิ...
ตอนนี้บุษเลยโล่งแระค่ะ อิอิ.... ;D

นิปผันนรูป ๑๘ หมายถึง รูปที่มีสภาวะของตนเองโดยเฉพาะ เช่น ปฐวีธาตุ มีลักษณะแข็ง เตโชธาตุ มีลักษณะร้อน เป็นต้น

ขอบพระคุณมาก ๆ เลยนะค่ะ พี่เดฟ กระทู้นี้บุษสมบูรณ์แล้วอะค่ะ บุษทำความเข้าใจได้แล้วนะค่ะ อิอิ.... ;D

were
02-04-2010, 08:33 AM
ขอร่วมสนทนาด้วยนะครับ

นอกจากนี้ปสาทรูปต่างๆยังเป็นที่เกิดของจิตและเจตสิกด้วยครับ (ช่างมหัศจรรย์อะไรเช่นนี้)
เพราะพระปัญญาของพระพุทธองค์ทรงจำแนกทั้งอรรถะ พยัญชนะ ไว้อย่างละเอียด
และไม่มีใครเทียมได้ครับ เพราะพระองค์เป็นเอกบุรุษ เราควรศึกษาปรมัตถธรรมด้วยความ
ตั้งใจและด้วยจิตที่เป็นกุศลจะได้มีความเพียรและเป็นปัจจัยให้ระลึกรูปต่างๆ นามต่างๆ
ได้อย่างถูกต้องครับ
วัตถุรูป หมายถึงรูปอันเป็นที่อาศัยเกิดขึ้นของจิตและเจตสิก องค์ธรรมได้แก่ ปสาทรูป ๕ หทยรูป ๑
ปสาทรูป ๕ เป็นที่อาศัยเกิดของทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ และเจตสิก ๗
หทยรูป ๑ เป็นที่อาศัยเกิดของจิต ๗๕ (เว้นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ และ อรูปาวจรวิบากจิต ๔) และ เจตสิก ๕๒ ส่วนรูปที่เหลืออีก ๒๒ รูปนั้น
ไม่ใช่เป็นที่อาศัยเกิดของจิตและเจตสิก ดังนั้นจึงได้ชื่อว่า อวัตถุรูป

อนุโมทนากับคุณเดฟนะคับสำหรับคำตอบดีๆ

ANATTA_
02-07-2010, 11:06 AM
รูปปรมัตถ์ เป็น เช่นนี้เอง

แล้ว รูปปลาร้ามัด เป็นเช่นไร


:D :)

D E V
02-07-2010, 05:20 PM
รูปปลาร้ามัด (มัดปากไหซะแน่นเลย อิอิ)

http://www.nakkhaothai.com/admin/talkofthetown/83.jpg





8) เดฟ

piangfan
02-08-2010, 12:43 PM
สวัสดีค่ะ อาจารย์เดฟ พี่บุษ คุณโจ๋
และทุกท่านค่ะ สาธุค่ะ


ไปๆ มาๆ กลับกลายเป็นปลาร้า ในโอ่งนี่เองคะ
อึ้งกิมกี่ ค่ะ

555555

แวะมาแจมค่ะ
ขอบคุณค่ะ

ANATTA_
02-09-2010, 06:19 AM
Oh! I see.


My GOD is this.




:D