PDA

แสดงเวอร์ชันเต็ม : หลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง



DAO
11-15-2008, 09:35 AM
http://www.amulet.in.th/forums/images/1193.jpg



พระครูวิสุทธิวงศาจารย์ญาณมุนี (หลวงพ่อแช่ม) วัดฉลอง จ.ภูเก็ต

ประวัติ

หลวงพ่อแช่ม เกิดเมื่อ พ.ศ. 2370 เป็นบุตรชาวบ้านในตำบลฉลอง พ่อแม่ส่งให้มาอยู่ ณ วัดฉลองเป็นศิษย์ของ พ่อท่านเฒ่า ตั้งแต่เล็ก เมื่อมีอายุพอจะบวชได้ก็บวชเป็นสามเณร และต่อมา เมื่อมีอายุถึงที่ได้บวชเป็นพระภิกษุจำพรรษาอยู่ ณ วัดฉลอง

พ่อท่านแช่มได้ศึกษาวิปัสสนาธุระจาก พ่อท่านเฒ่าจนเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญทางวิปัสสนาธุระเป็นอย่างสูงความมีชื่อเสียงของพ่อท่านปรากฎชัดในคราวที่พ่อท่านแช่ม เป็นหัวหน้า ปราบอั้งยี่ ซึ่งท่านจะได้ทราบต่อไป

ในปี พุทธศักราช 2419 กรรมกรเหมืองแร่เป็นจำนวนหมื่น ในจังหวัดภูเก็ตและจังหวัดใกล้เคียง ได้ซ่องสุมกันก่อตั้ง เป็นคณะขึ้นเรียกว่า อั้งยี่ โดยเฉพาะพวกอั้งยี่ในจังหวัดภูเก็ต ก่อเหตุวุ่นวายถึงขนาดจะเข้ายึดการปกครองของจังหวัดภูเก็ต ทางราชการในสมัยนั้นไม่อาจปราบให้สงบราบคาบได้ พวกอั้งยี่ถืออาวุธรุกไล่ ฟันชาวบ้านล้มตายเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านไม่อาจต่อสู้ป้องกันเอง และทรัพยสินที่รอดชีวิตก็หนีเข้าป่าไป เฉพาะในตำบลฉลอง ชาวบ้านได้หลบหนีเข้าป่า เข้าวัดทิ้งบ้านเรือน ปล่อยให้พวก อั้งยี่เผาบ้านเรือน หมู่บ้านซึ่งพวกอั้งยี่เผา ได้ชื่อว่าบ้านไฟไหม้ จนกระทั่งบัดนี้

ชาวบ้านที่หลบหนีเข้ามาในวัดฉลอง เมื่อพวกอั้งยี่รุกไล่ใกล้วัดเข้ามาต่างก็เข้าไปแจ้งให้พ่อท่านแช่มทราบ และนิมนต์ให้พ่อท่านหลบหนีออกจากวัดฉลองไปด้วย พ่อท่านแช่มไม่ยอมหนี ท่านว่าท่านอยู่ที่วัดนี้จะให้หนีทิ้งวัดไปได้อย่างไร

เมื่อพ่อท่านแช่ม ไม่ยอมหนีทิ้งวัด ชาวบ้านต่างก็แจ้ง พ่อท่านแช่มว่าเมื่อพ่อท่านไม่หนี พวกเราก็ไม่หนีจะขอสู้มันล่ะ พ่อท่านมีอะไรเป็นเครื่องคุ้มกันตัวขอให้ท่านทำให้ด้วย พ่อท่านแช่มจึงทำผ้าประเจียดแจกให้โพกศีรษะคนละผืน เมื่อได้ของคุ้มกันชาวบ้านฉลองก็ออกไปชักชวนผู้ ที่หลบหนีไปอยู่ตามป่า กลับมารวมพวกกันอยู่ในวัด หาอาวุธปืนมีด เตรียมต่อสู่กับพวกอั้งยี่ พวกอั้งยี่เที่ยวรุกไล่ฆ่าฟันชาวบ้าน ไม่มีใครต่อสู้ก็ชะล่าใจ ประมาทรุกไล่ฆ่าชาวบ้านมาถึงวัดฉลองชาวบ้านซึ่งได้รับผ้าประเจียดจากพ่อท่านแช่มโพกศีรษะไว้ก็ออกต่อต้านพวกอั้งยี่ โจรอั้งยี่ไม่สามารถทำร้ายชาวบ้านได้ ก็ถูกชาวบ้านไล่ฆ่าฟันแตกหนีไปครั้งนี้เป็นชัยชนะ ครั้งแรกของไทยชาวบ้านฉลอง

ข่าวชนะศึกครั้งแรกของชาวบ้านฉลอง รู้ถึงชาวบ้านที่หลบหนีไปอยู่ที่อื่น ต่างก็พากันมายังวัดฉลอง รับอาสาว่าถ้าพวกอั้งยี่มารบอีกก็จะต่อสู้ ของให้พ่อท่านแช่มจัดเครื่องคุ้มครองตัวให้ พ่อท่านแช่มก็ทำผ้าประเจียดแจกให้คนละผืน พร้อมกับแจ้งแก่ชาวบ้าน “ข้าเป็นพระสงฆ์ จะรบราฆ่าฟันกับใครไม่ได้ พวกสูจะรบก็คิดอ่านกันเอาเอง ข้าจะทำเครื่องคุณพระให้ไว้สำหรับป้องกันตัวเท่านั้น” ชาวบ้านเอาผ้าประเจียดซึ่งพ่อท่านแช่มทำให้โพกศีรษะเป็นเครื่องหมายบอกฝ่ายเพื่อทำการต่อต้านพวกอั้งยี่

โจรอั้งยี่ให้ฉายาชาวบ้านฉลองว่า พวกหัวขาว ยกพวกมาโจมตีคนไทยชาวบ้านฉลองหลายครั้งชาวบ้านถือเอากำแพงอุโบสถเป็นแนวป้องกัน อั้งยี่ไม่สามารถตีฝ่าเข้ามาได้ ภายหลังจัดเป็นกองทัพเป็นจำนวนพัน ตั้งแม่ทัพนายกองมีธงรบ ม้าล่อ เป็นเครื่องประโคมขณะรบกัน ยกทัพเข้าสู้ล้อมรอบกำแพงพระอุโบสถ ยิงปืน พุ่งแหลม พุ่งอีโต้ เข้ามาที่กำแพง เป็นที่น่าอัศจรรย์ที่บรรดาบ้านซึ่งได้เครื่องคุ้มกันตัวจาก พ่อท่านแช่มต่างก็แคล้วคลาด ไม่ถูกอาวุธของพวกอั้งยี่เลย รบกันจนเที่ยง พวกอั้งยี่ยกธงขอพักรบถอย ไปพักกันใต้ร่มไม้ หุงหาอาหาร ต้มข้าวต้มกินกันมีฝิ่นก็เอามาสูบอิ่มหนำสำราญแล้วก็นอนพักผ่อนชาวบ้านแอบดูอยู่ในกำแพงโบสถ์ เห็นได้โอกาสขณะที่พวกอั้งยี่เผลอก็ออกไปโจมตีบ้าง พวกอั้งยี่ไม่ทันรู้ตัวก็ล้มตายและแตกพ่ายไป หัวหน้าอั้งยี่ประกาศให้สินบนใครสามารถฆ่าหรือจับตัวพ่อท่านแช่มวัดฉลอง ไปมอบตัวได้ จะให้เงินถึง 5,000 เหรียญ

เล่าลือกันทั่วไปในวงการอั้งยี่ว่า คนไทยชาวบ้านฉลอง ซึ่งได้รับผ้าประเจียดของพ่อท่านแช่ม โพกศีรษะล้วนแต่เป็นยักษ์มารคงทนต่ออาวุธ ไม่สามารถทำร้ายได้ยกทัพมาตีกี่ครั้ง ๆ ก็ถูกตีกลับไปในที่สุดเจรจาขอหย่าศึก ยอมแพ้แก่ชาวบานศิษย์พ่อท่านแช่ม โดยไม่มีเงื่อนไข

คณะกรรมการเมืองภูเก็ต ได้ทำรายงานกราบทูลไปยัง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรด เกล้าโปรดกระหม่อมให้คณะกรรมการเมืองนิมนต์ พ่อท่านแช่ม ให้เดินทางไปยังพระมหานคร มีพระประสงค์จะทรง ปฏิสันถารกับพ่อท่านแช่มด้วยพระองค์เอง พ่อท่านแช่ม และคณะเดินทางถึงพระมหานคร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานสมณศักดิ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานสมณศักดิ์พ่อท่านแช่มเป็น พระครูวิสุทธิวงศาจารย์ญาณมุนี ให้มีตำแหน่งเป็น สังฆปาโมกข์ เมืองภูเก็ต อันเป็นตำแหน่งสูงสุด ซึ่งบรรพชิตจักพึงมีในสมัยนั้น

ในโอกาสเดียวกัน ทรงพระราชทานนามวัดฉลอง เป็นวัดไชยธาราราม จากคำบอกเล่าของคณะผู้ติดตามพ่อท่านแช่มไปในครั้งนั้น แจ้งว่ามีพระสนมองค์หนึ่งพระพุทธมนต์ให้รดตัวรักษา ปรากฎว่าอาการป่วยได้หายลงโดยรวดเร็วจนสามารถลุกนั่งได้ อนึ่งการเดินทางไปและกลับจากจังหวัดภูเก็ตกับพระมหานคร ในสมัยนั้นลำบากมาก ต้องเดินทางรอนแรมผ่านจังหวัดต่าง ๆ ชุมพรท่านพ่อแช่มและคณะได้เข้าพักระหว่างทาง ณ ศาลาหน้าวัด เจ้าอาวาสวัดนั้นนิมนต์ให้พ่อท่านแช่มเข้าไปพักที่ศาลาหน้าวัดแล้วก็ขอพักที่เดิมเถิด เจ้าอาวาสและชาวบ้านในละแวกนั้น บอกวาการพักที่ศาลาหน้าวัดอันตราย อาจเกิดมีพวกโจรมาลักเอาสิ่งของของพ่อท่านแช่มและคณะไปหมด พ่อท่านแช่มตอบว่า เมื่อมันเอาไปได้มันก็คงเอามาคืนได้ เจ้าอาวาสและชาวบ้านอ้อนวอนพ่อท่านแช่มก็คงยืนยันขอพักที่เดิม เล่าว่าตกตอนดึกคืนนั้น โจรป่ารวม 6 คน เข้ามาล้อศาลาไว้ ขณะนั้นคนอื่น ๆ หลับหมดแล้วคงเหลือแต่พ่อท่านแช่มองค์เดียว พวกโจรเอื้อมเอาของไม่ถึงพ่อท่านแช่มก็ช่วยผลักของให้ สิ่งของส่วนมากบรรจุปี๊บใส่สาแหรกพวกโจร พอได้ของก็พากันขนเอาไป

รุ่งเช้าเจ้าอาวาสและชาวบ้านมาเยี่ยม ทราบเหตุที่เกิดขึ้นก็พากันไปตามกำนันนายบานมาเพื่อจะไปตาม พวกโจรท่านท่านแช่มก็ห้ามมิให้ตามไป ต่อมาครู่หนึ่ง พวกโจรก็กลับมา แต่การกลับมาคราวนี้หัวหน้าโจรถูกหามกลับมา พร้อมกับสิ่งของซึ่งลักไปด้วยกำนันนายบ้านก็เข้าคุมตัว หัวหน้าโจรปวดท้องจุกเสียดร้องครางโอดโอย ทราบว่า ระหว่างที่ขนของซึ่งพวกตนขโมยไปนั้น คล้ายกับมีเสียง บอกว่าให้ส่งคืนไปเสีย มิฉะนั้นจะเกิดอาเพท พวกโจรไม่เชื่อขนของต่อไปอีก หัวหน้าโจรจึงเกิดมีอาการจุกเสียดขึ้นไม่สามารถเดินทางต่อไปได้ เลยปรึกษากันตกลงขนสิ่งของกลับมาคืน พ่อท่านแช่มสั่งสอนว่า ต่อไปขอให้เลิกเป็นโจร อาการปวดก็จะหาย กำนันนายบ้านจะจับพวกโจรส่งกรมการเมือง ชุมพร แต่พ่อท่านแช่มได้ขอร้องมิให้จับกุมขอให้ปล่อยตัวไป

ไม่เพียงแต่ชนชาวไทยในภูเก็ตเท่านั้น ที่มีความเคารพ เลื่อมใสในองค์พ่อท่านแช่ม ชาวจังหวัดใกล้เคียงตลอดจน ชาวจังหวัดต่าง ๆ ในมาเลเซียต่างก้ให้ความเคารพนับถือในองค์ พ่อท่านแช่มเป็นอย่างสูง โดยเฉพาะชาวพุทธในจังหวัดปีนัง ยกย่องพ่อท่านแช่มเป็นเสมือน สังฆปาโมกข์เมื่อปีนัง ด้วย

การปราบอั้งยี่ในครั้งนั้น เมื่อพวกอั้งยี่แพ้ศึกก็หันมาเลื่อมใสให้ความเคารพนับถือต่อพ่อท่านแช่มเป็นอย่างมาก แม้แต่ผู้ซึ่งนับถือศาสนาอื่นก็มีความเคารพเลื่อมใส ต่อพ่อท่านแช่ม เกิดอาเพทต่าง ๆ ในครัวเรือนต่างก็บนบาน พ่อท่านแช่มให้ช่วยขจัดปัดเป่าให้

ชาวเรือพวกหนึ่ง ลงเรือพายออกไปหาปลาในทะเล ถูกคลื่นและพายุกระหน่ำจนเรือจวนล่ม ต่างก็บนบานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ให้คลื่นสงบ แต่คลื่อลมกลับรุนแรงข้น ชาวบ้านคนหนึ่งนึกถึงพ่อท่านแช่มบรรดาลให้คลื่นลมสงบเถิด รอดตายกลับถึงบ้านก็จะปิดทองที่ตัวพ่อท่านแช่ม คลื่นลมก็สงบมาถึงบ้านก็นำทองคำเปลวไปหาพ่อท่านแช่มเล่าให้พ่อท่านแช่มทราบและขอเปิดทองที่ตัวท่าน พ่อท่านแช่มบอกว่าท่านยังมีชีวิตอยู่จะปิดทองยังไง ให้ไปปิดที่พระพุทธรูป ชาวบ้านกลุ่มนั้น ก็บอกว่า ถ้าพ่อท่านแช่มไม่ให้ปิด หากแรงบน ทำให้เกิดอาเพทอีกจะแก้อย่างไร ในที่สุดพ่อท่านแช่มก็จำต้อง ยอกให้ชาวบ้านปิดทองที่ตัวท่านโดยให้ปิดที่แขนและเท้า ชาวบ้านอื่น ๆ ก็บนตามอย่างด้วยเป็นอันมากพ่อท่านแช่ม ออกจากวัดไปทำธุระในเมือง ชาวบ้านต่างก็นำทองคำเปลว รอคอยปิดทองที่หน้าแข้งของพ่อท่านแช่มแทบทุกบ้านเรือนจน ถือเป็นธรรมเนียมเมื่อ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จมาจังหวัดภูเก็ตนิมนต์พ่อท่านแช่มไปหา ก็ยังทรงเห็นทองคำเปลวที่ปิดอยู่หน้าแข้งของพ่อท่านแช่ม นับเป็นพระภิกษุองค์แรกของเมืองไทยที่ได้รับการปิดทองแก้บนทั้ง ๆ ที่ ยังมีชีวิตอยู่แม้แต่ไม้เท้าของพ่อท่านแช่ม ซึ่งท่านถือประจำกายก็มีความขลัง ประวัติความขลังของไม้เท้ามีดังนี้

เด็กหญิงรุ่นสาวคนหนึ่ง เป็นคนชอบพูดอะไรแผลง ๆ ครั้งหนึ่งเด็กหญิงคนนั้นเกิดปวดท้องจุกเสียดอย่างแรงกินยาอะไร ก็ไม่ทุเลาจึงบนพ่อท่านแช่มว่า ขอให้อาการปวดท้องหายเถิด ถ้าหายแล้วจะนำทองไปปิดที่ของลับของพ่อท่านแช่ม อาการปวดท้องก็หายไป เด็กหญิงคนนั้นเมื่อหายแล้วก็ไม่สนใจ ถือว่าพูดเล่นสนุก ๆ ต่อมาอาการปวดท้องเกิดเป็นขึ้นมาอีก พ่อแม่สงสัยจะถูกแรงสินบน จึงปลอบถามเด็ก เด็กก็เล่าให้ พ่อแม่ฟัง พ่อแม่จึงนำเด็กไปหาพ่อท่านแช่ม ท่านกล่าวว่าลูกมึงบนสัปดนอย่างนี้ ใครจะให้ปิดทองอย่างนั้นได้ พ่อแม่เด็กต่างก็อ้อนวอนกลัวลูกจะตายเพราะไม่ได้แก้บนในที่สุดพ่อท่านแช่ม คิดแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าไปโดยเอาไม้เท้านั่งทับสอบเข้าให้เด็กหญิงคนนั้นปิดทองที่ปลายไม้เท้า ของพ่อท่านแช่ม กลับบ้านอาการปวดท้องจุกเสียดก็หายไป ไม้เท้าของพ่อท่านแช่มอันนี้ยังคงมีอยู่ และใช้เป็นไม้สำหรับจี้เด็ก ๆ ที่เป็นไส้เลื่อนเป็นฝีเป็นบานอาการเหล่านี้ก็หายไป หรือชะงักการลุกลามต่อไปเป็นที่น่าประหลาด

พ่อท่านแช่มมรณภาพ18 เมษายน พ.ศ.2451 (ตรงกับรศ.127) เวลา 16.30 น. สิริอายุรวม 80 ปี บรรดาศิษย์ให้ตรวจหาทรัพย์สินของพ่อท่านแช่ม ปรากฎว่าพ่อท่านแช่มมีเงินเหลือเพียง 50 เหรียญเท่านั้น ความทราบถึงบรรดาชาวปีนังและจังหวัดอื่นในมาเลเซียต่างก็นำเงิน ขนเอาเครื่องอุปโภคที่จำเป็นข้าวสาร เป็นต้น มาช่วยเหลือหลายเรือสำเภา งานศพของพ่อท่านแช่มจัดได้ใหญ่โตมโหฬารที่สุดในจังหวัดภูเก็ต หรืออาจจะกล่าวได้ว่ามโหฬาร ที่สุดในภาคใต้ก็ได้ ต่อมาพระราชทานนาม วัดฉลอง เป็น วัดไชยธาราราม

เรื่องพุทธคุณโดดเด่นในเรื่องเมตตามหานิยม การเดินทางแคล้วคลาดปลอดภัย สยบสิ่งชั่วร้าย ต่าง ๆนานา วัตถุมงคลที่ที่นิยมมากคือ เหรียญหลวงพ่อแช่ม ปี 2486 วัดฉลอง ภูเก็ต





http://www.amulet.in.th/forums/images/1194.jpg



http://www.amulet.in.th/forums/images/1195.jpg



ขอขอบคุณที่มาคะ http://www.amulet.in.th/forums/view_topic.php?t=731&sid=2f3658224458b03c9007aafe98e812b7