DAO
08-01-2010, 09:43 AM
วิธีปฏิบัติธรรมเบื้องต้น
พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน
เทศน์อบรมพระ ณ วัดป่าบ้านตาด
http://sites.google.com/site/smartdhamma/_/rsrc/1259839702222/basic_dhamma_practice/lt_buwa.gif?height=320&width=267
มนุษย์เราต้องมีเพื่อนมีฝูง มีพวกมีคณะ ไม่ว่าแต่ฆราวาสหญิงชาย แม้มาบวชเป็นพระเป็นเณรแล้วก็ยังไม่พ้นจากความอยู่ร่วมกันเป็นหมู่เป็นคณะ ผิดกับสัตว์บางประเภทซึ่งเขาอยู่ตัวเดียว สัตว์ป่าบางประเภทอยู่ตัวเดียว บางประเภทก็เป็นหมู่เป็นคณะ เป็นฝูง ๆ แต่มนุษย์เรานี้ไม่ว่าที่ใดๆ ทั่วโลก ไม่ปรากฏว่าอยู่คนเดียว ไม่ว่าประเทศไหนทวีปใด ก็ต้องมีหมู่มีคณะ เป็นครอบครัว เป็นสังคม เป็นหมู่ ๆ พวก ๆ ทั่วดินแดน จะว่ามนุษย์ขี้ขลาดก็ถูก เป็นนิสัยของมนุษย์ทุกชาติทุกภาษาที่ต้องเกี่ยวข้องกันอยู่ร่วมกันเรื่อยมาแต่ดึกดำบรรพ์
นี่เราเป็นพระ เป็นเพศที่เด็ดเดี่ยวอาจหาญ ตามหลักธรรมและนิสัยของนักบวชควรจะอยู่ลำพังองค์เดียว แต่หลักใหญ่ก็ต้องอยู่เป็นหมู่เป็นคณะ เกี่ยวข้องกับหมู่เพื่อนเพศเดียวกันอยู่โดยดี แม้จะออกไปบำเพ็ญในสถานที่ต่างๆ ด้วยความเป็นผู้มีตนคนเดียว แต่โอกาสหรือความจำเป็นที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับหมู่กับคณะ กับครูบาอาจารย์ เพื่อการศึกษาปรารภข้ออรรถข้อธรรมต่างๆ ย่อมมีอยู่เป็นวรรคเป็นตอน สุดท้ายก็ไม่พ้นจากความเป็นสัตว์หมู่สัตว์คณะอีกเหมือนกัน เป็นแต่เพียง ลัทธิ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หลักธรรมวินัย ที่แสดงออกของพระกับฆราวาสนั้นต่างกันเท่านั้นพระมีกฎมีระเบียบตามหลักธรรมวินัยเป็นเครื่องประพฤติดำเนิน การแสดงออกทุกแง่ทุกมุมจึงเป็นไปตามหลักธรรมหลักวินัย ไม่ว่าจะแสดงทางจิต คิดออกมาด้วยเหตุผลกลไกอันใด ต้องระวังสำรวมในความคิดผิดหรือถูกอยู่โดยดี ความผิดนั้นถ้าไม่ผิดธรรมก็ต้องผิดวินัย ไม่ผิดวินัยก็ต้องผิดธรรม การผิดวินัยเป็นความหยาบ ผิดธรรมเป็นความละเอียด เป็นเรื่องของกิเลสประเภทหยาบ จำต้องได้ระมัดระวังเพราะเรามาแก้กิเลส จึงไม่ควรนอนใจในความคิด การพูด การกระทำ ทุกอาการที่แสดงออก
วาจาที่เกี่ยวข้องกับหมู่กับคณะที่จะต้องพูด จะต้องได้ระมัดระวังรักษา ทางกายก็เกี่ยวข้องกับหมู่กับคณะหรือโดยลำพังคนเดียว การกระทำสิ่งใดต้องคำนึงถึงกฎระเบียบข้อบังคับ คือ หลักธรรมวินัย ซึ่งเป็นทางเดิน จะปล่อยวางไม่ได้ แม้จะอยู่เป็นหมู่เป็นคณะ ก็มีลัทธิ มีข้อบังคับ มีกฏเกณฑ์ เป็นเครื่องดำเนินอยู่ในวงคณะเดียวกันที่เป็นพระด้วยกัน
ส่วนฆราวาสเขาก็มีกฎหมายบ้านเมืองเป็นเครื่องปกครอง กฎประเพณี นั่นก็ยังหยาบไป ตามเพศของฆราวาสซึ่งไม่เข้มงวดกวดขันในความประพฤติ กิริยาอาการแสดงออกทุกแง่ทุกมุมอะไรนัก ไม่เหมือนพระเรา พระนี้ถ้าพูดให้ถูกต้องตามหลักของความเป็นนักบวชแล้ว ต้องมีการระมัดระวังอยู่ทุกระยะ ทุกอิริยาบถในความเคลื่อนไหวของกาย วาจา ใจ
แต่เราอยู่รวมหมู่รวมคณะกันนี้ จริตนิสัยไม่เหมือนกัน ต่างองค์ต่างมีจริตนิสัยเป็นของตัวมาดั้งเดิม แม้จะมีกี่รูปกี่องค์ด้วยกันก็ตาม แต่จริตนิสัยอันเป็นแกนเดิมซึ่งมีอยู่ภายในจิตนั้น ย่อมเป็นของตัวเอง อันนี้พึงทราบว่าเป็นนิสัยสมบัติของแต่ละองค์ ๆ แต่การแสดงออกมาจากนิสัยนั้น พึงระวังที่จะเป็นการกระทบกระเทือนต่อหลักธรรม หลักวินัย ซึ่งไม่ใช่นิสัย ตลอดถึงการกระทบกระเทือนแก่หมู่คณะที่อยู่ร่วมกัน นั่นก็ไม่จัดว่าเป็นนิสัย ต้องได้ระมัดระวังทุกรูปทุกองค์ เพื่อความสงบสุขแก่ตนและวงคณะที่อยู่ร่วมกัน
การระวังตัวนั้นแหละ คือ การรักษาความสงบเรียบร้อยของตัวและวงคณะที่อยู่ร่วมกัน ไม่ให้มีอะไรเกิดขึ้น เหมือนอวัยวะเดียวกัน การประพฤติพรตพรหมจรรย์ก็จะมีความสะดวกสบายเพราะไม่เป็นนิวรณ์ ไม่เป็นสัญญาอารมณ์ ที่มาก่อกวนจิตใจให้ยุ่งเหยิงวุ่นวาย ให้ใจสงบตัวเข้าสู่สมาธิในขณะที่ทำความเพียรนั้นไม่ได้ ด้วยเหตุนี้จึงต้องระมัดระวังรักษา ผู้ใดรายใดให้ถิือว่าเราเป็นพระเต็มภูมิแห่งความสมมุตินิยมตามหลักพทุธศาสนาแล้วเวลานี้ จงรักษาภูมิแห่งความเป็นพระของตนทั้งภายในใจและการแสดงออกสู่ภายนอก ด้วยกายวาจา อย่าให้มีการกระทบกระเทือนซึ่งกันและกันเป็นอันขาด ถ้าไม่อยากขายตัว
เรื่องทิฐิมานะอันเป็เนรื่องของกิเลสโดยตรงนั้น ให้ถือว่าเป็นข้าศึกแก่ตนด้วย ให้ถือว่าเป็นข้าศึกแก่วงคณะด้วย ใครๆ อย่านำออกมาให้เรี่ยราดสาดกระจายจะเป็นการกระทบกระเทือนและสกปรกในวงหมู่คณะ หาความผาสุกไม่ได้เฉพาะอย่างยิ่งวงพระกรรมฐานนี้เป็นวงที่ละเอียด การประพฤติปฏิบัติก็ละเอียดคือะเอียดตามหลักธรรมวินัยนั้นแหละ ไม่ได้หาความละเอียดนอกเขตนอกแดนแหวกแนวมาจากไหนโดยถือหลักธรรมหลักวินัยเป็นเครื่องดำเนิน เพราะหลักธรรมหลักวินัยนั้นเป็นสิ่งที่มีความละเอียดอ่อนมากทีเดียว เราจะทราบได้ชัดก็ต่อเมื่อได้ปฏิบัติทางด้านจิตใจ ใจมีความละเอียดอ่อนด้วยการปฏิบัติจิตภาวนามากเข้าไปเท่าไรยิ่งเห็นความซึ้งของธรรมว่ามีความละเอียดอ่อนเข้าไปเท่านั้น ในขณะเดียวกันก็ทราบว่า กิเลสก็มีความละเอียดอ่อนไปตาม ๆ กันซึ่งจะไว้ใจหรือนอนใจประมาทไม่ได้ต้องได้ระมัดระวังอยู่ตลอดเวลา
การอยู่ร่วมกันด้วยความผาสุก ก็คือ ต่างคนต่างระมัดระวังกิเลสของตนไม่ให้แสดงออกอันเป็นการกระทบกระเทือนตนเองให้ว้าวุ่นขุ่นมัวไปด้วย เป็นการกระทบกระเทือนผู้อื่นให้เกิดสัญญาอารมณ์ให้อยู่ไม่สะดวกสบาย ให้เป็นการระแคะระคายซึ่งกันและกันด้วย ซึ่งเป็นความเสียหายทางด้านจิตภาวนาเป็นสำคัญ ยิ่งกว่านั้นก็ระบาดออกไปไม่มีประมาณ
โดยปกติจิตแม้ไม่มีสัญญาอารมณ์มาเกี่ยวข้องพัวพัน ความผิดเล็กๆ น้อยๆ ไม่ปรากฏ ยังภาวนาไม่ลง เพราะจิตมีธรรมชาติอันหนึ่งผลักดันออกมาให้คิดให้ปรุงเรื่องนั้นเรื่องนี้อยู่เสมอ อันเป็นการก่อกวนตัวเองให้ยุ่งเหยิงจนถึงกับจิตเข้าสู่ความสงบไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่เราทำความเพียรเพื่อความสงบ ปกติของจิตก็ชอบเป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว ยิ่งมีเหตุการณ์อะไรเข้ามาเกี่ยวข้องหรือมีเรื่องมีราวอะไรเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยแล้ว ก็ยิ่งเป็นการเพิ่มไฟขึ้นมาให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนมากขึ้น และระบาดสาดกระจายไปถึงวงคณะหมู่เพื่อนที่อยู่ด้วยกันมากน้อย ให้ได้รับความไม่ผาสุกไปตามๆ กัน ชื่อว่าเป็นผู้สร้างบาปสร้างกรรมให้แก่ตนเองและผู้อื่น ซึ่งไม่สมควรแก่เราที่เป็นนักบวชและนักปฏิบัติเพื่อกำจัดสิ่งที่ไม่เป็นมงคล หรือสิ่งต่ำช้าเลวทรามทั้งหลายเหล่านี้ออกจากใจเลย
การอยู่ร่วมกันด้วความผาสุกก็คือต่างองค์ต่างปกครองตนเอง ต่างคน ต่างรักษาตัวเองไม่ให้มีกิริยาอาการใดๆ อันเป็นเรื่องของกิเลสแสดงออกมาแก่หมู่คณะ นี่เป็นหลักใหญ่แห่งการอยู่ร่วมกัน เมื่อไม่มีอะไร ต่างองค์ต่างมีเหตุมีผล มีหลักธรรมเป็นที่ตั้ง ยึดหลักธรรมเป็นเครื่องดำเนินเป็นประจำอยู่แล้ว ย่อมไม่มีการถือเนื้อถือตัว ถือทิฐิมานะ ถือชาติชั้น วรรณะ ฐานะ สกุล ถือแต่ความถูกต้องดีงามอันเป็นกฎเกณฑ์ออกมาจากหลักธรรมเป็นสำคัญ
แม้จิตจะไม่มีความสงบก็ไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อผู้อื่น เพราะโทษต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น เราไม่อำนวยให้มัน นี่ก็เป็นความผาสุกหรือความสงบอันหนึ่ง เรียกว่า ปุคคลสัปปายะ อยู่ด้วยกันเป็นผาสุกในวงคณะ เพราะมีแต่กัลยาณมิตรอยู่ด้วยกัน การมองกันอย่ามองในแง่ร้าย ให้มองในแง่เหตุผลเสมอ หากมีเหตุผลหรือมีความจำเป็นที่จะมองกัน ซึ่งเกี่ยวข้องกันในการอยู่ร่วมกัน ให้คิดเผื่อไว้เสมอ คือ ความเมตตา ความให้อภัยซึ่งกันและกัน นี้เป็นหลักของผู้ปฏิบัติธรรม ไม่ควรมองในแง่ร้ายหมายโทษต่างๆ หากเห็นองค์ใดมีความผิดพลาดจากหลักธรรมวินัย ก็ให้ตักเตือนซึ่งกันและกันด้วยความเป็นธรรมเสมอ ผู้รับฟังก็ฟังด้วยความเป็นธรรม และเพื่อจะแก้ไขดัดแปลงตนให้เป็นไปตามหลักความถูกต้องที่ท่านผู้นั้นตักเตือนสั่งสอน อันเป็นความถูกต้องทั้งสองฝ่าย ผู้เตือนก็เตือนด้วยความเป็นธรรม ไม่ได้เตือนด้วยความยกโทษ ไม่ได้เตือนด้วยอารมณ์ความโกรธความแค้น ความดูถูกเหยีดหยามซึ่งกันและกัน ผู้รับก็รับด้วยความเป็นธรรม เทิดทูนในคำตักเตือนของผู้อื่นที่มาชี้โทษ ซึ่งเป็นเหมือนกับมาชี้บอกขุมทรัพย์ให้ตนได้ดำเนิน
การอยู่ร่วมกันเป็นสำคัญ ถ้าหากมีรายใดรายหนึ่งแสดงกิริยาอาการออกมาไม่ถูกอรรถธรรม เป็นการกระทบกระเทือนหรือกีดขวางสายหูสายตา ตลอดถึงการสะดุดใจของผู้อื่น จะเป็นคามกระทบกระเทือนทั้งวัด ด้วยเหตุนี้การอยู่ร่วมกันจึงต้องได้ระมัดระวัง ให้มีความอภัยกันไว้เสมอ สมกับเราเป็นนักธรรมะ มีเมตตากรุณาเป็นสำคัญ นี่เป็นพื้นฐานของจิตแห่งผู้ปฏิบัติธรรม เพื่อความเจริญรุ่งเรืองทั้งแก่ตนและวงคณะ
อยู่โดยปกติก็ต้องเจริญเมตตาเพื่อสัตว์ทั้งหลาย สพฺเพ สตฺตา สุขิตา โหนฺตุ, สพฺเพ สตฺตา อเวรา โหนฺตุ ฯลฯ ไปเรื่อย ............ นอกจากนั้นก็เจริญ กรณียเมตตาสูตร, วิรูปกฺเข หรือ อปฺปมญฺญาพฺรหฺมวิหาร ที่ท่านกล่าวไว้ว่า อตฺถิ โข เตน ภควตา ชานตา ปสฺสตา อรหตา สมฺมาสมฺพุทฺเธน ขึ้นต้นว่าอย่างนั้น จากนั้นก็ เมตฺตาสหคเตน เจตสา, เอกํ ทิสํ ผริตฺวา วิหรติ, ตถา ทุติยํ ตถา ตติยํ ตถา จตุตฺถํ, อิติ อุทฺธมโธ ติริยํ สพฺพธิ สพฺพตฺตตาย สพฺพาวนฺตํ โลกํ, เมตฺตาสหคเตน เจตสา, วิปุเลน มหคฺคเตน อปฺปมาเณน อเวเรน อพฺยาปชฺเฌน ผริตฺวา วิหรติ จากนั้นก็ กรุณา, มุทิตา, อุเปกฺขาสหคเตน เจตสา เนื้อความเหมือนกัน นี่ท่านเรียกว่า อปฺปมญฺญาพฺรหฺมวิหาร ควรเจริญเสมอสำหรับพระ นี่พูดมาพอเป็นปากเป็นทาง ขอท่านทั้งหลายนำไปปฏิบัติเป็นความร่มเย็นเป็นสุขด้วยการเจริญเมตตาพรหมวิหาร จากนั้นก็บำเพ็ญตัวทางด้านจิตภาวนา
อย่าไปคิดระแคะระคายกับหมู่กับเพื่อน กับผู้หนึ่งผู้ใดนำเข้ามาเป็นอารมณ์ ให้ถือว่ามาอยู่ร่วมกันด้วยความเป็นธรรม และด้วยความให้อภัยซึ่งกันและกัน พระเป็นผู้เสียสละได้พูดได้ว่าเป็นผู้เสียสละได้ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นผู้ให้อภัยกันได้ พระให้อภัยกันไม่ได้ ไม่มีใครให้อภัยกันได้ นี่เป็นหลักสำคัญของพระ เวลาอยู่ร่วมกันก็มีความผาสุกร่มเย็น นี่เป็นหลักใหญ่แห่งการอยู่ร่วมกันและการปกครอง
ด้วยเหตุนี้ ผมจึงรับพระมาก ๆ ไม่ได้ เพราะได้พิจารณาแล้ว เราไม่ได้คิดเรื่องกลัวพระอดอยากขาดแคลน เรื่องจตุปัจจัยไทยทานที่เขานำมาบำรุงรักษาพระเณรในวัดของเรา กลัวว่ามีน้อยจะไม่เพียงพอ อย่างนี้เราไม่ได้คิด เราคิดในแง่การปกครองต่างหาก ซึ่งอยู่ร่วมกันเป็นจำนวนมากอาจดูแลไม่ทั่วถึง หรืออาจมีรายใดรายหนึ่งที่ทำให้เกิดความเสียหายกระทบกระเทือนแก่หมู่คณะ และเป็นความเดือดร้อนไปทั่วทั้งวัดซึ่งไม่ใช่ของดีเลย จึงรับไว้พอประมาณ การแนะนำสั่งสอนก็เต็มเม็ดเต็มหน่วย การดูแลก็ทั่วถึง
อะไร ๆ ก็ตาม ถ้ามากเกินไปมันไม่ดี การทำอะไรก็ช้า เช่น การขบการฉัน แทนที่จะเร็วก็ช้า จัดนั้นจัดนี้ พระเณรมีมากเท่าไหร่ก็ยิ่งจัดเป็นเวลานาน ทำอะไรกว่าจะเสร็จก็สาย จัดนั้นจัดนี้ กว่าจะเสร็จก็กินเวลานานๆ แล้วยังต้องทำนี้เพื่อองค์นั้น ทำนั้นเพื่อองค์นี้ เพื่อกันทั้งวัด มีจำนวนมากเท่าไรก็เพื่อกันมากเท่านั้น เลยเป็นเครื่องกังวลเป็นประจำ หาเวลาประกอบความพากเพียรให้ได้รับความสะดวกทางด้านจิตใจไม่ได้ อย่างนี้ก็ไม่เกิดประโยชน์อันใด
ด้วยเหตุนี้จึงรับเพียงพอประมาณ ปีนี้ก็เพิ่มขึ้นอีกแล้วสามองค์ เรื่องความเมตตาสงสารหมู่เพื่อนนั้นเมตตาสงสาร ทำไมจะไม่สงสาร ผู้มามุ่งอรรถมุ่งธรรมด้วยกัน ทำไมจะไม่สงสารกัน เราก็เคยเป็นผู้น้อยเสาะแสวงหาครูอาจารย์มาไม่ทราบว่ากี่องค์แล้ว กว่าจะได้พบท่านอาจารย์มั่นอันเป็นยอดอาจารย์ในความรู้สึกของเรา นี่เราก็เห็นใจนโดยเอาเรื่องของเรานี้ออกเทียบเคียง เอาใจของเรานี้ออกเทียบเคียงกับใจของหมู่คณะ ไม่อย่างนั้นก็ปฏิบัติต่อกันไม่ถูก เพราะความรู้สึกเจตนาในธรรมเหมือนๆ กัน แต่เท่าที่รับไว้นี้ก็เพราะเห็นว่าพอสมควรแล้ว ถ้ามากกว่านี้ก็เฟ้อ เดี๋ยวก็เลอะๆ เทอะๆ ไปหมด เก้งๆ ก้างๆ ดูไม่ได้ คนหนึ่งทำอย่างหนึ่ง อีกคนหนึ่งทำอย่างหนึ่ง อกผมก็แตกตายไม่อาจสงสัย
ขนาดที่เราอยู่ด้วยกันเวลานี้ บางท่านบางองค์อาจเข้าใจว่า วัดนี้มีความเคร่งครัดเด็ดเดี่ยวอาจหาญ เพราะไม่เคยเห็นที่เราและครูอาจารย์พาดำเนินมาแต่ก่อนว่าเป็นอย่างไรบ้าง ซึ่งส่วนมากท่านสมัครใจอยู่กันด้วยความขาดๆ เขินๆ บกๆ พร่องๆ ในปัจจัยทั้งหลายเพื่อความสมบูรณ์แห่งธรรมภายในใจ จะเห็นได้จากประชาชนที่เขายกยอสรรเสริญวัดป่าบ้านตาดว่าปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ไม่มีวัดไหนเสมอ ไม่มีวัดไหนอาจแข่งได้ เพราะเป็นระเบียบเรียบร้อยทุกสิ่งทุกอย่าง ตลอดพระเณรมีจำนวนมากน้อยเป็นความสวยงามตามๆ กันหมด ไม่มีองค์ไหนที่แสดงอากัปกิริยาที่ไม่น่าดูให้เห็นในวงของพระวัดป่าบ้านตาดนั้นเลย นี่เป็นคำชมของประชาชน เราได้ยินเขาพูดต่อหน้าต่อตา
แต่เราอย่าไปดีใจกับความชมของเขาจะเป็นความลืมตัวเย่อหยิ่ง ความจริงแล้ว เรายอมรับว่าหย่อนยานต่อหมู่ต่อคณะลงมากมากทีเดียว เพราะเหตุไรจึงต้องหย่อนยานลงมา ก็เพราะพระมีจำนวนมากหากจำเป็นต้องหย่อนยานไปเอง ตามวัยบ้าง ตามความไม่เคยชินของผู้มาอยู่ใหม่บ้าง ตามธาตุขันธ์ที่เคยอยู่เคยฉันมาแต่ก่อนเพราะมาจากที่ต่างกันบ้าง ตามจตุปัจจัยไทยทานที่เกิดมามีอย่างที่เห็นๆกันบ้าง ทั้งที่การประพฤติปฏิบัติของเราก็ไม่ได้มุ่งเกี่ยวข้องกับสิ่งเหล่านั้น แต่มันเป็นมาเอง คือมีคนเข้ามาเกี่ยวข้องมาก วันหนึ่งๆ เช้าหนึ่งๆ มีมาก จะขาดก็ขาดเพียงเช้าหนึ่งสองเช้า การมีมากมีน้อยก็ทำให้ล่าช้าไปได้จนกลายเป็นความอืดอาดเนือยนายไปโดยไม่มีเจตนา แต่จะทำอย่างไรเพราะเป็นศรัทธา เป็นอัธยาศัยของผู้มาด้วยความสมัครใจ ไม่มีใครจะห้ามใครได้เพราะขัดกับธรรม
การขบการฉันถ้าดูตามสภาพทุกวันนี้มีเหลือเฟือ ความเหลือเฟือในเรื่องจตุปัจจัยไทยทานนี้ เป็นสิ่งที่จะกดถ่วงทางด้านจิตภาวนาลงได้ ถ้าผู้ลืมตัวมัวเมาไปกับปากกับลิ้น เพื่อพุงกางในโลกามิส จิตใจต้องต่ำทรามลงไปโดยลำดับไม่สงสัย เพราะเหตุนั้น นักปฏิบัติจึงต้องให้เห็นภัยในสิ่งทั้งหลายอยู่เสมอ อย่าไปคุ้นเคยกับสิ่งใด ตายใจกับสิ่งใด ถ้าติดใจกับอามิสต่างๆ ใจต้องจมอยู่ในสิ่งนั้น แล้วก็ทำลายธรรมของตัวให้เสื่อมทราม ลงไปหาความเจริญงอกงามไม่ได้ จำต้องระมัดระวังอยู่ตลอดไป
การปฏิบัติเป็นสิ่งสำคัญมากในเรื่องจิตภาวนา ให้มีความห้าวหาญ ให้มีการต่อสู้ ให้มีความเข้มแข็ง อย่ามีความอ่อนแอท้อแท้ จะกลายเป็นเรื่องเหลวไหลไป จะไม่มีผลประโยชน์อันใดเกิดขึ้น
กิเลสทุกประเภทให้พึงทราบว่า เป็นสิ่งที่เหนียวแน่นแก่นทนทานที่สุด เป็นสิ่งที่ฉลาดแหลมคมกว่าเราอยู่มากจนตามไม่ทัน มองไม่เห็นในขั้นเริ่มแรกแห่งการปฏิบัติ การปฏิบัติแบบซื่อๆ เซ่อๆ อย่างนี้จะไม่มีกิเลสตัวใดหลุดลอยออกไปหรือหมอบยอมจำนนต่อเราเลย เพราะปกติกิเลสมีอำนาจบนจิตใจเราอยู่แล้ว มีความฉลาดแหลมคมยิ่งกว่าเราอยู่แล้วจึงได้เป็นนายเรา เราคิดว่าเราเป็นนายอะไรเดี๋ยวนี้ เรายังไม่ได้เป็นนายอะไรเลย นอกจากเป็นบ๋อยของกิเลสโดยที่เราไม่รู้สึกตัวเท่านั้น ยังพากันภูมิใจอยู่หรือ แม้กิเลสหั่นหอมกระเทียมอยู่ต่อหน้า ในท่าความเพียรของเรา เรายังมองไม่เห็นตัวมัน จะว่าเราฉลาดกว่ามันที่ตรงไหน
ความคิดความปรุงทุกแง่ทุกมุมที่แสดงออกมาจากใจนั้น ล้วนแต่เป็นความบงการของกิเลสให้คิดแทบทั้งสิ้น และก่อความไม่สงบแก่ใจอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่เรื่องอื่นใด ไม่ใช่ผู้ใดมาทำให้เป็นนั่นคือ กิเลสแต่ละประเภทๆ ผลักดันออกมา บังคับออกมา ให้คิด ให้ปรุง ให้ยุ่งเหยิงวุ่นวาย ให้รักให้ชัง ให้เกลียดให้โกรธ มีแต่เรื่องของกิเลสทั้งสิ้น เรายังไม่ทราบว่ามันเป็นภัยต่อเรา จะเรียกว่าเราฉลาดทันมันหรือเราฉลาดเหนือมันได้อย่างไร เราคล้อยตามมันทุกระยะที่คิดปรุงออกไป ความเกลียดเราก็ไม่รู้สึกตัวว่าเป็นกิเลส ความโกรธเราก็ไม่รู้สึกตัวว่าเป็นกิเลส ความรักความชังเราก็ไม่รู้สึกตัวว่าเป็นแผนของกิเลสที่บังคับให้แสดงออกมา ถ้าเรารู้ทันทุกระยะที่มันแสดงตัว ไม่นานกิเลสต้องหมอบราบไปไม่พ้นมือนักจิตภาวนาแน่นอน สำหรับผู้ปฏิบัติจะพึงสำเหนียกให้ถึงใจ ว่ากิเลสกับเรานั้น มีความเหลื่อมล้ำต่ำสูงกว่ากันอยู่มากในเรื่องความฉลาดแหลมคมของมันที่มีต่อเรา
สิ่งใดที่กิเลสจะยอมจำนน ก็คือ สติปัญญา ศรัทธา ความเพียร เป็นเครื่องหนุนหลัง สติเป็นของสำคัญ ปัญญาเป็นเครื่องคุ้ยเขี่ยขุดค้นฟาดฟันหั่นแหลกกันลงไป สติเป็นผู้ควบคุมงานไม่ให้เผลอตัว เมื่อทำไม่หยุดไม่ถอย สติก็มีความแก่กล้าสามารถขึ้นมา จนกลายเป็นสัมปชัญญะ คือ ความรู้สึกตัวอยู่โดยสม่ำเสมอ จากความระลึกได้เป็นระยะๆของสติ ก็กลายเป็นสัมปชัญญะขึ้นมา จากสัมปชัญญะก็กลายเป็นมหาสติไปได้
ปัญญาก็เหมือนกัน เริ่มแรกก็ล้มลุกคลุกคลานไปก่อน เราอย่าเข้าใจว่าปัญญาจะเกิดขึ้นเฉยๆ และง่ายดาย ต้องหาอุบายคิดค้นซอกแซกซิกแซ็กในแง่ต่างๆ ความคิดใดก็ตามถ้าเป็นอุบายที่จะทำให้กิเลสหลุดลอยหรือกิเลสสงบตัวลง พึงทราบว่านั้นคือ ปัญญาธรรม อย่าไปคอยจ้องแต่คัมภีร์ใบลาน จะกลายเป็นหนอนแทะกระดาษโดยเจ้าตัวโอ่อ่าภูมิใจในภูมิสัญญาของตน พระพุทธเจ้าท่านสอนไว้แล้วทุกสิ่งทุกอย่าง ออกมาจากพระทัยทั้งนั้น ธรรมอยู่ที่พระทัย ธรรมอยู่ที่ใจ สติปัญญาอยู่ที่ใจ ผลิตขึ้นมาให้เห็นเหตุเห็นผลต่อสู้กับกิเลส เพราะกิเลสมันแหลมคมมาก เป็นนายเหนือหัวเราทุกระยะที่คิด ที่ปรุงที่สัมผัสสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆ ไม่ว่าทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย รวมตัวเข้าไปเป็นธรรมารมณ์ภายในใจ ล้วนเป็นเรื่องของกิเลส เรายังไม่เห็นโทษของมันได้ ก็เพราะเรายังโง่กว่ามัน ถ้าเรามีความฉลาดกว่ามันแล้ว พอมันเริ่มปรุงแย็บก็ทราบๆ เอาจงพยายามทำลงไป จะเป็นไปอย่างที่พูดนี้โดยไม่ต้องสงสัย จงพยายามฝึกจิตของตัวเสมอ อย่าลดละท้อถอยความพากเพียร วันหนึ่งต้องได้ครองมหาสมบัติแน่นอนไม่พ้นความพากเพียรไปได้
การอดอาหารเป็นสิ่งที่บรรเทาความฟุ้งซ่านวุ่นวายได้ดี เป็นอุปกรณ์เครื่องหนุนความเพียรได้ดี สำหรับผู้ถูกกับนิสัย แต่ผู้ประกอบความพากเพียรในเวลาที่อดอาหารแต่ละครั้งๆ แต่ละพักละตอนไปนั้น ให้พึงสังเกตด้วยดี ผมเคยเป็นมาแล้วจึงนำมาเตือนหมู่เพื่อน เช่น เราเริ่มอดอาหารไปเป็นลำดับลำดา ในครั้งแรกจิตใจมีความสม่ำเสมอ จิตใจมีความสงบเย็น จิตใจมีสติ ถึงกับมีสติสืบเนื่องไปแทบตลอดวันตลอดคืน ตลอดอิริยาบถแทบจะไม่เผลอไปบ้างเป็นวรรคเป็นตอน ทีนี้พอเริ่มฉันจังหันมันชักจะเผลอๆ ไปเป็นธรรมดา แต่ผลที่ได้คือความสงบเย็นใจก็เป็นอันว่าได้ พอเรามาอดทีหลัง แทนที่จะมีสติติดต่อกันไปดังที่เคยเป็นแต่มันกลับไม่เป็น ทำให้เกิดความเสียใจ ความจริงนั่นคือ สัญญาอารมณ์ที่ไปยึดไปหมายความเพียรและผลที่เคยทำเคยเป็นมาแล้วแต่วาระก่อน เข้ามาเป็นอารมณ์ ในขณะนั้นโดยไม่ทำงานคือ การตั้งสติสตังประกอบความเพียรของตน อารมณ์อดีตจึงเข้ามาแทรกได้ จึงไม่เกิดผล ที่ถูกพึงตัดอารมณ์อดีตนั้นเสีย เหลือแต่อารมณ์ปัจจุบันที่กำลังประกอบความเพียร โดยเฉพาะระวังรักษาสติไว้ ไม่ให้เผลอส่งไปเกี่ยวข้องกับอารมณ์ใดๆ จะเป็นอะไรขึ้นมาก็ตาม สิ่งที่เป็นมาแล้วในวาระก่อนนั้น จะดีจะชั่วอย่างไร จิตจะเคยสงบมาขนาดไหน มีความแน่นหนามั่นคงเพียงไรในอดีต มันก็เป็นไปแล้วผ่านไปแล้วและเป็นไปจากความเพียร ซึ่งกำลังเพียรอยู่เวลานี้แลไม่เป็นไปจากอะไร
จงมีสติเป็นผู้ควบคุมงานและตั้งลงหลักปัจจุบัน อย่าไปคาดไปหมายผลที่เกิดที่เป็นมาแล้ว สูงต่ำประการใด อย่าไปคาดไปหมายนำมาเป็นอารมณ์ของใจในเวลานั้น จะเป็นเครื่องก่อกวนจิตใจไม่สงบลงได้ และจะมีแต่ความเสียใจรำพึงรำพันว่า จิตไม่เป็นเหมือนอย่างคราวที่แล้วๆมา อตีตารมณ์นี่เป็นข้าศึกอันหนึ่งเหมือนกัน เพราะฉะนั้น จึงแสดงให้ทราบไว้ อย่าไปเป็นสัญญากับอารมณ์อดีตที่เคยเป็นมาแล้ว ให้ตั้งหลักปัจจุบันลงในจิตโดยเฉพาะว่า ขณะนี้จิตเป็นยังไง จิตไม่สงบเพราะเหตุใด ให้ตั้งความรู้สึกลงตรงนี้
ถ้าจับจุดของความรู้ไม่ได้ ก็อย่าลืมคำบริกรรมภาวนา ไปที่ไหนอยู่ในท่าอิริยาบถใด คำบริกรรมให้ติดแนบกับจิต ให้จิตเกาะอยู่กับคำบริกรรมภาวนานั้นเสมอ เช่น พุทฺโธ ก็ตาม อฏฺฐิ ก็ตาม เกสา โลมา นขา ทนฺตา ตโจ บทใดก็ตาม ให้จิตติดอยู่กับบทนั้น ไม่ให้จิตไปทำงานอื่น ถ้าปล่อยนี้เสียจิตก็เถลไถลไปทำงาานอื่นซึ่งเป็นเรื่องของกิเลสไปเสีย ไม่ใช่เรื่องของธรรมที่เป็นความมุ่งหมายของเรา บทธรรมที่เราตั้งขึ้นมานั้นเพื่อให้จิตเกาะอยู่กับคำบริกรรมบทนั้นๆ ซึ่งเป็นเรื่องของธรรมที่เราเป็นผู้กำหนดเอง อาศัยธรรมบทต่างๆ เป็นเครื่องยึดเครื่องเกาะของจิต ขณะทำลงไปก็เป็นธรรม จิตใจก็สงบ นี่แลหลักการปฏิบัติที่จะทำให้จิตสงบเยือกเย็นได้โดยลำดับของนักภาวนาทั้งหลาย
มีต่อคะ
พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน
เทศน์อบรมพระ ณ วัดป่าบ้านตาด
http://sites.google.com/site/smartdhamma/_/rsrc/1259839702222/basic_dhamma_practice/lt_buwa.gif?height=320&width=267
มนุษย์เราต้องมีเพื่อนมีฝูง มีพวกมีคณะ ไม่ว่าแต่ฆราวาสหญิงชาย แม้มาบวชเป็นพระเป็นเณรแล้วก็ยังไม่พ้นจากความอยู่ร่วมกันเป็นหมู่เป็นคณะ ผิดกับสัตว์บางประเภทซึ่งเขาอยู่ตัวเดียว สัตว์ป่าบางประเภทอยู่ตัวเดียว บางประเภทก็เป็นหมู่เป็นคณะ เป็นฝูง ๆ แต่มนุษย์เรานี้ไม่ว่าที่ใดๆ ทั่วโลก ไม่ปรากฏว่าอยู่คนเดียว ไม่ว่าประเทศไหนทวีปใด ก็ต้องมีหมู่มีคณะ เป็นครอบครัว เป็นสังคม เป็นหมู่ ๆ พวก ๆ ทั่วดินแดน จะว่ามนุษย์ขี้ขลาดก็ถูก เป็นนิสัยของมนุษย์ทุกชาติทุกภาษาที่ต้องเกี่ยวข้องกันอยู่ร่วมกันเรื่อยมาแต่ดึกดำบรรพ์
นี่เราเป็นพระ เป็นเพศที่เด็ดเดี่ยวอาจหาญ ตามหลักธรรมและนิสัยของนักบวชควรจะอยู่ลำพังองค์เดียว แต่หลักใหญ่ก็ต้องอยู่เป็นหมู่เป็นคณะ เกี่ยวข้องกับหมู่เพื่อนเพศเดียวกันอยู่โดยดี แม้จะออกไปบำเพ็ญในสถานที่ต่างๆ ด้วยความเป็นผู้มีตนคนเดียว แต่โอกาสหรือความจำเป็นที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับหมู่กับคณะ กับครูบาอาจารย์ เพื่อการศึกษาปรารภข้ออรรถข้อธรรมต่างๆ ย่อมมีอยู่เป็นวรรคเป็นตอน สุดท้ายก็ไม่พ้นจากความเป็นสัตว์หมู่สัตว์คณะอีกเหมือนกัน เป็นแต่เพียง ลัทธิ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หลักธรรมวินัย ที่แสดงออกของพระกับฆราวาสนั้นต่างกันเท่านั้นพระมีกฎมีระเบียบตามหลักธรรมวินัยเป็นเครื่องประพฤติดำเนิน การแสดงออกทุกแง่ทุกมุมจึงเป็นไปตามหลักธรรมหลักวินัย ไม่ว่าจะแสดงทางจิต คิดออกมาด้วยเหตุผลกลไกอันใด ต้องระวังสำรวมในความคิดผิดหรือถูกอยู่โดยดี ความผิดนั้นถ้าไม่ผิดธรรมก็ต้องผิดวินัย ไม่ผิดวินัยก็ต้องผิดธรรม การผิดวินัยเป็นความหยาบ ผิดธรรมเป็นความละเอียด เป็นเรื่องของกิเลสประเภทหยาบ จำต้องได้ระมัดระวังเพราะเรามาแก้กิเลส จึงไม่ควรนอนใจในความคิด การพูด การกระทำ ทุกอาการที่แสดงออก
วาจาที่เกี่ยวข้องกับหมู่กับคณะที่จะต้องพูด จะต้องได้ระมัดระวังรักษา ทางกายก็เกี่ยวข้องกับหมู่กับคณะหรือโดยลำพังคนเดียว การกระทำสิ่งใดต้องคำนึงถึงกฎระเบียบข้อบังคับ คือ หลักธรรมวินัย ซึ่งเป็นทางเดิน จะปล่อยวางไม่ได้ แม้จะอยู่เป็นหมู่เป็นคณะ ก็มีลัทธิ มีข้อบังคับ มีกฏเกณฑ์ เป็นเครื่องดำเนินอยู่ในวงคณะเดียวกันที่เป็นพระด้วยกัน
ส่วนฆราวาสเขาก็มีกฎหมายบ้านเมืองเป็นเครื่องปกครอง กฎประเพณี นั่นก็ยังหยาบไป ตามเพศของฆราวาสซึ่งไม่เข้มงวดกวดขันในความประพฤติ กิริยาอาการแสดงออกทุกแง่ทุกมุมอะไรนัก ไม่เหมือนพระเรา พระนี้ถ้าพูดให้ถูกต้องตามหลักของความเป็นนักบวชแล้ว ต้องมีการระมัดระวังอยู่ทุกระยะ ทุกอิริยาบถในความเคลื่อนไหวของกาย วาจา ใจ
แต่เราอยู่รวมหมู่รวมคณะกันนี้ จริตนิสัยไม่เหมือนกัน ต่างองค์ต่างมีจริตนิสัยเป็นของตัวมาดั้งเดิม แม้จะมีกี่รูปกี่องค์ด้วยกันก็ตาม แต่จริตนิสัยอันเป็นแกนเดิมซึ่งมีอยู่ภายในจิตนั้น ย่อมเป็นของตัวเอง อันนี้พึงทราบว่าเป็นนิสัยสมบัติของแต่ละองค์ ๆ แต่การแสดงออกมาจากนิสัยนั้น พึงระวังที่จะเป็นการกระทบกระเทือนต่อหลักธรรม หลักวินัย ซึ่งไม่ใช่นิสัย ตลอดถึงการกระทบกระเทือนแก่หมู่คณะที่อยู่ร่วมกัน นั่นก็ไม่จัดว่าเป็นนิสัย ต้องได้ระมัดระวังทุกรูปทุกองค์ เพื่อความสงบสุขแก่ตนและวงคณะที่อยู่ร่วมกัน
การระวังตัวนั้นแหละ คือ การรักษาความสงบเรียบร้อยของตัวและวงคณะที่อยู่ร่วมกัน ไม่ให้มีอะไรเกิดขึ้น เหมือนอวัยวะเดียวกัน การประพฤติพรตพรหมจรรย์ก็จะมีความสะดวกสบายเพราะไม่เป็นนิวรณ์ ไม่เป็นสัญญาอารมณ์ ที่มาก่อกวนจิตใจให้ยุ่งเหยิงวุ่นวาย ให้ใจสงบตัวเข้าสู่สมาธิในขณะที่ทำความเพียรนั้นไม่ได้ ด้วยเหตุนี้จึงต้องระมัดระวังรักษา ผู้ใดรายใดให้ถิือว่าเราเป็นพระเต็มภูมิแห่งความสมมุตินิยมตามหลักพทุธศาสนาแล้วเวลานี้ จงรักษาภูมิแห่งความเป็นพระของตนทั้งภายในใจและการแสดงออกสู่ภายนอก ด้วยกายวาจา อย่าให้มีการกระทบกระเทือนซึ่งกันและกันเป็นอันขาด ถ้าไม่อยากขายตัว
เรื่องทิฐิมานะอันเป็เนรื่องของกิเลสโดยตรงนั้น ให้ถือว่าเป็นข้าศึกแก่ตนด้วย ให้ถือว่าเป็นข้าศึกแก่วงคณะด้วย ใครๆ อย่านำออกมาให้เรี่ยราดสาดกระจายจะเป็นการกระทบกระเทือนและสกปรกในวงหมู่คณะ หาความผาสุกไม่ได้เฉพาะอย่างยิ่งวงพระกรรมฐานนี้เป็นวงที่ละเอียด การประพฤติปฏิบัติก็ละเอียดคือะเอียดตามหลักธรรมวินัยนั้นแหละ ไม่ได้หาความละเอียดนอกเขตนอกแดนแหวกแนวมาจากไหนโดยถือหลักธรรมหลักวินัยเป็นเครื่องดำเนิน เพราะหลักธรรมหลักวินัยนั้นเป็นสิ่งที่มีความละเอียดอ่อนมากทีเดียว เราจะทราบได้ชัดก็ต่อเมื่อได้ปฏิบัติทางด้านจิตใจ ใจมีความละเอียดอ่อนด้วยการปฏิบัติจิตภาวนามากเข้าไปเท่าไรยิ่งเห็นความซึ้งของธรรมว่ามีความละเอียดอ่อนเข้าไปเท่านั้น ในขณะเดียวกันก็ทราบว่า กิเลสก็มีความละเอียดอ่อนไปตาม ๆ กันซึ่งจะไว้ใจหรือนอนใจประมาทไม่ได้ต้องได้ระมัดระวังอยู่ตลอดเวลา
การอยู่ร่วมกันด้วยความผาสุก ก็คือ ต่างคนต่างระมัดระวังกิเลสของตนไม่ให้แสดงออกอันเป็นการกระทบกระเทือนตนเองให้ว้าวุ่นขุ่นมัวไปด้วย เป็นการกระทบกระเทือนผู้อื่นให้เกิดสัญญาอารมณ์ให้อยู่ไม่สะดวกสบาย ให้เป็นการระแคะระคายซึ่งกันและกันด้วย ซึ่งเป็นความเสียหายทางด้านจิตภาวนาเป็นสำคัญ ยิ่งกว่านั้นก็ระบาดออกไปไม่มีประมาณ
โดยปกติจิตแม้ไม่มีสัญญาอารมณ์มาเกี่ยวข้องพัวพัน ความผิดเล็กๆ น้อยๆ ไม่ปรากฏ ยังภาวนาไม่ลง เพราะจิตมีธรรมชาติอันหนึ่งผลักดันออกมาให้คิดให้ปรุงเรื่องนั้นเรื่องนี้อยู่เสมอ อันเป็นการก่อกวนตัวเองให้ยุ่งเหยิงจนถึงกับจิตเข้าสู่ความสงบไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่เราทำความเพียรเพื่อความสงบ ปกติของจิตก็ชอบเป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว ยิ่งมีเหตุการณ์อะไรเข้ามาเกี่ยวข้องหรือมีเรื่องมีราวอะไรเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยแล้ว ก็ยิ่งเป็นการเพิ่มไฟขึ้นมาให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนมากขึ้น และระบาดสาดกระจายไปถึงวงคณะหมู่เพื่อนที่อยู่ด้วยกันมากน้อย ให้ได้รับความไม่ผาสุกไปตามๆ กัน ชื่อว่าเป็นผู้สร้างบาปสร้างกรรมให้แก่ตนเองและผู้อื่น ซึ่งไม่สมควรแก่เราที่เป็นนักบวชและนักปฏิบัติเพื่อกำจัดสิ่งที่ไม่เป็นมงคล หรือสิ่งต่ำช้าเลวทรามทั้งหลายเหล่านี้ออกจากใจเลย
การอยู่ร่วมกันด้วความผาสุกก็คือต่างองค์ต่างปกครองตนเอง ต่างคน ต่างรักษาตัวเองไม่ให้มีกิริยาอาการใดๆ อันเป็นเรื่องของกิเลสแสดงออกมาแก่หมู่คณะ นี่เป็นหลักใหญ่แห่งการอยู่ร่วมกัน เมื่อไม่มีอะไร ต่างองค์ต่างมีเหตุมีผล มีหลักธรรมเป็นที่ตั้ง ยึดหลักธรรมเป็นเครื่องดำเนินเป็นประจำอยู่แล้ว ย่อมไม่มีการถือเนื้อถือตัว ถือทิฐิมานะ ถือชาติชั้น วรรณะ ฐานะ สกุล ถือแต่ความถูกต้องดีงามอันเป็นกฎเกณฑ์ออกมาจากหลักธรรมเป็นสำคัญ
แม้จิตจะไม่มีความสงบก็ไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อผู้อื่น เพราะโทษต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น เราไม่อำนวยให้มัน นี่ก็เป็นความผาสุกหรือความสงบอันหนึ่ง เรียกว่า ปุคคลสัปปายะ อยู่ด้วยกันเป็นผาสุกในวงคณะ เพราะมีแต่กัลยาณมิตรอยู่ด้วยกัน การมองกันอย่ามองในแง่ร้าย ให้มองในแง่เหตุผลเสมอ หากมีเหตุผลหรือมีความจำเป็นที่จะมองกัน ซึ่งเกี่ยวข้องกันในการอยู่ร่วมกัน ให้คิดเผื่อไว้เสมอ คือ ความเมตตา ความให้อภัยซึ่งกันและกัน นี้เป็นหลักของผู้ปฏิบัติธรรม ไม่ควรมองในแง่ร้ายหมายโทษต่างๆ หากเห็นองค์ใดมีความผิดพลาดจากหลักธรรมวินัย ก็ให้ตักเตือนซึ่งกันและกันด้วยความเป็นธรรมเสมอ ผู้รับฟังก็ฟังด้วยความเป็นธรรม และเพื่อจะแก้ไขดัดแปลงตนให้เป็นไปตามหลักความถูกต้องที่ท่านผู้นั้นตักเตือนสั่งสอน อันเป็นความถูกต้องทั้งสองฝ่าย ผู้เตือนก็เตือนด้วยความเป็นธรรม ไม่ได้เตือนด้วยความยกโทษ ไม่ได้เตือนด้วยอารมณ์ความโกรธความแค้น ความดูถูกเหยีดหยามซึ่งกันและกัน ผู้รับก็รับด้วยความเป็นธรรม เทิดทูนในคำตักเตือนของผู้อื่นที่มาชี้โทษ ซึ่งเป็นเหมือนกับมาชี้บอกขุมทรัพย์ให้ตนได้ดำเนิน
การอยู่ร่วมกันเป็นสำคัญ ถ้าหากมีรายใดรายหนึ่งแสดงกิริยาอาการออกมาไม่ถูกอรรถธรรม เป็นการกระทบกระเทือนหรือกีดขวางสายหูสายตา ตลอดถึงการสะดุดใจของผู้อื่น จะเป็นคามกระทบกระเทือนทั้งวัด ด้วยเหตุนี้การอยู่ร่วมกันจึงต้องได้ระมัดระวัง ให้มีความอภัยกันไว้เสมอ สมกับเราเป็นนักธรรมะ มีเมตตากรุณาเป็นสำคัญ นี่เป็นพื้นฐานของจิตแห่งผู้ปฏิบัติธรรม เพื่อความเจริญรุ่งเรืองทั้งแก่ตนและวงคณะ
อยู่โดยปกติก็ต้องเจริญเมตตาเพื่อสัตว์ทั้งหลาย สพฺเพ สตฺตา สุขิตา โหนฺตุ, สพฺเพ สตฺตา อเวรา โหนฺตุ ฯลฯ ไปเรื่อย ............ นอกจากนั้นก็เจริญ กรณียเมตตาสูตร, วิรูปกฺเข หรือ อปฺปมญฺญาพฺรหฺมวิหาร ที่ท่านกล่าวไว้ว่า อตฺถิ โข เตน ภควตา ชานตา ปสฺสตา อรหตา สมฺมาสมฺพุทฺเธน ขึ้นต้นว่าอย่างนั้น จากนั้นก็ เมตฺตาสหคเตน เจตสา, เอกํ ทิสํ ผริตฺวา วิหรติ, ตถา ทุติยํ ตถา ตติยํ ตถา จตุตฺถํ, อิติ อุทฺธมโธ ติริยํ สพฺพธิ สพฺพตฺตตาย สพฺพาวนฺตํ โลกํ, เมตฺตาสหคเตน เจตสา, วิปุเลน มหคฺคเตน อปฺปมาเณน อเวเรน อพฺยาปชฺเฌน ผริตฺวา วิหรติ จากนั้นก็ กรุณา, มุทิตา, อุเปกฺขาสหคเตน เจตสา เนื้อความเหมือนกัน นี่ท่านเรียกว่า อปฺปมญฺญาพฺรหฺมวิหาร ควรเจริญเสมอสำหรับพระ นี่พูดมาพอเป็นปากเป็นทาง ขอท่านทั้งหลายนำไปปฏิบัติเป็นความร่มเย็นเป็นสุขด้วยการเจริญเมตตาพรหมวิหาร จากนั้นก็บำเพ็ญตัวทางด้านจิตภาวนา
อย่าไปคิดระแคะระคายกับหมู่กับเพื่อน กับผู้หนึ่งผู้ใดนำเข้ามาเป็นอารมณ์ ให้ถือว่ามาอยู่ร่วมกันด้วยความเป็นธรรม และด้วยความให้อภัยซึ่งกันและกัน พระเป็นผู้เสียสละได้พูดได้ว่าเป็นผู้เสียสละได้ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นผู้ให้อภัยกันได้ พระให้อภัยกันไม่ได้ ไม่มีใครให้อภัยกันได้ นี่เป็นหลักสำคัญของพระ เวลาอยู่ร่วมกันก็มีความผาสุกร่มเย็น นี่เป็นหลักใหญ่แห่งการอยู่ร่วมกันและการปกครอง
ด้วยเหตุนี้ ผมจึงรับพระมาก ๆ ไม่ได้ เพราะได้พิจารณาแล้ว เราไม่ได้คิดเรื่องกลัวพระอดอยากขาดแคลน เรื่องจตุปัจจัยไทยทานที่เขานำมาบำรุงรักษาพระเณรในวัดของเรา กลัวว่ามีน้อยจะไม่เพียงพอ อย่างนี้เราไม่ได้คิด เราคิดในแง่การปกครองต่างหาก ซึ่งอยู่ร่วมกันเป็นจำนวนมากอาจดูแลไม่ทั่วถึง หรืออาจมีรายใดรายหนึ่งที่ทำให้เกิดความเสียหายกระทบกระเทือนแก่หมู่คณะ และเป็นความเดือดร้อนไปทั่วทั้งวัดซึ่งไม่ใช่ของดีเลย จึงรับไว้พอประมาณ การแนะนำสั่งสอนก็เต็มเม็ดเต็มหน่วย การดูแลก็ทั่วถึง
อะไร ๆ ก็ตาม ถ้ามากเกินไปมันไม่ดี การทำอะไรก็ช้า เช่น การขบการฉัน แทนที่จะเร็วก็ช้า จัดนั้นจัดนี้ พระเณรมีมากเท่าไหร่ก็ยิ่งจัดเป็นเวลานาน ทำอะไรกว่าจะเสร็จก็สาย จัดนั้นจัดนี้ กว่าจะเสร็จก็กินเวลานานๆ แล้วยังต้องทำนี้เพื่อองค์นั้น ทำนั้นเพื่อองค์นี้ เพื่อกันทั้งวัด มีจำนวนมากเท่าไรก็เพื่อกันมากเท่านั้น เลยเป็นเครื่องกังวลเป็นประจำ หาเวลาประกอบความพากเพียรให้ได้รับความสะดวกทางด้านจิตใจไม่ได้ อย่างนี้ก็ไม่เกิดประโยชน์อันใด
ด้วยเหตุนี้จึงรับเพียงพอประมาณ ปีนี้ก็เพิ่มขึ้นอีกแล้วสามองค์ เรื่องความเมตตาสงสารหมู่เพื่อนนั้นเมตตาสงสาร ทำไมจะไม่สงสาร ผู้มามุ่งอรรถมุ่งธรรมด้วยกัน ทำไมจะไม่สงสารกัน เราก็เคยเป็นผู้น้อยเสาะแสวงหาครูอาจารย์มาไม่ทราบว่ากี่องค์แล้ว กว่าจะได้พบท่านอาจารย์มั่นอันเป็นยอดอาจารย์ในความรู้สึกของเรา นี่เราก็เห็นใจนโดยเอาเรื่องของเรานี้ออกเทียบเคียง เอาใจของเรานี้ออกเทียบเคียงกับใจของหมู่คณะ ไม่อย่างนั้นก็ปฏิบัติต่อกันไม่ถูก เพราะความรู้สึกเจตนาในธรรมเหมือนๆ กัน แต่เท่าที่รับไว้นี้ก็เพราะเห็นว่าพอสมควรแล้ว ถ้ามากกว่านี้ก็เฟ้อ เดี๋ยวก็เลอะๆ เทอะๆ ไปหมด เก้งๆ ก้างๆ ดูไม่ได้ คนหนึ่งทำอย่างหนึ่ง อีกคนหนึ่งทำอย่างหนึ่ง อกผมก็แตกตายไม่อาจสงสัย
ขนาดที่เราอยู่ด้วยกันเวลานี้ บางท่านบางองค์อาจเข้าใจว่า วัดนี้มีความเคร่งครัดเด็ดเดี่ยวอาจหาญ เพราะไม่เคยเห็นที่เราและครูอาจารย์พาดำเนินมาแต่ก่อนว่าเป็นอย่างไรบ้าง ซึ่งส่วนมากท่านสมัครใจอยู่กันด้วยความขาดๆ เขินๆ บกๆ พร่องๆ ในปัจจัยทั้งหลายเพื่อความสมบูรณ์แห่งธรรมภายในใจ จะเห็นได้จากประชาชนที่เขายกยอสรรเสริญวัดป่าบ้านตาดว่าปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ไม่มีวัดไหนเสมอ ไม่มีวัดไหนอาจแข่งได้ เพราะเป็นระเบียบเรียบร้อยทุกสิ่งทุกอย่าง ตลอดพระเณรมีจำนวนมากน้อยเป็นความสวยงามตามๆ กันหมด ไม่มีองค์ไหนที่แสดงอากัปกิริยาที่ไม่น่าดูให้เห็นในวงของพระวัดป่าบ้านตาดนั้นเลย นี่เป็นคำชมของประชาชน เราได้ยินเขาพูดต่อหน้าต่อตา
แต่เราอย่าไปดีใจกับความชมของเขาจะเป็นความลืมตัวเย่อหยิ่ง ความจริงแล้ว เรายอมรับว่าหย่อนยานต่อหมู่ต่อคณะลงมากมากทีเดียว เพราะเหตุไรจึงต้องหย่อนยานลงมา ก็เพราะพระมีจำนวนมากหากจำเป็นต้องหย่อนยานไปเอง ตามวัยบ้าง ตามความไม่เคยชินของผู้มาอยู่ใหม่บ้าง ตามธาตุขันธ์ที่เคยอยู่เคยฉันมาแต่ก่อนเพราะมาจากที่ต่างกันบ้าง ตามจตุปัจจัยไทยทานที่เกิดมามีอย่างที่เห็นๆกันบ้าง ทั้งที่การประพฤติปฏิบัติของเราก็ไม่ได้มุ่งเกี่ยวข้องกับสิ่งเหล่านั้น แต่มันเป็นมาเอง คือมีคนเข้ามาเกี่ยวข้องมาก วันหนึ่งๆ เช้าหนึ่งๆ มีมาก จะขาดก็ขาดเพียงเช้าหนึ่งสองเช้า การมีมากมีน้อยก็ทำให้ล่าช้าไปได้จนกลายเป็นความอืดอาดเนือยนายไปโดยไม่มีเจตนา แต่จะทำอย่างไรเพราะเป็นศรัทธา เป็นอัธยาศัยของผู้มาด้วยความสมัครใจ ไม่มีใครจะห้ามใครได้เพราะขัดกับธรรม
การขบการฉันถ้าดูตามสภาพทุกวันนี้มีเหลือเฟือ ความเหลือเฟือในเรื่องจตุปัจจัยไทยทานนี้ เป็นสิ่งที่จะกดถ่วงทางด้านจิตภาวนาลงได้ ถ้าผู้ลืมตัวมัวเมาไปกับปากกับลิ้น เพื่อพุงกางในโลกามิส จิตใจต้องต่ำทรามลงไปโดยลำดับไม่สงสัย เพราะเหตุนั้น นักปฏิบัติจึงต้องให้เห็นภัยในสิ่งทั้งหลายอยู่เสมอ อย่าไปคุ้นเคยกับสิ่งใด ตายใจกับสิ่งใด ถ้าติดใจกับอามิสต่างๆ ใจต้องจมอยู่ในสิ่งนั้น แล้วก็ทำลายธรรมของตัวให้เสื่อมทราม ลงไปหาความเจริญงอกงามไม่ได้ จำต้องระมัดระวังอยู่ตลอดไป
การปฏิบัติเป็นสิ่งสำคัญมากในเรื่องจิตภาวนา ให้มีความห้าวหาญ ให้มีการต่อสู้ ให้มีความเข้มแข็ง อย่ามีความอ่อนแอท้อแท้ จะกลายเป็นเรื่องเหลวไหลไป จะไม่มีผลประโยชน์อันใดเกิดขึ้น
กิเลสทุกประเภทให้พึงทราบว่า เป็นสิ่งที่เหนียวแน่นแก่นทนทานที่สุด เป็นสิ่งที่ฉลาดแหลมคมกว่าเราอยู่มากจนตามไม่ทัน มองไม่เห็นในขั้นเริ่มแรกแห่งการปฏิบัติ การปฏิบัติแบบซื่อๆ เซ่อๆ อย่างนี้จะไม่มีกิเลสตัวใดหลุดลอยออกไปหรือหมอบยอมจำนนต่อเราเลย เพราะปกติกิเลสมีอำนาจบนจิตใจเราอยู่แล้ว มีความฉลาดแหลมคมยิ่งกว่าเราอยู่แล้วจึงได้เป็นนายเรา เราคิดว่าเราเป็นนายอะไรเดี๋ยวนี้ เรายังไม่ได้เป็นนายอะไรเลย นอกจากเป็นบ๋อยของกิเลสโดยที่เราไม่รู้สึกตัวเท่านั้น ยังพากันภูมิใจอยู่หรือ แม้กิเลสหั่นหอมกระเทียมอยู่ต่อหน้า ในท่าความเพียรของเรา เรายังมองไม่เห็นตัวมัน จะว่าเราฉลาดกว่ามันที่ตรงไหน
ความคิดความปรุงทุกแง่ทุกมุมที่แสดงออกมาจากใจนั้น ล้วนแต่เป็นความบงการของกิเลสให้คิดแทบทั้งสิ้น และก่อความไม่สงบแก่ใจอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่เรื่องอื่นใด ไม่ใช่ผู้ใดมาทำให้เป็นนั่นคือ กิเลสแต่ละประเภทๆ ผลักดันออกมา บังคับออกมา ให้คิด ให้ปรุง ให้ยุ่งเหยิงวุ่นวาย ให้รักให้ชัง ให้เกลียดให้โกรธ มีแต่เรื่องของกิเลสทั้งสิ้น เรายังไม่ทราบว่ามันเป็นภัยต่อเรา จะเรียกว่าเราฉลาดทันมันหรือเราฉลาดเหนือมันได้อย่างไร เราคล้อยตามมันทุกระยะที่คิดปรุงออกไป ความเกลียดเราก็ไม่รู้สึกตัวว่าเป็นกิเลส ความโกรธเราก็ไม่รู้สึกตัวว่าเป็นกิเลส ความรักความชังเราก็ไม่รู้สึกตัวว่าเป็นแผนของกิเลสที่บังคับให้แสดงออกมา ถ้าเรารู้ทันทุกระยะที่มันแสดงตัว ไม่นานกิเลสต้องหมอบราบไปไม่พ้นมือนักจิตภาวนาแน่นอน สำหรับผู้ปฏิบัติจะพึงสำเหนียกให้ถึงใจ ว่ากิเลสกับเรานั้น มีความเหลื่อมล้ำต่ำสูงกว่ากันอยู่มากในเรื่องความฉลาดแหลมคมของมันที่มีต่อเรา
สิ่งใดที่กิเลสจะยอมจำนน ก็คือ สติปัญญา ศรัทธา ความเพียร เป็นเครื่องหนุนหลัง สติเป็นของสำคัญ ปัญญาเป็นเครื่องคุ้ยเขี่ยขุดค้นฟาดฟันหั่นแหลกกันลงไป สติเป็นผู้ควบคุมงานไม่ให้เผลอตัว เมื่อทำไม่หยุดไม่ถอย สติก็มีความแก่กล้าสามารถขึ้นมา จนกลายเป็นสัมปชัญญะ คือ ความรู้สึกตัวอยู่โดยสม่ำเสมอ จากความระลึกได้เป็นระยะๆของสติ ก็กลายเป็นสัมปชัญญะขึ้นมา จากสัมปชัญญะก็กลายเป็นมหาสติไปได้
ปัญญาก็เหมือนกัน เริ่มแรกก็ล้มลุกคลุกคลานไปก่อน เราอย่าเข้าใจว่าปัญญาจะเกิดขึ้นเฉยๆ และง่ายดาย ต้องหาอุบายคิดค้นซอกแซกซิกแซ็กในแง่ต่างๆ ความคิดใดก็ตามถ้าเป็นอุบายที่จะทำให้กิเลสหลุดลอยหรือกิเลสสงบตัวลง พึงทราบว่านั้นคือ ปัญญาธรรม อย่าไปคอยจ้องแต่คัมภีร์ใบลาน จะกลายเป็นหนอนแทะกระดาษโดยเจ้าตัวโอ่อ่าภูมิใจในภูมิสัญญาของตน พระพุทธเจ้าท่านสอนไว้แล้วทุกสิ่งทุกอย่าง ออกมาจากพระทัยทั้งนั้น ธรรมอยู่ที่พระทัย ธรรมอยู่ที่ใจ สติปัญญาอยู่ที่ใจ ผลิตขึ้นมาให้เห็นเหตุเห็นผลต่อสู้กับกิเลส เพราะกิเลสมันแหลมคมมาก เป็นนายเหนือหัวเราทุกระยะที่คิด ที่ปรุงที่สัมผัสสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆ ไม่ว่าทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย รวมตัวเข้าไปเป็นธรรมารมณ์ภายในใจ ล้วนเป็นเรื่องของกิเลส เรายังไม่เห็นโทษของมันได้ ก็เพราะเรายังโง่กว่ามัน ถ้าเรามีความฉลาดกว่ามันแล้ว พอมันเริ่มปรุงแย็บก็ทราบๆ เอาจงพยายามทำลงไป จะเป็นไปอย่างที่พูดนี้โดยไม่ต้องสงสัย จงพยายามฝึกจิตของตัวเสมอ อย่าลดละท้อถอยความพากเพียร วันหนึ่งต้องได้ครองมหาสมบัติแน่นอนไม่พ้นความพากเพียรไปได้
การอดอาหารเป็นสิ่งที่บรรเทาความฟุ้งซ่านวุ่นวายได้ดี เป็นอุปกรณ์เครื่องหนุนความเพียรได้ดี สำหรับผู้ถูกกับนิสัย แต่ผู้ประกอบความพากเพียรในเวลาที่อดอาหารแต่ละครั้งๆ แต่ละพักละตอนไปนั้น ให้พึงสังเกตด้วยดี ผมเคยเป็นมาแล้วจึงนำมาเตือนหมู่เพื่อน เช่น เราเริ่มอดอาหารไปเป็นลำดับลำดา ในครั้งแรกจิตใจมีความสม่ำเสมอ จิตใจมีความสงบเย็น จิตใจมีสติ ถึงกับมีสติสืบเนื่องไปแทบตลอดวันตลอดคืน ตลอดอิริยาบถแทบจะไม่เผลอไปบ้างเป็นวรรคเป็นตอน ทีนี้พอเริ่มฉันจังหันมันชักจะเผลอๆ ไปเป็นธรรมดา แต่ผลที่ได้คือความสงบเย็นใจก็เป็นอันว่าได้ พอเรามาอดทีหลัง แทนที่จะมีสติติดต่อกันไปดังที่เคยเป็นแต่มันกลับไม่เป็น ทำให้เกิดความเสียใจ ความจริงนั่นคือ สัญญาอารมณ์ที่ไปยึดไปหมายความเพียรและผลที่เคยทำเคยเป็นมาแล้วแต่วาระก่อน เข้ามาเป็นอารมณ์ ในขณะนั้นโดยไม่ทำงานคือ การตั้งสติสตังประกอบความเพียรของตน อารมณ์อดีตจึงเข้ามาแทรกได้ จึงไม่เกิดผล ที่ถูกพึงตัดอารมณ์อดีตนั้นเสีย เหลือแต่อารมณ์ปัจจุบันที่กำลังประกอบความเพียร โดยเฉพาะระวังรักษาสติไว้ ไม่ให้เผลอส่งไปเกี่ยวข้องกับอารมณ์ใดๆ จะเป็นอะไรขึ้นมาก็ตาม สิ่งที่เป็นมาแล้วในวาระก่อนนั้น จะดีจะชั่วอย่างไร จิตจะเคยสงบมาขนาดไหน มีความแน่นหนามั่นคงเพียงไรในอดีต มันก็เป็นไปแล้วผ่านไปแล้วและเป็นไปจากความเพียร ซึ่งกำลังเพียรอยู่เวลานี้แลไม่เป็นไปจากอะไร
จงมีสติเป็นผู้ควบคุมงานและตั้งลงหลักปัจจุบัน อย่าไปคาดไปหมายผลที่เกิดที่เป็นมาแล้ว สูงต่ำประการใด อย่าไปคาดไปหมายนำมาเป็นอารมณ์ของใจในเวลานั้น จะเป็นเครื่องก่อกวนจิตใจไม่สงบลงได้ และจะมีแต่ความเสียใจรำพึงรำพันว่า จิตไม่เป็นเหมือนอย่างคราวที่แล้วๆมา อตีตารมณ์นี่เป็นข้าศึกอันหนึ่งเหมือนกัน เพราะฉะนั้น จึงแสดงให้ทราบไว้ อย่าไปเป็นสัญญากับอารมณ์อดีตที่เคยเป็นมาแล้ว ให้ตั้งหลักปัจจุบันลงในจิตโดยเฉพาะว่า ขณะนี้จิตเป็นยังไง จิตไม่สงบเพราะเหตุใด ให้ตั้งความรู้สึกลงตรงนี้
ถ้าจับจุดของความรู้ไม่ได้ ก็อย่าลืมคำบริกรรมภาวนา ไปที่ไหนอยู่ในท่าอิริยาบถใด คำบริกรรมให้ติดแนบกับจิต ให้จิตเกาะอยู่กับคำบริกรรมภาวนานั้นเสมอ เช่น พุทฺโธ ก็ตาม อฏฺฐิ ก็ตาม เกสา โลมา นขา ทนฺตา ตโจ บทใดก็ตาม ให้จิตติดอยู่กับบทนั้น ไม่ให้จิตไปทำงานอื่น ถ้าปล่อยนี้เสียจิตก็เถลไถลไปทำงาานอื่นซึ่งเป็นเรื่องของกิเลสไปเสีย ไม่ใช่เรื่องของธรรมที่เป็นความมุ่งหมายของเรา บทธรรมที่เราตั้งขึ้นมานั้นเพื่อให้จิตเกาะอยู่กับคำบริกรรมบทนั้นๆ ซึ่งเป็นเรื่องของธรรมที่เราเป็นผู้กำหนดเอง อาศัยธรรมบทต่างๆ เป็นเครื่องยึดเครื่องเกาะของจิต ขณะทำลงไปก็เป็นธรรม จิตใจก็สงบ นี่แลหลักการปฏิบัติที่จะทำให้จิตสงบเยือกเย็นได้โดยลำดับของนักภาวนาทั้งหลาย
มีต่อคะ