DAO
10-27-2008, 11:19 AM
ศาสนธรรมนำปัญญา สานคุณค่าแห่งชีวิต
วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยสืบสานความเป็นไทยไว้จนถึงทุกวันนี้ และมิใช่เป็นเพียงการทำหน้าที่ในการกำหนดรูปแบบของการดำรงชีวิต และการดำเนินชีวิตของคนไทยทั้งหลาย เท่านั้น หากแต่ยังทำหน้าที่ชี้ทางว่าสิ่งใดควรกระทำและสิ่งใดไม่ควรกระทำ รวมไปจนถึงการประกาศความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของคนไทยให้ชาวโลกได้ประจักษ์ โดยทำหน้าที่หมุนเวียนให้การดำเนินชีวิตของคนไทย คงอยู่ต่อไปไม่มีการสูญสลาย ทั้งยังช่วยในการแก้ปัญหาความไม่สมดุลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสังคม เศรษฐกิจ หรือการปกครอง ตลอดจนทำหน้าที่ส่งเสริมให้เกิดการประยุกต์ระหว่างสิ่งต่างๆ เพื่อความลงตัวระหว่างวัฒนธรรม จากที่กล่าวมานี้จะเป็นได้ว่า วัฒนธรรมไทยมีลักษณะเฉพาะเป็นของตนเอง โดยรับฐานความคิดและแนวปฏิบัติมาจากหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นสำคัญ จนกลายเป็นดุจสายเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงชีวิตให้เติบโตอย่างมีคุณค่า เพราะมีปัญญาเป็นตัวกำกับ ตามหลักแห่งไตรสิกขา อันประกอบด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา หรือการ ละชั่ว ประพฤติดี ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส อันจะนำไปสู่ชีวิตที่สะอาด สงบ และพบกับความสว่างบนเส้นทางที่ก้าวเดิน ด้วยบรรพชนได้บ่มเพาะความงามแห่งคำสั่งสอนไว้ในวิธีการอบรมนับแต่วัยเยาว์ในระดับครอบครัว จนผ่านเข้าสู่โรงเรียนที่มีครูอาจารย์คอยย้ำเตือน บอกต่อ ช่วยให้สังคมสามารถสร้างเสริมคนดีให้มีโอกาสได้เป็นผู้นำองค์กรระดับต่างๆ จนสามารถนำความเจริญก้าวหน้าสู่ประเทศชาติเป็นลำดับมา ดังนั้น การจะพัฒนาสังคมไทยให้เจริญก้าวหน้า จึงขึ้นอยู่กับภูมิปัญญาของชนในชาติ คือภูมิปัญญาของคนไทย อันมีรากฐานมาจากศาสนธรรมในพระพุทธศาสนา เป็นหลัก หลักธรรมทางพุทธศาสนา นับเป็นสมบัติอันล้ำค่าของสังคมไทย และเป็นเครื่องมือหล่อหลอมชีวิตจิตใจคนในสังคมที่มีความเก่าแก่ควบคู่มากับประวัติของความเป็นชาติ แม้ในปัจจุบันการนำศาสนธรรมมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต จะลดน้อยถอยลงไปจนส่งผลให้สังคมห่างไกลจากสันติสุข แต่ก็ใช่ว่าสิ่งนี้จะสูญหายไปจากสังคม
ถ้ามองดูปัญหาที่รุมเร้าเข้ามาไม่หยุดหย่อนในเวลานี้ จะเห็นได้ว่ามีจุดเริ่มมาจากการใช้แนวทางการพัฒนาตามแบบที่ธนาคารโลกกำหนด ซึ่งแนวทางดังกล่าวเน้นความเจริญทางด้านวัตถุเป็นสำคัญ จึงนำไปสู่ลัทธิวัตถุนิยม หรือบริโภคนิยม บางคนอาจมองว่าช่วยให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีความสะดวกสบายขึ้น แต่แท้จริงแล้ว ได้ปิดบังซ่อนเร้นผลพวงแห่งความเลวร้ายที่ติดตามมากับการพัฒนาเอาไว้ เพราะการพัฒนาตามแนวทางของธนาคารโลกปฏิเสธความเท่าเทียมกันของมนุษย์ที่มีศักยภาพและไร้ศักยภาพตามเกณฑ์การพัฒนา ผลจากการพัฒนา จึงทำให้คนไทยบางส่วนจำต้องยอมรับการเป็นอยู่อย่างอดอยาก ต้องทนกับความเจ็บป่วยที่ไม่ได้รับการรักษา ด้วยเหตุที่ได้เกิดความเหลื่อมล้ำขึ้นในสังคม ซึ่งเป็นไปในทางที่ตรงข้ามกับแนวทางของศาสนาที่มองว่า มนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน และต่างมีโอกาสในการที่จะบรรลุ สิ่งที่ดีที่สุดของชีวิตได้เหมือนกัน นอกจากนั้น ศาสนายังให้ความสำคัญกับความเป็นธรรม โดยยึดคนเป็นตัวตั้งในการหาทางออกของปัญหา แล้วมุ่งพัฒนาเพื่อให้คนทุกคนและทั้งสังคม มีโอกาสบรรลุสิ่งที่ดีที่สุด ดังนั้น ด้วยความห่วงใยว่ารากเหง้าทางวัฒนธรรมอันเป็นส่วนสำคัญที่แสดงถึงความเป็นชาติ เพราะมีเอกลักษณ์เด่นเฉพาะตน และมีลักษณะร่วมกันที่ก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพ ความรัก และความภูมิใจในแผ่นดินถิ่นเกิด กำลังจะสูญหายไป หลายฝ่ายจึงพยายามที่จะนำศาสนธรรมเข้ามาแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งสังคม โดยกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ชาติที่ชัดเจน
ประเด็นของการนำศาสนธรรมเป็นยุทธศาสตร์นั้นมุ่งที่คนเป็นสำคัญ ซึ่งในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังแห่งชาติ ฉบับที่ 8 และต่อเนื่องมาจนถึงฉบับที่ 9 ที่ประกาศใช้อยู่ในปัจจุบัน ก็มองไปที่การพัฒนาคน โดยเน้นการพัฒนาจิตใจ ด้วยการกำหนดให้คนได้รับการพัฒนาอย่างครบถ้วน ทั้ง 3 ด้าน
ประการแรก ได้แก่ การพัฒนาให้คนเป็นคนเก่งที่มีปัญญา ใฝ่รู้ รู้จักคิด มีเหตุผล ขยันขันแข็ง รู้จักพึ่งตนเอง และมีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม สังคม และประเทศชาติ
ประการที่สอง ได้แก่ การพัฒนาให้คนเป็นคนดี มีเมตตากรุณา กตัญญูรู้คุณ สามัคคี ซื่อสัตย์สุจริต ละเว้นจากอบายมุข มีระเบียบวินัย ประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณ และมีความเป็นประชาธิปไตย
ประการที่สาม ได้แก่ การพัฒนาคนให้เป็นคนที่มีความสุข มีสมาธิ สงบเยือกเย็น แจ่มใส ร่าเริง พอใจในสิ่งที่มีและยินดีในสิ่งที่ทำ
คนไทยนับเป็นคนโชคดีอย่างที่สุด ที่มีศาสนาเป็นเครื่องกล่อมเกลาจิตใจ จนแนวคำสอนของศาสนาซึมซับอยู่ในวิถีชีวิตของทุกคน และได้รับการสืบต่อเป็นวัฒนธรรมอยู่ในแต่ละกลุ่มชน โดยเฉพาะวิถีแห่งชาวพุทธที่ตั้งอยู่บนฐานแห่งเมตตาธรรม พระพุทธศาสนา จึงเป็นสมบัติอันล้ำค่าของชาติไทยที่บรรพบุรุษได้ทำนุบำรุงรักษาไว้ให้คนรุ่นหลัง และด้วยเหตุที่คนไทยมีพระพุทธศาสนาเป็นหลัก ประเทศไทย จึงยังคงดำรงรักษาเอกราชอยู่ได้อย่างมั่นคง ทั้งยังเป็นเครื่องมืออันสำคัญที่ช่วยให้คนต่างเชื้อชาติ ต่างศาสนา สามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทยได้ด้วยความสงบสุข แม้จะมีภัยใดๆ เกิดแก่พระพุทธศาสนา ไม่ว่าจะเป็นภัยจากภายนอกวงการพระศาสนา หรือจากภายใน โดยเฉพาะในช่วงที่กระแสโลกาภิวัตน์เข้ามามีอิทธิพลต่อคนไทย ภัยเหล่านั้นก็หาได้ทำให้พุทธศาสนิกชนเสื่อมคลายความนับถือในหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า แม้ชาวพุทธส่วนหนึ่งจะย่อหย่อนในการปฏิบัติบ้างก็ตาม
กล่าวโดยสรุปก็คือ การมุ่งพัฒนาให้คนเป็นคนเก่งด้วยปัญญา เป็นคนดีด้วยคุณธรรมและมีความสุขอยู่ในสังคม ซึ่งหนทางที่จะนำไปสู่เป้าหมายดังกล่าวได้ คงไม่มีทางใดจะดีไปกว่าการพัฒนาคนตามหลักแห่งศาสนา ไม่ว่าจะเป็นศาสนาใดก็ตาม เพราะทุกศาสนาต่างมุ่งประสงค์ให้คนเป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุข ด้วยกันทั้งสิ้น
ขอขอบคุณที่มาคะ http://manager.co.th/Dhamma/ViewNews.aspx?NewsID=9480000024795
วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยสืบสานความเป็นไทยไว้จนถึงทุกวันนี้ และมิใช่เป็นเพียงการทำหน้าที่ในการกำหนดรูปแบบของการดำรงชีวิต และการดำเนินชีวิตของคนไทยทั้งหลาย เท่านั้น หากแต่ยังทำหน้าที่ชี้ทางว่าสิ่งใดควรกระทำและสิ่งใดไม่ควรกระทำ รวมไปจนถึงการประกาศความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของคนไทยให้ชาวโลกได้ประจักษ์ โดยทำหน้าที่หมุนเวียนให้การดำเนินชีวิตของคนไทย คงอยู่ต่อไปไม่มีการสูญสลาย ทั้งยังช่วยในการแก้ปัญหาความไม่สมดุลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสังคม เศรษฐกิจ หรือการปกครอง ตลอดจนทำหน้าที่ส่งเสริมให้เกิดการประยุกต์ระหว่างสิ่งต่างๆ เพื่อความลงตัวระหว่างวัฒนธรรม จากที่กล่าวมานี้จะเป็นได้ว่า วัฒนธรรมไทยมีลักษณะเฉพาะเป็นของตนเอง โดยรับฐานความคิดและแนวปฏิบัติมาจากหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นสำคัญ จนกลายเป็นดุจสายเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงชีวิตให้เติบโตอย่างมีคุณค่า เพราะมีปัญญาเป็นตัวกำกับ ตามหลักแห่งไตรสิกขา อันประกอบด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา หรือการ ละชั่ว ประพฤติดี ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส อันจะนำไปสู่ชีวิตที่สะอาด สงบ และพบกับความสว่างบนเส้นทางที่ก้าวเดิน ด้วยบรรพชนได้บ่มเพาะความงามแห่งคำสั่งสอนไว้ในวิธีการอบรมนับแต่วัยเยาว์ในระดับครอบครัว จนผ่านเข้าสู่โรงเรียนที่มีครูอาจารย์คอยย้ำเตือน บอกต่อ ช่วยให้สังคมสามารถสร้างเสริมคนดีให้มีโอกาสได้เป็นผู้นำองค์กรระดับต่างๆ จนสามารถนำความเจริญก้าวหน้าสู่ประเทศชาติเป็นลำดับมา ดังนั้น การจะพัฒนาสังคมไทยให้เจริญก้าวหน้า จึงขึ้นอยู่กับภูมิปัญญาของชนในชาติ คือภูมิปัญญาของคนไทย อันมีรากฐานมาจากศาสนธรรมในพระพุทธศาสนา เป็นหลัก หลักธรรมทางพุทธศาสนา นับเป็นสมบัติอันล้ำค่าของสังคมไทย และเป็นเครื่องมือหล่อหลอมชีวิตจิตใจคนในสังคมที่มีความเก่าแก่ควบคู่มากับประวัติของความเป็นชาติ แม้ในปัจจุบันการนำศาสนธรรมมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต จะลดน้อยถอยลงไปจนส่งผลให้สังคมห่างไกลจากสันติสุข แต่ก็ใช่ว่าสิ่งนี้จะสูญหายไปจากสังคม
ถ้ามองดูปัญหาที่รุมเร้าเข้ามาไม่หยุดหย่อนในเวลานี้ จะเห็นได้ว่ามีจุดเริ่มมาจากการใช้แนวทางการพัฒนาตามแบบที่ธนาคารโลกกำหนด ซึ่งแนวทางดังกล่าวเน้นความเจริญทางด้านวัตถุเป็นสำคัญ จึงนำไปสู่ลัทธิวัตถุนิยม หรือบริโภคนิยม บางคนอาจมองว่าช่วยให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีความสะดวกสบายขึ้น แต่แท้จริงแล้ว ได้ปิดบังซ่อนเร้นผลพวงแห่งความเลวร้ายที่ติดตามมากับการพัฒนาเอาไว้ เพราะการพัฒนาตามแนวทางของธนาคารโลกปฏิเสธความเท่าเทียมกันของมนุษย์ที่มีศักยภาพและไร้ศักยภาพตามเกณฑ์การพัฒนา ผลจากการพัฒนา จึงทำให้คนไทยบางส่วนจำต้องยอมรับการเป็นอยู่อย่างอดอยาก ต้องทนกับความเจ็บป่วยที่ไม่ได้รับการรักษา ด้วยเหตุที่ได้เกิดความเหลื่อมล้ำขึ้นในสังคม ซึ่งเป็นไปในทางที่ตรงข้ามกับแนวทางของศาสนาที่มองว่า มนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน และต่างมีโอกาสในการที่จะบรรลุ สิ่งที่ดีที่สุดของชีวิตได้เหมือนกัน นอกจากนั้น ศาสนายังให้ความสำคัญกับความเป็นธรรม โดยยึดคนเป็นตัวตั้งในการหาทางออกของปัญหา แล้วมุ่งพัฒนาเพื่อให้คนทุกคนและทั้งสังคม มีโอกาสบรรลุสิ่งที่ดีที่สุด ดังนั้น ด้วยความห่วงใยว่ารากเหง้าทางวัฒนธรรมอันเป็นส่วนสำคัญที่แสดงถึงความเป็นชาติ เพราะมีเอกลักษณ์เด่นเฉพาะตน และมีลักษณะร่วมกันที่ก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพ ความรัก และความภูมิใจในแผ่นดินถิ่นเกิด กำลังจะสูญหายไป หลายฝ่ายจึงพยายามที่จะนำศาสนธรรมเข้ามาแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งสังคม โดยกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ชาติที่ชัดเจน
ประเด็นของการนำศาสนธรรมเป็นยุทธศาสตร์นั้นมุ่งที่คนเป็นสำคัญ ซึ่งในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังแห่งชาติ ฉบับที่ 8 และต่อเนื่องมาจนถึงฉบับที่ 9 ที่ประกาศใช้อยู่ในปัจจุบัน ก็มองไปที่การพัฒนาคน โดยเน้นการพัฒนาจิตใจ ด้วยการกำหนดให้คนได้รับการพัฒนาอย่างครบถ้วน ทั้ง 3 ด้าน
ประการแรก ได้แก่ การพัฒนาให้คนเป็นคนเก่งที่มีปัญญา ใฝ่รู้ รู้จักคิด มีเหตุผล ขยันขันแข็ง รู้จักพึ่งตนเอง และมีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม สังคม และประเทศชาติ
ประการที่สอง ได้แก่ การพัฒนาให้คนเป็นคนดี มีเมตตากรุณา กตัญญูรู้คุณ สามัคคี ซื่อสัตย์สุจริต ละเว้นจากอบายมุข มีระเบียบวินัย ประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณ และมีความเป็นประชาธิปไตย
ประการที่สาม ได้แก่ การพัฒนาคนให้เป็นคนที่มีความสุข มีสมาธิ สงบเยือกเย็น แจ่มใส ร่าเริง พอใจในสิ่งที่มีและยินดีในสิ่งที่ทำ
คนไทยนับเป็นคนโชคดีอย่างที่สุด ที่มีศาสนาเป็นเครื่องกล่อมเกลาจิตใจ จนแนวคำสอนของศาสนาซึมซับอยู่ในวิถีชีวิตของทุกคน และได้รับการสืบต่อเป็นวัฒนธรรมอยู่ในแต่ละกลุ่มชน โดยเฉพาะวิถีแห่งชาวพุทธที่ตั้งอยู่บนฐานแห่งเมตตาธรรม พระพุทธศาสนา จึงเป็นสมบัติอันล้ำค่าของชาติไทยที่บรรพบุรุษได้ทำนุบำรุงรักษาไว้ให้คนรุ่นหลัง และด้วยเหตุที่คนไทยมีพระพุทธศาสนาเป็นหลัก ประเทศไทย จึงยังคงดำรงรักษาเอกราชอยู่ได้อย่างมั่นคง ทั้งยังเป็นเครื่องมืออันสำคัญที่ช่วยให้คนต่างเชื้อชาติ ต่างศาสนา สามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทยได้ด้วยความสงบสุข แม้จะมีภัยใดๆ เกิดแก่พระพุทธศาสนา ไม่ว่าจะเป็นภัยจากภายนอกวงการพระศาสนา หรือจากภายใน โดยเฉพาะในช่วงที่กระแสโลกาภิวัตน์เข้ามามีอิทธิพลต่อคนไทย ภัยเหล่านั้นก็หาได้ทำให้พุทธศาสนิกชนเสื่อมคลายความนับถือในหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า แม้ชาวพุทธส่วนหนึ่งจะย่อหย่อนในการปฏิบัติบ้างก็ตาม
กล่าวโดยสรุปก็คือ การมุ่งพัฒนาให้คนเป็นคนเก่งด้วยปัญญา เป็นคนดีด้วยคุณธรรมและมีความสุขอยู่ในสังคม ซึ่งหนทางที่จะนำไปสู่เป้าหมายดังกล่าวได้ คงไม่มีทางใดจะดีไปกว่าการพัฒนาคนตามหลักแห่งศาสนา ไม่ว่าจะเป็นศาสนาใดก็ตาม เพราะทุกศาสนาต่างมุ่งประสงค์ให้คนเป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุข ด้วยกันทั้งสิ้น
ขอขอบคุณที่มาคะ http://manager.co.th/Dhamma/ViewNews.aspx?NewsID=9480000024795