*8q*
10-27-2008, 03:42 PM
(พิจารณาเพื่อให้เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนขึ้น)
ธรรมชาติของจิตนั้นเปรียบประดุจดั่งธรรมชาติของนํ้า
นํ้านั้นไร้รูปร่าง แปรปรวนไปตามภาชนะที่บรรจุหรือรองรับ, จิตนั้นก็ไร้รูปร่าง แปรปรวนไปตามสิ่งแวดล้อมทุกชนิดที่กระทบสัมผัส(ผัสสะ),
นํ้าประกอบด้วยเหตุปัจจัยต่างๆมาประชุมรวมกันชั่วระยะหนึ่งเช่น H และ O, จิตก็ประกอบด้วยเหตุปัจจัยอันมากหลายมาประชุมกันชั่วระยะหนึ่ง เช่น สิ่งที่มากระทบ(อายตนะภายนอก) เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ฯลฯ.
นํ้าโดยธรรมชาติแล้วมีคุณสมบัติไหลลงสู่ที่ตํ่าเพราะแรงดึงดูดโลก, จิตก็มีคุณสมบัติเหมือนดั่งนํ้าที่โดยธรรมชาติแล้วย่อมต้องไหลลงสู่ที่ตํ่าตามแรงดึงดูดของความเคยชินที่ได้สั่งสม(สังขาร) จึงย่อมดำเนินไปตามกิเลส>>ตัณหา>>แลอุปาทานนั่นเอง,
นํ้าไม่มีวันไหลสู่เบื้องสูงได้เองฉันใด, จิตก็ไม่มีวันไหลสู่เบื้องสูง(เจริญในธรรม)ได้เอง ฉันนั้น
ถ้าเราต้องการยกระดับนํ้าให้สูงขึ้น ย่อมต้องออกแรงพยายามฉันใด, จิตจักสูงขึ้นได้ ก็ย่อมต้องการ การพยายามปฏิบัติฉันนั้น,
การยกระดับนํ้าให้สูงขึ้นโดยใช้วิธีการที่ถูกต้องเช่นเครื่องกล,ภาชนะหรืออุปกรณ์ที่ถูกต้อง ย่อมยกระดับนํ้าได้รวดเร็วฉันใด, จิตก็ย่อมต้องการการปฏิบัติอันถูกต้องจึงจักยกระดับจิตให้สูงขึ้นได้เร็วฉันนั้น,
ธรรมชาติของนํ้าเดือดพล่านเพราะไฟอันเป็นของร้อนฉันใด, ธรรมชาติของจิตก็เช่นกัน ย่อมเดือดพล่านเพราะไฟอันเป็นของร้อนของกิเลสตัณหาอุปาทาน ฉันนั้น
นํ้าบริสุทธ์คือนํ้าที่ไม่มีสิ่งเจือปน, จิตบริสุทธ์ก็คือจิตเดิมแท้ที่ไม่เจือด้วยกิเลสตัณหาอุปาทานนั่นเอง หรือจิตเดิมแท้นั่นแหละคือจิตพุทธะหรือปภัสสร อันมีอยู่แล้วในทุกผู้คนโดยธรรมชาติ เพียงแต่ถูกบดบังหรือครอบงําด้วยกิเลสตัณหาอุปาทานให้มัวหมอง
ข้อสังเกตุ นักปฏิบัติที่เจริญก้าวหน้าแล้วหยุดหรือพอใจแค่นั้น จึงถูกธรรมชาติของจิตเล่นงาน ไหลกลับลงสู่ความเคยชินที่ได้สั่งสมไว้(สังขารในปฏิจจสมุปบาท)หรือตามแรงดึงดูดของกิเลสตัณหาอุปาทานนั่นเอง, กลับคืนสู่สภาพเดิมๆในไม่ช้า
ลองโยนิโสมนสิการแบบสนุกๆดู, บุคคลใดมีทรัพย์สมบัติมากมาย ไม่มีการงานให้ต้องทําหรือรับผิดชอบ มีความสุขทางโลกเต็มที่ ทําบุญครั้งละมากๆ แต่มิได้ปฏิบัติ ท่านว่าบุคคลนี้จักถูกธรรมชาติของจิตดึงดูดลงสู่ที่ตํ่าหรือไม่?
สังขารขันธ์ต่างๆที่เกิดขึ้นนั้น ในชีวิตประจําวันนั้น ส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากความเคยชิน คิดสั่งการใดแล้ว ก็จักกระทําไปตามความเคยชินหรือการเรียนรู้ ที่ได้ประพฤติปฏิบัติมาแล้ว แต่แยกไม่ออก จึงไม่รู้ว่าความเคยชินนี้แหละหรือสังขารในปฏิจจสมุปบาทมีอิทธิพลเยี่ยงไร ดังจะไปกินข้าว เพียงคิดขึ้นมาจะเกิดสังขารขันธ์ต่างๆหลายอย่างเช่นลุกขึ้น, เดิน, หาจาน ช้อน,ทานอาหาร อันเป็นการประพฤติปฏิบัติโดยอัติโนมัติไม่รู้ตัว เพราะอิทธิพลของความเคยชิน ที่ได้ประพฤติปฏิบัติ เรียนรู้ อันได้สั่งสมไว้ อันทํางานอยู่เบื้องหลังโดยไม่รู้ตัว
ด้วยเหตุนี้นักปฏิบัติหลายๆท่านที่ปฏิบัติก้าวหน้าดีแล้ว จนจางคลายจากทุกข์ได้ผลตามควรแก่ตนแล้ว แต่หยุดปฏิบัติเพราะความพอใจแล้ว หรือหยุดเพราะฤทธิ์ของความเคยชินแล้ว จึงเกิดสภาพไหลลงสู่ที่ตํ่า กล่าวคือกลับสู่สภาพเดิมๆอันได้สั่งสมอบรมไว้เป็นเวลานาน นี้แหละคือธรรมชาติของจิต ดังนั้นความเพียรจนเกิดเป็นสังขารความเคยชินใหม่อันไม่เกิดแต่อวิชชา ดังเช่นการปฏิบัติให้เห็นเวทนาและความคิด(จิต) จึงเป็นสิ่งจําเป็นควบคู่ไปกับความเข้าใจในสภาวธรรม
http://www.nkgen.com/21.htm
http://board.agalico.com/showthread.php?t=23426
ธรรมชาติของจิตนั้นเปรียบประดุจดั่งธรรมชาติของนํ้า
นํ้านั้นไร้รูปร่าง แปรปรวนไปตามภาชนะที่บรรจุหรือรองรับ, จิตนั้นก็ไร้รูปร่าง แปรปรวนไปตามสิ่งแวดล้อมทุกชนิดที่กระทบสัมผัส(ผัสสะ),
นํ้าประกอบด้วยเหตุปัจจัยต่างๆมาประชุมรวมกันชั่วระยะหนึ่งเช่น H และ O, จิตก็ประกอบด้วยเหตุปัจจัยอันมากหลายมาประชุมกันชั่วระยะหนึ่ง เช่น สิ่งที่มากระทบ(อายตนะภายนอก) เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ฯลฯ.
นํ้าโดยธรรมชาติแล้วมีคุณสมบัติไหลลงสู่ที่ตํ่าเพราะแรงดึงดูดโลก, จิตก็มีคุณสมบัติเหมือนดั่งนํ้าที่โดยธรรมชาติแล้วย่อมต้องไหลลงสู่ที่ตํ่าตามแรงดึงดูดของความเคยชินที่ได้สั่งสม(สังขาร) จึงย่อมดำเนินไปตามกิเลส>>ตัณหา>>แลอุปาทานนั่นเอง,
นํ้าไม่มีวันไหลสู่เบื้องสูงได้เองฉันใด, จิตก็ไม่มีวันไหลสู่เบื้องสูง(เจริญในธรรม)ได้เอง ฉันนั้น
ถ้าเราต้องการยกระดับนํ้าให้สูงขึ้น ย่อมต้องออกแรงพยายามฉันใด, จิตจักสูงขึ้นได้ ก็ย่อมต้องการ การพยายามปฏิบัติฉันนั้น,
การยกระดับนํ้าให้สูงขึ้นโดยใช้วิธีการที่ถูกต้องเช่นเครื่องกล,ภาชนะหรืออุปกรณ์ที่ถูกต้อง ย่อมยกระดับนํ้าได้รวดเร็วฉันใด, จิตก็ย่อมต้องการการปฏิบัติอันถูกต้องจึงจักยกระดับจิตให้สูงขึ้นได้เร็วฉันนั้น,
ธรรมชาติของนํ้าเดือดพล่านเพราะไฟอันเป็นของร้อนฉันใด, ธรรมชาติของจิตก็เช่นกัน ย่อมเดือดพล่านเพราะไฟอันเป็นของร้อนของกิเลสตัณหาอุปาทาน ฉันนั้น
นํ้าบริสุทธ์คือนํ้าที่ไม่มีสิ่งเจือปน, จิตบริสุทธ์ก็คือจิตเดิมแท้ที่ไม่เจือด้วยกิเลสตัณหาอุปาทานนั่นเอง หรือจิตเดิมแท้นั่นแหละคือจิตพุทธะหรือปภัสสร อันมีอยู่แล้วในทุกผู้คนโดยธรรมชาติ เพียงแต่ถูกบดบังหรือครอบงําด้วยกิเลสตัณหาอุปาทานให้มัวหมอง
ข้อสังเกตุ นักปฏิบัติที่เจริญก้าวหน้าแล้วหยุดหรือพอใจแค่นั้น จึงถูกธรรมชาติของจิตเล่นงาน ไหลกลับลงสู่ความเคยชินที่ได้สั่งสมไว้(สังขารในปฏิจจสมุปบาท)หรือตามแรงดึงดูดของกิเลสตัณหาอุปาทานนั่นเอง, กลับคืนสู่สภาพเดิมๆในไม่ช้า
ลองโยนิโสมนสิการแบบสนุกๆดู, บุคคลใดมีทรัพย์สมบัติมากมาย ไม่มีการงานให้ต้องทําหรือรับผิดชอบ มีความสุขทางโลกเต็มที่ ทําบุญครั้งละมากๆ แต่มิได้ปฏิบัติ ท่านว่าบุคคลนี้จักถูกธรรมชาติของจิตดึงดูดลงสู่ที่ตํ่าหรือไม่?
สังขารขันธ์ต่างๆที่เกิดขึ้นนั้น ในชีวิตประจําวันนั้น ส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากความเคยชิน คิดสั่งการใดแล้ว ก็จักกระทําไปตามความเคยชินหรือการเรียนรู้ ที่ได้ประพฤติปฏิบัติมาแล้ว แต่แยกไม่ออก จึงไม่รู้ว่าความเคยชินนี้แหละหรือสังขารในปฏิจจสมุปบาทมีอิทธิพลเยี่ยงไร ดังจะไปกินข้าว เพียงคิดขึ้นมาจะเกิดสังขารขันธ์ต่างๆหลายอย่างเช่นลุกขึ้น, เดิน, หาจาน ช้อน,ทานอาหาร อันเป็นการประพฤติปฏิบัติโดยอัติโนมัติไม่รู้ตัว เพราะอิทธิพลของความเคยชิน ที่ได้ประพฤติปฏิบัติ เรียนรู้ อันได้สั่งสมไว้ อันทํางานอยู่เบื้องหลังโดยไม่รู้ตัว
ด้วยเหตุนี้นักปฏิบัติหลายๆท่านที่ปฏิบัติก้าวหน้าดีแล้ว จนจางคลายจากทุกข์ได้ผลตามควรแก่ตนแล้ว แต่หยุดปฏิบัติเพราะความพอใจแล้ว หรือหยุดเพราะฤทธิ์ของความเคยชินแล้ว จึงเกิดสภาพไหลลงสู่ที่ตํ่า กล่าวคือกลับสู่สภาพเดิมๆอันได้สั่งสมอบรมไว้เป็นเวลานาน นี้แหละคือธรรมชาติของจิต ดังนั้นความเพียรจนเกิดเป็นสังขารความเคยชินใหม่อันไม่เกิดแต่อวิชชา ดังเช่นการปฏิบัติให้เห็นเวทนาและความคิด(จิต) จึงเป็นสิ่งจําเป็นควบคู่ไปกับความเข้าใจในสภาวธรรม
http://www.nkgen.com/21.htm
http://board.agalico.com/showthread.php?t=23426