PDA

แสดงเวอร์ชันเต็ม : ธรรมเตือนใจ



DAO
10-30-2008, 09:29 AM
สตรีก็เป็นบัณฑิตได้


มิใช่แต่บุรุษจะเป็นบัณฑิตได้ในที่ทุกสถาน

แม้สตรีมีปัญญาเห็นประจักษ์

ก็เป็นบัณฑิตได้ในที่นั้น ๆ.

มิใช่บุรุษจะเป็นบัณฑิตได้ในที่ทุกสถาน

แม้สตรีที่คิดความได้รวดเร็ว ก็เป็นบัณฑิตได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา

เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 178

DAO
10-30-2008, 09:31 AM
ความเจริญปัญญาประเสริฐที่สุด


[๗๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ความเสื่อมญาติมีประมาณน้อย

ความเสื่อมปัญญาชั่วร้ายที่สุดกว่าความเสื่อมทั้งหลาย.

[๗๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ความเจริญด้วยญาติมีประมาณน้อย

ความเจริญด้วยปัญญาเลิศกว่าความเจริญทั้งหลาย

เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงสำเนียกอย่างนี้ว่า

เราทั้งหลายจักเจริญด้วยปัญญา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เธอทั้งหลายพึงสำเนียกอย่างนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต

เล่ม ๑ ภาค ๑- หน้าที่ 143

DAO
10-30-2008, 09:32 AM
อดทนต่อถ้อยคำได้


จริงอย่างนั้น ติสสะ เธอว่าเขาข้างเดียว

แต่เธอไม่อดทนต่อถ้อยคำ

ข้อที่เธอว่าเขาข้างเดียว ไม่อดทนต่อถ้อยคำนั้น

ไม่สมควรแก่เธอผู้เป็นกุลบุตร

ออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา

แต่ข้อที่เธอว่าเขาด้วย อดทนต่อถ้อยคำได้ด้วย

นั่นแล สมควรแก่เธอผู้เป็นกุลบุตร

ออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒
หน้าที่ 774 ติสสสูตร

DAO
10-30-2008, 09:33 AM
แม้ตัวเราก็ไม่มี


คนพาล ย่อมเดือดร้อนว่า

บุตรทั้งหลายของเรามีอยู่

ทรัพย์ (ของเรา) มีอยู่

ตนแลย่อมไม่มีแก่ตน

บุตรทั้งหลายทั้งหลายจักมีแต่ที่ไหน

ทรัพย์จักมีแต่ที่ไหน



พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท
เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 150 เรื่องอานนทเศรษฐี

DAO
10-30-2008, 09:34 AM
การกระทำตอบแทนแก่มารดาบิดา


ส่วนบุตรคนใดยังมารดาบิดาผู้ไม่มีศรัทธา

ให้สมาทานตั้งมั่นในศรัทธาสัมปทา

ยังมารดาบิดาผู้มีความตระหนี่

ให้สมาทานตั้งมั่นในจาคสัมปทา

ยังมารดาบิดาผู้ทรามปัญญา

ให้สมาทานตั้งมั่นในปัญญาสัมปทา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล

การกระทำอย่างนั้นย่อมชื่อว่าอันบุตรนั้นทำแล้ว

และทำตอบแทนแล้วแก่มารดาบิดา.

พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต
เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 358

DAO
10-30-2008, 09:35 AM
บุคคลที่กตัญญูหาได้ยาก


[๓๖๓] ๑๑๘. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

บุคคล ๒ จำพวกนี้หาได้ยากในโลก

๒ จำพวกเป็นไฉน คือ

บุพพการีบุคคล ๑

กตัญญูกตเวทีบุคคล ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

บุคคล ๒ จำพวกนี้แลหาได้ยากในโลก

พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต
เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 459

DAO
10-30-2008, 09:36 AM
กำลังจะจากไป


ยิ่งผ่านไปแต่ละวินาที แต่ละนาที แต่ละวัน

บุคคลที่มีพระคุณ คือ บิดา มารดา และแม้ตัวเราเอง

ก็ใกล้จะจากโลกนี้ไปทุกๆขณะ

เวลาที่เหลืออยู่ ควรดูแล เลี้ยงดูท่านบ้าง

แม้การให้ความสบายใจกับท่านในทางที่ถูกต้อง

เมื่อท่านล่วงลับไปก็อุทิศกุศลให้

DAO
10-30-2008, 09:37 AM
สละเวลาบ้าง


ทุกท่านเมื่อเจริญวัยขึ้น

ก็พบสิ่งใหม่ ทำภาระการงาน

และมีครอบครัวใหม่ที่ต้องดูแล

ให้เวลากับสิ่งต่างๆที่สำคัญ แต่หากมองย้อนไป

ใครบ้างที่ให้กำเนิดเรา ดูแลเราจนเติบโต

จึงควรให้เวลาบ้างกับบุคคลที่เคยให้กำเนิด

และสละเวลาดูแลเอาใจใส่เราด้วยจิตเมตตา

โดยไม่หวังผลตอบแทน

DAO
10-30-2008, 09:39 AM
วาจาสุภาษิต


บุคคลพึงกล่าวแต่วาจาที่ไม่เป็นเหตุยังตนให้เดือดร้อน

และไม่เป็นเหตุเบียดเบียนผู้อื่น

วาจานั้นแลเป็นสุภาษิต

บุคคลพึงกล่าวแต่วาจาอันเป็นที่รัก

ที่ชนทั้งหลายชื่นชมแล้ว

ไม่ถือเอาคำที่ชั่วช้าทั้งหลาย

กล่าวแต่วาจาอันเป็นที่รักแก่ชนเหล่าอื่น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 317

DAO
10-30-2008, 09:40 AM
ไม่ละทิ้งสมมุติทางโลก


พ. ภิกษุใดเป็นผู้ไกลจากกิเลส

มีกิจทำเสร็จแล้ว มีอาสวะสิ้นแล้ว

เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุด

ภิกษุนั้นพึงกล่าวว่า เราพูดดังนี้บ้าง

บุคคลทั้งหลายอื่นพูดกะเราดังนี้บ้าง

ภิกษุนั้นฉลาด ทราบคำพูดในโลก

พึงกล่าวตามสมมติที่พูดกัน.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

เล่ม ๑ ภาค ๑- หน้าที่ 135 อรหันตสูตร

DAO
10-30-2008, 09:41 AM
กรรมย่อมมีกาลเวลาให้ผล


แม้คนผู้ทำบุญ

ย่อมเห็นบาปว่าดี ตลอดกาลที่บาปยังไม่เผล็ดผล

แต่เมื่อใดบาปเผล็ดผล เมื่อนั้นเขาย่อมเห็นบาปว่าชั่ว

ฝ่ายคนทำกรรมดี ย่อมเห็นกรรมดีว่าชั่ว

ตลอดกาลที่กรรมดียังไม่เผล็ดผล

แต่เมื่อใดกรรมดีเผล็ดผล เมื่อนั้นเขาย่อมเห็นกรรมดีว่าดี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท

เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 2

DAO
10-30-2008, 09:42 AM
เสื่อมปัญญาชั่วร้ายที่สุด


[๗๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ความเสื่อมแห่งโภคะมีประมาณน้อย

ความเสื่อมแห่งปัญญาชั่วร้ายที่สุดกว่าความเสื่อมทั้งหลาย.

[๘๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ความเจริญด้วยโภคะมีประมาณน้อย

ความเจริญด้วยปัญญาเลิศกว่าความเจริญทั้งหลาย

เพราะฉะนั้นเธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า

เราทั้งหลายจักเจริญโดยความเจริญปัญญา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต

เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 143

DAO
10-30-2008, 09:43 AM
พรมหมจรรย์


พ. ก็เราจะบอกวัตรแห่งคฤหัสถ์แก่เธอทั้งหลาย

สาวกกระทำอย่างไรจึงจะเป็นผู้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ

สาวกผู้รู้แจ้งพึงเว้นอพรหมจรรย์

เหมือนบุคคลเว้นหลุมถ่านเพลิงที่ไฟลุกโชนฉะนั้น

แต่เมื่อไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์

ก็ไม่พึงก้าวล่วงภรรยาของผู้อื่น.


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต

เล่ม ๑ ภาค ๖- หน้าที่ 360 ธรรมิกสูตร

DAO
10-30-2008, 09:43 AM
ไม่ควรดูหมิ่นบุญว่าน้อย


บุคคลไม่ควรดูหมิ่นบุญว่า

บุญมีประมาณน้อยจักไม่มาถึง

แม้หม้อน้ำยังเต็มด้วยหยาดน้ำ

ที่ตกลงมา(ทีละหยาดๆ) ได้ฉันใด

ธีรชน (ชนผู้มี ปัญญา) สั่งสมบุญแม้ทีละน้อยๆ

ย่อมเต็มด้วยบุญได้ฉันนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท

เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓- หน้าที่ 2

DAO
10-30-2008, 09:44 AM
สถานที่ควรสังเวช


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สถานที่ควรเห็น

ควรให้เกิดความสังเวชแห่งกุลบุตรผู้มีศรัทธา ๔ แห่งนี้

๔ แห่งเป็นไฉน ?

พระตถาคตประสูติ ณ ที่นี้

พระตถาคตตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ณ ที่นี้

พระตถาคตทรง ประกาศธรรมจักรอันยอดเยี่ยม ณ ที่นี้

พระตถาคตปรินิพพานด้วนอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ณ ที่นี้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต

เล่ม ๒ - หน้าที่ 315 สังเวชนียสูตร

DAO
10-30-2008, 09:45 AM
ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม


ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารึ ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมาวหาติ

เอสานิสํโส ธมฺเม สุจิณฺเณ น ทุคฺคตึ คจฺฉติ ธมฺมจารี.

ธรรมแล ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม

ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้

นี้เป็นอานิสงส์ในธรรมที่ประพฤติดีแล้ว

ผู้ประพฤติธรรม ย่อมไม่ไปทุคติ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์

เล่ม ๙ ภาค ๒- หน้าที่ 341

DAO
10-30-2008, 09:46 AM
ใครจะรู้เวลาตาย


อชฺเชว กิจฺจมาตปฺปํ โก ชญฺญฺา มรณํ สุเว

น หิ โน สงฺครนฺเตน มหาเสเนน มจฺจุนา

ควรทำความเพียร ในวันนี้ทีเดียว

ใครจะรู้ว่าความตายจะมีในวันพรุ่งนี้

เพราะการผัดเพี้ยนความตายอันมีเสนาใหญ่นั้น

ของเราทั้งหลายมีไม่ได้เลย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก

เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 320

DAO
10-30-2008, 09:46 AM
เตือนด้วยพระธรรม


บุคคลผู้ทำกรรมไม่สมควร เมื่อถูกตักเตือนว่า

ท่านทำกรรมไม่ควรแล้ว

จะโกรธโดยส่วนเดียวก็ตาม หรือไม่โกรธก็ตาม.

อีกอย่างหนึ่งเขาจะเขี่ยทิ้งเหมือนกำแกลบหว่านทิ้งก็ตาม

แต่ว่าเมื่อเรากล่าวคำเป็นธรรมอยู่

ขึ้นชื่อว่าบาปย่อมไม่มี.


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก

เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 329 คันธารชาดก

DAO
10-30-2008, 09:47 AM
ผู้ไม่เบียดเบียนตนและผู้อื่น


พ. ดูก่อนภิกษุ บุคคลผู้เป็นบัณฑิตมีปัญญามากในธรรมวินัยนี้

ย่อมไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตน

ย่อมไม่คิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น

ย่อมไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่น

เมื่อคิด ย่อมคิดเพื่อเกื้อกูลแก่ตน เกื้อกูลแก่ผู้อื่น

เกื้อกูลแก่ตนและผู้อื่น และเกื้อกูลแก่โลกทั้งหมดทีเดียว

ดูก่อนภิกษุ บุคคลเป็นบัณฑิตมีปัญญามากอย่างนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต

เล่ม ๒ - หน้าที่ 455 อุมมังคสูตร

DAO
10-30-2008, 09:47 AM
ควรบูชาพระบรมสารีริกธาตุ


ท้าวมฆวานเทพกุญชร ผู้เป็นอธิบดีในสวรรค์ ชั้นไตรทศ

ได้ตรัสคำนี้กะมาตลีเทพสารภีว่า

ดูก่อนมาตลี ท่านจงดูผลแห่งกรรมอันวิจิตรน่าอัศจรรย์นี้

ไทยธรรม(ของที่ให้)ที่เทพธิดานี้กระทำแล้ว

ถึงจะน้อย บุญก็มีผลมาก

เมื่อจิตเลื่อมใสในพระตถาคตสัมพุทธเจ้า

หรือในสาวกของพระองค์ก็ตาม ทักษิณาไม่ชื่อว่าน้อยเลย

มาเถิด มาตลี แม้ชาวเราทั้งหลาย

ก็ควรจะพากันบูชาพระบรมธาตุของพระตถาคต

ให้ยิ่งยวดขึ้นไป เพราะการสั่งสมบุญนำสุขมาให้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ

เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 383 ปีตวิมาน

DAO
10-30-2008, 09:49 AM
บริษัทที่สามัคคีกัน


บริษัทที่สามัคคีกัน เป็นอย่างไร ?

ในบริษัทใด ภิกษุทั้งหลาย พร้อมเพรียงกัน ชื่นบานต่อกัน

ไม่วิวาทกัน (กลมเกลียวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน)

เป็นประหนึ่งว่านมประสมกับน้ำ

มองดูกันและกันด้วยปิยจักษุ (คือ สายตาของคนที่รักใคร่กัน)

บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทที่สามัคคีกัน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต

เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 482 ปริสาสูตร

DAO
10-30-2008, 09:53 AM
การให้ย่อมเจริญด้วยบุญ


บุคคลผู้ยังใจให้เลื่อมใส

ให้ทานด้วยโภคทรัพย์ทั้งหลายที่ได้มาโดยชอบธรรม

ย่อมเป็นผู้ยึดถือชัยชนะไว้ได้ในโลกทั้งสอง

ของผู้มีศรัทธาอยู่ครองเรือน คือ

เพื่อประโยชน์เกื้อกูลในปัจจุบัน

และเพื่อความสุขในสัมปรายภพ

การบริจาคของคฤหัสถ์ดังกล่าวมานั้น ย่อมเจริญบุญ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

เล่ม ๓ - หน้าที่ 667 อิณสูตร

DAO
10-30-2008, 09:56 AM
เพื่อสำรวมและเพื่อละกิเลส


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พรหมจรรย์นี้ ภิกษุไม่อยู่ประพฤติเพื่อจะหลอกลวงชน

ไม่อยู่ประพฤติเพื่อประจบคน

ไม่อยู่ประพฤติเพื่ออานิสงส์ คือ ลาภ สักการะ ความสรรเสริญ

ไม่อยู่ประพฤติ ด้วยคิดว่า ชนจงรู้จักเราด้วยอาการอย่างนี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ที่แท้พรหมจรรย์นี้

ภิกษุย่อมอยู่ประพฤติเพื่อการสำรวมและเพื่อการละ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก

เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 207 ปฐมนกุหนาสูตร

DAO
10-30-2008, 10:12 AM
ควรนิ่ง แม้รู้อยู่ก็ไม่พูด


พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสคาถานี้แล้ว

จึงรับสั่งถามพระอานนทเถระว่า ดูก่อนอานนท์

ภิกษุทั้งหลายถูกคำว่าเย้ยหยันอย่างนี้แล้วพูดอย่างไร.

กราบทูลว่า มิได้พูดอะไรเลย พระเจ้าข้า.

ตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ เราเป็นผู้มีศีลมิใช่หรือ

เพราะฉะนั้นควรนิ่งในเรื่องทั้งหมด

แม้รู้อยู่ก็ไม่พูด เพราะคนพาลกับบัณฑิตเข้ากัน ไม่ได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต

เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 715 อรรถกถาทุฏฐัฏฐกสูตร

DAO
10-30-2008, 10:13 AM
ดุจพระจันทร์ซึงพ้นแล้วจากเมฆ


ผู้ใด เมื่อก่อนประมาท ภายหลังผู้นั้นไม่ประมาท

เขาย่อมยังโลกนี้ให้สว่างดังพระจันทร์ซึ่งพ้นแล้วจากเมฆ ฉะนั้น

ผู้ใดทำกรรมอันเป็นบาปแล้ว ย่อมปิดเสียได้ด้วยกุศล

ผู้นั้นย่อมยังโลกนี้ให้สว่าง ดุจพระจันทร์ซึ่งพ้นแล้วจากเมฆ ฉะนั้น

ภิกษุใดแล ยังเป็นหนุ่ม ย่อมขวนขวายในพระพุทธศาสนา

ภิกษุนั้นย่อมยังโลกนี้ให้สว่าง

ดุจพระจันทร์ซึงพ้นแล้วจากเมฆฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 150

DAO
10-30-2008, 10:13 AM
ท่านทั้งหลายอย่าประมาท


พวกชนที่เป็นพาลทรามปัญญา

ย่อมประกอบตามซึ่งความประมาท

ส่วนนักปราชญ์ทั้งหลาย

ย่อมรักษาความไม่ประมาทไว้

เหมือนทรัพย์อันประเสริญ ฉะนั้น

ท่านทั้งหลายจงอย่าประกอบตามซึ่งความประมาท

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 152

DAO
10-30-2008, 10:14 AM
เงินทองนั้นไม่ตั้งอยู่ยั่งยืนเลย


อนึ่ง เงินทองนี้ ทำให้เกิดความโลภ

ความมัวเมา ความลุ่มหลง ความติดดังเครื่องผูก

มีภัย มีความคับแค้นมาก เงินทองนั้นไม่ตั้งอยู่ยั่งยืนเลย.

นรชนเป็นอันมาก

ประมาท มีใจเศร้าหมองแล้ว เพราะเงินทองเท่านี้

จึงต้องเป็นศัตรู วิวาทบาดหมางกันและกัน.

อาสวะทั้งหลาย ไม่ใช่หมดสิ้นไปเพราะเงินทองดอกนะ

กามทั้งหลายเป็นอมิตร เป็นผู้ฆ่า เป็นศัตรู เป็นดั่งลูกศรเสียบไว้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา

เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 416 สุภากัมมารธิดาเถรีคาถา

DAO
10-30-2008, 10:14 AM
ไม่ว่าเพศใด ปัญญาเกิดได้


พระโสมาเถรีกล่าวว่า

เมื่อจิตตั้งมั่นดี เมื่อญาณเป็นไปอยู่

เมื่อเราเห็นแจ้งซึ่งธรรมโดยชอบ

ความเป็นหญิงจะทำอะไรได้

เรากำจัดความเพลิดเพลินในสิ่งทั้งปวงแล้ว

ทำลายกองแห่งความมืดได้แล้ว

ดูก่อนมารผู้มีบาป ท่านจงรู้อย่างนี้

ดูก่อนมาร ผู้กระทำซึ่งที่สุด ตัวท่านถูกเรากำจัดแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา

เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 111 โสมาเถรีคาถา

DAO
10-30-2008, 10:15 AM
เขามาอย่างใด ก็ไปอย่างนั้น


สัตว์อันเขามิได้เชื้อเชิญ ก็มาจากที่นั้น

เขามิได้อนุญาต ก็ไปจากที่นี้ เขามาจากที่ไหนกันแน่หนอ

อยู่ได้ ๒-๓ วัน ก็ไปแล้วสู่ทางอื่นจากที่นี้ก็มี

กำลังไปสู่ทางอื่นจากที่นั้นก็มี

เขาละ [ตาย] ไปแล้ว

ท่องเที่ยวอยู่โดยรูปของมนุษย์ จักไปก็มี

เขามาอย่างใด ก็ไปอย่างนั้น

จะคร่ำครวญเพราะเหตุนั้นไปทำไม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา

เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 208 ปัญจสตาปฏาจาราเถรีคาถา

DAO
10-30-2008, 10:16 AM
ผู้มีศีลและผู้ทุศีล


ด้วยว่าผู้มีศีล มีความสำรวม ย่อมได้มิตรมาก

ส่วนผู้ทุศีล ประพฤติแต่กรรมอันลามก ย่อมแตกจากมิตร

นรชนผู้ทุศีล ย่อมได้รับการติเตียนและความเสียชื่อเสียง

ส่วนผู้มีศีล ย่อมได้รับการสรรเสริญและชื่อเสียงทุกเมื่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา

เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 425 สีลวเถรคาถา

DAO
10-30-2008, 10:17 AM
สัตว์ทั้งหลายคบกันโดยธาตุ


แม้ในปัจจุบันกาล

สัตว์ทั้งหลายก็ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันโดยธาตุเทียว

คือ สัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว ย่อมคบค้ากัน

ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว

สัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี ย่อมคบค้ากัน

ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

เล่ม ๒ - หน้าที่ 440 หีนาธิมุตติสูตร

DAO
10-30-2008, 10:17 AM
งานที่ควรทำก่อน


ผู้ใดมุ่งจะทำงานที่ควรทำก่อน ไพล่ไปทำในภายหลัง

ผู้นั้นย่อมพลาดจากฐานะ อันนำมาซึ่งความสุข

และย่อมเดือดร้อนในภายหลัง.

งานใดควรทำ ก็พึงพูดถึงแต่งานนั้นเถิด

งานใดไม่ควรทำ ก็ไม่ควรพูดถึงงานนั้น

คนไม่ทำมีแต่พูด บัณฑิตทั้งหลายก็รู้ทัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา

เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 319 หาริตเถรคาถา

DAO
10-30-2008, 10:19 AM
ควรจะเศร้าโศกถึงตน




ถ้าบุคุคลจะพึงเศร้าโศก ถึงความตาย

อันจะไม่เกิดมีแก่สัตว์ ผู้เศร้าโศกนั้น

ก็ควรจะเศร้าโศกถึงตน

ซึ่งจะต้องตกไปสู่อำนาจของมัจจุราชทุกเมื่อ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก

เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 568 อนนุโสจิยชาดก

DAO
10-30-2008, 10:19 AM
ตนแลเป็นที่พึ่งของตน


อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ โก หิ นาโถ ปโร สิ

ยา อตฺตนา หิ สุทนฺเตน นาถํ ลภติ ทุลฺลภํ.

ตนแลเป็นที่พึ่งของตน. บุคคลอื่นใครเล่า พึง

เป็นที่พึ่งได้ เพราะบุคคล มีตนฝึกฝนดีแล้ว ย่อมได้ที่

พึ่ง ที่บุคคลได้โดยยาก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท

เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 208

DAO
10-30-2008, 10:20 AM
ละอกุศล ทำกุศล


บุคคลผู้มีปัญญา ละกายทุจริต วจี-

ทุจริต มโนทุจริต และไม่กระทำอกุศล-

กรรมอย่างอื่นใด อันประกอบด้วยโทษ

กระทำแต่กุศลกรรมเป็นอันมาก เมื่อตาย

ไปย่อมเข้าถึงสวรรค์.

อตปนียสูตร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก

เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 198

DAO
10-30-2008, 10:21 AM
ที่พึ่งอันสูงสุด


ผู้ใดถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์

เป็นสรณะ ผู้นั้นย่อมเห็นอริยสัจ ๔ ด้วยปัญญาอัน

ชอบ คือเห็นทุกข์ ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ และ

อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ซึ่งให้ถึงความสงบ

ทุกข์ นั่นแลเป็นสรณะอันเกษม นั่นเป็นสรณะสูงสุด

ผู้อาศัยสรณะนี้ ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวง ดังนี้.


พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต

เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 331

DAO
10-30-2008, 10:21 AM
ปัญญาเป็นแสงสว่างอันประเสริฐ


[๒๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ความรักเสมอด้วยตนไม่มี ทรัพย์

เสมอด้วยข้าวเปลือกย่อมไม่มี แสงสว่าง

เสมอด้วยปัญญาย่อมไม่มี ฝนต่างหากเป็น

สระยอดเยี่ยม

ข้อความบางตอนจาก..

นัตถิปุตตสมสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 80

DAO
10-30-2008, 10:22 AM
รัตนประเสริฐสูงสุด


ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างใดอย่างหนึ่ง

ในโลกนี้หรือในโลกอื่น

หรือรัตนะใดอันประณีตในสวรรค์

ทรัพย์และรัตนะนั้นเสมอด้วยพระตถาคตไม่มีเลย

พุทธรัตนะแม้นี้ เป็นรัตนะอันประณีต

ด้วยสัจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้


ข้อความบางตอนจาก... รัตนสูตร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต

เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 2

DAO
10-30-2008, 10:23 AM
บุคคลพึงทำลายมานะเสีย


ไม่ควรทำมานะในมารดา บิดา พี่ชายและในอาจารย์เป็นที่ ๔

พึงมีความเคารพในบุคคลเหล่านั้น

พึงยำเกรงบุคคลเหล่านั้น

บูชาบุคคลเหล่านั้นด้วยดีแล้ว จึงเป็นการดี

บุคคลพึงทำลายมานะเสีย

ไม่ควรมีความกระด้างในพระอรหันต์ผู้เย็นสนิท

ผู้ทำกิจเสร็จแล้ว หาอาสวะมิได้

ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เพราะอนุสัยนั้น.


ข้อความบางตอนจาก ... มานัตถัทธสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 284

DAO
10-30-2008, 10:23 AM
เราไม่ควรทำความโกรธในผู้มีคุณ




เมื่อผู้ทำความผิดมีคุณ

เราไม่ควรทำความโกรธในผู้มีคุณ.

เมื่อไม่มีคุณควรแสดงความ สงสารเป็นพิเศษ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก

เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 610

DAO
10-30-2008, 10:25 AM
ความโกรธ ย่อมย่ำยีคนลามก


ขอความโกรธ จงอยู่ในอำนาจของท่านทั้งหลาย

ขอความเสื่อมคลายในมิตรธรรม

อย่าได้เกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย

ท่านทั้งหลายอย่าได้ติเตียนผู้ที่ไม่ควรติเตียน

และอย่าได้พูดคำส่อเสียดเลย

ก็ความโกรธเปรียบปานดังภูเขา ย่อมย่ำยีคนลามก.

ข้อความบางตอนจาก... อัจจยสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 524

DAO
10-30-2008, 10:26 AM
อย่าได้กล่าวคำหยาบ


" เธออย่าได้กล่าวคำหยาบกะใคร ๆ

ชนเหล่าอื่นถูกเธอว่าแล้ว จะพึงตอบเธอ

เพราะการกล่าวแข่งขันกันให้เกิดทุกข์

อาชญาตอบพึงถูกต้องเธอ

ผิเธออาจยังตนไม่ให้หวั่นไหวได้

ดังกังสดาลที่ถูกกำจัดแล้วไซร้

เธอนั่นย่อมบรรลุพระนิพพาน

การกล่าวแข่งขันกัน ย่อมไม่มีแก่เธอ."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท
เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 83

DAO
10-30-2008, 10:27 AM
ทุคติมีอวิชชาเป็นเหตุ


ทุคติอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้และในโลกหน้า

ทั้งหมดมีอวิชชาเป็นมูลอันความปรารถนาและความโลภก่อขึ้น

ก็เพราะเหตุที่บุคคลเป็นผู้มีความปรารถนาลามก

ไม่มีหิริ ไม่เอื้อเฟื้อ

ฉะนั้น จึงย่อมประสบบาป ต้องไปสู่อบาย เพราะบาปนั้น

เพราะเหตุนั้น ภิกษุสำรอกฉันทะ โลภะและอวิชชาได้

ให้วิชชาบังเกิดขึ้นอยู่ พึงละทุคติทั้งปวงเสียได้.

ข้อความบางตอนจาก .. วิชชาสูตร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก

เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 284

DAO
10-30-2008, 10:27 AM
จิตขุ่นมัวพาไปสู่ทุคติ


พระพุทธเจ้าทรงทราบบุคคลบางคน

ในโลกนี้ ผู้มีจิตขุ่นมัว ได้ทรงพยากรณ์

เนื้อความนี้แก่ภิกษุทั้งหลายในสำนักของ

พระองค์ว่า ถ้าในสมัยนี้ บุคคลนี้พึงทำ

กาละไซร้ เขาพึงเข้าถึงนรก เพราะจิต

ของเขาขุ่นมัว เขาเป็นอย่างนั้น เหมือน

ถูกนำมาทอดทิ้งไว้ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลาย

ย่อมไปสู่ทุคติ เพราะเหตุแห่งจิตขุ่นมัว

ข้อความบางตอนจาก .. ปุคคลสูตร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก

เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 135

DAO
10-30-2008, 10:28 AM
ผู้สันโดษไม่เศร้าโศก




ผู้ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่เป็นอดีต

ไม่บ่นถึงสิ่งที่เป็นอนาคต

ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยสิ่งเป็นปัจจุบัน

ท่านเรียกว่า ผู้สันโดษ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน

เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 400

DAO
10-30-2008, 10:29 AM
ไกลจากสมถและวิปัสสนา


ก็บุคคลบางพวก ย่อมประถ้อยคำกัน

เราย่อมไม่สรรเสริญบุคคลเหล่านั้นผู้มีปัญญา

น้อย ความเกี่ยวข้องด้วยการวิวาท เกิดจาก

คลองแห่งคำนั้น ๆ ย่อมข้องบุคคลเหล่านั้น

ไว้ เพราะบุคคลเหล่านั้นส่งจิตไปในที่ไกล

จากสมถะและวิปัสสนา.

ข้อความบางตอนจาก... ธรรมิกสูตร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต

เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 359

DAO
10-30-2008, 10:29 AM
ท่านมีเสบียงหรือยัง


"บัดนี้ ท่านเป็นผู้มีวัยอันชรานำเข้าไปแล้ว,

เป็นผู้เตรียมพร้อม เพื่อจะไป สำนักของพระยายม,

อนึ่ง แม้ที่พัก ในระหว่างหาง ของท่าน ก็ยังไม่มี,

อนึ่ง ถึงเสบียงทางของท่าน ก็หามีไม่, ท่านนั้นจงทำ

ที่พึ่งแก่ตน, จงรีบพยายาม จงเป็นบัณฑิต ท่านเป็น

ผู้มีมลทินอันกำจัดได้แล้ว ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน

จักไม่เข้าถึงชาติชราอีก."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท

เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 11

DAO
10-30-2008, 10:30 AM
การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง




การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง

ความยินดีในธรรม ชนะความยินดีทั้งปวง

รสแห่งธรรม ชนะรสทั้งปวง

ความสิ้นไปแห่งตัณหา ชนะทุกข์ทั้งปวง

DAO
10-30-2008, 10:30 AM
ย่อมคืนดีกัน


ผู้ใดรู้โทษที่ตนล่วงเกินแล้ว ๑

ผู้ใดรู้การแสดงโทษคืน ๑

คนทั้งสองนั้นย่อมพร้อมเพรียงกันยิ่งขึ้น

ความสนิทสนมของเขาย่อมไม่เสื่อมคลาย.

ผู้ใด เมื่อคนเหล่าอื่นล่วงเกินกัน

ตนเองสามารถจะเชื่อมให้สนิทสนมได้

ผู้นั้นแลชื่อว่าเป็นผู้ประเสริฐยิ่ง ผู้นำภาระไป ผู้ทรงธุระไว้.


ข้อความบางตอนจาก... กัสสปมันทิยชาดก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก

เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 450

DAO
10-30-2008, 10:41 AM
เมื่อสัตว์ทั้งหลายต่างพากันหลับ



ภิกษุหนุ่มรูปใดแล เพียรพยายามอยู่ในพระพุทธศาสนา

ก็เมื่อสัตว์ทั้งหลายนอกนี้ พากันหลับแล้ว

ภิกษุหนุ่มนั้นตื่นอยู่ ชีวิตของเธอไม่ไร้ประโยชน์

เพราะฉะนั้น

บุคคลผู้มีปัญญา ระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

พึงประกอบศรัทธา ศีล ความเลื่อมใส

และการเห็นธรรมเนือง ๆ เถิด.

ธรรมปาลเถรคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา

เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 197

DAO
10-30-2008, 10:42 AM
เป็นผู้ให้แสงสว่าง เป็นผู้ให้ดวงตา


ท่านจงดูปัญญานี้ ของพระตถาคตเจ้าทั้งหลาย

ดังไฟอันรุ่งเรืองในเวลาพลบค่ำ

พระตถาคตเหล่าใด

ย่อมกำจัดความสงสัยของเวไนยสัตว์ทั้งหลาย

ผู้มาเฝ้าถึงสำนักของพระองค์

พระตถาคตเหล่านั้น ย่อมชื่อว่า

เป็นผู้ให้แสงสว่าง เป็นผู้ให้ดวงตา.


กังขาเรวตเถรคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา

เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 63

DAO
10-30-2008, 10:45 AM
ไม่คุ้มครองทวาร ย่อมอยู่เป็นทุกข์


ภิกษุใดไม่คุ้มครองทวารเหล่านี้ คือ

ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ

ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ และไม่สำรวมในอินทรีย์ทั้งหลาย

ภิกษุนั้นย่อมถึงความทุกข์ คือ ทุกข์กาย ทุกข์ใจ

ภิกษุเช่นนั้นมีกายถูกไฟ คือ ความทุกข์แผดเผาอยู่

มีใจถูกไฟ คือ ความทุกข์แผดเผาอยู่

ย่อมอยู่เป็นทุกข์ทั้งกลางวันกลางคืน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔

หน้าที่ 184 ปฐมภิกขุสูตร

DAO
10-30-2008, 10:45 AM
ย่อมเหี่ยวแห้งไปด้วยอำนาจของชรา


ปาตผุลฺลโกกนทสูริยาโลเกน ตชฺชียเต

เอว มนุสฺสตฺตคตา สตฺตา ชราภิเวเคน มิลายนฺติ

ดอกบัวบานในเวลาเช้า

ถูกแสงอาทิตย์แผดเผาย่อมเหี่ยวแห้ง

สัตว์ทั้งหลายผู้ถึงความเป็นมนุษย์ก็เหมือนอย่างนั้น

ย่อมเหี่ยวแห้งไปด้วยอำนาจของชรา ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖

หน้าที่ 418 สุภาษิตสูตร

DAO
10-30-2008, 10:48 AM
ผู้ไม่สำรวมย่อมทิ่มแทงชนเหล่าอื่นด้วยวาจา


"ชนทั้งหลาย ผู้ไม่สำรวมแล้ว

ย่อมทิ่มแทงชนเหล่าอื่นด้วยวาจา

เหมือนเหล่าทหารที่เป็นข้าศึก

ทิ่มแทงกุญชรตัวเข้าสงครามด้วยลูกศร ฉะนั้น

ภิกษุผู้มีจิตไม่ประทุษร้าย

ฟังคำอันหยาบคายที่ชนทั้งหลาย

เปล่งขึ้นแล้ว พึงอดกลั้น"

ข้อความตอนหนึ่งจาก ... สุนทรีสูตร

ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 453

DAO
10-30-2008, 10:52 AM
เมื่อนรชนถูกความโกรธครอบงำ ย่อมมืดตื้อทันที


คนโกรธย่อมไม่รู้อรรถ

คนโกรธย่อมไม่เห็นธรรม

เมื่อนรชนถูกความโกรธครอบงำ ย่อมมืดตื้อทันที

ความโกรธก่อให้เกิดความพินาศ

ความโกรธทำให้จิตกำเริบ

ชนไม่รู้จักความโกรธซึ่งเป็นภัยเกิดในจิต ดังนี้.



ข้อความบางตอนจาก..

อรรถกถา พรหมชาลสูตร

ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 160

DAO
10-30-2008, 10:53 AM
เมื่อนรชนถูกความโลภครอบงำ ย่อมมืดตื้อทันที


คนโลภย่อมไม่รู้อรรถ

คนโลภย่อมไม่เห็นธรรม

เมื่อนรชนถูกความโลภครอบงำ ย่อมมืดตื้อทันที

ความโลภก่อให้เกิดความพินาศ

ความโลภทำให้จิตอยากได้

ชนไม่รู้จักความโลภนั้นซึ่งเป็นภัยเกิดในภายใน ดังนี้.


ข้อความบางตอนจาก…

อรรถกถา พรหมชาลสูตร

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ -

หน้าที่ 163

DAO
10-30-2008, 10:53 AM
ชนเหล่าใดดำเนินไปตามมรรคา


ชนเหล่าใดดำเนินไปตามมรรคา

ที่พระตถาคตเจ้าทรงประกาศแล้ว

สำรวมในศีลสังวรที่พระตถาคตเจ้าผู้มีจักษุ

เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ ทรงแสดงแล้ว

คุ้มครองอินทรีย์ มีสติทุกเมื่อ

ไม่ชุ่มด้วยกิเลส

ตัดอนุสัยทั้งปวงอันแล่นไปตามกระแสบ่วงมาร

ชนเหล่านั้นแล บรรลุความสิ้นอาสวะ

ถึงฝั่ง คือ นิพพานในโลกแล้ว.


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย อัฏฐกนิบาต

เล่ม ๔ - หน้าที่ ๔๕๔

DAO
10-30-2008, 10:58 AM
การประพฤติพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยมในโลก


คนผู้ถูกอวิชชาหุ้มห่อไว้ พรากจากสัทธรรม

จักเสวยแต่สงสาร คือ ชาติและมรณะสิ้นกาลนาน

ส่วนชนเหล่าใดได้อัตภาพเป็นมนุษย์แล้ว

เมื่อพระตถาคตประกาศสัทธรรม

ได้กระทำแล้ว จักกระทำ หรือ กระทำอยู่

ตามพระดำรัสของพระศาสดา

ชนเหล่านั้นชื่อว่าได้ประสบขณะ คือ

การประพฤติพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยมในโลก



พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย อัฏฐกนิบาต

เล่ม ๔ - หน้าที่ ๔๕๔

DAO
10-30-2008, 11:06 AM
ขณะอย่าล่วงเลยท่านทั้งหลายไปเสีย


ขณะอย่าล่วงเลยท่านทั้งหลายไปเสีย

เพราะบุคคลที่ปล่อยเวลาให้ล่วงไป

พากันยัดเยียดในนรก

ก็ย่อมเศร้าโศก

หากเขาจะไม่สำเร็จอริยมรรค

อันเป็นธรรมตรงต่อสัทธรรมในโลกนี้ได้

เขาผู้มีประโยชน์อันล่วงเสียแล้ว

จักเดือดร้อนสิ้นกาลนาน



พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย อัฏฐกนิบาต

เล่ม ๔ - หน้าที่ ๔๕๔

DAO
10-30-2008, 11:11 AM
ชนผู้ใคร่ประโยชน์ จึงควรพยายามในกาล


ในกาลบางครั้งบางคราว

การที่พระตถาคตเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ๑

การได้กำเนิดเป็นมนุษย์ ๑

การแสดงสัทธรรม ๑

ที่จะพร้อมกันเข้าได้ หาได้ยากในโลก

ชนผู้ใคร่ประโยชน์ จึงควรพยายามในกาล

ดังกล่าวมานั้น ที่ตนพอจะรู้จะเข้าใจสัทธรรมได้



พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย อัฏฐกนิบาต

เล่ม ๔ - หน้าที่ ๔๕๔

DAO
10-30-2008, 11:12 AM
ทำไมจึงไม่แสวงหาประทีป


เมื่อโลกสันนิวาส อันไฟ

(ราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้น)

ลุกโพลงอยู่เป็นนิตย์

พวกเธอทั้งหลาย อันความมืด

คือ "อวิชชา" ปกคลุมแล้ว

ทำไมจึงไม่แสวงหา "ประทีป"

(คือ ญาณ ปัญญา)

เพื่อขจัดความมืด คือ "อวิชชา" นั้นเสียเล่า

DAO
10-30-2008, 11:14 AM
ภิกษุถูกตักเตือนด้วยวาจา




ภิกษุถูกตักเตือนด้วยวาจา

พึงเป็นผู้มีสติ ชอบใจ

พึงทำลายความเป็นผู้กระด้างในสพรหมจารีย์ทั้งหลาย

พึงกล่าววาจาอันเป็นกุศล

ไม่พึงเปล่งวาจาเกินขอบเขต

ไม่พึงคิดเพื่อธรรมะคือการว่ากล่าวซึ่งชน

ขุททกนิกาย มหานิเทศ สารีปุตตสุตตนิเทศที่ ๑๖ ข้อ ๙๗๔


ธรรมเตือนใจวันที่ : 18-11-2550

DAO
10-30-2008, 11:14 AM
บุคคลเริ่มตั้งความเพียรในกุศลธรรม


เมื่อบุคคลเริ่มตั้งความเพียรอันใดอยู่

อกุศลธรรมทั้งหลายย่อมเจริญยิ่ง

กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเสื่อมไป

เรากล่าวการเริ่มตั้งความเพียร

เห็นปานนั้นว่า ไม่ควรเริ่มตั้ง

เมื่อบุคคลเริ่มตั้งความเพียรอันใดอยู่

อกุศลธรรมทั้งหลายย่อมเสื่อมไป

กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเจริญยิ่ง

เรากล่าวการเริ่มตั้งความเพียร

เห็นปานนั้น ว่าควรเริ่มตั้ง


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย

ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ วัชชิยสูตร - หน้าที่ 309

DAO
10-30-2008, 11:15 AM
สัมมาปฏิปทาโดยแท้เพราะเป็นฝ่ายวิวัฏฏะ


สิ่งใดสิ่งหนึ่ง

อันบุคคลปรารถนาวิวัฏฏะ คือ พระนิพพาน

ปฏิบัติโดยที่สุดถวายทาน

เพียงข้าวยาคูกระบวยหนึ่งก็ดี

เพียงถวายใบไม้กำมือหนึ่งก็ดี

สิ่งทั้งหมดนั้น จัดเป็นสัมมาปฏิปทาโดยแท้

เพราะเป็นฝ่ายวิวัฏฏะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒

อรรถกถาปฏิปทาสูตรที่ ๓ - หน้าที่ 36

DAO
10-30-2008, 11:16 AM
มิจฉาปฏิปทาเพราะถือวัฏฏะเป็นสำคัญ


สิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งบุคคลปรารถนาวัฏฏะ

กล่าวคือภพ ๓ ปฏิบัติ

โดยที่สุดอภิญญา ๕ หรือสมาบัติ ๘

สิ่งทั้งหมดเป็นไปในฝ่ายวัฏฏะ.

จัดเป็นมิจฉาปฏิปทาเพราะถือวัฏฏะเป็นสำคัญ



พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒

อรรถกถาปฏิปทาสูตรที่ ๓- หน้าที่ 36

DAO
10-30-2008, 11:16 AM
ช่างทองปัดเป่าสนิมทอง




พระศาสดาทรงแสดงธรรม ....

"ผู้มีปัญญา (ทำกุศลอยู่) คราวละน้อย ๆ ทุก ๆ ขณะ

โดยลำดับ พึงกำจัดมลทินของตนได้

เหมือนช่างทองปัดเป่าสนิมทองฉะนั้น."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท

เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่

DAO
10-30-2008, 11:17 AM
ฟังอยู่ด้วยดี เป็นผู้ไม่ประมาท




ก็แม้ฟังอยู่ด้วยดีอย่างนี้ เป็นผู้ไม่ประมาท

ด้วยการไม่อยู่ปราศจากสติ และมีปัญญาเครื่องสอดส่อง

ด้วยความเป็นผู้รู้สุภาษิตและทุภาษิตนั่นแล ย่อมได้ปัญญา

บุคคลนอกนี้ ย่อมไม่ได้ปัญญา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ส

DAO
10-30-2008, 11:17 AM
สัตบุรุษย่อมให้ทานอย่างสัตบุรุษ


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สัตบุรุษย่อมให้ทานอย่างสัตบุรุษอย่างไร

คือ สัตบุรุษในโลกนี้

ย่อมให้ทานโดยเคารพ

ทำความอ่อนน้อมให้ทาน

ให้ทานอย่างบริสุทธิ์

เป็นผู้มีความเห็นว่ามีผล จึงให้ทาน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล

สัตบุรุษชื่อว่าย่อมให้ทานอย่างสัตบุรุษ.

เทวทหวรรคที่ ๑ จูฬปุณณมสูตรที่ ๑๐

มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ ๑๘๙

DAO
10-30-2008, 11:18 AM
สัตบุรุษเป็นผู้มีความเห็นอย่างสัตบุรุษ


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สัตบุรุษเป็นผู้มีความเห็นอย่างสัตบุรุษอย่างไร

คือ สัตบุรุษในโลกนี้

เป็นผู้มีความเห็นอย่างนี้ว่า

ทานที่ให้แล้วมีผล

ยัญที่บูชาแล้วมีผล

สังเวยที่บวงสรวงแล้วมีผล

ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วมีอยู่

โลกนี้มี โลกอื่นมี

มารดามีคุณ บิดามีคุณ

สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี

สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ

ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้

โลกอื่นให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลกมีอยู่

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล

สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นอย่างสัตบุรุษ.



เทวทหวรรคที่ ๑ จูฬปุณณมสูตรที่ ๑๐

มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ ๑๘๙


ธรรมเตือนใจวันที่ : 13-11-2550

DAO
10-30-2008, 11:18 AM
สัตบุรุษเป็นผู้มีการงานอย่างสัตบุรุษ


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สัตบุรุษเป็นผู้มีการงานอย่างสัตบุรุษอย่างไร

คือ สัตบุรุษในโลกนี้

เป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาต

งดเว้นจากอทินนาทาน

งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล

สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีการงานอย่างสัตบุรุษ.

เทวทหวรรคที่ ๑ จูฬปุณณมสูตรที่ ๑๐

มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ ๑๘๙

DAO
10-30-2008, 11:19 AM
สัตบุรุษเป็นผู้มีถ้อยคำอย่างสัตบุรุษ


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สัตบุรุษเป็นผู้มีถ้อยคำอย่างสัตบุรุษอย่างไร

คือ สัตบุรุษในโลกนี้

เป็นผู้งดเว้นจากการพูดเท็จ

งดเว้นจากคำพูดส่อเสียด

งดเว้นจากคำหยาบ

งดเว้นจากการเจรจาเพ้อเจ้อ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล

สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีถ้อยคำอย่างสัตบุรุษ.

เทวทหวรรคที่ ๑ จูฬปุณณมสูตรที่ ๑๐

มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ ๑๘๙

DAO
10-30-2008, 11:20 AM
สัตบุรุษเป็นผู้มีความรู้อย่างสัตบุรุษ


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สัตบุรุษเป็นผู้มีความรู้อย่างสัตบุรุษอย่างไร

คือ สัตบุรุษในโลกนี้

ย่อมรู้เพื่อไม่เบียดเบียนตนเอง

รู้เพื่อไม่เบียดเบียนผู้อื่น

รู้เพื่อไม่เบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล

สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีความรู้อย่างสัตบุรุษ.

เทวทหวรรคที่ ๑ จูฬปุณณมสูตรที่ ๑๐

มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ ๑๘๙

DAO
10-30-2008, 11:20 AM
สัตบุรุษเป็นผู้มีความคิดอย่างสัตบุรุษ


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สัตบุรุษเป็นผู้มีความคิดอย่างสัตบุรุษอย่างไร

คือ สัตบุรุษในโลกนี้

ย่อมไม่คิดเบียดเบียนตนเอง

ไม่คิดเบียดเบียนผู้อื่น

ไม่คิดเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล

สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีความคิดอย่างสัตบุรุษ.

เทวทหวรรคที่ ๑ จูฬปุณณมสูตรที่ ๑๐

มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ ๑๘๙

DAO
10-30-2008, 11:21 AM
สัตบุรุษเป็นผู้ภักดีต่อสัตบุรุษ


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สัตบุรุษเป็นผู้ภักดีต่อสัตบุรุษอย่างไร

คือสัตบุรุษในโลกนี้

มีสมณพราหมณ์ชนิดที่มีศรัทธา

มีหิริ มีโอตตัปปะ มีสุตะมาก มีความเพียรปรารภแล้ว

มีสติตั้งมั่น มีปัญญา เป็นมิตร เป็นสหาย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล

สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้ภักดีต่อสัตบุรุษ.

เทวทหวรรคที่ ๑ จูฬปุณณมสูตรที่ ๑๐

มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ ๑๘๙

DAO
10-30-2008, 11:22 AM
สัตบุรุษเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของสัตบุรุษ


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สัตบุรุษเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของสัตบุรุษอย่างไร

คือ สัตบุรุษในโลกนี้

เป็นผู้มีศรัทธา มีหิริ มีโอตตัปปะ

มีสุตะมาก มีความเพียรปรารภแล้ว

มีสติตั้งมั่น มีปัญญา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล

สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของสัตบุรุษ.

เทวทหวรรคที่ ๑ จูฬปุณณมสูตรที่ ๑๐

มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ ๑๘๙

DAO
10-30-2008, 11:23 AM
สัตบุรุษย่อมเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของสัตบุรุษ


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สัตบุรุษย่อมเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของสัตบุรุษ

ภักดีต่อสัตบุรุษ

มีความคิดอย่างสัตบุรุษ

มีความรู้อย่างสัตบุรุษ

มีถ้อยคำอย่างสัตบุรุษ

มีการงานอย่างสัตบุรุษ

มีความเห็นอย่างสัตบุรุษ

ย่อมให้ทานอย่างสัตบุรุษ.

เทวทหวรรคที่ ๑ จูฬปุณณมสูตรที่ ๑๐

มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ ๑๘๙

DAO
10-30-2008, 12:39 PM
บุคคลพึงรีบขวนขวายในความดี




บุคคลพึงรีบขวนขวายในความดี

พึงห้ามจิตเสียจากบาป

เพราะว่าเมื่อบุคคลทำความดีช้าอยู่

DAO
10-30-2008, 12:40 PM
พึงอนุโมทนาบุญของสัตว์ทั้งปวง


ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 642

พึงปรารภความเพียรในประโยชน์ของสัตว์นั้น ๆ

พึงอดกลั้นสิ่งทั้งปวงมีสิ่งที่น่าปรารถนาและ

ไม่น่าปรารถนาเป็นต้น.

พึงไม่พูดผิดความจริง.

พึงแผ่เมตตาและกรุณาแก่สัตว์ทั้งปวงโดยไม่เจาะจง.

การเกิดขึ้นแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งจะพึงมีแก่สัตว์ทั้งหลาย

พึงหวังการเกิดขึ้นแห่งทุกข์ทั้งปวงนั้นไว้ในตน.

อนึ่งพึงอนุโมทนาบุญของสัตว์ทั้งปวง

DAO
10-30-2008, 12:41 PM
ทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตไม่เที่ยง


ชีวิต คือ อนัตตา ทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตไม่เที่ยง

เกิดมาแล้วก็ตายจากโลกนี้ไป ชีวิตแล้วชีวิตเล่า

ไม่ว่าจะเป็นสัตว์เดียรัจฉาน คน หรือภพภูมิอื่น ๆ ก็ตาม

วนเวียนอยู่ในสังสารวัฏฏ์อันยาวนานนี้ไม่รู้อีกเท่าไร?


ดังนั้น หากเราไม่เริ่มศึกษาพระธรรมให้เข้าใจ

เราก็จะไม่มีวันรู้ความจริงของชีวิต ก็ตายไปด้วยความไม่รู้

สะสมความไม่รู้อีก ชาติแล้วชาติเล่า

ไม่รู้ว่า จะได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ได้ฟังธรรมอีกหรือไม่ ?

DAO
10-30-2008, 12:42 PM
ให้พรตัวเองบ้างดีไหม


ใกล้ปีใหม่แล้ว โดยมากทุกท่านก็ให้พรคนอื่น

ให้พรตัวเองบ้างดีไหม

พร คือ ความตั้งใจที่จะทำกุศล

และกุศลก็อย่าได้คิดเรื่องของทานอย่างเดียว

เพราะ กุศลควรจะเป็นทุกประการ

ไม่ใช่แต่เฉพาะในเรื่องของทานเท่านั้น

ถ้าให้พรแก่ตัวเองบ้าง คือ ว่า..

เริ่มพิจารณาจิตของตนเอง

DAO
10-30-2008, 12:42 PM
สัตว์ผู้เกิดแล้วทั้งหลาย เป็นผู้ใคร่สุข


สัตว์ผู้เกิดแล้วทั้งหลาย เป็นผู้ใคร่สุข

บุคคลใดแสวงหาสุขเพื่อตน

แต่เบียดเบียนสัตว์อื่นด้วยท่อนไม้

บุคคลนั้นละไปแล้วย่อมไม่ได้สุข.

สัตว์ผู้เกิดแล้วทั้งหลาย เป็นผู้ใคร่สุข

บุคคลใดแสวงหาสุขเพื่อตน

ไม่เบียดเบียน (ผู้อื่น) ด้วยท่อนไม้

บุคคลนั้นละไปแล้ว ย่อมได้สุข.

DAO
10-30-2008, 12:43 PM
ธรรมทาน ย่อมชนะทานทั้งปวง


สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ

สพฺพํ รสํ ธมฺมรโส ชินาติ

สพฺพํ รตึ ธมฺมรตี ชินาติ

ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺขํ ชนาติ.

" ธรรมทาน ย่อมชนะทานทั้งปวง,

รสแห่งธรรม ย่อมชนะรสทั้งปวง,

ความยินดีในธรรม ย่อมชนะความยินดีทั้งปวง,

ความสิ้นไปแห่งตัณหา ย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง."

DAO
10-30-2008, 12:44 PM
ไม่ควรทำบาป




ไม่ควรทำบาปด้วยวาจา ด้วยใจ และด้วยกาย

อย่างไหนๆในโลกทั้งปวง

ควรละกามทั้งหลายเสีย

แล้วมีสติ มีสัมปชัญญะ

ไม่ควรเสพทุกข์ อันประกอบด้วยโทษ ไม่เป็นประโยชน์

DAO
10-30-2008, 12:46 PM
ผู้ใดไม่ประมาท




จงเริ่มพยายามขวนขวายในพระพุทธศาสนา

จงกำจัดเสนาของมัจจุมาร

เหมือนกุญชรช้างประเสริฐ ย่ำยีเรือนไม้อ้อฉะนั้น

ผู้ใดไม่ประมาท เห็นแจ้งในพระธรรมวินัยนี้

ผู้นั้นจักละชาติสงสาร จักทำที่สุดทุกข์ได้

DAO
10-30-2008, 12:46 PM
ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา


เมื่อใด

บัณฑิตย่อมเห็นด้วยปัญญาว่า

ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

เมื่อนั้น

ย่อมหน่ายในทุกข์

ความหน่ายในทุกข์

นั่นเป็น

ทางแห่งความหมดจด.

DAO
10-30-2008, 12:47 PM
สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์


เมื่อใด

บัณฑิตย่อมเห็นด้วยปัญญาว่า

สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์

เมื่อนั้นย่อมหน่ายในทุกข์

ความหน่ายในทุกข์

นั่นเป็น

ทางแห่งความหมดจด.

DAO
10-30-2008, 12:48 PM
สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง


เมื่อใด

บัณฑิตย่อมเห็นด้วยปัญญาว่า

สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง

เมื่อนั้น

ย่อมหน่ายในทุกข์

ความหน่ายในทุกข์

นั่นเป็น

ทางแห่งความหมดจด.

DAO
10-30-2008, 12:48 PM
ไม่ใช่มิตรแท้


บัณฑิตผู้รู้แจ้ง

มิตร ๔ จำพวกเหล่านี้คือ

มิตรปอกลอก ๑

มิตรดีแต่พูด ๑

มิตรหัวประจบ ๑

มิตรชักชวนในทางฉิบหาย ๑

ว่าไม่ใช่มิตรแท้

พึงเว้นเสียให้ห่างไกล

DAO
10-30-2008, 12:49 PM
พึงกำจัดมลทินของตนได้


ผู้มีปัญญา

ทำกุศลอยู่คราวละน้อยๆ

ทุกๆขณะโดยลำดับ

พึงกำจัด

มลทินของตนได้

เหมือนช่างทอง

ปัดเป่าสนิมทองฉะนั้น

DAO
10-30-2008, 12:50 PM
ก่อทุกข์ในผู้อื่นย่อมไม่พ้นจากเวร


ผู้ใดย่อมปรารถนา

สุขเพื่อตน

เพราะก่อทุกข์ในผู้อื่น

ผู้นั้น

เป็นผู้ระคนด้วยเครื่องระคน

คือ

เวร

ย่อมไม่พ้นจากเวรได้

DAO
10-30-2008, 12:51 PM
บุคคลผู้ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ


บุคคลผู้ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ

กระทำกรรมอันลามก

ด้วยอำนาจความอยากในรส

ย่อมจมลงในอบายทั้ง ๔

ส่วนชนเหล่าใดย่อมรู้จักประมาณในโภชนะ

ชนเหล่านั้นย่อมไม่จมลงทั้งในทิฏฐธรรม

(ความเป็นไปในปัจจุบัน ภพนี้)

ทั้งในสัมปรายภพ

DAO
10-30-2008, 12:51 PM
เป็นผู้มีอัธยาศัยแน่วแน่มั่นคง


นรชนผู้ใด

มีจิตไม่ท้อแท้

มีใจไม่หดหู่

(เป็นผู้มีอัธยาศัยแน่วแน่มั่นคง)

บำเพ็ญกุศลธรรม

เพื่อบรรลุความเกษมจากโยคะ

นรชนผู้นั้น

พึงบรรลุความสิ้นสังโยชน์ทุกอย่างโดยลำดับ

DAO
10-30-2008, 12:58 PM
โทษของทุศีลกรรมทั้ง ๕


พระผู้มีพระภาคทรงตรัสโทษของทุศีลกรรมทั้ง ๕

โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า

ขึ้นชื่อว่ากรรมคือ

การยังสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป

ย่อมทำสัตว์ให้เกิดในนรก

ในกำเนิดเดรัจฉาน

ในเปตวิสัย และ ในอสุรกาย

ครั้นมาเกิดในมนุษย์เล่า ก็ทำให้เป็นคนมีอายุสั้น

DAO
10-30-2008, 12:58 PM
การใช้โภคทรัพย์โดยทางที่ควร


อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้

เลี้ยงตน เลี้ยงมารดาบิดา บุตร ภริยา

บ่าวไพร่ คนอาศัย เพื่อนฝูง ให้เป็นสุขเอิบอิ่มสำราญดี

ด้วยโภคทรัพย์ที่ได้มาด้วยความหมั่นขยัน

ที่สะสมขึ้นด้วยกำลังแขนที่ต้องทำงานจนเหงื่อไหล

ที่ชอบธรรม ที่ได้มาโดยธรรม

เป็นการชอบแก่เหตุแล้ว เป็นการสมควรแล้ว

เป็นการใช้โภคทรัพย์โดยทางที่ควรแล้ว

DAO
10-30-2008, 12:59 PM
สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้รับผลของกรรม


ภิกษุทั้งหลาย

"ผู้มีกายกรรมคด วจีกรรมคด มโนกรรมคด

ย่อมกระเสือกกระสนไปสู่นรก หรือเดรัจฉาน

ย่อมอุบัติตามกรรมที่ทำ

ส่วนผู้ใด มีกายกรรมตรง วจีกรรมตรง มโนกรรมตรง

การอุบัติของเขาย่อมไปสู่สกุล ของกษัตริย์มหาศาล

พราหมณ์มหาศาล คฤหบดีมหาศาล

มีสุขโดยส่วนเดียว สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้รับผลของกรรมดังนี้ "

DAO
10-30-2008, 01:22 PM
เป็นอุบาสกรัตนะ


สมบัติอย่างไร

ศีลสมบัติและอาชีวสมบัติของอุบาสก

นั้นนั่นแหละเป็นสมบัติของอุบาสก ได้แก่ธรรม ๕ ประการ

เป็นผู้มีศรัทธา ๑ เป็นผู้มีศีล ๑

ไม่เป็นผู้ถือมงคลตื่นข่าว ๑ เป็นผู้เชื่อกรรม ๑

ไม่แสวงหาทักขิไณยบุคคลนอกพระศาสนา

ทำบุญในพระศาสนานี้ ๑

อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นอุบาสกรัตนะ

DAO
10-30-2008, 01:23 PM
วิบัติของอุบาสก


วิบัติอย่างไร

ศีลวิบัติ และอาชีววิบัตินั่นแหละเป็นวิบัติของอุบาสก

มี ๕ อย่างคือ

เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ เป็นคนทุศีล ๑

เป็นผู้ถือมงคลตื่นข่าว ๑

เชื่อมงคล ไม่เชื่อกรรม ๑

แสวงหาทักขิไณยบุคคลนอกพระศาสนา

ทำบุญในทักขิไณยบุคคลเหล่านั้น ๑

DAO
10-30-2008, 01:38 PM
เลี้ยงชีพโดยธรรมสม่ำเสมอ


อาชีพอย่างไร คือ ละการค้าขายผิดศีลธรรม ๕ อย่าง

เลี้ยงชีพโดยธรรมสม่ำเสมอ

การค้าขาย ๕ อย่างเหล่านี้อุบาสกไม่ควรทำ

๕ อย่างอะไรบ้าง

การค้าขายศัสตรา (อาวุธ )

การค้าขายสัตว์ การค้าขายเนื้อสัตว์

การค้าขายน้ำเมา การค้าขายยาพิษ

การค้าขาย ๕ อย่างเหล่านี้แล อุบาสกไม่ควรทำ

DAO
10-30-2008, 01:39 PM
อะไรคือศีลของอุบาสก


อะไรคือศีลของอุบาสกนั้น

เวรมณี ๕ ข้อ เป็นศีลของอุบาสก

เพราะเหตุที่อุบาสกเป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาต

จากอทินนาทาน

จากกาเมสุมิจฉาจาร

จากมุสาวาท

จากน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อุบาสกชื่อว่าเป็นผู้มีศีล

DAO
10-30-2008, 01:40 PM
เพราะเหตุไรจึงเรียกว่าอุบาสก


เพราะเหตุไรจึงเรียกว่าอุบาสก

เพราะนั่งใกล้พระรัตนตรัย

จริงอยู่อุบาสกนั้น

ได้ชื่อว่าอุบาสกด้วยอรรถว่า

นั่งใกล้พระพุทธเจ้า

นั่งใกล้พระธรรม

นั่งใกล้พระสงฆ์

ก็เป็นอุบาสกเหมือนกัน

noppakorn
11-02-2008, 05:03 PM
สวัสดีครับคุณดาว

อนุโมทนาสาธุทำนุทาน
บารมีการทานธรรมงามหนักหนา
ย่อมสร้างเสริมเติมหนุนพูนบุญญา
นำธรรมาเตือนใจชนหนทางดี

กำแพงบุญหนุนสร้างไว้ไม่ทุกขา
สร้างเสริมพาให้ผู้คนชนสุขี
เติมบุญญาให้ตนเป็นผลบารมี
ย่อมสุขศรีมีทุนรอนตอนอนาคตกาล.......

สาธุ ๆๆ อนุโมทามิ

piangfan
11-05-2008, 08:07 PM
โมทนา สาธุ ค่ะ อาจารย์ดาว

ตะวันส่องแสงธรรมนำ มิตรภาพไร้พรมแดน

DAO
01-06-2009, 12:09 PM
ใครเป็นอุบาสก

เพราะเหตุไรจึงเรียกว่าอุบาสก

อะไรคือศีลของอุบาสก

อาชีพอย่างไร วิบัติอย่างไร สมบัติอย่างไร

คฤหัสถ์คนใดคนหนึ่งที่ถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง

เพราะเหตุที่อุบาสกเป็นผู้ถึง

พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ถึงพระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่ง

ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ชื่อว่าอุบาสก

DAO
01-06-2009, 12:39 PM
อริยทรัพย์ ๗

สัทธาธนัง ทรัพย์คือศรัทธา

สีลธนัง ทรัพย์คือศีล

หิริธนัง ทรัพย์คือหิริ

โอตตัปปะธนัง ทรัพย์คือโอตตัปปะ

สุตธนัง ทรัพย์คือสุตะ

จาคธนัง ทรัพย์คือจาคะ

ปัญญาธนัง ทรัพย์คือปัญญา

DAO
01-06-2009, 12:41 PM
คนใดปฏิบัติชอบ

ในมารดาในบิดา

ในพระตถาคตสัมพุทธเจ้าและ

ในสาวกของพระตถาคต

คนเช่นนั้นย่อมได้บุญมากแท้

เพราะความประพฤติเป็นธรรมในมารดาบิดาเป็นต้นนั้น

ในโลกนี้บัณฑิตทั้งหลายก็สรรเสริญเขา

เขาละโลกนี้แล้วยังบรรเทิงในสวรรค์

DAO
01-06-2009, 12:42 PM
คนใดปฏิบัติผิด

ในมารดาและในบิดา

ในพระตถาคตสัมพุทธเจ้าและ

ในสาวกของพระตถาคต

คนเช่นนั้นย่อมได้สิ่งอันไม่เป็นบุญมาก

เพราะความประพฤติไม่เป็นธรรมในมารดาบิดาเป็นต้นนั้น

ในโลกนี้บัณฑิตทั้งหลายก็ติเตียนเขา

เขาตายไปแล้วยังไปอบายด้วย

DAO
01-06-2009, 12:44 PM
โมหะยังสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ให้เกิด

โมหะยังจิตให้กำเริบ

โมหะเป็นภัยเกิดขึ้นในภายใน

พาลชนย่อมไม่รู้สึกภัยนั้น

คนผู้หลงแล้วย่อมไม่รู้อรรถ

คนผู้หลงแล้วย่อมไม่เห็นธรรม

เมื่อใดความหลงครอบงำนรชน

เมื่อนั้นนรชนนั้นย่อมมีความมืดตื้อ

DAO
01-06-2009, 12:53 PM
โทสะยังสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ให้เกิด

โทสะยังจิตให้กำเริบ

โทสะเป็นภัยเกิดขึ้นในภายใน

พาลชนย่อมไม่รู้สึกภัยนั้น

คนผู้โกรธแล้วย่อมไม่รู้อรรถ

คนผู้โกรธแล้วย่อมไม่เห็นธรรม

เมื่อใดความโกรธครอบงำนรชน

เมื่อนั้นนรชนนั้นย่อมมีความมืดตื้อ

DAO
01-06-2009, 12:55 PM
โลภะยังสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ให้เกิด

โลภะยังจิตให้กำเริบ

โลภะเป็นภัยเกิดขึ้นในภายใน

พาลชนย่อมไม่รู้สึกภัยนั้น

คนผู้โลภแล้วย่อมไม่รู้อรรถ

คนผู้โลภแล้วย่อมไม่เห็นธรรม

เมื่อใดความโลภครอบงำนรชน

เมื่อนั้นนรชนนั้นย่อมมีความมืดตื้อ

DAO
01-06-2009, 12:57 PM
บุคคลที่ทำกรรมชั่วไว้ หนีไปแล้วในอากาศ

ก็ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้

หนีไปในท่ามกลางมหาสมุทร

ก็ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้

หนีเข้าไปสู่ซอกภูเขา

ก็ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้

เขาอยู่แล้วในประเทศแห่งแผ่นดินใด

พึงพ้นจากกรรมชั่วได้ ประเทศแห่งแผ่นดินนั้น หามีอยู่ไม่

DAO
01-06-2009, 12:58 PM
บุคคลควรรีบขวนขวายในความดี

พึงห้ามจิตเสียจากบาป

เพราะว่า เมื่อบุคคลทำความดีช้าอยู่ ใจจักยินดีในบาป

ถ้าบุรุษพึงทำบาปไซร้ ไม่ควรทำบาปนั้นบ่อยๆ

ไม่ควรทำความพอใจในบาปนั้น

เพราะว่าความสั่งสมเป็นเหตุให้เกิดทุกข์

ถ้าบุรุษพึงทำบุญไซร้ พึงทำบุญนั้นบ่อยๆ

พึงทำความพอใจในบุญนั้น

เพราะว่าความสั่งสมบุญทำให้เกิดสุข

DAO
01-06-2009, 12:59 PM
ผู้ใดประทุษร้ายต่อนรชนผู้ไม่ประทุษร้าย

ผู้บริสุทธิ์ ไม่มีกิเลสดุจเนิน

บาปย่อมกลับถึงผู้นั้นซึ่งเป็นคนพาลนั่นเอง

เหมือนธุลีอันละเอียดที่เขาซัดทวนลมไป ฉะนั้น

ชนทั้งหลายบางพวกย่อมเข้าถึงครรภ์

ผู้มีกรรมลามก ย่อมเข้าถึงนรก

ผู้มีกรรมเป็นเหตุแห่งสุคติย่อมไปสวรรค์

ผู้ไม่มีอาสวะย่อมปรินิพพาน

DAO
01-06-2009, 12:59 PM
กรรมไม่ดีและไม่เป็นประโยชน์แก่ตน ทำได้ง่าย

ส่วนกรรมใดแลเป็นประโยชน์ด้วย ดีด้วย

กรรมนั้นแลทำได้ยากอย่างยิ่ง

ผู้ใดมีปัญญาทราม อาศัยทิฎฐิอันลามก

ย่อมคัดค้านคำสอนของพระพุทธเจ้า

ผู้อรหันต์ เป็นพระอริยเจ้า มีปกติเป็นอยู่ในธรรม

การคัดค้านและทิฎฐิอันลามกของผู้นั้น

ย่อมเผล็ดผลเพื่อฆ่าตน เหมือนขุยไผ่ฆ่าต้นไผ่ฉะนั้น

DAO
01-06-2009, 01:00 PM
ทำชั่วด้วยตนเอง ย่อมเศร้าหมองด้วยตนเอง

ไม่ทำชั่วด้วยตนเอง ย่อมหมดจดด้วยตนเอง

ความบริสุทธิ์ ความไม่บริสุทธิ์ เป็นของเฉพาะตัว

คนอื่นพึงชำระคนอื่น ให้หมดจดหาได้ไม่

บุคคลไม่พึงยังประโยชน์ของตนให้เสื่อม

เพราะประโยชน์ของผู้อื่นแม้มาก

บุคคลรู้จักประโยชน์ของตนแล้ว

พึงขวนขวายในประโยชน์ของตน

DAO
01-06-2009, 01:00 PM
โทสะเกิดเมื่อใด

จิตเศร้าหมอง

ทำให้ขาดความยับยั้งชั่งใจ

สะสมความโกรธเกลียดมากเข้า

กลายเป็นพยาบาท

ผู้ที่เดือดร้อนจากการกระทำของผู้อื่น

จนเกิดโทสะพยาบาทนั้นมิใช่ใครอื่นเลย

ผู้ที่ถูกโทสะครอบงำนั่นเองที่เดือดร้อน

ทั้งขณะนี้และภายหน้า

DAO
01-06-2009, 01:02 PM
ถ้าใครๆติเตียนตัวเธอเองต่อหน้าเธอ แม้ในข้อนี้

เธอพึงละความไม่พอใจ และวิตกอันอาศัยเรือนเสีย

ดูก่อน ผคุณะ แม้ในข้อนั้น เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า

จิตของเราจักไม่แปรปรวน

และเราจักไม่เปล่งวาจาที่ลามก

จักอนุเคราะห์ด้วยสิ่งที่เป็นประโยชน์อยู่

และจักเป็นผู้มีเมตตาจิต

ไม่มีโทสะภายใน

DAO
01-06-2009, 01:07 PM
เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก

ผู้หวังความสวัสดีได้พากันคิดมงคลทั้งหลาย

ขอพระองค์ได้โปรดตรัสอุดมมงคล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระคาถาตอบว่า

จิตของผู้ใดอันโลกธรรมทั้งหลายถูกต้องแล้ว

ย่อมไม่หวั่นไหว ๑ ไม่เศร้าโศก ๑

ปราศจากธุลี ๑ เป็นจิตเกษม ๑

นี้เป็นอุดมมงคล.

DAO
01-06-2009, 01:09 PM
เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก

ผู้หวังความสวัสดีได้พากันคิดมงคลทั้งหลาย

ขอพระองค์ได้โปรดตรัสอุดมมงคล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระคาถาตอบว่า

ความเพียร ๑

พรหมจรรย์ ๑ การเห็นอริยสัจ ๑

การกระทำนิพพานให้แจ้ง ๑

นี้เป็นอุดมมงคล.

DAO
01-06-2009, 01:09 PM
เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก

ผู้หวังความสวัสดีได้พากันคิดมงคลทั้งหลาย

ขอพระองค์ได้โปรดตรัสอุดมมงคล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระคาถาตอบว่า

ความอดทน ๑ ความเป็นผู้ว่าง่าย ๑

การได้เห็นสมณะทั้งหลาย ๑

การสนทนาธรรมตามกาล ๑

นี้เป็นอุดมมลคล.

DAO
01-06-2009, 01:10 PM
เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก

ผู้หวังความสวัสดีได้พากันคิดมงคลทั้งหลาย

ขอพระองค์ได้โปรดตรัสอุดมมงคล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระคาถาตอบว่า

การเคารพ ๑ ความประพฤติถ่อมตน ๑

ความสันโดษ ๑ ความกตัญญู ๑

การฟังธรรมตามกาล ๑

นี้เป็นอุดมมงคล.

DAO
01-06-2009, 01:36 PM
เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก

ผู้หวังความสวัสดีได้พากันคิดมงคลทั้งหลาย

ขอพระองค์ได้โปรดตรัสอุดมมงคล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระคาถาตอบว่า

การงดเว้นจากบาป ๑

ความสำรวมจากการดื่มน้ำเมา ๑

ความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย ๑

นี้เป็นอุดมมงคล.

DAO
01-06-2009, 01:37 PM
เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก

ผู้หวังความสวัสดีได้พากันคิดมงคลทั้งหลาย

ขอพระองค์ได้โปรดตรัสอุดมมงคล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระคาถาตอบว่า

ทาน ๑ การประพฤติธรรม ๑

การสงเคราะห์ญาติ ๑

กรรมอันไม่มีโทษ ๑

นี้เป็นอุดมมงคล.

DAO
01-06-2009, 01:38 PM
เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก

ผู้หวังความสวัสดีได้พากันคิดมงคลทั้งหลาย

ขอพระองค์ได้โปรดตรัสอุดมมงคล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระคาถาตอบว่า

การบำรุงมารดา ๑ การบำรุงบิดา ๑

การสงเคราะห์บุตรภรรยา ๑

การงานอันไม่อากูล ๑

นี้เป็นอุดมมงคล.

DAO
01-06-2009, 01:40 PM
เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก

ผู้หวังความสวัสดีได้พากันคิดมงคลทั้งหลาย

ขอพระองค์ได้โปรดตรัสอุดมมงคล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระคาถาตอบว่า

การอยู่ในประเทศอันสมควรมงคล ๑

ความเป็นผู้มีบุญอันทำไว้แล้วในกาลก่อน ๑

การตั้งตนไว้ชอบ ๑

นี้เป็นอุดมมงคล.

DAO
01-06-2009, 02:11 PM
เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก

ผู้หวังความสวัสดีได้พากันคิดมงคลทั้งหลาย

ขอพระองค์ได้โปรดตรัสอุดมมงคล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระคาถาตอบว่า

การไม่คบคนพาล ๑

การคบบัณฑิต ๑

การบูชาบุคคลที่ควรบูชา ๑

นี้เป็นอุดมมงคล.

DAO
01-06-2009, 02:16 PM
เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก

ผู้หวังความสวัสดีได้พากันคิดมงคลทั้งหลาย

ขอพระองค์ได้โปรดตรัสอุดมมงคล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระคาถาตอบว่า

พาหุสัจจะ ๑ ศิลปะ ๑

วินัยที่ศึกษาดีแล้ว ๑

วาจาสุภาษิต ๑

นี้เป็นอุดมมงคล.

DAO
01-06-2009, 02:16 PM
เราจักอดกลั้นถ้อยคำล่วงเกิน

ดังช้างอดทนลูกศร ซึ่งตกไปจากแล่งในสงคราม,

เพราะคนเป็นอันมาก เป็นผู้ทุศีล,

ในหมู่มนุษย์ผู้ใดอดกลั้นถ้อยคำล่วงเกินได้,

ผู้นั้นชื่อว่าฝึก (ตน) แล้ว เป็นผู้ประเสริฐสุด.

ม้าอัสดรที่ฝึกแล้วเป็นสัตว์ประเสริฐ,

พระยาช้างชาติกุญชรที่ฝึกแล้ว ก็เป็นสัตว์ประเสริฐ,

(แต่) ผู้ฝึกตนเองได้แล้ว ประเสริฐ

DAO
01-06-2009, 02:21 PM
เมื่อรู้ว่าสิ่งที่เพลิดเพลินยินดีทั้งหลายในชีวิตนั้น

ไม่เที่ยง

เมื่อเห็นว่าชีวิตมนุษย์สั้นเพียงไรแล้ว

ก็จะพากเพียรที่จะไม่ติดข้อง..

ในสิ่งที่น่าพึงพอใจในชีวิตจนเกินไปนัก

ความรู้เช่นนี้จะทำให้มีจิตเมตตากรุณา

พร้อมที่จะบำเพ็ญประโยชน์แก่ผู้อื่นมากขึ้น

จะลดความเห็นแก่ตัวลง

DAO
01-06-2009, 02:21 PM
แท้จริงแล้วในแต่ละวัน ไม่มีใครทำร้ายเราเลย

เราถูกกิเลสทำร้ายเราอยู่ตลอดเวลาก็ไม่รู้ตัว

คิดว่ามีคนนั้นคนนี้มาทำร้ายเรา

กิเลสตัวนั้นก็คือ

โลภะ โทสะ โมหะ ที่ทำร้ายเรา

โดยความเป็นจริง “เรา” ก็ไม่มี

ในเมื่อ “เรา” ไม่มีในความเป็นจริงแล้ว

คนอื่นจะมีได้อย่างไร

DAO
01-06-2009, 02:22 PM
เราควรพูดในกาลอันสมควร

ไม่ควรพูดในกาลอันไม่สมควร

เราจะต้องคำนึงถึงความรู้สึกของคนอื่นด้วย

เมื่อไม่ใช่กาลที่สมควรแก่การสนทนาธรรม

เราก็พูดกันในเรื่องอื่นได้ด้วยกุศลจิต

ดังนั้น

“เราปฏิบัติธรรมะด้วยเช่นกัน

ในเวลาที่เราไม่ได้สนทนาธรรม”

DAO
01-06-2009, 02:25 PM
ปฐมอายุสูตร ว่าด้วยอายุน้อย

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อายุของมนุษย์ทั้งหลายนี้น้อยนัก

จำต้องไปสู่สัมปรายภพ ควรทำกุศล ควรประพฤติพรหมจรรย์

สัตว์ผู้เกิดมาแล้วจะไม่ตายไม่มี

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

คนที่เป็นอยู่นาน ย่อมเป็นอยู่ได้เพียงร้อยปี

หรือจะอยู่เกินไปได้บ้าง ก็มีน้อย.

DAO
01-06-2009, 02:27 PM
" ภิกษุทั้งหลาย เพราะบุคคลอาศัยคนอื่น

ไม่สามารถเพื่อจะมีสวรรค์หรือมรรคเป็นที่ไปในเบื้องหน้าได้

ฉะนั้น ตนนั่นแหละเป็นที่พึ่งของตน คนอื่นจะทำอะไรได้ "

ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า:-

อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ โก หิ นาโถ ปโร สิยา

อตฺตนา หิ สุทนฺเตน นาถํ ลภติ ทุลฺลภํ.

" ตนแลเป็นที่พึ่งของตน. บุคคลอื่นใครเล่า พึงเป็นที่พึ่งได้

เพราะบุคคลมีตนฝึกฝนดีแล้ว ย่อมได้พึ่ง ที่บุคคลได้โดยยาก."

DAO
01-06-2009, 02:34 PM
สุขเวทนาก็ดี ทุกขเวทนาก็ดี อทุกขมสุขเวทนาก็ดี

ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย

แม้เวทนานั้นก็สูญจากตนหรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยตน

ดูก่อนอานนท์

เพราะโลกสูญจากตนหรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยตน

ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า โลกสูญ

แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ จึงชื่อว่า ความกังวลอะไร ๆ ว่า

สิ่งนี้ของเรา หรือว่า สิ่งนี้ของคนเหล่าอื่น ย่อมไม่มีแก่บุคคลใด. ฯลฯ

DAO
01-06-2009, 02:35 PM
บุคคลที่ทำกรรมชั่วไว้

หนีไปแล้วในอากาศ

ก็ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้

หนีไปในท่ามกลางมหาสมุทร

ก็ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้

หนีเข้าไปสู่ซอกภูเขา ก็ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้

(เพราะ) เขาอยู่แล้วในประเทศแห่งแผ่นดินใด

ความตายพึงครอบงำไม่ได้ ประเทศแห่งแผ่นดินนั้น หามีอยู่ไม่.

DAO
01-06-2009, 02:38 PM
ได้ยินว่า พระมหาจุนทเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

การฟังดีเป็นเหตุให้การฟังเจริญ การฟังเป็นเหตุให้เจริญปัญญา

บุคคลจะรู้ประโยชน์ก็เพราะปัญญา

ประโยชน์ที่บุคคลรู้แล้ว ย่อมนำสุขมาให้

ภิกษุควรซ่องเสพเสนาสนะอันสงัด

ควรประพฤติธรรมอันเป็นเหตุ ให้จิตหลุดพ้นจากสังโยชน์

ถ้ายังไม่ได้ประสบความยินดี ในเสนาสนะอันสงัดและธรรมนั้น

ก็ควรเป็นผู้มีสติรักษาตน อยู่ในหมู่สงฆ์. ฯลฯ

DAO
01-06-2009, 02:39 PM
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อนุสติฐานะ ที่ตั้งแห่งความระลึก ๖ นี้ คือ

พุทธานุสติ ระลึกถึงพระพุทธเจ้า ๑

ธัมมานุสติ ระลึกถึงพระธรรม ๑

สังฆานุสติ ระลึกถึงพระสงฆ์ ๑

สีลานุสติ ระลึกถึงศีลที่ตนรักษา ๑

จาคานุสติ ระลึกถึงการบริจาคของตน ๑

เทวตานุสติ ระลึกถึงเทวดา และธรรมที่ทำให้เป็นเทวดา ๑

DAO
01-06-2009, 02:43 PM
ความเห็นว่า ความบริสุทธิ์ย่อมมีได้ด้วยศีล ด้วยพรต

ด้วยศีลพรตของสมณพราหมณ์ในภายนี้แต่ศาสนานี้ ดังนี้

ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ป่าชัฏ คือทิฏฐิ กันดาร คือทิฏฐิ

ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่งทิฏฐิ

สัญโญชน์ คือ

ทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด

ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ

การถือโดยวิปลาส อันมีลักษณะเช่นว่านี้ อันใดนี้เรียกว่า

สีลัพพตปรามาส

DAO
01-06-2009, 02:49 PM
สัตว์ทั้งหลาย อันกามโยคะผูกไว้แล้ว

ซ้ำภวโยคะและทิฏฐิโยคะผูกเข้าอีก อวิชชารุมรัดเข้าด้วย

ย่อมเวียนเกิดเวียนตายไป.

ส่วนสัตว์เหล่าใดกำหนดรู้กาม และภวโยคะ

ด้วยประการทั้งปวง

ตัดถอนทิฏฐิโยคะ และทำลายอวิชชาเสียได้

สัตว์เหล่านั้นก็เป็นผู้ปลอดโปร่งจากโยคะทั้งปวง

เป็นมุนีผู้ข้ามพ้นเครื่องผูกแล.

DAO
01-06-2009, 02:49 PM
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก

เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 49

๙. นักขัตตชาดก

ว่าด้วยประโยชน์คือฤกษ์

[๔๙] " ประโยชน์ได้ล่วงเลยคนโง่เขลา

ผู้มัวคอยฤกษ์อยู่

ประโยชน์เป็นฤกษ์ของประโยชน์

ดวงดาวจักทำอะไรได้."

จบนักขัตตชาดกที่ ๙

DAO
01-06-2009, 02:53 PM
โย จ วสฺสสตํ ชีเว อปสฺสํ อมตํ ปทํ

เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย ปสฺสโต อมตํ ปทํ.

ก็ผู้ใด

ไม่เห็นบทอันไม่ตาย

พึงเป็นอยู่ ๑๐๐ ปี

ความเป็นอยู่วันเดียว

ของผู้เห็นบทอันไม่ตาย

ประเสริฐกว่าความเป็นอยู่ของผู้นั้น.
</FONT

DAO
01-06-2009, 02:53 PM
เย ธมฺ มา เหตุปฺ ปภวา เตสํ เหตุ ตถาคโต (อาห)

เตสญฺ จ โย นิโรโธ เอวํวาที มหาสมโณติ ฯ

ธรรมเหล่าใด

เกิดแต่เหตุ

พระตถาคตทรงแสดง

เหตุแห่งธรรมเหล่านั้น

และ

ความดับแห่งธรรมเหล่านั้น

DAO
01-06-2009, 02:56 PM
กิจฺโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ

กิจฺฉํ มจฺจาน ชีวิตํ

กิจฺฉํ สทฺธมฺมสฺสวนํ

กิจฺโฉ พุทฺธานมุปฺปาโท.

ความได้อัตภาพเป็นมนุษย์ เป็นการยาก

ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย เป็นอยู่ยาก

การฟังพระสัทธรรม เป็นของยาก

การอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นการยาก

DAO
01-06-2009, 02:56 PM
เมื่อใดบุคคลเห็นอริยสัจ คือ

ทุกข์

เหตุเกิดแห่งทุกข์

ความล่วงพ้นทุกข์

และอริยมรรคมีองค์ ๘

อันยังสัตว์ให้ถึงความสงบทุกข์ ด้วยปัญญาอันชอบ

เมื่อนั้น เขาท่องเที่ยว ๗ ครั้งเป็นอย่างมาก

ก็เป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ เพราะสิ้นสังโยชน์ทั้งปวง ดังนี้แล.

DAO
01-06-2009, 03:10 PM
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ...เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น

มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้

ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ

พวกเธอได้เสวยทุกข์ ความเผ็ดร้อน ความพินาศ

ได้เพิ่มพูนปฐพีที่เป็นป่าช้า ตลอดกาลนาน เหมือนฉะนั้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุเพียงเท่านั้น

พอทีเดียวที่จะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง

พอเพื่อจะคลายกำหนัด พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้.

DAO
01-06-2009, 03:12 PM
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย. . .

แล้วได้ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้

เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น

มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้

ท่องเที่ยวไปมาอยู่

ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ.

DAO
01-06-2009, 03:13 PM
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้

ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่นไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม

ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ย่อมฟังธรรมโดยเคารพ ๑

เล่าเรียนธรรมโดยเคารพ ๑

ทรงจำธรรมโดยเคารพ ๑

ใคร่ครวญอรรถแห่งธรรมที่ทรงจำไว้โดยเคารพ ๑

รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมโดยเคารพ ๑

DAO
01-06-2009, 03:14 PM
กรรมใดได้กระทำแล้วก็เป็นเหตุให้เกิดผล คือ วิบาก

แก่ผู้กระทำกรรมนั้นตามควรแก่โอกาสของกรรมนั้น ๆ

ผู้กระทำกรรมจึงเป็นผู้รับผลของกรรม

มีกรรมเป็นกำเนิด คือ เป็นเหตุให้เกิดในสุคติภูมิหรือทุคติภูมิ

เกิดมาแล้วก็มีกรรมเป็นพวกพ้อง มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย

เมื่ออกุศลกรรมให้ผล ขณะนั้นก็มีอกุศลกรรมเป็นพวกพ้อง

ถึงโอกาสของกุศลกรรมให้ผลก็ตรงข้ามกับผลของอกุศลกรรม

เพราะฉะนั้น ทุกคนจึงมีกรรมเป็นพวกพ้อง มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย

DAO
01-06-2009, 03:15 PM
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสดังนี้ว่า

พึงทำความเพียรเสียในวันนี้แหละ

ใครเล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่ง

เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่นั้น

ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย

พระมุนีผู้สงบย่อมเรียกบุคคลผู้มีปกติอยู่อย่างนี้

มีความเพียรไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน

นั้นแลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ.

DAO
01-06-2009, 03:16 PM
ตํ วินา นาญฺญโต ทุกฺขํ น โหติ น จ ตํ ตโต

ทุกฺขเหตุนิยาเมน อิติ สจฺจํ วิสตฺติกา

เว้นจากตัณหานั้นแล้วทุกข์ย่อมไม่มี

แต่เหตุอื่น และทุกข์นั้นย่อมไม่มีจากตัณหานั้นก็หาไม่

เพราะฉะนั้น

ตัณหาตัวซัดซ่ายไปในอารมณ์ต่าง ๆ นั้น

บัณฑิตจึงรู้ว่า เป็นสัจจะ

โดยกำหนดอรรถว่าเป็นเหตุแห่งทุกข์.

DAO
01-06-2009, 03:28 PM
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

บุคคลแม้ใด

พึงประพฤติธรรม ประพฤติสะอาด

เป็นผู้เลี้ยงภริยา และ

เมื่อของมีน้อยก็ให้ได้

เมื่อบุรุษแสนหนึ่ง บูชาภิกษุพันหนึ่ง

หรือบริจาคทรัพย์พันกหาปณะ

การบูชาของบุคคลเหล่านั้น

ย่อมไม่ถึงส่วนร้อยของบุคคลอย่างนั้น.

DAO
01-06-2009, 03:38 PM
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย

รูปไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละรูปนั้นเสีย

รูปนั้นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว

จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล

เพื่อสุข เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ

วิญญาณไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย

เธอทั้งหลายจงละวิญญาณนั้นเสีย

วิญญาณนั้นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว

จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อสุข.

DAO
01-06-2009, 03:40 PM
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาทิฏฐิเป็นไฉน ?

คือ ความเห็นดังนี้ว่า

ทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล ๑ ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มีผล ๑

สังเวยที่บวงสรวงแล้ว ไม่มีผล ๑

ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วแล้ว ไม่มี ๑

โลกนี้ไม่มี ๑ โลกหน้าไม่มี ๑

มารดาไม่มี (คุณ) ๑ บิดาไม่มี(คุณ) ๑

สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะไม่มี ๑

สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ดำเนินไปชอบ

ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง

เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลกไม่มี ๑ นี้มิจฉาทิฏฐิ.

DAO
01-06-2009, 03:46 PM
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ

สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน

อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ

เธอย่อมไม่ปล่อยให้วันคืนล่วงไป

ไม่ละการหลีกออกเร้นอยู่

ประกอบควานสงบใจในภายใน

เพราะการเล่าเรียนธรรมนั้น

ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้อยู่ในธรรม อย่างนี้แล

DAO
01-06-2009, 04:20 PM
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้

ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม

ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ไม่ฟังธรรมโดยเคารพ ๑

ไม่เล่าเรียนธรรมโดยเคารพ ๑

ไม่ทรงจำธรรมโดยเคารพ ๑

ไม่ใคร่ครวญอรรถแห่งธรรมที่ทรงจำไว้โดยเคารพ ๑

รู้อรรถรู้ธรรมแล้วไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมโดยเคารพ ๑

DAO
01-06-2009, 04:59 PM
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่ไม่ควรเป็นได้ ๖ ประการนี้

๖ ประการเป็นไฉน ? คือ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ย่อม

เป็นผู้ไม่ควรเพื่อยึดถือสังขารไร ๆ โดยความเป็นของเที่ยง ๑

เป็นผู้ไม่ควรเพื่อยึดถือสังขารไร ๆ โดยความเป็นสุข ๑

เป็นผู้ไม่ควรเพื่อยึดถือสังขารไร ๆ โดยความเป็นอัตตา ๑

เป็นผู้ไม่ควรเพื่อกระทำอนันตริยกรรม ๑

เป็นผู้ไม่ควรเพื่อเชื่อถือความบริสุทธิ์โดยมงคลตื่นข่าว ๑

เป็นผู้ไม่ควรเพื่อแสวงหาเขตบุญภายนอกศาสนานี้ ๑

DAO
01-06-2009, 05:08 PM
ทรัพย์ คือ

ศรัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ สุตะ จาคะ

และปัญญาเป็นที่ ๗ ทรัพย์เหล่านี้ มีแก่ผู้ใด

เป็นหญิงหรือชายก็ตาม เป็นผู้มีทรัพย์มากในโลก

อันอะไร ๆ พึงผจญไม่ได้ในเทวดาและมนุษย์

เพราะฉะนั้น ท่านผู้มีปัญญา

เมื่อระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

พึงประกอบศรัทธา ศีล ความเลื่อมใส และการเห็นธรรม.

DAO
01-07-2009, 11:02 AM
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ ๗ ประการนี้

๗ ประการ เป็นไฉน คือ ทรัพย์คือ

ศรัทธา ๑ ศีล ๑ หิริ ๑ โอตตัปปะ ๑

สุตะ ๑ จาคะ ๑ ปัญญา ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือปัญญาเป็นไฉน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นปัญญา คือ

ประกอบด้วยปัญญาที่กำหนดความเกิดและความดับ เป็นอริยะ

ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ

นี้เรียกว่า ทรัพย์คือปัญญา

DAO
01-07-2009, 11:05 AM
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ ๗ ประการนี้

๗ ประการ เป็นไฉน คือ ทรัพย์คือ

ศรัทธา ๑ ศีล ๑ หิริ ๑ โอตตัปปะ ๑

สุตะ ๑ จาคะ ๑ ปัญญา ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือจาคะ เป็นไฉน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้มีใจอันปราศจากมลทินคือ

ความตระหนี่ อยู่ครองเรือน มีจาคะอันปล่อยแล้ว มีฝ่ามืออันชุ่ม

ยินดีในการสละ ควรแก่การขอยินดีในทานและการจำแนกทาน

นี้เรียกว่า ทรัพย์คือจาคะ.

DAO
01-07-2009, 11:07 AM
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือสุตะ เป็นไฉน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อริยะสาวกในธรรมวินัยนี้

เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ

เป็นผู้ได้สดับมามาก ทรงไว้คล่องปาก ขึ้นใจ

แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ.

ซึ่งธรรมทั้งหลาย อันงามในเบื้องต้น

งามในท่ามกลางงามในที่สุด

ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ

บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง นี้เรียกว่า ทรัพย์คือสุตะ.

DAO
01-07-2009, 11:13 AM
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ ๗ ประการนี้

๗ ประการ เป็นไฉน คือ ทรัพย์คือ

ศรัทธา ๑ ศีล ๑ หิริ ๑ โอตตัปปะ ๑

สุตะ ๑ จาคะ ๑ ปัญญา ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือโอตตัปปะเป็นไฉน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้มีความสะดุ้งกลัว คือ

สะดุ้งกลัวต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต

สะดุ้งกลัวต่อการถูกต้องอกุศลธรรมอันลามก
[CENTER]นี้เรียกว่า ทรัพย์คือโอตตัปปะ.</DIV
</P>

DAO
01-07-2009, 11:15 AM
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ ๗ ประการนี้

๗ ประการ เป็นไฉน คือ ทรัพย์คือ

ศรัทธา ๑ ศีล ๑ หิริ ๑ โอตตัปปะ ๑

สุตะ ๑ จาคะ ๑ ปัญญา ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือโอตตัปปะเป็นไฉน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้มีความสะดุ้งกลัว คือ

สะดุ้งกลัวต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต

สะดุ้งกลัวต่อการถูกต้องอกุศลธรรมอันลามก

นี้เรียกว่า ทรัพย์คือโอตตัปปะ.

DAO
01-07-2009, 11:17 AM
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ ๗ ประการนี้

๗ ประการ เป็นไฉน คือ ทรัพย์คือ

ศรัทธา ๑ ศีล ๑ หิริ ๑ โอตตัปปะ ๑

สุตะ ๑ จาคะ ๑ ปัญญา ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือหิริเป็นไฉน

ก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้มีความละอาย คือ

ละอายต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต

ละอายต่อการถูกต้องอกุศลธรรมอันลามก

นี้เรียกว่า ทรัพย์คือหิริ.

DAO
01-07-2009, 11:19 AM
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ ๗ ประการนี้

๗ ประการ เป็นไฉน คือ ทรัพย์คือ

ศรัทธา ๑ ศีล ๑ หิริ ๑ โอตตัปปะ ๑

สุตะ ๑ จาคะ ๑ ปัญญา ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือศีลเป็นไฉน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้เว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ

จากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย

อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

นี้เรียกว่า ทรัพย์คือศีล.

DAO
01-07-2009, 11:20 AM
ก่อนภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ ๗ ประการนี้

๗ ประการ เป็นไฉน คือ ทรัพย์คือ

ศรัทธา ๑ ศีล ๑ หิริ ๑ โอตตัปปะ ๑ สุตะ ๑ จาคะ ๑ ปัญญา ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือศรัทธาเป็นไฉน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา คือ

เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ

เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม นี้เรียกว่า ทรัพย์คือศรัทธา.

DAO
01-07-2009, 11:21 AM
การที่บุคคลเจริญเมตตาจิตโดยที่สุด

แม้เพียงเวลาสูดดมของหอม

มีผลมากกว่าการที่บุคคลมีจิตเลื่อมใส

สมาทานสิกขาบท คือ

งดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ

และการที่บุคคลเจริญอนิจจสัญญาแม้เพียงเวลาลัดนิ้วมือ

มีผลมากกว่าการที่บุคคลเจริญเมตตาจิตโดยที่สุด

แม้เพียงเวลาสูดดมของหอม.

DAO
01-07-2009, 11:22 AM
ภิกษุทั้งหลาย

สิ่งที่เรารู้แล้วมิได้บอกเธอทั้งหลายมีมาก

ก็เพราะเหตุ ไร เราจึงไม่บอก.

เพราะสิ่งนั้นไม่ประกอบด้วยประโยชน์

มิใช่พรหมจรรย์เบื้องต้น

ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด

ความดับ ความสงบ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ นิพพาน

เพราะเหตุนั้นเราจึงไม่บอก

DAO
01-07-2009, 11:23 AM
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สิ่งอะไรเราได้บอกแล้ว เราได้บอกแล้วว่า

นี้ทุกข์... นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ก็เพราะเหตุไรเราจึงบอก

เพราะสิ่งนั้น ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นพรหมจรรย์เบื้องต้น

ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย... นิพพาน เพราะฉะนั้นเราจึงบอก

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงการทำความเพียร

เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่านี้ทุกข์ ฯลฯ

นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

DAO
01-07-2009, 11:25 AM
จิตเป็นสภาพธรรมที่รู้สิ่งต่าง ๆ เช่น รู้สี รู้เสียง

รู้กลิ่น รู้รส รู้เย็น รู้ร้อน รู้อ่อน รู้แข็ง รู้ตึง รู้ไหว

รู้ความหมายของสิ่งต่างๆ และ ที่คิดนึกเรื่องต่าง ๆ เป็นต้น

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติ

เรียก สภาพธรรมที่รู้สิ่งต่าง ๆ ว่า จิต

จิตซึ่งเป็นปรมัตถธรรมที่เกิดขึ้นได้

เพราะมีเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดขึ้น

เมื่อเสียงไม่เกิดขึ้นกระทบหู จิตได้ยินก็เกิดขึ้นไม่ได้

จิตแต่ละประเภทจะเกิดขึ้นได้

เพราะมีปัจจัยที่ทำให้เกิดจิตประเภทนั้น ๆ

จิตไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา จิตไม่เทียง

เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

DAO
01-07-2009, 11:49 AM
ท่านเคยน้อมระลึกถึงพระพุทธคุณบ้างไหม

และระลึกถึงในลักษณะใด

การที่จะน้อมระลึกถึงพระคุณ

ของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

สามารถที่จะน้อมระลึกได้ทุกเหตุการณ์ เช่น

เมื่อพระองค์ได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ

จะน้อมระลึกถึงพระคุณตั้งแต่พระองค์ได้ทรงแสดงปฐมเทศนา

ตลอดมาจนถึงใกล้จะปรินิพพาน ก็จะเห็นพระคุณได้

ผู้ที่มีสัทธา มีวิริยะ ก็จะศึกษา ฟัง หรือ อ่านด้วยความปิติโสมนัส

เมื่อเข้าใจพระธรรมก็อาจจะระลึกรู้

ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ

DAO
01-07-2009, 11:50 AM
กรรมในปัจจุบัน ๖ อย่าง

ได้แก่

กรรมมีอยู่ ผลของกรรมมีอยู่ ๑

กรรมมีอยู่ ผลของกรรมไม่มี ๑

กรรมมีอยู่ ผลของกรรมจักมี ๑

กรรมมีอยู่ ผลของกรรมจักไม่มี ๑

กรรมจักมี ผลของกรรมจักมี ๑

กรรมจักมี ผลของกรรมจักไม่มี ๑

DAO
01-07-2009, 11:50 AM
อโหสิกรรม ๖ อย่าง

ได้แก่

กรรมได้มีแล้ว ผลของกรรมได้มีแล้ว ๑

กรรมได้มีแล้ว ผลของกรรมไม่ได้มีแล้ว ๑

กรรมได้มีแล้ว ผลของกรรมมีอยู่ ๑

กรรมได้มีแล้ว ผลของกรรมไม่มีอยู่ ๑

กรรมได้มีแล้ว ผลของกรรมจักมี ๑

กรรมได้มีแล้ว ผลของกรรมจักไม่มี ๑

DAO
01-07-2009, 12:05 PM
กรรมเป็นเรื่องที่มีจริง

มีความสลับซับซ้อนมาก และเป็นเรื่องปกปิด

ไม่มีผู้ใดสามารถพยากรณ์เรื่องกรรมได้

นอกจากพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

มีทั้งกรรมที่ได้กระทำแล้ว (อโหสิกรรม) และกรรมในปัจจุบัน

ท่านพระสารีบุตรได้จำแนกกรรมเป็น ๑๒ ประเภท คือ

อโหสิกรรม ๖ และ กรรมในปัจจุบัน ๖

รวมเป็น กรรม ๑๒

DAO
01-07-2009, 12:07 PM
กรรมใดได้กระทำแล้วก็เป็นเหตุให้เกิดผล คือ วิบาก

แก่ผู้กระทำกรรมนั้นตามควรแก่โอกาสของกรรมนั้น ๆ

ผู้กระทำกรรมจึงเป็นผู้รับผลของกรรมโดยมีกรรมเป็นกำเนิด คือ

เป็นเหตุให้เกิดสุคติภูมิและทุคติภูมิ

เมื่อเกิดมาแล้วก็มีกรรมเป็นพวกพ้อง มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย

เมื่อถึงโอกาสของอกุศลกรรมให้ผล

ขณะนั้นก็มีอกุศลกรรมเป็นพวกพ้อง

มีความวิบัติต่าง ๆ เกิดขึ้น

แม้จากญาติ มิตรสหาย บริวาร และคนอื่นๆ

เมื่อถึงโอกาสของกุศลกรรมให้ผลก็ตรงข้ามกับผลของอกุศลกรรม

DAO
01-07-2009, 12:08 PM
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

การค้าขาย ๕ ประการนี้ อันอุบาสกไม่พึงกระทำ

๕ ประการเป็นไฉน คือ

การค้าขายศัสตรา ๑ การค้าขายสัตว์ ๑

การค้าขายเนื้อสัตว์ ๑

การค้าขายน้ำเมา ๑ การค้าขายยาพิษ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

การค้าขาย ๕ ประการนี้แล อันอุบาสกไม่พึงกระทำ.

DAO
01-07-2009, 12:08 PM
ปัญญาจะเกิดขึ้นได้ต้องมาจากปริยัติธรรม

พระอริยสาวกทั้งหลายอาศัยแล้วจึงถึงความเป็นสังฆรัตนะ

ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งลักษณะของสภาพธรรม

เกิดจากการฟังพระธรรม

ผู้ที่เห็นคุณของพระรัตนตรัยมีพระรัตนตรัยเป็นสรณะ

ย่อมไม่ขาดการฟังพระธรรมซึ่งเป็นปริยัติธรรม

ข้อสำคัญที่สุดสำหรับผู้ที่ฟังพระธรรมและศึกษาพระธรรม คือ

ต้องรู้ว่าเพื่อน้อมประพฤติปฏิบัติตามเท่าที่สามารถจะกระทำได้

อย่าได้เป็นผู้ที่เพียงฟัง จึงชื่อว่า เป็นผู้ที่เคารพในพระธรรมจริงๆ

DAO
01-07-2009, 12:11 PM
ที่ชื่อว่า อโยนิโสมนสิการ ได้แก่

การทำไว้ในใจโดยไม่ถูกอุบาย

การทำไว้ในใจโดยไม่ถูกทาง คือ

การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย

การทำไว้ในใจโดยผิดทาง

ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข

ในสิ่งที่ไม่ใช่อัตตาว่าเป็นอัตตา

การนึก การน้อมนึก การผูกใจ การใฝ่ใจ การทำไว้ในใจ

ซึ่งจิตโดยการกลับกันกับสัจจะ

นี้เรียกว่าอโยนิโสมนสิการ

DAO
01-07-2009, 01:03 PM
การอบรมเจริญภาวนามี ๒ อย่าง คือ

สมถะภาวนา และ วิปัสสนาภาวนา

ทั้งสองอย่างต้องอาศัยปัญญาจึงจะเจริญได้

ถ้าไม่รู้ลักษณะสภาพของจิตที่ต่างกันระหว่างกุศลจิตและอกุศลจิต

ก็จะเจริญสมถะ คือ ความสงบจากอกุศลไม่ได้

ฉะนั้น การอบรมเจริญความสงบของจิต จึงต้องมีสติสัมปชัญญะ

สำหรับวิปัสสนาภาวนาเป็นสติสัมปชัญญะ

ที่รู้สภาพที่ต่างกันของนามธรรมและรูปธรรม ตามความเป็นจริง

DAO
01-07-2009, 01:05 PM
เชตวนสูตร

กรรม ๑ วิชชา ๑ ธรรม ๑ ศีล ๑ ชีวิตอันอุดม ๑

สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ด้วยคุณธรรม ๕ นี้

หาได้บริสุทธิ์ด้วยโคตรหรือด้วยทรัพย์ไม่

เหตุนั้นแหละ

คนผู้ฉลาดเมื่อเห็นประโยชน์ของตน

ควรเลือกเฟ้นธรรมโดยอุบายอันแยบคาย

เลือกเฟ้นเช่นนี้ ย่อมหมดจดในธรรมเหล่านั้น

DAO
01-07-2009, 01:30 PM
ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา

จึงตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

ธรรมเหล่านี้คือ ศีล สมาธิ ปัญญา

วิมุตติอันยอดเยี่ยม

อันพระโคดมผู้มียศ ตรัสรู้แล้ว

ดังนั้นพระพุทธเจ้าทรงบอกธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย

เพื่อความรู้ยิ่ง

พระศาสดาผู้กระทำ ซึ่งที่สุดแห่งทุกข์

มีพระจักษุปรินิพพานแล้ว

DAO
01-07-2009, 01:31 PM
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เปรียบเหมือนท่อนไม้ที่บุคคลขว้าง ขึ้นไปบนอากาศแล้ว

บางคราวเอาโคนตกลงมาก็มี

บางคราวเอาตอนกลางตกลงมาก็มี

บางคราวเอาปลายตกลงมาก็มี ฉันใด

สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีนิวรณ์คืออวิชชา

มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบ

ได้แล่นไปอยู่ ท่องเที่ยวไปอยู่

บางคราวจากโลกนี้ไปสู่ปรโลกก็มี

บางคราวจากปรโลกมาสู่โลกนี้ก็มี ฉันนั้น เหมือนกัน

ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔

DAO
01-07-2009, 01:32 PM
พึงเจริญธรรมนั้นเนือง ๆ ให้ปรุโปร่งเถิด

พึงทำความเพียรเสียในวันนี้แหละ

ใครเล่าผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่นั้น

ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย

พระมุนีผู้สงบย่อมเรียกบุคคลผู้มาปกติอยู่อย่างนี้

มีความเพียร

ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน นั้นแลว่า

ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ.

DAO
01-07-2009, 01:33 PM
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสดังนี้ว่า

บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว

ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง

สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว

และสิ่งที่ยังไม่มาถึงก็เป็นอันยังไม่ถึง

ก็บุคคลใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบันไม่ง่อนแง่น

ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้น ๆ ได้

บุคคลนั้น พึงเจริญธรรมนั้นเนือง ๆให้ปรุโปร่งเถิด

DAO
01-07-2009, 01:36 PM
อะไรหนอ ยังประโยชน์ให้สำเร็จจนกระทั่งชรา

อะไรหนอ ตั้งมั่นแล้วยังประโยชน์ให้สำเร็จ

อะไรหนอ เป็นรัตนะของคนทั้งหลาย

อะไรหนอ โจรลักไปไม่ได้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

ศีลยังประโยชน์ให้สำเร็จจนกระทั่งชรา

ศรัทธาตั้งมั่นแล้วยังประโยชน์ให้สำเร็จ

ปัญญาเป็นรัตนะของคนทั้งหลาย

บุญอันโจรลักไปไม่ได้.

DAO
01-07-2009, 01:38 PM
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
ทางนั้นชื่อว่าเป็นทางตรง
ทิศนั้นชื่อว่าไม่มีภัย
รถชื่อว่าไม่มีเสียงดัง ประกอบด้วยล้อคือธรรม
หิริเป็นฝาของรถนั้น สติเป็นเกราะกั้นของรถนั้น
เรากล่าวธรรม มีสัมมาทิฏฐินำหน้าว่าเป็นสารถี
ยานชนิดนี้มีอยู่แก่ผู้ใด จะเป็นหญิงหรือชายก็ตาม
เขา (ย่อมไป) ในสำนักพระนิพพานด้วยยานนี้แหละ.

DAO
01-07-2009, 01:40 PM
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ชนเหล่าใดมีใจผ่องใสแล้ว ให้อาหารนั้นด้วยศรัทธา

อาหารนั้นแลย่อมพะนอเขาทั้งในโลกนี้และโลกหน้า

เพราะเหตุนั้น

บุคคลพึงนำความตระหนี่ออกไปเสีย

พึงข่มความตระหนี่ซึ่งเป็นตัวมลทินแล้วให้ทาน

เพราะบุญทั้งหลาย

เป็นที่พึ่งของเหล่าสัตว์ในโลกหน้า.

DAO
01-07-2009, 01:42 PM
กติฉันทิสูตร

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

บุคคลควรตัดสังโยชน์เป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ อย่าง

ควรละสังโยชน์เป็นส่วนเบื้องบน ๕ อย่าง

ควรบำเพ็ญอินทรีย์อันยิ่ง ๕ อย่าง

ภิกษุล่วงธรรมเป็นเครื่องข้อง ๕ อย่าง

เรากล่าวว่าเป็นผู้ข้ามโอฆะแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

เล่ม ๑ ภาค ๑ หน้า ๕๒

DAO
01-07-2009, 02:16 PM
อัจเจนติสูตร

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

กาลทั้งหลายย่อมล่วงไป

ราตรีทั้งหลายย่อมผ่านไป

ชั้นแห่งวัยย่อมละลำดับไป

บุคคลเมื่อเห็นภัยนี้ในมรณะ

พึงละอามิสในโลกเสีย

มุ่งสันติเถิด.

DAO
01-07-2009, 02:39 PM
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ชีวิตคืออายุมีประมาณน้อย
ถูกต้อนเข้าไปเรื่อย
เมื่อบุคคลถูกชราต้อนเข้าไปแล้ว
ย่อมไม่มีผู้ป้องกัน
บุคคลเมื่อเห็นภัยนี้ในมรณะ
พึงละอามิสในโลกเสีย
มุ่งสันติเถิด.

DAO
01-07-2009, 02:42 PM
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

ภิกษุทั้งหลายไม่เศร้าโศกถึงปัจจัยที่ล่วงแล้ว

ไม่ปรารถนาปัจจัยที่ยังมาไม่ถึง

เลี้ยงตนด้วยปัจจัยที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า

วรรณะ(ของภิกษุทั้งหลายนั้น) ย่อมผ่องใส

ด้วยเหตุนั้น เพราะความปรารถนาถึงปัจจัยที่ยังไม่มาถึง

และความโศกถึงปัจจัยที่ล่วงแล้ว

พวกพาลภิกษุจึงซูบซีดเหมือนต้นอ้อสด

ที่ถูกถอนเสียแล้ว ฉะนั้น

DAO
05-27-2009, 06:37 AM
ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่

สำเร็จแล้วด้วยใจ ถ้าบุคคลมีใจผ่องใสแล้ว

พูดอยู่ก็ดี ทำอยู่ก็ดี ความสุขย่อมไปตามเขา

เพราะเหตุนั้น เหมือนเงาไปตามตัวฉะนั้น.

(http://javascript:popUp(&#39;/front/tipitaka/show.php?id=40&#39;))พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท (http://javascript:popUp(&#39;/front/tipitaka/show.php?id=40&#39;))


เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 53

DAO
05-27-2009, 06:40 AM
สำคัญที่ปฏิบัติตาม
หากว่า นรชนกล่าวพระพุทธพจน์อันมีประโยชน์เกื้อกูล

แม้มาก (แต่) เป็นผู้ประมาทแล้วไม่ทำ (ตาม) พระพุทธพจน์

นั้นไซร้, เขาย่อมไม่เป็นผู้มีส่วนแห่งสามัญผล เหมือน

คนเลี้ยงโคนับโคทั้งหลายของชนเหล่าอื่น ย่อมเป็นผู้ไม่มี

ส่วนแห่งปัญจโครสฉะนั้น, หากว่านรชนกล่าวพระพุทธพจน์

อันมีประโยชน์เกื้อกูล แม้น้อย (แต่) เป็นผู้มีปกติประพฤติ

ธรรมสมควรแก่ธรรมไซร้, เขาละราคะ โทสะ และโมหะแล้ว

รู้ชอบ มีจิตหลุดพ้นดีแล้ว หมดความยึดถือในโลกนี้หรือ

ในโลกหน้า, เขาย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งสามัญผล."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท (http://javascript:popUp(&#39;/front/tipitaka/show.php?id=40&#39;))

เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 213

DAO
05-27-2009, 06:41 AM
เราจะไม่ประมาท
มีปัญญาดี เมื่อชนทั้งหลายประมาทแล้ว

ไม่ประมาท เมื่อชนทั้งหลายหลับแล้ว ตื่นอยู่

โดยมาก ย่อมละบุคคลผู้มีปัญญาทรามไปเสีย

ดุจม้าตัวมีฝีเท้าเร็ว ละทิ้งตัวหากำลังมิได้ไปฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท
เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 354

DAO
05-27-2009, 06:42 AM
ไม่นานหนอ
ไม่นานหนอ กายนี้จักนอนทับแผ่นดิน

กายนี้มีวิญญาณไปปราศ

อันบุคคลทิ้งแล้ว ราวกับท่อนไม้

ไม่มีประโยชน์ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท (http://javascript:popUp(&#39;/front/tipitaka/show.php?id=40&#39;))

เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 388

DAO
05-27-2009, 06:43 AM
จิตที่ตั้งไว้ผิด


จิตซึ่งตั้งไว้ผิดแล้ว พึงทำเขา(บุคคล)นั้น

ให้เลวทรามยิ่งกว่าความพินาศฉิบหาย

ที่โจรเห็นโจร

หรือคนจองเวรทำ (แก่กัน ) นั้น (เสียอีก).

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท (http://javascript:popUp(&#39;/front/tipitaka/show.php?id=40&#39;))

เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 443

DAO
05-27-2009, 06:45 AM
ควรดูตัวเองไม่ใช่คนอื่น


บุคคลไม่ควรทำคำแสยงขนของคนเหล่าอื่น

ไว้ในใจ, ไม่ควรแลดูกิจที่ทำแล้วและยังมิได้ทำ

ของคนเหล่าอื่น,พึงพิจารณากิจที่ทำแล้ว

และยังมิได้ทำของตนเท่านั้น."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท (http://javascript:popUp(&#39;/front/tipitaka/show.php?id=41&#39;))

เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 63

DAO
05-27-2009, 06:46 AM
กลิ่นที่ประเสริฐ



กลิ่นดอกไม้ฟุ้งไปทวนลมไม่ได้ กลิ่นจันทน์หรือ

กลิ่นกฤษณาและกลัมพักก็ฟุ้งไปไม่ได้

แต่ กลิ่นของสัตบุรุษฟุ้งไปทวนลมได้

กลิ่นจันทน์ก็ดี แม้กลิ่นกฤษณาก็ดี กลิ่นอุบลก็ดี

กลิ่นมะลิก็ดีกลิ่นศีลเป็นเยี่ยมกว่าคันธชาตนั่น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท (http://javascript:popUp(&#39;/front/tipitaka/show.php?id=41&#39;))

เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 3

numning
03-03-2010, 11:14 PM
ยิ่งเข้าใกล้เลข 9 มากขึ้นเท่าใด ก็เท่ากับเรากำลังเข้าใกล้เลข 0 มากขึ้นเท่านั้น
ตัวเลขสิบนั้น จึงไม่เคยมีปรากฏมาตั้งแต่แรกแล้ว