lek
06-12-2010, 06:32 AM
ความหลุดพ้นก็ดี นิรวาณหรือนิพพานก็ดี อิสระหรืออิศวรก็ดี
ล้วนเป็นถ้อยคำศักดิ์สิทธิ์ที่ศาสนิกถือเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุด
มันเป็นเครื่องบ่งบอกว่ามนุษย์ครั้งอดีตนั้น ได้ดั้นด้นค้นหาทางรอด
ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของการรวมกับองค์พระผู้เป็นเจ้า
หรือความดับสนิทแห่งทุกข์ตามทางของพระพุทธศาสนา
ศัพท์ที่เรียกว่าอิศวรเป็นสันสกฤต ตรงกับคำว่าอิสระในภาษาบาลี
แปลว่าผู้ที่เป็นใหญ่เหนือโลก เหนืออาสวะกิเลสทั้งหลาย
วัฒนธรรมกรีกโบราณนั้นก็มีศัพท์คำหนึ่งที่ควรแก่การสนใจจำ
คือ ยูนิโอมิสติกา (Unio Mystica)
การรวมกับสิ่งเร้นลับ
ดูเหมือนว่าถ้อยคำศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้ยังคงเป็นสิ่งลึกลับชวนฉงน
เป็นรหัสสนัยแห่งศาสนาเทวนิยมต่างๆ
ส่วนพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นศาสนาฝ่านอเทวนิยมนั้น
ไม่อ้างถึงอิศวรหรือพระผู้เป็นเจ้า
แต่ก็บ่งถึงความสิ้นสุดของความทุกข์ทรมานทางจิตใจของมนุษย์
เรียกว่าพระนิพพาน ซึ่งก็ยังคงความหมายลึกลับอยู่เช่นกัน
ยังมีถ้อยคำของรหัสกรีกโบราณคือ แอ๊คโนสเตีย (Agnostia)
แปลว่าไม่รู้อะไรเลย ศัพท์นี้สำคัญมากมันไม่ได้หมายถึงความโง่เขลาเบาปัญญา
หากเป็นอาการรู้ซึ่งไม่รู้อะไรเลย ถ้าผูกเป็นประโยคภาษาอังกฤษ
เราก็จะได้ประโยคที่ว่า Unknowing knowing รู้โดยไม่รู้อะไรเลย
ตามความเข้าใจของผม สิ่งนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมากในการเจริญสติภาวนา
เมื่อใดก็ตามที่เราจับความรู้สึกตัวล้วนๆ โดยไม่รู้อะไรเลย
อันนี้คือ Agnostia รู้แต่ไม่รู้อะไรเลย
เป็นเพียงความรู้สึกที่ผ่องแผ้วไม่เกี่ยวกับความหมาย
เรื่องดีเรื่องชั่ว เรื่องถูกเรื่องผิด ไม่เนื่องกับกาลเวลาและระยะทาง
ไม่เกี่ยวกับอดีตซึ่งเป็นเพียงภาพสะท้อนในความรู้สึกของเรา
ไม่เกี่ยวกับอนาคต เรามีความรู้สึกว่าพรุ่งนี้ต้องมี
แต่โดยข้อเท็จจริงแล้วอนาคตยังไม่เกิด อนาคตเป็นเพียงความทรงจำของอดีต
ที่คิดว่าน่าจะเกิด เรามีชีวิตอยู่เราคิดว่าน่าจะมี พรุ่งนี้น่าจะมีสำหรับเรา
แต่ถ้าคืนนี้เราตายลง พรุ่งนี้ก็จะไม่มีสำหรับเรา
กาลเวลาทางจิตวิสัยยังอยู่ ก็เพราะตัวเรายังดำรงชีวิตอยู่
เมื่อใดชีวิตได้สิ้นสุดลง กาลเวลาก็ไม่ปรากฏในความรับรู้อีก
ไม่มีอดีต อนาคต ไม่มีแม้แต่ปัจจุบัน พรุ่งนี้เป็นเพียงความหมายรู้เท่านั้น
สิ่งที่ปรากฏอยู่เป็นปัจจุบันอยู่ทุกขณะ
แต่เนื่องจากเรามีความจำ เราสามารถคิดคาดคะเนไป
ระยะทางและกาลเวลาก็กลายเป็นสิ่งที่มากำหนดวิถีชีวิตของเรา
ทางหมื่นลี้เดินทีละหนึ่งก้าว
ข้าวร้อยคำกินทีละหนึ่งคำ
ชีวิตร้อยปีหายใจเข้าออกทีละขณะ
ช่วงชีวิตคือการดำรงอยู่เป็นไปทีละขณะ สืบต่อกันอยู่
เมื่อขณะหนึ่งผ่านไปแล้ว ก็ผ่านไปเลยไม่อยากกลับมาได้
เรือชีวิตฟันฝ่าคลื่นชีวิตปัจจุบันไปข้างหน้า
ดังนั้นเมื่อเราปฏิบัติธรรมะนั้น เราต้องอยู่กับปัจจุบัน
แต่เราต้องไม่เพ่งเล็งตึดยึดในปัจจุบัน
เราเคลื่อนมือแล้วผ่านเลย พอเคลื่อนก็รู้ พอเคลื่อนก็รู้
แล้วก็ทิ้งสิ่งที่รู้ให้หมดสิ้น เพื่อจะรู้อันใหม่
และเพื่อจะรู้อันใหม่เรื่อยๆ ทีละหนึ่งและทีละหนึ่ง
ดังนั้นจึงเกิดความรู้สึกว่ารับรู้ที่ว่ารู้แต่ไม่รู้อะไรเลย
นี่คือความหมายของศัพท์ว่า “Agnostia”
ความหมายเดียวกับคำว่า Unknowing knowing
ไม่ใช่ไม่รู้แต่ก็ไม่ใช่รู้อะไรจำเพาะอย่าง รู้แล้วก็ทิ้งทุกอย่างที่รู้
สิ่งนี้ยาก เพราะว่าเราเคยชินต่อความรู้ต้องจำไว้
ความรู้มีสองลักษณะที่ให้ผลต่างกัน
อันแรกคือ “ความรู้ที่เราต้องใช้ความจำเป็นหลัก”
ถ้าจำได้มากเราก็คิดได้มาก เรียกว่าเรารู้มาก ถ้าจำได้น้อยก็คิดได้น้อย
ในกระบวนการของการศึกษาโดยทั่วไปนั้นอยู่ในระดับความจำ
ความจำยิ่งแม่นยำเท่าไหร่ ก็จะคิดแม่นคิดใกล้เคียงกับความจริงเท่านั้น
นี่เรียกว่า “ความรู้ขึ้นอยู่กับความจำ (Knowledge)”
แต่เมื่อความจำเหล่านั้นเสื่อมไป ความรู้เหล่านั้นก็จะเหือดหายไป
หลายเรื่องที่เราจำได้เรามีความรู้ตอนเล็กๆ
เมื่อนานวันเข้าเราแก่เฒ่าเข้า ความรู้ก็หายไป
เพราะความรู้เป็นเพียงปรากฏการณ์ชั่วคราวที่ความจำยังมีอยู่เท่านั้น
ความรู้อีกอันหนึ่งคือ “ความตระหนักรู้ (Knowingness)”
ซึ่งไม่ได้รู้อะไรเลย และไม่เกี่ยวเนื่องกับความจำ
ถ้าเรารู้สึกตัวอย่างนี้ (เป็นความจำตัวมันเอง) คือเป็นความตระหนักรู้
เป็นสภาพรู้เป็นสภาพตื่นซึ่งไม่เกี่ยวกับอดีตไม่เกี่ยวกับอนาคต
เกี่ยวกับปัจจุบันซึ่งกำลังเปลี่ยนแปลงอยู่
ตาของเรามันไม่ได้กระพริบครั้งเดียว หรือ ๒ หรือ ๓ ครั้ง
มันกระพริบทีละ ๑ ทีละ ๑ ตลอดไป
เราไม่เคยกระพริบตา ๒ ครั้ง เพราะว่าครั้งที่สองก็คือครั้งที่หนึ่งอีกหนึ่งครั้ง
เมื่อเราก้าวไปสิบก้าว นั่นเป็นผลรวมของระยะทางว่าเราเดินมากี่ก้าว
แต่ว่าเมื่อเราเดินมาหนึ่งก้าว ก้าวแรกเราก็ทิ้งมันไป
ในที่สุดระยะทางเหลือเพียงหนึ่งก้าว
ระหว่างความรู้อันเนื่องกับความจำและความนึกคิด
กับความรู้แจ้งความตื่นตระหนัก ซึ่งเป็นอาการนั้นต่างกันมาก
ทั้งลักษณะและพัฒนาการอาการรู้ที่ตัวเราที่เรารู้ตัว เป็นความรู้ที่ไม่ต้องจำ
ขณะนั้นๆ ไม่เกี่ยวข้องกับความคิด ระยะทาง กาลเวลา
เราปฏิบัตินานๆ เราจับที่อาการรู้นี้ ไม่ใช่ที่ความรู้
แต่ให้มารู้ชัดต่ออาการเคลื่อนไหว
พอมันลาดไปสู่ความรู้ ที่เกี่ยวกับความจำและความคิด
เราก็กลับมาเริ่มต้นใหม่
เช่น เมื่อเดินจงกรมอยู่
ก็เกิดคิดว่าเมื่อกี้ผมพูดอะไรนะ อย่างนี้เป็นความรู้จำแล้ว
เราก็กลับมาที่อาการรู้ คือความรู้สึกล้วนๆ คือการบริหารมัน เคลื่อนที่ละหนึ่ง
ไม่ช้าไม่นานเพียงชั่วสามวันสามคืนเท่านั้น สิ่งต่างๆ ทั้งหมดนี้จะลุกตื่นขึ้น
มันเหมือนกับกองทัพยามเที่ยงคืนทหารทั้งหมดหลับสนิท
แม่ทัพผู้ชาญฉลาดรู้ว่าข้าศึกจะจู่โจมก็ลั่นสัญญาณ
กองทัพที่กำลังสงบนิ่งอยู่ในความหลับก็ตื่นขึ้น
กองทัพที่เคยหลับนั้นมีพลังพร้อมที่จะสู้
เมื่อเราปลุกความรู้สึกตัวที่แฝงเร้นอยู่ ราวกับเม็ดทรายในทุกอณูของชีวิต
เมื่อมันตื่นขึ้น มันก็จะทำหน้าที่แทนเรา
ทำหน้าที่กำจัดกิเลสตัณหา อุปาทาน ความยึดติดทั้งหมด
ในที่สุดผู้นั้นพบว่าเดี๋ยวนี้เราเป็นคนใหม่
ตอนที่ผมปฏิบัติภาวนานั้น ผมภาวนาติดต่อกันอยู่หลายคืน
ผมนอนไม่หลับ ๔-๕ คืนติดๆ กัน ทีแรกผมคิดว่าตัวเองเป็นโรคประสาท
แต่มันมีความแจ่มใสอยู่ในตัวของมัน มันตื่นอยู่อย่างนั้น
ผมจับได้ว่านี่มันเป็นอาการตื่นอยู่ภายใน
ตามธรรมดาชีวิตเราเป็นไปภายใต้ระบบที่เป็นกลไกยิ่ง
สังคมยิ่งพัฒนาไปเท่าไหร่ วิถีชีวิตของเราก็เป็นกลไกมากขึ้น
และเราจะไม่รู้ตัวยิ่งขึ้น เราจะสูญเสียโอกาสภายในตัวเองยิ่งขึ้น
แต่เมื่อมันตื่นขึ้น เราจะพบว่านิสัยเดิมเปลี่ยนไป
ในการที่นั่ง เดิน ยืนนอน มีอาการรู้ตัว มีความคลี่คลายอยู่ในตัวของมัน
ความสุขอยู่ที่นี่ ความสุขอยู่ที่ไม่เป็นไปตามอำนาจและนิสัยเก่า
หลักสำคัญที่สุดในการภาวนานั้น คือ การเร้าความรู้สึกตัวให้ตื่น
นี่คืออุบายที่สำคัญมากในเบื้องต้น เคลื่อนมือตรงๆ ง่ายๆ เบาๆ
การกระทำสิ่งเดียวกันเราจะทำให้หนักก็ได้ ให้เบาก็ได้
สังเกตดูว่าเมื่อเราไปยกของ เราเห็นของสิ่งหนึ่งซึ่งเบา แต่เราคิดว่ามันหนักมาก
เราจะรวบรวมพละกำลังอย่างมากมายเพื่อที่จะยก เสร็จแล้วเราคาดผิด
แต่ถ้าเรารู้ล่วงหน้าเราจะใช้แรงงานเบาๆ เราจะไม่ทุ่มมาก เราก็หยิบยกเบา
ในการยกมือก็เหมือนกัน ถ้าเราเข้าใจผิดเราจะยกอย่างรุนแรง
แต่ถ้าเราเข้าใจอย่างถูกต้อง เราจะรู้ว่าการเคลื่อนไหวนี้ไร้เจตนา
มือที่เคลื่อนราวกับว่ามันลอยขึ้นมาเอง
แทบจะไม่มีผู้ยก มันเคลื่อนไหวไปเอง
ไม่ช้าไม่นาน สภาพเป็นนั่นเองจะปรากฏขึ้นแทนที่
ไม่ใช่บุคลิกภาพอันเก่า บุคลิกภาพอันเก่าของเราคืออะไร
เราชอบพูดโพล่งๆ เราชอบขี้ยัวะ เวลาเราคุยกับเพื่อนใครคัดค้าน
เราขี้โมโห เราทำอะไรตามนิสัยกลไกที่เราเป็นอยู่
การเคลื่อนที่ที่เป็นจังหละจะโคนที่แม่นยำอันนี้ จะส่งผลทันที
หมายถึง พออันนี้เคลื่อนและหยุด
พออันนี้หยุดอันนี้จะปรากฏขึ้นแทน ไม่ใช่เคลื่อนมั่วอย่างนี้
เมื่อเราเคลื่อนใหม่ๆ เพราะเรากลัวผิดเพราะเราเคลื่อนช้าๆ
เราจะต้องสำรวจใหม่ทุกๆ ครั้งที่เคลื่อน เบาๆ ทำเล่นๆ เบาๆ
ไม่ช้าไม่นานจะรู้สึกสดๆ ชัดๆ และว่องไว มากขึ้น
วันหนึ่งผมนั่งกินข้าวอยู่รู้สึกเหมือนทีคนมาลูบหลังทั้งๆ ที่ไม่ได้มีคนเลย
อาการรู้สึกสดๆ กระจายมาตามแผ่นหลัง
เมื่อมันตื่นมันตื่นเป็นแถบ นี้อาจจะเป็นประสบการณ์เฉพาะรายก็ได้
คนอื่นอาจตื่นพร้อมกันก็ได้
แต่เมื่อมันถูกปลุกตื่น แล้วมันจะตื่นทุกขุมขน
ไม่เพียงแต่ที่ผิวหนังเท่านั้น แม้ในช่องท้อง ในสมอง ในกะโหลกศีรษะ
เราจะรู้สึกได้ทั่วทั้งตัว เมื่อมันตื่นแล้ว มันก็จะเป็นสมาธิเองโดยที่มันไม่ต้องทำ
เราจะพบว่าเมื่อเราภาวนาแบบนั่งสะกดจิตตัวเองนั้น
ผลของการกระทำเช่นนั้นเป็นความสงบ ไม่มีความตื่น
ดังนั้น ความสงบจึงมีสองแบบ
สงบเพราะจิตปิดกั้นตัวมันเอง จากอารมณ์ที่ไม่ต้องการ
เหมือนเราไม่อยากเห็นอะไร เราเอาปี๊ปคลุมหัวไม่รู้ไม่เห็นอะไรทั้งนั้น
แต่สงบเพราะตื่นตัว รู้แต่ไม่รู้อะไรเลย ความสงบแบบนี้มันรู้ตัว
เห็นความสงบโดยไม่ได้ติดยึดในความไม่สงบ
ล้วนเป็นถ้อยคำศักดิ์สิทธิ์ที่ศาสนิกถือเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุด
มันเป็นเครื่องบ่งบอกว่ามนุษย์ครั้งอดีตนั้น ได้ดั้นด้นค้นหาทางรอด
ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของการรวมกับองค์พระผู้เป็นเจ้า
หรือความดับสนิทแห่งทุกข์ตามทางของพระพุทธศาสนา
ศัพท์ที่เรียกว่าอิศวรเป็นสันสกฤต ตรงกับคำว่าอิสระในภาษาบาลี
แปลว่าผู้ที่เป็นใหญ่เหนือโลก เหนืออาสวะกิเลสทั้งหลาย
วัฒนธรรมกรีกโบราณนั้นก็มีศัพท์คำหนึ่งที่ควรแก่การสนใจจำ
คือ ยูนิโอมิสติกา (Unio Mystica)
การรวมกับสิ่งเร้นลับ
ดูเหมือนว่าถ้อยคำศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้ยังคงเป็นสิ่งลึกลับชวนฉงน
เป็นรหัสสนัยแห่งศาสนาเทวนิยมต่างๆ
ส่วนพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นศาสนาฝ่านอเทวนิยมนั้น
ไม่อ้างถึงอิศวรหรือพระผู้เป็นเจ้า
แต่ก็บ่งถึงความสิ้นสุดของความทุกข์ทรมานทางจิตใจของมนุษย์
เรียกว่าพระนิพพาน ซึ่งก็ยังคงความหมายลึกลับอยู่เช่นกัน
ยังมีถ้อยคำของรหัสกรีกโบราณคือ แอ๊คโนสเตีย (Agnostia)
แปลว่าไม่รู้อะไรเลย ศัพท์นี้สำคัญมากมันไม่ได้หมายถึงความโง่เขลาเบาปัญญา
หากเป็นอาการรู้ซึ่งไม่รู้อะไรเลย ถ้าผูกเป็นประโยคภาษาอังกฤษ
เราก็จะได้ประโยคที่ว่า Unknowing knowing รู้โดยไม่รู้อะไรเลย
ตามความเข้าใจของผม สิ่งนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมากในการเจริญสติภาวนา
เมื่อใดก็ตามที่เราจับความรู้สึกตัวล้วนๆ โดยไม่รู้อะไรเลย
อันนี้คือ Agnostia รู้แต่ไม่รู้อะไรเลย
เป็นเพียงความรู้สึกที่ผ่องแผ้วไม่เกี่ยวกับความหมาย
เรื่องดีเรื่องชั่ว เรื่องถูกเรื่องผิด ไม่เนื่องกับกาลเวลาและระยะทาง
ไม่เกี่ยวกับอดีตซึ่งเป็นเพียงภาพสะท้อนในความรู้สึกของเรา
ไม่เกี่ยวกับอนาคต เรามีความรู้สึกว่าพรุ่งนี้ต้องมี
แต่โดยข้อเท็จจริงแล้วอนาคตยังไม่เกิด อนาคตเป็นเพียงความทรงจำของอดีต
ที่คิดว่าน่าจะเกิด เรามีชีวิตอยู่เราคิดว่าน่าจะมี พรุ่งนี้น่าจะมีสำหรับเรา
แต่ถ้าคืนนี้เราตายลง พรุ่งนี้ก็จะไม่มีสำหรับเรา
กาลเวลาทางจิตวิสัยยังอยู่ ก็เพราะตัวเรายังดำรงชีวิตอยู่
เมื่อใดชีวิตได้สิ้นสุดลง กาลเวลาก็ไม่ปรากฏในความรับรู้อีก
ไม่มีอดีต อนาคต ไม่มีแม้แต่ปัจจุบัน พรุ่งนี้เป็นเพียงความหมายรู้เท่านั้น
สิ่งที่ปรากฏอยู่เป็นปัจจุบันอยู่ทุกขณะ
แต่เนื่องจากเรามีความจำ เราสามารถคิดคาดคะเนไป
ระยะทางและกาลเวลาก็กลายเป็นสิ่งที่มากำหนดวิถีชีวิตของเรา
ทางหมื่นลี้เดินทีละหนึ่งก้าว
ข้าวร้อยคำกินทีละหนึ่งคำ
ชีวิตร้อยปีหายใจเข้าออกทีละขณะ
ช่วงชีวิตคือการดำรงอยู่เป็นไปทีละขณะ สืบต่อกันอยู่
เมื่อขณะหนึ่งผ่านไปแล้ว ก็ผ่านไปเลยไม่อยากกลับมาได้
เรือชีวิตฟันฝ่าคลื่นชีวิตปัจจุบันไปข้างหน้า
ดังนั้นเมื่อเราปฏิบัติธรรมะนั้น เราต้องอยู่กับปัจจุบัน
แต่เราต้องไม่เพ่งเล็งตึดยึดในปัจจุบัน
เราเคลื่อนมือแล้วผ่านเลย พอเคลื่อนก็รู้ พอเคลื่อนก็รู้
แล้วก็ทิ้งสิ่งที่รู้ให้หมดสิ้น เพื่อจะรู้อันใหม่
และเพื่อจะรู้อันใหม่เรื่อยๆ ทีละหนึ่งและทีละหนึ่ง
ดังนั้นจึงเกิดความรู้สึกว่ารับรู้ที่ว่ารู้แต่ไม่รู้อะไรเลย
นี่คือความหมายของศัพท์ว่า “Agnostia”
ความหมายเดียวกับคำว่า Unknowing knowing
ไม่ใช่ไม่รู้แต่ก็ไม่ใช่รู้อะไรจำเพาะอย่าง รู้แล้วก็ทิ้งทุกอย่างที่รู้
สิ่งนี้ยาก เพราะว่าเราเคยชินต่อความรู้ต้องจำไว้
ความรู้มีสองลักษณะที่ให้ผลต่างกัน
อันแรกคือ “ความรู้ที่เราต้องใช้ความจำเป็นหลัก”
ถ้าจำได้มากเราก็คิดได้มาก เรียกว่าเรารู้มาก ถ้าจำได้น้อยก็คิดได้น้อย
ในกระบวนการของการศึกษาโดยทั่วไปนั้นอยู่ในระดับความจำ
ความจำยิ่งแม่นยำเท่าไหร่ ก็จะคิดแม่นคิดใกล้เคียงกับความจริงเท่านั้น
นี่เรียกว่า “ความรู้ขึ้นอยู่กับความจำ (Knowledge)”
แต่เมื่อความจำเหล่านั้นเสื่อมไป ความรู้เหล่านั้นก็จะเหือดหายไป
หลายเรื่องที่เราจำได้เรามีความรู้ตอนเล็กๆ
เมื่อนานวันเข้าเราแก่เฒ่าเข้า ความรู้ก็หายไป
เพราะความรู้เป็นเพียงปรากฏการณ์ชั่วคราวที่ความจำยังมีอยู่เท่านั้น
ความรู้อีกอันหนึ่งคือ “ความตระหนักรู้ (Knowingness)”
ซึ่งไม่ได้รู้อะไรเลย และไม่เกี่ยวเนื่องกับความจำ
ถ้าเรารู้สึกตัวอย่างนี้ (เป็นความจำตัวมันเอง) คือเป็นความตระหนักรู้
เป็นสภาพรู้เป็นสภาพตื่นซึ่งไม่เกี่ยวกับอดีตไม่เกี่ยวกับอนาคต
เกี่ยวกับปัจจุบันซึ่งกำลังเปลี่ยนแปลงอยู่
ตาของเรามันไม่ได้กระพริบครั้งเดียว หรือ ๒ หรือ ๓ ครั้ง
มันกระพริบทีละ ๑ ทีละ ๑ ตลอดไป
เราไม่เคยกระพริบตา ๒ ครั้ง เพราะว่าครั้งที่สองก็คือครั้งที่หนึ่งอีกหนึ่งครั้ง
เมื่อเราก้าวไปสิบก้าว นั่นเป็นผลรวมของระยะทางว่าเราเดินมากี่ก้าว
แต่ว่าเมื่อเราเดินมาหนึ่งก้าว ก้าวแรกเราก็ทิ้งมันไป
ในที่สุดระยะทางเหลือเพียงหนึ่งก้าว
ระหว่างความรู้อันเนื่องกับความจำและความนึกคิด
กับความรู้แจ้งความตื่นตระหนัก ซึ่งเป็นอาการนั้นต่างกันมาก
ทั้งลักษณะและพัฒนาการอาการรู้ที่ตัวเราที่เรารู้ตัว เป็นความรู้ที่ไม่ต้องจำ
ขณะนั้นๆ ไม่เกี่ยวข้องกับความคิด ระยะทาง กาลเวลา
เราปฏิบัตินานๆ เราจับที่อาการรู้นี้ ไม่ใช่ที่ความรู้
แต่ให้มารู้ชัดต่ออาการเคลื่อนไหว
พอมันลาดไปสู่ความรู้ ที่เกี่ยวกับความจำและความคิด
เราก็กลับมาเริ่มต้นใหม่
เช่น เมื่อเดินจงกรมอยู่
ก็เกิดคิดว่าเมื่อกี้ผมพูดอะไรนะ อย่างนี้เป็นความรู้จำแล้ว
เราก็กลับมาที่อาการรู้ คือความรู้สึกล้วนๆ คือการบริหารมัน เคลื่อนที่ละหนึ่ง
ไม่ช้าไม่นานเพียงชั่วสามวันสามคืนเท่านั้น สิ่งต่างๆ ทั้งหมดนี้จะลุกตื่นขึ้น
มันเหมือนกับกองทัพยามเที่ยงคืนทหารทั้งหมดหลับสนิท
แม่ทัพผู้ชาญฉลาดรู้ว่าข้าศึกจะจู่โจมก็ลั่นสัญญาณ
กองทัพที่กำลังสงบนิ่งอยู่ในความหลับก็ตื่นขึ้น
กองทัพที่เคยหลับนั้นมีพลังพร้อมที่จะสู้
เมื่อเราปลุกความรู้สึกตัวที่แฝงเร้นอยู่ ราวกับเม็ดทรายในทุกอณูของชีวิต
เมื่อมันตื่นขึ้น มันก็จะทำหน้าที่แทนเรา
ทำหน้าที่กำจัดกิเลสตัณหา อุปาทาน ความยึดติดทั้งหมด
ในที่สุดผู้นั้นพบว่าเดี๋ยวนี้เราเป็นคนใหม่
ตอนที่ผมปฏิบัติภาวนานั้น ผมภาวนาติดต่อกันอยู่หลายคืน
ผมนอนไม่หลับ ๔-๕ คืนติดๆ กัน ทีแรกผมคิดว่าตัวเองเป็นโรคประสาท
แต่มันมีความแจ่มใสอยู่ในตัวของมัน มันตื่นอยู่อย่างนั้น
ผมจับได้ว่านี่มันเป็นอาการตื่นอยู่ภายใน
ตามธรรมดาชีวิตเราเป็นไปภายใต้ระบบที่เป็นกลไกยิ่ง
สังคมยิ่งพัฒนาไปเท่าไหร่ วิถีชีวิตของเราก็เป็นกลไกมากขึ้น
และเราจะไม่รู้ตัวยิ่งขึ้น เราจะสูญเสียโอกาสภายในตัวเองยิ่งขึ้น
แต่เมื่อมันตื่นขึ้น เราจะพบว่านิสัยเดิมเปลี่ยนไป
ในการที่นั่ง เดิน ยืนนอน มีอาการรู้ตัว มีความคลี่คลายอยู่ในตัวของมัน
ความสุขอยู่ที่นี่ ความสุขอยู่ที่ไม่เป็นไปตามอำนาจและนิสัยเก่า
หลักสำคัญที่สุดในการภาวนานั้น คือ การเร้าความรู้สึกตัวให้ตื่น
นี่คืออุบายที่สำคัญมากในเบื้องต้น เคลื่อนมือตรงๆ ง่ายๆ เบาๆ
การกระทำสิ่งเดียวกันเราจะทำให้หนักก็ได้ ให้เบาก็ได้
สังเกตดูว่าเมื่อเราไปยกของ เราเห็นของสิ่งหนึ่งซึ่งเบา แต่เราคิดว่ามันหนักมาก
เราจะรวบรวมพละกำลังอย่างมากมายเพื่อที่จะยก เสร็จแล้วเราคาดผิด
แต่ถ้าเรารู้ล่วงหน้าเราจะใช้แรงงานเบาๆ เราจะไม่ทุ่มมาก เราก็หยิบยกเบา
ในการยกมือก็เหมือนกัน ถ้าเราเข้าใจผิดเราจะยกอย่างรุนแรง
แต่ถ้าเราเข้าใจอย่างถูกต้อง เราจะรู้ว่าการเคลื่อนไหวนี้ไร้เจตนา
มือที่เคลื่อนราวกับว่ามันลอยขึ้นมาเอง
แทบจะไม่มีผู้ยก มันเคลื่อนไหวไปเอง
ไม่ช้าไม่นาน สภาพเป็นนั่นเองจะปรากฏขึ้นแทนที่
ไม่ใช่บุคลิกภาพอันเก่า บุคลิกภาพอันเก่าของเราคืออะไร
เราชอบพูดโพล่งๆ เราชอบขี้ยัวะ เวลาเราคุยกับเพื่อนใครคัดค้าน
เราขี้โมโห เราทำอะไรตามนิสัยกลไกที่เราเป็นอยู่
การเคลื่อนที่ที่เป็นจังหละจะโคนที่แม่นยำอันนี้ จะส่งผลทันที
หมายถึง พออันนี้เคลื่อนและหยุด
พออันนี้หยุดอันนี้จะปรากฏขึ้นแทน ไม่ใช่เคลื่อนมั่วอย่างนี้
เมื่อเราเคลื่อนใหม่ๆ เพราะเรากลัวผิดเพราะเราเคลื่อนช้าๆ
เราจะต้องสำรวจใหม่ทุกๆ ครั้งที่เคลื่อน เบาๆ ทำเล่นๆ เบาๆ
ไม่ช้าไม่นานจะรู้สึกสดๆ ชัดๆ และว่องไว มากขึ้น
วันหนึ่งผมนั่งกินข้าวอยู่รู้สึกเหมือนทีคนมาลูบหลังทั้งๆ ที่ไม่ได้มีคนเลย
อาการรู้สึกสดๆ กระจายมาตามแผ่นหลัง
เมื่อมันตื่นมันตื่นเป็นแถบ นี้อาจจะเป็นประสบการณ์เฉพาะรายก็ได้
คนอื่นอาจตื่นพร้อมกันก็ได้
แต่เมื่อมันถูกปลุกตื่น แล้วมันจะตื่นทุกขุมขน
ไม่เพียงแต่ที่ผิวหนังเท่านั้น แม้ในช่องท้อง ในสมอง ในกะโหลกศีรษะ
เราจะรู้สึกได้ทั่วทั้งตัว เมื่อมันตื่นแล้ว มันก็จะเป็นสมาธิเองโดยที่มันไม่ต้องทำ
เราจะพบว่าเมื่อเราภาวนาแบบนั่งสะกดจิตตัวเองนั้น
ผลของการกระทำเช่นนั้นเป็นความสงบ ไม่มีความตื่น
ดังนั้น ความสงบจึงมีสองแบบ
สงบเพราะจิตปิดกั้นตัวมันเอง จากอารมณ์ที่ไม่ต้องการ
เหมือนเราไม่อยากเห็นอะไร เราเอาปี๊ปคลุมหัวไม่รู้ไม่เห็นอะไรทั้งนั้น
แต่สงบเพราะตื่นตัว รู้แต่ไม่รู้อะไรเลย ความสงบแบบนี้มันรู้ตัว
เห็นความสงบโดยไม่ได้ติดยึดในความไม่สงบ