PDA

แสดงเวอร์ชันเต็ม : การประสูติ



*8q*
11-14-2008, 09:04 AM
http://www.geocities.com/peera_pin/bd1.jpg

พระพุทธเจ้าเป็นโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ กษัตริย์แห่งศากยวงศ์แห่งกรุง กบิลพัสดุ์ราชอาณาจักรเนปาล และพระนางสิริมหามายาพระธิดาในพระเจ้าอัญชนะกษัตริย์ โกลิยวงศ์แห่งกรุงเทวทหะค่ำคืนหนึ่งพระนางสิริมหามายาได้นิมิตฝันว่ามีช้างเผือกตัวใหญ่ ลอยลงมาจากท้องฟ้าตรงเข้าสู่กรุงกบิลพัสดุ์และหลังจากนั้นพระนางก็ทรงตั้งครรภ์ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามเดิมว่าเจ้าชายสิทธัตถะคำว่าสิทธัตถะนั้นแปลว่า ผู้สำเร็จ ประสูติเมื่อวันศุกร์ ขึ้น ๑๕ค่ำ เดือน ๖ปีจอเวลาใกล้เที่ยง ณ ร่มไม้รังแห่งลุมพินีวัน เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะประสูติจาก พระครรภ์พระมารดา ได้เสด็จพระดำเนินด้วยพระบาท ๗ ก้าว พร้อมทั้งทรงเปล่งพระวาจาว่า พระองค์ทรงเป็นผู้ประเสริฐสุด ซึ่งจะหมายถึงเมื่อได้ตรัสรู้ แล้วพระองค์ทรงเป็นศาสดาเอกของโลก และทรงเผยแพร่พระศาสนาไปได้ยังเจ็ดแคว้นสำคัญ

เมื่อเจ้าชายประสูติได้ ๓ วัน อสิตดาบสหรือบางแห่งเรียกว่า กาฬเทวินดาบส ทราบข่าว ว่าพระเจ้าสุทโธทนะ ประมุขกษัตริย์แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ทรงมีพระโอรสใหม่ จึงออกจากอาศรมเชิงเขาเพื่อมาเฝ้าพระเจ้าสุทโธทนะ เมื่อพระเจ้าสุทโธทนะทรงทราบก็ ทรงดีพระทัยยิ่งนัก พอดาบสเห็นเจ้าชายสิทธัตถะต้องด้วยตำหรับของลักษณะมหาบุรุษลักษณ์จึงเกิดความเลื่อมใสศรัทธาว่าเจ้าชายสิทธัตถะเป็นผู้มีบุญบารมี จึงก้มลงกราบที่พระบาทของเจ้าชาย

ภายหลังที่เจ้าชายพระกุมาร ผู้พระราชโอรสประสูติได้ ๕ วันแล้ว พระเจ้าสุทโธทนะพระราชบิดาโปรดให้มีการประชุมใหญ่ ผู้เข้าประชุมมีทั้งญาติ วงศ์ทั้งฝ่ายพระบิดา และฝ่ายพระมารดา รวมทั้งขุนนางน้อยใหญ่ทุกคน และพราหมณ์ผู้รอบรู้ไตรเวทเพื่อทำพิธีมงคลกับเจ้าชาย โดยมีพราหมณ์ที่มีชื่อเพียง ทำหน้าที่อยู่ ๘ คนพราหมณ์ทั้ง ๘ มีรายนามดังนี้ รามพราหมณ์ ลักษณพราหมณ์ ยัญญพราหมณ์ ธุชพราหมณ์ โภชพราหมณ์ สุทัตตพราหมณ์ สุยามพราหมณ์ และโกณทัญญพราหมณ์ โดยพราหมณ์ทั้ง ๘ ได้ทำนายพยากรณ์ลักษณะ คำพยากรณ์แตกความเห็นเป็น ๒ กลุ่ม โดยพราหมณ์ทั้ง ๗ คนตั้งแต่พราหมณ์คนที่ ๑ ถึง ๗ ความเห็นเป็นพยากรณ์ว่า ถ้าเจ้าชายอยู่ครองราชสมบัติ จักได้ทรงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงมีพระบรมเดชานุภาพมาก แต่ถ้าเสด็จออกทรงผนวชจัก ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นศาสดาเอกของโลก มีพราหมณ์หนุ่มอายุเยาว์คนเดียวที่พยากรณ์เป็นมติเดียวโดยมีเงื่อนไขว่าจะเสด็จออกทรงผนวช พราหมณ์ผู้นี้ต่อมาได้เป็นหัวหน้าปัญจวัคคีย์ ออกบวชเป็นพระอรหันต์สาวกองค์แรกที่รู้จักในนามว่า พระอัญญาโกณทัญญะ

หลังจากเจ้าชายสิทธัตถะประสูติได้ ๗ วัน พระมารดาได้สิ้นพระชนม์ พระองค์จึงอยู่ในความอุปการะของพระนางปชาบดีโคตมีผู้เป็นน้าเมื่อเจ้าชาย สิทธัตถะทรงเจริญวัย สมควรแก่การศึกษาศิลปวิทยา พระเจ้าสุทโธทนะทรงมอบพระราชโอรสไว้ในสำนักครูวิศวามิตร ซึ่งครูวิศวามิตรได้สอนวิชาสำคัญ ๒ หมวดใหญ่ คือ พระเวท และศิลปศาสตร์ ๑๘ ประการ พระเวท ได้แก่ คัมภีร์ทางศาสนาพราหมณ์ ส่วนศิลปศาสตร์ ๑๘ ประการ เป็นวิชาสำหรับวรรณะกษัตริย์ พระญาติวงศ์ของพระพุทธเจ้ามีสองฝ่าย คือ ฝ่ายพระมารดา หรือที่มีชื่อว่า โกลิยวงศ์ครองเมืองเทวทหะ และฝ่ายพระบิดา หรือที่มีชื่อว่า ศากยวงศ์ ครองเมืองกบิลพัสดุ์ โดยมีแม่น้ำโรหิณีไหลผ่านเป็นเขตกั้นพรมแดน ทั้งสองนครนี้เกี่ยวดองเป็นพระญาติกันมีความรักฉันพี่น้องร่วมสายโลหิต ต่างอภิเษกสมรส กันและกันเสมอมา กษัตริย์ผู้ครองเมืองเทวทหะก็คือ พระเจ้าสุปปพุทธะมีโอรสและพระธิดาสองพระองค์ พระโอรสคือ เทวทัต พระธิดาคือ พระนางยโสธรา หรือ พิมพา ปฐมสมโพธิว่าว่าพระนางยโสธราหรือพิมพา เป็นผู้หนึ่งใน ๗ สหชาติของพระพุทธเจ้า สหชาติ คือ สิ่งที่เกิดพร้อมกันกับวันที่พระพุทธเจ้าเกิด ๗ สหชาติ นั้น คือ ๑.พระนางยโสธราหรือพิมพา ๒.พระอานนท์ ๓.กาฬุทายีอำมาตย์ ๔.นายฉันทะ มหาดเล็ก ๕.ม้ากัณฐกะ ๖.ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ๗.ขุมทองทั้ง๔(สังขนีธี, เอลนีธี,อุบลนีธี,บุณฑริกนีธี) พระญาติวงศ์ทั้งสองฝ่ายเห็นพร้อมกันว่า พระนางยโสธราหรือพิมพานั้นทรงพร้อมด้วยคุณสมบัติทุกอย่าง สมควรจะอภิเษกสมรส กับเจ้าชายสิทธัตถะ พระราชพิธีอภิเษกสมรสจึงได้มีขึ้นในสมัยที่ทั้งเจ้าชายและเจ้าหญิงทรงมีพระชนมายุได้ ๑๖ ปีพอดี

พระเจ้าสุโธทนะ พระราชบิดา และพระญาติวงศ์ทั้งปวงทรงปรารถนาที่จะให้เจ้า ชายสิทธัตถะอยู่ครองราชสมบัติ มากกว่าที่จะให้เสด็จออกบรรพชาตามคำทำนาย ของพราหมณ์บาใทายที่ว่าไว้ จึงพยายมหาวิธีผูกมัดพระโอรสให้เพลิดเพลินใน กามสุขทุกอย่าง แต่เจ้าชายสิทธัตถะทรงมีพระอัธยาศัยเป็นนักคิดสมที่ทรงเกิดมา เป็นพระศาสดาโปรดชาวโลก จึงทรงยินดีในความสุขนั้นไม่นาน พอพระชนมายุ มากขึ้นจนถึง ๒๙ ก็ทรงเกิดนิพพิทาคือความเบื่อหน่าย ต้นเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความรู้สึกพระทัยในเช่นนั้น อยู่ที่ทรงเห็นสิ่งที่เรียกว่า เทวทูตทั้ง ๔ ระหว่างวันเดินทางเสด็จประพาสพระราชอุทยานนอกเมืองด้วยรถ ม้าพระที่นั่ง พร้อมด้วยสารถีคนขับ เทวทูตทั้ง ๔ คือคนแก่ คนเจ็บ คนตาย และ นักบวช ทรงเห็นคนแก่ก่อนปฐมสมโพธิบรรยายลักษณะของคนแก่ไว้ว่า "มีเกศา อันหงอกแลสีข้างก็คดค้อมกายนั้นง้อมเงื้อมไปเบื้องหน้ามือถือไม้เท้าเดินมาใน ระหว่างมรรควิธี มีอาการอันไหวหวั่นสั่นไปทั่วทั้งกาย ควรจะสังเวช..." ก็ทรงสังเวชสลดพระทัย เช่นเดียวกับทรงเห็นคนเจ็บและคนตายในครั้งที่สอง และที่สาม เมื่อเสด็จประพาสพระราชอุทยาน ทรงปรารภถึงพระองค์ว่าจะต้องเป็น อย่างนั้น ทรงพระดำริว่า สภาพธรรมดาในโลกย่อมมีสิ่งตรงกันข้ามคู่กัน คือมีมืด แล้งมีสว่าง มีร้อน แล้วมีเย็น เมื่อมีทุกข์ทางแก้ทุกข์ก็คงจะมี

ในคราวเสด็จประพาสพระราชอุทยานครั้งที่ ๔ ทรงเห็นนักบวชนุ่งผ้าห่มกาสาวพัสตร์ กอปรด้วยอากัปกิริยาสำรวม เมื่อทรงเห็นนักบวชก็ทรงน้อมพระทัยไปทางบรรพชา ทรงรำพึงในพระทัยทรงเปล่งอุทานออกมาว่า " สาธุ ปัพพชา " สองคำนี้เป็นภาษา บาลี แปลว่า " บวชท่าจะดีแน่ " แล้วพระองค์ก็ทรงตัดสินใจว่าจะบวชตั้งแต่นั้นมา

เมื่อพระองค์เสด็จกลับสู่พระตำหนัก มีเจ้าพนักงานจากราชสำนักผู้หนึ่ง ซึ่งพระเจ้าสุทโธทนะรับสั่งให้นำข่าวมาแจ้งให้เจ้าชายสิทธัตถะทรงทราบ เจ้า พนักงานกราบทูลว่าพระนางยโสธราหรือพิมพา ประสูติพระโอรสแล้ว เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะได้ทรงทราบข่าวว่า พระชายาของพระองค์ประสูติพระโอรสแล้วทรงเกิด ความรู้สึกอย่างหนึ่งซึ่งไม่เคยเกิดกับพระองค์มาก่อนเลย คือ ความรักลูกยิ่งนัก

ความรักนั้นเกิดขึ้นแล้ว สร้างความหนักหน่วงพระทัย ผูกมัดรัดรึงพระทัยยิ่งกว่าสิ่งใดในโลก จนทรงอุทานออกมาว่า " พันธนัง ชาตัง ราหุลัง ชาตัง " แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า " ห่วงเกิดขึ้นเสียแล้ว " คำที่แปลว่าห่วงในคำอุทานของเจ้าชายสิทธัตถะ คือ ราหุลัง หรือ ราหุล ต่อมาคำนี้ได้ถวายเป็นพระนามของ ราหุลกุมาร

ที่เจ้าชายสิทธัตถะเปล่งอุทานขึ้นว่า " ห่วงเกิดขึ้นแล้ว " นั้นหมายถึงว่า พระองค์กำลังตัดสินพระทัยเสด็จออกบวช กำลังจะตัดห่วงหาอาลัยในฆราวาส อย่างอื่นก็มีห่วงใหม่ขึ้นมาผูกมัดอีกเสียแล้ว

ตั้งแต่เจ้าชายสิทธัตถะทอดพระเนตรเห็นเทวทูตทั้งสี่แล้ว ทรงตัดสินพระทัยแล้วว่าจะเสด็จออกบรรพชาเป็นต้นมา แม้ว่าภายหลังจะทรงบังเกิดบ่วง ขึ้นในพระทัยไว้ว่าจะเสด็จออกบวชไม่เปลี่ยนแปลง คืนนั้นเจ้าชายเสด็จออกจากแท่นบรรทม แล้วเสด็จไปยังพระทวารปราสาทตรัสเรียกนายฉันนะมหาดเล็กคนสนิท ของเจ้าชายสิทธัตถะ ทรงรับสั่งให้นายฉันนะไปเตรียมผูกม้า นายฉันนะก็รับบัญญารีบลงไปที่โรงม้า ส่วนเจ้าชายเสด็จไปยังพระบรรทมของนางยโสธราผู้เป็นชายาก่อน เมื่อเสด็จไปถึง ทรงเผย บานพระทวารออก ทรงเห็นพระชายากำลังหลับสนิท พระนางทอดพระกรไว้เหนือเศียรราหุล โอรสเพิ่งประสูติ พระองค์ทรงเกิดความเสน่หาในพระชายาและพระโอรสที่พึ่งได้ทอดพระ เนตรเห็นเป็นครั้งแรกเป็นอย่างหนัก พระองค์ทรงตัดพระทัยและข่มพระทัยเสียได้ว่าอย่าเลย เมื่อได้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า จะกลับมาทัศนาการพระพักตร์พระลูกแก้วเมื่อภายหลัง แล้วจึง เสด็จออกจากที่นั่น ลงจากปราสาทไปยังที่ที่นายฉันนะได้เตรียมม้าไว้เรียบร้อยแล้ว

ม้าพระที่นั่งที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงขึ้นทรง เพื่อเสด็จออกบรรพชาครั้งนี้ มีชื่อว่า ม้ากัณฐกะ เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จทรงม้าพระที่นั่งผ่านประตูเมืองออกมาในยามราตรี พญามารได้ปรากฎกายขึ้นต่อหน้าเจ้าชายเพื่อห้ามมิเจ้าชายออกบวช แต่เจ้าชายสิทธัตถะก็มิได้ ฟังจึงเสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์เพื่อหาหนทางดับทุกข์


http://www.geocities.com/peera_pin/bd2.jpg


http://www.geocities.com/peera_pin/bd3.jpg


http://www.geocities.com/peera_pin/index.html