มิตรแท้ ๔ มิตรเทียม ๔

กระทู้: มิตรแท้ ๔ มิตรเทียม ๔

ป้ายกำกับ: ไม่มี
  1. *8q* said:

    มิตรแท้ ๔ มิตรเทียม ๔


    คำว่า มิตร มีรากศัพท์คำเดียวกับคำว่า เมตตา ซึ่งมีความหมายว่า ความรักใคร่ห่วงใยปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข เพราะฉะนั้นคำว่า มิตรจึงหมายถึง
    ผู้ที่รักใคร่ชอบพอกัน ปรารถนาดีต่อกัน กล่าวคือมีความเมตตาทั้ง ทางกาย วาจา ใจ ต่อกันทั้งต่อหน้าและลับหลัง คำว่ามิตรนั้น มักมีคำที่ใช้แทนกันหลายคำ
    เช่น สหาย แปลว่า ผู้ไปด้วยกันมีความคิดเห็นเหมือนกัน สขา แปลว่า เพื่อน คือผู้คบกันคุ้นเคยสนิทสนม มิตรมี ๒ จำพวกใหญ่คือ มิตรแท้ และมิตรเทียม
    มิตรแท้ ๔
    มิตรแท้มี ๔ ประเภท คือ
    ๑.มิตรมีอุปการะ ได้แก่ เพื่อนที่มีบุญคุณ มีลักษณะเป็นผู้ใหญ่คอยคุ้มครองป้องกันเพื่อนของตน ทั้งเป็นที่พึ่งของเพื่อนได้ มีลักษณะ
    โดยสรุป ๔ ประการ ดังนี้คือ
    - ป้องกันเพื่อนผู้ประมาท หมายถึง มิตรที่ช่วยป้องกันชีวิตชื่อเสียงและเกียรติยศของเพื่อน
    - ป้องกันทรัพย์สมบัติของเพื่อนผู้ประมาท หมายถึง มิตรที่คอยแนะนำห้ามปรามเพื่อนเมื่อเห็นเพื่อนใช้จ่ายทรัพย์สมบัติไปในทางอบายมุข
    หรือลงทุนที่มีการเสี่ยงเกินไป
    - เมื่อมีภัยเป็นที่พึ่งพำนักได้ หมายถึง มิตรที่คอยอุปการะช่วยเหลือเมื่อเพื่อนตกทุกข์ เมื่อเพื่อนมีภัยก็ให้การคุ้มครองป้องกัน
    - เมื่อมีธุระช่วยออกทรัพย์ให้เกินกว่าที่ออกปาก หมายถึง มิตรที่ช่วยเหลือเพื่อน เมื่อเพื่อนมีความจำเป็นต้องใช้เงิน ออกปากขอยืมเงิน ก็
    ตอบสนองด้วยดี เสนอให้ยืมเกินกว่าที่ขอยืม ไม่แสดงความโลภออกมา
    ๒.มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ ได้แก่ เพื่อนสนิทเหมือนญาติ ไว้วางใจกัน คอยช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มีลักษณะโดยสรุป ๔ ประการ
    - ขยายความลับของตนแก่เพื่อน หมายถึง ต่างฝ่ายต่างเผยความลับของตนแก่เพื่อน ถ้าความลับนั้นมีจุดอ่อนหรือปมด้อยก็ช่วยกันแก่ไข และ
    เป็นการให้ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน
    - ปิดความลับของเพื่อนมิให้แพร่หลาย หมายถึง มิตรที่มีความจริงใจต่อเพื่อนรักษาน้ำใจซึ่งกันและเอาไว้โดยการไม่เปิดเผยความลับของเพื่อน
    ไม่ให้ผู้อื่นรู้
    - ไม่ละทิ้งยามวิบัติหมายถึง เมื่อเวลาที่เพื่อนตกทุกข์ได้ยากก็คอยช่วยเหลือไม่ละทิ้ง
    - แม้ชีวิตก็อาจสละแทนได้ หมายถึง เมื่อเวลาที่เพื่อนตกอยู่ในอันตราย ก็เข้าช่วยเหลือถึงแม้ตัวเองจะต้องเสี่ยงชีวิตก็ตาม
    ๓.มิตรแนะนำประโยชน์ ได้แก่ เพื่อนที่คอยแนะนำแต่ในทางที่ดี มีลักษณะเหมือนครู ลักษณะของเพื่อนเช่นนี้มีอยู่ ๔ ประการ คือ
    -ห้ามไม่ให้ทำชั่ว หมายถึง เห็นเพื่อนทำความชั่ว เพราะความไม่รู้ หรือความประมาทคึกคะนองก็เข้าห้ามปรามแสดงถึงเหตุผล ให้เพื่อนมี หิริ คือ
    ความรังเกียจต่อความชั่ว และ โอตตัปปะ ความเกรงกลัวผลของความชั่ว
    -แนะนำให้ทำแต่ความดี หมายถึง นอกจากห้ามไม่ให้เพื่อนทำชั่วแล้ว ยังสอนเพื่อนให้รู้จักคุณความดีสอนให้ประพฤติดี
    -ให้ฟังในสิ่งที่ยังไม่เคยทำ หมายถึง ถ้าเพื่อนยังไม่มีความรู้ในทางหลักธรรมคุณความดีกฎแห่งกรรมมากนักก็เล่าให้เพื่อนฟัง
    -บอกทางสวรรค์ให้ ทางสวรรค์ หมายถึง ทางไปสู่อนาคตอันสดใส ด้วยการแสวงหาความรู้หรือปัญญา
    ๔.มิตรมีความรักใคร่ ได้แก่ เพื่อนประเภทสหาย มีลักษณะสำคัญ ๔ ประการคือ
    -ทุกข์ ทุกข์ ด้วย หมายถึง เมื่อเห็นเพื่อนมีความทุกข์ไม่ว่าทางใด ทางกายใจ ก็ให้ความช่วยเหลือในทุกด้าน ปลอบโยน แสดงถึงความเห็นอกเห็น
    ใจ
    -สุข สุข ด้วย หมายถึง มิตรที่เห็นเพื่อนมีความสุขไม่ว่าทางกายหรือทางใจก็พลอยยินดีกับเพื่อนด้วย เข้าไปแสดงความยินดีด้วย
    -โต้เถียงผู้ที่ติเตียนเพื่อน หมายถึง เมื่อเห็นคนอื่นติเตียนเพื่อนของเรา ไม่ว่าต่อหน้าและลับหลัง ก็ช่วยพูดจาชี้แจงให้เข้าใจซึ่งกันและกัน เพื่อนไม่
    ให้เพื่อนเสียหาย
    -รับรองคนพูดสรรญเสริญเพื่อน หมายถึง เมื่อเห็นคนพูดจาชมเชยเพื่อนก็พูดจาสนับสนุน



    มิตรเทียม ๔
    มิตรเทียม มาจากคำว่า มิตรปฏิรูป ซึ่งอาจมีความหมายว่า คนเทียมเป็นมิตรหรือคนปลอมเป็นมิตร ซึ่งมี ๔ ประเภทคือ
    ๑.คนปอกลอก คนประเภทนี้ไม่ใช่มิตรแต่แสดงตัวว่าเป็นมิตร ซึ่งหวังผลประโยชน์จากคนที่คบด้วย ซึ่งมี ๔ ประเภทคือ
    -คิดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว คือ คนที่เอาเปรียบ
    -เสียน้อย คิดเอาให้มาก คือ เมื่อในกรณีที่ทีการลงทุนจะเสียน้อยแต่พอได้รับประโยชน์หรือผลตอบแทนแล้ว จะรับเอาแต่มาก
    -เมื่อมีภัยแก่ตัว จึงรับทำกิจของเพื่อน คือ ตามปกติคนประเภทนี้จะไม่ยอมข่วยเหลือใคร แต่เมื่อตนประสบปัญญาแล้วจึงมาแกล้งแสดงตัวเป็น
    มิตร
    -คบเพื่อนเพราะเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว คือ คนประเภทนี้เป็นคนเห็นแก่ตัวเมื่อคบเพื่อนคนใดแล้วก็จะเห็นแต่ประโยชน์ส่วนเท่านั้น
    ๒.คนดีแต่พูด คนดีแต่พูดไม่ถึงกับใช่คนหลอกลวง แต่เป็นกะล่อน ขอให้ได้พูดพูดในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนมากเป็นเรื่องไร้สาระมี ๔ ประเภทคือ
    -เก็บของล่วงแล้วมาปราศรัย คือ พววกที่คอยเรียกร้องความสนใจ ส่วนใหญ่แล้วจะเอาเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีตมาพูด
    -อ้างเอาของที่ยังไม่มีมาปราศรัย คือ พวกที่ชอบพูดในเรื่องของอนาคต พูดในทำนองการพยากรณ์ ทำตัวเป็นผู้รอบรู้
    -สงเคราะด้วยสิ่งที่หาประโยชน์มิได้ คือ ถ้าช่วยเหลือคนที่คบกันอยู่ก็จะช่วยเหลือแบบเล่น ให้สิ่งที่ไม่มีประโยชน์
    -ออกปากพึ่งมิได้ คืด เมื่อเพื่อนต้องการพึ่งเพราะมีความเดือดร้อนบางอย่าง ก็บ่ายเบี่ยงแบ่งรับแบ่งสู้
    ๓.คนหัวประจบ คนหัวประจบเป็นคนที่คอยตามใจเพื่อน ให้เพื่อนเป็นผู้นำส่วนตนนั้นทำตัวเป็นผู้ตาม เพราะหวังผลประโยชน์ไม่ว่าสิ่งใดก็สิ่งหนึ่ง
    คนจำพวกนี้มีอยู่ ๔ ประเภทคือ
    -จะทำชั่วก็คล้อยตาม คือ เมื่อเห็นเพื่อนทำชั่วก็ไม่ห้ามปราม กลับช่วยสนับสนุน
    -จะทำดีก็คลอยตาม คือ เมื่อเพื่อนทำดีก็เห็นด้วยคอยสนับสนุนเอาใจเพื่อน
    -ต่อหน้าว่าสรรญเสริญ คือ คอยยกย่องเพื่อนต่อหน้าเพื่อเอาใจเพื่อน
    -ลับหลังนินทาเพื่อน คือ เมื่อเพื่อนไม่เห็น ไม่ได้ยิน กลับนินทาว่าร้ายต่างๆ
    ๔.คนชักชวนในทางฉิบหาย คนชักชวนในทางฉิบหาย คบเพื่อนเพื่ออาศัยเพื่อนเป็นเครื่องมือหาความสนุกเพลิดเพลินของตน มีลักษณะ ๔ ประการคือ
    -ชักชวนดื่มน้ำเมา คือ ชักชวนให้เพื่อนดื่มสุราเมรัยซึ่งเป็นโทษทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
    -ชักชวนเที่ยวกลางคืน เช่น เที่ยวตามสถานบริการบันเทิงต่างๆ
    -ชักชวนให้มัวเมาในการเล่น คือ เล่นกีฬาหรือเล่นเกมต่างๆที่มีการพนันอยู่ด้วย
    -ชักชวนเล่นการพนัน หมายถึง การเล่นการพนันล้วนๆ


    credit by http://www.geocities.com/peera_pin/index.html

    ก่อนเกิดใครเป็นเรา<br />เมื่อเกิดแล้วเราเป็นใคร<br /><br />สิ่งที่ทำอยู่คือกรรมใหม่<br />ผลที่ได้รับคือกรรมเก่า<br /><br />ฟังในสิ่งที่ไม่ได้ยิน<br />มองในสิ่งที่ไม่เห็น<br />ทำในสื่งที่ไม่มี
     
  2. *8q* said:

    Re: มิตรแท้ ๔ มิตรเทียม ๔

    อบายมุข และ สุขของคฤหัสถ์ ๔



    อบายมุข คือ หนทางที่นำไปสู่ความเสื่อมเสีย ๔ ประการ คือ
    ๑. เป็นนักเลงผู้หญิง ก่อให้เกิดการเสียทรัพย์เสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์
    ๒. เป็นนักเลงสุรา ทำให้บันทอนสุขภาพร่างกายทำให้ประกอบการงานไม่เต็มที่
    ๓. เป็นนักเลงการพนัน ทำให้เป็นมูลเหตุแห่งการทะเลาะวิวาท ไม่เป็นที่ไว้วางใจของผู้อื่น
    ๔. คบคนชั่วเป็นมิตร ย่อมนำพาไปสู่ความเสื่อมเสียทั้งปวง

    สุขของคฤหัสถ์ ๔
    สุขของคฤหัสถ์ ๔ คือ เป็นความสุขของผู้ครองเรือนพึงมี ๔ ประการ
    ๑. ความสุขที่เกิดแต่ความมีทรัพย์
    ๒. ความสุขที่เกิดแต่การจ่ายทรัพย์บริโภคดี
    ๓. ความสุขที่เกิดแต่ไม่เป็นหนี้สิน
    ๔. ความสุขที่เกิดแต่การประกอบการงานที่ปราศจากโทษ




    ก่อนเกิดใครเป็นเรา<br />เมื่อเกิดแล้วเราเป็นใคร<br /><br />สิ่งที่ทำอยู่คือกรรมใหม่<br />ผลที่ได้รับคือกรรมเก่า<br /><br />ฟังในสิ่งที่ไม่ได้ยิน<br />มองในสิ่งที่ไม่เห็น<br />ทำในสื่งที่ไม่มี