PDA

แสดงเวอร์ชันเต็ม : เกี่ยวกับวจีกรรม



chocobo
02-08-2010, 05:54 PM
กราบนมัสการพระคุณเจ้าทุกรูป สวัสดีมิตรธรรมทุกท่าน

1.อยากถามว่า นินทานี่ เป็นวจีกรรมหรือเปล่าครับ
2.การด่าคนอื่นเป็นคำพูดกับตัวเอง โดยเขาไม่ได้ยิน ถือเป็นวจีกรรมไหม เป็นบาปไหม(เพราะพูออกมา ไม่ได้คิดอย่างเดียว)เช่น เห็นคนเลวในทีวี ก็ด่าว่ามันเลวอย่างนั้นอย่างนี้ อยากนี้ถือเป็นวจีกรรมไหม
3.การที่บางคนพูดคำหยาบจนติด และใช้ในหมู่เพื่อนฝูง อย่างนี้ถือเป็นบาปไหม เพราะในอกุศลวจีกรรมว่าพูดคำหยาบถือเป็นบาป
4.พูดเพ้อเจ้อนี่คืออย่างไรครับ พูดอย่างไหนที่ถือเป็นเพ้อเจ้อในวจีกรรม อย่างไหนไม่ใช่

ขอบคุณทุกๆคำตอบครับ

D E V
02-08-2010, 09:36 PM
1. นินทา หมายถึง การติเตียน กล่าวหาว่าร้ายผู้อื่นลับหลัง ก็เป็นอกุศลวจีกรรมคับ

2. เป็นวจีกรรมแต่ยังไม่ครบองค์กรรมบถคับ
ผรุสวาจา ประกอบด้วยองค์ 3 คือ
1. มีผู้ที่ถูกด่า
2. จิตขุ่นเคือง
3. การด่า


3. ลองดูคำอธิบายใน อรรถกา ว่าไว้อย่างไรนะคับ

แก้ผรุสวาจา

เจตนาที่หยาบคายโดยส่วนเดียว ที่เป็นสมุฏฐานแห่งกายประโยคและวจีประโยค
อันเป็นเหตุตัดรอนความรักของคนอื่น ชื่อว่าผรุสวาจา.

เพื่อความแจ่มชัดแห่งผรุสวาจานั้น ต้องสาธกเรื่องนี้.
ได้ทราบว่า เด็กคนหนึ่งไม่เชื่อถ้อยคำของมารดา (ขืน) เข้าป่าไป.
มารดาเมื่อไม่สามารถจะให้เขากลับได้ จึงด่าว่า ขอให้แม่กระบือดุร้ายจงไล่ขวิดมึง.

ภายหลังแม่กระบือได้ปรากฏแก่เขาเหมือนอย่างที่แม่ว่านั่นแหละ.
เด็กจึงทำสัจจกิริยาว่า คุณแม่ของข้าพเจ้ากล่าวอย่างใดด้วยปาก ขออย่าเป็นอย่างนั้น
แต่คิดอย่างใดด้วยใจ ขอให้เป็นอย่างนั้น.
แม่กระบือได้หยุดชะงักอยู่ ณ ที่นั้นนั่นเองเหมือนถูกผูกไว้.

วจีประโยคแม้เป็นเหตุตัดเสียซึ่งคำรัก (คำที่พาดถึงสิ่งที่รัก) ดังที่พรรณนามานี้
ก็ไม่เป็นผรุสวาท เพราะผู้พูดมีจิตอ่อนโยน.

จริงอยู่ บางครั้งพ่อแม่ว่าลูกๆ อย่างนี้ว่า
ขอให้พวกโจรฟันพวกเองให้ขาดเป็นท่อนๆ ไปเถิด
ถึงอย่างนั้น แม้แต่เพียงกลีบดอกอุบลก็ไม่ประสงค์จะให้ตกลงบนเบื้องบนของพวกเขาเลย.
และบางครั้งอาจารย์และอุปัชฌาย์ต่อว่า อันเตวาสิกและสัทธิวิหาริกผู้อยู่อาศัยทั้งหลายว่า
พวกนี้จะพูดอะไรกันก็ไม่มียางอาย ไม่มีความเกรงกลัว สูเจ้าทั้งหลายจงไล่เขาไปเสีย.
แต่ถึงกระนั้น อาจารย์และอุปัชฌาย์เหล่านั้นก็ยังปรารถนาสมบัติคืออาคม (ปริยัติ) และอธิคม (ปฏิเวธ)
แก่อันเตวาสิกและสัทธิวิหาริกเหล่านั้นอยู่.

อนึ่ง วจีประโยคไม่เป็นผรุสวาจา เพราะผู้พูดมีจิตอ่อนโยนฉันใด
จะไม่เป็นผรุสวาจาเพราะผู้พูดมีคำพูดอ่อนหวานฉันนั้นก็หามิได้
เพราะว่า คำพูดของผู้ประสงค์จะให้เขาตายว่า แกจงให้คนคนนี้นอนสบายเถิด
ดังนี้ ไม่ใช่ไม่เป็นผรุสวาจา แต่วาจานี้เป็นผรุสวาจาทีเดียว เพราะผู้พูดมีจิตหยาบคาย.


อีกตัวอย่างนึง ถ้าโจ๋จำได้
คือ พระปิลินทวัจฉะ ท่านเป็นพระอรหันต์
แต่เนื่องจากคำพูดติดปากท่านเรียกคนอื่นด้วยความเคยชินว่า คนถ่อย
แต่จิตใจขณะนั้นไม่ได้เป็นโทสมูลจิตเลย

แต่บางคนแม้พูดคำสุภาพหวานหู
แต่แฝงไว้ด้วยเจตนาเชือดเฉือน ก็เป็นผรุสวาจานะคับ


4. ลองดูในอรรถกถาเดียวกันนะคับ มีแสดงไว้ว่า

แก้สัมผัปปลาปะ

ความจงใจที่เป็นอกุศล ที่เป็นสมุฏฐานแห่งกายประโยคและวจีประโยค
ที่ยังผู้อื่นให้เข้าใจคำพูดที่ไร้ประโยชน์ ชื่อว่าสัมผัปปลาปะ.

สัมผัปปลาปะนั้น ชื่อว่ามีโทษน้อย เพราะผู้พูดมีอาเสวนะอ่อน (ความเคยชินน้อย)
ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะผู้พูดมีอาเสวนะมาก (ความเคยชินมาก).

สัมผัปปลาปะนั้นมีองค์ประกอบ ๒ ประการ คือ
ความมุ่งหน้าที่จะพูดถ้อยคำไร้ประโยชน์ มีเรื่องสงครามภารตะและเรื่องการลักพานางสีดา (เรื่องรามเกียรติ์) เป็นต้น ๑
การกล่าวถ้อยคำชนิดนั้น ๑.

อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มูลปริยายวรรค
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12.0&i=110&p=1


สำหรับวาจาที่ไม่เป็นประโยชน์ อันได้แก่ ดิรัจฉานกาถา
ลองดูในพระไตรปิฎกที่แสดงไว้นะคับ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=10014&Z=10036&pagebreak=0

และในอรรถกถา มีอธิบายไว้ว่าอย่างไรเป็นดิรัจฉานกถา
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1663




8) เดฟ

chocobo
02-08-2010, 10:31 PM
กราบอนุโมทนาสาธุ ท่านปู่เดฟค้าบ ;D

สาธุ สาธุ สาธุ

D E V
02-09-2010, 08:37 AM
เพิ่มเติมตรงข้อ 1 ซักเล็กน้อยนะคับ

หากการกล่าวถึงผู้อื่นนั้น
ไม่ใช่ด้วยเจตนาหักรานตัดรอนผู้อื่น
ใส่สีตีไข่ทำให้เกิดความแตกแยก
เป็นแต่เพียงบอกกล่าวเรื่องราวให้ทราบ
ก็ไม่ใช่อกุศลวจีกรรมนะคับ

เจตนาที่กล่าว จึงเป็นใหญ่ เป็นประธาน
และสภาพจิตขณะนั้นเป็นกุศลหรืออกุศล
ซึ่งผู้นั้นต้องตรงต่อตนเองจริงๆ
จึงจะทราบจิตใจขณะที่กล่าวนั้นน่ะคับ



8) เดฟ

Butsaya
11-24-2010, 01:16 PM
สวัสดีค่ะ พี่เดฟ คุณโจ๋ ... :D

บุษขออนุญาติมาแจม ด้วยคนนะค่ะ ขออนุโมทนาสาธุกับ พี่เดฟ(ผู้ตอบ) คุณโจ๋(ผู้ถาม) พี่ตี๋(ผู้สนับสนุนเนื้อหา) ด้วยนะค่ะ :D
บุษขออันเชิญพระไตรปิฏกบางส่วนบางตอนที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องที่คุณโจ๋ตั้งกระทู้นี้นะค่ะ
เผื่อว่าจะเป็นประโยชน์และได้อ่านพระไตรปิฏกกันสักเล็กน้อยนะค่ะ พอดีได้อ่านเรื่องนี้มาจากพี่ตี๋พอดี :D :D :D

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑
ธรรมสังคณีปกรณ์

[๘๖๑] สาขัลยะ เป็นไฉน?
วาจาใด เป็นปม เป็นกาก เผ็ดร้อนต่อผู้อื่น เกี่ยวผู้อื่นไว้ ยั่วให้โกรธ ไม่เป็นไปเพื่อ
สมาธิ ละวาจาเช่นนั้นเสีย, วาจาใด ไร้โทษ สบายหู ไพเราะ จับใจ เป็นวาจาของชาวเมือง
เป็นที่ยินดีเจริญใจของชนหมู่มาก กล่าววาจาเช่นนั้น, ความเป็นผู้มีวาจาอ่อนหวาน ความเป็นผู้มี
วาจาสละสลวย ความเป็นผู้มีวาจาไม่หยาบคาย ในลักษณะดังกล่าวนั้น อันใด นี้เรียกว่า สาขัลยะ.

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒
วิภังคปกรณ์

[๙๒๑] อสาขัลยะ ความเป็นผู้มีวาจาไม่อ่อนหวาน เป็นไฉน
วาจาใด เป็นปม หยาบคาย เผ็ดร้อนต่อผู้อื่น กระทบผู้อื่น ยั่วให้โกรธ
ไม่เป็นไปเพื่อสมาธิ บุคคลพูดวาจาเช่นนั้น ความเป็นผู้มีวาจาไม่อ่อนหวาน
ความเป็นผู้มีวาจาไม่สละสลวย ความเป็นผู้มีวาจาหยาบในลักษณะดังกล่าวนั้น
อันใด นี้เรียกว่า อสาขัลยะ ความเป็นผู้มีวาจาไม่อ่อนหวาน

ว่าด้วยนิทเทสสาขัลยทุกะ
พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสสาขัลยทุกะ ต่อไป
บทว่า อณฺฑกา (เป็นปม) ได้แก่ เกิดเป็นปมด้วยวาจาปริภาษ
และเย้ยหยันประกอบด้วยโทสะ เหมือนกับปมที่เกิดขึ้นที่ต้นไม้ที่มีโทษ ฉะนั้น.
บทว่า กกฺกสา (เป็นกาก) ได้แก่ วาจาเสีย คือ วาจานั้นเป็นกาก
เช่นเดียวกับต้นไม้ที่เสียย่อมเป็นกาก เป็นจุณไหลออกมา ฉะนั้น. วาจาที่เป็น
กากนั้น เป็นราวกะเสียดสีโสตเข้าไป ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า เป็นกาก.
บทว่า ปรกฏุกา (เผ็ดร้อนต่อผู้อื่น) ได้แก่ เผ็ดร้อนไม่เป็นที่
ชอบใจ ให้เกิดโทสะแก่ผู้อื่น. บทว่า ปราภิสชฺชนี (เกี่ยวผู้อื่นไว้) ได้แก่
เป็นดุจกิ่งไม้มีหนามงอแทงผิวหนังเกี่ยวผู้อื่นไว้ไม่ให้ไปแม้เขาจะไปก็ทำให้ติดอยู่
ย่อมไม่ให้ไป ฉะนั้น.
บทว่า โกธสามนฺตา (ยั่วให้โกรธ) ได้แก่ เป็นวาจาใกล้ต่อ
ความโกรธ. บทว่า อสมาธิสํวตฺตนิกา (ไม่เป็นไปเพื่อสมาธิ) ได้แก่
ไม่เป็นไปเพื่ออัปปนาสมาธิ หรืออุปจารสมาธิ คำเหล่านี้ทั้งหมดเป็นไวพจน์
ของวาจาที่เป็นไปกับโทสะ ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า ตถารูปึ วาจํ ปหาย (ละวาจาเช่นนั้นเสีย) นี้ ตรัสไว้
เพื่อแสดงว่า วาจาอ่อนหวานแม้เป็นไปในระหว่างของผู้มิได้ละผรุสวาจาตั้งอยู่
ก็ชื่อว่า วาจาไม่อ่อนหวานนั่นแหละ.
บทว่า เนฬา อธิบายว่า โทษตรัสเรียกว่า เอฬํ โทษของวาจา
นั้นไม่มี เพราะเหตุนั้น วาจานั้น จึงชื่อว่า เนฬา (ไร้โทษ) อธิบายว่า
ไม่มีโทษ ดุจศีล (ที่ไร้โทษ) ซึ่งตรัสไว้ในคำนี้ว่า เนฬงฺโค เสตปจฺฉาโท
เป็นต้น*(ขุ. อุ. เล่ม ๒๕ ๑๕๑/๒๐๑) แปลว่า รถคืออัตภาพมีศีลอันหา
โทษมิได้ มีการประดับด้วย
บริขารขาวเป็นต้น.

บทว่า กณฺณสุขา (สบายหู) ได้แก่ สบายแก่หูทั้งสอง เพราะเป็น
วาจาที่ไพเราะโดยพยัญชนะ คือไม่ทำการเสียดแทงหูให้เกิดขึ้นดุจการแทงด้วยเข็ม.
วาจาใด ไม่ยังความโกรธให้เกิด ย่อมยังความรักให้เกิดในสรีระ
เพราะเป็นวาจาไพเราะโดยอรรถ เพราะเหตุนั้น วาจานั้น จึงชื่อว่า เปมนียา (วาจาไพเราะ).
วาจาใด ไปสู่หทัย ไม่มีอะไรกระทบกระเทือนเข้าไปสู่จิตโดยง่าย
เพราะเหตุนั้น วาจานั้น จึงชื่อว่า หทยงฺคมา (วาจาจับใจ).
วาจาใด เป็นของมีอยู่ในเมือง เพราะเป็นวาจาบริบูรณ์ด้วยคุณ
เพราะเหตุนั้น วาจานั้น จึงชื่อว่า โปรี (วาจาของชาวเมือง). วาจาที่กล่าว
เรียกว่า ดูก่อนกุมารีผู้ดี ดุจนารีผู้มีวัฒนธรรมอันดีในบุรี เพราะเหตุนั้น แม้
วาจานั้นก็ชื่อว่า โปรี. วาจานี้ใด เป็นของมีอยู่แก่ชาวเมือง เพราะเหตุนั้น
แม้วาจานั้น ก็ชื่อว่า โปรี อธิบายว่า เป็นถ้อยคำของชาวพระนคร จริงอยู่
ชาวพระนคร มีถ้อยคำสมควร ย่อมเรียกบุคคลคราวพ่อว่าพ่อ ย่อมเรียกบุคคล
ควรเป็นพี่ชายน้องชายว่าพี่ชายน้องชายเป็นต้น.
วาจาใดเห็นปานนี้ ย่อมเป็นที่รักชอบใจแก่ชนเป็นอันมาก เพราะ
เหตุนั้น วาจานั้น จึงชื่อว่า พหุชนกนฺตา (วาจาที่ชอบใจของชนหมู่มาก).
วาจาใดเป็นที่ยังใจให้ชุ่มชื่น คือ ทำความเจริญแห่งจิตแก่ชนจำนวน
มาก โดยความเป็นวาจาที่เจริญใจของชนหมู่มากนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น
วาจานั้น จึงชื่อว่า พหุชนมนาปา (วาจาที่เจริญใจ).
บทว่า ยา ตตฺถ ได้แก่ วาจาใดในบุคคลนั้น.
บทว่า สณฺหวาจตา (ความเป็นผู้มีวาจาละเอียดอ่อน) ได้แก่ ความเป็นผู้มีวาจาสละสลวย.
บทว่า สขิลวาจตา (ความเป็นผู้มีวาจาอ่อนหวาน) ได้แก่ วาจา อ่อนน้อม.
บทว่า อผรุสวาจตา (ความเป็นผู้มีวาจาไม่หยาบคาย) ได้แก่ วาจาไม่กักขฬะ.

chocobo
12-01-2010, 05:50 PM
โอ้ววว อนุโมทนาสาธุครับคุณบุษฯ ;D

เป็นเรื่องใหม่ไม่เคยได้ยินเลย ขอบคุณมากๆครับ และขอขอบคุณพี่ตี๋ด้วยเลย ณ ที่นี้ครับ ;D

*8q*
12-01-2010, 06:57 PM
มิเบามิเบา ;D