PDA

แสดงเวอร์ชันเต็ม : ศีลข้อ 5



chocobo
06-28-2010, 09:40 AM
กราบนมัสการพระคุณเจ้า สวัสดีมิตรธรรมครับ

คืออยากทราบว่า ศีลข้อ 5 สุราเมรยฯ ไม่ได้มีอยู่ในอกุศลกรรมบถ แสดงว่า แม้จะดื่มจริงๆก็ไม่บาปหรือครับ แค่บั่นทอนสติ กับทำให้มีโอกาสลุล่วงอกุศลกรรมบถอื่นได้ง่ายขึ้นเท่านั้นหรือ ถ้าเช่นนั้น วิบากก็ไม่น่าจะมี แต่ทำไมถึงมีวิบากเกี่ยวกับการดื่มสุราของมึนเมาล่ะครับ

??? +

chocobo
06-28-2010, 10:07 AM
ขอถามเพิ่มอีกนิดครับ ;D

คือ อยากทราบว่า สักกายทิฎฐิ กับมานะ เนี่ย ทำไมพระโสดาบันละสักกายทิฎฐิได้ แต่ละมานะไม่ได้ ในเมื่อละความเห็นว่ามีตัวมีตนได้ ความเห็นว่าเราสูงกว่าหรือต่ำกว่าคนอื่น(มานะ) ก็น่าจะดับไปด้วยพร้อมๆกันไม่ใช่หรือครับ

แล้ว มานะนี่สำหรับปุถุชนอย่างเราๆแล้ว มีวิธีไหนจะทำให้มันบางๆเบาๆลงบ้างไหมครับ เพราะช่วงนี้รู้สึกตัวเองมีมานะมากเหลือเกิน ชอบคิดว่าเรามีฐานะสูงกว่าคนนั้น ต่ำกว่าคนนี้ จิตชอบแบ่งชนชั้นวรรณะให้กับคนที่เราเดินผ่าน คนที่เรามองเห็น ซึ่งรู้สึกว่ามันหนามากๆ เพราะพอเห็นคนที่มีฐานะแย่กว่าก็รู้สึกผยองดีใจ พอเห็นคนที่มีฐานะสูงกว่าก็น้อยใจว่าทำไมเราต่ำกว่า ทำไมเราไม่เหมือนเขา อ่ะคับ

ANATTA_
06-28-2010, 10:12 AM
อกุศลกรรมบถ มีอะไรบ้าง ไม่ทราบ

แต่ หากดื่มสุราจนไม่มีสติ ยับยั้งชั่งใจ แล้ว

ศีลอีก 4 ข้อ 8 ข้อ 226 ข้อ

ก็จะถูกละเมิดได้โดยง่าย


:)

ANATTA_
06-28-2010, 10:23 AM
อยากละ มานะ

เคยฟังมานานแล้ว

วิธีแก้มานะ

หากคิดว่า ใคร อะไร ต่ำกว่า เลวกว่าเรา . . . .เราดีกว่า

ให้ก้มกราบคนนั้น สิ่งนั้น กราบไป หนเดียว ไม่หาย

กราบไป 3 หน 5 หน ไปเลย





แล้วอาการจะดีขึ้น


:)

D E V
06-28-2010, 03:55 PM
อนุโมทนาคับ คุณ ANATTA

สวัสดีคับ คุณโจ๋

การดื่มสุรานั้นไม่ได้จัดอยู่ในอกุศลกรรมบถโดยตรงน่ะคับ
เพราะผู้ดื่มอาจไม่ได้มีการล่วงกาย วาจา หรือใจ ออกมาเป็นทุจริตกรรมร้ายแรง
แต่กระนั้นการดื่มสุราเป็นหนทางแห่งความประมาท
ทำให้ขาดผิดชอบชั่วดี นำมาซึ่งความเสื่อม
และนำไปสู่การกระทำทุจริตกรรมอันล่วงอกุศลกรรมบถประการต่างๆ
จึงมีบัญญัติไว้ในศีล 5

อย่างไรก็ตาม
การดื่มสุราก็เป็นการติดข้องพอใจในรส ในกลิ่น
หรือในความเพลิดเพลิน เริงรมย์
เป็นการเสพวัตถุที่ไม่ควรเสพ
อันเป็นเครื่องเอื้ออำนวยให้เกิดการล่วงอกุศลกรรมบถ
ดังนั้น หากกล่าวโดยอนุโลม
ท่านก็สงเคราะห์เทียบเข้าในองค์ของกาเมสุมิจฉาจารอันเป็นข้อ 3 ในอกุศลกรรมบถน่ะคับ

๑. วัตถุที่ไม่ควรเสพ
๒. มีจิตคิดที่จะเสพ
๓. มีความพากเพียรพยายามที่จะเสพ
๔. พอใจในการทำมัคคให้ล่วงมัคค (พอใจในการเสพ)



8) เดฟ

D E V
06-28-2010, 03:58 PM
ทิฏฐิเจตสิก กับ มานเจตสิก
เป็นสภาพธรรมคนละอย่างกันน่ะคับ
การประหารกิเลสนั้นก็ย่อมเป็นไปตามลำดับ

โสตาปัตติมัคคจิต ประหารความเห็นผิดและกิเลสอย่างหยาบอันนำไปสู่อบาย
พระโสดาบันท่านดับโลภมูลจิตทิฏฐิคตสัมปยุตต์
และดับโมหมูลจิตที่เป็นวิจิกิจฉาสัมปยุตต์
ดังนั้น ท่านจึงไม่มีความเห็นผิดในสภาพธรรมทั้งหลายว่าเป็นตัวตนของตน (สักกายทิฏฐิ)
หมดสิ้นความสงสัยในสภาพธรรมทั้งหลาย (วิจิกิจฉา)
จึงไม่มีการประพฤติปฏิบัติในข้อวัตรทั้งหลายด้วยความเห็นผิด (สีลัพพตปรามาส)

แต่ทว่า...ท่านยังไม่ได้ดับโลภมูลจิตทิฏฐิคตวิปปยุตต์
มานเจตสิกซึ่งเป็นบริวารในกลุ่มของโลภะก็ยังเกิดได้อยู่ (แต่ก็เบาบางกว่าปุถุชนอ่ะนะคับ)
ยังอาจเกิดการเปรียบเทียบว่า สูงกว่า ต่ำกว่า ดีกว่า เลวกว่า เสมอกัน ฯลฯ
แต่ท่านไม่มีความเห็นผิดยึดถือตัวตนซึ่งแท้จริงเป็นเพียงรูปธาตุ-นามธาตุที่ประชุมกันนั้นเป็นของตน

ผู้ที่ละมานะได้หมดสิ้นซาก คือพระอรหันต์อ่ะนะคับ
ดังนั้น สำหรับปุถุชนก็ยังมีมานะอยู่บ้างมากน้อยเป็นธรรมดาตามแต่ละบุคคล
ก็ควรที่จะขัดเกลาจิตใจให้อ่อนน้อม สำรวมระวัง เจริญกุศลธรรมเสมอๆ
มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา และกุศลธรรมทั้งหลายตามกาล
และขณะใดที่สติปัฏฐานเกิด ระลึกรู้สภาพธรรมที่ปรากฏตามความเป็นจริง (รูป-นาม)
ก็บรรเทาความสำคัญในตน ถือในตน ให้ผ่อนคลายลง
ค่อยๆ ขัดเกลาไถ่ถอนความยึดมั่นในสภาพธรรมทั้งหลายที่เป็นแต่เพียงประชุมกัน
แล้วหลงไปยึดถือไว้ว่าเป็นตัวตนของเรา


*************************************************************************

คัดความบางตอนจาก
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑
ขุททกนิกาย มหานิทเทส
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=29&A=9654&Z=9686&pagebreak=0


คำว่า พึงกำหนดรู้มานะ
ความว่า พึงกำหนดรู้มานะด้วยปริญญา ๓
คือ ญาตปริญญา ตีรณปริญญา ปหานปริญญา

ญาตปริญญาเป็นไฉน?
นรชนย่อมรู้จักมานะ คือ ย่อมรู้ ย่อมเห็นว่านี้เป็นมานะอย่างหนึ่ง ได้แก่ความฟูขึ้นแห่งจิต
เป็นมานะ ๒ อย่าง ได้แก่มานะในการยกตน มานะในการข่มผู้อื่น ฯลฯ
นี้เป็นมานะ ๑๐ อย่าง ได้แก่บุคคลบางคนในโลกนี้ ยังมานะให้เกิดเพราะชาติบ้าง เพราะโคตรบ้าง ฯลฯ เพราะวัตถุอื่นๆ บ้าง
นี้ชื่อว่า ญาตปริญญา.

ตีรณปริญญา เป็นไฉน?
นรชนรู้อย่างนี้แล้วย่อมพิจารณามานะโดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ โดยอุบายเป็นเครื่องสลัดทุกข์
นี้ชื่อว่า ตีรณปริญญา.

ปหานปริญญาเป็นไฉน?
นรชนพิจารณาอย่างนี้แล้ว ย่อมละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีซึ่งมานะ
นี้ชื่อว่าปหานปริญญา.

คำว่า พึงกำหนดรู้มานะ
คือ พึงกำหนดรู้มานะด้วยปริญญา ๓ นี้
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าพึงกำหนดรู้มานะ.




8) เดฟ

chocobo
06-28-2010, 04:49 PM
อนุโมทนาส๊าธุคุณอนัตตาและท่านเดฟเป็นอย่างสูงครับบบ

สาธุ สาธุ สาธุ

;D