PDA

แสดงเวอร์ชันเต็ม : เหตุแห่งการฝัน



DAO
02-11-2010, 08:45 PM
จิตอันเป็นมโนทวารเท่านั้นย่อมหมุนไป ลำดับนั้น ชวนะ
เสพอารมณ์แล้วก็หยั่งลงสู่ภวังค์.
ในวาระที่ ๒ ภวังค์จึงหมุนไปสู่อาวัชชนะทั้งหลายอันเป็นไปทาง
โสตทวารเป็นต้น จากนั้น โสตะ ฆานะ ชิวหา กายวิญญาณเป็นต้น มี
ชวนะเป็นปริโยสาน ย่อมเป็นไป. ต่อจากนั้น ภวังค์ก็เป็นไปอีก.
ในวาระที่ ๓ ครั้นเมื่อภวังค์หมุนไปสู่อาวัชชนะอันเป็นมโนทวาร
แล้ว ชวนะอันเป็นมโนทวาร ก็แล่นไป. เพราะรู้ด้วยจิต (ชวนจิตอันเป็น
มโนทวารวิถี) นั้น บุคคลจึงรู้เสียงอะไร ๆ ในที่นี้ว่า เป็นเสียงสังข์ เป็นเสียง
กลอง. หรือรู้กลิ่นอะไร ๆ ในที่นี้ว่า เป็นกลิ่นเกิดแต่ราก กลิ่นเกิดแต่แก่น.
หรือรู้รสอะไร ๆ ที่เขาใส่เข้าไปในปากของตน ว่าเป็นเนยใส น้ำอ้อย หรือรู้
ว่าการประหารนี้ ใครตี ใครทุบ ใครประหารที่หลัง ดังนี้ บุคคลจึงชื่อว่า
ย่อมตื่นด้วยชวนจิตอันเป็นไปทางมโนทวารเท่านั้น ด้วยอาการอย่างนี้ บุคคล
จึงมิได้ตื่นขึ้นด้วยจิตอันเป็นไปทางปัญจทวาร.
บุคคลย่อมเห็นแม้สุบิน (ฝัน) ด้วยชวนจิตทางมโนทวารนั้นนั่นแหละ
มิได้ฝันเห็นจิตอันเป็นไปทางปัญจทวาร.

เหตุแห่งการฝัน ๔
ก็แล บุคคลเมื่อเห็นสุบิน (ฝัน) นั้น ๆ ย่อมฝันเห็นด้วยเหตุ ๔ ประ-
การ คือ




--------------------------------------------------------------------------------

โดยธาตุกำเริบ
โดยเคยประสพมา
โดยเทวดาดลใจ
โดยบุพนิมิต
ใน ๔ อย่างนั้น บุคคลมีธาตุกำเริบ เพราะประกอบด้วยปัจจัยทำ
ให้ผิดปกติของน้ำดีเป็นต้น จึงชื่อว่าย่อมฝันไปเพราะธาตุกำเริบ. จริงอยู่ เมื่อ
ฝันไปต่าง ๆ ย่อมเป็นราวกะว่า กำลังตกลงไปจากภูเขา ราวกะว่ากำลังเดินไป
ทางอากาศ และเป็นราวกะว่าถูกเนื้อร้าย ช้างร้ายและโจรเป็นต้นติดตามแล้ว.
ว่าโดยเคยประสพมา บุคคลเมื่อฝัน ย่อมฝันเห็นอารมณ์อันตนเคย
ประสพมาแล้วในกาลก่อน.
ว่าโดยเทวดาดลใจ เทวดาย่อมน้อมอารมณ์มีอย่างต่าง ๆ เข้าไป
เพราะความเป็นผู้ใคร่จะให้ประโยชน์ หรือเพราะความประสงค์จะให้เกิดความ
เสื่อม หรือเพื่อให้เกิดความเจริญ หรือเพื่อให้เกิดความพินาศแก่บุคคลผู้ฝันนั้น.
บุคคลนั้น ย่อมฝันเห็นอารมณ์เหล่านั้น ด้วยอานุภาพแห่งเทวดาเหล่านั้น.
ว่าโดยบุพนิมิต บุคคลเมื่อฝันเห็น ย่อมฝันเห็นสุบินอันเป็น
บุพนิมิต (ลางที่บอกเหตุขึ้นก่อน) แห่งความเจริญ หรือความพินาศ ด้วย
สามารถแห่งบุญและบาปย่อมเป็นดุจพระมารดาของพระโพธิสัตว์ ทรงสุบินนิมิต
ในการได้เฉพาะซึ่งพระราชบุตร ย่อมเป็นดุจพระโพธิสัตว์ ทรงมหาสุบินนิมิต
๕ ข้อ และย่อมเป็นดุจพระเจ้าโกศลทรงสุบินนิมิต ๑๖ ข้อ.
ในเหตุ ๔ เหล่านั้น บุคคลย่อมฝันเห็นสิ่งใดโดยธาตุกำเริบ
และโดยการกินก่อนนอน สิ่งนั้นมิใช่ความจริง. บุคคลย่อมฝันเห็น
สิ่งใดโดยเทวดาดลใจ สิ่งนั้นเป็นจริงก็ได้ ไม่จริงก็ได้ เพราะว่า





--------------------------------------------------------------------------------

เทวดาโกรธแล้ว ใคร่เพื่อจะให้ถึงความพินาศด้วยอุบายของตน จึง
กระทำการดลใจแสดงสิ่งนั้นให้วิปริตไปก็ได้.
ได้ยินว่า ในมหาวิหารอันประเสริฐในพระนครโรหนะ พระมหาเถระ
ไม่ขออนุญาตพระภิกษุสงฆ์ สั่งให้ตัดต้นไม้ใหญ่ต้นหนึ่ง เทวดาผู้สิงอยู่ที่ต้น
ไม้โกรธพระเถระแล้ว ครั้งแรกนั่นแหละทำประเล้าประโลม (ชื่นชม) พระเถระ
ภายหลังบอกในสุบินนิมิตว่า "พระราชาผู้เป็นอุปัฏฐากของท่านจักสวรรคตภาย
ใน ๗ วัน นับแต่วันนี้" ดังนี้. พระเถระนำเรื่องนั้นไปบอกแก่นางสนมของ
พระราชา. เทวดานั้นก็แกล้งร้องเสียงดังราวกะว่าถูกประหารครั้งหนึ่ง. พระ-
ราชาทรงถามว่า "นั่นอะไรกัน". เทวดานั้นทูลว่า พระเถระกล่าวอย่างนี้.
พระราชาให้ราชบุรุษนับจำนวนวัน ครั้นพระชนม์ชีพของพระองค์เกิน ๗ วัน
แล้ว ทรงกริ้วจึงให้ราชบุรุษตัดมือและเท้าของพระเถระเสีย.
ก็บุคคล ย่อมเห็นสิ่งใดโดยบุพนิมิต สิ่งนั้น ย่อมเป็นจริง
โดยส่วนเดียว. และประเภทแห่งความฝันย่อมมีแม้เพราะความแตกต่างกันไป
ตามการเกี่ยวข้องด้วยมูลเหตุทั้ง ๔ เหล่านั้นทีเดียว.
อนึ่ง พระเสกขะและปุถุชนเท่านั้น ย่อมฝันเห็นสุบินนิมิต.
แม้ทั้ง ๔ อย่าง เพราะความที่ตนยังมิได้ละวิปัลลาส ๔.
สำหรับพระอเสกขบุคคล ย่อมไม่ฝัน เพราะท่านมีวิปัลลาส ๔
อันละได้แล้ว.
ถามว่า ก็บุคคลเมื่อจะฝัน หลับแล้วย่อมฝัน หรือตื่นแล้วย่อมฝัน
หรือว่าทั้งมิใช่หลับแล้วทั้งมิใช่ตื่นแล้ว ย่อมฝัน ดังนี้.
ตอบว่า ก็ในที่นี้ ความฝันจะเป็นอย่างไร พึงทราบดังนี้
ถ้าว่า บุคคลหลับแล้วย่อมฝันไซร้ ข้อนี้ ย่อมไม่ตรงตาม
พระอภิธรรม เพราะว่า (ในพระอภิธรรม) บุคคลย่อมหลับด้วย




--------------------------------------------------------------------------------

ภวังคจิต และภวังคจิตซึ่งมีรูปนิมิตเป็นต้นเป็นอารมณ์นั้น มิได้
สัมปยุตด้วยกิเลสมีราคะเป็นต้น. ส่วนบุคคลฝันอยู่ จิตทั้งหลายเช่นนี้
(คือจิตที่สัมปยุตด้วยราคะเป็นต้น) ย่อมเกิดได้.
ถ้าบุกคลตื่นแล้วย่อมฝันได้ ข้อนี้ ก็ไม่ตรงตามพระวินัย เพราะว่า
บุคคลตื่นแล้วย่อมฝันเห็นสิ่งใดนั้นย่อมเห็นด้วยจิตอันเป็นไปกับด้วยอัพโพหาริก
(คือ สิ่งที่กล่าวอ้างไม่ได้) ด้วยว่า ชื่อว่า อนาบัติในเพราะการก้าวล่วงพระ-
บัญญัติที่ภิกษุทำแล้วด้วยจิตอันเป็นไปกับด้วยสิ่งที่กล่าวอ้างไม่ได้ มิได้มี อนึ่ง
เมื่อบุคคลทำกรรมด้วยจิตที่กำลังฝันซึ่งเป็นการล่วงพระบัญญัติ ย่อมเป็นอนาบัติ
โดยส่วนเดียว.
ถ้าบุคคลไม่หลับ ไม่ตื่น ย่อมฝันได้ เขาย่อมจะชื่อว่า ไม่ฝันเห็น
ซึ่งสุบิน (ในที่นี้ ) ก็ครั้นเมื่อความเป็นอย่างนั้นมีอยู่ ความไม่มีแห่งสุบินเทียว
ย่อมปรากฏ ความมีแห่งสุบินก็ย่อมไม่ปรากฏ ข้อนี้เป็นเพราะเหตุไร เพราะ
บุคคลมีความง่วงเหงาไปปราศแล้วดุจลิง ย่อมฝัน. สมจริง ดังที่กล่าวไว้ว่า
ดูก่อนมหาราช บุคคลมีความง่วงเหงาซบเซาไปปราศแล้วดุจลิง
ย่อมฝัน ดังนี้. คำว่า กปิมิทฺธปเรโต ท่านประกอบไว้ ด้วยการนอน
ของวานร. เหมือนอย่างว่า การนอนหลับของลิง ย่อมเป็นไปเร็ว ฉันใด
ชื่อว่าการนอนหลับขอองบุคคล เพราะความเกลื่อนกล่นแล้วด้วยกุศลจิตเป็นต้น
ซึ่งเป็นไปรวดเร็วบ่อย ๆ อันใดก็ฉันนั้น. การข้ามไปจากภวังค์บ่อย ๆ เพราะ
ความเป็นไปของการหลับอันใด การประกอบด้วยการหลับนั้น ย่อมเห็นสุบิน
เพราะเหตุนั้นการฝันนี้ ย่อมเป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้าง เป็นอัพยากตะบ้าง. ใน
การฝันเหล่านั้น เมื่อบุคคลฝันว่าทำการไหว้พระเจดีย์ การฟังธรรม การแสดง
ธรรมเป็นต้น ย่อมเป็นกุศล เมื่อฝันว่าทำปาณาติบาตเป็นต้น ย่อมเป็นอกุศล
พ้นจากจิตทั้งสองนี้ ในขณะแห่งอาวัชชนะและตทารัมมณะ พึงทราบว่าเป็น






--------------------------------------------------------------------------------

อัพยากตะ. แม้ในเวลาที่กล่าวว่า *สิ่งนี้เราเห็นแล้ว สิ่งนี้เราได้ยินแล้ว สิ่ง
ที่ปรากฏแล้วนั่นแหละ ก็เป็นอัพยากตะเช่นกัน.
ถามว่า กุศลธรรมและอกุศลธรรมที่บุคคลทำในขณะฝันเป็นธรรม
มีวิบากหรือไม่ ?
ตอบว่า มีวิบาก แต่กรรมที่ทำในเวลาฝันนั้นไม่อาจให้ปฏิ-
สนธิได้ เพราะความที่วิบากนั้นมีกำลังทราม. แต่ครั้นเมื่อปฏิสนธิ
เป็นไปแล้วด้วยกรรมอย่างอื่นให้ผลแล้ว (กรรมที่ทำในเวลาฝัน)
ย่อมให้ผล.
คำว่า เอวํ ยาถาวกวตฺถุวิภาวนา ปญฺ?า (แปลว่า ความรู้เรื่อง
วิญญาณ ๕ ดังกล่าวมานี้ ชื่อว่าปัญญา) บัณฑิตพึงทราบว่า มิใช่เป็นการ
อธิบายถึงเหตุของวิญญาณ ๕ แต่เป็นการอธิบายความเป็นจริงของวิญญาณ ๕
เท่านั้น.
คำว่า ตํ ยาถาวกวตฺถุํ วิภาเวติ ได้แก่ เป็นการชี้แจงถึงเรื่อง
วิญญาณ ๕ ตามความเป็นจริง. บัณฑิตพึงทราบคำอธิบาย ความรู้เรื่องวิญญาณ
๕ ตามความเป็นจริงอันนั้น ชื่อว่า ปัญญา เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้ง
ไว้ในมาติกาว่า ความรู้เรื่องวิญญาณ ๕ ตามความเป็นจริง อันใด ชื่อว่า
ปัญญา ในหนหลัง ดังพรรณนามาฉะนี้. และพึงทราบว่า การนับญาณด้วย
สามารถแห่งธรรมหมวดหนึ่ง หรือการนับญาณด้วยอาการอย่างหนึ่ง อย่างนี้
ว่า เอกวิเธน ?าณวตฺถุ ดังวรรณนามาฉะนี้.
ญาณวัตถุหมวดหนึ่ง จบ

* บาลีใช้ ทิฏ€ํ วิย เม สุตํวิย เม เช่นเดียวกับคำว่า รูปอันเราเห็นแล้ว เสียงอัน
เราได้ยินแล้ว ซึ่งจัดเป็นอัพยากตะ เพราะเป็นรูป




--------------------------------------------------------------------------------

อรรถกถาทุกนิทเทส
อธิบายญาณวัตถุหมวด ๒
คำว่า จตูสุ ภูมีสุ กุสเล (แปลว่า ในกุศลธรรมในภูมิ ๔) ได้แก่
ปัญญาเป็นกุศลอันเป็นไปในภูมิ ๔ ของพระเสกขะ และปุถุชนทั้งหลาย พึง
ทราบวินิจฉัยในที่นี้ว่า ปัญญาใด ย่อมยังประโยชน์กล่าวคือวิบากอันนับเนื่อง
แล้วด้วยภูมิของตน. ให้เกิดขึ้น ให้ผลิตผล คือให้เป็นไปทั่วในประโยชน์ ๕*
ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในปฏิสัมภิทาวิภังค์ เพราะเหตุนั้น ปัญญานั้น
จึงชื่อว่า อัตถชาปิกา. คำว่า อรหโต อภิญฺ?ํ อุปฺปาเทนฺตสฺส สมา-
ปตฺตึ อุปฺปาเทนฺตสฺส กิริยาพฺยากตา (แปลว่า ปัญญาที่เป็นกิริยาอัพยากตะ)
ของพระอรหันต์ผู้กำลังยังอภิญญาให้เกิดขึ้น ผู้กำลังยังสมาบัติให้เกิดขึ้น) ได้แก่
ปัญญาอันเป็นกิริยาในกามาวจร ในเวลาทำบริกรรมแห่งอภิญญาและสมาบัติ.
จริงอยู่ ปัญญานั้น ย่อมยังประโยชน์กล่าวคือกิริยาอันต่างด้วยอภิญญาและ
สมาบัติให้เกิด ให้ผลิตผล ให้เป็นไปทั่ว เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสเรียกว่า อัตถชาปิกปัญญา.

นัยแห่งอรรถกถาอันเป็นบาลีมุตตกะ นัยหนึ่ง
ก็ปัญญาแม้ใด เป็นกามาวจรกิริยาซึ่งเกิดขึ้นก่อน ย่อมเป็นปัจจัยแก่
กามาวจรกิริยาที่เกิดภายหลังด้วยอำนาจอนันตรปัจจัย. ปัญญาแม้นั้น ชื่อว่า
อัตถชาปิกปัญญา เพราะย่อมยังประโยชน์กล่าวคือกิริยานั้นให้เกิดขึ้น. แม้

*. คือ ๑. สัจจวาระ ๒. เหตุวาระ ๓. ธรรมวาระ ๔. ปัจจยาการวาระ ๕. ปริยัตติ-
ธรรมวาระ




ขอขอบคุณที่มาคะ http://www.palungjit.com/tripitaka/default.php?cat=7800423