PDA

แสดงเวอร์ชันเต็ม : ปัญญาจากสมถะกับปัญญาจากวิปัสสนา



Butsaya
07-03-2010, 08:08 PM
บุษขอถามนิดนะค่ะ :D :D คือว่า ... ;)
เวลาที่เราฝึกสมถะถึงระดับหนึ่งก็จะได้ปัญญา
ส่วนเวลาที่เราฝึกวิปัสสนาก็จะได้ปัญญาเหมือน ใช่ปะค่ะ
แต่ว่า ปัญญา 2 ตัวนี้ ต่างกันอย่างไรอะค่ะ
อืม.... แบบนี้ เราต้องมีปัญญาทั้ง 2 นี้หรือเปล่าอะค่ะ
ถึงจะเป็นกำลังที่สมดุลในการบรรลุนะค่ะ อิอิ.....
อย่างชาตินี้เราทำได้ พอชาติหน้าหากเราไปเกิดเป็นโน้นเป็นนี่
แล้วค่อยมาเกิดเป็นคน ปัญญานั้นยังเกิดขึ้นง่าย ๆ โดยไม่ต้อง
นับหนึ่งใหม่หรือเปล่าอะค่ะ หรือว่า ต้องนับหนึ่งใหม่เลยนะค่ะ

อืม...อีกเรื่องนะค่ะ เมื่อคนเรามีปัญญาระดับหนึ่งแล้ว
เราควรมีข้อพึ่งระวังสังเกตุอย่างไรบ้างหรือเปล่าอะค่ะ
เพราะว่าต้องรอบคอบไว้ก่อน อิอิ....
ไม่ง้านความฉลาดของเราอาจจะไปทำร้ายคนอื่น ๆ ได้นะค่ะ :D

D E V
07-04-2010, 10:29 AM
อ่ะคับ
การเจริญกุศลธรรมนั้นก็มีทั้งที่เป็น กุศลญาณสัมปยุตต์ (กุศลที่ประกอบด้วยปัญญา)
และ กุศลญาณวิปปยุตต์ (กุศลที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา)

สำหรับการเจริญกุศลในขั้นภาวนา
คือ สมถภาวนา และ วิปัสสนาภาวนา
ต้องประกอบด้วยปัญญาเป็นพื้นฐาน
และอบรมให้เพิ่มขึ้น เจริญขึ้น
หากไม่ประกอบด้วยปัญญาก็เจริญไม่ได้เลย
แต่กระนั้นก็เป็นปัญญาต่างขั้นกันน่ะคับ

การเจริญสมถภาวนา
ประกอบด้วยปัญญาที่รู้ความต่างกันของกุศลจิต และ อกุศลจิต
รู้ว่าเมื่อจดจ้องที่อารมณ์ใดแล้วเกื้อกูลให้กุศลจิตเจริญขึ้นเป็นลำดับ
เมื่อตั้งมั่นคงอยู่ในอารมณ์นั้นอย่างแนบแน่น
ก็ปิดกั้นระงับอกุศลจิตอันเป็นนิวรณธรรมทั้งหลาย

ดังนั้น การเจริญสมถภาวนาจึงไม่ใช่เป็นเพียงแค่...นั่งสมาธิ
แล้วพอจิตใจสงบไม่นึกคิดอะไร ก็สบายใจ พึงพอใจ
ซึ่งขณะนั้นอาจเป็นมิจฉาสมาธิ... เป็นไปด้วยโลภมูลจิต
อันเป็นกามฉันทนิวรณ์โดยไม่รู้ตัวก็ได้น่ะคับ

สำหรับการเจริญวิปัสสนาภาวนา
ประกอบด้วยปัญญาที่เข้าใจถูกตรงในสภาพธรรมตามความเป็นจริง
เป็นการอบรมเพื่อให้ปัญญาเจริญขึ้นตามลำดับ
ประจักษ์ชัดในลักษณะของรูปธรรม-นามธรรม จนประจักษ์แจ้งไตรลักษณะ
และเมื่อปัญญาเจริญขึ้นบริบูรณ์พร้อม
ถึงซึ่งโลกุตตรปัญญามีกำลังประหารกิเลสได้ในที่สุด

ผู้ที่บรรลุธรรม พ้นจากความเป็นปุถุชน สู่ความเป็นพระอริยบุคคล
ท่านก็มีอัธยาศัยต่างๆ กันไปน่ะคับ
บางท่านสั่งสมน้อมไปในการเจริญสมถภาวนา
และเจริญวิปัสสนาภาวนาจนประหารกิเลสในที่สุด
บางท่านก็ไม่เคยเจริญสมถภาวนามาก่อน
แต่อบรมเจริญวิปัสสนาภาวนาจนประหารกิเลสได้ในที่สุดเช่นกัน

กุศลธรรมทั้งหลาย (รวมทั้งอกุศลธรรมด้วยนะคับ)
ที่เราทุกคนได้กระทำมา ย่อมสั่งสมติดตามไปในสังสารวัฏ
ดังนั้น ปัญญา ที่ได้อบรมมาในแต่ละภพชาติ ก็ย่อมสั่งสมเช่นกัน
อย่างเช่นจะเห็นได้ว่าบุคคลย่อมต่างๆ กันไป
บางท่านรู้ช้า เข้าใจช้า...บางท่านรู้เร็ว เข้าใจเร็ว ฯลฯ เป็นต้นอ่ะคับ

สำหรับปัญญา (ปัญญาเจตสิก)
เป็นโสภณธรรม คือสภาพธรรมที่ดีงาม
มีแต่ทำให้เจริญขึ้น ไม่มีโทษภัยใดๆ เลย
หากธรรมใดที่ทำให้เกิดโทษ...ธรรมใดที่เป็นไปเพื่อการทำร้ายผู้อื่น
ขณะนั้นย่อมเป็นอกุศลธรรมน่ะคับ

ลองดูเพิ่มเติมที่คุณบุษเคยถามไว้นะคับ
ปัญญาทางโลก...ปัญญาทางธรรม
http://www.watkoh.com/board/index.php?topic=2200.0




8) เดฟ

Butsaya
07-04-2010, 11:11 AM
กามฉันทนิวรณ์โดยไม่รู้ตัวก็ได้

อืม :D เป็นอย่างไร มีอะไรม้างอะค่ะ



หากธรรมใดที่ทำให้เกิดโทษ...ธรรมใดที่เป็นไปเพื่อการทำร้ายผู้อื่น

มีตัวอย่างสักเล็กน้อยบ้างมัยอะค่ะ จะได้ระมัดระวังได้ถูกนะค่ะ อิอิ.... :D

D E V
07-04-2010, 02:19 PM
กามฉันทนิวรณ์ คือความพึงพอใจใน รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
ความยินดีพอใจในอารมณ์ที่น่าปรารถนา
ซึ่งเกิดขึ้นเป็นประจำในชีวิตประจำวัน

แม้แต่การทำสมาธิโดยไม่ประกอบด้วยปัญญา
ไม่รู้ความต่างกันของขณะที่เป็นกุศลจิตกับขณะที่เป็นอกุศลจิต
เพียงแต่ต้องการจดจ่อที่สิ่งใดสิ่งนึงโดยหวังที่จะให้สงบ
หรือบางคนก็ชอบใช้เสียงเพลงในการทำสมาธิ
แล้วก็รู้สึกว่างๆ สบาย ก็ชอบ... ติดข้องพอใจในความรู้สึกที่เป็นสุข
หรืออาจติดในนิมิตต่างๆ ที่ปรากฏ...ก็พึงพอใจ
โดยที่ไม่รู้ตัวว่าขณะนั้นเป็นโลภมูลจิตน่ะคับ


***********************************************

อกุศลธรรมทั้งหมดคับ

อะไรที่เป็นอกุศลธรรมบ้าง?
ถามกลับเพื่อให้ลองพิจารณาอ่ะคับ อิอิ




8) เดฟ

Butsaya
07-04-2010, 02:31 PM
[size=14pt]อะไรที่เป็นอกุศลธรรมบ้าง?


อกุศลธรรมเป็นธรรมชนิดหนึ่ง ที่เป็นเครื่องกีดขวางความเจริญของวิปัสนา
มีเครื่องวินิจฉัยอกุศลธรรมอยู่ ๓ ประการคือ
๑.อะกุสะลัง=ไม่เป็นกุศล
๒.สาวัชชะ=มีโทษ
๓.ทุกขวิปากะ=ให้ผลเป็นทุกข์

องค์แห่งอกุศลธรรมได้แก่ อกุศลจิต ๑๒และเจตสิก ๒๗
อกุศลจิต ๑๒ ได้แก่ โลภมูลจิต ๘ ,โทษมูลจิต ๒,โมหมูลจิต ๒,
เจตสิก ๒๗ ได้แก่ อัญญสมานเจตสิก ๑๓และอกุศลเจตสิก ๑๔
อัญญสมานเจตสิก ๑๓ ได้แก่ สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗ และปภิณณะกะเจตสิก ๖
อกุศลเจตสิก ๑๔ ได้แก โมจตุกเจตสิก ๔,โลติกเจตสิก๓,โทจตุกเจตสิก๔,ถีทุกเจตสิก ๒และวิเอกเจตสิก๑

อกุศลธรรมแบ่งออกเป็น ๙ กอง คือ
๑.อาสวะ ๔=สิ่งที่สั่งสมหมักดองไว้ในสันดานของสัตว์โลก
๒.โอฆะ ๔=เป็นธรรมชาติดุจห้วงน้ำที่ท่วมทับใจสรรพสัตว์ไว้
๓.โยคะ ๔=ธรรมชาติที่ประกอบสัตว์ไว้ในภพภูมิต่างๆ
๔.คันธะ ๔=ธรรมชาติที่ผูกมัดรัดจิตไว้ให้ติดอยู่
๕.อุปาทาน ๔=ความยึดมั่นถือมั่นที่เหนียวแน่นอยู่ในจิต
๖.นิวรณ์ ๕=เป็นธรรมชาติที่กั้นไว้มิให้บรรลุความดี
๗.อนุสัย ๗=เป็นธรรมชาติที่นอนเนื่องอยู่ในขันธสันดาน
๘.กิเลส ๑๐=เครื่องเศร้าหมองของจิต
๙.สัญโญชน์ ๑๐=เครื่องผูกมัดพันธนาการเอาไว้ในภพ

อาสวะ ๔ ประการ
อาสวะคือเครื่องมักดองอยู่ในสันดานเป็นเครื่องทำให้เสื่อม อันได้แก่
๑.กามาสวะ คือ กามอารมณ์อันได้แก่รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสทางกาย
๒.ภวาสวะ คือ ความอยากได้ในภพที่เป็นอุปปัติภพและกัมมภพ
๓.ทิฏฐาสวะ คือ ความเห็นผืด เป็นมิจฉาทิฏฐิ
๔.อวิชชาสวะ คือ ความไม่รู้ เผลอ หลง ลืม เมา อยู่เสมอ
โอฆะ ๔และโยคะ ๔ คือตัวเดียวกันกับอาสวะ ๔ เพียงแต่เปลี่ยนตัวหลัง
แต่ความหมายและลักษณะอาการคล้ายกันอันได้แก่
โอฆะ ๔=กาโมฆะ,ภโวฆะ,ทิฏโฐฆะ,อวิชโชฆะ
โยคะ ๔=กามโยคะ,ภวโยคะ,ทิฏฐิโยฆะ,อวิชชาโยคะ
คันธะ ๔ ประการ
คันธะคือธรรมชาติที่ผูกมัดรัดจิตไว้ให้ติดอยู่ อันได้แก่
๑.สีลัพพปรามาสกายคันธะ=ผูกมัดด้วยการถือศีลพรตนอกพระพุทธศาสนาด้วยอำนาจของทิฏฐิเจตสิก
๒.อิทังสัจจาภิทิเวสกายคันธะ=ผูกใจไว้ด้วยการถือมั่นมติความเห็นของตน ของผู้อื่นผิดหมด
๓.พยาปาทกายคันธะ=ผูกมัดใจด้วยความพยาบาทปองร้าย ด้วยอำนาจโทสจริต
๔.อภิชฌากายคันธะ=ผูกมัดใจให้เพ่งเล็งอยู่ด้วยอำนาจโลภเจตสิก
อุปาทาน ๔ ประการ
อุปาทานคือความยึดมั่นถือมั่นที่เหนียวแน่นอยู่ในจิตใจ อันได้แก่
๑.กามุปาทาน คือ ความยึดมั่นในกาม ด้วยอำนาจโลภเจตสิก
๒.ทิฏฐปาทาน คือ ยึดมั่นในความเห็นผิดจากความเป็นจริง
๓.สีลพัตตุปาทาน คือยึดมั่นในศีลและพรตนอกพระพุทธศาสนา
๔.อัตตวาทุปาทาน คือ ยึดมั่นในวาทะของตนจนปฏิเสธเหตุผลของพระพุทธองค์
ทั้งที่วาทะของตนไม่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม แม้จะทำฌานได้ก็มักจะเกิดเป็นอสัญญสัตตา
หรือเป็นอรูปพรหมตามวาทะของตนไปนิพพานไม่ได้
นิวรณ์ ๕ ประการ
นิวรณ์คือธรรมชาติที่กั้นจิตไว้มิให้บรรลุความดี อันได้แก่
๑.กามฉันทนิวรณ์ คือ ความพอใจในกามคุณทั้งหลาย
๒.พยาบาทนิวรณ์ คือ ความพยาบาทปองร้าย ความไม่พอใจ
๓.ถีนมิทธนิวรณ์ คือ ความหดหู่ท้อถอยและง่วงเหงาหาวนอน
๔.อุทธัจจะ กุกกุจจะนิวรณ์ คือ ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ
๕.วิจิกิจฉานิวรณ์ คือความสงสัยลังเลไม่มั่นใจ
นิวรณ์ย่อมระงับโดยอำนาจแห่งสมาธิองค์ฌานข่มไว้คือ
๑.วิตกข่มถีนมิทธนิวรณ์
๒.วิจารข่มวิจิกิจฉานิวรณ์
๓.ปิติข่มพยาบาทนิวรณ์
๔.สุขข่มอุทธัจจะ กุกกุจจะนิวรณ์
๕.เอกัคคตาข่มกามะฉันทะนิวรณ์
อนุสัย ๗ ประการ
อนุสัยคือสิ่งที่เป็นธรรมชาตินอนเนื่องอยู่ในขันธสันดาน อันได้แก่
๑.กามราคานุสัย คือ ความอยากได้ในกามารมณ์ กำหนัดรักใคร่
๒.ภวราคานุสัย คือความรักใคร่พอใจในภพภูมิ
๓.ปฏิฆานุสัย คือ ความขุ่นมัวด้วยอำนาจโทสะเป็นอนุสัย
๔.มานานุสัย คือ ความถือตัวถือตน
๕.ทิฏฐานุสัย คือ ความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม
๖.วิจิกิจฉานุสัย คือ ความสงสัยลังเลไม่แน่ใจ
๗.อวิชชานุสัย คือ ความไม่รู้สัจจะธรรมที่แท้จริง
การประหารอนุสัยนั้นต้องใช้ปัญญาเจตสิก การรู้แจ้งแทงตลอด
ในสภาวะธรรมทั้งปวง แล้วอนุสัยจะหายไปเอง
กิเลส ๑๐ ประการ
กิเลสคือเครื่องเศร้าหมองของจิต อันได้แก่
๑.ทิฏฐิกิเลส คือ ทิฏฐิเจตสิกความเห็นผิดเป็นเครื่องเศร้าหมอง
๒.วิจิกิจฉากิเลส คือ ความสงสัยที่เป็นเครื่องเศร้าหมอง
๓.โทสะกิเลส คือ ความโกรธ ความขุ่นมัวใจที่ทำให้เศร้าหมอง
๔.โลภะกิเลส คือ ความอยากได้ที่ทำให้ใจเศร้าหมอง
๕.โมหะกิเลส คือ ความหลงลืมไม่รู้ความจริงเป็นเครื่องเศร้าหมองใจ
๖.ถีนะกิเลส คือ ความหดหู่ ท้อถอยเป็นเครื่องเศร้าหมองใจ
๗.อุทธัจจะกิเลส คือความฟุ้งซ่านรำคาญเป็นเครื่องเศร้าหมองใจ
๘.อหิริกะกิเลส คือ ความไม่ละอายต่อบาปทำให้ใจเศร้าหมอง
๙.มานะกิเลส คือ การถือตัว ถือตนทำให้ใจเศร้าหมอง
๑๐.อโนตตัปปะกิเลส คือ ความไม่เกรงกลัวต่อบาปทำให้ใจเศร้าหมอง
กิเลส ๑๐ ประการนี้ เป็นอกุศลเจตสิก ประกอบให้จิตเศร้าหมองขุ้นมัว
เป็นนามธรรม ควรที่จะประหารเสีย ทำลายให้สิ้นไป จึงจะถึงความสุขสงบเสวยวิมุตติ
สัญโญชน์ ๑๐ ประการ
สัญโญชน์คือเครื่องผูกมัดพันธนาการให้ติดอยู่ในภพ อันได้แก่
๑.ทิฏฐิสัญโญชน์ คือ ความเห็นผิดอันประกอบการผูกใจให้ไหลไปสู่อบายภูมิ
๒.วิจิกิจฉาสัญโญชน์ คือ ความสงสัยเป็นเครื่องผูกใจไว้ให้ไหลไปสู่อบายภูมิ
๓.สีลพัตตปรามาสสัญโญชน์ คือ ความเห็นผิดถือมั่นศีลพรตนอกพระพุทธศาสนา
๔.กามราคะสัญโญชน์ คือ ความอยากได้ กำหนัดในกามารมณ์ผูกใจไว้
๕.ปฏิฆะสัญโญชน์ คือ โทสะเจตสิก ความทุกข์ที่กระทบใจให้ขุ่นมัวเป็นทุกข์
๖.รูปราคะสัญโญชน์ คือ อยากได้ชอบใจในรูปกรรมฐานต่างๆ
๗.อรูปราคะสัญโญชน์ คือ ความยินดีในอรูปกรรมฐานต่างๆ
๘.มานะสัญโญชน์ คือ การถือตัวถือตนเปรียบเทียบผู้อื่น
๙.อุทธัจจะสัญโญชน์ คือ ความฟุ้งซ่านกังวลใจในเรื่องต่างๆ
๑๐.อวิชชาสัญโญชน์ คือ ความไม่รู้ หลงลืม เผลอสติ....

อะค่ะ แบบนี้ครบถ้วนถูกต้องเปล่าอะค่ะ พี่เดฟ อิอิ..... :D

D E V
07-04-2010, 02:59 PM
55555
ถูกต้อง (ตามตำรา) คับ อิอิ

แหม่...อุตส่าห์จะให้พิจารณาจากของจริงในชีวิตประจำวัน
โดยไม่ต้องเปิดตำรา อิอิ

พระธรรมทั้งหมดที่ทรงแสดงไว้
ได้รับการบันทึกไว้ในคำภีร์ต่างๆ เป็นหมวดหมู่
ก็มาจากสภาพธรรมของจริงที่ปรากฏเป็นไปในชีวิตจริงๆ นั่นแหละคับ

การที่เราศึกษาทำความเข้าใจโดยเรื่องราวจากตำรา
เป็นสิ่งที่ดี เพื่อไม่ให้เกิดการเข้าใจผิด นึกคิดเอาเอง
และที่สำคัญคือเป็นการทำความเข้าใจถูก
เพื่อน้อมนำมาประพฤติปฏิบัติได้ถูกตรง ไม่คลาดเคลื่อน

แต่บางครั้ง ถ้าอะไรที่มันไม่ได้ยุ่งยากจนเกินไป
เราก็ลองพิจารณาจากของจริงๆ ในชีวิตประจำวันดูก่อนก็ได้น่ะคับ
ไม่ต้องถึงกับลอกมาหมดขนาดนั้นก็ได้ อิอิ
ไม่งั้นเดี๋ยวเราจะรู้แต่ชื่อเรียกในตำรา ท่องได้ จำได้
แต่ไม่รู้จักสภาวธรรมตัวจริงเวลาที่เค้าเกิดขึ้นอ่ะคับ

แต่ก็ต้องขออนุโมทนาด้วยนะคับ
ซ้าๆๆทุ อิอิ



8) เดฟ

Butsaya
07-04-2010, 03:02 PM
ถ้าพี่เดฟ ให้บุษตอบ บุษกะตอบว่า โลภะ โทสะ โมหะ อะค่ะ ตัวใหญ่ไปเลย
เพราะ 3 ตัวนี้อะหมวดใหญ่สุดของตัณหา เลยอะค่ะ อิอิ..... :D

แต่บุษกลัวว่าตัวเองตอบไม่ครอบคลุมทั้งหมดอะค่ะ เลยไปยกตำรามาตอบซะเลยอะค่ะ อิอิ.... ;)

ต้องขอขอบพระคุณพี่เดฟมาก ๆ เลยนะค่ะ ที่มาสรุปลำดับความเข้าใจให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
อนุโมทนาสาธุ สาธุ สาธุ ด้วยค่ะ :D